space
space
space
<<
พฤษภาคม 2561
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
space
space
14 พฤษภาคม 2561
space
space
space

การวิเคราะห์ความคุ้มค่า - Value for Money (VfM)



การวิเคราะห์ความคุ้มค่า เป็นกระบวนการความคิดที่แตกหน่อมาจากความอยากรู้ว่าการนำเงินไปลงทุนในเรื่องหนึ่งๆ หรือในโครงการหนึ่งๆ สิ่งที่ได้รับกลับมามันจะคุ้มค่ากับเงินที่ลงไปหรือเปล่า โดยปกติแล้วภาคเอกชนก็จะดูเรื่องผลตอบแทนทางการเงิน เช่น FIRR ส่วนภาครัฐก็จะดูผลตอบแทนทางเศรษฐกิจหรือ EIRR ซึ่งการพิจารณาก็ไม่มีอะไรซับซ้อน ถ้าผลตอบแทนคุ้มค่าก็น่าลงทุน ถ้าไม่คุ้มค่าก็ไม่ควรดื้อรั้นลงทุนต่อไป

ทีนี้ในส่วนของภาครัฐมันมีประเด็นคำถามที่แตกหน่อออกไปให้ต้องคิด เช่น การลงทุนทำโครงการของภาครัฐ มันมีมิติที่ต้องพิจารณามากกว่าผลตอบแทน เช่น ประชาชนจะได้อะไร จะเกิดผลอะไรกับประเทศชาติ ฯลฯ หรือในกรณีที่รัฐมอบให้เอกชนมาลงทุนในโครงการของรัฐ (รัฐหมดเงินล่ะ หรือรัฐไม่อยากรับความเสี่ยงและมองว่าเอกชนน่าจะทำงานได้มีประสิทธิภาพกว่า...ก็น่าจะจริง) จะต้องพิจารณาอะไรบ้าง เช่น ดีกว่าทำเองยังไง คุ้มกว่ายังไง ฯลฯ มันก็เลยทำให้ต้องมาวิเคราะห์ "ความคุ้มค่า" ในเชิงที่ลึกและขยายมุมมองมากขึ้น ผมก็จะยกตัวอย่างแนวทางการวิเคราะห์ความคุ้มค่าของ 2 กรณีข้างต้น ซึ่งเราเรียกกันว่า Value for Money หรือ VfM นั่นเอง
กรณีที่ 1 ความคุ้มค่าในการดำเนินงาน หรือการดำเนินโครงการของรัฐ
เป็นความพยายามที่จะอธิบายว่า การนำงบประมาณไปใช้ในโครงการต่างๆ หรือการปฏิบัติงานของส่วนราชการ (ในที่นี้จะหมายถึงระดับกรม) มีผลรับที่คุ้มค่ามากเพียงใด โดยสุดท้ายแล้วสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้กำหนดแนวทางว่า ให้วิเคราะห์ออกมาให้เห็นอย่างน้อย 3 มิติ คือ
    1. ผลผลิตที่ได้มีอะไรบ้าง คิดเป็นมูลค่าเท่าไหร่
    2. ผลลัพธ์ที่ได้คืออะไรบ้าง หมายถึงมีการนำผลผลิตไปใช้ประโยชน์ได้มากน้อยเพียงใด ทำโครงการแล้วเกิดผลกำไรจริง หรือทำแล้วกลายเป็นอนุสาวรีย์
    3. ผลกระทบที่เกิดขึ้นมีอะไรบ้าง เช่น ประชาชนมีความเป็นอยู่ดีขึ้น ช่วยลดปัญหามลภาวะ ทำให้สังคมสงบร่มเย็น ช่วยให้ประเทศเจริญมั่งคั่ง ฯลฯ อะไรเหล่านี้ถ้าสามารถคิดเป็นตัวเงินได้ก็ทำ ทำไม่ได้ก็ให้อธิบายให้เป็นภาพ
จะเห็นว่าการมองความคุ้มค่าในการทำโครงการของรัฐจะใช้มุมมองที่มากกว่าเรื่องผลตอบแทนของโครงการ
กรณีที่ 2 ความคุ้มค่าในการให้เอกชนเข้ามาลงทุนแทนรัฐ
