iCoolHouse
Group Blog
 
All blogs
 

ความปลอดภัยในการทำงานในห้องเย็น





ความปลอดภัยในการทำงานในห้องเย็น

ห้องเย็น หรือ ห้องเย็นสำเร็จรูป (Cold Room) ผนังห้องเย็น เป็น แผ่นฉนวนกันความร้อน Sandwich Panel

"ห้องเย็น" แต่ละแห่งมีอุณหภูมิที่ต่างกัน บางแห่งอุณหภูมิอาจต่ำกว่า -40°C เลยที่เดียว อันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อทำงานในห้องเย็น มีดังนี้

  • อุบัติเหตุเนื่องจากคนถูกขังติดอยู่ในห้องเย็น
  • อุบัติเหตุจากสารทำความเย็นรั่ว
  • การบาดเจ็บจากความเย็น
  • ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการเกิดอุบัติเหตุ
  • อันตรายจากน้ำแข็งที่เกิดขึ้น
  • เพิ่มโอกาสมากขึ้นที่ทำให้อุปกรณ์เครื่องมือชำรุด
  • การทำงานในห้องเย็นจำเป็นต้องมีการประเมินความเสี่ยง
สารทำความเย็น สามารถแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้ดังนี้
1. ฮาโลคาร์บอน (Halocarbons)
อันตราย :
  • มีสถานะคงที่ มีความเป็นพิษต่ำ ติดไฟง่าย
  • เข้าแทนที่ออกซิเจน ทำให้สำลักได้
การป้องกัน :
  • ติดตั้งเครื่องตรวจสอบและเตือนภัย จากการตรวจจับไอของสาร
  • ติดตั้งระบบพัดลมระบายอากาศ ซึ่งทำงานเมื่อปริมาณความเข้มข้น เกินอัตราที่กำหนด LEL (lower explosive limit)
2. แอมโมเนีย (Ammonia)
อันตราย :
  • เป็นพิษ ติดไฟ
การป้องกัน :
  • ติดตั้งเครื่องตรวจสอบและเตือนภัย จากการตรวจจับไอของสาร
  • ติดตั้งระบบพัดลมระบายอากาศ ซึ่งทำงานเมื่อปริมาณความเข้มข้น เกิน 1% (V/V) (P)
3. อีเทน โพรเพน บิวเทน ไอโซบิวเทน อีเทอลีน โพรไพลีน ( Ethane, propane, butane, isobutane, ethylene, propylene)
อันตราย :
  • อัตราการติดไฟสูง มีความเสี่ยงที่จะระเบิด
การป้องกัน :
  • ติดตั้งเครื่องตรวจสอบและเตือนภัย จากการตรวจจับไอของสาร
  • ติดตั้งระบบพัดลมระบายอากาศ ซึ่งทำงานเมื่อปริมาณความเข้มข้น เกิน 25% ของ LEL
  • สำหรับสารทำความเย็น กลุ่ม 1 และ 2 เครื่องตรวจจับไอ ของแยกวงจรไฟฟ้าที่ไม่มีการป้องกันทั้งหมด
  • ในพื้นที่อันตรายให้ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ออกแบบสำหรับทำงานในพื้นที่
  • จัดให้มีอุปกรณ์ช่วยหายใจ ในพื้นที่ที่เสี่ยงอันตรายจากสารทำความเย็น
การป้องกันอันตรายสำหรับการทำงานในห้องเย็น
ห้องเย็นต้องสร้างขึ้นถูกต้องตามมาตรฐาน
  • มาตรการป้องกันไม่ให้มีผู้ปฏิบัติงานหรือบุคคลอื่นๆถูกขังติดอยู่ในห้องเย็น :
    - เฉพาะผู้ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้นที่เข้าไปภายในห้องเย็นได้
    - มีป้าย ห้ามผู้ไม่ได้รับอนุญาตเข้าไปข้างใน ติดเตือนอยู่หน้าประตูทางเข้าห้องเย็น
    - มีทางออกฉุกเฉินอย่างน้อย 1 ทาง , มีป้ายเตือนบอกทางในจำนวนที่เพียงพอ และไม่มีวัตถุใดๆกีดขวางทางออกฉุกเฉิน
    - มีสัญญาณเตือนภัยสำหรับให้ผู้ที่ติดในห้องเย็นใช้แจ้งให้ผู้อยู่ข้างนอกทราบว่ามีคนติดอยู่ในห้องเย็น
    - ระบบควรทำงานโดยมีแบตเตอรี่สำรอง มีป้ายบอกและติดตั้งสัญญาณเตือนในตำแหน่งที่เหมาะสม
    - มีไฟฉุกเฉินที่ทำงานด้วยระบบแบตเตอรี่สำรอง มีการบำรุงรักษาและทดสอบอุปกรณ์ระบบความปลอดภัย
    - ก่อนที่จะล็อกประตูต้องมีการตรวจสอบอย่างละเอียดทุกครั้ง
การรั่วไหลของสารทำความเย็น
มีแนวทางในการป้องกันอันตราย ดังนี้
- ซ่อมบำรุงและควบคุมการทำงานของห้องเย็นโดยผู้เชี่ยวชาญ ที่ผ่านการฝึกมาเป็นอย่างดี
- โรงงานที่มีห้องเย็นขนาดใหญ่จะต้องมีแผนงานในแต่ละช่วงเวลา ในการตรวจสอบห้องเย็นโดยผู้เชี่ยวชาญ ทั้งในส่วนของอุปกรณ์และระบบท่อ ที่อาจจะทำให้เกิดอันตรายหากชำรุด
- มีแผนฉุกเฉินในกรณีเกิดอุบัติเหตุ และสื่อสารให้ทุกคนรับทราบ
การทำงานในสภาพพื้นที่ที่มีอุณหภูมิต่ำ
- จัดหาชุดป้องกันความเย็นที่เหมาะสม
- จัดให้มีห้องพักที่มีสภาพอากาศปกติ กับน้ำอุ่น สำหรับพักเบรก ส่วนระยะเวลาในการพักขึ้นอยู่กับ อุณห๓มิของห้องเย็นและลักษณะงาน
  • ผู้ที่ทำงานในห้องเย็นต้องมีร่างกายที่แข็งแรง จะต้องจัดให้มีการตรวจร่างกายผู้ที่จะต้องทำงานในห้องเย็นก่อนเสมอ
  • สะเก็ดน้ำแข็ง หรือน้ำแข็งที่เกิดขึ้น จะต้องจัดเก็บออกไปทุกวัน
  • อุปกรณ์ที่ใช้งานในห้องเย็นควรจัดให้มีการตรวจสอบให้อยู่ในสภาพที่ไม่อันตราย
  • การเลือกซื้ออุปกรณ์ที่นำมาใช้ ควรเลือกให้ถูกประเภทที่จะนำมาใช้ในห้องเย็น เช่น พาเลท หรือ ชั้นวางต่างๆ สามารถหาข้อมูลได้จากผู้จำหน่าย




