Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2548
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
14 พฤศจิกายน 2548
 
All Blogs
 

แนะนำอัลบั้มมาสเตอร์พีซที่(เกือบ)ถูกลืม : เมื่อโปรแกรสสีฟผสานกับฟิวชั่น John McLaughlin & Mahavishnu



The Inner Mounting Flame

Track listing
1. Meeting of the Spirits (6:52)
2. Dawn (5:10)
3. Noonward Race (6:28)
4. A Lotus on Irish Streams (5:39)
5. Vital Transformation (6:16)
6. The Dance of Maya (7:17)
7. You Know, You Know (5:07)
8. Awakening (3:32)

Total Time: 46:34

Line-up
- John McLaughlin / guitar
- Jerry Goodman / violin
- Jan Hammer / piano
- Rick Laird / bass
- Billy Cobham / drums

Releases information
LP Columbia 31067



Birds of Fire

Track listing
1. Birds of Fire (5:41)
2. Miles Beyond (Miles Davis) (4:39)
3. Celestial Terrestrial Commuters (2:53)
4. Sapphire Bullets of Pure Love (0:22)
5. Thousand Island Park (3:19)
6. Hope (1:55)
7. One Word (9:54)
8. Sanctuary (5:01)
9. Open Country Joy (3:52)
10. Resolution (2:08)

Total Time: 39:48

Line-up
- John McLaughlin / guitar
- Jerry Goodman / violin
- Jan Hammer / piano
- Rick Laird / bass
- Billy Cobham / drums

Releases information
1973 LP Columbia 31996 / 2000 CD Columbia/Legacy 66081

วันนี้ขอเขียนถึงวงดนตรีโปรดที่มีแนวทางน่าสนใจมากๆ วงหนึ่งครับ กว่าจะเริ่มเขียนได้นี่ผมเองก็ขี้เกียจเหลือเกิน ช่วงปิดเทอมก็เหลืออีกไม่กี่วันแล้ว ก็เลยตัดสินใจเริ่มลงมือเขียนซะที

ก่อนอื่นข้อโม้เรื่องฟิวชั่นซักนิดหน่อยก่อนครับ(อยากโม้มานานแล้ว) อย่างที่พี่ Younger Pat กล่าวเอาไว้ในกระทู้ก่อนๆ ว่า คำว่า Fusion คือดนตรีที่เกิดจากการ Fuse (หลอมรวม) ระหว่างดนตรีสองแนว คือแจ๊สกับร็อค โดยอาศัยจังหวะอันหนักหน่วงแบบร็อค และวิธีการบรรเลงหรืออิมโพรไวส์แบบดนตรีแจ๊ส ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคืออัลบั้มในช่วงปลายยุค 60's ของไมล์ เดวิส อย่าง In a Silent Way, Bitches Brew หรือ A Tribute to Jack Johnson ถือเป็นรูปแบบของฟิวชั่นที่บริสุทธิ์มากๆ ในช่วงนั้น ต่อมาเมื่อก้าวเข้าสู่ยุค 70's ฟิวชั่นก็เริ่มเข้าสู่วิวัฒนาการ โดยวงดนตรีชั้นนำอย่าง Mahavishnu Orchestra, Weather Report, Return to Forever หรือ Herbie Hancock ซึ่งวงดนตรีเหล่านี้มีแกนนำเป็นพวกลูกๆ หลานๆ ของไมล์ เดวิสแทบทั้งนั้น ทำให้ฟิวชั่นซึ่งเป็นแนวดนตรีที่เป็นส่วนผสมระหว่างร็อคกับแจ๊ส เริ่มพัฒนาออกไปกว้างมากขึ้น มาถึงปลายยุค 70's ก็ยังมีวงดนตรีอย่าง Dixie Dregs หรือ U.K. ที่ยังถือได้ว่ามีคลาบไคลและอิทธิพลของฟิวชั่นแท้ๆ อยู่ แต่เมื่อถึงยุค 80's อิทธิพลของกีตาร์ฮีโร่ในช่วงนั้นก็เข้ามามากขึ้น Steve Vai, Joe Satriani, Eric Johnson และกีตาร์ฮีโร่คนอื่นๆ ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด กีตาร์ฮีโร่เหล่านี้นำอิทธิพลของฟิวชั่นไปผสมผสานกับฮาร์ดร็อค เฮฟวี่เมทัล คลาสสิค ฯลฯ ก่อให้เกิดแนวทางดนตรีอีกอย่างหนึ่งที่เรียกว่า Crossover ส่วนทางมือกีตาร์อย่าง Larry Carlton หรือ Lee Ritenour ก็นำป๊อบ บลูส์ และอิทธิพลของ R&B เข้าไปผสมกับฟิวชั่นอีกทีหนึ่ง กลายเป็นดนตรีที่เข้าถึงกลุ่มคนฟังได้กว้างขึ้นไปอีก เราเรียกกันว่า Smooth Jazz หรือ Pop-Jazz

