กรกฏาคม 2550

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก (Burns)
บาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก
เป็นอุบัติเหตุที่พบได้ บ่อยทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ถ้าเป็นเพียงเล็กน้อย จะมีอาการปวดแสบปวดร้อนพอทนได้ และค่อยๆหายไปได้เอง แต่ถ้าเป็นมาก (กินบริเวณกว้างและแผลลึก) มักจะมีภาวะแทรกซ้อน ทำให้ทุพพลภาพหรือตายได้
การรักษามักเกิดจากความประมาทเลินเล่อ รู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือเกิดจากอุบัติเหตุต่างๆ สิ่งที่ทำให้เกิดบาดแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ที่พบบ่อยได้แก่

-ความร้อน เช่น น้ำร้อน(หม้อน้ำ กระติกน้ำ กาน้ำ ไอน้ำ) -น้ำมันร้อนๆ (ในกะทะ) ไฟ (เตาไฟ ตะเกียง บุหรี่ ประทัด พลุ ) วัตถุที่ร้อน (เช่น เตารีด จานชามที่ใส่ของร้อน)
-ไฟฟ้าช็อต
-สารเคมี เช่น กรดด่าง
-รังสี เช่น แสงอุลตราไวโอเลต (แสงแดด) รังสี เรเดียม รังสีโคบอลด์ ระเบิดปรมาณู เป็นต้น

