space
space
space
 
ธันวาคม 2560
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
space
space
19 ธันวาคม 2560
space
space
space

การวิเคราะห์เชิงสถิติ : เทคนิคการวิเคราะห์สัดส่วน (ตัวอย่างการวิเคราะห์สัดส่วนความพึงพอใจ)



ช่วงนี้จะขอแว้บมาที่เรื่องการวิเคราะห์ทางสถิติกันบ้าง
เคยเจอปัญหานี้มั้ย สมมติเราทำการสำรวจความพึงพอใจด้วยแบบสอบถาม แล้วได้ข้อมูลระดับความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายแต่ละรายเป็นตัวเลข เช่น
1 = ไม่พอใจมาก
2 = ไม่ค่อยพอใจ
3 = ไม่แน่ใจ เฉยๆ
4 = ค่อนข้างพอใจ
5 = พอใจมาก

ถ้าเราเก็บข้อมูลมาจำนวนหนึ่ง เช่น 200 ราย แล้วเราจะวิเคราะห์เพื่อสรุปว่ามีจำนวนผู้ที่พึงพอใจอยู่เท่าไหร่ หรือกี่เปอร์เซ็น ?
จะตอบปัญหาข้างต้นได้ เราต้องมีข้อกำหนดที่ชัดเจนเสียก่อนว่า ผู้ที่พึงพอใจนั้นหมายถึงผู้ที่ให้คะแนนเท่าไหร่ ถ้าบอกว่าหมายถึงผู้ที่ให้คะแนน 4 กับ 5 เท่านั้น อย่างนี้ก็ง่ายมาก เราแค่นับจำนวนผู้ที่ตอบ 4 กับ 5 รวมกัน ก็จบ หรือถ้าหมายถึงผู้ที่ตอบ 3, 4 หรือ 5 เราก็แค่รวมจำนวนผู้ที่ตอบ 3, 4 หรือ 5 ก็จบเหมือนกัน
ทีนี้ ถ้าเรามีข้อกำหนดว่า กลุ่มผู้ที่ตอบ 3 (ไม่แน่ใจ เฉยๆ) นั้น สามารถแยกแยะออกมาได้ไหมว่าเป็นกลุ่มไหนแน่ (ต้องการให้เลือกฝั่งว่าอยู่ข้างพอใจ หรือไม่พอใจ ห้ามแทงกั๊ก ว่างั้น) ปัญหาตรงนี้สามารถใช้การวิเคราะห์ทางสถิติเข้ามาช่วยได้ ใช้แค่หลักสถิติพื้นฐานเท่านั้น


การสำรวจระดับความพึงพอใจนั้น เรามักกำหนดช่วงในการให้คะแนนสำหรับความพึงพอใจเป็น 5 ระดับ โดยแทนด้วยตัวเลขจำนวนเต็ม 1, 2, 3, 4 และ 5 ซึ่งแทนระดับความพึงพอใจตั้งแต่น้อยที่สุดไปจนมากที่สุด โดยที่ระดับคะแนน 1 กับ 2 นั้น จัดได้ว่าเป็นระดับคะแนนที่สะท้อนได้ชัดเจนว่าผู้ตอบไม่มีความพึงพอใจ ส่วนระดับคะแนน 4 กับ 5 นั้น จัดได้ว่าเป็นระดับคะแนนที่สะท้อนได้ชัดเจนว่าผู้ตอบมีความพึงพอใจ ส่วนระดับคะแนน 3 นั้น เป็นช่วงที่สะท้อนว่าผู้ตอบอาจมีความพึงพอใจหรือไม่พึงพอใจก็ได้เพียงแต่ยังไม่ชัดเจนจนยอมแสดงออกมาเท่านั้น