โปรแกรสสีฟก็เช่นกัน แนวดนตรีนี้ก่อกำเนิดขึ้นในช่วงปลายยุค 60's โปรแกรสสีฟถูกพัฒนามาจาก Experimental Music ผสมผสานกับดนตรีอื่นๆ เข้าไปอีก อัลบั้มโปรแกรสสีฟที่เป็นอัลบั้มแรกของโลก ก็มีหลายคนตีความต่างกันไป แต่ที่ค่อนข้างน่าเชื่อถือได้ เห็นจะเป็นอัลบั้ม In the Court of the Crimson King ของ King Crimson และเมื่อถึงยุค 70's ก็เป็นยุครุ่งเรืองของโปรสสีฟ และโปรแกรสสีฟก็ถูกนำไปวิวัฒนาการเช่นเดียวกันกับฟิวชั่น จนมาถึงยุค 80's โปรแกรสสีฟเมทัลจึงถือกำเนิดขึ้น

ที่กล่าวนำมาเยอะแยะก็ไม่ใช่อะไรหรอกครับ อยากจะชี้ให้เห็นว่าแนวดนตรีสองแนวนี้มีอะไรหลายๆ อย่างที่คล้ายคลึงกันมากเหลือเกินครับ การผสมผสานของดนตรีสองแนวนี้ก็จึงเป็นส่วนผสมที่ค่อนข้างลงตัวมากๆ และน่าสนใจจริงๆ ครับ

มือกีตาร์แจ๊สชาวอังกฤษ John McLaughlin ถูกเชื้อเชิญให้ไปร่วมงานกับ Miles Davis ในอัลบั้ม In a Silent Way เป็นอัลบั้มแรก ตามติดด้วย Bitches Brew และอื่นๆ อีก ในช่วงนั้นแมคลาฟลินยังไปร่วมวงกับมือกลอง Tony Wiliams's Lifetime ในอัลบั้ม Emergency และออกอัลบั้มเดี่ยวของตนเอง 3 ชุด คือ Extrapolation, My Goal's Beyond และ Devotion ซึ่งมีส่วนผสมของทั้ง Fusion และ Post-Bop ต่อมาในช่วงปี 1971 McLaughlin ได้ร่วมกับนักดนตรีแจ๊สหลายคน Billy Cobham (กลอง), Jerry Goodman (ไวโอลิน), Jan Hammer (คีย์บอร์ด), Rick Laird (เบส) ฟอร์มวง Mahavishnu Orchestra ผลิตงานฟิวชั่นแจ๊สร็อคที่มีอิทธิพลของดนตรีโปรแกรสสีพแฝงอยู่ค่อนข้างมากออกมาหลายอัลบั้ม และยังมีกลิ่นอายของดนตรีอินเดียและดนตรีคลาสสิคคัลอยู่ด้วย โดยเฉพาะสองอัลบั้มแรก The Inner Mounting Flame (1971) และ Birds of Fire (1972) ถือเป็นสุดยอดอัลบั้มฟิวชั่นของวงการเลยทีเดียว

เพลงทั้งหมดประพันธ์โดย McLaughlin เอง ในอัลบั้มแรก The Inner Mounting Flame นั้นจะเน้นการอิมโพรไวส์อันร้อนแรงของนักดนตรีเป็นหลัก ส่วนอัลบั้มที่สอง Birds of Fire ค่อนข้างจะมีโครงสร้างที่ซับซ้อนและโอนเอียงไปทางโปรแกรสสีฟมากขึ้น ฟอร์มของนักดนตรีแต่ละคนของสุดยอดทั้งสิ้น ถือเป็นไลน์อัพสุดยอด Music Ensembles (ดนตรีผสาน) วงหนึ่งของวงการเลยทีเดียว โดยเฉพาะกลองของ Billy Cobham เป็นมือกลองอีกคนหนึ่งที่ผมชอบมากทีเดียวครับ

สิ่งที่เป็นจุดแข็งของวงดนตรีวงนี้คือความอิสระของเครื่องดนตรีแต่ละชิ้น การอิมโพรไวส์อันไร้ขอบเขตของ McLaughlin ที่เปรียบเสมือนราวกับจิตรกรกำลังสะบัดพู่กันอย่างร้อนแรงขณะวาดภาพ (เว่อร์ไปป่าวเนี่ย) มันมีอิสระและสวยงามอันเป็นเอกลักษณ์แบบของดนตรีแจ๊สอย่างแท้จริง กลองของ Cobham ก็คุมจังหวะได้อย่างหนักหน่วงและมีความละเมียดละไมอยู่ในตัว ไวโอลินและคีย์บอร์ดก็มีโอกาสอิมโพรไวส์กันได้อย่างเต็มอิ่ม และคอยคุมเมโลดี้ สร้างเมโลดี้ซ้อนทับกันหลายๆ ชั้น ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของดนตรีแจ๊ส