อาการ
อาการขึ้นกับ ขนาด ความลึก และตำแหน่งของบาดแผล

ขนาด หมายถึง บริเวณพื้นที่ของบาดแผล แผลขนาดใหญ่(กินบริเวณกว้าง) จะมีอันตรายกว่าแผลขนาดเล็ก อาจทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำโปรตีนและเกลือแร่ถึงกับเกิดภาวะช็อกได้ และอาจมีโอกาสติดเชื้อถึงขั้นเป็นโลหิตเป็นพิษถึงตายได้ การประเมินขนาดความกว้างของบาดแผล นิยมคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ผิวหนังทั่วร่างกาย ถ้าคิดหยาบ ๆให้เทียบเอาว่าแผลขนาดหนึ่งผ่ามือเท่ากับ 1 % ของผิวหนังทั่วร่างกาย เช่น ถ้าแผลมีขนาดเท่ากับ 10 ฝ่ามือ (ของผู้ป่วย) ก็คิดเป็นประมาณ 10 % เป็นต้น ทางการแพทย์ได้แบ่งเปอร์เซ็นต์ของผิวหนังตามส่วนต่างๆ ของร่างกายเป็นมาตรฐานทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งสะดวกในการคิดคำนวณ
ความลึก ผิวหนังมีความลึก 2 ชั้น ได้แก่ ชั้น หนังกำพร้า (Epidermis) และชั้นหนังแท้ (dermis) เราแบ่งบาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ออกเป็น 3 ขนาด ด้วยกันดังนี้
ก. บาดแผลดีกรีที่ 1 หมายถึง บาดแผลที่มีการทำลายของเซลล์หนังกำพร้าชั้นผิวนอกเท่านั้น หนังกำพร้าชั้นในยังไม่ถูกทำลาย สามารถเจริญขึ้นมาแทนที่ส่วนผิวนอกได้จึงมีโอกาสหายได้สนิท และไม่มีแผลเป็น(ยกเว้นถ้ามีการติดเชื้ออักเสบ) มักเกิดจากการถูกแดดเผา (อาบแดด) การถูกน้ำร้อนไอน้ำเดือดหรือวัตถุที่ร้อนเพียงเฉียดๆ และไม่นาน ผิวหนังส่วนที่เป็นบาดแผลจะมีลักษณะแดง บวมเล็กน้อยและปวดแสบปวดร้อน ไม่มีตุ่มพองหรือหนังหลุดลอก มีลักษณะแบบเดียวกับรอยแดดเผา ซึ่งถือเป็นบาดแผลไหม้ดีกรีที่ 1 แบบหนึ่ง บาดแผลดีกรีที่ 1 ไม่ทำให้เกิดการสูญเสียน้ำและโปรตีน จึงไม่ต้องคิดเปอร์เซ็นต์ของผิวหนังที่เกิดบาดแผลมักจะหายได้เองและไม่มีอันตรายร้ายแรง
ข. บาดแผลดีกรีที่ 2 หมายถึงบาดแผลที่มีการทำลายของหนังกำพร้าตลอดทั้งชั้น(ทั้งชั้นผิวนอกและชั้นในสุด) และหนังแท้ส่วนที่อยู่ตื้นๆ(ใต้หนังกำพร้า) แต่ยังมีเซลล์ที่สามารถเจริญทดแทนส่วนที่ตายได้ จึงหายได้เร็วและไม่เกิดเป็นแผลเป็นเช่นกัน(ยกเว้นถ้ามีการติดเชื้อ) มักเกิดจากถูกของเหลวลวก หรือถูกเปลวไฟ บาดแผลจะมีลักษณะแดงและพุเป็นตุ่มน้ำขนาดเล็กและใหญ่ ผิวหนังอาจหลุดลอกเห็นเป็นเนื้อแดงๆ มีน้ำเหลืองซึม มีอาการเจ็บปวด อาจทำให้สูญเสียน้ำ โปรตีนและเกลือแร่ และติดเชื้อได้ง่าย
ค. บาดแผลดีกรีที่ 3 หมายถึง บาดแผลที่มีการทำลายของหนังกำพร้าและหนังแท้ทั้งหมด รวมทั้งต่อมเหงื่อขุมขนและเซลล์ประสาท ผู้ป่วยมักไม่มีความรู้สึกเจ็บปวดที่บาดแผล ผิวหนังทั้งชั้นจะหลุดลอกเห็นเป็นเนื้อแดงๆ หรือแดงสลลับขาว หรืเป็นเนื้อที่ไหม้เกรียม มักเกิดจากไฟไหม้หรือถูกของร้อนนาน ๆ หรือไฟฟ้าช็อต ถือเป็นบาดแผลที่ร้ายแรง อาจเกิดภาวะขาดน้ำหรือติดเชื้อรุนแรงได้ แผลมักจะหายยากและเป็นแผลเป็นอาจมีบาดแผลที่มีความลึกขนาดต่างๆ กันในคนเดียวกันได้ และบางครั้งในระยะแรก อาจแยกบาดแผลดีกรีที่ 2 และ 3 ออกจากกันไม่ชัดก็ได้ แต่อย่างไรก็ตามทั้งสองชนิดนี้ล้วนถือเป็นบาดแผลที่มีอันตรายรุนแรง และควรคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของผิวหนังที่เกิดบาดแผล ตำแหน่ง บาดแผลบนใบหน้า อาจทำให้เป็นแผลเป็นและเสียโฉมได้มาก ถ้าถูกบริเวณตา อาจทำให้ตาบอดได้ แผลที่มือและตามข้อพับต่างๆอาจทำให้ข้อนิ้วมือและข้อต่างๆ มีแผลเป็นดึงรั้ง ทำให้เหยียดออกไม้ได้ ถ้าสูดควันไฟเข้าไปในปอดระหว่างเกิดเหตุ อาจทำให้เยื่อบุของทางเดินหายใจเกิดการอักเสบ กลายเป็นหลอดลมอักเสบและปอดอักเสบ อาจรุนแรงจนหายใจไม่ได้ถึงตายได้

การปฐมพยาบาล
เมื่อพบเห็นคนที่มีบาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ควรรีบให้การช่วยเหลือ ก่อนส่งโรงพยาบาลดังนี้

