photo Untitled-1_zps5d978a2e.jpg
Group Blog
 
All blogs
 

ทำความรู้จักกับ "โรงเรียนการบินกำแพงแสน"

 photo 3_zpsisycqtfs.jpg

วันนี้จะมาเล่าเรื่องราวของรังนกรังใหญ่ ที่ทำหน้าที่บ่มเพาะเหล่าลูกเจี๊ยบรุ่นแล้วรุ่นเล่าให้ออกไปรับใช้ชาติในฐานะนักบินของกองทัพอากาศไทย โดยบทความที่ผมเขียนขึ้นนี้หวังว่าจะสร้างแรงบัลดาลใจให้กับน้องๆ ที่มีความฝันอยากขับเครื่องบินรบ ^^

 photo 1_zpsxyzfsv9t.jpg

เรามาทำความรู้จักกับโรงเรียนการบินกันก่อนดีกว่า เป็นอันทราบกันหว่า ก่อนจะขับรถเป็นนั้นก็ต้องมีคนสอนให้ ไม่ว่าจะเป็นพ่อ แม่ พี่น้อง ญาติ หรือโรงเรียนสอนขับรถ เช่นเดียวกันกับเครื่องบิน ก็ต้องมีโรงเรียนเหมือนกัน แต่จะเรียนยากกว่าหน่อย เพราะรถยนต์วิ่งอยู่บนพื้นดิน แต่เครื่องบินนั้นอยู่บนฟ้า มีขึ้น-ลง ลอยอยู่บนอากาศ และปัจจัยต่างๆอีกที่เกี่ยวข้องกับการบิน ไม่ว่าจะเป็นสภาพอากาศ และอีกบลาๆๆๆ

บรรยากาศการฝึกบินครับ กองบินหนึ่งที่โคราชผมว่าบินบ่อยแล้วน่ะ แต่ที่นี้ขึ้นกันทั้งวันเลย ^^
 photo 2_zpsetgjivai.jpg

 photo 5_zpsb6hbesfr.jpg

 photo 10_zpshcqy3fal.jpg

เดิมทีนั้นสถานที่ตั้งโรงเรียนการบินอยู่ที่กองบิน 1 นครราชสีมา ที่ตั้งฝูงบิน F-16 ของบ้านเรานี้ล่ะครับ แต่ช่วงสงครามเวียดนาม สหรัฐอเมริกามาขอใช้พื้นที่กองบินหนึ่ง อาจจะเพราะว่ามีระบบต่างๆที่เอื้อต่อการเป็นฐานบินรบให้กับเครื่องบินขนาดใหญ่ จึงออกงบให้เราไปสร้างสนามบินใหม่ เราจึงเลือก อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม มาเป็นที่ตั้งโรงเรียนการบิน มาจนถึงปัจจุบัน

การจะเข้ามาเป็นศิษย์การบินของกองทัพอากาศได้นั้น ก่อนอื่นต้องเป็นนักเรียนเตรียมทหาร(ในส่วนของกองทัพอากาศ) ซึ่งจะเรียนที่โรงเรียนเตรียมทหารอยู่ 3 ปี (เทียบเท่ามัธยมปลาย) จากนั้นไปต่อที่โรงเรียนนายเรืออากาศอีก 4 ปี(เทียบเท่ามหาวิทยาลัย) ซึ่งในช่วง 4 ปีในโรงเรียนนายเรืออากาศ แต่ละคนก็จะเลือกสาขาที่จะเรียนได้ ซึ่งหลักจะเน้นการเรียนการสอนไปในสาขาทางวิศวกรรม ไม่ว่าจะเป็นสาขา อากาศยาน,โยธา,เครื่องกล บลาๆๆ
[ขอแก้ไขข้อมูลใหม่ ปัจจุบัน เรียนเตรียมทหาร 2 ปี และโรงเรียนเหล่าอีก 5 ปี ครับ]

นักบินในชุดหมีสีน้ำเงินนั้นเป็น หน.ฝูงบิน blue pheonix ครับ ในขณะเดียวกันก็เป็นครูการบินด้วย พี่นักบินในชุดหมีสีเขียวนั้นก็เป็น ศบ. ในการดูแลครับ
 photo 6_zps0qwrpqpk.jpg

พอจบปี 4 ก็จะสมัครเข้าเป็น ศบ. (ศิษย์การบิน) โดยการคัดเลือก ศบ. จะคัดจาก ผลการเรียนและวิชาชีพทหาร,คะแนนภาษาอังกฤษ,ลักษณะผู้นำทางทหาร,คะแนนสร้างชื่อเสียงและคุณธรรม,คะแนนการทดสอบร่างกาย รวมถึงการสอบสัมภาษณ์,การทดสอบความถนัด Appitude Test ,ตรวจโรคที่เวชศาสตร์การบิน ซึ่งมีเกณฑ์คือ ผ่าน และ ไม่ผ่าน

