มหาสมุทรสีเทาขาว ล้ำลึกเหลือคณา

โอ้ละหนอ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Group Blog
 
<<
มกราคม 2553
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
16 มกราคม 2553
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add โอ้ละหนอ's blog to your web]
Links
 

 
{ว่าด้วยเรื่องรัก} Love actually is....

สวัสดีปีใหม่ค่ะ..


กระทู้นี้จะนำเสนอเรื่องของสมองยามเมื่อเรามีความรักเชิงชู้สาว
บทความเกี่ยวกับเรื่องนี้ เคยมีผู้นำเสนอแล้ว เช่น..

Neuroscience of LOVE: ผมจะรักคุณจากก้นบึ้งของสมอง
ของคุณ ตัวตุ่นตามัว
//topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2009/03/X7605913/X7605913.html

และ ***+++ ความรัก+++*** (อีกแล้ว) ของ คุณ @power
//topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2009/04/X7699704/X7699704.html

บทความเดิมอธิบายถึงขั้นต่างๆของความรัก และสารในสมองทีมีมากขึ้นขณะที่มีความรัก โดยอธิบายได้เข้าใจง่ายดีอยู่แล้วค่ะ ดังนั้นขอความกรุณาไปอ่านบทความเดิมก่อนเลยค่ะ ..


บทความนี้มีเนื้อหาบางส่วนซ้ำกับบทความทั้งสอง และมีข้อมูลเพิ่มเติมบางส่วนค่ะ

--
---

.. เมื่อรู้ว่าซ้ำแล้ว ทำไมยังจะเขียนอีก ?

ตอบ : ก็ดิฉันอยากค้น และอยากเขียนค่ะ .. บทความชิ้นนี้ทำไปเพื่อนองความอยากรู้อยากเห็นของดิฉันเองค่ะ



รักนั้นคืออะไร?

เราไม่สามารถให้คำจำกัดความที่แน่นอนของความรักได้ค่ะ

แต่ เราสามารถแบ่งขั้นของความรู้สึกรักได้เป็นช่วงต่างๆ
อีกทั้งเมื่อมีความรัก สมองของเราจะเกิดการหลั่งสารเคมีต่างๆมากมาย แต่ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด แสดงตามรูปประกอบค่ะ
ซึ่งเนื้อหาจากบทความเก่าทั้งสองได้อธิบายไว้แล้วค่ะ



ทำไมเรารู้สึกเป็นสุข และอิ่มเอิบเมื่อมีความรัก ?

บริเวณของสมองที่คาดว่าจะเกี่ยวข้องกับความรัก คือ
Cortex, Medial Insula, Anterior Cingulate, และ Hippocampus
รวมทั้ง Subcortex, Striatum, ventral pallidum และ Nucleus Accumbens

เมื่อมีความรัก หรือเห็นหน้าคนรัก สมองส่วนที่ทำให้เรารู้สึกเป็นสุข เหมือนได้รางวัล เรียกว่า Reward system จะทำงานมากกว่าคนที่ไม่มีความรัก

ซึ่งอธิบายว่าในช่วง ที่เรามีความรัก เราจึงเป็นสุข (exhilaration and euphoria)



จากการแสกนสมองของคู่รัก

เมื่อดูรูปคนรัก พบว่าสมองบางส่วนจะทำงานมากขึ้น (แสดงเป็นบริเวณสีเหลือง และสีแดง) ได้แก่
ac, anterior cingulate; cer, cerebellum; I, insula; hi, posterior hippocampus ; C, caudate nucleus; P, putamen




เมารัก เสพย์ติดความรัก ?
ทำไมคนบางคนถึงโหยหาการมีแฟน ?


ขณะมีความรัก สารสื่อประสาท (สารเคมีที่เซลสมองใช้สื่อสารซึ่งกันและกัน) โดปามีน (Dopamine) จะหลั่งออกมามาก เมื่อไปกระตุ้นสมองส่วน Reward system ทำให้เรารู้สึกเป็นสุข

เหมือนกับที่เรารู้สึกเป็นสุขยามเสพย์ยาเสพติด ขณะ หรือ หลังมีเพศสัมพันธ์ หรือแม้กระทั่งความรู้สึกเป็นสุขหลังออกกำลังกาย เราจึงเกิดอาการเสพย์ติดความรักได้

อดข้าวดอกนะเจ้าชีวาวาย แต่ไม่ตายเพราะอดเสน่หา..

