Group Blog
 
All blogs
 

ทำความเข้าใจ และเตรียมพร้อมสำหรับปลายยุค 2G สู่ 3G/4G กันเถอะ

 ทำความเข้าใจ และเตรียมพร้อมสำหรับปลายยุค 2G สู่ 3G/4G กันเถอะ

เนื้อหานี้จะลงไว้ 3 ที่คือ
1. เว็บบอร์ด pantip.com
2. ที่ bloggang ของผมเอง
3. ที่ My.id ของผมที่เว็บ Dek-d

จุดประสงค์ที่มาเขียนบทความนี้ เพราะผมเห็นว่ายังมีคนอีกมาก ที่กลัวว่าพอไม่มี 2G แล้วจะโทรศัพท์หากันไม่ได้ เพราะเข้าใจว่า 3G ต้องใช้แค่ internet อย่างเดียว (สังเกตุเอาจากในเว็บ pantip กับคนรอบตัวนี่แหละ)

สิ่งที่จะเขียนถึง และไม่เขียนถึงในบทความนี้ครับ

เขียน
-การเข้าใจเทคโนโลยี 2G, 3G, 4G เอาแบบภาษาชาวบ้าน
-การเข้าใจเรื่องคลื่นและเทคโนโลยี
-การใช้งาน อุปกรณ์ที่ใช้งานได้
-ลักษณะการใช้งาน และแนวทางที่จะใช้งานได้
-เปรียบเทียบการใช้งานกับอินเตอร์เน็ตตามบ้าน และลักษณะการใช้งาน

ไม่เขียน
-พื้นที่ครอบคลุมของแต่ละเครือข่าย
-ราคาแพ๊คเกจ และการเลือกแพ๊คเกจ



-การเข้าใจเทคโนโลยี 2G, 3G, 4G เอาแบบภาษาชาวบ้าน
จะพยายามไม่ลงรายละเอียดด้วยคำศัพท์เฉพาะนะครับ
โดยภาพรวมแบบภาษาชาวบ้านเลย เทคโนโลยี 2G, 3G, 4G ชื่อเฉพาะที่เกี่ยวข้องแบบรวมๆก็จะมี
2G => เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง GSM, GPRS(G), EDGE(E)
3G => เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง WCDMA, HSPA(H), HSPA+(H+)
4G => เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง LTE, LTE-A
เอาเฉพาะเทคโนโลยีในฝั่ง GSM ที่ใช้กันในประเทศไทยนะครับ ไม่พูดถึงฝั่ง CDMA ที่เลิกใช้งานในไทยไปแล้ว

สิ่งที่เหมือนกันทั้ง 2G, 3G, 4G คือ ทั้งสามเทคโนโลยี สามารถใช้งาน Internet ได้เหมือนกัน พูดภาษาชาวบ้านคือ คุณใช้มันเปิด facebook เล่น line อ่านเว็บได้เหมือนกัน แต่ความเว็วในการเข้าถึงข้อมูลต่างกัน 2G ช้าที่

สุด และเร็วที่สุดคือ 4G

สิ่งที่แตกต่างกันระหว่าง 2G, 3G, 4G คือการใช้งานโทรศัพท์หากัน
2G และ 3G การใช้งานเสียงหรือ voice หรือภาษาชาวบ้านคือ การกดโทรออก ทำงานเหมือนกัน โดยการทำงาน voice หรือเสียงบน 2G/3G ไม่เกี่ยวข้องกับ Data หรือการเล่น Internet ถ้าคุณกดปิดการทำงาน

Mobile Data บนมือถือคุณแล้วคุณยังสามารถโทรออกไปหาเครื่องอื่นได้ปกติทั้ง 2G และ 3G นั้นหมายความว่า ถึงแม้คุณจะใช้งาน 3G ก็ไม่จำเป็นต้องใช้งาน Internet ก็ได้ ใช้งานมันเป็นโทรศัพท์อย่างเดียวก็ได้

4G พื้นฐานการใช้งานของเทคโนโลยีนี้อยู่บน Data หรือก็คือต้องการ Internet รวมทั้งการโทรออกด้วย ดังนั้นหากไม่มีการใช้งาน Internet แล้ว 4G ก็คือที่ทับกระดาษดีดีนี่เอง แต่โทรศัพท์ 4G ที่สามารถโทรออกบนเทคโนโลยี

4G ได้ เรียกว่า VoLTE ตอนนี้ยังมีอุปกรณ์ไม่มากที่ใช้งานส่วนนี้ได้ ดังนั้นอุปกรณ์มือถือโดยส่วนใหญ่ ถึงคุณจะใช้ 4G อยู่ เมื่อคุณกดโทรออกหรือมีสายโทรเข้ามา ตัวมือถือจะกระโดดกลับมาจับสัญญาณ 2G หรือ 3G ตามแต่เครือข่ายที่