ปกตินักเรียนนายเรืออากาศรุ่นๆ หนึ่งจะมีจำนวน ประมาณ 80 คน ปีที่แล้วเปิดรับ ศบ. 56 คนครับแบ่งเป็น นนอ. ไทย 50 คน และ นนอ.ที่จบจากต่างประเทศ 6 คน (ก็จากเพื่อนบ้านเรานี้ล่ะครับ) โดยแต่ละปีอาจจะมีระเบียบใหม่ โดยคำนวณอัตราส่วนตามจำนวนคนที่สมัครนะครับ

 photo 16_zpszlnaigyi.jpg

สำหรับคนที่ Check ไม่ผ่าน จะมีโอกาส Recheck อีกครั้งหนึ่งเท่านั้นครับ ถ้าไม่ผ่านอีกจะได้กลับไปบรรจุ ในหน่วยที่เรียนมา เช่น จบวิศวกรรมโยธา ก็ไปกรมช่างโยธา ทอ. จบวิศวกรรมอากาศยาน ก็ไป กรมช่างอากาศ


เมื่อผ่านการคัดเลือกดังข้างต้นแล้ว ก็จะถูกส่งมาเรียนที่โรงเรียนการบินครับผม
โดยการเรียนบินที่นี้นั้น จะแบ่งเป็น 2 ชั้น คือ ชั้นประถม และ ชั้นมัธยม โดยจะแบ่ง ศบ. เป็น 2 พลัด (เพื่อให้จำนวนนักเรียนพอๆกับเครื่องบินที่มีอยู่ในฝูง)

เครื่อง CT-4 ของฝูงบิน 604 ซึ่งเป็นฝึกบินพลเรือน ของกองทัพอากาศ
 photo 9_zps5zd0dq0d.jpg

 photo 14_zpsbc26kkeu.jpg

สำหรับ ศบ.ชั้นประถม จะฝึกบินกับเครื่อง CT-A/B/E (มีชื่อเล่นว่า chicken) โดยเป็นเครื่องบินฝึกที่ซื้อมาจากประเทศนิวซีเเลนด์ในปี 2517 (รุ่น A) 24 เครื่อง ในปี 2535 (รุ่น B) 6 เครื่อง และในปี 2544 ได้ซื้อรุ่น E 16 เครื่อง มาทดแทนชุดแรก (รุ่น A) ที่มาอายุใช้งานสูงแล้ว

 photo 7_zpsapxxzpym.jpg

 photo 8_zpsqlhpqjnu.jpg

CT-4 เป็นเครื่องบินขนาดเล็ก สองที่นั่งเคียงกัน เหมาะกับการฝึกบินเบื้องต้น ด้วยการออกแบบง่ายๆ ที่ยังไม่มีระบบซับซ้อนมากนัก

บรรยากาศการเรียน ของ ศบ.ชั้นประถม
 photo 18_zps6ejaarui.jpg

 photo 20_zps8s5z9xdd.jpg

 photo 15_zpsstejmw4e.jpg

 photo 19_zpsuusxa1gc.jpg

 photo 17_zpsm7c4wv7o.jpg

เครื่อง simulator ของ CT-4
 photo 21_zpsaodn47cx.jpg


ต่อกันที่ ศบ.ชั้นมัธยม จะฝึกบินกับเครื่องบินที่มีสมรรถนะสูงขึ้นมาอีก อย่าง PC-9 (ชื่อเล่นว่า mustang) ที่จัดซื้อมาจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ 26 เครื่อง ในปี 2534 ซึ่งเป็นเครื่องบินแบบสองที่นั่งเรียงกัน โดยกองทัพอากาศไทยใช้ PC-9 จำนวน 6 ลำ เป็นเครื่องบินผาดแผลงของฝูงบิน blue phoenix อีกด้วย

 photo 11_zpsapsppc2u.jpg

บรรยากาศการเรียนของ ศบ.ชั้นมัธยม
 photo 27_zpsuytcj9hx.jpg

 photo 24_zpsdx0jpb5o.jpg

 photo 25_zpsy7wi50yo.jpg

เครื่อง simulator ของ PC-9
 photo 22_zpskcq3zoda.jpg
อุปกรณ์ติดตัวอีกอย่างของนักบินคือ procedure หรือคู่มือการบินครับ ต้องทำตามขั้นตอนให้เป็นนิสัย ซึ่งเป็นเรื่องปรกติของนักบินไม่ว่าจะทหารหรือพาณิชย์
 photo 23_zpssaeunj1f.jpg

