Group Blog
 
 
กันยายน 2551
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
2 กันยายน 2551
 
All Blogs
 

ส่วนประกอบของกีตาร์ไฟฟ้า

ก่อนอื่นเลยนะคับ ก็ผมเองชอบเล่นกีตาร์ไฟฟ้า เล่นเป็นวงมาได้4ปีแล้ว พอมีประสบการณ์บ้าง แต่ก็ไม่ได้เก่งอะไรมากมาย เวลามีเพื่อนที่สนใจหรือเพิ่งเริ่มเล่นเนี่ย มันก็มักมาถามเกี่ยวกับกีตาร์ มากมายสารพัดเรื่องที่มันถาม ผมมาคิดไปคิดมา ก็ถือโอกาสที่อยากจะให้ความรู้เล็กๆน้อยๆแก่พ่อแม่พี่น้อง หรือผู้ที่สนใจครับ
เริ่มแรกเลย ผมคิดว่าเราน่าจะรู้จักกับส่วนประกอบของกีตาร์ก่อนดีกว่า ซึ่งหัวข้อนี้น่าจะเป็นประโยชน์มากสำหรับผู้ที่ไม่เคยจับต้องไอกีตาร์ไฟฟ้ามาก่อน หรือผู้ที่กำลังจะเริ่มเล่นคับ


เริ่มแรกเลยก็มาที่ส่วนหัวก่อนนะครับ ก็จะประกอบด้วยประกอบด้วย

1.1 ชุดลูกบิด โดยทั่วไปที่เราพบเห็นจะมี 2 แบบ ได้แก่ แบบที่ตัวลูกบิดหันไปด้านหลัง ตั้งฉากกับตัวกีตาร์ แกนหมุนสายเป็นพลาสติก ซึ่งจะใช้กับกีตาร์คลาสสิก หรือกีตาร์ฝึก (แต่จะเป็นแบบที่แกนหมุนสายเป็นเหล็กใช้กับกีตาร์ราคาไม่สูงนัก) และอีกแบบจะขนานกับตัวกีตาร์ หรือแกนหมุนสายตั้งฉากกับตัวกีตาร์ ซึ่งใช้กับกีตาร์โฟล์คหรือกีตาร์ไฟฟ้าทั่วๆไป แต่ละบริษัทที่ผลิตลูกบิดกีตาร์นั้นจะมีระบบเป็นของตัวเอง เช่น ระบบล็อคกันสายคลายเวลาดีด เป็นต้น

1.2 นัท (nut) บางคนเรียก หย่อง หรือ สะพานสายบนก็ได้ (เรียกว่านัทดีกว่า) มันจะติดอยู่ปลายบนสุดของฟิงเกอร์บอร์ดเพื่อรองรับสายกีตาร์ให้ยกสูงจากฟิงเกอร์บอร์ด ซึ่งระยะความสูงของสายกับฟิงเกอร์บอร์ดนี้ เรียกว่า “action” มีความสำคัญกับความถนัดของการเล่นของเรามากนะ เพราะถ้ามันตั้งความสูงไว้ไม่เหมาะสมแล้วจะทำให้การเล่นกีตาร์ลำบากมาก คือ ถ้าระยะดังกล่าวสูงไปคุณต้องออกแรงกดสายมากขึ้น ก็จะเจ็บนิ้วมากขึ้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าการตั้งactionที่สูงนี่ไม่ดีนะครับ เสียงที่ให้จะใสกว่าการตั้งactionที่ต่ำครับ ก็แล้วแต่สไตล์ของเสียงที่เราชอบด้วย ส่วนมากจะเป็นแนว Jazz สำหรับการตั้งactionที่ต่ำไป เวลาดีด ความสั่นของสายจะไปโดนเฟร็ตทำให้เกิดเสียงแปลกๆออกมา การตั้งactionให้ต่ำๆก็จะเหมาะกับการเล่นแนวrock หรือพวกที่ชอบsoloแบบปั่นกระจายอะไรประมาณนั้นอะครับ

การปรับแต่งนั้นคุณสามารถที่จะทำได้ด้วยตัวเองโดยการถอดมันออกมา และใช้ตะไบถูกับฐานของมัน หรือเซาะร่องทั้ง 6 ให้ลึกลงไปในกรณีที่สูงเกินไป ตรงกันข้าม ถ้าต่ำไป ก็หาเศษกระดาษหนา ๆ หรือเศษไม้มารองได้นัทจนได้ความสูงที่คุณพอใจ โดยปกติประมาณ 2 มม. สำหรับกีตาร์ไฟฟ้าบางรุ่น (โดยเฉพาะที่มีชุดคันโยก) มักจะมีนัทแบบที่ล็อคสายกีตาร์ได้ คือ จะมี 6 เหลี่ยมขันอัดให้โลหะชิ้นเล็ก ๆ ไปกดสายกีตาร์เพื่อกันสายคลายเมื่อเล่นคันโยก



