มีนาคม 2558
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
31 มีนาคม 2558

**เทคนิกการจดจำบทสวดมนต์ชินบัญชรให้จำได้ง่ายและขึ้นใจ**

  ผู้เริ่มสวดมนต์ใหม่ๆ มักมีปัญหาในการจดจำเนื้อหาของบทสวดมนต์ที่ยาวๆ จนบางคนล้มเลิกความตั้งใจจะสวดมนต์ หรือ บางคนต้องใช้วิธีอ่านบทไปตลอดเพราะขี้เกียจท่องจำ


ผมมีเทคนิกที่ผมใช้ได้ผลในการท่องจำบทสวดมนต์มาฝาก..

คาถาชินบัญชร

ปกติตามหนังสือบทสวดมนต์จะแบ่งเป็นหัวข้อๆ ให้อยู่แล้ว คาถาชินบัญชรมีทั้งหมด 15 บท วิธีท่องให้จดจำง่ายก็คือต้องท่องให้จำได้ทีละบทก่อน เป็นลำดับๆ ไป ผมมีเทคนิกมาแนะนำดังนี้..

1..ให้ใส่ทำนองลงไปในบทสวด  สำหรับชินบัญชร ในแต่ละบาท (บรรทัด) จะแบ่งเป็นสองส่วนคือ ทางซ้ายและทางขวา เช่น..

ชะยาสะนากะตา พุทธา       เชตวา มารัง สะวาหะนัง 
จะตุสัจจาสะภัง ระสัง         เย ปิวิงสุ นะราสะภา.

เราใส่ทำนองไทยเดิม หรือ สรภัญญะ ลงไป  โดยคำลงท้ายวรรคแรก (วรรคต้น) "พุทธา" เป็นเสียงสูง แล้วค่อยลดลงมาต่ำในวรรคต่อมา (วรรครอง)  พอขึ้นวรรคใหม่ "จะตุสัจจาสะภัง ระสัง"  คำว่า"ระสัง" ขึ้นเสียงสูง ก่อนที่จะจบวรรคต่อไป "เย ปิวิงสุ นะราสะภา"  เป็นเสียงต่ำลงมา หรืออาจเรียกว่า วรรคส่ง วรรครับก็ได้

หมายเหตุ..ทำนองไทยเดิมจะมีการเอื้อนเมื่อจบประโยคทุกครั้ง กรณีนี้ก็เช่นกัน ทำได้เหมือนร้องเพลงแต่ผู็สวดสามารถตัดทอนคำเอื้อนให้สั้นได้เพื่อความเหมาะสม

ทำเช่นนี้กับวรรคอื่นๆ จนจบบทสวด

2..ต้องแบ่งวรรค ขึ้นต้นและลงท้ายแต่ละคำในวรรคให้สามารถเข้ากับทำนองที่ใส่ให้ได้ โดยทำเครื่องหมายที่ทำให้จดจำได้ว่า ถึงตรงนี้ให้เว้นวรรคก่อนขึ้นคำใหม่  อาจเขียนเครื่องหมายลูกศรหรือทำดอกจันไว้ตรงจุดที่ต้องการเว้นวรรคในบทสวด

ผมได้จัดแบ่งวรรคตอนสำหรับบทสวดชินบัญชรในแต่ละบทไว้ใหม่ดังนี้ เพื่อให้ท่านลองปฏิบัติตาม หรือหากท่านประสงค์จะแบ่งวรรคตอนให้เข้ากับตนเองก็สามารถกระทำด้วยตัวเองได้เช่นกัน

    1. ชะยา_สะนากะตา_พุทธา เชตวา_มารังสะวา_หะนัง
      จะตุสัจจา_สะภังระสัง เยปิวิง_สุนะรา_สะภา.

    2. ตัณหัง_กะราทะโย_พุทธา อัฏฐะวี_สะตินา_ยะกา
      สัพเพ_ปะติฏฐิตา_มัยหัง มัตถะเก_เต_มุนิสสะรา.

    3. สีเส_ปะติฏฐิโต_มัยหัง พุทโธธัมโม_ทะวิโล_จะเน
      สังโฆ_ปะติฏฐิโต_มัยหัง อุเรสัพพะ_คุณากะโร.

    4. หะทะเย_เม_อะนุรุทโธ สารีปุตโต_จะทักขิเณ
      โกณฑัญโญปิฏฐิภา_คัสมิง โมคคัลลาโน_จะวา_มะเก.

    5. ทักขิเณ_สะวะเน_มัยหัง อาสุงอานัน_ทะราหุโล
      กัสสะโป_จะมะหา_นาโม อุภาสุงวา_มะโสตะเก.

