Jasmine Revolution : ปฏิวัติดอกมะลิ
บทความนี้เป็นของคุณ paeyim จาก IF ค่ะ ต้องขอขอบคุณมากๆๆๆ

นี่ลอกเข้ามาทั้งหมดเลยนะเนี่ย

%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%

“People Power Revolution - การปฏิวัติของประชาชน” ในตูนีเซีย และอียิปต์ ได้ทำให้ ซีนอับ อาบิดีน เบนอาลี และ ฮอสนี มูบารัก ต้องสิ้นสุดอำนาจหลังจากที่ครองความยิ่งใหญ่ในประเทศมานาน ทำให้เกิดโดมิโนอีกหลายประเทศตามมา เป็นเหตุการณ์ที่ทำชาวโลกกำลังจับตามองอย่างระมัดระวังตัว โดยเฉพาะประเทศเผด็จการที่ผู้ปกครองต่างพากันจ้องประชาชนของตนอย่างชนิดกระสับกระส่า​ย หวาดกลัว และตาไม่กระพริบ

วิถีความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันอย่างมากระหว่างชนชั้นนำของสังคม สภาพเศรษฐกิจที่อยู่ในภาวะข้าวยากหมากแพง อัตราว่างงานที่พุ่งสูงนั้นดูจะเป็น “ระเบิดเวลา” ที่วางซ่อนไว้ในสังคมโลกอาหรับและแอฟริกามานาน ในตูนีเซียมันเกิดการประทุของ “ภูเขาไฟแห่งการปฏิวัติประชาชน” เมื่อ โมฮัมเหม็ด บูอาซีซี นักศึกษาตกงานวัย 27 ปี ถูกตำรวจเข้ายึดรถเข็นขายผักผลไม้ของเขาไป เขาคับแค้นใจจนตัดสินใจจุดไฟเผาตัวเองเพื่อประท้วง ไฟที่เขาจุดเผาตัวเองนั้นได้กลายเป็นเปลวเพลิงที่ลุกไหม้โชนขึ้นในใจของประชาชนชาวตู​นีเซีย พวกเขาตื่นจากหลับใหลรวมตัวประท้วงครั้งใหญ่จนในที่สุด เบนอาลี เผด็จการที่ปกครองอำนาจมายาวนานถึง 23 ปี ตั้งแต่ทำรัฐประหารเมื่อปี 2530 ต้องยอมสละอำนาจไป

สะเก็ดไฟจากชัยชนะของประชาชนชาวตูนีเซีย ได้ลอยไปตกในอียิปต์ ลุกโพลงจนกลายเป็นเพลิงปฏิวัติขับไล่ ฮอสนี มูบารัก จนทำให้ประธานาธิบดีที่ผูกขาดอำนาจปกครองมาอย่างยาวนานถึงกว่า 30 ปี ต้องยอมลงจากบัลลังก์ที่ปกครองดินแดนสืบต่ออำนาจมาจากฟาโรห์ ภายในเวลาเพียง 18 วันเท่านั้น ซึ่งแน่นอนว่าส่วนหนึ่งนั้นก็เพราะมีแรงกดดันมาจากชาติตะวันตกด้วย

แต่ที่น่าสนใจซึ่งประชาคมโลกทั่วไป และพวกผู้ปกครองเผด็จการที่ต่างปกครองประเทศมาอย่างยาวนาน ทั้งจากวิธีการโกงการเลือกตั้ง และการมอมเมาโฆษณาหลอกลวงประชาชน นั้น กลับกลายเป็นว่ามันไม่ใช่เรื่องจุดสิ้นสุดของเผด็จการของทั้งสองประเทศนี้ แต่มันเป็น “จุดเริ่มต้น” ของกระแสการปฏิวัติประชาชนต่างหาก สังเกตได้จากการเคลื่อนไหวของมวลชนเพื่อโค่นอำนาจ หรือกดดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในประเทศของตนได้เกิดขึ้นมาอย่างแพร่หลายแล​ะรวดเร็วเอาอย่าง ระบบอินเตอร์เน็ตมีส่วนสำคัญที่ก่อให้เกิดคลื่นสินามิปฏิวัติประชาชนทุ่มโถมกระหน่ำใ​ส่ชายฝั่งของหลายประเทศที่เป็นเผด็จการ