คุณใช้งาน และการตั้งค่าของคุณ เช่นทุกวันนี้ผมใช้ AIS ตั้งค่าให้เครื่องรับสัญญาณแค่ 3G กับ 4G เวลาผมใช้โทรศัพท์โทรออกหรือรับเข้า ตัวมือถือจะกลับมาอยู๋บนระบบ 3G)


-การเข้าใจเรื่องคลื่นและเทคโนโลยี
ขอย้อนไปถึงการประมูลที่ผ่านและการประมูลคลื่น 2100 เล็กน้อย และทำความเข้าใจกันนิด
ตั้งแต่การประมูลคลื่น 2100 หรือที่เรียกกันว่าการประมูล 3G อันที่จริงแล้ว เป็นการประมูลเอาคลื่นความถี่ รวมถึงการประมูลคลื่น 1800 และ 900 ครั้งที่ผ่านมา หรือที่เรียกกันว่าประมูล 4G ถ้าไปอ่านในเอกสารการประมูลแล้ว การประมูลทั้ง 3 ครั้ง

คือการประมูลเอาสิทธิ์ในการใช้งานคลื่น โดยสิ่งที่แตกต่างกันในสามครั้งคือ (อธิบายจากความจำนะครับ ถ้าตรงไหนผิดเตือนกันด้วย)

ประมูลคลื่น 2100 (ภาษาชาวบ้าน ประมูล 3G) คือให้เอาคลื่น 2100 ไปให้บริการ โดยต้องใช้กับเทคโนโลยีขั้นต่ำคือเทคโนโลยี 3G ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไม True จึงเปิด 4G มาเป็นปี

ประมูลคลื่น 1800/900 (ภาษาชาวบ้าน ประมูล 4G) คือให้เอาคลื่น 1800/900 ไปให้บริการ เท่าที่หาเอกสารจากเว็บ กสทช ครั้งนี้ไม่ได้ระบุเทคโนโลยีที่ใช้งาน แต่บอกว่าต้องใช้กับการสื่อสารโทรคมนาคม ดังนั้นจึงไม่แปลกที่จะเอาไปใช้กับ 2G

โดยทั้ง 3 คลื่นที่กล่าวมา ถ้าสมมุติวันนี้เกิดเทคโนโลยี 6G ขึ้นมา ณ วินาทีเลย ผู้ให้บริการที่ได้ใบอนุญาตไป จะทำ 6G เลยก็ได้ โดยไม่ต้องรอประมูลครั้งต่อๆไป

สรุปโดยรวมคือ คลื่นทั้ง 900, 1800, 2100 ในทางทฤษฏีแล้ว สามารถนำไปใช้กับเทคโนโลยีอะไรก็ได้ ที่ตัวส่งสัญญาณและตัวรับสัญญาณมีให้ใช้ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นที่คลื่น 900 ต้องทำ 2G เพราะ AIS ก็เคยเอาคลื่น 900 มาทำ 3G แล้ว

ดังนั้น หากสมมุติว่า คนที่ได้คลื่น 900 ไป แล้วเอาไปทำ 3G โดยลงเสาส่งสัญญาณได้เท่ากับที่ AIS เคยทำไว้กับ 2G คลื่น 900 พื้นที่ครอบคลุมก็ใกล้เคียงกัน (จริงๆคือไม่เท่ากันหรอก แต่เอาภาพง่ายๆคือก็ใกล้เคียงกัน)


-การใช้งาน อุปกรณ์ที่ใช้งานได้
อุปกรณ์ที่ใช้งานได้ ก็คือ ก็คืออุปกรณ์ที่ใช้งานได้ (คนอ่านมองค้อนแปล๊บ)
ก็คืออุปกรณ์ที่สามารถรับสัญญาณบนเทคโนโลยีนั้นๆได้ เพราะฉะนั้นลืมรูปร่างไปเลยครับ คิดถึงกล่องสี่เหลี่ยม ที่สามารถรับสัญญาณ 2G, 3G, 4G ได้ ดังนั้นรูปลักษณ์ภายนอกกับความสามารถอื่นๆมันแค่ส่วนเสริมในการเพิ่มมูลค่า

ถ้าต้องการแค่เพียงกดรับสายกับโทรออกเท่านั้น โทรศัพท์ที่ใช้เทคโนโลยี 3G แต่เป็นแค่ปุ่มกดธรรมดาก็มีครับ มือถือแบบ 3G ไม่จำเป็นจะต้องเป็นจอสัมผัสหรือสมาร์ทโฟนครับ เพียงแค่หาซื้อยากหน่อย เพราะภาพรวมตลาดไปทางสมาร์ทโฟน