 

Create Date : 12 กรกฎาคม 2560    
Last Update : 12 กรกฎาคม 2560 9:43:26 น.
Counter : 1419 Pageviews.  

เผยสูตรเด็ด 5 เทคนิค ประหยัดพลังงานในห้องเย็น





เผยสูตรเด็ด 5 เทคนิค ประหยัดพลังงานในห้องเย็น

ห้องเย็น หรือ ห้องเย็นสำเร็จรูป (Cold room, Cold Storage)

พลังงานส่วนใหญ่ที่ใช้ในอุตสาหกรรมห้องเย็นจะเป็นพลังงานไฟฟ้าเพื่อใช้ในการเดินเครื่องทำความเย็น ซึ่งใช้ในกระบวนการแช่แข็งและกระบวนการเก็บรักษาวัตถุดิบหรือสินค้าสำเร็จรูป จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องควบคุมดูแลการใช้พลังงานของอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งควรคำนึงถึง 5 ปัจจัยสำคัญดังนี้

  1. เลือกเครื่องทำความเย็นให้เหมาะสมกับขนาดห้องและรอบการใช้งาน
  2. เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและช่วยประหยัดพลังงาน
  • เลือกทาสีสว่างให้กับผนังห้อง จะช่วยลดการติดตั้งโคมไฟได้
  • ติดตั้งดวงไฟให้ตรงกับจุดที่ทำงานและเหมาะสมกับลักษณะการใช้งาน เช่น เปิดเป็นแถว เปิดเฉพาะจุด
  • ใช้หลอดไฟประหยัดพลังงาน เพื่อลดภาระการทำความเย็นภายในห้องเย็น
  • เลือกระบบปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพสูง
  • เลือกใช้แผ่นฉนวนกันไฟ FIWall ซึ่งเป็นแผ่นฉนวนกันไฟ PIR แท้ๆ ระบบ ZIP-Lock สำหรับเป็นผนังห้องเย็น เพื่อป้องกันความร้อนจากภายนอก ลดภาระการทำงานของระบบทำความเย็นและที่สำคัญสามารถกันไฟได้

