ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน
Group Blog
 
All blogs
 

" เส้นทางขึ้น ภูกระดึง "

การเดินขึ้น ภูกระดึง



จากที่ทำการบ้านศรีฐาน

เสียค่าธรรมเนียม ค่ากางเต็นท์ตรงที่จอดรถสองแถวเดินตรงเข้า

ไปผ่านประชาสัมพันธ์ ตรงห้องหน้าห้องน้ำครับ แล้วไปชั่งของให้ลูกหาบ

ไปรับบัตรมาเขียนชื่อเราเอาไปติดกระเป๋า เราเก็บหางบัตรไว้รับของตอนถึง

ข้างบนภู มีเศษนิดหน่อยก็ให้ตี๊บ ลูกหาบไปเถอะครับ เรียบร้อย เราก็เริ่มขึ้นภูกัน


ช่วงแรก ทางจะชัน ไต่ระดับขึ้นไปเรื่อยๆ ช่วงนี้เป็นป่าเต็งรัง




มีบันได เป็นบางช่วง สลับกับป่าไผ่ เดินไปประมาณ 800 เมตร




ถึง ปางกกค่า จะมีที่ให้นั่งพัก เป็นป่าไผ่ (ถ้าเราเดินทางไปช่วงหน้าฝนป่าจะเขียว)

แต่ถ้าไป หน้าแล้ง จะเป็นฝุ่นดินลูกลัง อากาศแห้ง และร้อน




ช่วงนี้จะเหนื่อยมาก เพราะ เราเพิ่งเริ่มต้นการเดิน ร่างกายกำลังปรับสภาพ

แต่เดินไปได้ครึ่งทาง ถึงปางกกค่า ร่างกายจะปรับสภาพได้




จะเดินขึ้นสำบายแหล๋ว เพราะอีก 200 เมตร เราจะถึง ซำแฮก

ช่วง 200 เมตรสุด ท้ายจะชัน แต่มีบันไดให้เดิน ขึ้นสบาย





ณ ซำแฮก ป้ายบอกชื่อซำ อยู่ทางซ้ายมือ และทางขวามือจะเป็นจุดชมวิว




บริเวณนี้ มีลมพัดผ่าน เดินมาถึงแล้ว ได้ลมเย็นๆ ทำให้หายเหนื่อย

ร้านค้า มีทั้งสองฝั่ง ถ้ามาช่วงเทศกาลจะเยอะ แต่ถ้าไปช่วงโล

จะเหลือร้านค้า 3-5 ร้านทางด้าน ปลายๆซำ ที่นี้สามารถแวะกิง




แตงโมเย็น น้ำแข็ง น้ำอัดลม น้ำแข็งใส เอาแรงแล้วเดินต่อ

จากซำแฮกไปซำบอนทางช่วงแรกจะเดินทางราบ

แล้วเริ่มเป็นทาง ชันขึ้น เป็นป่าเต็งรัง ระยะทาง 700เมตร
ช่วงนี้จะมี

พวกกระเช้าสีดา กะเรกะร่อน และดอกกาฝากให้ชม




จากซำบอนไปซำกกกอก-พรานพร่านแป-ซำกกว่า-ซำกกไผ่

ระยะทางประมาณ 2 กิโล เป็นช่วงทางเดินที่ยาวที่สุด และไม่มีร้านค้า




แถมยังมีบันได แบบตัว Z ให้ปวดขาอีกด้วย ป่าก็เป็นแบบเบญจพันธุ์

ถ้ามาช่วงหน้าแล้ง ใบไผ่แห้ง ทำให้บรรยายกาศยิ่งร้อนเข้าไปอีก




แต่ถ้ามาหน้าฝน หรือปลายฝน ป่าจะเขียวขจี งดงามและเดินสำบาย

ถึงซำกกไผ่เสียทีที่นี้มีร้านค้า ขายของ

เหมือนกับที่ซำแฮก สามารถ แวะกิงน้ำแข็งใส และแตงโมเย็นๆเอาแรง




จากซำกกไผ่ไปซำกกโดน

ระยะทางประมาณ 400 เมตร ช่วงนี้ ทางชัน แบบบันได เดินลำบาก

แต่ป่า เป็น ป่าดิบทำให้เดินไม่ร้อน มีกล้วยไม้ดินให้ดู(กุมภา-เมษา)