มากกว่า แต่ถามว่าถ้าจะหาซื้อก็ไม่ได้หายากขนาดนั้น แค่ว่าคนส่วนใหญ่โดนมือถือจอสัมผัสและสมาร์ทโฟนบังไปหมดแล้ว


-ลักษณะการใช้งาน และแนวทางที่จะใช้งานได้
ไม่พูดถึงการรับสายและโทรออกนะครับ อันนั้นมันพื้นฐานของโทรศัพท์อยู่แล้ว ยิ่งถ้าแค่ใช้แบบปุ่มกดแล้ว(ต่อให้เป็นเครื่อง 3G) ก็นึกไม่ออกว่าจะใช้อะไรได้อีก นอกจาก MMS
ภาพรวมขนาดใหญ่ก็คือการส่งข้อมูล ข้อมูลในที่นี้เป็นได้ทั้ง ภาพ ตัวอักษร เสียง หรืออื่นๆเท่าที่คุณนึกออก และนักพัฒนาสามารถเขียนโปรแกรมหรือที่เรียกกันติดปากว่าแอ๊ฟ (aplication, app)

ตัวอย่างการใช้งาน
1. นั่งอยู่ริมทะเล กำลังพักร้อน แต่เจ้านายโทรมาบอกว่า ขอเอกสารด่วน (T-T กรูพักร้อนอยู่) ก็ควักมือถือขึ้น ปล่อย wifi ให้เครื่องโน๊ตบุ๊ค (อุ๊ยลืมโน๊ตบุ๊คไว้ที่ห้องพัก วิ่งไปเอาแป๊บ) แล้วส่งเอกสารให้หัวหน้าเลย
2. กำลังดื่มด่ำธรรมชาติอยู่บนเขา แล้วเสียงเมล์เข้ามา ควักมือถือขึ้นมาดู ว้าว! ลูกค้าตกลงเซ็นใบสั่งซื้อแล้ว สมมุติลูกค้าอยู่อัฟกานิสถาน เราก็ส่งเอกสารต่อไปให้ office เตรียมทำเรื่องส่งของไปให้ลูกค้าได้เลย (ลูกค้ามันสั่งซื้อไรหว่า)
3. กำลังนอนเบื่อๆ นั่งเผ่าลูกเล่นน้ำที่ส่วนน้ำ ไม่มีคนเมาท์มอย แล้วอยู๋ๆเพื่อนก็ส่ง Link เข้าเว็บมาให้ เป็นเรื่องของชาวบ้านให้เราเข้าไปเผือก (แน่ใจว่าหัวข้อนี้มีประโยชน์)
4. ไปนั่งดูแลระบบให้ลูกค้า แต่งานกองอยู่ที่ server ที่บริษัทอะ (T-T ลูกค้าไม่ยอมให้ใช้เน็ตร่วมด้วย) ทางเลือกตอนนั้น ถ้าไม่มี 3G/4G คงไม่มีงานส่งหัวหน้าแน่นอนละครับ


-เปรียบเทียบการใช้งานกับอินเตอร์เน็ตตามบ้าน และลักษณะการใช้งาน
เทคโนโลยีตั้งแต่ 0G (มีด้วยเหรอ?) 1G, 2G, 3G, 4G ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานภายนอก ใช้งานขณะมีการเคลื่อนที่ หรือพื้นที่ห่างไกล โดยเทคโนโลยีพวกนี้อาศัยคลื่นความถี่ในธรรมชาติ ซึ่งเป็นของที่มีจำกัด และไม่สามารถหาเพิ่มได้

ในช่วงความถี่เดียวกัน ดังนั้นเมื่อผู้ใช้งานมากจนถึงจุดหนึ่ง จะไม่สามารถขยายการใช้งานได้ จำเป็นต้องให้ผู้ใช้งาน ไปวิ่งรับส่งข้อมูลบนคลื่นความถี่อื่นๆ แต่จะเป็นความถี่ไหน ก็ต้องเป็นความถี่ที่มีอุปกรณ์รองรับ
และด้วยที่ตัวกลางในการรับส่งสัญญาณมีปริมาณจำกัด สุดท้ายจึงต้องจำกัดการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น
วิ่งช้าๆ แต่วิ่งได้ตลอด (เน็ตช้า, วิ่งที่ความเร็วเท่าเดิมตลอด, ไม่จำกัดปริมาณ, No FUP เพราะใช้ไม่จำกัด)
วิ่งเร็วๆ แต่จำกัดระยะทาง (เน็ตเร็ว, วิ่งที่ความเร็วเท่าเดิมตลอดปริมาณที่ใช้ได้, จำกัดปริมาณ, No FUP เพราะหมดคือหมด จ่ายเงินเพิ่ม)
วิ่งเร็วๆ แต่พอถึงระยะที่กำหนด โดนกำหนดความเร็ว (เน็ตเร็วตามปริมาณที่ได้, วิ่งที่ความเร็วเท่าเดิมตลอดปริมาณที่ตกลงไว้, ไม่จำกัดปริมาณ, FUP เมื่อครบตามปริมาณการใช้ที่ตกลง ความเร็วตก)

