**คนธรรมดา..แต่ว่าโดน**

Group Blog
 
 
มกราคม 2553
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
30 มกราคม 2553
 
All Blogs
 

ประวัติหมู่บ้านไผ่สี

ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน
ที่มาของชื่อหมู่บ้าน/ชุมชน บ้านไผ่สีเมื่อสมัยก่อนมีพื้นที่ราบลุ่มเป็นลำน้ำมีผู้คนอพยพมาทำการเกษตร คือ การทำนา ซึ่งใช้น้ำในการทำนา ลำน้ำชื่อว่า ลำน้ำไผ่สี ซึ่งเป็นลำน้ำไผ่ที่มีต้นไผ่เป็นจำนวนมาก สำหรับน้ำในการทำนาและได้ชื่อชุมชนนี้ว่าขึ้นเป็นชุมชนหมู่บ้านไผ่สีมาจนถึงปัจจุบัน
เริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ. 2444 หรือประมาณ 101 ปีมาแล้ว (นับถึงปี พ.ศ. 2545)
คนกลุ่มแรกที่มาเริ่มก่อตั้งหมู่บ้าน/ชุมชนมีใครบ้าง 1. นายทัย อยู่หลาย 2. นายปูน ใคร่ครวญ 3. นายกล่อม เชื้อโพล้ง พร้อมทั้งญาติ ๆ ของบุคคลเหล่านี้
คนกลุ่มแรกที่มาตั้งหมู่บ้าน/ชุมชน นี้อพยพมาจาก และจากบ้าน อยู่ดั้งเดิมตั้งแต่สมัยปู่ย่าตาทวด
เหตุที่แต่ละกลุ่มนี้อพยพมาจากบ้านเดิมเพราะอะไร มาสร้างที่ทำมาหากินที่มีลำน้ำที่อุดมสมบูรณืสำหรับใช้ในการเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตร เช่น การทำนาและการเลี้ยงสัตว์ ตลอดจนการอุปดภคที่มีความอุดมสมบุณ์ด้วยทรัพยากรทางด้านการประกอบอาชีพทางด้านการเกษตร
สถาพทางภูมิศาสตร์ของหมู่บ้าน/ชุมชน นี้ ก่อนที่จะตั้งหมู่บ้าน/ชุมชนเป็นอย่างไร (เช่น เป็นป่า, เป็นทุ่งหญ้า, หนองน้ำ ฯลฯ) ก่อนที่จะมาตั้งหมู่บ้านในชุมชนนี้ แต่ก่อนเป็นป่าวึ่งมีความอุดมสมบูรร์เขียวขจีและยังมีหนองน้ำต่าง ๆ จำนวนหลายหนองน้ำ สำหรับการประกอบการเกษตรซึ่งมีภูมิศาสตร์เป็นที่ราบลุ่มเป็ยบางช่วงของหมู่บ้าน เหมาะแก่การเพาะปลูกและการสร้างบ้านเพื่ออยู่อาศัยมาจนถึงปัจจุบัน
ปัจจุบันป่า หรือหนองน้ำ หรือห้วยที่เคยมีในอดีต ยังคงมีอยู่หรือไม่ ถ้าหมดไปแล้วเพราะเหตุใด จึงหมดไป ในปัจจุบันนี้ป่าและหนองน้ำที่เคยมีอยู่ในอดีตบางส่วนยังคงมีอยู่ให้เห็นเพียงบาง ๆ เท่านั้นมีไม่มากนัก เพราะในปัจจุบันนี้มีจำนวนเพิ่มขึ้น จึงทำให้เกิดการทำมาหากินด้านการเกษตรมากขึ้น แต่ถึงอย่างไรก็ตามก็ยังคงมีหนองน้ำสำหรับการทำการเพาะปลูกเท่านั้นเพียงไม่มาก

อาชีพครั้งแรกของราษฎรที่อพยพมาอยู่หมู่บ้าน/ชุมชน คืออาชีพ อาชีพที่เป็นอาชีพแรก ๆ ของราษฎรที่อพยพเข้ามาคือ อาชีพการทำนา, การเลี้ยงสัตว์ และการเพาะปลูก แต่ก็เป็นอาชีพที่ทำกันไว้สำหรับใช้ในครัวเรือนเท่านั้น ไม่ได้เป็นอาชีพที่ใหญ่โตมากมายอะไรนัก ถึงกับเป็นอุตสาหกรรมได้ เพราะมีจำนวนไม่พอสำหรับการจำหน่าย
ก. อาชีพเดิมที่เลิกทำแล้ว คือ

อาชีพ เผาถ่าน เลิกไปแล้วเพราะ จำนวนไม้มีน้อยและมีขนาดไม่เหมาะสม เลิกเมื่อ พ.ศ. 2500
อาชีพ เผาถ่าน เลิกไปแล้วเพราะ ต้นไม้มีน้อยแและมีอาชีพใหม่เข้ามา เลิกเมื่อ พ.ศ. 2515

