กรกฏาคม 2550

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
กินยาพิษ (Ingestion poisons)
สารพิษหรือยาพิษ ที่เข้าสู่ร่างกายโดยการกิน ที่พบบ่อยๆ ได้แก่

1.ยา เช่น ยาที่ใช้ภายนอก (ทิงเจอร์ไอโอดีน ด่างทับทิม)ยาแก้ปวด (แอสไพริน พาราเซตามอล) ยานอนหลับ ยาถ่าย ยารักษาโรคหัวใจเป็นต้น ยาพวกนี้ถ้ากินเข้าไปจำนวนมากอาจเป็นพิษได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็ก
2.วัตถุเคมีที่ใช้ในบ้าน เช่น ผงซักฟอก น้ำยาขัดพื้นแลกเกอร์ ทินเนอร์ น้ำมันก๊าด ดีดีที เป็นต้น
3.สารเคมีที่ใช้ในทางเกษตรกรรม เช่น ยาฆ่าแมลง ยาปราบวัชพืช เป็นต้น
4.ยาพิษที่ใช้เบื่อสัตว์ เช่น ยาเบื่อหนู ยาเบื่อสุนัข เด็กบางคนอาจกินสารพิษ เพราะความไม่รู้ภาษา หรือ รู้เท่าไม่ถึงการณ์ เช่น ดื่มน้ำมันก๊าด หรือ กินยาเม็ดที่มีสีสันสวยๆ หรือกินยาน้ำที่ออกรสหวาน เป็นต้น ผู้ใหญ่ อาจกินสารพิษเพราะความเผลอเรอ รู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือ จงใจที่จะฆ่าตัวตายก็ได้ สารพิษเหล่านี้ อาจมีผลต่อระบบประสาทและสมอง (ทำให้ชัก หมดสติ อัมพาต) ,ระบบเลือด(เลือดออก โลหิตจางจากไขกระดูกฝ่อ มะเร็งเม็ดเลือดขาว) ,ทางเดินหายใจ(ปอดอักเสบ) ,ตับ (ตับอักเสบ ตับแข็ง) ,ทางเดินอาหาร(ปวดท้อง ท้องเดิน อาเจียน) หรืออื่นๆ บางชนิดอาจระคายเคือง(กัด) ต่อผิวหนังและเยื่อบุของทางเดินอาหาร เช่น สารที่เป็นกรด หรือ ด่างอย่างแรง

อาการ
อาการขึ้นกับชนิด และปริมาณของสารพิษ และระยะเวลาที่กิน ในที่นี้จะกล่าวถึงสารเคมี ที่อาจพบได้บ่อยบางชนิดเท่านั้น เช่น

ยานอนหลับกลุ่มบาร์บิทูเรต ถ้ากินเกินขนาดมากๆ จะทำให้ซึม ไม่ค่อยรู้ตัว หายใจตื้นและช้า เหงื่อออก ตัวเย็น ตัวเขียว รูม่านตาโต และไม่หดเมื่อถูกแสงหมดสติ และตายในที่สุด

แอสไพริน ถ้ากินขนาดมากๆ ทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรด (acidosos) จะมีอาการหายใจหอบลึกหน้าแดง ไข้สูง ปวดท้อง อาเจียน มีภาวะขาดน้ำ มีเลือดออกตามที่ต่างๆ ชัก และหมดสติ ถึงตายได้
พาราเซตามอล ถ้าผู้ใหญ่กินครั้งเดียว 10 กรัม(ประมาณ 20 เม็ด) จะทำให้ตับถูกทำลายภายใน 12 ชั่วโมง ซึ่งอาจแสดงอาการดีซ่าน และตับวายในอีก 2 - 3 วันต่อมา ถ้ากินครั้งเดียว 15 กรัม อาจทำให้ตายได้

ไอโอดีน (เช่น ทิงเจอร์ไอโอดีนที่ใช้ใส่แผล) ทำให้ปากและคอ หลอดอาหารไหม้และเจ็บ อาเจียนออกมาเป็นสีเหลืองหรือสีน้ำเงิน กระหายน้ำ ท้องเดิน (อาจถ่ายเป็นเลือด) อ่อนเพลีย วิงเวียน เป็นลมและชัก

ด่างทับทิม ถ้ากินเกร็ดหรือน้ำด่างทับทิมเข้มข้นจะทำให้กัดเนื้อเยื่อในปาก กล่องเสียงบวม ชีพจรเต้นช้าและช็อก

เมนทอลหรือยูคาลิปตัส ทำให้อาเจียน ท้องเดิน หมดสติ หายใจตื้น ปัสสาวะเป็นเลือด และชัก

