พฤษภาคม 2553
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
3 พฤษภาคม 2553

สัมภาษณ์ผู้เขียนบทละครเรื่อง "ซอนต๊อก มหาราชินี"

Kim Young-hyun & Park Sang-yeon : Queen Seon Duk Scriptwriters Interview
สัมภาษณ์ คิมยองฮยอนและปาร์ซังยอน ผู้เขียนบทละครเรื่อง "ซอนต๊อก มหาราชินีสามแผ่นดิน"
Korean to English translation by homura
English to Thai translation byconankung

ถาม: คุณคาดหวังความโด่งดังแบบนี้รึเปล่า
คิมยองฮยอน : ไม่ค่ะ หลายคนให้ความคาดหวังสูงเพราะเป็นละครพีเรียดเรื่องยาวของ MBC ฉันอยากให้มันประสบความสำเร็จมาก แต่ไม่แน่ใจว่ามันจะได้รับความนิยมแค่ไหน

ถาม: คุณต้องเขียนสัปดาห์ละ 2 ตอน ตอนละประมาณ 70 นาที จริงๆ ยาวกว่าภาพยนตร์เรื่องหนึ่งซะอีก มันยากสำหรับคุณใช่มั้ย
คิมยอง ฮยอน : แน่นอนค่ะ ฉันคิดว่ามันลำบากมากทีต้องเขียนสัปดาห์ละ 2 ตอน ฉันเขียนเรื่องแดจังกึมคนเดียว แต่คราวนี้ฉันมีนักเขียนร่วมมาแบ่งเบางานกับฉัน เราประชุมกันทุกสัปดาห์เพื่อคุยกันเรื่องการสร้างโครงเรื่อง จากนั้นก็ต่างคนต่างเขียน หน้าที่ฉันคือเชื่อมต่อเรื่องราวด้วยกัน ส่วนพัคซังยอนมีหน้าที่สร้างรายละเอียดของตัวละคร ในลักษณะนี้เราทำงานเข้ากันได้ดีเยี่ยม

ถาม: ตัวละครตัวไหนที่คุณชอบที่สุด
คิมยองฮยอน : ผู้ชมละครอาจชื่นชอบมิชิล แต่ในฐานะนักเขียนเราทุ่มเทเวลาและความพยายามทั้งหมดในการสร้างเรื่องราวของ ด๊อกมัน ตอนของด๊อกมัน พัฒนาการของด๊อกมัน และอื่นๆ
ทุกครั้งที่เรา ประชุมกัน หัวข้อหลักคือจะให้ด๊อกมันเอาชนะมิชิลได้อย่างไร จะทำให้ด๊อกมันดูเหมือนราชินีได้อย่างไร ด้วยเหตุนี้เราจึงมีความผูกพันกับด๊อกมันที่สุด

ถาม: มีความแตกต่างระหว่างมิชิลที่นักเขียนตั้งใจเอาไว้กับมิชิลที่โกฮยอนจองแสดง รึเปล่า
คิมยองฮยอน : โกฮยอนจองเป็นมิชิลได้ 200% มากกว่าที่เราบรรยายเอาไว้
แม้ว่าเธอจะแสดง เป็นตัวละครที่เราเขียน แต่การแสดงของเธอกระตุ้นให้เรามีแรงบันดาลใจและความกระหายที่จะเขียนมากยิ่ง ขึ้น

ถาม: คุณคิดว่าอะไรทำให้มิชิลโด่งดัง
คิมยองฮยอน : สรุปสั้นๆ เพราะเธอมีสองด้าน เธออ่อนหวาน มารยาทดี แต่ฆ่าคนอย่างไร้ปราณี เธอใช้ดาบฆ่าคนพร้อมรอยยิ้มและเลือดที่กระเซ็นอยู่บนใบหน้า
เราเขียนฉาก เหล่านั้นขึ้นเพราะเราต้องการให้ติดตาตั้งแต่ต้นเรื่อง เหตุผลที่สองฉันคิดว่าเป็นเพราะเธอไม่ร้ายกาจอย่างเห็นได้ชัด แม้เธอจะเป็นตัวร้ายแต่เธอมีความสมจริงมาก เธอจึงได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากผู้ชม

ถาม: คุณประเมินโกฮยอนจองอย่างไร
คิมยองฮยอน : เธอดูเป็นนักแสดงที่มีความลึกซึ้ง นั่นเป็นสิ่งที่น่าชื่นชม เธอให้ความรู้สึกที่กำกวมต่อทั้งนักเขียนและผู้ชม เราไม่รู้ว่านั่นคือของจริงหรือการแสดง มันสร้างแรงบันดาลใจให้กับฉัน
ถ้า โกฮยอนจองกับฉันอายุมากขึ้น ฉันอยากร่วมงานกับเธอในละครเมโลดรามาอย่างเรื่อง The Bridges of Madison County เธอมีความสามารถในการแสดงเรื่องราวความรักของผู้หญิงวัย 50 ปี

ถาม: ตัวละครตัวไหนที่สร้างปัญหาให้คุณที่สุด
คิมยองฮยอน : ผู้ชมชอบพีดามมากจนพัคซังยอนและฉันมี...เอ่อ ไม่ใช่ความขัดแย้ง...แต่เรามีปัญหาในการอธิบายพีดามอย่างที่เราตั้งใจไว้ เดิมทีพีดามถูกวางให้เป็นตัวร้าย แต่เสียงตอบรับของผู้ชมและพัฒนาการของตัวละครพีดามในตอนนั้น ทำให้เราไม่สามารถเปลี่ยนเขาเป็นตัวร้ายโดยไม่มีเหตุผลที่ดีพอ บางครั้งพวกเรานักเขียนก็อยู่ในฐานะที่อึดอัด แม้ว่าเขาจะเป็นตัวละครที่เราสร้างขึ้น แต่พอเขามาโลดแล่นอยู่ในละครเราไม่สามารถจัดการกับเขาได้อย่างที่เราต้องการ ก็เลยมีปัญหาจนจบ

ถาม: นักแสดงที่ไม่ใช่นักแสดงหลักคนไหนที่น่าประทับใจที่สุด
คิมยองฮยอน : ฮงคยองอินที่แสดงเป็นซอกพุมรัง เขาเป็นนักแสดงที่ดีมาก ผู้ชมอาจไม่รู้แต่ว่ามีฉากที่เรียกว่า reaction cut คือ ถ้าด๊อกมันหรือคนอื่นๆ ทำบางอย่าง reaction cut โดยนักแสดงสมทบจะอธิบายอารมณ์ของฉากนั้นๆ ซึ่งฮงคยองอินทำได้ดีมาก

