Hesperidin(เฮสเพอริดิน) สารสกัดจากธรรมชาติ
Hesperidin (เฮสเพอริดิน) เป็นเคมีพืชถูกจัดอยู่ในกลุ่มของ “ไบโอฟลาโวนอยด์ (bioflavonoid) หรือ วิตามินพี พบในผลไม้ตระกูลซีทรัซ เช่น ส้ม มะนาว เป็นต้น ผู้คนมักนำมาใช้ทำเป็นยา ไม่ว่าจะเป็นเฮสเพอริดินอย่างเดียวหรือถูกรวมกับผลไม้ตระกูลซีทรัสอื่น ตัวอย่างเช่น ไดออสมิน (Diosmin) เป็นต้น ส่วนใหญ่ถูกใช้เพื่อรักษาโรคหลอดเลือด เช่น ริดสีดวงทวาร, เส้นเลือดขอด และโรคลิ่มเลือด (venous stasis) ยังถูกใช้รักษาอาการภาวะบวมน้ำเหลืองและอาการบวมน้ำซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนของการผ่าตัดมะเร็งปอด สารที่ได้จากพืชตระกูลส้ม อุดมไปด้วยวิตามินซี และไบโอฟลาโวนอยส์ (Bioflavonoids) มีส่วนสำคัญในระบบการทำงานอย่างเป็นปกติของร่างกาย และผิวพรรณ เป็นตัวช่วยสำคัญในการเสริมประสิทธิภาพการดูดซึมของวิตามินและสารสำคัญต่างๆ คุณสมบัติของสารเฮสเพอริดิน (Hesperidin) มีประโยชน์อย่างไรบ้าง 1. เฮสเพอริดิน (Hesperidin) ดูแลหัวใจคุณสมาคมโรคหัวใจของอเมริกาแนะนำให้กินผลไม้ตระกูลซีตรัส เช่นส้ม เพราะช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจขาดเลือดได้ถึง 19% 2. เฮสเพอริดิน (Hesperidin) ต่อสู้เบาหวานสารเฮสเพอริดินจากส้มและมะนาว สามารถช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับภาวะเบาหวานชนิดที่ 1 โดยไปช่วยดูแลระดับของ lipids, insulin และระดับน้ำตาลในเลือด 3. เฮสเพอริดิน (Hesperidin) ลดความเสี่ยงมะเร็งส้มและน้ำส้มสามารถลดความเสี่ยงต่อการพัฒนาของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวได้เป็นอย่างดี รวมทั้งซึ่งยังลดความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งลำไส้อีกด้วย 4. สารจากส้ม มีสารอาหารที่จำเป็นมากมายส้มมีสารอาหารที่จำเป็นต่อสุขภาพที่ดี เช่น วิตามินซี โคลีน ไฟเบอร์ โปแตสเซียม และเฮสเพอริดิน 5. เฮสเพอริดิน (Hesperidin) ป้องกันผิวหนังวิตามินซีในส้มทำหน้าที่ Anti-oxidant ช่วยป้องกันผิวหนังจากมลพิษและแสงแดด ยังสามารถช่วยลดรอยตีนกา และช่วย สร้างเส้นใยคอลลาเจนอีกด้วย 6. เฮสเพอริดิน (Hesperidin) ควบคุมความดันโลหิตเมื่อบริโภคผลไม้ตระกูลซีตรัส พร้อมกับระมัดระวังเรื่องการบริโภคเกลือ คุณสามารถควบคุมความดันโลหิตของคุณให้ต่ำได้เป็นอย่างดี โดยที่ส้มมีโปรตัสเซี่ยมที่ทำให้คุณมีความดันโลหิตที่ดี ทำให้ลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต จากโรคหัวใจได้ถึง 20% "ทานก่อนเป็น ดีกว่าเป็นแล้วมาทาน แต่เป็นแล้วยิ่งต้องทาน"
Create Date : 14 มกราคม 2563 |
Last Update : 14 มกราคม 2563 10:46:30 น. |
|
0 comments
|
Counter : 327 Pageviews. |
 |
|