Group Blog
 
 
กุมภาพันธ์ 2554
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728 
 
2 กุมภาพันธ์ 2554
 
All Blogs
 

Options intermediate level ตอนที่ 2 : สิ่งที่ง่ายที่สุด คือการ Long (ตอน 2)

ตอนที่แล้ว เมื่อเรามีการคาดการณ์ว่าดัชนีน่าจะขึ้น และเราต้องการ limit ความเสี่ยงก็เลยตัดสินใจจะซื้อ Call และผมได้แยก Call เป็น 3 กลุ่มคือ OTM ATM และ ITM จริง ๆ แล้ว At the money call บางครั้งก็อาจไม่มีก็ได้ เพราะหากดัชนีไม่อยู่ที่ ๆ ลงท้ายด้วย 0 เช่น 710 700 690 เป็นต้น แต่ไปอยู่ที่ 675 693 ตรงนั้นก็ไม่มี ATM call แต่สาระสำคัญที่แบ่งเป็นกลุ่ม เพราะ ในแต่ละกลุ่มก็จะมีลักษณะบางอย่างที่แตกต่างกัน แต่ไม่ต้องท่องจำหรอกครับ อ่านดูก็จะพบว่า เป็น common sense ธรรมดา

คำถาม Classic สำหรับคนเริ่มลงทุนใน Option หลังจากตัดสินใจแล้ว ว่า ฉันจะ Long ก็คือ เอาที่ตรงไหน (strike price) ดี เพราะมันมีเป็นพรืด แต่ละตัวห่างกันตัวละ 10 จุด มันมีประเด็นต่อไปนี้ครับ

1.Strike price ยิ่งสูง(กรณี Call นะครับ ถ้า Put ต้องตรงกันข้าม) ราคายิ่งต่ำ หมายความว่า เราจ่ายเงินซื้อ 1 สัญญา ที่ OTM จะถูกกว่า ITM ยิ่ง OTM มาก ๆ ยิ่งถูกมาก ถ้าเป้าหมายคือ อยากเสียเงินไม่มาก แต่ได้ลุ้นกำไรเยอะ ก็ต้องเลือกตัวที่ OTM

2.Strike price ยิ่งสูง Break even point (BEP) ยิ่งไกล เมื่อกี้เราบอกว่า Strike price สูง limit loss ได้ดี เพราะบางทีราคาแค่ 4 (หรือ 800 บาท) แต่กว่าที่มันจะถึง BEP ที่เราเริ่มทำกำไรได้ มันก็ต้องให้ดัชนีวิ่งไปเป็นหลายสิบจุดทีเดียว แต่ถ้าตัวที่ Strike price ต่ำ ๆ โดยเฉพาะ ITM มาก ๆ บางทีดัชนีวิ่งไปนิดเดียวก็ถึง BEP แล้ว
2 ข้อแรกนี่เป็น trade off กันครับ คือถ้าเลือกจ่ายน้อย ก็ต้องรอนาน หรือโอกาสกำไรก็น้อยตามไป แต่ถ้ายอมจ่ายเยอะ โอกาสกำไรก็มีมากขึ้น
และ วิธีคิดของทั้ง 2 กรณีคือถือจนครบกำหนด แต่ถ้าคิดว่า ฉันไม่เห็นต้องถือจนครบกำหนดเลย จะขายก่อนก็ได้ มันจะเป็นอย่างไรล่ะ ลองดูข้อ 3

3.การขายก่อนวันหมดอายุ เราจะได้ premium คืนมาบ้าง ทำให้ BEP มันลดลง แต่ สิ่งที่ต้องทราบคือ ธรรมชาติ-ของ Option เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของราคาดัชนี จะเป็นดังนี้
Option ที่มี strike price เท่ากับราคา ( ATM) หรือใกล้เคียงกับราคาดัชนี เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของดัชนี option จะเปลี่ยนแปลงของราคาเป็น 0.5 เท่าของการเปลี่ยนแปลงของดัชนี

Option ที่เป็น OTM (คือมี strike price สูง ๆ ในกรณีของ Call) เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของดัชนี การเปลี่ยนแปลงของราคา option จะน้อย (เข้าใกล้0) ยิ่ง Option ตัวที่ไกลมาก ๆ จะเปลี่ยนแปลงน้อยมาก
ลองคิดดูนะครับ ถ้า ATM มันเปลี่ยน 0.5 สมมุติว่าดัชนีเพิ่ม 5 จุด ราคา option ATM จะเพิ่มประมาณ 2.5
และตัวที่ไกลออกไป อาจเพิ่ม 0.4 0.3 ไปเรื่อย ๆ จนยิ่งไกลมาก ๆ อาจเปลี่ยนนิดเดียว

Option ที่เป็น ITM (คือมี strike price ต่ำ ๆ ในกรณีของ Call) เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของดัชนี การเปลี่ยนแปลงของราคา option จะมาก (เข้าใกล้ 1) ยิ่ง Option ตัวที่ไกลมาก ๆ จะเปลี่ยนแปลงมาก

ลองคิดดูนะครับ ถ้า ATM มันเปลี่ยน 0.5 สมมุติว่าดัชนีเพิ่ม 5 จุด ราคา option ATM จะเพิ่มประมาณ 2.5
และตัวที่ไกลออกไป อาจเพิ่ม 0.6 0.7 ไปเรื่อย ๆ จนยิ่งไกลมาก ๆ อาจเปลี่ยนใกล้เคียงกับดัชนี