ถาม: ตัวละครที่ได้รับบทมากขึ้นเนื่องจากความโด่งดังในหมู่ผู้ชม
คิมยองฮอน : ผู้ชมในอินเตอร์เน็ตบ่นว่าบทของอัลชอนในระยะหลังมีน้อยลง เดิมทีเขาไม่ใช่ตัวละครสำคัญ แต่เพราะได้รับเสียงตอบรับที่ดีตั้งแต่ช่วงแรก และยูซึงฮโยก็เล่นได้ค่อนข้างดี บทของเขาก็เลยเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

ถาม: คุณได้ไอเดียเรื่องแมฮวาของซาดาฮัมมาได้ยังไง มันกลายเป็นเรื่องที่ถูกกล่าวถึงไปทั่วประเทศ
คิมยองฮยอน : แมฮวาของซาดาฮัม...ไอเดียนี้อยู่ดีๆ ก็เกิดขึ้นมาในระหว่างการประชุม เราต้องหารหัสลับเพื่อใช้แทนปฏิทิน พอเราคิดถึงสิ่งนั้นสิ่งนี้ จู่ๆ ฉันก็นึกขึ้นได้ว่าซาดาฮัมเป็นคนรักแรกของมิชิล เป็นผู้มีส่วนสำคัญในการทำลายอาณาจักรคายา น่าแปลกใจเหมือนกันที่ในตอนนั้นการพูดคุยในการประชุมเป็นไปได้ด้วยดี

ถาม: แทนที่จะถูกเรียกว่าละครประวัติศาสตร์ ควีนซอนด๊อกถูกจัดให้เป็นละคร เกี่ยวกับการเมืองที่มีแค่พื้นหลังเกี่ยวกับประวัติศาสตร์
คิมยองฮยอน : ฉันคิดว่าจริง แต่ถ้าคุณศึกษาประวัติศาสตร์เกาหลีโบราณ คุณจะเข้าใจว่ามันยากแค่ไหนที่จะสร้างละครทีวีเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ยุค โบราณเนื่อง จากบันทึกประวัติศาสตร์ที่เที่ยงตรงมีอยู่น้อย ฉันอยากแสดงถึงสังคมชิลลาออกมาในละครแม้ว่าจะมีข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่ จำกัด เช่น สภาขุนนางดำเนินการอย่างไร ระบบฮวารังเป็นอย่างไร ฯลฯ ฉันหวังว่าละครของเราจะสนับสนุนให้มีการศึกษาเกี่ยวกับในยุคนั้นเพิ่มเติม ซึ่งในที่สุดจะช่วยให้ฉันเขียนละครประวัติศาสตร์ได้มากขึ้นในอนาคต

ถาม: การวิวาทกันในสภาขุนนางเป็นการล้อเลียนการเมืองจริงๆ ของเกาหลีรึเปล่า
คิมยองฮยอน : คือ ไม่ได้ตั้งใจหรอกค่ะ แต่เพราะฉันอยู่ในเกาหลีมาจนถึงตอนนี้ จินตนาการของฉันอาจสะท้อนถึงบรรยากาศแบบนั้นโดยไม่รู้ตัว

ถาม: เรื่องราวเข้มข้นน้อยลงหลังจากมิชิลตาย
คิมยองฮยอน : ใช่ ฉันได้ยินแบบนี้บ่อย เรตติ้งลดลงมากจนฉันถูกวิจารณ์ จริงๆ แล้วฉันคิดว่าเราน่าจะจบภาคแรกด้วยการตายของมิชิลและทำภาคสองหลังจากหยุดพัก แล้ว เราน่าจะสร้างละครอีก 50 ตอนโดยมีกษัตริย์อูจาของแพคเจ และแม่ทัพยอนแกโซมุนของโคกุเรียวเป็นคู่แข่งของควีนซอนด๊อก แต่ว่าเราเหลืออีกเพียง 12 ตอนเท่านั้นซึ่งไม่พอที่จะครอบคลุมเรื่องของสงครามทั้งหมด ที่สำคัญไม่เพียงแต่เรานักเขียนแต่ทีมงานและนักแสดงทั้งหมดต่างก็เหนื่อยล้า เต็มที่ ฉะนั้นเราจึงตัดสินในจบลงแบบนี้ ของให้เข้าใจพวกเราด้วย

ถาม: แล้วตอนสุดท้ายล่ะ ถึงขนาดมีผู้ชมบางคนแต่งบทขึ้นเอง คุณจะใบ้ซักหน่อยได้มั้ย
คิมยองฮยอน : อย่างที่ทุกคนรู้ คิมชุนชูและคิมยูชินจะรวม 3 อาณาจักรสำเร็จ ดังนั้นพวกเขาจะรอดชีวิต แต่พีดามและด๊อกมันจะตายระหว่างการกบฏ ใช่ พวกเขาจะตายพรุ่งนี้ อ้อ พีดามจะตายก่อนควีนซอนด๊อก ด๊อกมันจะเห็นการตายของพีดาม ทิ้งคำสั่งเสียเอาไว้ และตาย

ถาม: เรื่องไหนที่คุณพอใจกว่ากัน แดจังกึมหรือควีนซอนด๊อก
คิมยองฮยอน : ในฐานะนักเขียน ฉันพอใจกับควีนซอนด๊อกมากกว่าแดจังกึมเพราะเรื่องราวของควีนซอนด๊อกถูกพูด ถึงมากกว่า ฉันหมายถึงมีหัวข้อทางการเมืองจากควีนซอนด๊อกถูกนำไปถกเถียงกันมากมาย ในแง่นั้นฉันรู้สึกว่าฉันประสบความสำเร็จกับควีนซอนด๊อกมากกว่าแดจังกึม ฉาก “โต้คารม 6 นาที” (ท้ายตอน 29) เป็นฉากที่อันตรายมาก การเขียนบทถกปัญหายาวๆ ระหว่างด๊อกมันกับมิชิลค่อนข้างเสี่ยงในเรื่องของเรตติ้ง แต่การแสดงอันยอดเยี่ยมของนักแสดงทั้งสองคนทำให้ดึงดูดคนดูได้ ยิ่งไปกว่านั้นหัวข้อในการสนทนาของทั้งสองคนกลายเป็นประเด็นของสังคมเรา ทำให้เกิดข้อดีและข้อเสีย มันรู้สึกดีมาก

