ชายขอบความคิด: กฎหมาย เศรษฐกิจ การลงทุน จะเป็นอย่างไร ถ้าเรามองปัญหาอย่างเข้าใจมากขึ้น และแก้ปัญหาอย่างตรงจุด?

<<
กรกฏาคม 2554
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
29 กรกฏาคม 2554
 

หนทางสู่ "สังคมแห่งความรู้"

จากตอนที่แล้วที่เล่าถึงฟิลเตอร์ความจริง ซึ่งประกอบด้วย เสียงข้างมาก ความสอดคล้อง ผู้นำทางความคิด ประสบการณ์ทางจิตวิญญาณ ความยั่งยืน และวิทยาศาสตร์ ว่าเรื่องเล่านี้มีผลต่อการตัดสินใจอย่างไร คราวนี้จะเล่าถึงการที่ฟิลเตอร์ความจริงเล่านี้มีผลกระทบต่อความคิดสร้างสรรค์และนวัฒกรรมใหม่ๆในสังคมในรูปแบบใดบ้าง

ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า ในสังคมแต่ละที่นั้นย่อมมีวัฒนธรรมของตัวเอง ซึ่งโดยมากมีรากฐานมาจากศาสนาหรือคำสอนโบราณต่างๆ และวัฒนธรรมเหล่านั้นย่อมมีผลต่อความคิดทางสังคม การตัดสินใจ กฎหมายแและวิธีชีวิต ซึ่งรูปแบบวัฒนธรรมเหล่านี้ย่อมส่งผลตอฐานความคิดของปัจเจกชน ว่าการตัดสินใจต่างๆมีพื้นฐานมาจากอะไร และการที่จะเปลี่ยนแปลงความคิดที่มาจากฐานวัฒนธรรมเหล่านั้น ทำได้ยากหรือง่ายอย่างไร

เริ่มที่รุปแบบที่ง่ายที่สุดคือ “ความยั่งยืน” ความยั่งยืนเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจของสังคมมานานแล้ว โดยเฉพาะในสังคมชนบท หรือสังคมยุคก่อน ในสังคมชนบทไม่ว่าจะเป็นอดีตหรือปัจจุบัน ผู้อาวุโสจะได้รับการเคารพสูงสุด นั้นก็เพราะว่าในสมัยก่อน ประวัติศาสตร์ย่อมย้อนกลับมาเสมอ การเปลี่ยนฤดู ฤดูน้ำหรือสภาพอากาศ ย่อมมีรูปแบบคล้ายๆกัน ดังนั้นคนที่อยู่มาก่อนย่อมสามารถอธิบายเรื่องเหล่านี้ได้ รูปแบบนี้รวมถึงสังคมสมัยใหม่บางสังคมด้วย ที่ยึดติดกับรูปแบบวิธีชีวิตเดิมๆ เช่นบทบาทหน้าที่ระหว่างเพศ สถานะของบุคคล(ครู นักเรียน รุ่นพี่ รุ่นน้อง) พฤติกรรมบางอย่างที่ถูกต่อต้าน เรื่องเหล่านี้หากมีการพูดถึง หรือพยายามให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ย่อมเกิดการต่อต้าน โดยยกเหตุผลเช่น เป็นหน้าที่ของ... เมื่อก่อนก็เป็นอย่างนี้... หรือถูกอะไรกล่อมเกามากไป โดยไม่ยกเหตุผลที่สามารถอธิบายได้ว่า ดี ไม่ดี อย่างไร รูปแบบสังคมที่ยึด “ความยั่งยืน” เป็นแบบแผนมากเกินไป ไม่อาจสร้างความคิดสร้างสรรค์ หรือนวัฒกรรมใหม่ๆ เพราะเมื่อสร้าง หรือแม้แต่ “คิด” ก็ถุกต่อต้านทันที หรือบางเรื่องที่เหลื่อมล้ำกับกฎหมายก็อาจถูกดำเนินคดีๆ(เช่นรูปแบบทางธุรกิจใหม่ๆ ที่ดีกว่าเดิม)