ข. อาชีพใหม่ที่เพิ่มขึ้น

อาชีพ การเย็บผ้า เมื่อ พ.ศ. 0
อาชีพ การทอผ้า เมื่อ พ.ศ. 2536
อาชีพ การเลี้ยงไก่ฟาร์ม เมื่อ พ.ศ. 2538

การเปลี่ยนแปลงด้านสาธารณูปโภค
ถนนเมื่อเริ่มก่อตั้งหมู่บ้าน/ชุมชนมีสถาพเป็นถนนแบบ ลูกรังและลาดยาง
เป็นถนนลูกรัง เมื่อ พ.ศ. 2540 ยาว 5000 เมตร เป็นถนนลาดยาง เมื่อ พ.ศ. 2540 ยาว 1500 เมตร
ถนนในหมู่บ้านทั้งหมดยาว 0 เมตร
ไฟฟ้าเข้าสู่หมู่บ้าน/ชุมชน เมื่อ พ.ศ. 2510
ประปาหมู่บ้าน/ชุมชน สร้างเมื่อ พ.ศ. 2525

สถาพปัจจุบัน
ประชากร
ในหมู่บ้าน/ชุมชนมีครัวเรือน 250 ครอบครัว มีบ้าน 300 หลังคาเรือน
มีประชากรทั้งหมด 1226 คน ชาย 609 คน หญิง 606 คน

ประชากรวัย 1 วัน - 3 ปีเต็ม จำนวน 13 คน
3 ปี 1 วัน - 6 ปีเต็ม จำนวน 95 คน
6 ปี 1 วัน - 12 ปีเต็ม จำนวน 137 คน
12 ปี 1 วัน - 14 ปีเต็ม จำนวน 60 คน
15 ปี 1 วัน - 18 ปีเต็ม จำนวน 290 คน
18 ปี 1 วัน - 50 ปีเต็ม จำนวน 290 คน
50 ปี 1 วัน - 60 ปีเต็ม จำนวน 290 คน
60 ปี 1 วันขึ้นไป จำนวน 80 คน


ประชากรงอายุ 60 ปีขึ้นไป มีฐานะยากจนไม่มีผู้อุปการะในหมู่บ้าน/ชุมชน มี 20 คน
ปัจจุบันได้รับการสงเคราะห์จากรัฐ จำนวน 20 คน
ได้รับการสงเคราะห์จากที่อื่น ๆ จำนวน - คน

ในหมู่บ้าน/ชุมชนมีคนพิการ จำนวน 5 คน คนพิการได้เรียน - คน ไม่ได้เรียน 10 คน


การประกอบอาชีพ

อาชีพทำนา 220 ครอบครัว รับราชการ 6 ครอบครัว
ค้าขาย 6 ครอบครัว รับจ้าง 15 ครอบครัว
อาชีพทำสวน 4 ครอบครัว อาชีพประมง - ครอบครัว

ผู้มีอาชีพทำนาแต่ไม่มีที่นาเป็นของตัวเอง มี 10 ครอบครัว
อาชีพอื่น ๆ จำนวน - ครอบครัว


ครอบครัวที่มีที่ดินทำกินเป็นของตัวเอง
จำนวน 1-5 ไร่ จำนวน 10 ครอบครัว
6-10 ไร่ จำนวน 15 ครอบครัว
11-20 ไร่ จำนวน 35 ครอบครัว
21-50 ไร่ จำนวน 150 ครอบครัว
50 ไร่ขึ้นไป จำนวน 29 ครอบครัว


ที่ดินที่ยังไม่ได้เอกสิทธ์ จำนวน 20 ครอบครัว รวม 100 ไร่

ประเภทการทำนา

นาหว่าน 3675 ไร่ เริ่มเมื่อ พ.ศ. 2515
นาดำ 100 ไร่
นาธรรมชาติ - ไร่ (เกษตรผสมผสาน) เริ่มเมื่อ พ.ศ. -

การศึกษา
มีโรงเรียนระดับประถมในหมู่บ้าน/ชุมชน
โรงเรียน บ้านไผ่สี มีครู 10 คน ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2483

มีโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในหมู่บ้าน/ชุมชน
โรงเรียน ห้วยกระเจาพิทยาคม มีครู 22 คน ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2537

โรงเรียนในหมู่บ้าน/ชุมชนทั้งหมดมีครูรวม 32 คน จบการศึกษา

ต่ำกว่าปริญญาตรี 1 คน ปริญญาตรี 30 คน
ปริญญาโท 1 คน ปริญญาเอก - คน
ครูที่มีอายุ 30 ปีขึ้นมี 22 คน