สามารถอ่านข้อมูล แผ่นฉนวนกันไฟ FIWall i370 PIR แท้ๆ by Wall Tech เพิ่มเติมได้ที่นี่

https://www.wtg.co.th/index.php/th/products/fireproof-panel-pir.html

  1. อบรมและให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานห้องเย็นแก่พนักงานที่รับผิดชอบ
  • กำชับพนักงานให้ปิดประตูห้องแช่เยือกแข็งและห้องเย็นให้สนิททุกครั้งหลังจากปฏิบัติงาน
  • อบรมพนักงานฝ่ายผลิตให้เข้าใจพื้นฐานของระบบทำความเย็น
  • อบรมช่างฝ่ายระบบทำความเย็นให้เข้าใจพื้นฐานของขั้นตอนการผลิต
  1. ตรวจสอบสภาพห้องเย็น อุปกรณ์และระบบทำความเย็นอยู่เสมอ
  • หมั่นตรวจสอบสภาพประตูและแผ่นฉนวนกันความร้อนโดยรอบห้องเย็น
    และระบบทำความเย็นให้อยู่ในสภาพที่ดีอยู่เสมอ
  1. จัดสรรพื้นที่การใช้งานและองค์ประกอบต่างๆ ภายในห้องเย็นให้เหมาะสม
  • ควบคุมความชื้นและอุณหภูมิของสินค้าให้เหมาะสม ก่อนการแช่เยือกแข็ง
  • ลดช่องเปิดต่างๆที่เป็นเหตุของการสูญเสียพลังงานให้เหลือน้อยที่สุด และควรติดตั้งม่านพลาสติกกันความเย็น
  • ไม่ตั้งอุณหภูมิห้องเย็นต่ำจนเกินไป การลดอุณหภูมิในห้องเย็นลง 1 องศาเซลเซียส
    จะใช้พลังงานโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 1%
  • จัดการหมุนเวียนของอากาศในห้องเย็นให้หมุนเวียนได้ดี เพื่อให้ได้อุณหภูมิที่สม่ำเสมอทั่วทั้งห้อง
  • หลีกเลี่ยงการนำแหล่งความร้อน เช่น หม้อน้ำร้อนที่ไม่มีฝาปิดและไม่ได้หุ้มฉนวน เข้ามาในบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำ หรือการเข้า-ออกห้องเย็นโดยไม่จำเป็น




 

Create Date : 08 กรกฎาคม 2560    
Last Update : 8 กรกฎาคม 2560 10:38:03 น.
Counter : 907 Pageviews.  

"ห้องเย็น (Cold Room)" สำคัญกับอุตสาหกรรมอาหารอย่างไร?



"ห้องเย็น (Cold Room)" สำคัญกับอุตสาหกรรมอาหารอย่างไร?

การเก็บรักษาอาหารที่อุณหภูมิต่ำแต่สูงกว่าจุดเยือกแข็งของอาหาร อุณหภูมิที่ใช้ในการแช่เย็นอาหาร อยู่ระหว่าง -3 ถึง 7 องศาเซลเซียส ซึ่งอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับเก็บรักษาอาหารแต่ละชนิดจะแตกต่างกัน การเก็บรักษาในห้องเย็น (Cold Room) ใช้สำหรับเก็บรักษาอาหารที่เสื่อมเสียง่าย (perishable food) ได้แก่

  • เนื้อสัตว์ เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อแพะ เนื้อแกะ
  • อาหารทะเล (ทั้งสดและปรุงสุกแล้ว)
  • อาหารแปรรูปขั้นต่ำ (minimally-processed food)
  • น้ำนมดิบและผลิตภัณฑ์นม (dairy product) เช่น น้ำนมพาสเจอร์ไรซ์ เนย โยเกิร์ต เนยแข็ง นมเปรี้ยว
  • ไข่
  • ผักและผลไม้สด
  • อาหารพร้อมบริโภค (ready-to-eat foods)
  • ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อสัตว์ เช่น ไส้กรอก แฮม เบคอน แหนม