ถาม: ภาพพจน์ของกษัตริย์ในอุดมคติที่คุณอยากสื่อออกมาในละครเป็นอย่างไร
คิมยองฮยอน : ฉันแค่อยากพูดถึงการปกครองในเรื่อง “ความ หวัง” ฉันผิดหวังที่หลายฉากเกี่ยวกับการปกครองของด๊อกมันถูกผู้กำกับตัดทิ้ง สิ่งที่แตกต่างที่สุดระหว่างมิชิลกับด๊อกมันคือ ใครเหมาะสมกับความคาดหมายของยุคนั้นมากกว่ากัน มันไม่ใช่เรื่องของคุณธรรม จริงๆ แล้วผู้นำในอุดมคติคือคนที่เข้าใจความต้องการของยุคนั้นๆ
ได้อย่างถูกต้องและทำให้ประเทศชาติเจริญก้าวหน้า

ที่มา seonduk.บล็อกสปอท (ภาษาอังกฤษ)

-----------------------------------------------------------------

ราชินี ซอนด็อก แห่งอาณาจักรชิลลา
Roytavan : Writer
Original : //twssg.บล็อกสปอท

ราชินีซอนด็อก แห่งอาณาจักรชิลลา เป็นราชินีพระองค์แรกที่ขึ้นครองบัลลังก์ของอาณาจักรชิลลา หนึ่งในสามอาณาจักรของเกาหลี ทรงครองราชย์อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 632 – 647 พระองค์ทรงเป็นผู้ปกครองอาณาจักรพระองค์ที่ 27 แห่งอาณาจักรชิลลา และทรงเป็นที่กล่าวขานว่าเป็นกษัตริย์หญิงที่เชี่ยวชาญด้านการค้าและวิทยา การล้ำสมัยทรงได้ริเริ่มการทำปฎิทินดวงดาว (สุริยคราส) เพื่อใช้ในการคำนวณดินฟ้าอากาศและฤดูกาลต่าง ๆ เพื่อพืชผลทางการเกษตร ถือได้ว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ในยุคนั้น ทั้งยังเป็นกษัตริย์หญิงองค์แรกที่นำพาให้ชิลลาเป็นแผ่นดินที่รุ่งเรืองมาก ที่สุดพระองค์หนึ่งของชิลลา

ก่อนจะก้าวขึ้นสู่บัลลังก์ราชินี ซอนด็อกทรงเป็นที่รู้จักกันในพระนาม “องค์หญิงด็อกมุน” ทรงเป็นพระธิดาพระองค์ที่ 2 ในบรรดาพระธิดา 3 พระองค์ของกษัตริย์จินเพียว เมื่อพระโอรสขององค์หญิงชอนเมียง น้องสาวของพระองค์ ขึ้นครองราชย์ ในขณะที่น้องสาวของพระองค์คือองค์หญิงซันวาทรงอภิเษกสมรสกับพระราชามูแห่ง อาณาจักรแพ็กเจและมีพระโอรสด้วยกันหนึ่งพระองค์คือองค์ชายยูจา เนื่องจากพระเจ้าจินเพียวไม่มีพระโอรส ดังนั้นพระองค์จึงทรงเลือกซอนต็อกเป็นรัชทายาท ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เป็นปกติในอาณาจักรชิลลา ที่ผู้หญิงจะมีบทบาททางสังคมมาก โดยในยุคของพระองค์พระองค์ทรงเป็นผู้หญิงที่ได้รับพระราชอำนาจให้เป็นทั้ง ที่ปรึกษา, ทรงเป็นราชินีม่ายผู้เพียบพร้อม และยังเป็นผู้สำเร็จราชการอีกด้วย โดยตลอดรัชสมัยของพระองค์ผู้หญิงเป็นผู้นำครอบครัว ทำให้ผู้สืบเชื้อสายราชินิกุล (นับทางพระมารดา) จะมีอำนาจมากกว่าผู้สืบเชื่อสายข้างราชนิกุล (นับทางพระราชบิดา) ซึ่งตรงกันข้ามกับหลักของขงจื้อ ซึ่งกำหนดสถานภาพของผู้หญิงให้ต่ำกว่าผู้ชาย แต่สถานภาพดังกล่าวนี้กลับไม่ได้รับการยอมรับในเกาหลีโบราณ จนกระทั่งถึงยุคโชซอน ประมาณ ศตวรรษที่ 15 ดังนั้นในช่วงของอาณาจักรชิลลา สถานภาพของผู้หญิงจึงยังสูงอยู่ แต่อย่างไรก็ตามพวกเธอก็ยังคงถูกคาดหวังให้ปฏิบัติตนอยู่ในกรอบหน้าที่ของ ผู้หญิงอยู่นั่นเอง

ซอนด็อก ทรงอยู่ในราชบัลลังก์ชิลลาตั้งแต่ปี ค.ศ. 634 – 647 พระองค์ทรงเป็นผู้หญิงพระองค์แรกใน 3 พระองค์ซึ่งขึ้นมามีอำนาจในราชบัลลังก์ชิลลา พระองค์ทรงเป็นพระราชชายาของพระเจ้าโรซาพาพัน และทรงครองราชย์สำเร็จด้วยความช่วยเหลือของลูกพี่ลูกน้องของเธอจินด็อก ผู้ซึ่งขึ้นครองราชย์ต่อจากเธอจนกระทั่งปี ค.ศ. 654

ในช่วงรัชสมัยของพระองค์เป็นรัชสมัยหนึ่ง ที่มีแต่ความรุนแรง มีกบฏเกิดขึ้นมากมาย ซ้ำยังต้องทำสงครามกับอาณาจักรเพื่อนบ้านอย่างแพ็กเจตลอดรัชสมัยของพระองค์ อีกด้วย ด้วยพระปรีชาสามารถของพระองค์ ทำให้พระองค์ได้ขึ้นครองบัลลังก์ในฐานะราชินีผู้ครองอาณาจักรชิลลา ด้วยวัยเพียงพระชันษา 14 พรรษา พระองค์ทรงสามารถรวบรวมอาณาจักรให้เป็นหนึ่งเดียวกันได้และยังได้ขยาย อาณาจักรโดยการผูกสัมพันธ์กับจีนแผ่นดินใหญ่อีกด้วย โดยการส่งบัณฑิตไปศึกษาที่ประเทศจีนเป็นต้น พระองค์ทรงปฏิบัติคล้ายกับพระนางบูเช็คเทียน มหาราชินีแห่งราชวงศ์ถัง โดยการวางพระองค์เป็นศาสนาพุทธ และเข้าปกครองเหนือวัดในพุทธศาสนาได้สำเร็จ