ในช่วงแรกรัก


มีการลดลงของสารซีโรโทนิน (Serotonin; 5-HT or 5-hydroxytryptamine) ซึ่งซีโรโทนินทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับความอยากอาหาร และอารมณ์ ด้วยเหตุนี้เราจึงสังเกตได้ว่าในช่วงแรกของการตกหลุมรัก คู่รักมักจะเบื่ออาหาร และอาจจะมีอารมณ์ซึมเศร้า

ช่วงแรกตกหลุมรัก Nerve growth factor พบปริมาณสูงกว่าในช่วงตกหลุมรักใหม่เทียบกับคู่ที่อยู่มานาน หรือคนที่ไม่มีความรัก นกจากนี้ปริมาณของสารนี้ยังสัมพันธ์กับอารมณ์โรแมนติกด้วย (intensity of romantic feelings)

สารที่มีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับความรักที่หลั่งในสมองอีกสองประเภท
ได้แก่ ออกซิโตซิน (Oxytocin) และ วาโซเปรสซิน (Vasopressin; AVP)

Oxytocin และ Vasopressin สร้างจากสมองส่วนไฮโปทาลามัส สารทั้งสองเป็นสารสื่อประสาทที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับความรัก ความผูกพันธ์ และความเชื่อมั่นซึ่งกันและกัน

สารนี้จะหลั่ง เมื่อ..
- ขณะมีเพศสัมพันธ์ และหลั่งมากเมื่อถึงจุดสุดยอดทั้งในเพศหญิงและชาย
- ขณะคลอด และให้นมลูก และมีส่วนที่ทำให้เกิดความผูกพันธ์ระหว่างแม่-ลูกด้วย

นอกจากนี้ Vasopressin ยังเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมก้าวร้าว การใช้กลิ่นแสดงอาณาเขต (Scent marking) หวงถิ่นของเพศผู้ด้วย



ทำไมความรักทำให้คนตาบอด ?
(Cortical deactivations and the madness of love)


ขณะมีความรักสมองบางส่วนของเราจะลดการทำงานลง

1. เมื่อมีความรัก สมองส่วน Amygdala จะลดการทำงานลงจากการยับยั้งของ Oxytocin และ Vasopressin

ปรกติสมองส่วน Amygdala ทำหน้าที่เกี่ยวกับความกลัว ดังนั้นคนที่มีความรักจึงกล้าบ้าบิ่น กลัวน้อยลง

2. เมื่อมองหน้าผู้เป็นที่รัก Parietal cortex และ Temporal lobe บางส่วน ก็ลดการทำงานลงขณะมีความรัก และขณะมีลูก (maternal states)

สมองส่วนนี้ทำงานเกี่ยวกับอารมณ์ด้านลบ (negative emotions) ดังนั้นเมื่อเจอหน้าคนที่เรารัก อารมณ์เราจึงดีขึ้น

3. นอกจากนี้ ความรัก รู้สึกทางเพศและการถึงจุดสุดยอด จะลดการทำงานของสมองส่วนศีธรรม และความยับยั้งชั่งใจ เช่น Prefrontal cortex, Parieto-temporal junction และบางส่วนของ Temporal area ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการมีเหตุผล การตัดสินใจ และการควบคุมตนเอง

ดังนั้นคนที่มีความรัก (และความใคร่) จึงอารมณ์อ่อนไหว ควบคุมอารมณ์ตนเองไม่ค่อยได้ และไม่ค่อยจะมีเหตุผล



คนมีคู่ มักจะอายุยืนกว่าคนโสด

แม้ว่ารักจะทำให้เราตาบอด แต่รักนั้นดีต่อสุขภาพค่ะ
เพราะ ในขณะที่มีความรัก ร่างกายของเราจะหลั่งสารหลายชนิดที่ทำให้อารมณ์เราเปี่ยมสุข และมีผลดีต่อสุขภาพค่ะ ตรงข้ามกับความเครียด (Stress) ที่เป็นภัยต่อสุขภาพ



ความสัมพันธ์อันยาวนานเกิดจากอะไร

ขอให้รักเรานั้นเป็นเช่น Prairie Vole ..