วัตถุประสงค์ของการแช่เย็น

การแช่เย็นเป็นการถนอมอาหาร (food preservation) มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ

  • ชะลอการเจริญของจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค (pathogen) เช่น Salmonella, Vibrio, Shigella, Listeria, Escherichia coli เป็นต้น
  • ชะลอการเสื่อมเสียของอาหารด้วยจุลินทรีย์ (microbial spoilage)
  • การบ่มเนื้อสัตว์ (meat aging)
  • ชะลอปฏิกิริยาทางเคมีและชีวเคมี
  • ลดอัตราการหายใจ (respiration rate) ของผักและผลไม้

การแช่เย็นตามประเภทของอาหาร

  • การแช่เย็นผักและผลไม้ (cold storage of fruit and vegetable)
  • การแบ่งกลุ่มผักผลไม้ตามอุณหภูมิแช่เย็นและความชื้นสัมพัทธ์
  • การแช่เย็นเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ (cold storage of meat and meat products)
  • การแช่เย็นน้ำนมและผลิตภัณฑ์นม (cold storage of milk and dairy product)

ประเภทของห้องเย็น (Cold Room) มี 5 ประเภท คือ

1. ห้องแช่เย็นเฉียบพลัน (Air Blast Chill Room)

มีไว้สำหรับลดอุณภูมิเพื่อรอกระบวนการต่อไป หรือ เพื่อควบคุมเชื้อแบคทีเรียหรือเพื่อให้เอ็นไซย่อยเนื้อในขบวนการผลิตเนื้อสัตว์ ส่วนใหญ่ห้องเย็นเฉียบพลันจะมีข้อกำหนดของเวลาเข้ามาด้วย อุณหภูมิใช้งานที่ต้องการส่วนใหญ่ ประมาณ : 2 ถึง -10 องศาเซียลเซียสหรือขึ้นอยู่กับสินค้า

2. ห้องแช่แข็ง (Freezer Room)

มีไว้สำหรับลดอุณหภูมิและเก็บสินค้าในช่วงเวลานานๆที่อุณหภูมิต่ำกว่า จุดเยือกแข็งของตัวสินค้านั้นๆ"เช่น ปลาแช่แข็งเก็บรักษาที่อุณภูมิ -17.8 ถึง -23.3 องศาเซียลเซียส สามารถเก็บรักษาได้ระยะเวลา 8 ถึง 10 เดือน อุณหภูมิใช้งานที่ต้องการส่วนใหญ่ ประมาณ : ตั้งแต่ -5 ถึง -25 องศาเซียลเซียสหรือขึ้นอยู่กับสินค้า

3. ห้องเย็นเก็บรักษาสินค้า (Cold Storage Room)

มีไว้สำหรับเก็บรักษาสินค้าซึ่งสินค้าถูกผ่านการแช่แข็งมาแล้ว โดยที่สินค้าที่นำมาเก็บมีอุณภูมิ "ต่ำกว่า" หรือ "เท่ากับ" อุณหภูมิของห้องเก็บรักษาสินค้าในการคำนวณโหลดทำความเย็นไม่จำเป็นต้องคิดค่าความร้อนจากตัวสินค้า อุณภูมิใช้งานที่ต้องการส่วนใหญ่ ประมาณ : -25 องศาเซลเซียสหรือขึ้นอยู่กับสินค้า

4. ห้องแช่แข็งลมเย็นจัด (Air Blast Freezer Room)

มีไว้สำหรับ Freez สินค้าให้เย็นเร็ว โดยไม่ทำให้เซลเกิดความเสียหาย การ Freez สินค้าแต่ละประเภท แตกต่างกัน เช่น การ Freez ผักและผลไม้จะต้อง Freez เร็วไม่ทำให้ผนังเซลเกิดแตก ซึ่งการเกิดจากน้ำภายในเซลเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นของแข็ง (เกล็ดน้ำแข็ง) หรือการ Freez อาหารทะเลส่งออกจะต้องพยายามไม่ทำให้เกิดเกล็ดน้ำแข็งภายในเนื้อเซล เพราะจะทำให้เซลช้ำโดยทั่วๆไปห้องแช่แข็งลมเย็นจัด จะมีขนาดความจุของสินค้าได้ 2.5 Tons จะใช้เวลาในการ Freez ประมาณ 4-5 ชม. โดยข้อกำหนดจะต้องดึงอุณภูมิได้ไม่เกิน 6 ชม. อุณภูมิใช้งานที่ต้องการส่วนใหญ่ ประมาณ : -35 องศาเซลเซียสหรือขึ้นอยู่กับสินค้า