เฉพาะรายล่าสุดที่กำลังต่อสู้ดิ้นรนเป็นเฮือกสุดท้ายอย่าง โมอัมมาร์ กัดดาฟี ผู้นำลิเบีย วัย 68 ปี ซึ่งครองอำนาจมานานถึง 42 ปี ปรากฏว่าอำนาจของเขาสั่นคลอนอย่างหนัก รัฐมนตรีพากันลาออก ผู้ประท้วงเข้ายึดเมืองต่างๆได้สำเร็จ ชาติตะวันตกได้ส่งกองกำลังเข้าโจมตีช่วยเหลือประชาชน กดดันจนกัดดาฟีจนกระดาน ทริโปลี น่าจะเป็นหลุมฝังศพของกัดดาฟีอย่างแน่นอนหากเขายังดันทุรังดิ้นรนต่อไป

ในแอฟริกา ผู้นำเผด็จการกว่า 10 ราย พากันหนาวๆ ร้อนๆ โฮเซ่ เอดูอาร์โด โดส ซานโตส แห่งแองโกล่า ซึ่งปกครองประเทศมานานกว่า 31 ปี กับ นายกรัฐมนตรีโรเบิร์ต มูกาเบ ที่ปกครองซิมบับเว มาตั้งแต่ปี 2523 ต่างวิ่งแข่งกันขึ้นแท่นในการตกเป็น “รายต่อไป” ในมุมมองของนักวิเคราะห์การเมืองและทัศนะของชาติตะวันตก

สำหรับระบอบกษัตริย์ของหลายประเทศในกลุ่มโลกอาหรับก็หนีไม่พ้นสินามิปฏิวัติประชาชนล​ูกนี้ เช่น ซาอุดิอาระเบีย ซึ่งเริ่มจากมีเหล่าปัญญาชนและนักรณรงค์มากกว่า 100 คน รวมตัวกันเรียกร้องให้กษัตริย์อับดุลเลาะห์ ทำการปฏิรูปประเทศครั้งใหญ่ และสละพระราชอำนาจ ส่วนในโอมาน และ บาห์เรน กระแสก็ก่อตัวขึ้นอย่างรุนแรงเช่นกัน โดยเฉพาะในบาห์เรน กระแสการประท้วงได้เบี่ยงประเด็นจากการเลือกปฏิบัติระหว่างผู้ปกครองที่เป็นมุสลิมกล​ุ่มน้อยนิกายซุนนี ที่ปกครองประเทศมากว่า 2 ศตวรรษต่อชาวชีอะห์ ซึ่งเป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศมาเป็นความพยายามให้เกิดการปฏิรูปประเทศ และต่อต้านกษัตริย์อาหมัด บินอิซา อัล คาลิฟา

ในเอเชีย “Jasmine Revolution” ดอกมะลิเริ่มเบ่งบานขึ้นแล้วในอินเดีย และ บังคลาเทศ เริ่มมีการรวมตัวของชนชั้นแรงงานและผู้มีรายได้น้อยราว 8 แสน ถึง 1 ล้านคน เกิดขึ้น พวกเขาโจมตีการทำงานของ มานโมฮัน ซิงห์ ซึ่งประสบความล้มเหลวในการควบคุมเงินเฟ้อ ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางรายได้ และปัญหาคอร์รัปชั่น แนวโน้มการเคลื่อนไหววเรียกร้องประชาธิปไตยเคลื่อนตัวเข้าไปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียกลาง อย่างช่วยไม่ได้ ฟิลิปปินส์ กับพม่า สองประเทศนี้มีประสบการณ์เรื่องการประท้วงอย่างรุนแรงมาแล้วหลายครั้ง โดยเฉพาะพม่า ซึ่งมีรัฐบาลทหารของ “นายพลตัน ฉ่วย” ที่ได้จัดวางตัว “นายพลเต็ง เส่ง” ให้เป็นผู้กุมอำนาจคนต่อไป ได้ประสบกับการประท้วงที่รุนแรงมาแล้วหลายครั้ง โดยเฉพาะครั้งสุดท้ายเมื่อเดือนสิงหาคม 2550 ซึ่งนำโดย พระสงฆ์ แม่ชี นักศึกษา และประชาชน

