BAKERY หอมกรุ่น กับสาระด้านภูมิแพ้ และภูมิคุ้มกัน สนใจด้านเบเกอร์รี่ 0891859921
Group Blog
 
 
เมษายน 2556
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
4 เมษายน 2556
 
All Blogs
 
การป้องกัน และการรักษาโรคเอดส์ หรือโรคติดเชื้อเอชไอวี

การป้องกันการติดและการแพร่เอชไอวี

1.ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ทั้งกับคู่นอนประจำและชั่วคราวและต้องใช้อย่างถูกต้อง

2.พาคู่เพศสัมพันธ์มารับการปรึกษาและตรวจเลือดหาการติดเชื้อ

3.ไม่ใช้เข็ม และกระบอกฉีดยาร่วมกับผู้อื่น

การเลือกใช้ถุงยางอนามัย

การเลือกใช้ถุงยางอนามัยควรคำนึงถึง

1.ตรวจสอบว่าถุงยางอนามัยยังไม่หมดอายุโดยดูวันที่ผลิต(ไม่เกิน 3 ปี) หรือดูที่วันหมดอายุซึ่งจะพิมพ์อยู่บริเวณซอง

2.ซองต้องไม่ชำรุดหรือฉีกขาด

3.เลือกขนาดที่เหมาะสมกับอวัยวะเพศเพราะถ้าขนาดถุงยางอนามัยเล็กเกินไปอาจฉีกขาดง่าย และทำให้รู้สึกเจ็บขณะหรือหลังที่มีเพศสัมพันธ์ หรือถ้าใหญ่เกินไปก็จะหลุดได้ง่ายขณะมีเพศสัมพันธ์

4.ไม่ควรเก็บถุงยางอนามัยในที่ที่มีอุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิห้อง 25 องศาเซลเซียส หรือที่ร้อนอบอ้าวเพราะจะทำให้ถุงยางอนามัยเสื่อมคุณภาพได้

เอดส์รักษาได้อย่างไร ?

เอดส์เป็นโรคเรื้อรังเช่นเดียวกับโรคเรื้อรังอื่นๆเช่น โรคเบาหวาน โรคความดัน ฯลฯ ที่ยังไม่มียาชนิดใดรักษาให้หายขาดได้ ดังนั้นการรักษาโรคนี้ทำได้โดยการยับยั้งไม่ให้ไวรัสเอชไอวีเพิ่มจำนวนมากขึ้นในร่างกายและที่สำคัญยิ่งขึ้นไปอีกก็คือ การป้องกันไม่ให้เกิดสายพันธุ์ที่ดื้อต่อยาต้านไวรัสที่กำลังใช้อยู่หรือยาต้านไวรัสที่จะพัฒนาขึ้นมาใหม่ในอนาคต อย่างดีที่สุด 

เป้าหมายของการรักษาคือ ลดปริมาณ viral load ให้ต่ำที่สุด และนานที่สุด ในปัจจุบันviral load ที่ต้องการคือ ต่ำกว่า 20 หรือ 40 copies ต่อ ซีซี  ของปริมาณเลือดในร่างกายผู้ป่วยหรือ รายงานผลออกมาเป็น undetection ” รวมถึงให้ระดับ CD4 กลับสู่ระดับปกติมากที่สุดทำให้ผู้ป่วยไม่เสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนต่างๆที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี 

ในปัจจุบันได้มีการพัฒนายาต้านไวรัสที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคนี้หลายชนิด แต่จากงานวิจัยที่ผ่านมาในอดีตพบว่า สูตรยาพื้นฐานที่ใช้ต้องประกอบด้วยยาที่ไวต่อเชื้ออย่างน้อย 2 ชนิดขึ้นไป ดังนั้นในปัจจุบันยาที่ใช้จะประกอบไปด้วยยา 3 ชนิดเสมอ มีในบางกรณีเท่านั้นที่แพทย์ผู้รักษาอาจพิจารณาให้ยาสูตรที่แตกต่างจากสูตรพื้นฐานไปบ้างขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแต่ละรายไป

ก่อนเริ่มให้ยาต้านไวรัส

ควรมีการซักประวัติตรวจร่างกาย และตรวจคัดกรองทางห้องปฏิบัติการอย่างน้อยดังนี้

1.ประวัติโรคติดเชื้อฉวยโอกาสและยาที่กำลังได้รับ หรือเคยได้รับในอดีต

2.ประวัติยาสมุนไพรยาหม้อ ยาลูกกลอน อาหารเสริมต่างๆ หรือยาอื่นที่ผู้ป่วยใช้เป็นประจำ

3.ประวัติโรคประจำตัวหรือโรคที่พบร่วมกัน

4.การตรวจทางห้องปฏิบัติการได้แก่ CBC, ระดับ CD4,viral load, การทำงานของตับ, การทำงานของไต,เชื้อไวรัสตับอักเสบบี-ซี, โรคซิฟิลิส, ผลเอ็กเรย์ปอด  ในผู้ป่วยที่มี CD4 ต่ำกว่า 100 cell/mm3 ควรได้รับการตรวจตาเพื่อสืบหาโรคแทรกซ้อนทางตาที่เรียกว่า“ CMV retinitis ”  ก่อนให้ยาเสมอเพราะอาจมีโรคนี้ซ่อนอยู่แม้ไม่มีอาการต้องได้รับการรักษาก่อนให้ยามิฉะนั้นอาจทำให้เกิดภาวะรุนแรงหลังได้รับยาต้านไวรัสจนทำให้ตาบอดได้ 

5.ผู้ป่วยสตรีควรตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เนื่องจากตรวจพบความผิดปกติของเซลล์ปากมดลูกในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีร้อยละ 20และจะพบโรคมะเร็งปากมดลูกมากขึ้นในผู้ป่วยที่มีCD4 ต่ำๆ

ระยะเวลาที่เหมาะสมในการเริ่มยาต้านไวรัสคือ?