5. ห้องเย็นพักสินค้า (Anti Room)

มีไว้สำหรับลดอุณหภูมิของอากาศภายนอกที่มีอุณหภูมิสูงไหลเข้าห้องแช่แข็งลมเย็นจัด (Air Blast Freezer Room ) หรือห้องเก็บที่มีอุณหภูมิต่ำๆ ห้องนี้บางครั้งก็มีไว้สำหรับพักสินค้า หรือ กระจายสินค้าบ้างในตัวเอง อุณหภูมิจะอยู่ประมาณอุณภูมิใช้งานที่ต้องการส่วนใหญ่ ประมาณ : -5 ถึง +10 องศาเซลเซียสหรือขึ้นอยู่กับชนิดของการทำงาน




 

Create Date : 07 กรกฎาคม 2560    
Last Update : 8 กรกฎาคม 2560 10:33:37 น.
Counter : 1370 Pageviews.  

ประเภทของห้องเย็น (Cold Room)



ประเภทของห้องเย็น (Cold Room) มี 5 ประเภท คือ

1. ห้องแช่เย็นเฉียบพลัน (Air Blast Chill Room)

มีไว้สำหรับลดอุณภูมิเพื่อรอกระบวนการต่อไป หรือ เพื่อควบคุมเชื้อแบคทีเรียหรือเพื่อให้เอ็นไซย่อยเนื้อในขบวนการผลิตเนื้อสัตว์ ส่วนใหญ่ห้องเย็นเฉียบพลันจะมีข้อกำหนดของเวลาเข้ามาด้วย อุณหภูมิใช้งานที่ต้องการส่วนใหญ่ ประมาณ : 2 ถึง -10 องศาเซียลเซียสหรือขึ้นอยู่กับสินค้า

2. ห้องแช่แข็ง (Freezer Room)

มีไว้สำหรับลดอุณหภูมิและเก็บสินค้าในช่วงเวลานานๆที่อุณหภูมิต่ำกว่า จุดเยือกแข็งของตัวสินค้านั้นๆ"เช่น ปลาแช่แข็งเก็บรักษาที่อุณภูมิ -17.8 ถึง -23.3 องศาเซียลเซียส สามารถเก็บรักษาได้ระยะเวลา 8 ถึง 10 เดือน อุณหภูมิใช้งานที่ต้องการส่วนใหญ่ ประมาณ : ตั้งแต่ -5 ถึง -25 องศาเซียลเซียสหรือขึ้นอยู่กับสินค้า

3. ห้องเย็นเก็บรักษาสินค้า (Cold Storage Room)

มีไว้สำหรับเก็บรักษาสินค้าซึ่งสินค้าถูกผ่านการแช่แข็งมาแล้ว โดยที่สินค้าที่นำมาเก็บมีอุณภูมิ "ต่ำกว่า" หรือ "เท่ากับ" อุณหภูมิของห้องเก็บรักษาสินค้าในการคำนวณโหลดทำความเย็นไม่จำเป็นต้องคิดค่าความร้อนจากตัวสินค้า อุณภูมิใช้งานที่ต้องการส่วนใหญ่ ประมาณ : -25 องศาเซลเซียสหรือขึ้นอยู่กับสินค้า

4. ห้องแช่แข็งลมเย็นจัด (Air Blast Freezer Room)