ในขณะที่การใช้งาน internet ตามบ้าน ไม่ว่าจะเป็น Dial Up, ADSL, FTTx, Docsis หรืออะไรทั้งหลายแหล่ ที่เป็นการลากสายสัญญาณมาหาคุณที่บ้าน มันเป็นเทคโนโลยี ที่ไม่ได้โดนจำกัดกับทรัพยากรณ์ที่มีจำกัด

ทันทีที่ผู้ให้บริการเห็นว่าสัญญาณไม่เพียงก็ลากสายเพิ่มได้เลย ไม่ได้ไปยุ่งอะไรกับคลื่นต่างๆในอากาศ แต่ถ้าผู้ให้บริการเห็นว่า ลากสายไม่คุ้ม อันนี้ก็ไม่รู็ว่าจะเอาอะไรไปบี้ให้เขาเอาสายมาลาก
ดังนั้น internet แบบนี้จะเป็นแบบใช้ไปเถอะไม่มีกำหนดปริมาณ แต่เรามาตกลงความเร็วในการใช้งานกันดีกว่า การใช้งานแบบนี้จะเหมาะกับญาติผู้ใหญ่ที่อยู่ที่บ้าน หรือผู้ที่อยู่บ้านเป็นส่วนใหญ่ คุณไม่ต้องมาเสียอารมณ์กับการที่ใช้เน็ตได้

จำกัดปริมาณ ว่าเน็ตจะหมด หรือเดี๋ยวมันจะช้า (แต่ถ้าใช้งานกันเยอะๆ มันก็ช้าได้นะ)

ดังนั้นในหัวข้อนี้ถ้าจะให้สรุปก็คือ
=> ถ้าคุณใช้ชีวิตนอกมากกว่า เทคโนโลยีไร้สายอย่าง 2G, 3G, 4G คือตัวเลือก
=> ถ้าคุณใช้ชีวิตในบ้านมากกว่า เทคโนโลยีมีสายแบบลากมาหาที่บ้านคือตัวเลือก เพราะมันจำกัดการใช้งาน ใช้ไปเลยทีเดียวทั้งเดือน แล้วมาเหมาจ่ายกันสิ้นเดือน


เรื่องที่ไม่เขียน
-พื้นที่ครอบคลุมของแต่ละเครือข่าย
-ราคาแพ๊คเกจ และการเลือกแพ๊คเกจ
ก็ไม่เขียนครับ




 

Create Date : 24 ธันวาคม 2558    
Last Update : 24 ธันวาคม 2558 14:49:38 น.
Counter : 942 Pageviews.  

Smart Phone กับคน Low Tech

Smart Phone กับคน Low Tech


บทความนี้เป็นความคิดของผมเพียงคนเดียว ไม่ได้มีการสำรวจหรือทำวิจัยอย่างเป็นระบบ เป็นการนั่งเทียนเขียนล้วนๆ


"อยากจะซื้อ Smart Phone ซักเครื่อง แต่เป็นคน Low Tech"
"เป็นคน Low Tech มากๆแต่ต้องใช้ Smart Phone"
"มี Smart Phone อยู่หนึ่งเครื่อง แต่ใช้ไม่เป็นเพราะเป็นคน Low Tech"

ผมเชื่อว่าคำถามเหล่านี้มีมาทุกวันและเป็นคำถามที่ PowerUser หรือเหล่า Geek ต้องตอบไม่เว้นแต่ละวันอย่างแน่นอน อะไรเป็นปัญหาให้ผู้ใช้งาน Low Tech ไม่สามารถใช้งานอุปกรณ์ที่มีความสามารถสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพกันละ...

ผู้ใหญ่มักจะบอกว่าซื้อมือถือให้เด็ก พอเด็กได้ไปไว้ในมือซักครึ่งชั่วโมงก็ใช้เป็นแล้ว แต่ผู้ใหญ่หลายคนถือมาหนึ่งเดือนแล้ว จะกดโทรออกแต่ละทียังลำบากเลย...