น้ำยาบอริก (Boric acid) ทำให้มีไข้ขึ้น ปัสสาวะไม่ออก หน้าแดง ซึม และชัก

ผงซักฟอก อาจทำให้คลื่นไส้อาเจียน ท้องเดิน ถ้ามีส่วนผสมของด่าง ก็อาจทำให้เกิดการระคายเคืองของเยื่อบุทางเดินอาหาร

น้ำมันก๊าด เบนซิน ทินเนอร์ ทำให้อาเจียน ปอดบวมน้ำ (Pulmonary edima) วิงเวียน ชีพจร อ่อนและเต้นไม่สม่ำเสมอ ชัก ถ้าสำลักเข้าไปในปอดทำให้ปอดอักเสบ อาการเป็นพิษเรื้อรัง จะมีอาการปวดศีรษะ ซึม ตามัว มือเย็นและชา อ่อนเพลีย ความจำเสื่อม ใจสั่น ความคิดสับสน ซีด เจ็บในปาก

สารพวกฟีนอล (Phenol) เช่น กรดคาร์บอลลิก (Carbolic acid) ไลซอล (Lysol) เฮกซาคลอโรฟีน (เช่น ไฟโซเฮก) เป็นต้น พวกนี้เป็นกรดอาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อทางเดินอาหาร กระหายน้ำ คลื่นไส้ อาเจียน ปัสสาวะออกน้อย กล้ามเนื้อชักเกร็ง ช็อก และการหายใจล้มเหลว

ฟอสพอรัส (Inorganic phosphorus) ซึ่งมีอยู่ในหัวไม้ขีดไฟ ทำให้เจ็บในปากและลำคอ อาเจียน ท้องเดิน ปวดศีรษะ เยื่อหุ้มปอดอักเสบ อ่อนเปลี้ยเพลียแรง ดีซ่าน ปัสสาวะออกน้อย มีจุดแดงขึ้นตามผิวหนัง และช็อก
ดีดีที จะทำให้มีอาการอ่อนเพลีย ปวดตามแขนขา กระสับกระส่าย กล้ามเนื้อกระตุก ชักและหมดสติ

ยาฆ่าแมลงประเภทออร์แกโนฟอสเฟต >(Organophosphate) เช่น พาราไทออน (Parathion),มาลาไทออน (Malathion),คาร์บาเมต (Carbamate) เป็นต้น มักมีอาการภายใน 2 - 3 ชั่วโมงหลังกิน ด้วยอาการปวดศีรษะ เหงื่อออก น้ำลายฟูมปาก น้ำตาไหล อาเจียน ท้องเดิน กล้ามเนื้อเต้นกระตุก ชัก หอบ ตาลาย รูม่านตาหดเล็ก และอาจตายภายในเวลารวดเร็ว

พาราควอต (Paraquat) ซึ่งมีในยาปราบวัชพืชทำให้เกิดอาการชัก ปอดบวมน้ำ ตับวาย หัวใจวาย ภายในไม่กี่ชั่วโมงจนหลายวัน ในที่สุดจะมีอาการระบบหายใจล้มเหลว เนื่องจากเกิดเยื่อพังผืดในปอด ถ้าขนาดเข้มข้น อาจกัดเยื่อบุหลอดอาหารทำให้ริมฝีปากและลำคอไหม้พอง และเป็นแผล อาจทำให้หลอดอาการเป็นแผลทะลุ
สตริกนิน (Strychnine) ซึ่งมักทำเป็นยาเบื่อสุนัข ทำให้เกิดอาการชัก หลังแอ่น หายใจลำบาก น้ำลายฟูมปาก และขาดออกซิเจน

ไซยาไนด์ (Cyanides) ซึ่งอาจมีอยู่ในยาเบื่อหนู จะทำให้ตัวเขียว หายใจลำบาก ความดันเลือดตก ถึงตายได้รวดเร็ว

สารปรอท ทำให้มีอาการน้ำลายฟูมปาก กระหายน้ำ ปวดแสบปวดร้อนในปาก และลำคอ เยื่อบุในช่องปากบวมและเปลี่ยนสี ปวดท้อง อาเจียน ท้องเดิน (ถ่ายเป็นเลือด) ไม่มีปัสสาวะ และช็อก ถ้าเป็นพิษเรื้อรัง จะมีอาการอ่อนเพลีย เดินเซ มือสั่น ซึมเศร้า เป็นตะคริว