ก. บาดแผลดีกรีที่ 1
รีบให้น้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบบริเวณที่มีบาดแผลเพื่อลดอาการปวดแสบปวดร้อน และป้องกันมิให้เนื้อเยื่อถูกทำลายมากขึ้น อาจใช้น้ำเย็นราด หรือแช่ในน้ำใส่น้ำแข็ง หรือใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำเย็นประคบ หรือใช้ถุงพลาสติกใส่น้ำแข็งผสมเล็กน้อย วางตรงบริเวณที่มีบาดแผลอย่างน้อย 20 นาที หรือจนกว่าอาการปวดแสบปวดร้อนลดลง
ปิดแผลด้วยผ้าก๊อซ หรือผ้าสะอาด
ถ้ายังมีอาการปวดแสบปวดร้อน หรือมีตุ่มน้ำใส ควรไปหาหมอ
ข. บาดแผลดีกรีที่ 2
รีบใช้น้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบ ใช้ผ้าสะอาดเช็ดให้แห้ง แล้วใช้ผ้าก๊อชหรือผ้าสะอาดปิดไว้
ถ้าบาดแผลกว้าง เช่น ประมาณ 10 - 15 ฝ่ามือ(10 - 15%) ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะช็อกได้รวดเร็ว หรือเกิดที่บริเวณหน้า(รวมทั้งปาก และจมูก) ซึ่งอาจทำให้หายใจลำบาก หรือเกิดที่ตา ,หู,มือ,เท้า หรืออวัยวะสืบพันธ์ซึ่งอาจเป็นแผลเป็นได้ง่าย ควรนำส่งโรงพยาบาลทันที ขณะที่รอส่งโรงพยาบาลอาจให้การช่วยเหลือเบื้องต้นโดย
เปลื้องเสื้อผ้าออกจากบริเวณที่ถูกไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวกถ้าถอดออกลำบากควรตัดออกเป็นชิ้นๆ แต่ถ้าเสื้อผ้าติดกับบาดแผลแน่น ก็ไม่ต้องดึงออก เพราะจะเจ็บมาก ควรใช้ผ้าสะอาดคลุม
ให้ยกส่วนที่มีบาดแผลไว้ให้สูงกว่าระดับหัวใจ
ถ้ามีกำไลหรือแหวน ควรถอดออก หากปล่อยไว้ นิ้วหรือข้อมืออาจบวมทำให้ถอดออกยาก
ถ้าผู้ป่วยกระหายน้ำ หรือใช้เวลามากกว่า 2 ชั่วโมงในการเดินทางไปถึงสถานพยาบาลควรให้ผู้ป่วยดื่มน้ำดื่มโดยใส่เกลือลงเล็กน้อย(เกลือ 0.5 ช้อนโต๊ะ ในน้ำ 1 ขวดแม่โขง) หรือาจให้กินน้ำส้มคั้นใส่เกลือก็ได้ ควรให้ดื่มครั้งละ 1/4 - 1/2 แก้ว ทุก ๆ 15 นาที
ควรใช้ผ้าสะอาดบางๆ คลุมร่างกายของผู้ป่วย และให้ผู้ป่วยนอนยกเท้าสูงเล็กน้อย
ให้พาราเซตามอล 1 - 2 เม็ดเพื่อระงับปวด และอาจให้ไดอะซีแพม ขนาด 5 มิลลิกรัม 1/2 - 1 เม็ด