ผมว่าส่วนหนึ่งนั้นก็เพราะการใช้ความคิดมากกับน้อยครับ ผมไม่ได้ว่าว่าเด็กมีสมองดีกว่าผู้ใหญ่ เพราะเข้าใจระบบในทันที แต่ผมกลับมองว่า เพราะเด็กมีสมองที่ไม่ฉลาดเท่าผู้ใหญ่เลยใช้งานได้เร็วต่างหากครับ เพราะอะไรผมถึงคิดเช่นั้น

หลายครั้งคู่มือที่มากับอุปกรณ์ High Technology ก็ไม่มีภาษาไทย ซึ่งเด็กหลายคนร่วมไปถึงวัยรุ่นด้วย บางครั้งเขาไม่ต้องมานั่งแปลทุกคำ ไม่ต้องมาสนใจไวยกรณ์ และไม่ต้องเอา dictionary มาวางข้างๆตัวตอนอ่านคู่มือใช้งานด้วยซ้ำ(น้าผมต้องเปิด Dic แปลมันทุกคำ) แต่หลายๆคนก็ใช้งานได้ ทั้งที่เด็กๆหรือวัยรุ่นมากมายยังไม่เข้ามหาลัยเลยด้วยซ้ำ บางคนภาษาอังกฤษไม่แข็ง บางคนได้ศัพท์ง่ายๆแค่ไม่กี่คำ บางคนสอบ TOEFL มากกว่า 5 ครั้งเพื่อแค่ยืนขอจบ ป.ตรี(กรูนี่แหละหนึ่งคน) บางคนไม่ใช่นักศึกษาด้าน IT เลยด้วยซ้ำ แต่ก็สามารถใช้งานได้ อาจจะใช้ได้มากน้อยแล้วแต่ความสามารถ แต่ก็สามารถใช้ได้ แต่หลายๆคนที่บอกว่าตัวเอง Low Tech หลายครั้งยังถามขนาดที่ว่า "ปุ่มโทรออกอยู่ตรงไหน" -*-

จากความคิดของผมเพียงคนเดียว ผมคิดว่า หลายครั้งคุณคิดมากกันเกินไปรึป่าว หรือหลายครั้งที่ผมก็ไม่เข้าใจว่าทำไมถึงดูรูปภาพไม่ออก...
ยกตัวอย่างง่ายๆ ถ้าคุณคิดจะโทรออกไปหาใครซักคน ไม่ว่าจะ iPhone Android BB หรืออะไรก็แล้วแต่ อย่างน้อยคำสั่งโทรออกหรือเมนูนั้นมันต้องใช้สัญลักษณ์รูปโทรศัพท์นะแหละน่า หรืออาจใช้ชื่อเมนูอย่าง Phone, Call หรืออะไรเทือกๆนี้ บางครั้งเหตุการณ์อย่างนี้ก็ไม่เข้าใจว่าคน Low Tech กำลังหาอะไรอยู่เหมือนกัน

สิ่งที่ยอมรับได้อย่างเช่นการตั้งค่าสำหรับเล่นเน็ต ก็เข้าใจว่ามันมีคำศัพท์เฉพาะอยู่ในหน้านั้นยุบยับไปหมด หรือการใช้งานสูงๆก้คงต้องเพ่งเข้าไปที่คู่มือมากหน่อย แต่ก็ไม่ยากเกินไปหรอกครับ และที่สำคัญ อย่าตกใจกับคำเตือนใดใดที่ปรากฏขึ้นมา ใจเย็นๆ อ่านให้เข้า อย่าตกใจให้นิ้วกระตุกไปโดนปุ่ม Yes, No, OK โดยที่ยังไม่ได้อ่าน แต่ถ้ามันขึ้นแล้วหายไปอย่างเร็วก็ยอกมรับได้ว่าอ่านไม่ทัน โอเคๆ

เอาไว้จะมาบ่นใหม่




Free TextEditor




 

Create Date : 02 มิถุนายน 2554    
Last Update : 2 มิถุนายน 2554 13:49:41 น.
Counter : 590 Pageviews.  

เจอคนเล่น BB ที่ยังมีมารยาทอยู่

เรื่องของเรื่องคือ วันนีหลังจากเรียนเสร็จก็ปั่นจักรยานจากคณะกลับมาที่หอ กำลังปันมาดีดี สาวคันข้างหน้าก็หยุดจักรยาน แล้วก็พาจักรยานของเธอเข้าข้างทาง ผมที่อยู่ระยะใกล้ๆก็สงสัยว่าเป้นอะไรรึป่าว ก็เลยชะลอ คุณเธอคงคิดว่าตัวเองหยุดกระทันหันแล้วคันข้างหลัง(ผม)เสียหลักมั้งหันมาขอโทษใหญ่เลยครับ ผมก็เออออ ไม่ได้ว่าอะไร แต่ที่เห็นๆคือเธอพยายามเข้าข้างทางจนจะลงไปอยู๋ที่สนามหญ้าอยู่แล้วอะ เพื่ออะไรซักอย่างกับ BB ของเธอ...



จากที่เจอหลายๆคนมีปัญหากับสาว BB ว่าเล่นไม่รู้สถานที่ วันนี้ผมก็ได้เจอสาว BB ที่รู้ว่าควรทำตัวยังไง ไม่ใช่ปั่นไปเล่นไป



จบ



เขียนบล๊อคนี้ขึ้นมาทำไมเนี่ย






Free TextEditor




 

Create Date : 17 สิงหาคม 2553    
Last Update : 17 สิงหาคม 2553 14:33:15 น.
Counter : 556 Pageviews.  