เมื่อช่วงข้าวใหม่ปลามันผ่านพ้นไป (ประมาณ 2-3 ปีของความสัมพันธ์) สารสื่อประสาทที่หลั่งออกมาแล้วทำให้เรารู้สึกเป็นสุข และตื่นเต้น ทีหลั่งออกมามากในช่วงแรกรัก เช่น adrenaline, dopamine, norepinephrine, phenylethylamine ฯลฯ จะลดลง

เมื่อความตื่นเต้นลดลง สมองของเราจะเริ่มมีเหตุผลมากขึ้น จะเห็นว่าช่วงนี้พฤติกรรมของคู่รักจะเปลี่ยนไป (เพราะต่างตาสว่างกันมากขึ้น )

ความสัมพันธ์ขั้นต่อมาจึงมีสารสื่อประสาทอีกหลายตัวเข้ามาเกี่ยวข้อง ที่สำคัญคือ Oxytocin และ Vasopressin

เรื่องของการรักเดียวใจเดียว มีคู่เพียงคนเดียวนั้น มีการศึกษาใน Prairie Vole (Microtus ochrogaster) (รูปประกอบ) ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีคู่เพียงตัวเดียว (Monogamy) เทียบกับญาติของมันคือ Montane Vole (Microtus montanus)ที่เป็นสัตว์จับคู่แบบ Polygamy



พบว่า Prairie Vole เมื่อจับคู่จะมีการหลั่งของ Oxytocin และ Vasopressin ในสมองมากขึ้น คล้ายกับที่พบในมนุษย์ที่มีความรัก

โดย Oxytocin มีผลต่อพฤติกรรมของ Vole ตัวเมียมากกว่าตัวผู้ และ Vasopressin มีผลต่อตัวผู้มากกว่าตัวเมีย

ซึ่งเมื่อฉีดสารที่ไปบล๊อคการทำงานของ Oxytocin และ Vasopressin ในสมองของ Prairrie Vole แล้วพบว่า Prairrie Vole เปลี่ยนจาก monogamy เป็น polygamy



Prairrie Vole ต่างจาก Montane Vole ตรงที่
สมองของ Prairie Vole จะมีตัวรับของ Oxytocin และ Vasopressin (V1aR) ในสมองส่วน Reward system ขณะที่ Montane Vole ไม่มี


จากภาพประกอบ

(a,b)
สมองของ prairie voles
สีดำแสดงบริเวณของสมองส่วน nucleus accumbens (NAcc) และ caudate putamen (CP) ที่มีตัวรับ oxytocin หนาแน่นกว่าสมอง montane voles
(b)
Vole ทั้งสองพันธุ์มีตัวรับ oxytocin ในสมอง prefrontal cortex (PFC)
(c)
prairie voles ตัวผู้ มีตัวรับของ vasopressin (V1aR) ใน ventral pallidum (VP) มากกว่า montane voles (d)
(e)
เมื่อให้ Oxytocin receptor antagonist (OTA) เข้าไปที่ สมองส่วน nucleus accumbens หรือ prefrontal cortex โดยตรง แต่ไม่ฉีดเข้า caudate putamen พบว่าหนูตัวผู้ไม่เข้าหาหนูตัวเมียที่เป็นคู่ของมัน
(f)
เมื่อให้ V1aR antagonist (V1aRA) (บล๊อคการทำงานของวาโซเพรสซิน) ฉีดเข้า ventral pallidum ก็พบว่าหนูตัวผู้ไม่เข้าหาหนูตัวเมียเช่นกัน



ความรู้ที่ได้จาก Vole ทำให้เกิดแผนผังการทำงานของสมองที่เกี่ยวกับการจับคู่ของ Vole ขึ้น



ในมนุษย์ ก็พบว่าคนที่รักเดียวใจเดียว (monogamous humans) มีความเข้มข้นของ oxytocin และ vasopressin และปริมาณตัวรับของสารทั้งสองในสมองส่วน Reward system สูงกว่าคนที่มีคู่มากกว่าหนึ่งคน หรือกำลังมีปัญหาชีวิตคู่

อีกทั้งจากการศึกษา gene polymorphism ของ vasopressin receptor gene (Avpr1a) ที่สร้างตัวรับของวาโซเพรสซิน (arginine vasopressin receptor)

พบว่ามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการรักเดียวใจเดียวของทั้ง vole และมนุษย์ด้วย ผู้ชายที่มีการเปลี่ยนแปลงของยีนนี้จะมีความเสี่ยงต่อการอยู่เป็นโสด หรือมีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาชีวิตคู่


ภาพประกอบ Avpr1a gene ของ prairie และ montane vole ค่ะ

(c)
The structure of the Avpr1a gene of prairie and montane voles. The gene is highly homologous except for an expanded microsatellite sequence in the 5' flanking region of the prairie vole gene.
Yellow boxes indicate coding regions with the black bars representing the seven transmembrane domains. Gray indicates untranslated regions. The green and red boxes indicate the relative length and position of the microsatellite sequences in the montane and prairie vole genes, respectively.
(d)
The effect of the microsatellite sequence on expression as determined by a transcription reporter assay. The prairie vole promoter was spliced upstream of firefly luciferase. Exchanging only the prairie vole microsatellite sequence (prairie MS) with the montane vole sequence (montane MS) resulted in a significant alteration in luciferase expression in a rat A7r5 cell line





