Group Blog
 
 
กุมภาพันธ์ 2554
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728 
 
5 กุมภาพันธ์ 2554
 
All Blogs
 

Options intermediate level ตอนที่ 3 : สิ่งที่ง่ายที่สุด คือการ Long (ตอน 3)

เป็นไงบ้างครับ ผ่านไป 2 ตอน ท่าทางจะมึนกันทั่วหน้า คนเก่า ๆ ก็ดูจะหายไป แต่ไม่เป็นไร ถ้ายังมีคนลงชื่อ ก็ยังเขียนต่อ อย่างน้อยก็ให้จบเรื่อง Long

2 ตอนแรก เราพูดเรื่อง strike price ว่า เราใช้อะไรในการตัดสินใจจะเลือก long มันก็มีปัจจัยอยู่ 2-3 อย่าง ก็คือ เงินที่เราใช้ซื้อ Break even point และ เรื่องของการเคลื่อนไหวของ option เมื่อเทียบกับดัชนี หรือที่เราเรียกคุณสมบัตินี้ว่า Delta

เราลองมาทบทวนพื้นฐานบางอย่างกันหน่อยนะครับ ก่อนจะไปเรื่องต่อไป ยังจำได้ไหมครับ ราคาของ Option ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ

1. Intrinsic value หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ ส่วนต่างของ strike price กะดัชนีนะตอนนั้น เหมือนกับว่า หากวันนี้คือวันสุดท้าย จะต้องมีการชำระบัญชี เราจะได้เงินคืนมาเท่าไหร่
2.Time value หรือส่วนที่เพิ่มออกมาจาก Intrinsic value

ลองดูรูป นะครับ



ดูฝั่ง Call เอา ข้อมูลการ trade last done ของ OTM และ ITM มาอย่างละ 3 ตัว



แก้ไขคำว่า premium เป็น Time value นะครับ
บางคนอาจบอกว่า Intrinsic value ของ call option ที่ OTM น่าจะติดลบด้วยซ้ำ เพราะกว่ามันจะมีค่าเป็น 0 ต้องรอจนค่าที่เป็นลบหมดไปก่อน จะคิดอย่างนั้นก็ได้ครับ แต่ผมเอาตัวเลขแบบ simple คือถ้ามันไม่มีค่าในมือ ก็คือเป็น 0

จะเห็นว่า option ที่ ITM ถ้า strike price ยิ่งต่ำ หรือ intrinsic value สูง ๆ จะมี time value ถูก ก็เพราะอย่างที่เคยเล่าให้ฟังว่า ถ้า มัน deep ITM เยอะ ๆ มันก็ประพฤติตัวเหมือน future คุณสมบัติการป้องกันความเสี่ยงเมื่อราคาตก ก็จะหายไป (จนกว่าดัชนีจะวิ่งไปใกล้ strike price ) ดังนั้นหากคนขายไปตั้งราคาบวก time value เยอะ ๆ ก็ไม่มีคนซื้อ

ส่วนในกรณี OTM แม้ว่า time value จะลดลง แต่จริง ๆ แล้ว หากคิดในรูปที่ intrinsic ติดลบได้ จะพบว่า time value กลับมากขึ้น

งงไหมครับ ถ้างง ลองอ่านดูใหม่ มันไม่ได้เป็นสูตรอะไร แต่เป็นธรรมชาติของ option ครับ อยากให้เข้าใจ เพราะเมื่อทำความเข้าใจได้ จะนำไปใช้ได้ตลอด

คราวนี้ลองพิจารณา สิ่งที่จะเขียนต่อไปนี้นะครับ

เมื่อ ดัชนีเปลี่ยนแปลง option จะเปลี่ยนแปลงด้วยอัตราที่ไม่เท่ากัน (ตามคุณสมบัติของ delta) และเมื่อเราพิจารณา option ที่เป็น ITM ซึ่ง มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับดัชนีอยู่ที่ 0.5-1 เท่า เช่น หากดัชนีเปลี่ยน 10 จุด ITM อาจเปลี่ยนแปลง 5-10 จุด ขึ้นกับว่า strike price ห่างจากดัชนีเท่าใด ถ้าห่างมาก ก็จะเปลี่ยนแปลงเกือบ 10 จุด แต่ถ้าใกล้ ATM ก็อาจเปลี่ยนแปลง 5 จุดเท่านั้น

ทีนี้ถ้ามันเปลี่ยน 5 จุด แต่ Intrinsic value เปลี่ยน 10 จุด (เพราะ intrinsic value ขึ้นก้บดัชนีโดยตรง) ดังนั้นก็หมายความว่า time value (ซึ่งเป็นส่วนประกอบอีกส่วนของราคา option) ลดลง 5 จุด
เราเอาตัวอย่างมาลองคิดดูนะครับ