TWZ BB97 มือถือไทย สไตล์ BlackBerry

ไม่เคยรีวิวมือถือมาก่อนเลยในชีวิต เป็นครั้งแรกที่รีวิวมือถือครับ ถ้าผิดพลาดประการใด ก็ขออภัย ณ ที่นี้ด้วย



เป็นมือถือที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ครับ TWZ BB97 ใช้มาได้ 2 สัปดาห์ กว่าๆ(ซื้อมาเมื่อ 26 มิถุนายน 2553) 





ตัวเครื่องและกล่องครับ


ความสามารถ


2sim


edge/gprs


Wifi


TV/radio/voice record/MP3


กล้อง 2 ล้าน


เขย่าเครื่องแล้ว เปลี่ยนเพลง/รูป/รายการทีวี


ตั้ง MP3 เป็นเสียงเรียกเข้าได้


ใส่ข้อมูลใน contact ได้เยอะดีครับ ทั้งเบอร์มือถือ เบอร์บ้าน อีเมล์ รูป และเสียงเรียกเข้าเฉพาะได้




ของที่มีมาในกล่องประกอบไปด้วย


ตัวเครื่อง(บอกทำไมเนี่ยรายการนี้)


แบ็ตสองก้อน


หูฟัง/small talk


สายชาร์ต


สาย USB


microSD 2GB


ซองซิลิโคน


คู่มือ/ใบรับประกัน


ของแถมพิเศษจากทางร้านคือใบเสร็จครับ



ทีวีก็ใช้ได้ครับ เล่นเพลงก็ดีครับแต่ MP3 เครื่องนี้เสียงดังไปหน่อย




เวลาคุยโทรศัพท์ก็เปิดเสียงออกลำโพงได้ปกติครับ



สรุปผลจากการใช้งานร่วมสองอาทิตย์


ข้อดี



  1. มีสองซิม ใช้กันให้มันไปเลย

  2. ต่อเน็ตได้มี Wifi

  3. สำคัญที่รูปร่างเหมือน BlackBerry เอาไว้ให้เพื่อนฮือฮาได้เวลาเอามาโชว์ครั้งแรก

  4. ความสามรถในการจดบันทึกลงปฏิทิน ทำให้ส่งการบ้านไม่ผิดวัน(เกี่ยวป่าวหว่า?)

  5. มีแอปแบบต่อเข้า Facebook ได้เลย(จริงก็คือแอปเล่นเว็บที่บังคับ url เป็น facebook)


ข้อเสีย



  1. หูฟังถ้าเอาไว้คุยโทรศัพท์ก็ถือว่าดีครับ แต่เอามาฟังเพลงไม่ดีเลย

  2. หูฟังเป้นสเตอริโอไม่ใช่เหรอครับ เพราะตอนฟังเพลงผมลองกับเพลง anime ที่แยกซ้ายขวาแบบชัดเจนเลย แต่ที่หูฟังไม่บอกว่าข้างไหนเป็นซ้ายเป็นขวา

  3. คู่มือให้มาเหมือนไม่ได้ให้มาเลยครับ รายละเอียดน้อยมากเมื่อเทียบกับ i-mobile 222 ของคุณแม่ที่ว่าเป็นมือถือที่ไม่มีอ๊อปชั่นอะไรเลย แต่คู่มือละเอียดกว่ามาก


หมดแล้วครับ


ขอจบแต่เพียงเท่านี้








Free TextEditor




 

Create Date : 12 กรกฎาคม 2553    
Last Update : 12 กรกฎาคม 2553 14:28:14 น.
Counter : 1137 Pageviews.  

CD Audio แผ่นแท้-ก๊อป กับคุณภาพเสียงที่ได้

CD Audio แผ่นแท้-ก๊อป กับคุณภาพเสียงที่ได้


เฮ่อๆๆ ช่วงนี้ห้องหว้ากอกับรัชดากำลังเดือดน้อยๆ กับเรื่อง CD Audio แท้กับแผ่นก๊อป(แผ่น ไรท์) เสียงที่ได้เหมือนกันหรือไม่ ผมก้ขอเกาะกระแสเขียนบล๊อกเรื่องนี้ไปเลยละกันฮ่าๆๆ