เพลงเด่นๆ ในสองชุดแรก ก็เห็นจะมีอย่าง Meeting of the Spirits ที่กลองเร่งจังหวะพร้อมไปกับเครื่องดนตรีชิ้นอื่นๆ ได้อย่างเร้าใจสุดๆ ส่วนไตเติ้ลแทร็กของ Birds of Fire ก็ยอดเยี่ยมไม่แพ้กัน อัลบั้ม Birds of Fire ประสบความสำเร็จไต่ขึ้นไปถึงอันดับที่ 15 ของ Pop Albums Chart ได้สำเร็จ

หลังจาก 2 อัลบั้มนี้ Mahavishnu Orchestra ก็ออกอัลบั้มแสดงสดมาหนึ่งชุดคือ Between Nothingness and Eternity (1973) หลังจากนั้นในปี 1974 McLaughlin ก็จัดการเปลี่ยนไลน์อัพใหม่ทั้งหมด (ยกเว้นตัวเอง) ออกอัลบั้มมาอีก 3 ชุด จนมาถึงปี 1976 Mahavishnu Orchestra ก็ถูกยุบลงไป ทาง McLaughlin หันไปตั้งวงดนตรีอคูสติกอินเดียน ที่มีนักดนตรีเป็นชาวอินเดียล้วน ชื่อ Shakti ส่วนสมาชิกอื่นๆ ก็กระจัดกระจายไปทำงานของตนเอง หลังจากนั้นในปี 1984 McLaughlin มีความพยายามที่จะรีฟอร์ม Mahavishnu Orchestra ขึ้นมาใหม่ ด้วยความช่วยเหลือของมือกลองเก่าอย่าง Billy Cobham แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ

โดยส่วนตัวถ้าถามผมถึงสองอัลบั้มแรกว่าชอบชุดไหนมากกว่ากัน คงเป็น Birds of Fire เนื่องจากโครงสร้างของมันมีมากกว่า และโอนเอียนมาทางโปรแกรสสีฟมากกว่า แต่เรื่องของอิมโพรไวส์อาจจะสู้ The Inner Mounting Flame ไม่ได้ แต่ก็เป็นอัลบั้มที่ยอดเยี่ยมทั้งคู่ครับ

สำหรับแฟนๆ ของทั้งโปรแกรสสีฟและทั้งฟิวชั่น ไม่น่าพลาดอย่างยิ่งครับ แต่อีกข้อจำกัดหนึ่งของวงดนตรีวงนี้คือสังกัดพวกเขาอยู่ใน Columbia/Legacy ซึ่งเป็นของ Sony Music อีกตามเคย ซึ่งเป็นค่ายเพลงที่ไม่ค่อยจะยอมนำผลงานเพลงเก่าๆ ดีๆ เข้ามาวางขายในบ้านเรา ซึ่งก็มีอีกสองวิธีเช่นเคยคืออาจจะสั่งแผ่นอิมพอร์ตหรือโหลดเอาครับ (ช่วยไม่ได้นิ อยากไม่เอามาขายเองนิ)

สำหรับอัลบั้มอื่นๆ ที่น่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับวง Mahavishnu Orchestra มีดังนี้ครับ
Billy Cobham อัลบั้ม Spectrum (1973) งานเดี่ยวของมือกลอง
Shakti อัลบั้ม Shakti with John McLaughlin (1975) แสดงสดของวง Shakti
Carlos Santana & Mahavishnu John McLaughlin อัลบั้ม Love Devotion Surrender (1972) การร่วมงานกันระหว่าง Carlos Santana กับ John McLaughlin โดยวงดนตรีแบ๊คอัพที่มาจากวงของ Santana และ Mahavishnu มารวมกัน มีเพลงคัฟเวอร์งานอวองค์-การ์ดแจ๊สชั้นครูอย่าง A Love Supreme ของ John Coltrane
งานเดี่ยวชุดอื่นๆ ของ McLaughlin

จบแล้วครับ ขอบคุณที่ติดตามชมนะครับ

ป.ล. บางท่านอาจจะบอกว่า Mahavishnu นั้น เป็นโปรแกรสสีพแน่เหรอ ผมก็คิดว่าน่าจะใช่และค่อนข้างชัดเจน เนื่องจากในเว็บไซต์ progarchives.com และ progressiveears.com ก็ยืนยัน เพียงแต่ว่าอาจจะไม่เด่นชัดเท่ากับโปรแกรสสีพแบนด์แท้ๆ หลายวงเท่านั้นเองครับ










 

Create Date : 14 พฤศจิกายน 2548
2 comments
Last Update : 14 พฤศจิกายน 2548 10:41:59 น.
Counter : 829 Pageviews.

 

เคยฟัง Birds of Fire ครับ มีเป็นเทป
อยากได้ CD แล้ว

 

โดย: StrayBird 22 พฤศจิกายน 2548 15:59:59 น.  

 

ไม่ได้อัพเลยนะ


สงสัยมัวแต่ยุ่งกับการสอบ


ขอให้โชคดีนะน้อง.... อิอิ


 

โดย: lalink 9 ธันวาคม 2548 23:20:46 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Agent Fox Mulder
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




สามารถพบตัวจริงของผู้เขียนได้ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในเวลาราชการครับผม
Friends' blogs
[Add Agent Fox Mulder's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.