โดยเมื่อจบหลักสูตรการบินชั้นมัธยม ก็เลือกกันอีกที ว่าใครจะได้ไปบินกับเครื่องบินรุ่นใด โดยคัดเลือกจากคะแนนที่ได้จากการฝึก (ตั้งแต่คะแนนการบิน คะแนนความประพฤติ และอีกบลาๆๆ) ซึ่งแน่นอนว่าคนที่ได้คะแนนสูงสุดย่อมมีโอกาสเลือกที่ลงได้ก่อนเพื่อน ซึ่งแน่นอนว่าคงไม่พ้นเครื่องบินขับไล่ แต่ก็มีหลายๆครั้งที่เครื่องบินลำเลียงอย่าง C-130 ถูกเลือกเป็นอันดับต้นๆ

จบล่ะครับ หวังว่าจะได้ประโยชน์กับน้องๆที่กำลังตามฝันตัวเองกันอยู่น่ะคร้าบ  อย่าลืมว่าแค่ฝันอย่างเดียวไม่พอหรอก ต้องลงมือทำด้วย ^^

ปอลิง.ผิดตรงไหนก็เตือนกันด้วยน่ะคร้าบ ผมเป็นแค่พลเรือนที่บ้าเครื่องบินเฉยๆ 5555

ฝากอีกบทความที่เคยเขียนไว้ : ครูการบิน ครูผู้สอนศิษย์ด้วยชีวิต


 photo 12_zpsaqsznlgv.jpg
ในแต่ละรุ่น จะมี ศบ. หนึ่งเดียว ที่ยอดเยี่ยมที่สุด จะถูกประดับชื่อเอาไว้ ในรูปอาจจะคุ้นชื่อท่านนี้กันดีน่ะครับ เพราะท่านเป็นผู้ฝูงกริพเพนคนแรกของไทย
 photo 13_zps0lrsexbj.jpg
ลาด้วย PC-9 ของฝูงบินผาดแผลง blue phoenix
 photo 28_zpsdy2ryj9o.jpg

รวม 8 คำถาม กับการคัดเลือก ศบ. (ตอบโดย ศบ.เองเลยครับผม)

1) พอเรียน นนอ. ชั้น 4 แล้วจะได้เรียน ร.ร.การบินทุกคนมั้ย? แล้วคัดเลือกยังไง?

ตอบ ไม่ได้เป็นทุกคนครับ สำหรับการคัดเลือกศิษย์การบินนั้นเป็นดังนี้ครับ

เริ่มจาก นนอ. สมัครคัดเลือกเข้าเป็นศิษย์การบิน (ศบ) และมีเกณฑ์การคัดเลือกคือ พิจารณาองค์ประกอบต่อไปนี้ครับ

ส่วนที่ 1

1 ผลการเรียนและวิชาชีพทหาร

2 คะแนนภาษาอังกฤษ

3 ลักษณะผู้นำทางทหาร

4 คะแนนสร้างชื่อเสียงและคุณธรรม

5 คะแนนการทดสอบร่างกาย

ซึ้งทั้งหมดนี้จะเป็นคะแนนครับ

ส่วนที่ 2

1 การสอบสัมภาษณ์

2 การทดสอบความถนัด Appitude Test

3 ตรวจโรคที่เวชศาสตร์การบิน ซึ่งมีเกณฑ์คือ ผ่าน และ ไม่ผ่าน

สำหรับโควตานะครับ

ปกติ นนอ รุ่นหนึ่งจะมีจำนวน ประมาณ 80 คน ปีที่แล้วเปิดรับ ศบ. 56 คนครับ

แบ่งเป็น นนอ. ไทย 50 คน และ นนอ.ที่จบจากต่างประเทศ 6 คน

สำหรับปีนี้อาจเป็นระเบียบใหม่ โดยคำนวณอัตราส่วนตามจำนวนคนที่สมัครนะครับ

2) ฝึกบินแล้วมีโอกาสตกมั้ย ? ถ้าตกแล้วไปไหน?

ตอบ ไปวัดครับ !(อันนี้พี่เขาตอบมาจริงๆ 55)

สำหรับคนที่ Check ไม่ผ่าน จะมีโอกาส Recheck อีกครั้งหนึ่งเท่านั้นครับ ถ้าไม่ผ่านอีกจะได้กลับไปบรรจุ ในหน่วยที่เรียนมา เช่น จบวิศวกรรมโยธา ก็ไปกรมช่างโยธา ทอ. จบวิศวกรรมอากาศยาน ก็ไป กรมช่างอากาศ

3) ครูการบิน 1 ท่านฝึกศิษย์กี่คน?

ตอบ 1-2 คนครับ

4) ต้องบิน ct-4 กี่ ชม. จึงจะไปบิน Pc-9 ได้ อยู่กับเครื่องบิน ทั้งสองแบบประมาณเท่าไหร่

ตอบ CT-4 90 ชม. และ PC-9 110 ชม. ครับ รวมกันก็ 200 ชม.