ก่อนอื่นเกริ่นๆเรื่องตัวผมเองซักนิดนะครับ ผมเริ่มชอบเครื่องเสียงด้วยเหตุผลที่ไม่ค่อยจะมีเหตุผลเท่าไหร่(หมายความว่างัยฟระ -_-) คือผมอยากได้เครื่องเล่น DVD ไว้ในห้องนอน ที่บ้านก็เลยบอกว่าไปหาข้อมูลมา ว่าเครื่องรุ่นไหนมีอะไรดี การทำงานของระบบเครื่อง การบันทึกข้อมูลแผ่น ระบบเสียง และอื่นๆแล้วเอารุ่นที่อยากได้มาเสนอ ตอนนั้นผมนี่แบบว่า เพิ่งอยู่ ม.2 เองนะ ให้โจทย์ยังกับว่าจะเข้าสอบวิศวะงั้นแหละ แต่จากเหตุการณ์นั้นก็ทำให้ผมชอบเครื่องเสียงมาจนทุกวันนี้ แต่ถามว่าถึงขนาดเป็นเซียนหูทอง ตาทิพย์รึป่าว? คำตอบคือไม่ครับ นอกจากเรื่องชอบเครื่องเสียงแล้ว ผมเองก็เคยเรียนเปียโนครับ เรียนตั้งแต่ ป.4 จนเข้าปีหนึ่งถึงหยุดเรียน ระหว่างเรียนผมก็ได้สอบเลื่อนขั้นด้วย และทำคะแนน B ถึง A เสมอ มีแต่อีคะแนนสอบฟังนี่แหละ ที่ได้แค่ C+ (ประมาณว่าคะแนนต่ำสุดที่เขาให้ผ่าน T-T ) แล้วตอนนี้ผมก็เรียน เกี่ยว IT และสนใจเครื่องเสียงเป็นความชอบส่วนตัว ผมขอใช้คำว่า "สนใจ" และ "ชอบ" นะครับ ไม่ขอใช้คำว่า"นัก เล่น"


กลับเข้าเนื้อหา

ความต่างกันระหว่างแผ่นแท้กับก๊อปในด้านของ คุณภาพเสียงนั้นผมจับไม่ได้หรอกครับว่าต่างกันขนาดไหน ขอบอกจากใจจริง เคยยอมเสียเงินซื้อแผ่น Mitsubishi Phono R มาไรท์ ก็หาความต่างไม่ได้ ว่าต่างกับยี่ห้ออื่นขนาดไหน แต่ก็ชอบแผ่นนี้เพราะดูแล้วแผ่นท่าทางจะไม่พังง่ายๆ อิอิ

ที่นี้เรามาหาเหตุผลของความแตกต่างของเสียง เริ่มตั้งแต่แผ่น ไปถึงเครื่องเล่น ถึงลำโพง จนเข้าหูคนฟังกันเลยดีกว่า


หมายเหตุ นี่คือการคาดการของผมเองนะครับ ถ้าตรงไหนมั่ว โปรดแจ้งด้วย


จากแผ่น

เราจะพบว่าแผ่นแต่ละยี่ห้อ แต่ละรุ่น ราคาต่างกัน จากถูกถึงโคตรแพง เพราะอะไร จากประสบการณ์ ผมคิดว่า อาจเป็นเพราะว่าแผ่นราคาถูกนั้นมีระบบทำลายข้อมูลแถมมาด้วย เมื่อเก็บข้อมูลเกินสามเดือน(เกี่ยว หรือฟระ!) ถ้าแผ่นแต่ละยี่ห้อมีคุณภาพไม่เหมือนกัน เช่นน้ำหนักของแผ่น อาจจะส่งผลต่อรอบการหมุนของมอเตอร์หมุนแผ่น(continue)

-จาก ข้อมูลที่คุยกันในกระทู้ต้นเรื่องของดราม่านี้ พบว่ามีการอ้างว่า มอเตอร์หมุนแผ่นมีการตรวจสอบความรอบการหมุนอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นผมว่านี่แหละเป็นอีกหนึ่งเหตุผลของการเกิด error เพราะต่อให้ระบบตรวจรอบความเร็วนั้นเทพขนาดไหน กว่าจะรู้ความเร็วปัจจุบันจนกระทั้งปรับควารมเร็วให้เป็นอย่างที่ควร มันต้องมีช่วงต่างของเวลา ผมว่าถ้าข้อมูลจะผิดก็น่าจะช่วงนี้


(continue)และ ถ้าหากการเกิด error นั้นมันไม่ได้ทำให้ช่องว่าระหว่างหลุมข้อมูลนั้นอยู่ห่างกันเกินกว่า ที่กำหนดในขอบเขตของการตรวจเช็ค error แผ่นนั้นก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร เพราะเมื่อข้อมูลทั้งหมดอยู่ภายในแผ่น เพียงแต่ว่าระยะห่างระหว่างหลุมข้อมูลอาจจะไม่ได้อยู่ตรงตามตำแหน่งเป๊ะๆ(continue)