สารหนู (Arsenic) อาการมักเกิดขึ้นภายใน 1 ชั่วโมงหลังกิน (บางคนอาจนานถึง 12 ชั่วโมง) มีอาการปวดท้อง กลืนลำบาก อาเจียนติดๆกัน ท้องเดิน เป็นตะคริว ต่อมาจะรู้สึกกระหายน้ำอย่างรุนแรง และช็อก

เมทิลแอลกอฮอล์ (Methyl alcohol) ซึ่งเป็นแอลกอฮอล์ที่ใช้จุดไฟ เป็นคนละชนิดกับเอทิลแอลกอฮอล์(Ethtl alcohol) ซึ่งทำเป็นเหล้า เบียร์ เมื่อกินเข้าไปอาจทำให้มีอาการปวดศีรษะ ปวดท้อง จุกแน่น คลื่นไส้ อาเจียน และตาบอด(เพราะประสาทตาถูกทำลาย) ผู้ป่วยอาจมีอาการตัวเขียว ชัก และหมดสติ
กรดหรือด่างอย่างแรง ทำให้ผิวหนังและเยื่อบุของทางเดินอาหารถูกกัดไหม้และอักเสบ มีอาการเจ็บในปากและลำคอ กระหายน้ำ คลื่นไส้อาเจียน อาเจียนเป็นเลือด กลืนลำบาก หายใจลำบาก ช็อก บางคนอาจมีการแตกทะลุของหลอดอาหารและกระเพาะ ทำให้กลายเป็นเยื่อบุช่องท้องอักเสบ หรือ หลอดอาหารเกิดการตีบตันจากการอักเสบได้


การปฐมพยาบาล
เมื่อพบคนที่กินสารพิษ ควรให้การปฐมพยาบาลก่อนส่งไปโรงพยาบาล ดังนี้

1.รีบทำให้ผู้ป่วย อาเจียน เอาสารพิษออก ถ้ามียาที่ทำให้อาเจียน ได้แก่ ไอพีแคกน้ำเชื่อม(Syrup of lpecac) ก็ให้ผู้ป่วยกิน ผู้ใหญ่ใช้ขนาด 2 ช้อนโต๊ะ เด็ก 1 ช้อนโต๊ะ ทารกอายุต่ำกว่า 1 ปี 2 ช้อนชา ตามด้วยน้ำหรือนม 2 แก้ว ถ้าไม่มี ให้ใช้นิ้วล้วงเข้าไปเขี่ยที่ผนังลำคอ หรือใช้ปลายด้ามช้อนหรือไม้กดลิ้นเขี่ยก็ได้ ห้ามทำ ถ้าผู้ป่วยหมดสติ ชัก หรือ กินกรด ด่าง น้ำมันก๊าด เบนซิน หรือทินเนอร์ หรือถ้ายังไม่ทราบชนิดของสารพิษ

2.รีบให้ผู้ป่วยดื่มนมหรือน้ำเปล่า 4 - 5 แก้ว เพื่อให้พิษเจือจาง ถ้ามียาถ่าน (Activated charcoa) เช่น อุลตราคาร์บอน (Ultra carbon) ให้ผู้ป่วยกิน 100 - 200 เม็ดเพื่อลดการดูดซึมของสารพิษ ถ้าไม่มีให้กินไข่ดิบ 5 - 10 ฟองแทน สำหรับผู้ป่วยที่กินพาราควอต ให้ดื่มน้ำโคลนจากท้องร่องในสวน(ที่ไม่มีตะปูหรือเศษแก้ว) ซึ่งจะลดพิษของยานี้ ห้ามทำ ถ้าผู้ป่วยหมดสติ หรือชัก
รีบพาไปยังโรงพยาบาล ควรนำสารพิษที่ผู้ป่วยกินหรืออาเจียนออกมาไปให้แพทย์ดูด้วย

3.ถ้าผู้ป่วยหมดสติ หรือชัก ให้ทำการปฐมพยาบาล เช่นเดียวกับผู้ป่วยที่หมดสติ หรือชัก