5) การแบ่งช่วงการฝึก

ตอบ แบ่งเป็น ชั้นประธม ซึ่งบินกับเครื่อง CT-4 เมื่อจบมาแล้วจะได้ปีกครึ่งปีกครับ

จากนั้นก็จะเป็นชั้นมัธยมซึ่งบินกับ PC-9

แต่ในช่วงแรกเข้ามาใหม่ เรียนภาคพื้นก่อนบิน CT-4 จะเรียนกันเล่นๆในหมู่ ศบ. ว่าศิษย์การบินชั้นอนุบาล (แต่ไม่มีใน คำสั่งครับ เรียกกันเฉยๆ)

6) ระยะเวลาที่อยู่ในโรงเรียนการบิน

ตอบ 14 เดือนครับ

7) จบแล้วเลือกบ.ยังไง ใช้เกณฑ์อะไรวัด

ตอบ หลักๆก็ให้เราเลือกเครื่องก่อน

8) จบแล้วเลือกไปบินสายอะไรได้บ้าง

ตอบ หลักๆ มีดังนี้ 1. กองบิน 4 จำนวน 10 คน (สายขับไล่)

2. กองบิน 6 จำนวน 10 คน (สายเครื่องบินลำเลียงธุรการ)

3 . กองบิน 23 จำนวน 1 คน (บินอัลฟ่าเจ็ทเลย) 

4. กองบิน 5 จำนวน 1 คน (อันนี้ไม่แน่ใจ ผมว่าภารกิจคล้ายๆ กองบิน 6)








 

Create Date : 17 เมษายน 2558    
Last Update : 17 เมษายน 2558 20:02:03 น.
Counter : 46634 Pageviews.  

ฮ.ใหม่ ทบ. UH-72A Lakota

ข่าวจากอาทิตย์ก่อนที่ UH-1H สังกัดกองบินปีกหมุนที่ 1 ลพบุรี ต้องร่อนลงฉุกเฉินที่จังหวัดนครนายก สาเหตุน่าจะเกิดจากโรเตอร์หางไม่ทำงาน ทำให้ ฮ. หมุนควงและตกลงพื้นในที่สุด งานนี้ต้องชมฝีมือนักบิน ทบ. จริง ๆ เพราะคอมเม้นในบอร์ท TFC บอกว่าแถวนั้นเป็นเขตชุมชนด้วย ซึ่งนักบินพยายามเอาเครื่องลงจอดบริเวณแอ่งน้ำที่ชาวบ้านขุดเอาไว้ ซึ่งจากสภาพเครื่องคิดว่าน่าจะรอจำหน่ายอย่างเดียว อันด้วยอายุอานามของคุณปู่ฮิวอี้ของเราก็ไม่ใช่น้อย ๆ แล้วเผลอ ๆ น่าจะแตะ 40 กันแล้วด้วย แต่ก็ยังบินได้แหะ

 photo Q0117862130617110643_zps45d83cd5.jpg

ข้อมูลเพิ่มเติม ฮ.ทบ.ตก

หลังจากนั้นไม่กี่วัน ทบ. ก็ประกาศจัดหา ฮ.ใหม่ เพื่อทดแทน ฮ.เก่าอย่าง UH-1H ซึ่งหวยไปออกเป็นเจ้า UH-72A Lakota ซึ่งจะจัดหาจำนวนทั้งหมด 30 ลำ (มาล็อตแรก 6 ลำ) มูลค่าการจัดซื้อ 77 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งถ้าเป็นแบบนั้นจริงก็คงได้เฮ เพราะจะได้มีหนุ่มวัยรุ่นมาแทนปู่ซะที จากตอนแรกที่เคยจัดหา UH-60 Blackhawk จำนวน 33 ลำ แต่โดนพิษเศรษฐกิจเล่นงาน ตอนนี้เลยยังไม่ครบฝูงซักกะที ซึ่งข้อมูลจัดหาเฮลิคอปเตอร์ในช่วง 5 ปีนี้ของ ทบ. น่าสนใจมากครับ เพราะจัดหาจากหลายค่าย ทั้งรัสเซีย,อเมริกา,ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นรุ่น UH-60L(รุ่นเดิมกับที่ใช้อยู่ แต่ติดเรดาร์ตรวจอากาศที่จมูกเพิ่ม),UH-60M(แว่วว่าเป็นแบล็คฮอว์กรุ่นที่ทันสมัยที่สุด และไทยเป็นประเทศแรกที่ซื้อนอกจากอเมริกา),MI-17V5(ฮ.จากค่ายรัสเซีย),AH-1F(ได้รับประจำการเพิ่มเติม),AW-139( ฮ.VIP อยู่ระหว่างจัดหา),AS550(ฮ.ลาดตระเวนตรวจการณ์ 8 ลำจากฝรั่งเศส ตอนนี้ช่างและนักบินกลับมาจากการฝึกแล้ว เหลือส่งมอบเข้าประจำการ),Enstrom408B(ฮ.ฝึกตัวใหม่) และสุดท้าย UH-72A จากข้อมูลเห็นว่าระยะเวลาที่ผ่านมานี้ ทบ. จัดหา ฮ.ใหม่เข้าประจำการเพียบเลย เออ ลืมไปเลย ได้ข่าวว่า MI-17 ก็จัดจัดหาเพิ่มเติมอีกเช่นกัน น่าจะเพราะ CH-47 หรือชีนุกที่เรียก ๆ กันนั้นล่ะ ความพร้อมของเครื่องไม่น่าจะบินได้ซะแล้ว และ UH-1H เองที่มีประจำการกว่า 100 ลำ ก็มีอัตราเครื่องพร้อมบินไม่น่าพอใจ และการจัดหาใหม่นี้ผมว่าอาจจะทำให้ ทบ. ต้องเจอปัญหา เพราะแต่ละเครื่องการซ่อมบำรุงและอะไหล่มันใช้ด้วยกันไม่ได้แน่นอน นั้นหมายถึงเงินที่ต้องจ้างคนมากขึ้นและการซัพพลายอะไหล่ต่าง ๆ ให้พร้อมใช้งานอีก ก็ต้องดูกันต่อไป...