-มี ความเป็นไปได้ไหมว่านี่อาจจะเป็นที่มาของ jitter จากแผ่น จริงๆแล้วในทางทฤษฏีมันเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว(แล้วกรูจะเขียนบรรทัดนี้ทำส้นติ๋งอะไร?) เออ... อีกอย่าง jitter มันคือสัญญาณนาฬิกาโว้ย ยิ่งไม่เกี่ยวเข้าไปใหญ่


(continue)เมื่อ ได้แผ่นออกมาแล้วก็โยนแผ่นเข้าเครื่องอ่าน CD Audio ซักเครื่อง(ให้สมมุติ ว่าแผ่นนี้ไม่มี error ระหว่างไรท์เลยนะครับ) จากตรงนี้แหละ ที่เราหาเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ได้บาง ถึงความแตกต่างของเสียง อย่างแรกเลย ข้อมูลที่อ่านได้จากแผ่นส่งไปที่ DAC ผมเชื่อว่าขั้นตอนการส่งข้อมูลดิจิตอลเข้า DAC คงยากที่จะเกิด error แต่ถ้าตัว DAC โดนรบกวนจากกระแสไฟฟ้าใดใด เช่นว่าคนออกแบบแผงวงจรดันเมาระหว่างออกแบบ แล้วตำแหน่งที่ตั้งของ DAC ดันง่ายต่อการถูกรบกวนจากกระแสไฟฟ้าหรือองค์ประกอบต่างๆละ ผมว่านั้นแหละคือจุดเริ่ม error ที่หนึ่ง(continue)

-ผม ไม่แน่ใจว่า DAC จะมีปัญหากับกระแสไฟฟ้าเหมือนกับตัว Microprocessor ที่เคยทำในแล็บตอนอยู่ปีสองรึป่าว ที่อาจารย์บอกว่าวางคร่อมน๊อตก็ดวกส์แล้ว ถ้าเหมือนกัน การออกแบบแผงวงจรและตำแหน่งวางไม่ดี อาจจะมีผลกระทบจากกระแสไฟฟ้าจากส่วนอื่นได้


(continue)ส่วน ข้อมูลอนาล๊อกหลังจากออกจาก DAC แล้วนั้นแหละ ระหว่างทางจาก DAC จนถึงขั้วสัญญาณที่ต่อสายสัญญาณ มันน่าจะกลายเป็นสัญญาณอนาล๊อคไปแล้ว(continue)

-ถ้า สัญญาณช่วงนี้ยังเป็นดิจิตอล เพื่อส่งออกทาง Coaxial, Optical, HDMI น่าจะยากแก่การ error


(continue)ถ้า สัญญาณอนาล๊อกช่วงนี้เน่า ก็อาจจะมีผลต่อเสียงที่ส่งผ่านทางสายสัญญาณได้ และยิ่งถ้าสายสัญญาณไม่มีคุณภาพ(ไม่ จำเป็นว่าสายเส้น 300 บาทจะห่วย) สัญญาณช่วงนี้ยิ่งเน่าเข้าไปใหญ่ แล้วยิ่งสัญญาณนี้ต้องวิ่งผ่าน reciever อีก เพื่อขยายเสียงส่งไปให้ลำโพง ตรงนี้ถ้า reciever ไม่ดี ผมคิดว่าสัญญาณน่าจะเพี้ยนได้อีก แล้วสายลำโพงถ้าไม่ดี(3000 อาจจะหลุด QC ได้นะเธอว์) ตรงนี้ก็เน่าแบบไม่ต้องสืบกันทีเดียว...



จากการวิเคระห์ของผม สรุปได้ว่า

หากผลมาจากแผ่น CD คือ

ความเร็วรอบไนการหมุนขณะเขียนแผ่น น่าจะมีผลที่สุด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นผมไม่สามารถฟังความแตกต่างจากแผ่นต่างยี่ห้อ และแผ่นก๊อปได้ จึงไม่สามารถยืนยันได้


หากผลมาจากอุปกรณ์ต่างๆ

มีหลายส่วนมากที่จะทำให้เกิดการผิดพลาดได้ ซึ่งผมพอจะฟังความแตกต่างระหว่างสายเงินและสายทองแดงได้ แต่ต้องมีความแตกต่างสูงในระดับหนึ่ง ถ้าความแตกต่างต่ำ อย่างที่เทพหูทองฟังออก อย่ามาคุยกับผม และผมเองก็ไม่มีงบมากพอจะไปซื้อสายแพงมาด้วย ดังนั้นทุกวันนี้เลยใช้เมตรละสามสิบบาท ซื้อที่ HI-FI Center



ปล. ชีวิตนี้กรูยากซื้อสายเทพราคาเป็นพันมาใช้บ้างโว้ย!




 

Create Date : 15 กุมภาพันธ์ 2553    
Last Update : 15 กุมภาพันธ์ 2553 19:39:29 น.
Counter : 649 Pageviews.  

1  2  

amameera
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add amameera's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.