ในกัมพูชา สมเด็จฮุน เซน เป็นผู้นำที่ปกครองประเทศมายาวนานถึง 28 ปี มีข้อมูลจากเวปไซต์ บิสซิเนส อินไซเดอร์ ตีแผ่ระบุว่า 66 % ของชาวกัมพูชาไม่รู้จักผู้นำคนอื่นนอกจาก สมเด็จฮุน เซน มีผลสำรวจจาก Asian Barometer (ABS) ระบุว่า กัมพูชาเป็นรัฐเผด็จการแบบอำนาจนิยม เอเอฟพี รายงานโดยอ้างความเห็นของนาย ชยา ฮัง ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อประชาธิปไตยกัมพูชา ซึ่งเชื่อว่า สมเด็จฮุน เซน พยายามรวบอำนาจ และวางตัวทายาททางอำนาจคือลูกชาย “ฮุน มาเนต” ซึ่งเขามองว่าสถานการณ์ไม่แตกต่างจากเกาหลีเหนือ ที่ประธานาธิบดี “คิม จอง อิล” โปรโมต “คิม จอง อุน” บุตรชายคนสุดท้อง

ในแผ่นดินจีน “มังกรเอเชีย” กำลังรู้สึกแสบคันใต้เกล็ดอันแข็งแกร่ง เมื่อปรากฏการณ์ปฏิวัติประชาชนได้ก่อตัวเกิดขึ้นแล้ว จีนจึงเริ่มจัดการบล็อคการเข้าถึงเวปไซต์ social networks ต่างๆ รวมทั้ง facebook หรือ twitter เพราะพบว่ามีการแพร่กระจายของบางกลุ่มที่พยายามปลุกเร้าให้ประชาชนจีนรวมตัวกันใน 13 หัวเมืองใหญ่ “การปฏิวัติดอกมะลิของชาวจีน หรือ Chinese Jasmine Revolution นั้นมีผลมาจากการว่างงาน ความต้องการอาหารและที่อยู่อาศัย รวมทั้งการต้องการให้มีการปฏิรูปการเมือง และการยุติการเซ็นเซอร์สื่อมวลชน เนื่องจากมีหลายต่อหลายครั้งในการใช้อินเตอร์เน็ตของชาวจีนถูก “บุคคลนิรนาม” โจรกรรมข้อมูล

ปฏิวัติดอกมะลิ หรือ Jasmine Revolution เป็นคำซึ่งยืมมาจากการปฏิวัติที่สำเร็จในตูนีเซีย ทางการจีนได้จัดการบล็อคคำคำนี้ทั้งใน twitter และ search engines รวมทั้งระบบส่งข้อความของโทรศัพท์มือถือเนื่องจากความหวาดกลัวถ้อยคำ ตามย่านการค้ามีการวางกำลังตำรวจหลายร้อยนายไว้สอดส่องการก่อตัวทั้งที่ยังไม่ปรากฏว​่ามีผู้ใดเป็นแกนนำ คนจีนส่วนน้อยเท่านั้นที่จะได้มีโอกาสใช้อินเตอร์เน็ต ส่วนพรรคคอมมิวนิสต์จีนนั้นก็ยังใช้อำนาจในการเซ็นเซอร์และบล็อคเวปไซต์ที่มีเนื้อหา​ต่อต้านระบอบการปกครอง จนถึงขณะนี้ยังไม่มีรายงานข่าวจำนวนผู้ประท้วงในจีน และการตอบโต้ของรัฐบาลจีน แต่รัฐบาลจีนกำลังกังวลต่อปรากฏการณ์การประท้วงที่มีเป้าหมายล้มล้างระบอบการปกครองแ​บบเผด็จการ ที่กำลังแพร่ขยายในตะวันออกกลาง