 photo feature_parachute-drop_april09_lg_zps85bd2705.jpg

ดูจากประสิทธิภาพคร่าว ๆ ของ UH-72A Lakota พบว่าน่าสนใจพอตัวเลยทีเดียว ซึ่ง lakota พัฒนามาจาก EC-145 ของยุโรป ซึ่งอเมริกาเองก็มีแผนจัดทดแทน UH-1 และ OH-58 ด้วย lakota เช่นกัน เบื้องต้นประเทศผู้ผลิตก็สั่งซื้อไปกว่า 300 ลำ lakota เองเป็น ฮ.ขนาดเบา ผมเคยเห็นรูปฮิวอี้ส่งเสบียงให้ทหารตามแนวชายแดนที่ฐานอยู่บนภูเขา ซึ่งการเดินทางด้วยเท้าน่าจะลำบากมาก การส่งกำลังบำรุงทางอากาศยานจึงเป็นเรื่องที่ดีที่สุด แต่ดูจากฐานจอด ฮ. ที่มีขนาดไม่ได้ใหญ่ไปกว่าตัวฮิวอี้เลยนั้น ถ้าฝีมือนักบินไม่ถึงจริง คงได้ดิ่งนรกแน่นอน หาดูจากขนาดที่จอดคงยากที่จะเอา ฮ. ลำอื่นมาทำหน้าที่นี้ แม้กระทั่งแบล็คฮอว์กเองก็เถอะ ดังนั้นคงเหมาะสมแล้วหากจะเอา lakota มาแทนฮิวอี้จริง ๆ และจุดเด่นอีกอย่างของ UH-72A ก็คือ ท้ายเครื่อง มีประตูสามารถเปิดออกได้ นี้จึงเป็นอีกหนึ่งจุดเด่นที่เหมาะสมกับภารกิจขนส่งป่วยได้อย่างรวดเร็ว และ UH-72A เองก็เป็น ฮ.แบบกลาสค็อกพิท(กล่าวก็คือแผงหน้าปัดจากเดิมที่เป็นอนาล็อกเปลี่ยนเป็นแบบดิจิตอลทั้งหมดซึ่งช่วยลดภารกรรมให้แก่นักบิน ทำให้ไม่ต้องไปผวงกับแผงหน้าปัดเป็นร้อย ๆ อัน) ก็ได้แต่หวังว่า lakota จะไม่ได้มาแต่เครื่องเปล่า ๆ ให้นักบินต้องไปบินหลงทางในพายุกันอีก....




 

Create Date : 25 มิถุนายน 2556    
Last Update : 25 มิถุนายน 2556 11:40:23 น.
Counter : 5746 Pageviews.  

