Group Blog
 
 
กุมภาพันธ์ 2554
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728 
 
25 กุมภาพันธ์ 2554
 
All Blogs
 

บันทึกครบไตรมาสที่ 3 (เดือนที่ 7-8-9)

พัฒนาการของแม่

อาหารการกินก็เหมือนเดิม กินปกติ ไม่ได้อยากกินอะไรเป็นพิเศษ แถมมีอาเจียนเป็นบางวันอีก แต่ร่างกายเราก็แข็งแรงดีนะ ขนาดเอกเป็นหวัดนอนอยู่ข้างๆเรา เรายังไม่ติดหวัดเลย รูปร่างเราตอนนี้ บอกได้เลยว่าเหมือนเดิม หมายถึงว่า ทุกส่วนของร่างกายเหมือนเดิม ยกเว้น ท้องที่ใหญ่ขึ้น น้ำหนักตอนนี้ก็ประมาณ 45 กิโล ตั้งแต่ตั้งครรภ์มาจนถึงตอนนี้น้ำหนักขึ้นแค่ 7 กิโล เอง

พัฒนาการของลูก

ลูกยังดิ้นปกติ เหมือนเดิม ถีบแม่บ่อยๆ เวลาพ่อคุยด้วยก็จะดิ้น เหมือนรับรู้ ดิ้นแต่ละครั้ง เรารู้สึกเจ็บแปลบๆบ้างเป็นบางครั้ง

เกร็ดความรู้ (ข้อมูลจากนิตยสาร MOTHER&BABY)


เดือนที่ 7

ทารกในครรภ์เติบโตขึ้นมาก จนไปกดอวัยวะต่างๆในช่องท้องแม่ เปลือกตาเริ่มเปิด และนัยน์ตาพัฒนาไปมากจนมองเห็นแสงที่ผ่านมาทางหน้าทองแม่ได้ เสียงดังๆทำให้ทารกเคลื่อนไหว และการเต้นของหัวใจเปลี่ยนไปตามเสียงและแสงไฟ ต่อมรับรสของทารกพัฒนาไปมาก ถึงขนาดสามารถแยกรสหวานกับรสเปรี้ยวได้ แต่ดูเหมือนทารกจะติดใจในรสหวานมากกว่า ถ้าทารกคลอดออกมาตอนนี้จะมีโอกาศรอดค่อนข้างสูง เพราะอวัยวะสำคัญทั้งหลาย(ยกเว้นปอดที่ยังทำงานได้ไม่เต็มที่นัก) ทำงานเป็นระบบมากขึ้นสมองเติบโตมากขึ้น ร่างกายเจริญเติบโตได้สัดส่วนมากขึ้น

เดือนที่ 8

ทารกตัวโตมากขึ้นจนแน่นท้องคุณแม่ โดยเฉลี่ยน้ำหนักเพิ่มขึ้นเป็น 2-3 กก. มีไขมันมากขึ้นจนดูเหมือนทารกแรกเกิด การทำงานของอวัยยวะต่างๆ ประสานงานกันได้ดีขึ้น อาจอยู่ในท่ากลับหัวพร้อมที่จะคลอด แต่ขยับตัวน้อยลง เพราะพื้นที่ในท้องแม่ดูจะน้อยเกินไปเสียแล้ว น้ำดีและน้ำคร่ำที่ทารกกลืนเข้าไปจะสะสมอยู่ในลำไส้ของทารกไปจนถึงคลอด ซึ่งทารกจะถ่ายของเสียนี้ออกมาเป็นอุจจาระสีเขียวแก่ เรียกว่าขี้เทา ช่วงหนึ่งเดือนก่อนคลอดคุณแม่อาจมีอาการมดลูกบีบรัดตัวซึ่งเป้นอาการที่เรียกว่า เจ็บท้องหลอก การหดตัวรัดตัวนี้ก็เพื่อดันตัวทารก มาประชิดปากมดลุกเพื่อเตรียมพร้อมที่จะคลอดออกมานั่นเอง

เดือนที่ 9

ในเดือนนี้ทารกมีน้ำหนักเฉลี่ยมากกว่า 3 กก. ขึ้นไปมีชั้นไขมันหนาทำให้ดูอ้วนกลมและเก็บไว้เป็นพลังสำรองหลังคลอด ปอดทำงานได้ดี อยู่ในท่ากลับหัวเชิงกราน หัวจะกดปากมดลูกทำให้เปิดออก ช่วยให้คลอดง่ายขึ้น จากนั้นหัวจะหมุนผ่านอุ้งเชิงกานแม่ออกมา ดังนั้นคุณแม่อาจคลอดตอนไหนก็ได้ในช่วงนี้ ทารกส่วนใหญ่จะคลอดตามกำหนดหรือช้าไป 2 สัปดาห์หลังกำหนด ถ้าช้ากว่านี้แพทย์อาจต้องเร่งคลอดเพราะออกซิเจนและสารอาหารจากรกที่ทารกเคยได้รับ เริ่มเพียงพอเสียแล้วเมื่อเทียบกับความต้องการของทารก

*** ลูกจะยังไม่มีฟันงอกออกมาจนกว่าจะอายุ 4 เดือน แต่มีฟันก่อตัวอยู่ในขากรรไกรเรียบร้อยแล้ว รอแค่เวลาโผล่ขึ้นมาเท่านั้นเอง




 

Create Date : 25 กุมภาพันธ์ 2554
0 comments
Last Update : 9 มีนาคม 2554 22:57:53 น.
Counter : 379 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


at-first
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




น้ อ ง เ ฟิ ร์ ส ยิ น ดี ต้ อ น รั บ ทุ ก ค น ค รั บ
Friends' blogs
[Add at-first's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.