นาย Tang Jitian กับนาย Jiang Tianyong นักกฎหมาย 2 ราย ได้หายตัวไป ภายหลังจากมีการชุมนุมกันระหว่างนักกฎหมายกว่า 10 คน และกลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสิทธิเมื่อไม่นานมานี้ ในการชุมนุมคราวนั้นผู้ชุมนุมต่างพากันร้องตะโกนคำว่า “เราต้องการอาหาร เราต้องการทำงาน เราต้องการบ้าน เราต้องการความยุติธรรม” ประธานาธิบดีหู จิ่น เทา ของจีน ได้เรียกประชุมกลุ่มผู้นำอย่างเร่งด่วนพร้อมร่วมหารือถึงปัญหาที่กำลังเผชิญก่อนที่จ​ะกลายเป็นสิ่งคุกคามเสถียรภาพของประเทศ พวกเขาพยายามคิดขยายและสร้างนวัตกรรมจัดการสังคมโดยการกระตุ้นและเพิ่มพูนช่องทางในก​ารทำให้สังคมจีนมีความกลมเกลียว และลดปัจจัยที่ทำให้สังคมแตกแยก

รัฐบาลจีนอึดอัดมากขึ้นเมื่อเกิดคลื่นประท้วงในตะวันออกกลาง มีการตรวจเซ็นเซอร์อย่างหนัก ปิดกั้นการรายงานของสื่อมวลชน การพูดคุยนินทาทางสื่อออนไลน์ที่เกี่ยวกับการโค่นประธานาธิบดี 2 ประเทศคือ ตูนีเซีย และอียิปต์ “การชุมนุมดอกมะลิ” เมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมาถือว่าเป็นการลอกเลียน “การประท้วงดอกมะลิ” ของตูนีเซียต้นแบบ ได้ถูกระบุว่าเป็น “จดหมายเปิดผนึก” ถึง “รัฐสภาตรายางของจีน หรือ สภาประชาชนแห่งชาติ (NPC)” ซึ่งเปิดประชุมเมื่อ 5 มีนาคม ตำรวจได้ยกกำลังไปยังจุดชุมนุมกลางกรุงปักกิ่ง แต่พบว่าไม่มีการชุมนุมแสดงพลังโดยเปิดเผยแต่อย่างใด ตำรวจจับชาย 2 คน คนหนึ่งถูกจับเพราะตะโกนสาปแช่งตำรวจ ส่วนอีกคนถูกจับเพราะตะโกนคำว่า “ผมต้องการอาหารกิน”

…………..ผู้ปกครองที่เป็นเผด็จการ ปกครองประเทศโดยกดขี่ประชาชน จำกัดสิทธิ เสรีภาพของประชาชน ใช้กระบอกปืนและรองเท้าบู้ท กดหัวประชาชนเอาไว้ อำนาจปกครองเหล่านั้นจะนำมาใช้ได้ในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น ไม่ได้หมายความว่าจะใช้ได้ตลอดไป เมื่อมีการพยายามปิดกั้น ก็ย่อมมีการพยายามแสวงหาทางออก ในประเทศของเรามีผู้ปกครองที่อำมหิต เจ้าเล่ห์ และคดโกง สูบเลือดเฉือนเนื้อประชาชนมานานหลายสิบปีจนตัวเองอ้วนพี ในขณะที่ประชาชนผอมโซ เป็นโรคโลหิตจาง สมองมีแต่ตะกรันความงมงายที่ถูกโปรแกรมยัดเยียดใส่ไว้ให้ ดอกมะลิที่บาน “ผ่าเหล่า” จึงเกิดขึ้น เพื่อแสวงหาแสงสว่างและทางออกที่สดใส ผิดกันเล็กน้อยก็เพียงแต่ดอกมะลิในประเทศนี้...สีแดง...



Create Date : 17 เมษายน 2554
Last Update : 17 เมษายน 2554 2:49:07 น.
Counter : 848 Pageviews.

0 comment

tantaro
Location :
สมุทรปราการ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



  •  Bloggang.com