และยังมีพวก ดอกเฒ่าหลังลาย ดอกไพร ดอกกระเจียว(หน้าฝน)

ถึงซำกกโดนแล้วคราบที่จุดสกัดซำกกโดน

จะมีต้นกุหลาบแดง อยู่สองต้น จะบานช่วงเดือน กุมภาพันธ์

มาช่วงอื่นไม่ได้เห็นครับ มีแต่ต้น เดินต่อไปนิดเดียวถึงร้านค้า มีห้องน้ำ




ล้างหน้าล้างตา ไปชมวิว ที่ด้านขวาของซำ ลมพัดเย็นสบายนั่งแล้วไม่ลุก

หรือจะกินข้าวกลางวันกันที่นี้ ถ้าบางคนหิวแล้ว เพราะเวลาก็จะราวๆเที่ยง(คนเดินช้า)




ที่เรียกซำกกโดน เพราะ ที่นี้มีต้นกระโดนขึ้นเยอะครับ แต่ตอนนี้เหลือสองต้น

จากซำกกโดนไปซำแคร่




ระยะทางประมาณ 500 เมตร ช่วงจะมีทางขึ้นช่วงแรกที่ออกจากกกโดน

และจะเดินทางราบไปเรื่อยจนถึง ซำแคร่เลยครับ ป่าเป็นป่าดิบ





อากาศเย็นสบาย ไม่ร้อน เป็นช่วงที่เดินสำบายที่สุดแล้วของการเดินขึ้น

มีดอกไม้ให้ชม เช่นกัน พวกข่า บุก และเอื้องน้ำต้น เฟิร์น

ถึงซำแคร่แล้วคราบเป็นซำสุดท้ายแล้วมีร้านค้า

สามารถ แวะกิงข้าวกลางวัน(คนเดินช้า) น้ำแข็งใส แดงโมเย็นๆ

พักเอาแรง กับทางช่วงสุดท้ายที่สูงชัน แหงนคอตั้งบ่าล่ะครับ




จากซำแคร่ไปหลังแป

ระยะทางประมาณ 1300 เมตรเป็นป่าดิบเขา อากาศเย็นสบาย

เดินไม่เหนื่อยแต่เมื่อยขาครับ เพราะทางชันมาก ขึ้นตลอดและเป็นหิน

ถ้ามาหน้าฝนจะลื่นมาก ระวังด้วยครับ จะมีพวก เฟิร์นก้านดำให้ดู

สิงโตต่างๆอีกเยอะ กล้วยไม้ดิน และองุ่นป่า และต้องขึ้นบันไดเหล็ก

อีก ประมาณ 6 อัน จะชันมาก ระวังด้วยครับ หมดบันไดเหล็ก

สองอันขนานกัน แสดงว่า ใกล้หลังแปแล้วครับ เดินอีกนิดเดียว เราก็ถึงแล้ว




ถึงหลังแปแล้ว ก็แวะพักก่อนน่ะครับ มีร้านขายน้ำของที่ทำการมาขาย

และมีห้องน้ำ ให้เขา สำหรับคนบ้าป้ายก็ไปถ่ายรูปเก็บไว้ครับ

สินสุดเสียที ช่วง 5 กิโลกว่าอันแสนเหนื่อย





 

Create Date : 01 กุมภาพันธ์ 2549    
Last Update : 19 มีนาคม 2551 22:57:24 น.
Counter : 6622 Pageviews.  