โรงเรียนในหมู่บ้าน/ชุมชนมีครูที่สอนจบวิชาดังนี้

วิชาเอก บริหารการศึกษา จำนวน 1 คน

วิชาเอก ภาษาไทย จำนวน 3 คน

วิชาเอก พลศึกษา จำนวน 2 คน

วิชาเอก เทคโนโลยีเกษตร จำนวน 1 คน

วิชาเอก ภาษาอังกฤษ จำนวน 4 คน

วิชาเอก คณิตศาสตร์ จำนวน 2 คน

วิชาเอก สังคมศาสตร์ จำนวน 2 คน

วิชาเอก เคมี จำนวน 1 คน

วิชาเอก การจัดการ จำนวน 1 คน

วิชาเอก อุตสาหกรรมศิลป์ จำนวน 1 คน

วิชาเอก วิทยาศาสตร์ จำนวน 1 คน

วิชาเอก นาฏศิลป์ จำนวน 1 คน

วิชาเอก อื่น ๆ จำนวน 12 คน

จำนวนนักเรียนในโรงเรียนระดับอนุบาล ชั้นประถม

ชั้นอนุบาล 1 มี 1 ห้อง
มีเด็ก 34 คน
ชั้นอนุบาล 2 มี 1 ห้อง
มีเด็ก 25 คน
ชั้น ป. 1 มี 1 ห้อง
มีเด็ก 38 คน
ชั้น ป. 2 มี 1 ห้อง
มีเด็ก 28 คน

ชั้น ป. 3 มี 1 ห้อง
มีเด็ก 35 คน
ชั้น ป. 4 มี 1 ห้อง
มีเด็ก 44 คน
ชั้น ป. 5 มี 1 ห้อง
มีเด็ก 36 คน
ชั้น ป. 6 มี 1 ห้อง
มีเด็ก 33 คน


จำนวนนักเรียนในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา

ชั้น ม. 1 มี 3 ห้อง
มีเด็ก 145 คน
ชั้น ม. 2 มี 2 ห้อง
มีเด็ก 96 คน
ชั้น ม. 3 มี 3 ห้อง
มีเด็ก 107 คน
ชั้น ม. 4 มี 2 ห้อง
มีเด็ก 106 คน
ชั้น ม. 5 มี 2 ห้อง
มีเด็ก 61 คน
ชั้น ม. 6 มี - ห้อง
มีเด็ก - คน


ไม่มีศูนย์เลี้ยงเด็กในหมู่บ้าน/ชุมชน
มีครู - คน มีเด็ก - คน

ในหมู่บ้าน/ชุมชนผู้อ่านหนังสือไม่ออก 50 คน
ไม่มีโรงเรียนทางศาสนาในหมู่บ้าน/ชุมชน
มีสมาชิกในหมู่บ้าน/ชุมชน ไปศึกษานอกหมู่บ้าน จำนวน 120 คน คือ
ระดับประถมศึกษา 10 คน
ระดับมัธยมศึกษา 55 คน
นักศึกษาผู้ใหญ่ 30 คน
สูงกว่าระดับมัธยมศึกษา 25 คน

ปัจจุบันในหมู่บ้าน/ชุมชน
มีร้านค้า 6 ร้าน มีการจ้างงาน - คน
มีโรงสี 1 ร้าน มีการจ้างงาน 2 คน

มีโรงงานอุตสาหกรรม คือ - มีการจ้างงาน - คน


มีสัตว์เลี้ยง วัว 12000 ตัว ควาย 50 ตัว เป็ด - ตัว ไก่ 30000 ตัว สุกร 50 ตัว ปลา 10000 ตัว
ปัจจุบันมีแหล่งน้ำ (ทั้งของสาธารณะและส่วนบุคคล)
บ่อน้ำตื้น 2 บ่อ ใช้ได้ ไม่ตลอด
บ่อน้ำบาดาล 2 บ่อ ใช้ได้ ตลอดปี
สระน้ำ 1 สระ ใช้ได้ ตลอดปี
คลองน้ำ 1 แห่ง ใช้ได้ ตลอดปี
ห้วย - แห่ง ใช้ได้ ไม่มีข้อมูล
หนอง - แห่ง ใช้ได้ ไม่มีข้อมูล
บึง - แห่ง ใช้ได้ ไม่มีข้อมูล
แม่น้ำ - แห่ง ใช้ได้ ไม่มีข้อมูล
ฝายกั้นน้ำ 1 แห่ง ใช้ได้ ตลอดปี
เขื่อนกั้นน้ำ - แห่ง ใช้ได้ ไม่มีข้อมูล
ทะเล - แห่ง ใช้ได้ ไม่มีข้อมูล

ด้านเศรษฐกิจทั้งหมู่บ้าน/ชุมชน
พื้นที่ทำการเกษตร 6960 ไร่ เป็นที่นา 3675 ไร่ เป็นที่สวน 10 ไร่

อื่น ๆ คือ ไร่ จำนวน 3275 ไร่
ผลผลิตด้านทำนาทั้งหมู่บ้านปีละประมาณ 16000 เกวียน
ขายไปจำนวน 1200 กิโลกรัม/เกวียน เก็บไว้รับประทาน 400 กิโลกรัม/เกวียน
ทั้งหมู่ซื้อปุ๋ยเคมีปีละ 8000 กระสอบ ใช้ปุ๋ยคอก 1200 กระสอบ


มีผลผลิตอื่น ๆ เช่นทำสวน ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ ดังนี้

