<<
เมษายน 2557
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
14 เมษายน 2557

“กทค.” กำหนดคลอดราคาประมูล 4G 18 เม.ย.

กทค. เตรียมเคาะราคาตั้งต้นประมูล 4G ในคลื่น 1800 MHz 18 เม.ย.นี้ พร้อมเผยคลื่น 900 MHz ไม่กำหนดการถือครองคลื่น แจกแน่ 1 ราย 2 ใบอนุญาต “10MHz-7.5MHz” ระบุต้องครอบคลุม40%ภายใน 4 ปี

       พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่า ที่ประชุมบอร์ดกทค.เมื่อวันที่ 9 เม.ย. มีมติเห็นชอบในหลักการสอดคล้องกับคณะอนุกรรมการ 1800 MHz ถึงวิธีการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz และคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz หลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน ของบริษัททรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) ในเครือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) เพื่อนำไปคำนวณราคาตั้งต้นการประมูล หรือ reserve price ต่อไป

       ทั้งนี้ในวันที่ 18 เม.ย. 2557 จะมีการประชุมคณะอนุฯ เพื่อเคาะวิธีการประมูล และการกำหนดราคาตั้งต้นการประมูล อีกครั้ง เพื่อนำเข้าที่ประชุมบอร์ด กทค.ในวันเดียวกัน ในกรณีคลื่นความถี่ 1800 MHz จากนั้นจะนำเข้าสู่ที่ประชุม กสทช.ในวันที่ 23 เม.ย.2557 เพื่อมีมติเห็นชอบให้นำร่างหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการประมูลนำไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) ต่อไป โดยยังคงกรอบระยะเวลาเดิมที่จะเปิดประมูลได้ในเดือน ส.ค.2557 และให้ใบอนุญาตได้ในเดือน ก.ย.นี้

       ขณะที่หลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz จำนวน 25 MHz เบื้องต้นแบ่งเป็นช่วงคลื่น (สล็อต) ละ 12.5 MHz จำนวน 2 ใบอนุญาต(ไลเซ่นส์) ซึ่งมีอายุใบอนุญาต 19 ปี ส่วนคลื่นความถี่ 900 MHz จำนวน 17.5 MHz ของ เอไอเอส จะจัดให้มีการประมูลล่วงหน้าเดือนพ.ย.2557 โดยจะแบ่งเป็น 2 สล็อต 2 ไลเซ่นส์ สล็อตละ 10 MHz 1 ใบ และ 7.5 MHz 1 ใบ อายุใบอนุญาต 15 ซึ่งเอไอเอสจะหมดสัมปทานวันที่ 30ก.ย.2558 จาก ผู้ให้สัมปทาน บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)

       อีกทั้งบอร์ดกทค.ยังได้กำหนดอัตราเพดานการถือครองคลื่นความถี่(Spectrum Cap) โดยคลื่น 1800 MHz ผู้ประกอบการหนึ่งรายไม่สามารถประมูลทั้ง 2 ใบอนุญาตได้ ส่วนคลื่น 900 MHz ไม่กำหนดเพดานการถือครอง

“สาเหตุที่ไม่ได้กำหนด Spectrum Cap ในคลื่น 900 MHz เนื่องจากจะเป็นการกีดกันผู้ประกอบการรายเล็ก หรือรายใหม่ที่ต้องการเข้ามาประมูลด้วย รวมถึงมีอุปสรรคต่อการลงทุนเนื่องจากเป็นช่วงคลื่นที่ติดกันหากได้เพียงใบอนุญาตเดียวอาจจะไม่สามารถทำตลาดได้เต็มศักยภาพเท่าที่ควร”

       นอกจากนี้ยังกำหนดการครอบคลุมของโครงข่าย ของผู้ประกอบการที่จะต้องลงทุนโครงข่ายให้ครอบคลุม 40% ของจำนวนประชากรภายใน4 ปี ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการรายเดิมหรือรายใหม่ทั้ง 2 ช่วงคลื่นความถี่ที่จะนำมาประมูล โดยเหตุที่กำหนดน้อยกว่าตอนประมูลคลื่นความถี่ 2.1GHz หรือ 3G นั้นเนื่องจากคลื่นความถี่ 1800MHz ส่วนใหญ่จะนำไปเปิดให้บริการเฉพาะในเมืองเท่านั้น อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้รายเล็ก หรือรายใหม่ สามารถลงทุนในอุตสาหกรรมนี้ได้

       อย่างไรก็ดีราคาตั้งต้นของใบอนุญาต ที่สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ไอทียู ได้นำเสนอหลักการ และสูตรการคำนวณราคาตั้งต้นการประมูล เพื่อมาคำนวณเป็นราคาตั้งต้นประกอบด้วย 1.คำนวณจากมูลค่าการประกอบการธุรกิจของผู้ประกอบการทั้งรายใหญ่ และรายเล็ก โดยคำนึงถึงมูลค่าของธุรกิจทั้งหมดคุ้มค่ากับมูลค่าคลื่นที่จะประมูลหรือไม่ 2.นำตัวเลขของการประมูลคลื่นความถี่หลายๆ คลื่นความถี่ จากสถิติราคาประมูลของประเทศอื่นๆ ที่เกิดขึ้นจริง

       แหล่งข่าวจากสำนักงาน กสทช. ระบุอีกว่า การคำนวณราคาตั้งต้นการประมูลนั้น หลังจากเลือกวิธี และสูตรการคิดแล้ว เมื่อได้ราคาการประมูลที่แท้จริง โดยตามหลักสากล ราคาที่แท้จริงจะถูกหักลบลงจากราคาจริงอีก20-40% โดยไอทียู ได้เสนอให้ กทค.ลดราคาแค่เพียง 30%

       Company Relate Link :
กสทช.




 

Create Date : 14 เมษายน 2557
0 comments
Last Update : 14 เมษายน 2557 20:54:33 น.
Counter : 802 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


hutza
Location :
อุบลราชธานี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




[Add hutza's blog to your web]