" การเดินทางไป ภูกระดึง และที่พัก "

ไปภูกระดึงได้ดังนี้จ้า



โดยรถไฟ

ขึ้นรถไฟที่หัวลำโพง ไปลงที่ขอนแก่น ถึงขอนแก่น ต่อรถประจำทาง(เมล์แดง)

1.ไปลงที่ผานกเค้า ถ้ามาถึงคำเกิน ให้นอนพักที่ร้านเจ๊ กิม หรือฝั่งตรงข้าม

แล้วตอนเช้าค่อย ตื่นแต่เช้า นั่งรถสองแถวไป ที่ทำการ(ราคาสองแถว 20 บาท/คน)

หรือ มาถึงนั่งสองแถว(ถ้ามี)ไปลง ที่ทำการ ถ้าเกิน บ่าย 2 ห้ามขึ้นก็นอนข้างล่างเลย

2.ลงที่หน้า อำเภอ ภูกระดึง เหมา มอไซต์ ไปลงที่ทำการ สามารถขึ้นได้ก่อนบ่ายสอง


โดยรถประจำทาง

รถประจำทางที่ หมอชิต มีของ บขส. แอร์เมืองเลย ชุมแพทัวร์ ฯลฯ

1.บขส. มีVIP.24ที่นั่ง, ป1 ,ป2 (360 นานแล้ว)

2.แอร์เมืองเลย ป1 ราคา 281(นานแล้ว)

ลงที่ผานกเค้า แอร์เมืองเลย ส่งหน้าร้านเจ๊กิม บขส. ลงฝั่งตรงข้าม

แล้วต่อรถสองแถวไปเหมือนวิธีแรก ราคา 20/คน ระยะทาง 15 กิโล

ถ้ามากันน้อยต้องเหมาไป ราคาประมาณ 100 บาท

การเดินทางจากจังหวัดอื่นๆ

จากทางภาคเหนือ

เชียงใหม่ เชียงราย แพร่ น่าน พะเยา ให้นั่งรถมาลง ขอนแก่น หรือ เมืองเลย แล้วตามข้อแรก

ตะวันออก

ให้นั่งรถหนองคาย ไปลงขอนแก่นครับ เช่นระยอง-หนองคาย จุดต่อรถจะอยู่ที่ ขอนแก่น

ตอนนี้มีรถ นครชัยข่นส่ง ออกที บขส. ระยอง วิ่ง ระยอง พัทยา ชล ออก 9.00,18.30,19.30 ครับ

ภาคใต้ ก็มาที่หมอชิตดีที่สุดครับ


การเดินทางกะให้มาถึง เช้าครับ เพราะเดินขึ้นตอนเช้าๆอากาศเย็นเดินสบาย

กะว่าออกจากหมอชิตประมาณ 23.00 น. ถึงผานกเค้า ประมาณ ตี 4-5


ขากลับก็มาขึ้นรถที่ ร้านเจ๊กิม ง่ายสุดครับ รถมีเที่ยวแรกบ่ายโมง เที่ยวสอง บ่ายสามโมง ช่วงเทศกาล

