Group Blog
 
All Blogs
 

การใช้เครื่องวัดความดันโลหิตที่บ้าน

พอดีคุณย่ามีภาวะความดันโลหิตสูงครับ วันก่อนไปวัดที่รพ. วัดได้ตั้ง 240/120 แน่ะ ก็เลยลองไปทบทวนความรู้ด้านความดันโลหิตสูง มาบอกเล่าสู่กันฟัง สำหรับคนที่ไม่ได้อยู่ในวงการแพทย์ครับ


ความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่เกิดจากหลายสาเหตุครับ แต่ว่าปัญหาของมันก็คือทำให้เกิดโรคอื่นๆ ของหลอดเลือด ตามมาได้ถ้าคุมไม่อยู่ เช่น ถ้าเกิดความผิดปกติของหลอดเลือดในสมองอาจเกิดอัมพฤกษ์อัมพาต ถ้าเกิดที่หัวใจ ก็อาจทำให้หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หรือเกิดผลเสียต่ออวัยวะต่างๆ ได้ถ้าต้องทนความดันสูงเป็นเวลานาน ลองนึกสภาพท่อน้ำ ที่มีน้ำความดันสูงไหลอยู่ครับ ถ้าเกิดว่ามีจุดอ่อนของท่อน้ำอยู่ที่ไหน ก็แน่นอนครับว่าถ้าความดันน้ำสูงขึ้นเรื่อยๆ ก็แตกกันพอดีใช่ไหมครับ


การรักษาระวังตัวในคนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงนะครับ ควรเปลี่ยนอาหารการกินคือ


- ลด Sodium <2400 mg ต่อวัน (เกลือก็คือ Sodium Chloride นะครับ) ดังนั้นคือควรลดความเค็มในอาหารลง
- ลด Alcohol อย่างไรก็ดี การทาน alcohol ในปริมาณ น้อยๆ เช่นไม่ถึงแก้วต่อวัน พบว่าลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ แต่ผมไม่อยากแนะนำเนื่องจากมันไม่ชัวร์เท่าใดนัก ถ้าไม่ทานอยู่แล้วคิดว่าไม่ทานเลยจะดีกว่า
- กินอาหารพวกผักที่มี Fiber เยอะ 20-35 g ต่อวัน
- ทานอาหารจำพวกปลา
- งดอาหารที่มี คาเฟอีน

นอกจากนี้ ยังควรเปลี่ยนลักษณะชีวิตโดย
- ออกกำลังกายแบบ aerobic (ไม่ใช่เต้นแอโรคบิคอย่างเดียวนะ อย่างอื่นก็ได้)
- ลดน้ำหนัก

ตรงนี้เป็นข้อมูลจาก UpToDate ครับ: //www.uptodate.com/patients/content/topic.do?topicKey=~XaiweRlUKgUlbp&selectedTitle=1~150&source=search_result

เพิ่ม
อีกนิดนึง ถ้าเป็นไปได้ควรมีเครื่องวัดความดันโลหิตแบบวัดที่ต้นแขนที่บ้าน
แล้ววัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อดูแนวโน้มของความดันโลหิต โดยการวัดความดันที่บ้านนั้น ควรปฏิบัติตามนี้ครับ


เทคนิคในการวัด: งดบุหรี่ก่อนวัด 30 นาที, ให้พักก่อน 5 นาที, ให้นั่งเก้าอี้พิงพนัก เท้าอยู่กับพื้น, วัดแขนที่ไม่ถนัด (แขนซ้าย)


เครื่องมือที่ใช้วัด: เป็นเครื่องมือที่ได้มาตรฐาน ถ้าเป็นไปได้มีเมมโมรี่ก็จะดีครับ (ไม่ได้ขายนะครับ แต่เท่าที่ผมหาดูและซื้อมา ผมใช้ยี่ห้อ omron รุ่น IA1 ครับ ราคาโดยประมาณ 4,000 บาท ถ้าหารุ่น IA2 ราคาประมาณ 3,200 บาท ครับ ลองหาในเน็ตดูก็ได้ครับ)


ผู้วัด: ควรได้รับการสอนจากผู้ชำนาญการ และควรเทียบกับการวัดโดยใช้เครื่องวัดมือ (เครื่องวัดปรอท) โดยสม่ำเสมอ นอกจากนี้วิธีวัดยังต้องได้รับการตรวจสอบสม่ำเสมอว่ายังทำถูกอยู่


เป้าหมายของการวัด: ควรได้ต่ำกว่า 135/85 มม.ปรอท หรือถ้ามีโรคเบาหวาน, โรคหัวใจขาดเลือด, โรคไตร่วมด้วย ควรได้ต่ำกว่า 130/80 ครับ โดยมากเครื่องมันมักจะเตือนอยู่แล้วถ้าความดันเกิน


วัดบ่อยแค่ไหน: อันนี้แพทย์ฝั่งอเมริกา กับยุโรป เห็นต่างกันครับ แต่ของอเมริกา เป็นดังนี้


ช่วงแรกเริ่มฝึกหัดวัด ให้วัด 2-3 ครั้งตอนเช้า (แต่ละครั้ง ควรห่างกัน 1 นาทีเป็นอย่างน้อย), แล้วอีก 2-3 ครั้งตอนเย็น ฝึกเป็นเวลา 7 วัน
ช่วงที่ใช้ปรับยา ให้วัดแบบเดิม (2-3 ครั้งตอนเช้า, 2-3 ครั้งตอนเย็น ตอนเย็นนี่ก็ควรเป็นเวลานาฬิกาเดิมด้วยครับ) แล้วแพทย์จะช่วยปรับยา
ช่วงที่คุมได้แล้ว อาจลดเหลืออย่างน้อยที่สุด 1 สัปดาห์ (7วัน) ต่อสามเดือน


หลังวัดเสร็จแล้ว ก็ควรจดไว้ครับ ถ้าวัด 2-3 ครั้งอาจจดแต่ค่าเฉลี่ยก็ได้ครับ หลังจากนั้นก็จดไปให้คุณหมอดูครับ เท่าที่ผมมีประสบการณ์ในการปรับยาลดความดัน คิดว่า ถ้าจดใส่ในปฏิทินได้ ก็น่าจะมองเห็นภาพรวมได้ง่ายครับ (หาปฏิทินใหญ่ๆ หน่อยก็ดีครับ


นอกจากนี้ อย่าลืมทานยาให้ตรงเวลานะครับ Smiley


ขอมูลส่วนนี้ ผมนำมาจาก Amercian Heart Association (สมาคมโรคหัวใจของอเมริกา) ครับ //hyper.ahajournals.org/cgi/reprint/HYPERTENSIONAHA.107.189011v1




 

Create Date : 05 มิถุนายน 2551    
Last Update : 5 มิถุนายน 2551 19:01:09 น.
Counter : 6136 Pageviews.  


7664
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add 7664's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.