พระองค์ ทรงสร้าง “หอดูดาว” หรือ ชอมซองแด ซึ่งถูกบันทึกไว้ว่าเป็นหอดูดาวแห่งแรกในตะวันออกไกล หอดูดาวแห่งนี้ยังคงอยู่ในเมืองหลวงเก่าของชิลลา ที่เมืองกยองจูในประเทศเกาหลีเหนือ

-----------------------------------------------------------------

คิมยูชิน : ขุนศึก ผู้เที่ยงธรรมและจงรักภักดี

คิมยูชิน แสดงโดย ออมแตวุง (Uhm Tae Woong as Kim Yu-shin ) คิมยูชิน ในประวัติศาสตร์มีตำแหน่งจอมพลเป็นแม่ทัพผู้มีชื่อเสียงเกรียงไกรในยุค ศตวรรษที่ 7 แห่งอาณาจักรชิลลา และผู้นำในการรวบรวมสามอาณาจักรในช่วงรัชสมัยของพระเจ้ามูมุน (พระโอรสในพระเจ้ามูยุลมหาราช หรือ คิมชุนชู) กษัตริย์องค์ที่ 30 แห่งอาณาจักรชิลลา หรือจะเรียกว่า "กษัตริย์องค์แรกแห่งชิลลาใหม่" ก็ได้เช่นกัน

คิมยูชิน เป็นหลานชายของพระเจ้ากูเฮ กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งอาณาจักรกึมวานกายา บิดาของคิมยูชินคือ นายพลคิมซอยอนและท่านหญิงมานมยอง (พระธิดาในพระเจ้าจินฮึง และเป็นน้องสาวของพระเจ้าจินเพียงพระบิดาขององค์หญิงด็อกมาน) คิมยู ชินเกิดที่เมืองเคยาง ปัจจุบันคือจังหวัด จินชอน ประเทศเกาหลีใต้ หลังจากกึมวานกายาสูญสิ้นอาณาจักร คิมซอยอน บิดาของคิมยูชินได้เข้ารับราชการเป็นนายทหารระดับสูงในอาณาจักรชิลลา ประกอบกับท่านหญิงมานมยอง เป็นน้องสาวของพระเจ้าจินเพียงแห่งอาณาจักรชิลลาด้วย ทำให้ครอบครัวของคิมยูชินได้รับฐานันดรศักดิ์เป็นราชวงศ์ที่สำคัญเป็นลำดับ ที่ 2 ของอาณาจักรชอิลลาด้วย

สายสัมพันธ์ระหว่าง "จอมพล คิมยูชิน" กับ "พระ เจ้ามูยุล หรือก็คือ คิมชอนชู" ค่อนข้างแน่นแฟ้นเป็นอย่างมาก เนื่องจากพระเจ้ามูยูลได้อภิเษกสมรสกับน้องสาวของคิมยูชินด้วย ทำให้คิมยูชินกลายเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลและทรงอำนาจมากทั้งในชนชั้นสูงและ ประขชาชนชาวชิลลา จนทำให้เขาสามารถเป็นผู้นำในการรวบรวมสามอาณาจักรได้สำเร็จในสมัยพระเจ้ามู มูลมหาราช กษัตริย์องค์ที่ 29 แห่งอาณาจักรชิลลา และสถาปนาเป็น "ชิลลาใหม่" ในสมัยพระเจ้ามูมุน กษัตริย์องค์แรกแห่งอาณาจักรชิลลายุคใหม่...

จอม พลคิมยูชิน แม่ทัพผู้ไม่เคยแพ้ใครในสนามรบ ขุนศึกที่ได้รับการยอมรับจาก "กุกซอนมุนโน" ว่ามีความสามารถในการใช้ดาบได้อย่างสมบูรณ์ที่สุดในบรรดานักรบฮวารังทั้ง ปวง" และท้ายที่สุด "คิมยู ชิน" ก็ได้ รับการยกย่องจากเหล่านักรบฮวารังทั้งปวงว่าเป็น "กุกซอนยุคใหม่" หรือ "ผู้นำชั่วนิรันดร์บิดาแห่งฮวารังทั้งปวงแห่งชิลลาใหม่"

-----------------------------------------------------------------

พีดาม : ขุนศึกผู้ปราชญ์เปรื่องและ วรยุทธล้ำเลิศยากที่จักหาใครเทียม

พีดาม แสดงโดย คิมนัมกิล (Kim Nam Gil as Bi Dam) พีดาม นั้นมีตัวตนจริง ๆ ในประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่าเป็นผู้ก่อกบฏจลาจล ในช่วงปลายรัชสมัยราชินีซอนด็อก สาเหตุที่ประวัติของ Bidam นั้นปรากฎอยู่น้อยมาก เนื่องจาก Bidam ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้นำการก่อกบฎในอาณาจักรชิลลา ช่วงรัชสมัยของราชินีซอนด็อก ...ชื่อของ พีดามส่วนหนึ่งปรากฎอยู่ในบันทึกการก่อสร้าง หอดูดาวของอาณาจักรชิลลา อีกส่วนหนึ่งปรากฏในบันทึกประวัติศาสตร์พระเจ้าจูมงแห่งอาณาจักรโคคุเรียว ว่าหลังจากที่ ราชินีซอนด็อกสิ้นพระชนม์เพียง 10 วัน พีดามก็ถูกตัดสินประหารชีวิตโดยราชินีจินด็อก ด้วยข้อหาทำการจลาจลและก่อกบฎ ...

