อย่ารอรุ่งรางสว่างเลย จะชวดเชยดอกไม้รักภิรมย์สม หวานตาหลับตาหวานหว่านอารมณ์ ให้พี่พรมเพลงหวานห่มหวานใจ
 
กันยายน 2551
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
29 กันยายน 2551

ลักษณะนิสัยของคนไทย และการทำงานแบบไทยๆ ในสายตาฝรั่ง

คำตอบของคำถามที่ว่า ทำไม ไทยไม่เป็นประเทศพัฒนาแล้วซะที
การทำงานแบบไทยไทย ชาวต่างชาติเขามองกันอย่างไร

งานวิจัย June 5th, 2008

บ้านเราเดี๋ยวนี้มีคนต่างชาติเข้ามาทำงานหลายพันชีวิต พอฝรั่งกับไทยมาเจอกัน ความอลเวงก็เลยเกิดขึ้น เพราะนอกจากภาษาและความเคยชินจะต่างกันชนิดฟ้ากับเหวแล้ว นิสัยการทำงานก็ยังไม่เหมือนกันอีกด้วย
ฝรั่งจะนินทาคนไทยว่ายังไรบ้าง มาแอบฟังกันดีกว่า…. เคยมีคนสุ่มสัมภาษณ์ฝรั่งมาทั้งหมด 12 คน ซึ่งแต่ละคนโชกโชนกับการทำงานในแวดวงคนไทยไม่ต่ำกว่า 10 ปี

เมื่อถามว่าพวกเค้ามีความเห็นอย่างไรกับการทำงานแบบไทยๆ เราก็ได้คำตอบว่า:
1. ทัศนคติต่อการเปลี่ยนแปลง คนไทยมักจะยึดติดกับความเคยชินแบบเดิมๆ เคยทำมาอย่างไรก็จะทำอยู่ อย่างนั้น ไม่ค่อยมีความคิดที่จะเปลี่ยนแปลง และถ้าฝรั่งเอาวิธีใหม่ๆ เข้ามาทำให้พวกเขาต้องทำอะไรที่ต่าง
ไปจากเดิม ก็จะถูกมองว่าเป็นการสร้างความรำคาญให้พวกเขา มักจะไม่ค่อยได้รับความร่วมืออย่างเต็มที่ หรือไม่ก็ถึงกับถูกต่อต้ านก็มี (เจฟฟรีย์ บาร์น)

2. การโต้แย้ง เมื่อมีการเจรจา คนไทยจะไม่กล้าโต้แย้งทั้ง ๆ ที่ตัวเองกำลังเสียเปรียบ ส่วนใหญ่มักจะปล่อย ให้อีกฝ่ายเป็นคนคุมเกม บางคนบอกว่ามีนิสัยอย่างนี้เรียกว่า “ขี้เกรงใจ” แต่สำหรับฝรั่งแล้ว นิสัยนี้จะทำให้ คนไทยไม่ก้าวหน ้าเท่าที่ควร (ทานากะ โรบิน (จูเนียร์) ฟูจฮาระ) 3. ไม่พูดสิ่งที่ควรพูด เอกลักษณ์อีกอย่าง หนึ่งของคนไทยคือ มักจะไม่ค่อยกล้าบอกความคิดของตัวเองออกมาทั้งๆ ที่คนไทยก็มีความคิดดีไม่ไม่แพ้
ฝรั่งเลย แต่มักจะเก็บความสามารถไว้ ไม่บอกออกมาให้เจ้านายได้รู้ และจะไม่กล้าตั้งคำถาม บางทีฝรั่งก็คิด ว่าคนไทยรู้แล้วเลยไม่บอกเพราะเห็นว่าไม่ถามอะไร ทำให้ทำงานกันไปคนละเป้าหมาย หรือทำงานไม่สำเร็จ
เพราะคนที่รับคำสั่งไม่รู้ว่าถูกสั่งให้ทำอะไร (ไมเคิล วิดฟิล์ค)

4. ความรับผิดชอบ
4.1 ฝรั่งมองว่าคนไทยเรามักทำไม่ค่อยกำหนดระยะเวลาในการทำงานไว้ล่วงหน้า ทั้ง ๆ ที่งานบางชิ้นต้องทำ ให้เสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดยิ่งงานไหนให้เวลาในการทำงานนานก็จะยิ่งทิ้งไว้ทำตอนใกล้ๆ จะถึง
กำหนดส่ง เลยทำงานออกมาแบบรีบๆ ไม่ได้ผลงานดีเท่าที่ ควร
4.2 ไม่ค่อยยอมผูกพันและรับผิดชอบเป็นลายลักษณ์อักษร ถ้าให้เซ็นชื่อรับผิดชอบงานที่ทำคนไทยจะกลัวขึ้น มาทันที เหมือนกับกลัวจะทำไม่ได้ หรือกลัวจะถูกหลอก (สเตฟานี จอห์นสัน)

5. วิธีแก้ไขปัญหา คนไทยไม่ค่อยมีแผนการรองรับเวลาเกิดปัญหา แต่จะรอให้เกิดก่อนแล้วค่อยหาทางแก้ไป แบบเฉพาะหน้า หลายคั้งที่ฝรั่งพบว่าคนไทยไม่รู้จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไรต้องรอให้เจ้านายสั่งลงมาก่อน
แล้วค่อยทำตามถ้านายเจ้านายไม่อยู่ทุกคนก็จะประสาทเสียไปหมด (ดร.มาเรีย โรเซนเบิร์ก)