ทำสวน
มะม่วง จำนวน 1 ครอบครัว ได้ผลผลิตทั้งหมู่บ้าน/ชุมชนประมาณ 15000 บาทต่อปี
ขนุน จำนวน 1 ครอบครัว ได้ผลผลิตทั้งหมู่บ้าน/ชุมชนประมาณ 16000 บาทต่อปี
อื่น ๆ (ผสม) จำนวน 2 ครอบครัว ได้ผลผลิตทั้งหมู่บ้าน/ชุมชนประมาณ 15000 บาทต่อปี
ทำไร่
อ้อย จำนวน 62 ครอบครัว ได้ผลผลิตทั้งหมู่บ้าน/ชุมชนประมาณ 5876000 บาทต่อปี
มันสำปะหลัง จำนวน 76 ครอบครัว ได้ผลผลิตทั้งหมู่บ้าน/ชุมชนประมาณ 5450000 บาทต่อปี
นาดำ จำนวน 25 ครอบครัว ได้ผลผลิตทั้งหมู่บ้าน/ชุมชนประมาณ 154000 บาทต่อปี
เลี้ยงสัตว์
วัว จำนวน 30 ครอบครัว ได้ผลผลิตทั้งหมู่บ้าน/ชุมชนประมาณ 984500 บาทต่อปี
หมู จำนวน 1 ครอบครัว ได้ผลผลิตทั้งหมู่บ้าน/ชุมชนประมาณ 100000 บาทต่อปี
ไก่เนื้อ จำนวน 3 ครอบครัว ได้ผลผลิตทั้งหมู่บ้าน/ชุมชนประมาณ 550000 บาทต่อปี
การผลิตสินค้าในหมู่บ้าน/ชุมชนเพื่อจำหน่าย
ผลิต ทอผ้า ครอบครัวที่ผลิตมี 25 ครอบครัว มีรายได้เข้าหมู่บ้าน/ชุมชนประมาณปีละ 100000 บาท
ผลิต ตัดเย้บเสื้อผ้า ครอบครัวที่ผลิตมี 20 ครอบครัว มีรายได้เข้าหมู่บ้าน/ชุมชนประมาณปีละ 200000 บาท
อื่น ๆ ไม่มี
มีราษฎรในหมู่บ้าน/ชุมชนออกไปขายแรงงานต่างถิ่น จำนวน 20 ครอบครัว รวม 100 คน ทุกคนที่ไปทำงานส่งเงินเข้าหมู่บ้านรวมทั้งหมด ประมาณปีละ 100000 บาท
รายได้ของประชาชน ในหมู่บ้านต่อปีในแต่ละครอบครัง โดยสรุบรวมทั้งหมดประมาณ
1,000- 5,000 บาท - ครอบครัว
5,001- 10,000 บาท - ครอบครัว
10,001- 20,000 บาท 50 ครอบครัว
20,001- 30,000 บาท 100 ครอบครัว
30,001- 50,000 บาท 50 ครอบครัว
50,001- 100,000 บาท 50 ครอบครัว

ด้านวัฒนธรรม
มีวัด/มัสยิด/โบสถ์ จำนวน 1 แห่ง
1. วัดศรีบัวทอง (ไผ่สี)
มีพระ/บาทหลวง 4 รูป เณร - รูป แม่ชี - รูป เด็กวัด - คน
ภาษาพื้นบ้าน คือ
ภาษาไทย
ภาษาพื้นบ้านอื่น ๆ
ไม่มีโบราณวัตถุ โบราณสถานในหมู่บ้าน/ชุมชน หรือใกล้เคียงหมู่บ้าน/ชุมชน ไม่เกิน 3 กิโลกรัม
ไม่มีแหล่งท่องเที่ยวในหมู่บ้าน/ชุมชน ไม่กิน 3 กิโลกรัม
ภูมิปัญญาชาวบ้าน (ผู้รู้ชำนาญการ / ผู้นำ / บุคคลตัวอย่าง)
ด้านเกษตรกรรม (เช่น การเพาะปลูก การขยายพันธุ์พืช การเลี้ยงสัตว์ การเพาะพันธุ์สัตว์ การเกษตรกรรมผสมผสาน การทำไร่ทำนาสวนผสม การปรับใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการเกษตร อื่น ๆ เป็นต้น)
1. ชื่อ นายสมทรง สกุล บัวงาม เพศ ชาย อายุ 45 ปี เชี่ยวชาญด้าน การเกษตรกรรม (ผู้ชำนาญการขยายพันธุ์พืช) ประสบการณ์ 20 ปี
ที่อยู่ที่ติดต่อได้ บ้านเลขที่ 1 หมู่ที่ 2 ชื่อหมู่บ้าน/ชุมชน ไผ่สี ตำบล/แขวง สระลงเรือ อำเภอ/เขต ห้วยกระเจา จังหวัด กาญจนบุรี รหัสไปรษณีย์ 71170 โทรศัพท์ -
2. ชื่อ นายดำรงเดช สกุล เชื้อโพล้ง เพศ ชาย อายุ 53 ปี เชี่ยวชาญด้าน การเพาะปลูก และการเลี้ยงสัตว์ ประสบการณ์ 10 ปี
ที่อยู่ที่ติดต่อได้ บ้านเลขที่ 31/2 หมู่ที่ 2 ชื่อหมู่บ้าน/ชุมชน ไผ่สี ตำบล/แขวง สระลงเรือ อำเภอ/เขต ห้วยกระเจา จังหวัด กาญจนบุรี รหัสไปรษณีย์ 71170 โทรศัพท์ -