ค. บาดแผลดีกรีที่ 3 เนื่องจากเป็นบาดแผลลึกซึ่งมีอันตรายร้ายแรงได้จึงควรส่งไปรักษาที่โรงพยาบาลโดยเร็วทุกราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าบาดแผลมีขนาดมากกว่า 10 % (ในเด็ก) หรือ 15 % (ในผู้ใหญ่) ก่อนสงโรงพยาบาล อาจให้การปฐมพยาบาลเช่นเดียวกับบาดแผลดีกรีที่ 1 และ 2 ดังกล่าว
การรักษาสำหรับการรักษาในสถานพยาบาล โดยแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอาจกระทำดังนี้
ถ้าเป็นเพียงบาดแผลลดีกรีที่ 1 ให้ล้างแผลด้วยน้ำเกลือ ซับให้แห้ง แล้วทาด้วยครีมสเตอรอยด์บางๆ หรือทาด้วยวาสลิน หรือน้ำมันมะกอก และให้ยาแก้ปวด ถ้ารู้สึกปวด
ถ้าเป็นบาดแผลดีกรีที่ 2 หรือ 3
1.ควรส่งผู้ป่วยไปรักษาที่โรงพยาบาลโดยเร็วใน กรณีดังต่อไปนี้
*บาดแผลดีกรีที่ 3 มีขนาดมากกว่า 2 ผ่ามือ
*บาดแผลดีกรีที่ 2 มีขนาดมากกว่า 10 ฝ่ามือ (10%) ในเด็ก หรือ 15 ฝ่ามือ (15%) ในผู้ใหญ่
*บาดแผลเกิดที่ตา หู ใบหน้า มือ เท้า อวัยวะ สืบพันธ์ ตามข้อพับต่างๆ
*บาดแผลในทารก เด็กเล็กและผู้สูงอายุ
สูดควันไฟเข้าไประหว่างเกิดเหตุ
*มีภาวะช็อก ควรให้น้ำเกลือมาระหว่างทาง