ที่มา

[ข้อมูล และภาพประกอบ] Zeki S. The neurobiology of love. FEBS Lett. 2007 Jun 12;581(14):2575-9
Debiec J. From affiliative behaviors to romantic feelings: a role of nanopeptides. FEBS Lett. 2007 Jun 12;581(14):2580-6. Epub 2007 May 8
Walum H, et al . Genetic variation in the vasopressin receptor 1a gene (AVPR1A) associates with pair-bonding behavior in humans. Proc Natl Acad Sci U S A. 2008 Sep 16;105(37):14153-6. Epub 2008 Sep 2
Lim MM, Hammock EA, Young LJ. The role of vasopressin in genetic and neural of regulation of monogamy. J Neuroendocrinol. 2004 Apr;16(4):325-32.
[ข้อมูล และภาพประกอบ] Young LJ, Wang Z. The neurobiology of pair bonding. Nat Neurosci. 2004 Oct;7(10):1048-54.
Young LJ. Being human: love: neuroscience reveals all. Nature. 2009 Jan 8;457(7226):148
Aron A, et al. Reward, motivation, and emotion systems associated with early-stage intense romantic love. J Neurophysiol. 2005 Jul;94(1):327-37. Epub 2005 May 31
[ภาพประกอบ] //www.brookscole.com/chemistry_d/templates/student_resources/0030244269_campbell/HotTopics/Love.html
//people.howstuffworks.com/love.htm
Emory University Health Sciences Center //www.sensualism.com/love/addiction.html
[ข้อมูล และภาพประกอบ] Esch T, Stefano GB. Love promotes health. Neuro Endocrinol Lett. 2005 Jun;26(3):264-7
Daniel S. Levine. Neural networks of human nature and nurture //www.scielo.org.co/scielo.php?script=sci_arttext&pid=S1794-47242008000100008&lng=es&nrm=iso&tlng=es

--------------------------------------------------------------------------


อาจารย์ของดิฉันเคยอบรมว่า...

".. จำไว้นะเธอ พอมีความรัก ต่อมโง่ของพวกเธอจะเบ่งบาน ..."

จำได้ว่าตอนนั้นทั้งคลาสหัวเราะ และนึกว่าอาจารย์ล้อเล่น
แต่เมื่อเวลาผ่านไปด้วยประสบการณ์ และอะไรหลายๆอย่าง ทำให้รู้ว่าประโยคนี้ของอาจารย์เป็นอมตะยิ่งนัก


อันที่จริงแล้ว ...

อารมณ์ที่เราลุ่มหลง และตีค่ามันไว้สูง ก็เป็นแค่การเปลี่ยนแปลงของกระแสไฟฟ้า และสารเคมีในสมองแค่นั้นเอง..



ขอบคุณที่เข้ามาชมค่ะ

กระทู้เรื่องถัดไป ในหัวข้อ {ว่าด้วยเรื่องรัก} จะกล่าวถึงเรื่องของความรักของพ่อ แม่ และพฤติกรรมการทำร้ายเด็กค่ะ


ปัจฉิมลิขิต..
จากกระทู้เดิมของคุณตัวตุ่นฯ ดิฉันชอบคคห.นี้ค่ะ.. ช่างสร้างสรรค์
และ ถ้าใช้ไปเกี้ยวสาว ดิฉันว่าถ้าเธอผู้นั้นเข้าใจ เธอคงเห็นใจในความพยายามแต่ง และทึ่งกับความช่างคิดของพ่อหนุ่มนั่นค่ะ...





//www.pantip.com/cafe/wahkor/topic/X8723968/X8723968.html
เมื่อ : 3 ม.ค. 53 17:10:04




Create Date : 16 มกราคม 2553
Last Update : 16 มกราคม 2553 15:13:08 น. 2 comments
Counter : 3753 Pageviews.

 
ติดตามอ่านอย่างไม่หยุดยั้ง


โดย: อักษรย่อ ก. วันที่: 17 มกราคม 2553 เวลา:4:04:10 น.  

 
ขอยืมข้อมูลไปแต่งกลอนหน่อยค่ะ เอิ๊กๆ
ชอบๆคุณโอ้ละหนอมากๆนะคะ


โดย: กิ๊ฟไม่ใช่ตุ๊กตา วันที่: 2 มิถุนายน 2553 เวลา:23:14:38 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.