ด้านอุตสาหกรรมและหัตกรรม ( เช่น การจักสาน ( ทอเสื่อ / สานกระด้ง / กระติบข้าว แห / อวน ฯลฯ ) การช่าง ( ช่างตีมีด / เหล็ก / ขวาน / ปั้นโอ่ง ฯลฯ ) การแกะสลัก การตัดเย็บ เสื้อผ้า อื่น ๆ เป็นต้น )
ไม่มี


ด้านการแพทย์แผนไทย (เช่น หมอสมุนไพร หมอยากลางบ้าน หมอหนวดแผนโบราณ หมอยาหม้อ อื่น ๆ เป็นต้น)
1. ชื่อ นายสวิง สกุล อยู่หลาย เพศ ชาย อายุ 74 ปี เชี่ยวชาญด้าน หมอยาหม้อ ประสบการณ์ 20 ปี
ที่อยู่ที่ติดต่อได้ บ้านเลขที่ 24 หมู่ที่ 2 ชื่อหมู่บ้าน/ชุมชน ไผ่สี ตำบล/แขวง สระลงเรือ อำเภอ/เขต ห้วยกระเจา จังหวัด กาญจนบุรี รหัสไปรษณีย์ 71170 โทรศัพท์ -
2. ชื่อ นายอร่าม สกุล จันทร์สวาท เพศ ชาย อายุ 69 ปี เชี่ยวชาญด้าน หมอยากลางบ้าน ประสบการณ์ 20 ปี
ที่อยู่ที่ติดต่อได้ บ้านเลขที่ 42 หมู่ที่ 2 ชื่อหมู่บ้าน/ชุมชน ไผ่สี ตำบล/แขวง สระลงเรือ อำเภอ/เขต ห้วยกระเจา จังหวัด กาญจนบุรี รหัสไปรษณีย์ 71170 โทรศัพท์ -


ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ( เช่น การบวชป่า การสืบชะตาแม่น้ำ การทำแนวปะการังรังเทียม การอนุรักษ์ป่าชายเลน การจัดการป่าต้นน้ำและป่าชุมชน อื่น ๆ เป็นต้น)
ไม่มี


ด้านกองทุนและธุรกิจชุมชน ( ผู้นำในการจัดกองทุนของชุมชน ผู้นำในการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลของชุมชน ผู้นำในกาจัดระบบการบริการชุมชน อื่น ๆ เป็นต้น)
1. ชื่อ นายดำรงดดช สกุล เชื้อโพล้ง เพศ ชาย อายุ 53 ปี เชี่ยวชาญด้าน ผู้นำในการจัดการกองทุนของชุมชน ประสบการณ์ 15 ปี
ที่อยู่ที่ติดต่อได้ บ้านเลขที่ 31/2 หมู่ที่ 2 ชื่อหมู่บ้าน/ชุมชน ไผ่สี ตำบล/แขวง สระลงเรือ อำเภอ/เขต ห้วยกระเจา จังหวัด กาญจนบุรี รหัสไปรษณีย์ 71170 โทรศัพท์ 034-516235
2. ชื่อ นายสำรอง สกุล แก้ววงษืล้อม เพศ ชาย อายุ 59 ปี เชี่ยวชาญด้าน ผู้ร่วมหารจัดตั้งกองทุนชุมชน ประสบการณ์ 20 ปี
ที่อยู่ที่ติดต่อได้ บ้านเลขที่ - หมู่ที่ 2 ชื่อหมู่บ้าน/ชุมชน ไผ่สี ตำบล/แขวง สระลงเรือ อำเภอ/เขต ห้วยกระเจา จังหวัด กาญจนบุรี รหัสไปรษณีย์ 71170 โทรศัพท์ -
3. ชื่อ นายสมยศ สกุล ศรีสนิท เพศ ชาย อายุ 45 ปี เชี่ยวชาญด้าน ผู้ร่วมหารจัดตั้งกองทุนชุมชน ประสบการณ์ 15 ปี
ที่อยู่ที่ติดต่อได้ บ้านเลขที่ - หมู่ที่ 2 ชื่อหมู่บ้าน/ชุมชน ไผ่สี ตำบล/แขวง สระลงเรือ อำเภอ/เขต ห้วยกระเจา จังหวัด กาญจนบุรี รหัสไปรษณีย์ 71170 โทรศัพท์ -