มุมนี้เป็นเรื่องของการเปรียบเทียบกรณีที่ภาครัฐให้เอกชนเข้ามาลงทุนในโครงการที่ปกติแล้วรัฐจะเป็นลงทุนเองหรือรัฐมีหน้าที่ต้องทำเอง เช่น การลงทุนในทางด่วน การลงทุนโครงการประปา ฯลฯ จะแตกกับกรณีแรกตรงที่ว่าเราจะก้าวข้ามคำว่าที่ว่า ควรลงทุนไหม? ลงทุนแล้วคุ้มไหม? คือต้องพิจารณากันแล้วว่าต้องทำโครงการแล้วนะ (ห้ามเถียง) หากยังถกเถียงว่าควรทำโครงการหรือไม่ ก็ให้ไปคิดตามกรณี 1 ให้มันสะเด็ดน้ำเสียก่อน เมื่อได้ข้อยุติแล้วว่าควรทำหรือต้องทำก็ค่อยมาพิจารณาเรื่องความคุ้มค่าในกรณีนี้ต่อไป
การเปรียบเทียบว่ากรณีให้เอกชนเข้ามาลงทุนแทนรัฐนั้นคุ้มค่าหรือไม่ เราใช้วิธีการเปรียบเทียบว่า ให้เอกชนลงทุนแล้วทำให้ต้นทุนค่าใช้จ่ายของภาครัฐลดลงหรือไม่ (โดยต้องได้สินค้าหรือบริการไม่น้อยกว่าเดิมนะ) เชน รัฐลงทุนทำทางด่วน ดูแลบริหารจัดการเอง มีต้นทุนเท่าไหร่ จดไว้ แล้วไปดูว่าถ้าให้เอกชนเข้ามาลงทุนรัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรมั่ง จดไว้ แล้วนำมาเปรียบเทียบกัน ถ้าให้เอกชนทำแล้วรัฐมีต้นทุนลดลงก็เรียกว่าสามารถประหยัดได้หรือมีความคุ้มค่า  อ้อลืมไป ศัพท์ทางเทคนิค 2 คำที่เกี่ยวข้อง กรณีที่รัฐทำเองเราเรียกว่า Public Sector Comparator (PSC) ส่วนกรณีให้เอกชนร่วมลงทุนเราเรียกว่า Public Private Partnership (PPP) ทีนี้มาดูกันว่ามีแนวทางการคิดต้นทุนแต่ละฝั่งอย่างไร
    1. ต้นทุนของ PSC ประกอบด้วย
      • ต้นทุนพื้นฐาน (Raw PSC) เช่น ค่าก่อสร้าง ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน ก็คือต้นทุนค่าใช้จ่ายที่เห็นๆ อยู่นั่นแหล่ะ
      • ต้นทุนความเสี่ยง คือถ้ารัฐทำเองก็มองว่ามีความเสี่ยงล่ะ ยกให้เอกชนจัดการกับความเสี่ยงดีกว่า แล้วคิดเท่าไหร่ดีล่ะ ... จากข้อมูลงานวิจัยที่อ้างอิงได้บอกว่า ความเสี่ยงในช่วงการก่อสร้างคิดเป็นเงินประมาณร้อยละ 22 ของมูลค่าการก่อสร้าง ส่วนความเสี่ยงในขั้นตอนการดำเนินงานคิดเป็นเงินประมาณร้อยละ 20 ของมูลค่าต้นทุนค่าใช้จ่ายช่วงการดำเนินงาน สรุปว่าต้นทุนความเสี่ยงทั้งหมดจะอยู่ราวๆร้อยละ 20-22 ของ Raw PSC (ถ้าขี้เกียจวิเคราะห์ลงลึกก็ใช้ค่าร้อยละ 21 คูณเปรี้ยงเข้าไปเลยครับ ง่ายดี)
      • ต้นทุนด้านการแข่งขัน มองว่าเมื่อรัฐทำเองจะได้สิทธิพิเศษหลายอย่าง เช่น ภาษีเงินได้ ฯลฯ ซึ่งต้องคิดเป็นต้นทุนด้วย เพราะถ้าเป็นเอกชนทำรัฐก็จะได้ส่วนนี้
      • สุดท้ายคือต้นทุนความเสี่ยงที่ยังคงอยู่ ไม่ว่ารัฐทำเองหรือให้เอกชนทำ รัฐก็ยังคงมีความเสี่ยงส่วนนี้อยู่ (มักแสดงช่องว่างๆ ไว้ ไม่เปรียบเทียบเพราะถือว่าเท่าๆ กัน
    2. ต้นทุนของ PPP (มองเฉพาะต้นทุนของรัฐนะ)