ดังนั้นจีงเป็นเรื่องปกติที่สังคมที่ถูกกำหนดโดยวัฒนธรรมที่เคร่งครัดเช่นนี้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะศาสนาที่เคร่งครัด หรือวัฒนธรรมที่ผูกพันมาอย่างยาวนาน การเกิดนวัฒกรรมหรือความคิดใหม่ๆจะมีขึ้นน้อยมาก

สังคมอีกรุปแบบหนึ่งที่เป็นอุปสรรคต่อความคิดสร้างสรรค์คือสังคมเสียงข้างมาก เป็นที่เห็นกันทั่วไปว่าความคิดใหม่ๆ เกิดขึ้นจากคนเพียงไม่กี่คน และโดยมากจะมีเสียงไม่เห็นด้วยเสียมาก รูปแบบสังคมเสียงข้ามมากนั้น โดยปกติจะเน้นการตัดสินใจเป็นกลุ่ม ซึ่งเหตุผลก็คือการบริหารจัดการความคิดเป็นเรื่องง่าย แต่การสร้างเป็นเรื่องยาก ดังนั้นแล้วหากมีใครซักคนไม่เห็นด้วยกับเสียงข้างมาก แม้จะเป็นความคิดที่ดีเพียงใด ความคิดนั้นย่อมไม่อาจถูกนำไปปฏิบัติได้ ซึ่งส่งผลเสียเป็นอย่างยิ่ง

สังคมอีกประเภทหนึ่งคือ สังคมที่พึ่งพิงผู้นำคนเดียว สังคมรุปแบบนี้จะถือว่าผู้นำคือทุกอย่าง การตัดสินใจทุกขั้นตอนจะต้องผ่านผู้นำ สังคมที่ใช้รุปแบบนี้ที่แล้วมาเช่นนาซีของเยอรมัน เกาหลีเหนือ สังคมเช่นนี้มีจุดอ่อนคือถ้าผู้นำไม่เห็นด้วย ทุกอย่างก็จบ หรือความเห็นของผู้นำก็นำไปสู่ผลร้ายได้เช่นกัน และถ้าปราศจากผู้นำ สังคมก็เดินต่อไปไม่ได้ สังคมที่ชูผู้นำเป็นใหญ่ โดยฉายแต่ภาพดีของผู้นำนั้น โดยต่อต้านการฉายภาพอีกด้านนั้น ทำให้สังคมไม่สามารถตรวจสอบความคิดนั้นได้ เมื่อตรวจสอบไม่ได้ ก็จะปราศการพัฒนา เมื่อไม่มีการพัฒนา การต่อยอดก็ทำไม่ได้ ถ้าจะทำการต่อยอด ก็ต้องต่อยอดจากรูปแบบแรกเท่านั้น ซึ่งส่งผลเสียต่อนวัฒกรรมหรือการคิดค้นใหม่ๆ

รุปแบบสังคมที่ดีที่สุดคือ สังคมที่เป็นวิทยาศาสตร์ สังคมที่ยืนอยู่บนวิทยาศาสตร์ช่วยสร้างความแตกต่่างทางปัญญา นำไปสู่การค้นพบใหม่ๆ รวมถึงการถกเถียง ซึ่งก็เป็นบ่อเกิดของปัญญาเช่นกัน การวิจัย พัฒนา ทดลองและทำซ้ำนั้น ช่วยพิสจน์ได้ว่าสิ่งที่เป็น “ความยั่งยืน” นั้นถูกต้องหรือเปล่า “เสียงข้างมาก” ประกอบไปด้วยเหตุผลที่ถูกต้องหรือไม่ ความคิดของ “ผู้นำ” ใช้ได้ดีหรือไม่ รวมถึงตรวจสอบปรากฎการทางจิตวิทญญาณ ความสอดคล้องตามหลักเหตและผลได้อีกด้วย สังคมที่ยืนอยู่ได้ด้วยวิทยาศาสตร์จะเป็นสังคมแห่งปัญญาอย่างแท้จริงที่จะช่วยพัฒนานวัฒกรรมและความคิดสร้างสรรค์ และเปิดประตูสู่อนาคตที่เรียกว่า “สังคมความรู้”


Create Date : 29 กรกฎาคม 2554
Last Update : 29 กรกฎาคม 2554 20:29:52 น. 0 comments
Counter : 456 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

โควเมย์
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add โควเมย์'s blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com