2.ถ้าไม่มีอาการดังในข้อ 1 อาจให้การรักษาโดย
*ชะล้างแผลด้วยน้ำกับสบู่
*ถ้ามีตุ่มพองเล็ก ๆ เพียง 2 - 3 อันเกิดที่ฝ่ามือไม่ควรใช้เจ็มเจาะ ให้ทาด้วยยาฆ่าเชื้อ เช่น ทิงเจอร์ใส่แผลสด (Merthiolate) แล้วปิดด้วยผ้าก๊อช ตุ่มจะค่อยๆแห้งและหลุดล่อนไปเองใน 3 - 7 วัน
*ถ้ามีตุ่มพองที่แขน ขา หลังมือ หลังเท้าหลังจากทำความสะอาดด้วยน้ำกับสบู่แล้ว ให้ใช้มีดหรือกรรไกรที่ทำให้ปราศจากเชื้อเจาะเป็นรู แล้วใช้ผ้าก๊อชที่ปราศจากเชื้อกดซับน้ำเหลืองให้แห้ง ใช้ทิงเจอร์ใส่แผลสด ทาแล้วพันด้วยผ้ายึดให้ผิวที่พองกดแนบสนิท ภายใน 2 - 3 วัน หนังที่พองจะหลุดล่อน
*ถ้ามีตุ่มพองเป็นบริเวณกว้าง ให้ใช้กรรไกรที่ทำให้ปราศจากเชื้อ (เช่น แช่ในแอลกอฮอล์แล้ว) ขลิบเอาหนังที่พองออกแล้วล้างด้วยน้ำเกลือ ซับให้แห้ง แล้วทาด้วยครีมซัลฟาไมลอน(Sulfamylon) ,ขึ้ผึ้งแบกตาซิน ,น้ำยาเบตาดีน,ครีมวิลเวอร์ซัลลฟาไดอาซีน หรือพ่นด้วยสเปรย์ฟรีเดกซ์ ถ้าเป็นบริเวณแขนหรือขา ให้ให้ผ้าพันถ้าเป็นที่หน้าหรือลำตัว ให้เปิดแผลไว้ ควรล้างแผล และใส่ยาวันละ 1 - 2 ครั้ง เมื่อดีขึ้นค่อยทำห่างขึ้น
*ควรให้ยาแก้ปวด และยาปฏิชีวนะ เช่น เพนวี หรือ อีริโทรมัยซิน และควรแนะนำให้ฉีดยาป้องกันบาดทะยัก
*ถ้าบาดแผลไม่ดีขึ้นใน 1 -2 สัปดาห์หรือมีอาการติดเชื้อ หรืออาการทั่วไปไม่ดี (เช่น มีไข้สูง เบื่ออาหาร)ควรส่งไปรักษาที่โรงพยาบาล ถ้าบาดแผลลึก อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด ปลูกหนัง (Skin graft)
ข้อแนะนำ
1.การปฐมพยาบาลบาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่แนะนำในปัจจุบันคือ รีบใช้น้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบทันทีหลังเกิดเหตุ อย่าใช้ยาสีฟัน น้ำปลา หรือยาหม่อง ทา
2.บาดแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ที่เกิดในเด็กเล็กและผู้สูงอายุ ถึงแม้จะมีขนาดไม่กว้างมาก แต่ก็อาจมีอันตรายมากกว่าที่พบในคนหนุ่มสาว ดังนั้นจึงควรแนะนำไปรักษาที่โรงพยาบาลทุกราย
3.บาดแผลที่ข้อพับ อาจทำให้เกิดแผลเป็นดึงรั้งข้อต่อให้คดงอ(เหยียดไม่ได้) สามารถป้องกันได้โดยใช้เฝือกดามข้อในบริเวณนั้นไว้ตั้งแต่แรก
4.ภาวะแทรกซ้อนของโรคนี้ ในระยะ 2 - 3 วันแรก คือภาวะขาดน้ำและช็อก ถ้ามีบาดแผลกว้างแพทย์จะให้น้ำเกลือชนิดริงเกอร์แลกเทต (Ringer's lactate) ในวันแรกอาจให้ขนาด 4 มล.ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ต่อเนื้อที่บาดแผล 1 เปอร์เซ็นต์ โดยให้ครึ่งหนึ่งใน 8 ชั่วโมงแรกอีกครึ่งหนึ่งที่เหลือให้หมดใน 16 ชั่วโมงต่อมา วันต่อมาอาจต้องให้น้ำเกลือและพลาสมา ส่วนการติดเชื้ออาจเกิดขึ้นหลังจากมีบาดแผล 2 - 3 วันไปแล้ว(หรือหลัง 1 สัปดาห์) ถ้าบาดแผลมีขนาดกว้างก็มีโอกาสติดเชื้อรุนแรง โดยทั่วไป ถือว่าบาดแผลดีกรีที่ 2 ที่มีขนาดมากกว่า 30 % หรือ บาดแผลดีกรีที่ 3 ที่มีขนาดมากกว่า 10 % ถือเป็นบาดแผลรุนแรง รักษายากและมักจะมีอัตราตายสูง
5.ผู้ที่มีบาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ควรกินอาหารโปรตีน (เช่น เนื้อ นม ไข่)ให้มากๆ เพราะร่างกายมีการสูญเสียโปรตีนออกไปทางบาดแผล
6.ถ้ามีบาดแผลถูกกรดหรือด่าง ควรให้การปฐมพยาบาล โดยรีบซะล้างแผลด้วยน้ำก๊อก นานอย่างน้อย 5 นาที แล้วส่งโรงพยาบาล แพทย์อาจให้การรักษาแบบเดียวกับบาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก
7.ควรหาทางป้องกันบาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกโดย

@อย่าให้เด็กเล็กเล่นในห้องครัว
@อย่าวางกาน้ำร้อน หม้อน้ำแกง กระติกน้กร้อน ตะเกียง ไม้ขีดหรือวัตถุอื่นๆ ที่มีความร้อนไว้ไกล้มือเด็ก
@อย่าวางบุหรี่ ตะเกียง ใกล้ผ้าห่ม มุ้ง หรือสิ่งที่อาจติดไฟได้ง่าย
เมื่อถูกของร้อนรีบใช้ความเย็นแก้




Create Date : 12 กรกฎาคม 2550
Last Update : 18 กรกฎาคม 2550 10:38:40 น.
Counter : 1042 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ธิดาดอง
Location :
กรุงเทพฯ -  Canada

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



คนเป็นสิ่งมีชีวิต เปลี่ยนแปลงได้
Google