      • อย่างแรกเลยคือค่ากำกับดูแล ให้สิทธิ์แก่เอกชนไปแล้วแต่ก็ต้องตั้งคณะกรรมการหรือทีมงานกำกับดูแล ปล่อยปละละเลยไม่ได้ ก็เป็นต้นทุนส่วนหนึ่ง
      • ค่าใช้จ่ายที่รัฐให้แก่เอกชน โดยในการจัดทำ PPP นั้นมองว่าเป็นการให้เอกชนทำหน้าที่จัดหาผลผลิต สินค้าหรือบริการมาให้รัฐ ซึ่งก็คือมูลค่าสินค้าหรือบริการที่เอกชนคิดราคามานั่นเอง เช่น ค่าทางด่วนที่จัดเก็บทั้งหมด ค่าน้ำประปาที่เอกชนผลิตได้แล้วขายส่งเข้าท่อของการประปาฯ การตีความตรงนี้ใช้หลักการว่ารัฐเป็นผู้รับซื้อสินค้าและบริการที่เอกชนผลิตได้นั่นเอง (แม้ว่าความเป็นจริงเอกชนจะเป็นผู้จัดเก็บค่าสินค้าและบริการเอง)
      • ในกรณีที่รัฐต้องจ่ายค่าจ้างหรือค่าอื่นๆ ให้เอกชน ก็ให้นับรวมเข้าไปด้วย หรือในกรณีเอกชนต้องจ่ายค่าสัมปทานให้รัฐ ก็นำมาหักลบกับต้นทุนด้วย
      • รายการข้างบนนี่ เรามักจะรวบไว้เป็นหมวดเดียวเลย เรียกว่า Cost of Service Payments 
      • ส่วนรายการความเสี่ยงที่ยังคงอยู่ก็แค่แสดงรายการไว้ มักไม่แสดงตัวเลข (คำนวณยากหรือคำนวณแล้วก็เหมือนๆ กันทั้ง PSC และ PPP)
ข้อสำคัญของการวิเคราะห์ความคุ้มค่านี้ก็คือตัวเลขต้นทุนทั้งหมดต้องคำนวณให้เป็นมูลค่าปัจจุบัน (Present Value) เพื่อให้อยู่ในฐานเดียวกัน จากนั้นนำมาเปรียบเทียบกันดังรูป ถ้าพบว่ากรณีที่รัฐให้เอกชนลงทุนแล้วทำให้ต้นทุนของรัฐลดลงเมื่อเทียบกับกรณีที่รัฐทำเอง เราก็จะสรุปว่ามีความคุ้มค่า ซึ่งก็คือมูลค่าที่ประหยัดได้นั่นเอง



ใครสนใจรายละเอียดเพิ่มเติม คุย/ทัก/เสนอแนะ ได้ครับ




 

Create Date : 14 พฤษภาคม 2561
1 comments
Last Update : 14 พฤษภาคม 2561 11:51:38 น.
Counter : 6180 Pageviews.

 

แวะมาทักทายจ้าาา sinota ซิโนต้า Ulthera สลายไขมัน SculpSure เซลลูไลท์ ฝ้า กระ Derma Light เลเซอร์กำจัดขน กำจัดขนถาวร รูขุมขนกว้าง ทองคำ ไฮยาลูโรนิค คีเลชั่น Chelation Hifu Pore Hair Removal Laser freckle dark spot cellulite Ultherapy กำจัดไขมัน ร้อยไหม adenaa ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ สักคิ้วถาวร สักคิ้ว 6 มิติ Cover Paint สักไรผม 3D Eyebrow ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ

 

โดย: สมาชิกหมายเลข 4529152 14 พฤษภาคม 2561 17:41:22 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

space

โล้น
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]






space
space
space
space
[Add โล้น's blog to your web]
space
space
space
space
space