ลงรถแล้วจองตั๋วขากลับไว้เลยน่ะครับ



ไป ภูกระดึง ต้องเตรียมอะไรบ้าง

สิ่งที่ต้องคำนึง คือ เราจะไปภูกระดึงช่วงเดือนไหนครับ สรุปแบบคราวๆน่ะครับ

ถ้าไปช่วง เปิดภูฯ ตั้งแต่ 1 ตุลา จนถึง ต้นเดือน พฤศจิกา สิ่งที่ต้องเตรียม

1. ถุงกันทาก หาซื้อได้ทั่วไป ราคาประมาณ 50 บาท หรือไปซื้อเอาที่ อุทยานเลย

เพราะช่วงฝนยังตก พื้นแฉะ ทากมีเยอะครับไปทางไหน ก็จะเจอแต่ทาก

ยิ่งแถวๆห้องน้ำ จะเยอะเป็นพิเศษ ให้คอยระวังเวลาไปอาบน้ำ

ถุงกันทากจะใช้เมื่อเราเดินไป ชมน้ำตกครับ เพราะช่วงนี้ทากเยอะ

และเรามัวแต่สนใจกันเส้นทาง และน้ำตกไม่สนใจเท้าตัวเอง อาจโดนกัดได้

ส่วนบริเวณลานกางเต็นท์ หรือบ้านพักไม่จำเป็นต้องใส่ก็ได้ เราคอยระวังเอา

ทากมันไม่ใช่จะกัดกันได้ง่ายๆครับ กว่ามันจะกระดืบมาถึงเท้า เราก็รู้สึกตัวเเล้ว

2. กย. 15 หรือตะไคร้หอม (แบบฉีด ตามโลตัส บิกซีมีครับ) เอาติดตัวไปด้วย

เวลาโดนทากเกาะ ไม่ควรดึงมันออกโดยตรงเพราะจะทำให้แผลหายช้า

ใช้ตะไคร้หอมนี้แหละฉีดเข้าไป มันก็จะหลุดออกเอง หรือใช้ป้องกันตัว

ทาเท้าและขาไปก่อนเลยครับ รับรองมันไม่กล้ามาใกล้เลย

3. เสื้อกันฝนหรือร่ม ราคา 19 บาทที่โลตัสใช้ได้ครับ ช่วงนี้ยังมีฝนอยู่

ถ้าโชคดีเราจะเจอฝนตามทาง เอาติดเป้ไปด้วย

4.เป้ใบเล็ก ไว้สำหรับใส่ของไปเดิน ชมน้ำตกหรือริมผา เอาไว้ใส่น้ำดื่ม

ใส่ยา ใส่ ข้าวห่อ ใส่หัวใจคนอื่น อิอิอิ

ไปช่วง เดือน พฤศจิกา-ธันวา-มกรา

1.เสื้อยืดแขนยาว สำหรับใส่นอน หรือเดินเที่ยว ช่วงนี้อากาศ จะหนาวแล้ว

ต้องเตรียมเสื้อผ้าหนาๆไปด้วย อากาศช่วงกลางคืนอาจไม่หนาวมากแค่เย็นๆ

แต่ตอนเช้าจะหนาวมากครับ

2. ถุงมือ และถุงเท้าใส่นอน อันนี้เตรียมไปต่างหากน่ะครับไม่รวมกับใส่เที่ยว

เตรียมไปอย่างล่ะคู่ก็พอ ใส่ทั้งทริป มันไม่สกปรกเพราะเราใส่นอนเท่านั้น

3.ลิปมัน กันปากแตกเพราะโดนต่อย เอ้ยไม่ใช่ครับ ช่วงนี้อากาศแห้งมาก

4. ยาคล้ายกล้ามเนื้อ ช่วงเวลานี้ จะเป็นช่วงที่เหมาะแก่การไปชม

พระอาทิตย์ตกที่ผา หล่มสัก การเดินจะเป็นช่วงที่ยาวไกลอาจเป็นตะคิวได้

5. ไฟฉาย อย่าลืมเอาติดตัวไปด้วยเสมอ เพราะจะต้องมืดกลางทางแน่นอน

ไปช่วง กุมภา-พฤษภา

ช่วงนี้จะเริ่มมีฝนอีกครั้ง สิ่งที่ต้องเตรียมควรจัดแบบไปช่วงเปิดภู

เราจะได้เจอทากกันอีกแล้ว ทากมักมากับฝนเสมอ

การเลือก บ้านพักและโซนกางเต็นท์



ตามรูปเลยน่ะครับ ว่ากันเป็นโซนๆเลย

โซน A สีส้มทั้งหมดเลยครับ ช่วงนี้ทางอุทฯ จัดเป็นเต็นบ้าน ยกพื้น นอนกันได้หลายๆคน

ไม่ต้องกลัวทาก ไต่ขึ้นมา ยกเว้นมันติดมากับตัวเราอยู่ก่อนแล้ว อันนี้ก็ช่วยไม่ๆได้ครับ ลักษณะตามรูปครับ