ด้านศิลปกรรม (เช่น การวาดภาพ (จิตกรรม) การปั้น (ประติมากรรม) นาฏศิลป์ ดนตรี การแสดง การละเล่นพื้นบ้าน นันทนาการ อื่น ๆ เป็นต้น)
ไม่มี


ด้านภาษาและวรรณกรรม ( เช่น ความสามารถในการอนุรักษ์และสร้างผลงานด้านภาษา คือ ภาษาท้องถิ่น ภาษาไทยในภูมิภาคต่าง ๆ และวรรณกรรมท้องถิ่น การจัดทำสารานุกรมท้องถิ่น ต่าง ๆ อื่น ๆ เป็นต้น )
ไม่มี


ด้านปรัชญา ศาสนา และประเพณี ( เช่น ความสามารถประยุกต์และปรับใช้หลักธรรมคำสอนทางศาสนา ปรัชญาความเชื่อและ ประเพณีที่มีคุณค่าให้เหมาะสมต่อบริบททางเศรษฐกิจ สังคม การถ่ายทอดวรรณกรรม คำสอน การประยุกต์ประเพณีบุญ อื่น ๆ เป็นต้น)
ไม่มี


ด้านโภชนาการ ( เช่น ความสามารถในการเลือกสรร ประดิษฐ์แบะปรับปรุงแต่งอาหาร และยา ได้เหมาะสมตามความต้องการ ของร่างกายในสภาวการณ์ต่าง ๆ ตลอดจนผลิตเป็นสินค้าและบริการส่งออกที่ได้รับความนิยมแพร่หลาย อื่นๆ เป็นต้น)
ไม่มี


ด้านองค์กรชุมชน ( เช่น ร้านค้าชุมชน ศูนย์สาธิตการตลาด กลุ่มออมทรัพย์ องค์กรด้านการตัดเย็บเสื้อผ้า กลุ่มจักสาน กลุ่มทอผ้า กลุ่มทอเสื่อ กลุ่มตีมีด ตีขวาน เครื่องมือที่ทำจากเหล็ก กองทุนสวัสดิการชุมชน กองทุนอื่น ๆ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เช่นป่าไม้ น้ำ ดิน และ อื่น ๆ)
1. ชื่อกลุ่ม/องค์กร ทอผ้า กิจกรรมหลักของกลุ่ม คือ การทอผ้าและการส่งผ้าที่ทอจำหน่าย ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2536 ประธานกลุ่มคือ นางปราณี เชื้อโพล้ง อายุ 53 ปี
ที่อยู่ที่ติดต่อได้ บ้านเลขที่ 31/2 หมู่ที่ 2 ชื่อหมู่บ้าน/ชุมชน ไผ่สี ตำบล/แขวง สระลงเรือ อำเภอ/เขต ห้วยกระเจา จังหวัด กาญจนบุรี รหัสไปรษณีย์ 71170 โทรศัพท์ 034-516235
จำนวนสมาชิกเริ่มก่อตั้ง 10 คน ปัจจุบัน 38 คน เดิมกลุ่มมีทุนก่อตั้ง - บาท ปัจจุบันกลุ่มมีทุน 25000 บาท ความสำเร็จ ปานกลาง
2. ชื่อกลุ่ม/องค์กร เลี้ยงสัตว์ กิจกรรมหลักของกลุ่ม คือ การเลี้ยงสัตว์เพื่อจำหน่าย ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2540 ประธานกลุ่มคือ นายเอนก อยุ่เอี่ยม อายุ 29 ปี
ที่อยู่ที่ติดต่อได้ บ้านเลขที่ 48/4 หมู่ที่ 2 ชื่อหมู่บ้าน/ชุมชน ไผ่สี ตำบล/แขวง สระลงเรือ อำเภอ/เขต ห้วยกระเจา จังหวัด กาญจนบุรี รหัสไปรษณีย์ 71170 โทรศัพท์ -
จำนวนสมาชิกเริ่มก่อตั้ง 10 คน ปัจจุบัน 15 คน เดิมกลุ่มมีทุนก่อตั้ง 100000 บาท ปัจจุบันกลุ่มมีทุน 150000 บาท ความสำเร็จ ปานกลาง
3. ชื่อกลุ่ม/องค์กร เย็บผ้า กิจกรรมหลักของกลุ่ม คือ ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2540 ประธานกลุ่มคือ นางจำนงค์ ยี่สรง อายุ 35 ปี
ที่อยู่ที่ติดต่อได้ บ้านเลขที่ - หมู่ที่ 2 ชื่อหมู่บ้าน/ชุมชน ไผ่สี ตำบล/แขวง สระลงเรือ อำเภอ/เขต ห้วยกระเจา จังหวัด กาญจนบุรี รหัสไปรษณีย์ 71170 โทรศัพท์ -
จำนวนสมาชิกเริ่มก่อตั้ง 10 คน ปัจจุบัน 20 คน เดิมกลุ่มมีทุนก่อตั้ง 100000 บาท ปัจจุบันกลุ่มมีทุน 200000 บาท ความสำเร็จ ปานกลาง