มีไว้สำหรับ Freez สินค้าให้เย็นเร็ว โดยไม่ทำให้เซลเกิดความเสียหาย การ Freez สินค้าแต่ละประเภท แตกต่างกัน เช่น การ Freez ผักและผลไม้จะต้อง Freez เร็วไม่ทำให้ผนังเซลเกิดแตก ซึ่งการเกิดจากน้ำภายในเซลเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นของแข็ง (เกล็ดน้ำแข็ง) หรือการ Freez อาหารทะเลส่งออกจะต้องพยายามไม่ทำให้เกิดเกล็ดน้ำแข็งภายในเนื้อเซล เพราะจะทำให้เซลช้ำโดยทั่วๆไปห้องแช่แข็งลมเย็นจัด จะมีขนาดความจุของสินค้าได้ 2.5 Tons จะใช้เวลาในการ Freez ประมาณ 4-5 ชม. โดยข้อกำหนดจะต้องดึงอุณภูมิได้ไม่เกิน 6 ชม. อุณภูมิใช้งานที่ต้องการส่วนใหญ่ ประมาณ : -35 องศาเซลเซียสหรือขึ้นอยู่กับสินค้า

5. ห้องเย็นพักสินค้า (Anti Room)

มีไว้สำหรับลดอุณหภูมิของอากาศภายนอกที่มีอุณหภูมิสูงไหลเข้าห้องแช่แข็งลมเย็นจัด (Air Blast Freezer Room ) หรือห้องเก็บที่มีอุณหภูมิต่ำๆ ห้องนี้บางครั้งก็มีไว้สำหรับพักสินค้า หรือ กระจายสินค้าบ้างในตัวเอง อุณหภูมิจะอยู่ประมาณอุณภูมิใช้งานที่ต้องการส่วนใหญ่ ประมาณ : -5 ถึง +10 องศาเซลเซียสหรือขึ้นอยู่กับชนิดของการทำงาน




 

Create Date : 05 กรกฎาคม 2560    
Last Update : 8 กรกฎาคม 2560 10:40:14 น.
Counter : 547 Pageviews.  

ห้องเย็น (Cold Room) สำคัญกับอุตสาหกรรมอาหารอย่างไร?





"ห้องเย็น (Cold Room)" สำคัญกับอุตสาหกรรมอาหารอย่างไร?

      การเก็บรักษาอาหารที่อุณหภูมิต่ำแต่สูงกว่าจุดเยือกแข็งของอาหาร อุณหภูมิที่ใช้ในการแช่เย็นอาหาร อยู่ระหว่าง -3 ถึง 7 องศาเซลเซียส ซึ่งอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับเก็บรักษาอาหารแต่ละชนิดจะแตกต่างกัน การเก็บรักษาในห้องเย็น (Cold Room) ใช้สำหรับเก็บรักษาอาหารที่เสื่อมเสียง่าย (perishable food) ได้แก่

  • เนื้อสัตว์ เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อแพะ เนื้อแกะ
  • อาหารทะเล (ทั้งสดและปรุงสุกแล้ว)
  • อาหารแปรรูปขั้นต่ำ (minimally-processed food)
  • น้ำนมดิบและผลิตภัณฑ์นม (dairy product) เช่น น้ำนมพาสเจอร์ไรซ์ เนย โยเกิร์ต เนยแข็ง นมเปรี้ยว
  • ไข่
  • ผักและผลไม้สด
  • อาหารพร้อมบริโภค (ready-to-eat foods)
  • ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อสัตว์ เช่น ไส้กรอก แฮม เบคอน แหนม

วัตถุประสงค์ของการแช่เย็น

การแช่เย็นเป็นการถนอมอาหาร (food preservation) มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ

  • ชะลอการเจริญของจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค (pathogen) เช่น Salmonella, Vibrio, Shigella, Listeria, Escherichia coli เป็นต้น
  • ชะลอการเสื่อมเสียของอาหารด้วยจุลินทรีย์ (microbial spoilage)
  • การบ่มเนื้อสัตว์ (meat aging)
  • ชะลอปฏิกิริยาทางเคมีและชีวเคมี
  • ลดอัตราการหายใจ (respiration rate) ของผักและผลไม้

การแช่เย็นตามประเภทของอาหาร

  • การแช่เย็นผักและผลไม้ (cold storage of fruit and vegetable)
  • การแบ่งกลุ่มผักผลไม้ตามอุณหภูมิแช่เย็นและความชื้นสัมพัทธ์
  • การแช่เย็นเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ (cold storage of meat and meat products)
  • การแช่เย็นน้ำนมและผลิตภัณฑ์นม (cold storage of milk and dairy product)

ประเภทของห้องเย็น (Cold Room) มี 4 ประเภท คือ

1. ห้องแช่เย็นเฉียบพลัน (Air Blast Chill Room)

