บันทึกอิเล็กทรอนิกส์
 
มกราคม 2551
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
23 มกราคม 2551
 
 
ตัวเก็บประจุ Capacitor

ตัวเก็บประจุ (Capacitor) หรือ ตัว C เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่งที่ถูกใช้ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ตัวเก็บประจุจะประกอบไปด้วย แผ่นโลหะตัวนำ 2 แผ่น วางห่างกัน โดยมี สารไดอิเล็กทริกกั้นอยู่ ระหว่างแผ่นตัวนำทั้ง 2 ซึ่งทำหน้าที่เก็บประจุไฟฟ้าไว้ที่ตัวมันและคายประจุไฟฟ้าออกมา ตัวเก็บประจุ จะมีหน่วยเป็น F (ฟารัด ) ซึ่งตัวเก็บประจุเองจะแบ่งชนิดออกเป็น ตัวเก็บประจุ แบบมีขั้ว และ ตัวเก็บประจุแบบไม่มีขั้ว





สัญลักษณ์ของตัวเก็บประจุ


แบบมีขั้ว
แบบไม่มีขั้ว

หลักการทำงานของตัวเก็บประจุ การทำงานของตัวเก็บประจุมีอยู่ 2 ลักษณะคือ การเก็บประจุ(Charge) และการคายประจุ(Discharge)








ดูวิดีโอ เด็ดๆ อย่างอื่น เพิ่มเติม คลิกมาเลยที่นี่

จาก VDO ในสภาวะแรกยังไม่จ่ายไฟให้กับวงจร เมื่อกดสวิตช์ SW1 จะทำให้มีกระแสไหลผ่านตัวเก็บประจุแรงดันตกคร่อมที่ตัวเก็บประจุจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนเกือบเท่าแหล่งกำเนิดก็จะหยุดเก็บเราเรียกว่าสภาวะการเก็บประจุ ต่อมาเราก็ปล่อยสวิตช์ SW1 จะเห็นว่ามีแรงดันค้างอยู่ที่ตัวเก็บประจุ เมื่อเราทำการกดสวิตช์ SW2 จะทำให้แรงดันที่ตัวเก็บประจุเกิดการถ่ายเทประจุจากขั้วบวกไปหาขั้วลบของตัวเก็บประจุจนหมดเราเรียกสภาวะนี้ว่าการคายประจุ

ตัวเก็บประจุแบบค่าคงที่
ตัวเก็บประจุแบบค่าคงที่ ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน มีหลายชนิด ชนิดอิเล็กทรอไลติก และชนิดเซรามิก ตัวเก็บประจุชนิดเซรามิก โดยทั่วไป ตัวเก็บประจุ ชนิดนี้มีลักษณะกลมๆ แบนๆ ดังในรูปบางครั้งอาจจะพบแบบสี่เหลี่ยมแบนๆ ส่วนใหญ่ ตัวเก็บประจุ ชนิดนี้ จะมีค่าน้อยกว่า 1 ไมโครฟารัด และเป็น ตัวเก็บประจุ ชนิดที่ไม่มีขั้ว (ไม่ต้องคำนึงเวลาใช้งาน) และสามารถทนแรงดันได้ประมาณ 50-100V ค่าความจุของ ตัวเก็บประจุชนิดเซรามิก ที่มีใช้กันในปัจจุบันอยู่ในช่วง 1 พิโกฟารัด ถึง 0.1 ไมโครฟารัด ส่วนตัวเก็บประจุชนิดอิเล็กทรอไลติก ตัวเก็บประจุ ชนิดนี้จะต้องระวังในการนำไปใช้งานด้วย ครับ เพราะมีขั้วที่แน่นอน พิมพ์ติดไว้ด้านข้างตัวถังอยู่แล้ว ครับ ถ้าป้อนแรงดันให้กับตัวเก็บประจุผิดขั้วละก็อาจเกิดความเสียหายกับตัวมัน และอุปกรณ์ที่ประกอบร่วมกับตัวมันได้ครับ ขั้วของ ตัวเก็บประจุ ชนิดนี้สังเกตได้ง่ายๆ เมื่อตอนซื้อมา คือ ขาที่ยาว จะเป็นขั้วบวก และขาที่สั้นจะเป็นขั้วลบ อีกอย่างที่ต้องระวัง คือการป้อนแรงดันให้ตัวเก็บประจุที่ข้าง ตัวเก็บประจุชนิดเล็กทรอไลติก นี้ จะมีอัตราทนแรงดัน พิมพ์ติดเอาไว้ด้วย มีหน่วยเป็นโวลต์ ( V) หมายถึงแรงดันที่ใช้งานนั่นเอง ในการใช้งานโดยทั่วไปจะเพิ่ม แรงดันของ ตัวเก็บประจุ ให้สูงกว่าแรงดันที่ใช้งานจริงประมาณเท่าตัว
ตัวเก็บประจุแบบแทนทาลัม ใช้ในงานที่ต้องการความแม่นยำของความถูกต้องสูง
ตัวเก็บประจุแบบโพลีเอสเตอร์ ใช้งานได้ทั่วๆไป มีค่าให้เลือกใช้มากมาย
ตัวเก็บประจุแบบโพลีสไตรีน ใช้ในวงจรจูนหรือออสซิลเลเตอร์ และใช้ในวงจรที่มีแรงดันสูง
ตัวเก็บประจุแบบโพลีโพรไพลีน ใช้ในอินเวอร์เตอร์กำลังสูงๆ converter