ในอดีตที่ผ่านมากำหนดให้ผู้ป่วยทุกรายที่มีโรคแทรกซ้อนจากเชื้อฉวยโอกาสหรือ มีระดับ CD4น้อยกว่า 200 cell/mm3 ควรจะได้รับยาสูตรพื้นฐาน  แต่ในปัจจุบันได้มีการจัดแนวทางการให้ยากันใหม่ในปี  2553 โดยกำหนดให้ผู้ป่วยควรได้รับยาต้านไวรัสในกรณีเหล่านี้คือ

1.มีโรคแทรกซ้อนฉวยโอกาสที่ได้รับการรักษาจนโรคมีอาการคงที่แล้ว

2.ผู้ป่วยที่พบเชื้อราในปาก ตุ่มคันทั่วตัวโดยไม่ทราบสาเหตุที่เรียกว่า“PPE(Pruritic Papular Eruption)”

3.ไข้ท้องเสียเรื้อรังไม่ทราบสาเหตุนานมากกว่า 14 วัน

4.น้ำหนักลดมากกว่าร้อยละ 10 ใน 3เดือน 

5.ป่วยด้วยโรคงูสวัดชนิดลุกลาม

 6.CD4 ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 350 cell/mm3

การเริ่มยาเร็วเกินไปอาจเสี่ยงต่ออาการข้างเคียงของยาต้านไวรัสบางชนิดเช่น ผื่นแพ้ยาซึ่งพบได้หลังจากได้รับประทานยาต้านไวรัสเอชไอวีบางประเภทในผู้ป่วยที่มี CD4 สูงๆ  อีกทั้งถ้ายังไม่ได้รับการสืบค้นเพื่อหาโรคแทรกซ้อนที่ไม่แสดงอาการก่อนการรับประทานยาต้านไวรัสเอชไอวีเมื่อได้รับยาต้านไวรัสแล้วจะพบอาการของโรคแทรกซ้อนดังกล่าวเด่นชัดหรือรุนแรงมากขึ้นจนทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตหรือเกิดอันตรายต่ออวัยวะที่ติดเชื้อมากขึ้นได้ ภาวะดังกล่าวมีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า “ IRIS “ ซึ่งมักพบหลังรับประทานยาต้านไวรัสช่วง1-3 เดือนแรก

การปฏิบัติตัวในการรักษา

 1.ควรพักผ่อนให้เพียงพอและไม่ควรเครียด

 2.ควรออกกำลังกายชนิดวิ่ง เดิน เดินเร็ว ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ เต้น  แอโรบิค เป็นต้น อย่างสม่ำเสมอ 

3.ภาวะโภชนาการที่ดีในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีจะทำให้ชะลอการดำเนินโรคและลดอัตราการเสียชีวิต งานวิจัยที่ผ่านมาพบว่าผู้ที่มีน้ำหนักตัวน้อยถ้าเทียบกับส่วนสูงของตัวเองตามสูตร นน.(กก.) / ส่วนสูง2(เมตร)  ถ้าพบว่าน้อยกว่า 17มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากกว่าผู้ที่มีค่าดังกล่าวมากกว่า 18.5 ถึง 2 เท่า

4.ไม่รับเชื้อเพิ่มหยุดพฤติกรรมสำส่อนทางเพศถ้ามีเพศสัมพันธ์กับแฟนต้องใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งและไม่แพร่กระจายเชื้อให้กับผู้อื่น

5.ที่สำคัญที่สุดคือการรับประทานยาต้องสม่ำเสมอ ตรงเวลา อย่างเคร่งครัด มาพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง และควรปรึกษาแพทย์ผู้รักษาทุกครั้งก่อนที่จะซื้อยาอื่นใดมารับประทาน


นพ.ภก.สุรสฤษดิ์ ขาวละออ

อายุรแพทย์ทั่วไป

อายุรแพทย์เฉพาะโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันคลินิก

ศูนย์โรคภูมิแพ้ โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท




Create Date : 04 เมษายน 2556
Last Update : 6 เมษายน 2556 20:18:44 น. 0 comments
Counter : 1916 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

คุณนายจอมยุ่ง
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




พบกับคนทำเบเกอร์รี่ และอายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคภูมิแพ้ฯ
รับสอนทำเบเกอร์รี่จากผู้มีประสบการณ์กว่า 10 ปี
สนใจเข้าเยี่ยมชมได้ที่
http://www.facebook.com/pages/Myhomemade/412983252121844?fref=ts
http://www.twitter.com @surasarit
Friends' blogs
[Add คุณนายจอมยุ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.