"พีดาม" ดำรงตำแหน่ง ซังแดดึง ซึ่งเป็นผู้นำสูงสุดของสภาขุนนางแห่งอาณาจักรชิลลา มีทำหน้าที่ในการควบคุมดูแลและบริหาราชการต่าง ๆ ของแผ่นดิน ในช่วงรัชสมัยของราชินีซอนด็อก จนกระทั่งสิ้นรัชกาล สถานที่เกิดและวันเดือนปีที่เกิด รวมทั้งผลงานความสำเร็จต่าง ๆ มีปรากฎอยู่ในบันทึกประวัติศาสตร์น้อยมาก แต่เชื่อได้ว่าเป็นบุคคลที่มาจากตระกูลชนชั้นสูงและมีชื่เสียงมากตระกูล หนึ่งของชิลลา พีดาม เป็นผู้มีแนวคิดที่ต่อต้านและคัดค้านผู้ปกครองที่เป็นสตรี และเป็นเจ้าของคติพจน์ที่ว่า "อำนาจ อิทธิพลของสตรี ไม่อาจนำมาใช้ในการบริหารปกครองประเทศได้" หรือหากแปลจากภาษาจีนประโยคนี้ "女主不能善理 / Female can not control with a good reasons" ก็ตือ "ผู้หญิง ไม่สามารถควบคุมบริหารด้วยเหตุผลที่ดีได้"
ตามตำนานกล่าวไว้ว่า ในระหว่งการก่อการจลาจล ดวงดาวประจำตัวของราชินีซอนด็อกบนท้องฟ้าได้ อัปแสงลง พีดามใช้สิ่งนี้เป็นสัญญลักษณ์แห่งลางของการบอกเหตุแก่ผู้ติดตามของเขาวว่า นี่คือสัญญารลางบอกเหตุแห่งการสิ้นรัช สมัยของราชินีซอนด็อกแล้ว แต่ในทางตรงข้าม แม่ทัพคิมยูชินกลับตัดสินใจร่วมกับราชินี ใช้ยุทธวิธีการปล่อยว่าวทำลายขวัญและเบี่ยงเบนความสนใจศัตรู พร้อมทั้งเป็นการส่งสัญญาณบอกทหารในกองทัพว่า "ดวงดาวจะกลับไปสู่สถานที่เดิม" อันเป็นสัญญาณรบบอกถึงการเข้าโจมตีข้าศึกนั่นเอง (ประวัติของ Bidam ตอนนี้มีอยู่ในบันทึกประวัติศาสตร์ของอาณาจักรชิลลา) และในบันทึกประวัติศาสตร์ของกษัตริย์จูมงแห่งอาณาจักรโคคุเรียวกล่าวไว้ ชัดเจนว่า หลังจากการก่อการจลาจล ได้เพียง 10 วัน ทั้งพีดามและพรรค พวกรวม 30 คนก็ถูกประหารชีวิตหลังจากที่ราชินีซอนด็อกสิ้นพระชนม์ในวันที่ 8 มกราคม , พีดามถูกประหารชีวิตวันที่ 17 มกราคม ปีเดียวกัน หลังจากที่ราชินีจินด็อกแห่งชิลลาขึ้นครองราชย์แล้ว

-----------------------------------------------------------------

อัลชอน : ขุน ศึกผู้ซื่อสัตย์ปกป้องและพิทักษ์บัลลังก์
อัลชอน แสดงโดย ลีซึงโฮ ( Lee Seung Hyo as Alcheon ) อัลชอน หรือ คิมอัลชอน ตามบันทึกประวัติศาสตร์ เป็นหนึ่งในสมาชิกราชวงศ์ เข้า เป็นนักรบฮวารังตั้งแต่ยังเยาว์จนกระทั่งกลายเป็นจอมพลผู้มีชื่อเสียงอีกคนหนึ่งของอาณาจักรชิลลา ในยุคของราชินีซอนด็อก และ ท้ายที่สุดกลายเป็นซังแดดึง ผู้มีอำนาจสูงสุดแห่งสภาชนชั้นสูงชองอาณาจักรชิลลาในรัชสมัยของราชินีจินด็ อก

คิมอัลชอน เป็นขุนศึกคู่กับคิมยูชิน ที่ คอยช่วยเหลีอดูแลองค์หญิงด็อกมาน ทั้งทางด้านการเมืองและช่วยให้องค์หญิงด็อกมานได้ขึ้นครองบัลลังก์กลายเป็น กษัตริย์สตรีองค์แรกแห่งอาณาจักรชิลลา หลังจากที่พระเจ้าจินเพียง สวรรคต เมื่อครั้งที่องค์หญิงด็อกมานขึ้นครองราชย์กลายเป็น "ราชินีซอน ด็อก" แม่ทัพคิมอัลชอนทำหน้าที่เป็นองค์รักษ์ส่วนพระองค์ขององค์ราชินีและหัวหน้า องครักษ์ของสำนักพระราชวัง แม่ทัพ อัลชอนได้รับการแต่งตั้งให้เป็น "ซังแดดึง" ในรัช สมัยของ "ราชินี จินด็อก" ครอง ราชย์หลังจากที่ราชินีซอนด็อกสิ้นพระชนม์

และหลังจากที่ ราชินีจินด็อกสวรรคต "ซังแดดึงอัล ชอน" กลายเป็นบุคคลสำคัญที่ ได้รับการเสนอชื่อให้ขึ้นครองราชบัลลังก์ของอาณาจักรชิลลา เนื่องด้วย บิดาของคิมอัลชอนเป็น หนึ่งในราชวงศ์ที่มีเชื้อสายศักดิ์สิทธิ์ ที่เรียกว่า "ซอลกอล (Seonggol)- สายเลือดบริสุทธิ์ที่กำเนิดจากราชินีหรือพระสนมกับพระราชาเท่านั้น" ส่วนมารดาของซังแดดึงอัลชอนเป็นสตรีซึ่งมีเชื้อสายแห่งราชวงศ์อันสูงศักดิ์ ซึ่งเรียกว่า "จินกอล ( Jingeol) - บุคคลที่มีเชื้อสายจากสมาชิกราชวงศ์" ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ซังแดดึง อัลชอนไม่ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นกษัตริย์ ประกอบกับแม่ทัพคิมยูชินสนับสนุนองค์ชายคิมชุนชูให้เป็นกษัตริย์ต่อ จากราชินีจินด็อก ซึ่งผลสุดท้ายคิมชุนชูก็ได้ขึ้นครองบัลลังก์ กลายเป็นกษัตริย์องค์ที่ 29 แห่งอาณาจักรชิลลา มีพระนามว่า "พระเจ้าแทจงมูยอล หรือ พระเจ้ามูยูลแห่งอาณาจักรชิลลา (King Taejong Muyeol / Muyeol of Silla)