หนึ่งวันในโรงเรียนการบินกำแพงแสน : โชคดีนะน้อง เจอกันข้างล่าง

ตั้งใจว่าจะเขียนเรื่องนี้มาตั้งแต่ 6 เดือนที่แล้ว หลังจากได้ไปทริปกับ TAF ที่โรงเรียนการบินกำแพงแสน สถานที่ผลิตนักบินของกองทัพอากาศไทย หลังจากทริปครั้งนั้น ผมก็ได้เรื่องราวมากมายที่เล่าวันเดียวก็ใม่จบ ได้เห็นชีวิตความเป็นอยู่ของครูการบินและศิษย์การบิน  ได้รู้ว่าการจะทำให้คนหนึ่งคนบินได้นั้นมันไม่ง่ายเลย ได้เห็นเครื่องบิน บินขึ้น-ลงตลอดเวลา พอเครื่องนั้นลง ก็มีเครื่องกำลังจะขึ้นไปอีกเรียกได้ว่าบินกันแทบทั้งวันซึ่งคนภายนอกเช่นผมคงไม่มีโอกาสได้มาเห็นใกล้ชิดแบบนี้แน่นอน ซึ่งก็ถือเป็นโอกาสที่ดีมากๆ หลังจากนี้ ก็ตั้งใจว่าจะเขียนบทความเล่าถึงสิ่งที่ผมได้เห็นมาในโรงเรียนการบินทั้งหมดเท่าที่ยังพอจำได้เพื่อตอบแทนกองทัพอากาศที่ให้เกียรติผมเข้าไปชมสถานที่ที่พลเรือนยากที่จะเข้าไปสัมผัสและเพื่อให้น้อง ๆ ที่มีความฝันที่อยากจะบิน นำไปอ่านเพื่อสร้างแรงบัลดาลใจต่อไปบทความนี้อาจอ่านยากและคงไม่ค่อยสนุกเท่าไรนัก เพราะตัวผมก็ไม่ใช่นักเขียนซะด้วยแต่ยังไงก็จะพยายามเล่าเรื่องผ่านตัวอักษรออกมาให้ดีที่สุดล่ะกันครับ

Photobucket

เรื่องที่จะเล่านี้ถือเป็นตอนแรกที่ผมจะเขียนเกี่ยวกับโรงเรียนการบินกำแพงแสนประวัติย่อ ๆ ก็ของโรงเรียนการบินแห่งนี้ ก็ต้องย้อนไปตั้งแต่สมัยสงครามเวียดนาม ( ปีไหนไม่รู้ -- ) ที่อเมริกาเข้ามาตั้งฐานทัพมากมายในประเทศไทยรวมถึงฐานทัพอากาศ ตอนนั้นที่โคราช มีสนามบินของไทยอยู่ซึ่งก็คือโรงเรียนการบินนั้นเอง ทางอเมริกามีความต้องการใช้สนามบินโคราชนั้น ทำให้กองทัพอากาศต้องหาที่สร้างโรงเรียนการบินแห่งใหม่ซึ่งต่อมาก็ถูกสร้างที่ อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม ซึ่งกลายเป็นโรงเรียนการบินกำแพงแสนต่อมาอื้ม…พร่ำมาซะนาน ยังไม่เข้าเรื่องอีกเหรอเนี้ย เข้าเรื่องเลยดีกว่าเนอะเขียนเยอะไปล่ะเอาเป็นว่าเดี๋ยวค่อยไปทำความรู้จักประวัติโรงเรียนการบินกำแพงแสนกันตอนหน้าล่ะกันเนอะ

Photobucket

หลังจากชมการแสดงการบินผาดแผลงจากฝูงบิน “บลูฟินิกซ์” ที่มาบินโชว์เราโดยเฉพาะ ตอนบ่ายก็จะเป็นการพาชมส่วนอาคารเรียน ซึ่งเป็นที่เรียนของศิษย์การบินชั้นประถมและมัธยม พอเรามาถึงชั้นเรียนของศิษย์การบินชั้นประถม ก็เห็นรูปวาดรูปหนึ่งในรูปเป็นทหารอากาศวัยกลางคน ใส่ชุดหมีสีเขียวพร้อมอาร์มที่บ่งบอกว่าเป็นครูการบิน ใต้รูปมีข้อความเขียนว่า “โชคดีนะน้องแล้วเจอกันข้างล่าง” จากนั้นครูดิบ ซึ่งเป็นวิทยากรมาทัวร์ในวันนั้น ก็บอกว่าคนในรูปนั้นคือ “เรืออากาศเอกจักรพงษ์ การเที่ยง” หรือ “ครูอ้วน” ครูการบินของโรงเรียนการบินกำแพงแสน แล้วเหตุใดรูปครูถึงไปติดอยู่ที่ผนังห้องซ่ะล่ะ เรื่องเป็นแบบนี้ครับ