โดยทั่วไปแล้วการสำรวจระดับคะแนนความพึงพอใจของประชากรในด้านต่างๆ นั้น มักจะมีรูปแบบการแจงแจงความถี่เป็นลักษณะปกติ (Normal Distribution) ซึ่งเป็นลักษณะการแจงแจงข้อมูลโดยทั่วๆ ไป ข้อมูลที่อยู่ในช่วงค่ากลาง (หรือค่าเฉลี่ย) จะมีจำนวนหรือความถี่ที่มากที่สุดและจะค่อยๆ น้อยลงตามค่าที่แตกต่างจากค่ากลางออกไปทั้งทางด้านซ้ายและด้านขวา

รูปด้านล่าง แสดงการแจกแจงความถี่ของคะแนนระดับความพึงพอใจ จะเห็นว่าค่ากลางของระดับความพึงพอใจจะแทนด้วยคะแนนเท่ากับ 3 ซึ่งจะมีจำนวนมากที่สุดตามลักษณะการแจงของข้อมูลแบบปกติซึ่งอาจจะมีลักษณะข้อมูลสมมาตร เบ้ขวา หรือเบ้ซ้ายบ้างเล็กน้อยขึ้นอยู่กับลักษณะการแจกแจงของข้อมูลนั้นๆ 




การนับจำนวนผู้ที่มีความพึงพอใจให้ครอบคลุมระดับคะแนนในส่วนที่ตอบว่า “พอใจระดับปานกลาง” ได้ด้วยนั้น สามารถจำแนกโดยใช้คุณสมบัติทางสถิติของการแจกแจงข้อมูลแบบปกติโดยการแปลงค่าระดับคะแนนที่สำรวจให้เป็นค่าทางสถิติ ประกอบด้วยค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากนั้นก็แปลงระดับคะแนนในช่วงที่ต้องการจำแนกว่าอยู่ในเขต “พึงพอใจ” หรือ “ไม่พึงพอใจ” ซึ่งในที่นี้หมายถึงมีระดับคะแนนสูงกว่า 3.0 หรือต่ำกว่า 3.0 ให้เป็นค่ามาตรฐานหรือค่า Z โดยใช้สูตร



ค่า Z ที่ได้นี้เป็นค่าเป้าหมายสำหรับเป็นเส้นเขตแบ่งระหว่าง "ผู้ที่พอใจ" กับ "ผู้ที่ไม่พอใจ" ผมขอเรียกเองว่า Z (Target) ก็แล้วกัน ซึ่งจะเป็นตัวชี้ว่าตำแหน่งคะแนนของ 3.0 ในกลุ่มตัวอย่างนั้นๆ อยู่ที่จุดใดภายใต้เส้นโค้งของการแจกแจงแบบปกติ (Normal Curve) และเมื่อได้แปลงคะแนนมาเป็นค่า Z แล้วก็สามารถคำนวณความถี่หรือร้อยละของข้อมูลที่ต้องการโดยพิจารณาจากพื้นที่ใต้เส้นโค้งของการแจกแจงปกติ (เทียบจากตารางค่า Z) ซึ่งเป็นค่าระดับความพึงพอใจของประชากรในพื้นที่ศึกษาที่อนุมานจากข้อมูลสถิติหรือจากข้อมูลตัวอย่างที่สำรวจ

ทีนี้ ถ้าเราต้องการแยกเอาเฉพาะจำนวนผู้ที่ตอบ 4 กับ 5 ล่ะ ทำอย่างไร ก็แค่เปลี่ยนค่า 3.0 ในสูตรข้างต้น เป็น 3.50 (เพราะว่า range ของคะแนน 4 หมายถึงค่าตั้งแต่ 3.5 ถึง 4.5 ยังไงล่ะ) อือ ๆ ๆ




 

Create Date : 19 ธันวาคม 2560
0 comments
Last Update : 19 ธันวาคม 2560 21:00:54 น.
Counter : 1440 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

space

โล้น
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]






space
space
space
space
[Add โล้น's blog to your web]
space
space
space
space
space