-----------------------------------------------------------------

วอลยา : ขุนศึกผู้พลัดถิ่นพร้อมพลีชีพได้เพื่ออาณาจักรชิลลา

วอลยา แสดงโดย โจซังวุค (Joo Sang Wook as Wol Ya ) แม่ทัพวอลยา ในละครเรื่อง "ซอนต๊อก ราชินีสามแผ่นดิน" ผู้เขียนบทละครสมมุติให้ตัวละคร วอลยาเป็นองค์รัชทายาทของพระเจ้าวอ ลคังกษัตริย์องค์สุดท้ายของแทคายา ซึ่งสูญชาติและต้องรวบรวมประชาชน ชาวคายาผู้ลี้ภัยข้ามถิ่นเข้ามาอยู่อาศัยในอาณาจักรชิลลาแบบหลบ ๆ ซ่อน ๆ เพราะถูกกลุ่มชนชั้นสูงของอาณาจักรชิลลาคอยข่มขู่คุกคามกดขี่ข่มเหงตลอดเวลา "องค์ชายวอลยา" ได้เข้าร่วมกับ "ซอลจิ" ขบวนกอบกู้ชาติชาวคายาหรือในละครเรียกว่ากลุ่ม "พุกยาเว" ในการสร้างฐานที่อยู่อาศัยใหม่และรวบรวมชาวคายาเพื่อฝึกฝนการต่อสู้และสร้าง ขุมกำลังในการกู้ชาติ ขณะเดียวกันก็ลอบสังหารและทำร้ายขุนนางและชนชั้นสูงของชิลลาที่กดขี่ข่มเหง ชาวคายาด้วย ต่อมากลุ่มพุกยาเว ได้ทำการข่มขู่ "คิมซอยอน" บิ ดาของคิมยูชินซึ่งเป็นรัชทายาทองค์สุดท้ายของกึมวานคายา ทำให้ "คิมยูชิน" ต้องหาทางเข้าพบกับหัวหน้ากลุ่มขบวนการกู้ชาติพุกยาเว ซึ่งก็คือ "องค์ชายวอลยา" นั่นเอง

หลังจากที่คิมยูชินได้พบกับวอลยา คิมยูชินได้มอบที่ดินของครอบครัวตนเองให้แก่ชาวคายาผู้ลี้ภัยเพื่อทำเป็น ที่ดินสำหรับตั้งรกรากใหม่และทำมาหากินด้วย โดยแลกเปลี่ยนกับความจงรักภักดีของผู้ลี้ภัยชาวคายาทั้งหมด ต่อมาคิมซอยอนบิดาของคิมยูชินได้รับวอลยา ให้เป็นบุตรบุญธรรมและได้ ให้วอลยาเข้ารับราชการเป็นหัวหน้าหน่วยทหารฮวารัง "ยงฮวาฮวางโด"แทนคิมยูชิน หลังจากที่คิมยูชินได้รับการแต่ง ตั้งให้เป็น "พุงวอลจู (ผู้นำแห่งทหารฮวารังของอาณาจักรชิลลา)" ด้วย เหตุดังกล่าวจึงทำให้สายสัมพันธ์ระหว่างวอลยาและคิมยูชินแน่นแฟ้นมากยิ่ง ขึ้น...

ในขณะที่คิมยูชินให้การสนับสนุนด็อกมานคืนสู่ฐานันดรศักดิ์ เป็นองค์หญิงแห่งอาณาจักรชิลลานั้น คิมยูชินก็ได้อาศัยฐานกำลังจากวอลยาและกลุ่มพุกยาเวในการปกป้องคุ้มครององค์ หญิงด็อกมาน จนกระทั่งพระองค์ได้ฐานันดรศักดิ์คืนและได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นราชินีครอง บัลลังก์แห่งอาณาจักรชิลลา และท้าย ที่สุดวอลยา, ซอลจิ และชาวคายาผู้ลี้ภัยทั้งหมดก็ได้รับอิสรภาพปลอดภัยจากการถูกกดขี่ข่มเหงจาก ชนชั้นสูงของชิลลาและได้สถานภาพเป็นประชาชนชาวชิลลาโดยสมบูรณ์ ในบทละคร "วอลยา" มีบทบาทต่อการสร้างกองกำลังพิเศษและพัฒนาอาวุธให้แก่องค์หญิงด็อกมานเป็น อย่างมาก จึงกล่าวได้ว่าบทของ "วอลยา" นั้นมีสีสันมากกว่าบทของ "อัลชอน" ในละครเรื่อง ซอนต๊อก ราชินีสามแผ่นดิน อย่างเห็นได้ชัดเลยทีเดียว...

-----------------------------------------------------------------

ชีวประวัติ ของ กุกซอนมุนโน (538 - 606) : ซอนต๊อก มหาราชินีสามแผ่นดิน
Roytavan : Writer
Original : //twssg.ไม่ใช่ลิขวิด.com/


"มุนโน ฮวารัง" เป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงใน ประวัติศาสตร์ และเป็นหนึ่งในผู้นำสูงสุดคนหนึ่งของฮวารัง มุนโนได้รับการขนานนามให้เป็น "กุกซอน" ซึ่งหมายถึง ผู้ นำชั่วนิรันดร์ (State immortals) หรืออีกนัยหนึ่งคือ บิดาแห่งฮวารังทั้งปวง สาเหตุที่ มุนโน ได้รับการขนานนามเช่นนี้ เพราะ มุนโนเป็นผู้นำฮวารังที่มีคุณธรรมจริยธรรมและความเมตตา จนเป็นที่ยกย่องชื่นชมไปทั่วแผ่นดินของอาณาจักรชิลลา

กุกซอนมุ นโน เป็นดำรงตำแหน่งหัวหน้าเหล่าฮวารังหรือหน่วยรบพิเศษที่เรียกว่า "พุงวอลจู" ลำดับที่ 8 แห่งอาณาจักรชิลลา (579-582) และความรู้ด้านยุทธวิธีในการต่อสู้ของเขายังเป็นต้นแบบของเหล่าฮวารังทั้ง ปวง

-----------------------------------------------------------------

ชีวประวัติ พระสนมมิชิล (미실, 美室, 540? ~ 600?)
Roytavan : Writer & Translator
Original : //twssg.ไม่ใช่ลิขวิด.com/


ประวัติ ของพระสนมมิชิล จากบันทึกประวัติศาสตร์ " Samguk Sagi และ Samguk Yusa" ของเกาหลี ยังมีข้อโต้แย้งมากมายว่าประวัติที่แท้จริงของพระองค์เป็นเช่นใด แต่อย่างไรก็ดีชื่อของพระองค์กลับปรากฎอยู่ในบันทึกประวัติศาสตร์เกี่ยวกับ เหล่านักรบฮวารัง (Hwarang Segi) มากมาย