Photobucket

เมื่อวันที่ 17ตุลาคม 2545 ครูอ้วนได้นำศิษย์การบินของท่านขึ้นบินตามปรกติ เพื่อฝึกบินกับเครื่อง บ..16 หรือ CT-4 Chicken เครื่องบินฝึกบินขั้นต้นสำหรับศิษย์การบิน หลังจากบินไต่ระดับไปที่ความสูงประมาณ 1,500 ฟุตเครื่องก็เกิดอาการแปลก ๆ สาเหตุมาจากความดันของน้ำมันหล่อลื่นเป็นศูนย์ ทำให้เครื่องดับทันที หลังจากพยายามแก้ก็ไม่สำเร็จ มีทางเลือกทางเดียวที่จะรักษาชีวิตของนักบินทั้งสองเอาไว้ได้คือต้องโดดร่มออกไปเท่านั้น เนื่องจาก CT-4 ไม่ใช่เครื่องที่มีความเร็วสูงมากนักจึงไม่ได้ใช้เก้าอี้ดีดตัวอย่างที่เคยเห็นกันในภาพยนตร์เครื่องบินรบ ดังนั้นจึงต้องเปิดฝาครอบกระจกห้องบิน แล้วไปยืนเกาะปีกไว้แล้วจึงโดดไม่เช่นนั้นถ้าโดดไปเลยอาจจะไปชนกับแพนหางดิ่งและแพนหางระดับได้ และอีกอย่าง CT-4 เป็นเครื่องบินที่เป็นเครื่องแบบที่นั่งเคียงกัน ถ้าโดดก็ต้องไปทีล่ะคนและให้อีกคนคอยบังคับเครื่องเพื่อรักษาสมดุลไว้แล้วค่อยโดดตามไป แต่ด้วยที่ที่ยังบินอยู่เหนือเขตชุมชนด้วยสัญชาติญาณของนักบินรบไทย ที่ไม่ยอมให้ประชาชนต้องมารับผลกรรมตามไปด้วย ครูอ้วนจึงสั่งให้ศิษย์การบินโดดลงไปก่อนแล้วตัวเองจะตามลงไปทีหลัง คำพูดสุดท้ายของครูอ้วนที่บอกศิษย์การบินคือ “โชคดีนะน้อง แล้วเจอกันข้างล่าง” หลังจากศิษย์โดดไปแล้วครูอ้วนก็พยายามบังคับเครื่องให้ออกไปพ้นเขตชุมชน เมื่อพ้นแล้วครูอ้วนจึงโดดออกจากเครื่องบิน แต่ด้วยความสูงน้อยเกินไปร่มยันไม่ทันกางเต็มที่ ร่างของครูอ้วน จึงกระแทกต้นไม้เสียชีวิต

Photobucket

ถือเป็นการกระทำที่กล้าหาญมาก ความจริงแล้วพี่ชายของครูอ้วนก็เสียชีวิตจากการบินเช่นกัน จากอุบัติเหตุเครื่องบินฝึกขับไล่แบบ L-39 ของกองบิน 4 ตกที่สนามกอล์ฟธูปะเตมีย์ ขอไว้อาลัยอีกครั้งกับการสูญเสียจากวีรกรรมที่กล้าหาญของทั้งสองท่านและนักบินของกองทัพอากาศไทยท่านอื่นๆ ความจริงแล้วเรื่องวีรกรรมของนักบินกองทัพอากาศไทยที่ผมเคยอ่านมายังมีอีกเยอะครับ ไว้จะรวบรวมมาให้ได้อ่านกันอีก บทความต่อไปน่าจะเป็นเรื่องของสายสัมพันธ์ ครู-ศิษย์และประวัติของโรงเรียนการบินกำแพงแสน ขอบคุณที่ติดตามอ่านจนจบครับ




 

Create Date : 18 พฤศจิกายน 2555    
Last Update : 12 เมษายน 2556 10:52:06 น.
Counter : 8984 Pageviews.  

โฆษณาดี ๆ จากกองทัพบกไทย

ว่าด้วยเรื่องโฆษณาครับ ผมได้ดูโฆษณาชุดนี้ตอนแรกเมื่อซักปีกว่า ๆ ได้แล้ว เป็นโฆษณาของกองทัพบก ผมว่าทำได้ดีมาก ๆ เลย สามารถสื่อสารหน้าที่ของทหารในประเทศไทย ที่มีทั้งคนชอบและคนไม่ชอบ น้อยคนครับ ที่มีโอกาสได้สัมผัสชีวิตทหาร บางคนไม่ร้เรื่อง พอเจอทหารก็กลายเป็นกลัวซะงั้น โฆษณาตัวนี้จึงกลายเป็นตัวเชื่อมระหว่าง "ทหาร" และ "ประชาชน" ทหารก็คือประชาชนคนหนึ่งเนี้ยล่ะครับ แต่ว่าด้วยหน้าที่การงานที่เลือกทำ และบุคลิกเลยดูแตกต่างจากอาชีพอื่นซะหน่อย ^^ โฆษณาตัวนี้ผมให้ความหมายสั้น ๆ ว่า "เพราะเราคือ ทหาร ของประชาชน"



โฆษณาตัวแรก แสดงโดย ผู้พันเบิร์ธ หรือ พันโทวันชนะ สวัสดี เล่าเรื่องระหว่างเด็ก ๆ คุยกันเรื่องอาชีพของคุณพ่อ ซึ่งเป็นทั้งหมอ ครู แต่เด็กคนหนึ่งซึ่งมีพ่อเป็นทหาร แล้วชมกันครับ ว่าทหารเราทำได้ทุกอาชีพจริง ๆ



โฆษณาตัวที่สอง พูดถึงเรื่องราวของทหารที่ปฏับัติภารกิจอยู่ชายแดนของประเทศไทย



โฆษณาตัวที่สาม เป็นเรื่องของ EOD ที่ทำหน้าที่อยู่ที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้



โฆษณาตัวที่สี่ ซึ่งเป็นตัวสุดท้าย ตัวนี้ผมพึ่งมีโอกาสได้ดูครับ โฆษณาจะพูดถึงความหมายของรั้วของชาติ ตัวที่สี่ผมว่าถ่ายทำออกมาได้ดีมาก ๆ เลยทีเดียว




 

Create Date : 14 ตุลาคม 2555    
Last Update : 12 เมษายน 2556 10:52:43 น.
Counter : 640 Pageviews.  