    6. เกสะโตปิฏฐิภา_คัสมิง สุริโย_วะปะภัง_กะโร
      นิสินโน_สิริ_สัมปันโน โสภิโต_มุนิปุง_คะโว


    7. กุมาระกัสสโป_เถโร มะเหสี_จิตตะวา_ทะโก
      โสมัยหัง_วะทะเน_นิจจัง ปะติฏฐาสิ_คุณากะโร.

    8. ปุณโณ_อังคุลิมา_โลจะ อุปาลี_นันทะ_สีวะลี
      เถราปัญจะ_อิเมชาตา นะลาเต_ติละกา_มะมะ.

    9. เสสาสีติ_มะหาเถรา วิชิตา_ชินะสา_วะกา
      เอเตสีติ_มะหาเถรา ชิตะวันโต_ชิโนระสา
      ชะลันตาสีละเต_เชนะ อังคะมังเค_สุสัณฐิตา.

    10. ระตะนัง_ปุระโต_อาสิ ทักขิเณ_เมตตะสุต_ตะกัง
      ธะชัคคัง_ปัจฉะโต_อาสิ วาเม_อังคุลิมา_ละกัง

    11. ขันธะ_โมระปะริต_ตัญจะ อาฏานา_ฏิยะสุต_ตะกัง
      อากาเส_ฉะทะนัง_อาสิ เสสา_ปาการะ_สัณฐิตา

    12. ชินานา_วะระสัง_ยุตตา  สัตตัป_ปาการะลัง_กะตา
      วาตะ_ปิตตา_ทืสัญชาตา พาหิรัช_ฌัตตุปัท_ทะวา.

    13. อะเสสา_วินะยัง_ยันตุ อะนันตะ_ชินะเต_ชะสา
      วะสะโต_เมสะกิจ_เจนะ สะทา_สัมพุทธะ_ปัญชะเร.

    14. ชินะ_ปัญชะระ_มัชฌัมหิ วิหะรันตัง_มะฮีตะเล
      สะทา_ปาเลนตุมัง_สัพเพ เตมะหา_ปุริสา_สะภา.

    15. อิจเจวะมันโต_สุคุตโต_สุรักโข  ชินานุภาเวนะ_ชิตุปัททะโว
      ธัมมานุภาเวนะ _ชิตา_ริสังโฆ   สังฆานุภาเวนะ_ชิตันตะราโย
      สัทธัมมานุภาวะ_ปาลิโต จะรามิ_ชินะปัญ_ชะเรติ.
ตัวหนังสือสีแดงคือ ส่วนที่ต้องขึ้นเสียงสูง อาจมีเอื้อนได้เล็กน้อยตามทำนองเพลงสรภัญญะ แต่เมื่อสวดนานๆ ไป ส่วนที่เอื้อนจะน้อยลงเอง
ส่วนที่ขีดคั่นเป็นวรรคตอนที่ใส่เพื่อให้เข้าจังหวะทำนองสรภัญญะ  วรรคที่เป็นสีน้ำเงินคือวรรครองที่เป็นเสียงธรรมดาหรือเสียงทอดต่ำลงมา
ลองท่องเป็นเพลงดูนะครับ วิธีนี้จะทำให้เห็นความแตกต่างจากการอ่านบทสวดมนต์  ส่วนพระสงฆ์ท่านก็มีทำนองและวรรคตอนของท่านเช่นเดียวกัน

3..ต้องสามารถรู้ความหมายของบทสวดมนต์ในแต่ละบทแต่ละบาทได้  ในหนังสือสวดมนต์บางเล่มจะมีคำแปลความหมายไว้ด้วย จำเป็นต้องอ่านและเข้าใจความหมายของคำในภาษาบาลี
ไม่จำเป็นต้องท่องจำคำแปลก็ได้ เพราะคำแปลบางครั้งก็ไม่ได้ตรงกับความหมายเสียทีเดียว ข้อสำคัญคือต้องเข้าใจความหมายของบทนั้นมากกว่า
การเข้าใจความหมาย จะทำให้สามารถรำลึกได้เมื่อลืมบทสวดในตอนหนึ่งตอนใด  และปัญหาอย่างหนึ่งของผู้สวดมนต์ทุกคนจะต้องเจอ คือ เคยจำได้แม่นยำ แต่สวดไปนานๆ หลายๆ ปีเข้า ความใส่ใจในเนื้อหาก็น้อยลงไป ทำให้บางทีต่อบทสวดไม่ได้เหมือนเคย  การเข้าใจความหมายจะทำให้สามารถไล่เรียงคำที่ขาดหายหรือผิดเพี้ยนกลับมาได้ง่ายขึ้น