เล็งที่ Call670 นะครับ จะได้ว่า C670 มื intrinsic value 16.15 และหากวันนั้นดัชนีเกิดการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นทันที 10 จุด C670 ก็จะมี Intrinsic value 26.15 จุด และ หากคิดเทียบกับข้อมูลเดิม (ก่อนการเปลี่ยนแปลง) ตัวที่มี Intrinsic value เท่ากับ 26.15 จุด ก่อนการเปลี่ยนแปลงคือ C660 หรือเราอาจพูดได้ว่า เมื่อเกิดการเพิ่มขึ้นของดัชนี 10 จุด Call670 ก็จะกลายเป็นมีคุณสมบัติเหมือน Call660 ตอนก่อนการเปลี่ยนแปลง

จะพบว่า Call670 ที่ราคาหลังเปลี่ยนแปลงควรจะเพิ่มเป็น 31.1 หรือเพิ่มขึ้น 6.1 จุด (จากการที่ดัชนีเปลี่ยน 10 จุด) นั่นหมายความว่า Call670 มีค่า delta 0.61 และจะพบว่า time value ของcall670 จะลดลงจาก 8.85 เหลือ 6.95

อ้นนี้เป็นวิธีการทำความเข้าใจกับ delta ครับ ว่ามันคืออะไร และมีผลต่อ option ที่ strike price ต่างกันอย่างไร ว่าง ๆ ลองคิดกะตัวอื่นดู หรือถ้าจะไปลองกับ put ก็ดีครับ

ตั้งใจจะเขียนเรื่องเวลา กับ option เอาไว้คราวหน้าแล้วกันครับ

เหมือนเดิมครับ ลงชื่อหน่อยแล้วกัน




 

Create Date : 05 กุมภาพันธ์ 2554
9 comments
Last Update : 6 กุมภาพันธ์ 2554 11:46:35 น.
Counter : 1171 Pageviews.

 

ขอบคุณครับ

 

โดย: เฉลียง IP: 115.87.190.49 5 กุมภาพันธ์ 2554 12:29:53 น.  

 

แอบติดตามอยู่ค่ะ แม้จะไม่ลงชื่อ
ชอบมาก เขียนเรื่องยากส ให้เข้าใจง่าย

ขอบคุณค่ะ

 

โดย: Pim IP: 125.24.112.77 5 กุมภาพันธ์ 2554 14:23:25 น.  

 

ยังติดตามอ่านอยู่ครับ

 

โดย: Au IP: 118.172.247.141 5 กุมภาพันธ์ 2554 14:56:33 น.  

 

ตามอ่านอยู่ครับ...

 

โดย: แมกซ์ IP: 118.173.5.154 5 กุมภาพันธ์ 2554 22:42:27 น.  

 

ครับผม วันนี้มาตามอ่านให้หมด
อันนี้แอบเริ่มมึนๆแล้ว
ไอ้ delta ที่ว่านี่ ถ้าเกิดผม long call ตรง 670 ไปแล้ว
set มันขึ้นตามสมมติฐานของพี่นี่ ผมอยากจะขายแล้วนี่มันจะเป็นยังไงหรือครับ

 

โดย: chess IP: 192.168.1.103, 110.77.166.216 6 กุมภาพันธ์ 2554 0:16:07 น.  

 

@chess มี 2 กรณีครับ
กรณีแรก ขายก่อนวันหมดอายุ ราคาที่ได้ก็คือราคาที่เขาเสนอกันในตลาด ซึ่ง ไม่มีใครตอบได้ว่า เขาจะตั้ง bid offer กันเท่าไร
ในตัวอย่างที่ทำให้ดู เป็นการประมาณการณ์ ว่า ราคามันน่าจะอยู่ตรงนั้น แต่ความเป็นจริงอาจเป็นได้หรือไม่ได้ก็ได้ครับ
กรณีที่ 2 คือ รอจนหมดอายุ ก็จะชำระราคา โดยดูส่วนต่างของ ดัชนี กะ strike priceเลยครับ แต่ถ้าติดลบ ก็ไม่ต้องจ่ายเงินอะไร ตามคุณสมบัติของการประกันความเสี่ยงของ option

 

โดย: krit587 6 กุมภาพันธ์ 2554 11:49:59 น.  

 

ตามมาอ่าน

 

โดย: U1000 IP: 61.90.12.201 9 กุมภาพันธ์ 2554 14:50:53 น.  

 

ขอบคุณครับผม
มาตอบช้าไปหน่อย

 

โดย: chess IP: 58.9.27.167 12 กุมภาพันธ์ 2554 22:43:26 น.  

 

ขอบคุณครับบ

 

โดย: sp IP: 203.170.236.199 13 มิถุนายน 2556 11:01:33 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


krit587
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 8 คน [?]




Friends' blogs
[Add krit587's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.