โซนนี้จะไม่ไกลจากร้านอาหาร หรือห้องน้ำเท่าไหร่ เพราะห้องน้ำมีทางด้าน ตะวันออกอีก

และมีห้องน้ำตรงอาคารบริการ (ที่ชั่งน้ำหนัก) สะอาดใช้งานได้ดีครับ



ภาพจาก mercutery.multiply.com/ ผมไม่ชอบนอนแบบนี้เลยไม่ถ่ายเอาไว้


โซน B C D E F G โซนนี้ก็ ของอุทยานอีกแต่เป็นเต็นท์ แบบ หกคนนอนกางกับพื้นลายพราง

ทุกคนคงเคยเห็นกันแล้วไปที่ไหน ก็แบบนี้แหละครับ อยู่ตรงกางลานเลย จะดูเหมือนสลัมนิดๆ

คือจะกางแบบอัดๆกันสักหน่อย แต่ก็จะได้รู้จักเพื่อนข้างอีกหลายคนเลยแหละครับตามรูปครับ




ภาพจาก //www.hotelsguidethailand.com ผมก็ถ่ายไว้แหละแต่ขี้เกรียจหามันเป็นฟิล์ม

โซน H I J K L โซนนี้เป็นที่เอาไปกางกันเอง ก็จะมีสีสันหน่อยแล้วแต่สีของใคร และะมีทำกับข้าวกันบ้าง

เช้าก็มีกลิ่นกาแฟ ลอยมาให้ชื่นใจสำหรับคนคอกาแฟ ตรง I L K จะมีสนใหญ่อยู่ 5-6 ต้น

พอเป็นร่มเงายามบ่ายได้ แต่ไม่ควรไปกางใต้ต้นสน เพราะยางสนจะหล่นใส่ ล้างไม่ออก

ควรกาง ตามรัศมี การบังแสงของสนจะดีที่สุดครับ

โซน M N O Pโซนนี้จะใกล้ร้านค้าสักหน่อย แต่ก็สะดวกมากๆ ทั้งเรื่องกิน ห้องน้ำไม่เดินไกล

ตรง M นี้มีสนใหญ่ 3 ต้น กวางชอบมานอน อยู่หน้าร้านเจ้กิม N มรสน 2-3 ต้น ทำเลจะดีมากๆ

O นี้ก็ทำเลดีมีสนบังร่มเยอะ ตรงหน้าร้านขายของที่ระลึกสนเล็กเป็นดง ด้านใต้ก็สนเป็นทิวตามทางเดิน

แต่โซนนี้ค่ำ ร้านขายของจะตั้งโต๊ะ หมูย่างเกาหลี จึงไม่คือจะสงบเท่าที่ควร(ช่วงเทศกาล)

แต่ถ้าช่วงคนน้อยๆก็เป็นโซนที่ เวิร์คเช่นกัน

P ก็ดีน่ะ แต่ต้องฝั่งที่ติด N ถ้าไปทางห้องน้ำแล้วจะไม่ค่อยดี คนผ่านตลอด

โซน Q R ปกติโซนนี้จะไม่มีใครไปนอนครับ เพราะมันเป็นทางลาดลงไปใกล้ห้องน้ำ

โซน S T U V แถวนี้ก็น้อยคนที่จะไปนอน เพราะไกลผู้คน โชคดีหน่อยก็ช้างป่าเข้าหาอีก

เมื่อก่อนตรงนี้เป็นที่ตั้งบ้าน สนูบปี๊ ตอนนี้ก็ยังพอมีอยู่บ้าง แต่ผุ ไปเกือบหมดแล้ว

เลือกบ้านพัก



ตามภาพเลยครับ บ้าน 104-110 ทำเลตรงนี้จะเหมามาก แต่ขนาดบ้านจะเล็กสักหน่อย

ทางเดินสะดวก ใกล้ร้านค้า ตั้งอยู่ใจกลางที่ทำการ จะไปน้ำตก หรือผาได้สำบาย

บ้าน 102-103 กุหลาบขาว กุหลาบแดง หลังใหญ่หน่อย รองรับนักท่องเที่ยวได้เยอะ มีก่อนมีตำนานบ้านนี้

เดี๋ยวนี้ทำใหม่แล้ว สวยเชียว

บ้าน 111-116 อันนี้อยู่ไกลสักหน่อย ไกลผู้คน ถ้ามากันเยอะๆจะเหมามาก แต่ถ้ามาน้อยจะเหงา