4..ควรอ่านออกเสียงให้ถูกต้องตามอักขระและวรรณยุกต์  การจะทำเช่นนี้ได้ ผู้สวดจะต้องสะกดคำในบทสวดได้อย่างถูกต้อง ชนิดหลับตาสวดก็สามารถเห็นภาพตัวอักษรที่ใช้สะกดคำนั้นปรากฏขึ้นมา
การออกเสียงในภาษาไทยมีหลายคำที่ไม่พ้องรูปแต่พ้องเสียง ถ้าเราไม่รู้คำในบทสวดชัดเจนอาจทำให้ความหมายผิดเพี้ยนได้

ตัวอย่างเช่น..
โกณฑัญโญปิฏฐิภา_คัสมิง  คำแปลคือ พระโกณทัญญะที่อยู่ทางเบื้องหลัง  ถ้าไม่จดจำตัวสะกดภาษาบาลีแล้ว คำว่า ปิฏฐิภา ซึ่งไม่มีใช้ในภาษาไทย ผู้สวดจะนึกคำที่ถูกต้องไม่ออก แต่จะสวดว่า ปิด-ทิ-พา ซึ่งออกเสียงเหมือนกันแต่ไม่มีความหมายอะไร ให้สะกดก็สะกดไม่ได้เพราะไม่รู้จักที่มาของคำๆ นี้

การจดจำคำสะกดในภาษาบาลีได้ จะช่วยให้จดจำบทสวดที่ถูกต้องได้ ทำให้การสวดนั้นๆ มีความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์  การออกเสียงถูกแต่สะกดไม่ถูกก็จะเหมือนกับคนไทยหลายคนที่พยายามร้องเพลงฝรั่งให้เหมือนต้นฉบับ แต่ไม่รู้ความหมายของคำในเพลง ซึ่งก็คงไม่ต่างไปจากนกแก้ว นกขุนทอง ที่เลียนเสียงของคนได้  

5..ปัญหาของการสวดไม่ต่อเนื่อง หรือ ไม่จบลงได้ มักเกิดจากจิตฟุ้งซ่านไปตามสัญญาอื่นๆ ไม่จดจ่ออยู่กับการสวดมนต์ ทำให้บางทีสวดๆ อยู่ จำไม่ได้ว่าอยู่วรรคไหน ตอนไหนแล้ว พอสะดุดขึ้นมากลางคัน จะไปไม่ถกเลย  เหมือนร้องๆ เพลงอยู่ ถูกขัดจังหวะขึ้นมา จะให้ร้องต่อกลางๆ เพลงมันขึ้นไม่ถูกเสียแล้ว
วิธีการแก้คือ ให้ท่องทวนซ้ำย้อนกลับไปถึงบทก่อนที่จำได้ว่าสวดผ่านมาแล้วอีกที สวดซ้ำๆ อยู่ตรงนั้นในบทเดิม ไม่นานก็จะต่อบทสวดได้

หวังว่าเทคนิกง่ายๆ เหล่านี้จะทำให้ท่านผู้หัดสวดใหม่ได้รับประโยชน์และนำไปใช้ได้บ้าง
ขอความสุข สวัสดี จงมีแก่ทุกท่านที่ได้อ่านบทความนี้ด้วยครับ




 

Create Date : 31 มีนาคม 2558
5 comments
Last Update : 8 พฤษภาคม 2558 9:08:21 น.
Counter : 17261 Pageviews.

 

ขอบคุณที่แนะนำวิธีท่องบทสวด เยี่ยมมากค่ะ

 

โดย: วัชริทร์ ใจ IP: 184.22.108.116 9 เมษายน 2561 11:13:30 น.  

 

ชอบมากค่ะ สวดมนต์ก่อนนอน ทุกคืนค่ะ
//monkatha.com

 

โดย: นีน่า IP: 1.46.232.84 24 พฤษภาคม 2561 8:17:31 น.  

 

ชอบมากค่ะ สวดมนต์ก่อนนอน ทุกคืนค่ะ
//monkatha.com

 

โดย: นีน่า IP: 1.46.232.84 24 พฤษภาคม 2561 8:17:37 น.  

 

ชอบมากค่ะ สวดมนต์ก่อนนอน ทุกคืนค่ะ
//monkatha.com

 

โดย: นีน่า IP: 1.46.232.84 24 พฤษภาคม 2561 8:17:45 น.  

 

ขอบคุณครับ

 

โดย: Natpong Boonsablerdee IP: 171.6.243.135 15 กุมภาพันธ์ 2564 22:12:02 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


*bonny
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




[Add *bonny's blog to your web]