ตัวอย่างนะครับ สมมุติว่าดัชนีอยู่ที่ 700
Call700 ราคา 20
Call 750 ราคา 8
Call 650 ราคา 60
เมื่อดัชนีเปลี่ยนไป 6 จุด จาก 700 เป็น 706 ราคา call option ตามทฤษฎีจะเปลี่ยนดังนี้
Call700 ราคา 23
Call750 ราคา 9
Call 650 ราคา 64

พอนึกภาพออกไหมครับ จะเห็นว่า ผลของการเปลี่ยนแปลงของดัชนี มีผลต่อราคา option ไม่เท่ากัน (คุณสมบัตินี้เรียกว่า delta ถ้ามีเวลาลองไปหาอ่านเพิ่มเติมได้ครับ)

คราวนี้ ถ้าเราอยาก trade ระหว่างทาง คือไม่อยากรอให้หมดอายุก่อนค่อยรับรู้กำไร เราก็ต้องยอมรับว่า เราจะได้ไม่เท่าดัชนีที่ขึ้น (แต่หากคิดว่าลงทุนน้อย กำไรเปลี่ยนแปลงหลายเท่าเทียบกับทุนที่ลงไป ก็อีกเรื่อง)

ถ้าเราอยากได้สปีดการขึ้นที่เทียบได้กับดัชนี ก็คือต้องซื้อ Call ที่ Deep ITM ซึ่งก็หมายความว่าใช้เงินเยอะ และคุณสมบัติในการป้องกันความเสี่ยงเมื่อดัชนีลดลง เหลือน้อย แต่ถ้าเราเลือก Call option ที่ OTM ข้อดีคือราคาถูก แต่มันไม่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงของดัชนี แถม BEP ยังอยู่ไกลอีกต่างหาก

4.สภาพคล่อง ถ้าสังเกต Option ที่ ATM หรือใกล้เคียงกับ ATM สภาพคล่องจะดีกว่าตรงที่อื่น Bid-offer spread จะไม่ห่างกันมากนัก

สรุปก็คือ ไม่มีข้อสรุปครับ ว่าตัวไหนจะดีที่สุด แต่ตามประสาผู้ที่ไม่รู้อะไร ก็มักเลือกเดินทางสายกลาง และยิ่งรวมเรื่องสภาพคล่องเข้าไป ก็จะได้ว่า Option ATM น่าจะเป็นตัวเลือกที่พอใช้ได้ สำหรับมือใหม่

ก็คงต้องมีตอนที่ 3 สำหรับ Long นะครับ
เหมือนเดิม ขอ Comment หรือลงชื่อก็ยังดีครับ เป็นกำลังใจให้คนเขียน




 

Create Date : 02 กุมภาพันธ์ 2554
9 comments
Last Update : 2 กุมภาพันธ์ 2554 15:56:02 น.
Counter : 1930 Pageviews.

 

good

 

โดย: a IP: 117.47.149.60 2 กุมภาพันธ์ 2554 17:26:53 น.  

 

Even good.

 

โดย: dune IP: 58.9.58.253 2 กุมภาพันธ์ 2554 18:37:18 น.  

 

ขอบคุณครับ

 

โดย: เฉลียง IP: 58.9.75.205 2 กุมภาพันธ์ 2554 21:58:21 น.  

 

ขอบคุณครับ
ตามมาอ่านช้าไปหน่อย หาไม่เจอกระทู้อ่ะครับ
ผมมีถามคำถามไว้ที่ตอนที่หนึ่ง กับการหักเงินสำหรับ option ไว้ของตอนเก่า อ่ะครับ
ขอบคุณอีกทีนะครับ

 

โดย: chess IP: 192.168.1.103, 110.77.166.216 6 กุมภาพันธ์ 2554 0:06:39 น.  

 

จะเห็นว่า ผลของการเปลี่ยนแปลงของดัชนี มีผลต่อราคา option ไม่เท่ากัน

สงสัยมานาน ตอนนี้หายสงสัยละครับ

 

โดย: U1000 IP: 61.90.12.201 9 กุมภาพันธ์ 2554 14:32:03 น.  

 

Very good, it help all beginer.

 

โดย: Hunting Trader IP: 125.27.92.122 7 สิงหาคม 2554 21:12:51 น.  

 

ขอบคุณมากมายครับ กำลังงงเลยเรื่อง ITM ATM OTM เริ่มกระจ่างหล่ะครับ เดี๋ยวรอไปเล่นตามแผนดูก่อนนะครับ

 

โดย: pornchai IP: 118.172.152.34 12 ธันวาคม 2555 18:35:40 น.  

 

ขอบคุณค่ะ

 

โดย: เจ้าปิ้ง IP: 110.171.33.2 27 เมษายน 2556 18:02:17 น.  

 

เขียนเข้าใจง่ายดีครับ

...ขอบคุณมากๆครับ.....

 

โดย: Bulakorn IP: 49.229.181.247 9 กุมภาพันธ์ 2558 17:19:22 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


krit587
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 8 คน [?]




Friends' blogs
[Add krit587's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.