|
| 1 |
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 | 31 | |
|
|
|
|
|
|
|
ภาวะไฮเปอร์ไธรอย์ในสุนัข (Hyperthyroidism)
Hyperparathyroidism
Hyperparathyroidism เป็นภาวะที่ต่อม parathyroid ผลิตฮอร์โมน parathyroid มากเกินไป ฮอร์โมน parathyroid ทำหน้าที่รักษาสภาพสมดุลย์ของแคลเซียมและฟอสฟอรัสในเลือด ถ้าแคลเซียมในเลือดต่ำ ฮอร์โมน parathyroid จะมีระดับเพิ่มขึ้นเพื่อดึงแคลเซียมออกจากกระดูกสู่เลือดและเนื้อเยื่ออื่นๆ
ต่อม parathyroid ตั้งอยู่ชิดกับต่อม thyroid ในคอ hyperparathyroidism นั้นมีอยู่ 2 แบบด้วยกัน คือ
Primary hyperparathyroidism
เกิดขึ้นเมื่อต่อม parathyroid เกิดอาการผิดปกติ ผลิตฮอร์โมน parathyroid ออกมามากเกินไป
ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุทำให้ระดับแคลเซียมในเลือดสูงกว่าระดับปกติ Primary hyperparathyroidism มักพบในสัตว์ที่มีอายุมาก และมักพบได้ในสุนัขมากกว่าแมว สัตว์ที่เป็นโรคจะไม่รู้สึกหิว โดยจะมีอาการอาเจียน ดื่มน้ำและถ่ายปัสสาวะมาก มีอาการง่วงซึมหรืออ่อนเพลีย
การรักษาทำได้โดยกำจัดต่อม parathyroid ที่มีความผิดปกติหรือเป็นมะเร็งทิ้ง การกำจัดต่อมจะทำให้ฮอร์โมน parathyroid ลดลงในทันทีทันใด ทำให้สอดคล้องกับระดับแคลเซียมในเลือด การรักษาด้วยวิธีนี้สัตว์จะต้องถูกตรวจสอบติดตามอย่างใกล้ชิดหลังจากการผ่าตัด และจะต้องให้แคลเซียมเพิ่มด้วยถ้ายังมีระดับต่ำเกินไป
Secondary (nutritional) hyperparathyroidism
เกิดมากและถี่ในลูกสุนัขและลูกแมวที่ถูกเลี้ยงดูด้วยเนื้อเพียงอย่างเดียว หรือ organ diet เช่น ตับ ซึ่งไม่มีความสมดุลของแคลเซียมและฟอสฟอรัส ในเนื้อจะมีฟอสฟอรัสจำนวนมาก ขณะที่แคลเซียมมีจำนวนไม่เพียงพอ ถึงแม้ว่าแมวและสุนัขจะเป็นสัตว์กินเนื้อแต่พวกมันก็ไม่ได้กินเนื้อเพียงอย่างเดียว หากรวมถึงกระดูกด้วยเพราะมีความสำคัญในการรักษาสภาพสมดุลของแคลเซียมและฟอสฟอรัส
การได้รับแคลเซียมต่ำ ต่อม parathyroid จะผลิตฮอร์โมน parathyroid มากขึ้น และแคลเซียมจะถูกดึงออกมาจากกระดูก ลูกแมวและลูกสุนัขที่เป็นโรคนี้มักจะเคลื่อนที่ได้ไม่สะดวก และยืนขาถ่าง อีกทั้งเกิดการแตกหักของกระดูกได้ง่ายเพราะกระดูกบางมาก การเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นของกระดูกนี้ มักเป็นสาเหตุให้เกิดการเจริญเติบโตผิดปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกระดูกสันหลังและกระดูกก้นกบ เป็นเหตุให้เกิดโรคไขข้ออักเสบได้
การดูแลรักษาขั้นพื้นฐานจะเกี่ยวข้องกับการรักษาสมดุลของอาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์ ส่วนโครงกระดูกที่ถูกทำให้เสียรูปไปแล้วนั้นไม่สามารถรักษาให้หายได้เหมือนเดิม
ขอขอบคุณ โรงพยาบาลสัตว์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ที่เอื้อเฟื้อข้อมูล
Create Date : 25 ตุลาคม 2548 |
Last Update : 25 ตุลาคม 2548 23:20:09 น. |
|
0 comments
|
Counter : 1622 Pageviews. |
|
|
|
|
|
|
|