ในรอบหนึ่งปีในหมูบ้าน / ชุมชนมีการทำบุญหรืองานประเพณีคือ
เดือนมกราคม ทำบุญประเพณี ทำบุญปีใหม่
เดือนกุมภาพันธ์ ทำบุญประเพณี ทำบุญตรุษจีน
เดือนเมษายน ทำบุญประเพณี วันสงกรานต์
เดือนกรกฎาคม ทำบุญประเพณี ทำบุญวันเข้าพรรษา
เดือนสิงหาคม ทำบุญประเพณี ทำบุยวันแม่แห่งชาติ
เดือนตุลาคม ทำบุญประเพณี ทำบุญเข้าพรรษา
เดือนพฤศจิกายน ทำบุญประเพณี ทำบุญลอยกระทง
เดือนธันวาคม ทำบุญประเพณี ทำบุญวันพ่อแห่งชาติ

ผู้ที่ราษฎรในหมู่บ้าน / ชุมชนให้ความนับถือในหมู่บ้าน / ชุมชน
1. นายดำรงเดช เชื้อโพล้ง กำนันตำบลสระลงเรือ
2. นายสำรอง แก้ววงษ์ล้อม สารวัตรกำนัน
3. นางสาวสุชาดา เชื้อโพล้ง ประธานบริหารอง๕ืการบริหารส่วนตำบลสระลงเรือ
4. นายสำรวน ยี่สรง สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล
5. นายสมยศ ศรีสนิท ผู้ช่วย
ผู้ที่ราษฎรในหมู่บ้าน / ชุมชนมีความจำเป็นเรื่องเงินจะไปขอความช่วยเหลือจาก
1. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์

ข้อมูลด้านอื่น ๆ
คณะกรรมการหมู่บ้าน / ชุมชน
ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายดำรงเดช เชื้อโพล้ง การศึกษาสูงสุด ม.6
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายสำรอง แก้ววงษ์ล้อม การศึกษาสูงสุด ป.4
มีคณะกรรมการหมู่บ้าน/ชุมชนด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ชื่อ-สกุล นายสมยศ ศรีสนิท การศึกษาสูงสุด ม.6
2. ชื่อ-สกุล นายเจริญ สืบพลาย การศึกษาสูงสุด ป.6
3. ชื่อ-สกุล นายอุ่น ระเบียบ การศึกษาสูงสุด ป.4
4. ชื่อ-สกุล นายเอนก อยู่เอี่ยม การศึกษาสูงสุด ป.6
5. ชื่อ-สกุล นายพรหม ใคร่ครวญ การศึกษาสูงสุด ป.4
6. ชื่อ-สกุล นายประสงค์ อยู่เอี่ยม การศึกษาสูงสุด ป.6
7. ชื่อ-สกุล นายโจ อยู่หลาบ การศึกษาสูงสุด ป.6
8. ชื่อ-สกุล นางแสงระวึ จันทร์สวาท การศึกษาสูงสุด ปวช.
9. ชื่อ-สกุล นางเรณู สืบบุก การศึกษาสูงสุด ป.6
10. ชื่อ-สกุล นางสาวดอกพรหม นากเขียน การศึกษาสูงสุด ม.3

สมาชิก อบต. ในหมู่บ้าน / ชุมชน คือ
1. ชื่อ-สกุล นางสาวสุชาดา เชื้อโพล้ง การศึกษาสูงสุด ปริญญาตรี
2. ชื่อ-สกุล นายสำรวน ยี่สรง การศึกษาสูงสุด ป.4

ในหมู่บ้าน / ชุมชน มีการรวมกลุ่มอะไรบ้าง
1. ชื่อกลุ่ม ทอผ้า ตั้งขึ้น พ.ศ. 2536
สมาชิกกลุ่ม 38 คน ปัจจุบันมีเงินกลุ่ม 25000 บาท
2. ชื่อกลุ่ม เลี้ยงสัตว์ ตั้งขึ้น พ.ศ. 2540
สมาชิกกลุ่ม 15 คน ปัจจุบันมีเงินกลุ่ม 150000 บาท
3. ชื่อกลุ่ม เย็บผ้า ตั้งขึ้น พ.ศ. 2536
สมาชิกกลุ่ม 38 คน ปัจจุบันมีเงินกลุ่ม 200000 บาท

ทั้งหมู่บ้าน / ชุมชน
มีผู้ติดยาเสพติด 20 คน
มีผู้ติดเอส์ 5 คน
มีรถยนต์ 200 คัน
มีมอเตอร์ไซต์ 280 เครื่อง
มีรถไถนาเดินตาม 5 คัน
ไม่มีเครื่องเกี่ยวข้าว นวดข้าว
มีไฟฟ้าใช้ 250 ครัวเรือน
มีประปา 250 ครัวเรือน
มีตู้เย็น 275 เครื่อง
มีพัดลม 320 เครื่อง
มีเครื่องปรับอากาศ 20 ครัวเรือน
มีหม้อหุงข้าวไฟฟ้า 250 เครื่อง
มีทีวีสี 280 เครื่อง
มีทีวีขาวดำ 2 เครื่อง
มีโทรศัพท์ 3 เครื่อง
มีหอกระจายข่าว 1 แห่ง
มีภาชนะเก็บน้ำฝน 200 ครัวเรือน
มีมีส้วมที่ถูกหลักสุขาภิบาล 250 ครัวเรือน