ส่วนที่2ครับ ส่วนคอกีตาร์ ประกอบด้วย

2.1 ตัวคอกีตาร์นี่แหละครับ คือส่วนที่เราใช้จับคอร์ดเล่นโน๊ตต่างๆ มีความสำคัญมากสำหรับกีตาร์ก่อนซื้อ เพราะคุณจะต้องดูให้ดี ในการเลือกซื้อกีตาร์ครับ (ควรจะทำมาจากไม้มะฮอกกานี หรือ ไม้ซีดา) หลัการที่สำคํญที่สุด คือ คอกีตาร์ต้องตรง ไม่มีรอยแตกหรือปริของเนื้อไม้



2.2 Fingerboard เป็นแผ่นไม้ที่ติดลงบนคอกีตาร์อีกชั้น เป็นตัวที่ใช้ยึดเฟร็ต หรือลวดลายมุกประดับต่าง ๆ และเราก็จะเล่นโน๊ตต่าง ๆ ของกีตาร์บนหน้าฟิงเกอร์บอร์ดนั่นเอง ไม้ที่นิยมใช้จะเป็นไม้โรสวูด หรือไม้อีโบนี ซึ่งมีเนื้อไม่แข็งเกินไป มีแบบที่แบนเรียบของกีตาร์คลาสสิก และกีตาร์โฟล์กับกีตาร์ไฟฟ้าส่วนใหญ่จะโค้งเล็กน้อยเพื่อให้เข้ากับนิ้วเวลาทาบบนคอ

2.3 เฟร็ต (fret) ทำมาจากโลหะฝังอยู่บนคอกีตาร์ เป็นตัวที่จะกำหนดเสียงของโน็ตดนตรีจากการกดสายกีตาร์ลงบนเฟร็ตต่าง ๆ ซึ่งทำให้สายมีความสั้นยาวต่างกันไปตามการกดสายของเราว่ากดที่ช่องใดระยะสายที่เปลี่ยนไป คือระดับเสียงที่เปลี่ยนไปด้วย สิ่งหนึ่งที่ควรคำนึงถึง คือระยะระหว่างเฟร็ตแต่ละตัว ต้องได้มาตรฐาน มิฉะนั้นจะทำให้เสียงเพี้ยนได้แต่เราไม่สามารถเช็คระยะดังกล่าวได้เราอาจเช็คคร่าว ๆ จากฮาโมนิค จำนวนของเฟร็ตก็จะขึ้นกับความยาวของคอกีตาร์ ซึ่งแต่ละผู้ผลิตก็จะต่างกันไป ปกติกีตาร์คลาสสิกจะมีประมาณ 18 ตัว กีตาร์โฟล์คประมาณ 20 ตัว แต่กีตาร์ไฟฟ้าซึ่งมักจะมีการเล่นโซโลจึงมีช่องให้เล่นโน๊ตมากขึ้นประมาณ 22-24 ตัว และกีตาร์คลาสสิกซึ่งคอกีตาร์แบนราบ เฟร็ตก็จะตรง แต่กีตาร์โฟล์คหรือกีตาร์ไฟฟ้านั้นส่วนใหญ่จะมีคอที่โค้งเล็กน้อยก็จะมีเฟร็ตที่โค้งตามไปด้วย

2.4 มุกประดับจุดประสงค์คือให้ใช้สังเกตตำแหน่งช่องกีตาร์ปกติจะฝังที่ช่อง (1), 3, 5, 7, 9, (10) , 12, 14, 17, 19, 21 (ไม่แน่นอนตายตัวขึ้นกับผู้ผลิต) กีตาร์คลาสสิกจะไม่มีมุกประดับฝังบนหน้าฟิงเกอร์บอร์ดแต่จะฝังด้านข้างแทน แต่กีตาร์โฟล์คและกีตาร์ไฟฟ้าจะฝังไว้ทั้ง 2 ส่วน (บางรุ่นก็มีแต่ด้านข้าง) ทั้งนี้ขึ้นกับแต่ละผู้ผลิตจะออกแบบ โดยทั่วไปจะเป็นรูปวงกลม บางทีก็รูปข้าวหลามตัด หรือที่แพงหน่อยก็จะเป็นลายพวกไม้เลื้อย เลื้อไปตามหน้าฟิงเกอร์บอร์ด

2.5 ก้านเหล็กปรับแต่งคอ (Truss Rod) ในกีตาร์ที่อยู่ในระดับกลางขึ้นไปจะมีแท่งเหล็กฝังอยู่ตามความยาวคอกีตาร์ด้วยเพื่อเสริมความแข็งแรงให้กับกีตาร์ป้องกันการโก่งตัวของคอกีตาร์ ซึ่งสามารถปรับแต่งได้เมื่อคอกีตาร์เกิดโก่งงอไปแต่การปรับแต่งนั้นถ้าไม่แน่ใจอย่าเสี่ยง เพราะถ้าคุณฝืนมันมากไปอาจทำให้คอกีตาร์เสียหายก็ได้ ให้ผู้ที่เขาชำนาญทำดีกว่าครับ