มีไว้สำหรับลดอุณภูมิเพื่อรอกระบวนการต่อไป หรือ เพื่อควบคุมเชื้อแบคทีเรียหรือเพื่อให้เอ็นไซย่อยเนื้อในขบวนการผลิตเนื้อสัตว์ ส่วนใหญ่ห้องเย็นเฉียบพลันจะมีข้อกำหนดของเวลาเข้ามาด้วย อุณหภูมิใช้งานที่ต้องการส่วนใหญ่ ประมาณ : 2 ถึง -10 องศาเซียลเซียสหรือขึ้นอยู่กับสินค้า

2. ห้องแช่แข็ง (Freezer Room)

มีไว้สำหรับลดอุณหภูมิและเก็บสินค้าในช่วงเวลานานๆที่อุณหภูมิต่ำกว่า "จุดเยือกแข็งของตัวสินค้านั้นๆ"เช่น ปลาแช่แข็งเก็บรักษาที่อุณภูมิ -17.8 ถึง -23.3 องศาเซียลเซียส สามารถเก็บรักษาได้ระยะเวลา 8 ถึง 10 เดือน อุณหภูมิใช้งานที่ต้องการส่วนใหญ่ ประมาณ : ตั้งแต่ -5 ถึง -25 องศาเซียลเซียสหรือขึ้นอยู่กับสินค้า

3. ห้องเย็นเก็บรักษาสินค้า (Cold Storage Room)

มีไว้สำหรับเก็บรักษาสินค้าซึ่งสินค้าถูกผ่านการแช่แข็งมาแล้ว โดยที่สินค้าที่นำมาเก็บมีอุณภูมิ "ต่ำกว่า" หรือ "เท่ากับ" อุณหภูมิของห้องเก็บรักษาสินค้าในการคำนวณโหลดทำความเย็นไม่จำเป็นต้องคิดค่าความร้อนจากตัวสินค้า อุณภูมิใช้งานที่ต้องการส่วนใหญ่ ประมาณ : -25 องศาเซลเซียสหรือขึ้นอยู่กับสินค้า

4. ห้องแช่แข็งลมเย็นจัด (Air Blast Freezer Room)

มีไว้สำหรับ Freez สินค้าให้เย็นเร็ว โดยไม่ทำให้เซลเกิดความเสียหาย การ Freez สินค้าแต่ละประเภท แตกต่างกัน เช่น การ Freez ผักและผลไม้จะต้อง Freez เร็วไม่ทำให้ผนังเซลเกิดแตก ซึ่งการเกิดจากน้ำภายในเซลเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นของแข็ง (เกล็ดน้ำแข็ง) หรือการ Freez อาหารทะเลส่งออกจะต้องพยายามไม่ทำให้เกิดเกล็ดน้ำแข็งภายในเนื้อเซล เพราะจะทำให้เซลช้ำโดยทั่วๆไปห้องแช่แข็งลมเย็นจัด จะมีขนาดความจุของสินค้าได้ 2.5 Tons จะใช้เวลาในการ Freez ประมาณ 4-5 ชม. โดยข้อกำหนดจะต้องดึงอุณภูมิได้ไม่เกิน 6 ชม. อุณภูมิใช้งานที่ต้องการส่วนใหญ่ ประมาณ : -35 องศาเซลเซียสหรือขึ้นอยู่กับสินค้า

5. ห้องเย็นพักสินค้า (Anti Room)

มีไว้สำหรับลดอุณหภูมิของอากาศภายนอกที่มีอุณหภูมิสูงไหลเข้าห้องแช่แข็งลมเย็นจัด (Air Blast Freezer Room ) หรือห้องเก็บที่มีอุณหภูมิต่ำๆ ห้องนี้บางครั้งก็มีไว้สำหรับพักสินค้า หรือ กระจายสินค้าบ้างในตัวเอง อุณหภูมิจะอยู่ประมาณอุณภูมิใช้งานที่ต้องการส่วนใหญ่ ประมาณ : -5 ถึง +10 องศาเซลเซียสหรือขึ้นอยู่กับชนิดของการทำงาน




 

Create Date : 25 พฤษภาคม 2560    
Last Update : 25 พฤษภาคม 2560 8:52:13 น.
Counter : 435 Pageviews.  

1  2  

สมาชิกหมายเลข 2799869
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 2799869's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.