ปัจจุบันป่าไม้

ป่าตอนปู่ตาย - ไร่ ป่าช้า 1 ไร่
ป่าในวัด - ไร่ ป่าสงวน - ไร่



ราษฎรในหมู่บ้าน / ชุมชนเป็นหนี้สินสถาบันการเงินของรัฐ ( เช่น ธ.ก.ส. / กองทุนหมู่บ้าน / ชุมชน ( กข.คจ.))
จำนวน 100 ครอบครัว เป็นเงินรวมทั้งสินประมาณ 5000000 บาท
ติดหนี้นายทุน จำนวน - ครอบครัว เป็นเงินรวมทั้งสินประมาณ - บาท
ดอกเบี้ยของนายทุนคิดร้อยละประมาณ - บาทต่อเดือน
ดอกเบี้ยของสถาบันการเงินงบประมาณ - บาทต่อเดือน


ผู้สื่อข่าวสาธารณะสุขประจำหมู่บ้าน / ชุมชน คือนางปั้นหยา จันทรืสวาท
ผู้สื่อข่าวประชาสัมพันธ์ประจำหมู่บ้าน / ชุมชน คือนายดำรงเดช เชื้อโพล้ง
ในรอบ 5 ปี ที่ผ่านมา มีโครงการของรัฐ หรือ อบต. เข้ามาพัฒนาช่วยเหลือชาวบ้านคือ
1. โครงการ ขุดบ่อบาดาลจำนวน 2 แห่ง โดยหน่วยงาน รพช. เข้ามา พ.ศ. 2540 ผลการดำเนินงาน ชาวบ้านได้รับน้ำอย่างทั่วถึงกัน
2. โครงการ ถนนลาดยาง โดยหน่วยงาน งบประมาณ สมาชิกผู้แทนราษฎร เข้ามา พ.ศ. 2540 ผลการดำเนินงาน ชาวบ้านได้รับความสะดวกขึ้นในการใช้เส้นทาง
3. โครงการ ขุดลอกลำห้วยและสร้างฝ่ายทดน้ำ โดยหน่วยงาน กรมการพัฒนาที่ดิน เข้ามา พ.ศ. 2540 ผลการดำเนินงาน ชาวบ้านได้ใช้ถนนที่สะดวกในการใช้น้ำทางการเกษตร
4. โครงการ ขุดเหมืองลอยส่งน้ำ โดยหน่วยงาน องค์การบริหารส่วนตำบล เข้ามา พ.ศ. 2540 ผลการดำเนินงาน ประชาชนได้รับน้ำในการเกษตร
5. โครงการ ขุดคลองสระน้ำ โดยหน่วยงาน กรมชลประทาน เข้ามา พ.ศ. 2540 ผลการดำเนินงาน เกาตรกรมีน้ำใช้ในการทำการเกษตร
ในหมู่บ้าน / ชุมชนมีโครงการของเอกชน (NGO) เข้ามาพัฒนาช่วยเหลือหมู่บ้าน / ชุมชนในเรื่องอะไรบ้าง
ไม่มีโครงการใดๆ
ความต้องการของราษฎรในหมู่บ้าน / ชุมชนมีดังนี้
ไม่มี
ในหมู่บ้าน / ชุมชนแต่ละปีสามารถเก็บภาษีต่าง ๆ เช่น ภาษีที่ดิน ภาษีร้านค้า ฯลฯ ได้ปีละ 13113 บาท
โรคระบาดในพืชและสัตว์เลี้ยงหรือคนในหมู่บ้าน / ชุมชนที่พบมากในรอบ 5 ปีมานี้ คือ
โรคพืชมีโรค เพลี้ยลงข้าว
โรคสัตว์มีโรค เท้าเปื่อย
โรคในคนมีคือโรค อากาศเปลี่ยนแปลงทำให้อาหารเป็นพิษ (ท้องร่วง)




 

Create Date : 30 มกราคม 2553
1 comments
Last Update : 30 มกราคม 2553 14:03:33 น.
Counter : 1700 Pageviews.

 

ผมเข้ามาดูเเล้วครับ

 

โดย: ชัย IP: 27.130.86.167 20 กันยายน 2553 13:27:05 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


เท่สุดหล่อ
Location :
กาญจนบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ขอบคุณเพื่อนๆทุกคนที่เข้ามาเยี่ยมชม


จำนวนผู้เข้าชมเว็บ



คุณอยากให้พรรคไหนมาเป็นรัฐบาล
พรรคประชาธิปัตย์
พรรคเพื่อไทย


Friends' blogs
[Add เท่สุดหล่อ's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.