ในบันทึกประวัติศาสตร์ของฮวารังนั้น ได้บันทึกไว้ว่าเธอเป็นบุคคลที่มีความสำคัญมากคนหนึ่งของเหล่านักรบฮวารัง พระสนมมิชิลเป็นบุตรสาวของ พุงวอลจูมิจินบูและท่านหญิงเมียวโด

บิดา ของพระสนมมิชิล คือ พุงวอลจู มิจินบู เป็นผู้นำคนที่ 2 ของนักรบฮวารัง ส่วนย่าของพระสนมคือองค์หญิงซัมยาบ พระธิดาในพระเจ้าบับฮึงแห่งอาณาจักรชิลลา ( Beopheung of Silla) ซึ่งเป็นกษัตริย์องค์ที่ 23 แห่งชิลลา

มารดาของพระสนมมิ ชิล คือ ท่าน หญิงเมียวโด ซึ่งเป็นพี่สาวของราชินีชาโดในพระเจ้าจินฮึง กษัตริย์องค์ที่ 24 แห่งอาณาจักรชิลลา ซึ่งต่อมาทรงเป็นพระสวามีของพระสนมมิชิลด้วย ด้วยสายสัมพันธ์ที่กล่าวมานี้จึงกล่าวได้ว่าพระสนมเป็นสายเลือดแห่งราชวงศ์ ชิลลาโดยแท้

สาเหตุที่พระสนมมิชิลเป็นหญิงที่ทรงอำนาจมากในสมัยนั้น เนื่องจาก พระองค์ได้สมรสกับ พุงวอลจูเซจง ซึ่งเป็นผู้นำฮวารังคนที่ 6 แห่งอาณาจักรชิลลา กอร์ปกับทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระสนมในพระจ้าจินฮีงผู้ยิ่งใหญ่ในขณะ นั้นด้วย นอกจากนี้เธอยังถือได้ว่าเป็นสตรีที่มีบทบาทสำคัญและทรงอิทธิพลต่อกษัตริย์ ทั้ง 3 พระองค์แห่งอาณาจักรชิลลาด้วย นั้นคือ พระเจ้าจินฮึง, จินจี และจินเปียง (Jinheung of Silla, Jinji of Silla, Jinpyeong of Silla) ทั้งยังเป็นคนรักของเจ้าชายดงรัน พระโอรสองค์โตของพระเจ้าจินฮึงและ พุงวอลจู ซอลวอน ผู้นำฮวารังคนที่ 7 แห่งอาณาจักรชิลลา

ตาม บันทึกประวัติศาสตร์นั้น ยังมีข้อยืนยันถึงความมีอิทธิพลและทรงอำนาจของเธอจากการที่เธอชักชวนกลุ่มชน ชั้นสูงผู้มีเชื้อสายแห่งราชวงศ์ทั้งหลาย ซึ่งเรียกว่า "จิ นกอล (Jingeol)" ของชิลลาทำการขับไล่พระเจ้าจินจีออกจากการครองราชย์ ด้วยการบังคับให้สละราชบัลลังก์ นอกจากนี้ลูกชายของพระสนมอีก 2 คนยังได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้นำนักรบฮวางรัง คือ พุงวอลจูฮาจง เป็นผู้นำคนที่ 11 และพุงวอลจูโบจง เป็นผู้นำคนที่ 16 แห่งอาณาจักรชิลลา

-----------------------------------------------------------------

พุทธ ศาสนากับ อาณาจักร ชิลลา

คำตอบมาจากคุณ ร้อยตะวัน เจ้าแม่ประวัติศาสตร์ ( ไม่เฉพาะเกาหลีนะคะ ..ขอบอก)

ได้ ข้อมูล มาแต่เช้า ขณะยังขับรถอยู่ อาจมีเนื้อหาตกหล่นไว้ตามสี่แยกไฟแดง 2 – 3 แห่ง และยังขณะกลับบ้านอีก เหลือมาแค่ไหน ก็ไม่ว่ากันนะคะ
ศาสนาพุทธ เข้าไปใน ชิลลา ใน ค.ศ. 527 รัช สมัย กษัตริย์ Beopheung กษัตริย์พระองค์ที่ 23 ของชิลลา ซึ่งทรงครองราชย์ ในระหว่าง ปี ค.ศ. 514-540 ซึ่งล้าหลังกว่า โคคุเรียว 155 ปี และล้าหลัง แพคเจ 143 ปี

บน คาบสมุทรเกาหลี ในช่วงต้นๆ เชื่อเรื่อง ไสยศาสตร์มาก และ อาณาจักร ชิลลา เอง ก็ถือได้ว่า เกิดก่อนอาณาจักร โคคุเรียว
กษัตริย์ จูมง ทรงสถาปนา อาณาจักร โคคุเรียว เมื่อ 37 ปี ก่อน คริสต์ศักราช
ส่วนกษัตริย์ Hyeokgeose ต้นตระกูล Park รวบรวมอาณาจักร ชิลลา ในปี 57 ปีก่อนคริสต์ศักราช
( His surname was Park , which come from the Korean word for “ gourd” , because he was born from an egg shaped like a gourd )
ส่วนกษัตริย์ จูมง (Jumong is described as son of Hae Mosu ( heaven) and Yuhwa ( daughter of the river God Haback

นี่คือความเชื่อของบรรพบุรุษ ของคนบนคาบสมุทรเกาหลี ก่อนคริสตกาล ซึ่งหากย้อนไปให้นานกว่านั้น
เมื่อ5 พันปีมาแล้ว เกาหลี มี เทพบนสวรรค์ คือเทพฮวันอิน และโอรสสวรรค์ คือเทพฮวันอุง ซึ่งเป็นที่มาของต้นกำเนิด ทันกุน วังคอม อันเป็นการเริ่มต้น ประวัติศาสตร์ชนชาติเกาหลี หรือ หากจะถอยหลังไปอีก สัก 5 หมื่น ปี

เป็น ยุคก่อนประวัติศาสตร์
ได้มีการขุดค้นพบเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากหิน ที่บ่งบอกถึงการตั้งถิ่นฐานบนคาบสมุทรเกาหลีซึ่งมีอายุประมาณ 50,000 ปี ทำให้ทราบว่ามีผู้คนอาศัยอยู่บนคาบสมุทรเกาหลีมาตั้งแต่สมัยยุคหินเก่าแล้ว หลังจากนั้นได้มีการค้นพบเครื่องปั้นดินเผาที่ทำจากดินเหนียวปนทราบประเภทไห ซึ่งมีลักษณะลวดลายเป็นแนวยาว โดยนักโบราณคดีได้เรียกเครื่องปั้นดินเผารูปแบบนี้ว่า “เครื่องมือเครื่องใช้ลายฟันหวี” เครื่องปั้นดินเผาแบบนี้นั้น พบมากในบริเวณเอเชียเหนือและแถบไซบีเรีย