ยิ่งช่วงโลๆ หมาไนเข้าหาได้เลย 555 มันอยู่ในป่าครับ เดินไกลด้วย จะมีคนมานอนก็ช่วงเทศกาลที่บ้านด้านบนเต็ม

ยกเว้นหลัง 111 ก็ยังโออยู่

บ้าน 117-118 อันนี้ไม่ทราบได้ เพราะไม่ผ่านเข้าไปสำรวจเลย เห็นแต่เจ้าหน้าที่อยู่

คงจะพอเป็นแนวทางในการตัดสินใจได้บ้างครับ


มาว่ากันเรื่องเดินน้ำตก ไม่ให้โดนทากกัดดีกว่าครับ

ถ้าเราไปกันเป็นหมู่คณะ การเดินอยู่ในลำดับที่ 3หรือ4 ของคณะจะดีที่สุด

เพราะอะไรนั้นหรือครับ เพราะ ทากจะมีประสาทไว้ต่อการเคลื่อนไหว

แต่มันจะเดินทางมาถึงจุดนั้นช้า การเดินไปคนแรกจะเป็นคนส่งสัญญาให้ทากรู้

พอคนที่ 2,3และ4 เดินก็เป็นช่วงที่มันกำลังคืบคานมาหาพอดีแต่ยังไม่ถึง

เมื่อมันมาถึง ก็จะเจอกับคนที่เดินมาอันดับที่ 5 ส่วนตัวที่อยู่ใกล้มันก็เกาะคนที่ 2

แล้วมัยเราไม่เดินเป็นคน แรกเสียเลย จะได้ไม่โดน แต่เราจะวิ่งหนีได้ช้ากว่าเพื่อน

ยิ่งช่วงหลายปีมานี้ ช้างป่าออกอาละวาด คนแรกเจอก็โกยแล้ว เราคนกลางโกยได้ดีกว่า

แล้วทำไม่ไม่เดินคนสุดท้ายเสียเลย มันก็ดี ถ้าเราเป็นคนคุ้นเส้นทางแล้ว

แต่ถ้าเราไม่เคยไปมาก่อน อาจจะพลัดกับเพื่อนร่วมทางได้ยิ่งถ้าเราเดินช้า

มีหวังพวกทิ้งแน่นอนครับ

ถ้าเราเจอช้างเข้าจริงๆจะทำอย่างไรดี ก็โกยให้เร็วที่สุดครับ แต่

อย่าวิ่งเป็นเส้นตรงน่ะครับ ช้างวิ่งเป็นเส้นตรงได้เร็วมากเราควรวิ่งซิกแซกไปมา(ถ้ามันตามน่ะ)

แต่หันมามองแล้วมันไม่ตามก็ โกยตามทางแหละครับ อย่าเข้าป่าเดี๋ยวหาทางกลับไม่เจอ




 

Create Date : 31 มกราคม 2549    
Last Update : 19 พฤศจิกายน 2553 1:49:22 น.
Counter : 32858 Pageviews.  

" ตำนาน..... ภูกระดึง "

ตามตำนานกล่าวว่า มีพรานผู้หนึ่งตามล่ากระทิงโทนขึ้นไปจน

ถึงบนยอดภูเขาลูกหนึ่ง ในเขตตำบลศรีฐาน ได้พบพื้นที่

บนยอดเขาราบเรียบ และกว้างใหญ่มากเป็นทุ่งหญ้าสลับ

กับป่าสน มีต้นไม้ขึ้นอยู่อย่างเรียงรายเป็นระเบียบ และยัง

เต็มไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด เช่น ช้างป่า, ฝูงกระทิง, เก้ง,