มาที่ส่วนลำตัวกีตาร์ ประกอบด้วย

3.1 ลำตัวกีตาร์ (Body) หมายถึง 3 ส่วนได้แก่ ด้านหน้า (top) ควรทำมาจากไม้ เมเปิล (Maple) ด้านหลัง (back) และด้านข้าง (side) ควรเป็นไม้โรสวูด (Rosewood) และที่สำคัญคือลักษณะของไม้ต้องไม่มีรอยแตก ไม่มีตาไม้ และมีลายไม้ที่ละเอียดไปตามความยาว จึงมีคุณภาพดี เสียงของกีต้าร์ จะหนา อุ่น บาง แหลม โดยส่วนใหญ่มาจากลำตัวแทบทั้งสิ้น โดยผลที่ทำให้เสียงแตกต่างกัน คือ ไม้ รูปร่าง และวิธีการซึ่งวิธีการในที่นี้หมายถึง วิธีการประกอบลำตัว ไม่ว่าจะเป็น 1 2 หรือ 3 ชิ้น ใช้ไม้ปะหน้าแบบไหน หรือ ใช้ไม้อะไรผสมกับอะไร ซึ่งในเรื่องนี้ จะมีรายละเอียดมากทีเดียว

3.2 สะพานสาย (Bridge) และ หย่อง (Saddle) Bridge นั้น หมายถึง ชุดของสะพาน ที่ประกอบขึ้นมาเป็นชิ้นทั้งหมด ซึ่งแยกกันเป็น 2 ประเถทใหญ่ ๆ คือ แบบโยกไม่ได้ (Fixed) และแบบคันโยก (Tremolo) ส่วน Saddle หมายถึง วัสดุตัวเล็ก ๆ ที่รองสาย และแยกเป็นชิ้น ๆ จะเป็น ชิ้นโลหะเล็ก ๆ

3.3 ปิคอัฟ (Pick up) สำหรับกีตาร์ไฟฟ้าจะมีความสำคัญมากเพราะมันจะรับแรงสั่นสะเทือนของสายไปแปลงเป็นกระแสไฟฟ้าส่งไปยังแอมป์แล้วขยายเสียงต่อไปทำให้ัสามารถปรับแต่งเสียงได้มากมายหลายรูปแบบแล้วแต่คุณต้องการ Pick up ปัจจุบัน แยกกันตามลักษณะทางกายภาพได้เป็น 2 แบบ คือ Single Coil หรือแบบ คอยล์เดี่ยว และแบบ HumBucker หรือแบบคอยล์คู่ ซึ่ง รายละเอียดนั้น คงต้องแยกไปอีกตอน เพราะเรื่อง Pick up นั้น ยาวมาก และมีหลายแบบ หลายลักษณะมาก




3.4 ชุดคันโยก (tremolo bar) ถือว่าเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของกีตาร์ไฟฟ้าเลยทีเดียว ซึ่งแบบเก่า จะเป็นแบบกดลงได้อย่างเดียว ซึ่งปัจจุบันวงการกีตาร์ไฟฟ้าก็ได้พัฒนาไปอีกระดับกับคันโยกที่เราเรียกกัน ตามชื่อผู้ผลิต คือ ฟลอยโรส (Floyd Rose) หรือคันโยกอิสระนั่นเอง ซึ่งสามารถโยกขึ้นลงได้อย่างอิสระช่วยให้นักกีตาร์สามารถสร้างสรรค์สำเนียงดนตรีในแบบใหม่ ๆ ได้ไม่สิ้นสุด



3.5 สวิทช์เปลี่ยนปิคอัฟ (Selector Switch) มักมีในกีตาร์ไฟฟ้าที่มีปิคอัฟหลาย ๆ ตัว เช่น 2 หรือ 3 ตัว ใช้ในการเปลี่ยนไปใช้ปิคอัฟตัวต่าง ๆ ซึ่งเสียงก็จะต่างกันไปด้วยเช่นต้องการเล่น rhythm อาจใช้ตัวกลาง หรือตัวบน เมื่อจะ solo ก็เปลี่ยนมาใช้ตัวล่าง ที่ติดกับบริดจ์ เพราะให้เสียงที่แหลมกว่า เป็นต้น

3.6 ปุ่มควบคุ่มเสียง โดยทั่วไปจะมี 2 ชุด คือ ชุดควบคุมความดังเบา (volume control) และชุดควบคุมเสียงทุ้มเสียงแหลม (tone control)




 

Create Date : 02 กันยายน 2551
2 comments
Last Update : 2 กันยายน 2551 13:26:35 น.
Counter : 4656 Pageviews.

 

...

 

โดย: pond @AC125 4 กันยายน 2551 14:58:13 น.  

 

อ่านแล้วได้ความรู้เกี่ยวกับส่วนประกอบของกีตาร์ไฟฟ้า

สำหรับคนรักกีตาร์ไฟฟ้าไม่ควรพลาด

 

โดย: Insignia_Museum 9 เมษายน 2554 10:19:44 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


asiamjin
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add asiamjin's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.