นอกจากนี้แล้ว ยังพบเครื่องมือเครื่องใช้อื่นๆ เช่น หัวธนูและมีดที่ทำจากหิน ฉมวกและตาข่ายดักปลา ทำให้ทราบว่า บรรพบุรุษชาวเกาหลีในสมัยก่อนนั้น ตั้งถิ่นฐานอยู่แถบชายทะเล หาเลี้ยงชีพด้วยการจับปลาและล่าสัตว์ จากนั้น ก็ได้มีการขยายการตั้งถิ่นฐานเข้ามาด้านในของคาบสมุทรมากขึ้น ได้มีการริเริ่มทำการเพาะปลูกขึ้นแล้วในสมัยนี้ หลังจากนั้นแล้ว ก็ได้มีการรับเอาเทคโนโลยีการผลิตโละหะสัมฤทธิ์จากจีนมาใช้ทำเป็นอาวุธ

ชาว เกาหลีในขณะนั้น อาศัยอยู่ตามถ้ำ มีการรวมกลุ่มกันครอบครัว และรวมตัวกันเป็นสายตระกูล โดยมีชายที่มีอายุมากที่สุดในสายตระกูลเป็นหัวหน้า เมื่อหัวหน้าตระกูลตัดสินใจอะไร สมาชิกก็ต้องปฏิบัติตาม ยกเว้นการตัดสินใจในเรื่องสำคัญจะมีการปรึกษากันเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ ชัดเจน นอกจากหัวหน้าสายตระกูลจะมีหน้าที่ทางด้านการปกครองแล้ว ยังมีหน้าที่ทางศาสนาด้วย ชาวเกาหลีในสมัยนั้นยังมีคติความเชื่อว่ามีวิญญาณในธรรมชาติและจักรวาล (Animism) และหัวหน้าตระกูลได้รับการยอมรับว่าสามารถติดต่อกับวิญญาณเหล่านี้ได้ ดังนั้น หัวหน้าตระกูลจึงต้องประกอบพิธีกรรมบวงสรวงวิญญาณเพื่อป้องกันเหตุร้ายแรง ที่จะเกิดขึ้นกับสายตระกูลของตน


ที่มา: cyberlab มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ถ้าได้ดู ภาพยนตร์ ของอาณาจักร ชิลลา โบราณเรื่อง ตำนานรัก ทะเลสาบพันปี
( ดิฉัน รู้จักภาพยนตร์เรื่องนี้ เพราะ คุณ ร้อยตะวัน กรุณา ส่งมาให้ดู เกือบ สองปีแล้ว)
ภาพยนตร์ก็จะสื่อ ถึงความเชื่อ ในตำนาน ในเรื่องของไสยศาสตร์ ชัดเจนกว่า ตำนานในอาณาจักร พูยอ ของกษัตริย์ กึมวา และ โคคุเรียว ของกษัตริย์ จูมง รวมทั้งยุคของ องค์ชายทัมด๊ก ด้วย

อาณาจักร ชิลลา แบ่งเป็น 2 ช่วงสมัย

Silla ( Pre - Unification) ระหว่าง 57 ปี ก่อนศริสต์ศักราช ถึง ค.ศ. 661 ) มีกษัตริย์ 29 พระองค์
และ Later Silla ( Post- Unification) ระหว่าง ปี ค. ศ. 661- 935 มีกษัตริย์ นับต่อ จาก องค์ที่ 29 ของ Pre-Unification รวมทั้งสิ้นมีกษัตริย์ 55 พระองค์

อาณาจักร ชิลลา เป็น อาณาจักรของเกาหลีที่เคยมี ราชินี ทรงเป็นผู้ปกครองอาณาจักร
คือใน รัชสมัยกษัตริย์ ลำดับที่ 27 คือ Queen Seondeok (ค.ศ.632- ค.ศ. 647 )
Queen Jindeok ( ค.ศ. 647-654)
และ ลำดับ ที่ 50 คือ Queen Jinseong (ค.ศ. 887-897)





 

Create Date : 03 พฤษภาคม 2553
7 comments
Last Update : 15 มีนาคม 2554 0:10:48 น.
Counter : 1997 Pageviews.

 

ขอบคุณข้อมูลดีดีค่ะ กำลังติดต๊อกมานอยู่เลย

 

โดย: kochpon 3 พฤษภาคม 2553 12:35:46 น.  

 

ทักทายยามบ่าย สุขสันต์วันชดเชยแรงงานนะจ้า ^^

 

โดย: หาแฟนตัวเป็นเกลียว 3 พฤษภาคม 2553 15:01:32 น.  

 

ขอบคุณที่สรรหาข้อมูลมาเล่าสู่น่าสนใจจริงๆ ถ้าเราสามารถทำหนังประวัติศาสตร์ชาติไทยให้คนไทย(นักเรียนนักศึกษา)สนใจค้นคว้าอยากรู้เพิ่มเติมน่าจะทำให้วิชาประวัติศาสตร์น่าเรียนกว่านี้ ดีกว่าบังคับให้ท่องจำตั้งเยอะ

 

โดย: ป้าเล็ก IP: 125.26.9.46 12 มิถุนายน 2553 18:55:09 น.  

 

และกษัตริย์ องค์ที่ 28 คือใครค่ะ

 

โดย: jjrr IP: 124.122.56.249 17 สิงหาคม 2553 10:42:19 น.  

 

ก็คือต็อกมานไง คะ

 

โดย: 7/ IP: 125.24.205.32 15 ตุลาคม 2553 18:55:07 น.  

 

ค่ะ

 

โดย: jjrr IP IP: 125.24.205.32 15 ตุลาคม 2553 18:55:46 น.  

 

พัดพาเส้น...................ทาง ดั่งฝัน...........................
เธอ ยังไม่รุไง โห ปลวกอะ

 

โดย: 7/ IP: 125.24.205.32 15 ตุลาคม 2553 18:56:47 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


อรุณรุ่งแห่งธรรม
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add อรุณรุ่งแห่งธรรม's blog to your web]