6. บอกแต่ข่าวดี คนไทยมีความเคยชินในการแจ้งข่าวที่แปลกมาก คือ
6.1 จะไม่กล้าบอกผู้บังคับบัญชาชาวต่างชาติเมื่อเกิดปัญหาขึ้น จนกระทั่งบานปลายไปเกินแก้ไขได้จึงค่อย เข้ามาปรึกษา
6.2 จะเลือกบอกแต่สิ่งที่คิดว่าเจ้านายจะชอบ เช่น บอกแต่ข่าวดีๆ แทนที่จะเล่าไปตามความจริงหรือถ้าหาก เจ้านายถามว่า จะทำงานเสร็จทันเวลาๆหม ก็จะบอกว่าทัน (เพราะรู้ว่านายอยากได้ยินแบบนี้) แต่ก็ไม่เคยทำ ทันตามเวลาที่รับปากเลย
(โจนาธาน ธอมพ์สัน)

7. คำว่า “ไม่เป็นไร” เป็นคำพูดที่ติดปากคนไทยทุกคน ทำให้เวลามีปัญหา ก็จะไม่มี ใครรับผิดชอบ และจะไม่ค่อยหาตัวคนทำผิดด้วยเพราะเกรงใจกัน แต่จะใช้คำว่า “ไม่เป็นไร” มาแก้ปัญญหา แทน (เจนิส อิกนาโรห์)

8. ทักษะในการทำงาน
8.1 ไม่สามารถทำงานร่วมกันเป็นทีมได้ ถ้าทำงานเป็นทีมมักมีปัญหาเรื่องการกินแรงกันบางคนขยันแต่บาง คนไม่ทำอะไรเลย บางทีก็มีการขัดแย้งกันเองในทีม หรือเกี่ยงงานกันจนผลงานไม่คืบหน้า
8.2 ไม่ค่อยมีทักษะในการทำงาน แม้จะผ่านการศึกษาในระดับสูงมาแล้ว และไม่ค่อยใช้ความพยายามอย่าง เต็มทีเพื่อให้ได้ผลงานที่ดีที่สุด
8.3 พนักงานชาวไทยที่รู้จัก ส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้สึกกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้เรื่ องร าวความเคลื่อนไหวของโลก เท่าไรนัก แล้ไม่ค่อยชอบหาความรู้เพิ่มเติมแม้จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับงานก็ตาม (เดวิด กิลเบิร์ก)

9. ความซื่อสัตย์ พนักงานคนไทยควรจะมีความซื่อสัตย์และตรงไปตรงมามากกว่านี้ หลายครั้งที่ชอบโกหกใน เรื่องเล็กๆ น้อยๆ เช่น มาสาย ขาดงานโดยอ้างว่าป่วย ออกไปข้างนอกในเวลางาน (เฮเบิร์ก โอ ลิสส์)

10. ระบบพวกพ้อง คนไทยมักจะนำเพื่อนฝูงมาเกี่ยวข้องกับธุรกิจเสมอ ผมไม่เคยชอบวิธีนี้เลย ตัวอย่างเช่น การจัดซื้อข้าวของภายในสำนักงาน พวกเขามักจะแนะนำเพื่อนๆ มาก่อนโดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ที่
บริษัทควรจะได้รับ นี่เป็นประสบการณ์จริงที่ประสบมา การให้ความช่วยเหลือเพื่อนไม่ใช่เรื่องแปลก แต่การที่ ไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของบริษัทเลยเป็นอะไรที่แย่มาก และเมื่อพบว่าเพื่อนพนักงานด้วยกันทุจริต คนไทย
ก็จะช่วยกันปกป้อง และทำให้ไม่รู้ไม่เห็นจนกว่าผู้บริหารจะตรวจสอบได้เอง (มาร์ค โอเนล ฮิวจ์)

11. แยกไม่ออกระหว่างเรื่องงาน และเรื่องส่วนตัว คนไทยมักจะไม่รู้ว่าอะไรว่าอะไรคือเรื่องงาน และอะไรที่ เรียกว่าเรื่องส่วนตัว พวกเขาชอบเอาทั้งสองอย่างนี้มาปนกันจนทำให้ระบบการทำงานเสียไปหมด ซึ่งเป็น
ปัญหาใหญ่อย่างหนึ่งขององค์กร

11.1 ชอบสอดรู้สอดเห็น โดยเฉพาะเรื่องส่วนตัวของเพื่อนร่วมงาน
11.2 มักจะคุยกันเรื่องส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวกับงานมากเกินไป บางครั้งทำให้บานปลายและนำไปสู่ข่าวลือ และ การนินทากันภายในสำนักงาน
11.3 มักจะลาออกจากบริษัทโดยไม่ยอมแจ้งล่วงหน้าตามข้อตกลง แต่กลับคาดหวังว่าจะได้รับผลประโยชน์ เต็มที
11.4 ไม่ยอมรับความผิดชอบที่มีมากขึ้นในช่วงวิกฤติ
11.5 ต้องการเงินมากขึ้นแต่กลับไม ่ค่อยสร้างคุณค่างานอะไรเพิ่มขึ้นเลย (วิลเลี่ยม แมคคินสัน)

12. นับถือระบบอาวุโส คนไทยให้เกียรติคนที่อายุมากกว่ามากเกินไป จนไม่กล้าทำอะไรที่เรียกว่าเป็นการ ข้ามหน้าข้ามตา บางครั้งคนที่อายุน้อยกว่าอาจจะมีความคิดความสามารถมากกว่า แต่ก็ไม่กล้าแสดงออก
เพราะเกรงใจคนที่อายุมาก เป็นการทำลายโอกาสของตัวเองและโอกาสของบริษัท (เนลสัน ฟอร์ด)

//www.nstlearning.com/~somporn




 

Create Date : 29 กันยายน 2551
0 comments
Last Update : 8 ธันวาคม 2552 9:17:50 น.
Counter : 1237 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


otto
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Historia De Un Amor - Shoji Yokoughi
[Add otto's blog to your web]