กวาง ซึ่งหากินอยู่เป็นฝูงๆ ไม่ตระหนกตื่นกลัวนายพราน

เนื่องจากไม่เคยเห็นคนมาก่อน นับตั้งแต่นั้นมาภูกระดึงซึ่ง

ธรรมชาติได้ปิดบังซ่อนเร้นมานาน ก็ถูกเปิดเผยให้มนุษย์รู้จัก

จากการเล่าลือกันมาแต่โบราณว่า

มีผู้ได้ยินเสียงระฆังของพระอินทร์ที่อยู่บนเขานี้ ดังนั้นจึง

ให้ชื่อว่า ภูกระดึง หรือภูกะดึง เพราะคำว่า " ภู "

หมายถึง " ภูเขา " และ " กระดึง " มาจาก " กระดิ่ง "

ภาษาพื้นเมืองจังหวัดเลยแปลว่า " ระฆังใหญ่ "

นอกจากนี้เมื่อขึ้นไปบนยอดเขาบางส่วน หากเดินหนักๆ

หรือใช้ไม้กระทุ้งก็จะมีเสียงก้องคล้ายระฆัง ซึ่งเกิดจาก

โพรงข้างใต้ จึงได้รับขนานนามว่า " ภูกระดึง "



คุณหมอ Kerr หนึ่งในชาวต่างชาติผู้พิชิตภูกระดึงเป็นพวกแรก

Dr. A. F. G. Kerr(Arthur Francis George Kerr)หมอไอริช -นักพฤกษศาตร์

นอกจาก นายพราน" ตามตำนานเล่าขานที่ตามกระทิงขึ้นภูกระดึงแล้ว

หนึ่งในบุคคลกลุ่มแรก ๆ ที่ได้ขึ้นไปสำรวจภูกระดึง

(หรือน่าจะเป็นชาวต่างชาติคนแรกด้วยซ้ำ)

Dr. A. F. G. Kerr ที่ได้ขึ้นไปสำรวจ และเก็บตัวอย่าง

พรรณไม้แห้งบนภูกระดึง ในอดีต ซึ่งคงน่าสนใจไม่น้อย

เพราะ พืชพันธุ์บนภูมีความแตกต่างจากต้นไม้บนพื้นราบ

รอบข้างอย่างชัดเจนเพราะเป็นพืชประเภทสน ที่อยู่ใน

เขตอบอุ่นหรือเมืองหนาว

การสำรวจคราวนั้นจะเป็นเมื่อปีพ.ศ.ใดไม่ทราบชัด

แต่ในหนังสือ "ป่าไม้และพรรณพฤกษชาติ ภูกระดึง"

ของคุณ ธวัชชัย สันติสุขผู้อำนวยการส่วนพฤกษศาตร์

ป่าไม้ นั้นระบุว่าน่าจะเป็นสมัยก่อนหน้าปี 2463

ก่อนหน้าการสร้างพระพุทธเมตตาบนภูกระดึง

เส้นทางที่ใช้ก็ขึ้นจากบริเวณบ้านศรีฐาน

อันที่จริง Dr. A. F. G. Kerr เดิมทีเป็นนายแพทย์ชาวไอร์แลนด์

ที่รับราชการอยู่กับรัฐบาลไทยต่อมาได้หันความสนใจ

มาสู่เรื่องพันธุ์พืชในประเทศไทย และหันมารับราชการ

เป็นนักพฤกษศาตร์ จนเป็นหัวหน้ากองตรวจพันธุ์รุกขชาติ

กระทรวงพาณิชย์(ในสมัยนั้นสังกัดกระทรวงพาณิชย์)

จากการค้นคว้าเพิ่มเติมจากอินเทอร์เน็ต พบว่า คุณหมอท่านนี้

ยังเป็นนักพฤกษศาตร์คนสำคัญของประเทศไทย และมีชื่อเสียง

เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ได้เก็บตัวอย่างพืชพันธุ์

กว่า 2 หมื่นชนิดในไทย ในระหว่างการทำงานในช่วงปี 1902- 1932

คุณหมอ Kerr หนึ่งในชาวต่างชาติผู้พิชิตภูกระดึงเป็นพวกแรก

ภาพจากเว็บไซต์ภาคภาษาอังกฤษของกรมป่าไม้ตัวอย่างความสำคัญ

ของคุณหมอจะเห็นได้จาก พันธ์ไม้ตระกูลบัวผุ(Raffiesia)