ตัวเก็บประจุแบบปรับค่าได้
ตัวเก็บประจุชนิดนี้สามารถปรับค่าความจุของ ตัวเก็บประจุ ได้ ด้วยการ หมุนแกนของ ตัวเก็บประจุ ค่าความจุก็จะเปลี่ยนไปตามมุมที่หมุนด้วย โดยมากที่พบเห็นกันบ่อยๆ เขาใช้ ตัวเก็บประจุแบบปรับค่าได้ ในวงจรเลือกคลื่นวิทยุ

การเลือกใช้งานตัวเก็บประจุต่างๆ
เนื่องจากตัวเก็บประจุมีหลายชนิด การเลือกใช้ตัวเก็บประจุผิดประเภทของงานอาจทำให้วงจรเกิดความไม่สมบูรณ์ขึ้นได้
บางครั้งอาจเกิดการระเบิดจนทำลายวงจรก็มี โดยเฉพาะ ตัวเก็บประจุตัวโตๆ ที่ทนแรงดันสูงๆผู้ใช้ต้องระมัดระวังอย่าต่อผิดขั้ว หรือให้แรงดันเกินพิกัดเด็ดขาด


"เขียนโดย bosszi"


เว็บบอร์ดอิเล็กทรอนิกส์ของ bosszi



Create Date : 23 มกราคม 2551
Last Update : 23 มกราคม 2551 15:53:42 น. 10 comments
Counter : 2438 Pageviews.

 
เคยเรียนมานานละค่ะ แต่จำสีตัวต้านทานได้นะ อิอิ


โดย: COCOSWEET วันที่: 23 มกราคม 2551 เวลา:14:07:10 น.  

 
ขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมค่ะ
แล้วพบกันอีกนะคะ


โดย: รัตตมณี (kulratt ) วันที่: 24 มกราคม 2551 เวลา:6:58:13 น.  

 
เคยเรียนตอนเป็นเด็กแล้ว นิดหน่อย ไม่เก่งหรอกครับ เดี๋ยวนี้นะเหรอ....ไม่รู้เรื่องเลยครับ


โดย: กระต่ายไม่ขูดมะพร้าว วันที่: 24 มกราคม 2551 เวลา:8:04:54 น.  

 
ขอบคุณที่เห็นด้วย..แล้ววันนี้ละค่ะ จะเห็นด้วยหรือเป่าเอ่ย


โดย: tai (taibangplee ) วันที่: 24 มกราคม 2551 เวลา:21:08:43 น.  

 
ขอบคุณที่ไปเยี่ยมจ้า แต่ยังไม่หายเหงาเลยนะคะยัง


โดย: เนตรสีดำ วันที่: 25 มกราคม 2551 เวลา:21:57:01 น.  

 
แวะมาคุยด้วยค่ะ เป็นช่างด้วยดีจังค่ะ ขอบคุณที่ไปเยี่ยมกันนะคะ มีความสุขมากๆค่ะ


โดย: a.miyazaki วันที่: 26 มกราคม 2551 เวลา:8:39:54 น.  

 


โดย: bosszi วันที่: 19 สิงหาคม 2551 เวลา:0:31:18 น.  

 
แวะมาอรุณสวัสดิ์ค่ะ

มีความสุขกับการทำงานนะคะ


โดย: ไอศครีมรสช๊อกโกแลตชิพ วันที่: 1 ธันวาคม 2553 เวลา:8:37:53 น.  

 
ก็เคยเรียนมาบ้างนะคับ ก็พอจะจำสีได้
แต่ก็ขอบคุณที่มาแนะนำความรู้ดีๆ คับ
..
..


โดย: bestprice (bestprice ) วันที่: 17 มกราคม 2554 เวลา:18:41:31 น.  

 
ขอบคุณที่มาทักทายที่บล็อกครับ


โดย: Don't try this at home. วันที่: 4 มีนาคม 2555 เวลา:20:06:28 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 

bosszi
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ช่างอิเล็กทรอนิกส์ วันทั้งวันก็ยุ่งอยู่กับงาน ทดลองวงจรที่ไม่มีประโยชน์ไร้สาระไปวันๆ
[Add bosszi's blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com