การรักษา
เมื่อผู้ป่วยมาที่โรงพยาบาล ควรให้การดูแลรักษาดังนี้
1.รีบทำให้ผู้ป่วยอาเจียน และให้กินยาถ่าน เช่นเดียวกับที่แนะนำไว้ในเรื่องการปฐมพยาบาล
2.ทำการสวนล้างกระเพาะด้วยสายสวนกระเพาะ ห้ามทำในรายที่หมดสติ ชัก หรือ กินกรด ด่าง น้ำมันก๊าด เบนซิน หรือทินเนอร์
3.ให้การรักษาตามอาการเช่น
*ถ้ามีภาวะขาดน้ำ ช็อก หรือ หมดสติ ให้น้ำเกลือ
*ถ้าหายใจลำบากหรือตัวเขียวให้ออกซิเจน และอาจต้องเจาะคอช่วยหายใจถ้ามีภาวะปอดบวมน้ำ(ผู้ป่วยมีอาการหอบและฟังปอดมีเสียบกรอบแกรบ) ให้ฉีด ลาซิกซ์ 2 หลอดเข้าเส้น
*ถ้าชัก ฉีดไดอะซีแพม 5 - 10 มก.เข้าเส้น
*ถ้ามีภาวะเลือดเป็นกรด ฉีดโซเดียมไปคาร์บอเนต
*ถ้ามีภาวะไตวาย อาจต้องทำไดอะไลซิส(dialysis)
*ถ้ามีการติดเชื้อ เช่น ปอดอักเสบ ให้ยาปฏิชีวนะ
4.ให้การรักษาตามสาเหตุที่พบ เช่น
*ถ้าเกิดจากยาฆ่าแมลงประเภทออร์แกโนฟอสเฟต(ผู้ป่วยจะมีรูม่านตาหดเล็กทั้งสองข้าง) ควรฉีดอะโทรฟีน ขนาด 0.05 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เข้ากล้ามเนื้อเข้าเสันทุก 5 - 10 นาที จนกระทั่งรูม่านตาขยาย และมีอาการคอแห้ง หลังจากนั้นไห้ยาต้านพิษได้แก่ พราลิดอกไซม์ (Pralidoxime) มีชื่อทางการค้าเช่น 2 - PAM , protopam ขนาด 25 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (สูงสุด 1 กรัม) ผสมน้ำเกลือ 100 มล. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำช้าๆ ถ้าอาการหายใจยังไม่ดีขึ้นให้ฉีดซ้ำได้ในอีก 30 นาที ต่อมา(สำหรับผู้ป่วยที่กินคาร์บาเมตไม่จำเป็นต้องให้ พราลิดอกไซม์)
*ถ้าเกิดจขากสารหนูให้ยาต้านพิษได้แก่ ไดเมอร์แคพรอล (dimercaprol) มีชื่อทางการค้าเช่น บีเอแอล (BAL) โดยฉีดเข้ากล้ามขนาด 3 - 4 มก.ต่อ กก.ทุก 4 ชั่วโมง ใน 2 วันแรก และให้ทุก 12 ชั่วโมง ติดต่อกันอีก 8 วัน
*ถ้าเกิดจากดีดีที นอกจากสวนล้างกระเพาะด้วยน้ำอุ่นแล้ว ควรให้กินยาระบายได้แก่ โซเดียมซัลเฟต (Sodium sulfate) ขนาด 30 กรัมในน้ำ 200 มล.และให้กินฟีโนบาร์บิทาลเพื่อสงบประสาท

ข้อแนะนำ
1.ผลการรักษาขึ้นกับชนิดและปริมาณของสารพิษที่ได้รับ สภาพของผู้ป่วยและความรุนแรงของโรค ถ้าหากได้รับการปฐมพยาบาลอย่างถูกต้องและได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ก็มีโอกาสรอดได้
2.ผู้ที่ได้รับสารพิษมักมีอาการแสดงภายใน 36 ชั่วโมง ถ้าหลัง 36 ชั่วโมงไปแล้ว ยังไม่ปรากฎอาการก็ถือว่าปลอดภัย
3.ควรป้องกันมิให้เด็กหยิบยาหรือสารเคมีกินเองโดยเก็บยาและสารเคมีให้มิดชิดหรือไว้ในที่สูงเกินกว่าเด็กจะหยิบถึง
4.ควรป้องกันการหยิบยาผิด หรือกินถูกสารพิษโดยความเผลอเรอ โดย
*เก็บยาไว้ในที่มิดชิด หรือไว้ในตู้ยาที่เด็กหยิบเองไม่ได้
*เขียนฉลากยาให้ชัดเจน
*สารเคมีที่มีพิษควรเก็บไว้เป็นที่เฉพาะและปิดให้มิดชิด อย่าปะปนกับอาหารที่กินหรือวางอยู่ในตู้กับข้าว

ควรเก็บยาและสารเคมีให้มิดชิดและอยู่ไกลมือเด็ก



Create Date : 12 กรกฎาคม 2550
Last Update : 18 กรกฎาคม 2550 10:33:22 น.
Counter : 3081 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ธิดาดอง
Location :
กรุงเทพฯ -  Canada

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



คนเป็นสิ่งมีชีวิต เปลี่ยนแปลงได้
Google