ที่พบในประเทศไทยได้รับการตั้งชื่อเป็นพันธ์ของโลก

ในปี พ.ศ.2527 ว่า Raffiesia Kerrti Meijer โดยDr.M.Meijer

จากมหาวิทยาลัย Kentucky ประเทศอเมริกา โดยตั้งชื่อ

พฤกษศาสตร์สากลเพื่อเป็นเกียรติแก่ Dr.A.F.G.Kerrนายแพทย์ไอริช

ผู้สำรวจพันธ์ไม้ชนิดนี้เป็นครั้งแรกในเมืองไทยเมื่อปี พ.ศ. 2472

ภูกระดึง เป็นที่รู้จักกันมานาน

ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6

สมุหเทศาภิบาล ( พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม )

ได้ทำรายงานสภาพภูมิศาสตร์เสนอต่อกระทรวงมหาดไทย

และต่อมาในปี พ.ศ. 2463 นายอำเภอวังสะพุง

ซึ่งปกครองท้องที่เขตภูกระดึงในขณะนั้นได้ขึ้นไปสร้าง

พระพุทธรูปไว้บนยอดเขาภูกระดึงองค์หนึ่ง ในปี พ.ศ. 2486

ทางราชการได้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดป่าภูกระดึง

ให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ และกรมป่าไม้เริ่มดำเนินการ

สำรวจเพื่อจัดตั้งอุทยานแห่งชาติขึ้นที่ภูกระดึง จังหวัดเลย เป็นแห่งแรก

แต่เนื่องจากขาดแคลนงบประมาณและเจ้าหน้าที่

จึงได้ดำเนินการไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

จากที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2502

ให้กำหนดป่าภูกระดึง จังหวัดเลย และป่าอื่นๆ

ในท้องที่จังหวัดต่างๆ รวม 14 ป่าเป็นอุทยานแห่งชาติ

เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเอาไว้เป็นการถาวรเพื่อประโยชน์

กรมป่าไม้ได้เสนอจัดตั้งป่าภูกระดึงให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามความในมาตรา 6

แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504

โดยมีพระราชกฤษฎีกากำหนดป่าภูกระดึงในท้องที่ตำบลศรีฐาน

กิ่งอำเภอภูกระดึง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย เป็นอุทยานแห่งชาติ

ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 79 ตอนที่ 104

ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505 เนื้อที่ 217,581 ไร่

นับเป็น อุทยานแห่งชาติลำดับที่ 2 ของประเทศไทย


ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2520


อนุมัติหลักการให้ดำเนินการเพิกถอนอุทยานแห่งชาติ

ในส่วนที่กองทัพอากาศขอใช้ประโยชน์ ตั้งเป็นสถานี

ถ่ายทอดโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์ในราชการทหาร เนื้อที่ประมาณ 5 ไร่

กรมป่าไม้จึงได้ดำเนินการขอเพิกถอนที่ดินดังกล่าว

โดยได้มีพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนอุทยานแห่งชาติภูกระดึง

บางส่วนในท้องที่ตำบลศรีฐาน อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย พ.ศ. 2521

ปัจจุบันอุทยานแห่งชาติภูกระดึงมีเนื้อที่ประมาณ217,576.25 ไร่


ข้อมูลอื่นๆ อยู่เมนูด้านขวามือที่All Blogs ครับ





 

Create Date : 28 มกราคม 2549    
Last Update : 23 มกราคม 2552 23:40:04 น.
Counter : 2215 Pageviews.  

1  2  3  

นาย วิท
Location :
ระยอง Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




สวัสดีครับ blog นี้นำเสนอสถานที่ท่องเที่ยว และข้อมูลเล็กๆที่ ข้าพเจ้าชอบ
เพื่อจะเป็นแนวทางให้บุคคลทั่วไปได้เอาไปใช้บ้างครับ
Friends' blogs
[Add นาย วิท's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.