SAREX'2012 ปฎิบัติการซ้อมค้นหาและกู้ภัยของกองทัพ

ประเทศ ไทย เป็นภาคีขององค์การการบินพลเรือระหว่างประเทศ (INTERNATIONAL CIVIL AVIATION ORGANIZATION หรือ ICAO ) มีภาระผูกพันเกี่ยวกับการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัย ( SEARCH AND RESCUE หรือ SAR ) ซึ่งในอนุสัญญาการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ข้อ 25 ได้กำหนดให้รัฐผู้ทำสัญญารับรองที่จะจัดให้มีกระบานการช่วยเหลือแก่อากาศยาน ในระหว่างทุกขภัยในอาณาเขตของตน นอกจากนั้นในภาคผนวกแห่งอนุสัญญาดังกล่าวยังกำหนดให้รัฐภาคีจัดตั้งศูนย์ ประสานงาน (RESCUE CO-ORDINATION CENTER หรือ RCC ) เพื่อเป็นหน่วยกลางในการอำนวยการและประสานงานเกี่ยวกับการค้นหาและช่วยเหลือ อากาศยานประสบภัย

ต่อมาปี พ.ศ. 2507 ได้มีการประชุมระดับเจ้าหน้าที่การขนส่งและการคมนาคมภาคตะวันออกเฉียงใต้ ที่ประเทศมาเลเซีย ได้มีการพิจารณาโครงการการค้นหาและช่วยเหลือของประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และประเทศไทย เป็นโครงการแรกจาก 95 โครงการ จากนั้นได้มีการศึกษาถึงความต้องการทางด้านการค้นหาและช่วยเหลือของประเทศ ดังกล่าว และได้ทำรายงานซึ่งเรียกว่า SAR IN SOUTHEAST ASIA PROGRAM FOM INDONESIA, MALAYSIA , SINGAPORE , AND THAILAND ซึ่งในรายงานดังกล่าวได้เสนอแนะให้ประเทศไทยรวมกิจการด้านค้นหาและช่วยเหลือ ทั้งทางอากาศและทางทะเลเข้าด้วย และให้อยู่ภายใต้การประสานงานของหน่วยๆเดียว โดยมีศูนย์ประสานงาน RCC อยู่ที่กรมการบินพาณิชย์ (กรมการขนส่งทางอากาศ)

___________________________________________________________________

Photobucket

โดยปีนี้เป็นการจัดวงาน SAREX ครั้งที่ 32 แล้วครับ ปีนี้ทหารบกเป็นเจ้าภาพ โดยจัดงานที่ กองบัญชาการช่วยรบที่ 2 ค่ายสุรนารี นครราชสีมา ปีนี้ผมไม่ได้ถ่ายอะไรมาก ไม่เหมือนสองปีที่แล้วที่อุดร งานนั้นอยู่เช้ายันเย็นเลย

Photobucket

งาน SAREX ปีนี้ เนื่องจากทหารบกเป็นเจ้าภาพครับ ดังนั้นอากาศยานที่มาร่วมงานจึงเป็นของทหารบกซะส่วนใหญ่ และมีทหารเรือกับสถาบินการบินของพลเรือนที่ส่งเครื่องบินมาร่วมงานด้วย ในรูปเป็น BELL-212 ของ ทบ. ครับ มีประจำการกว่า 50+ เครื่อง และตอนนี้ปรับปรุงเป็น ฮ.Gunship หรือ ฮ.ติดอาวุธ จำนวน 8 เครื่อง

Photobucket

MH-60S เฮลิคอปเตอร์รุ่นล่าสุดที่ได้รับมอบครับ ของกองทัพเรือ มีประจำการ 2 ลำครับ และคาดว่าจะจัดซื้อเพิ่มเติมอีก เพื่อมารับภารกิจลำเลียงและกู้ถัยแทน S-70B ซึ่งจะไปทำภารกิจเป็น ฮ.ปราบเรือดำน้ำแบบเต็มตัวครับผม

Photobucket

Photobucket

Rescue hoist ยาว 200 ฟุต รับน้ำหนักได้กว่า 600 ปอนด์

Photobucket

พี่ ๆ รบพิเศษกับเครื่อง UH-60L Black hawk

Photobucket

Photobucket

Photobucket

ไปแล้วครับ ไปจริง ๆ แล้วพี่แกก็หายลับไปเป็นชั่วโมง ๆ ดังนั้นผมจึงไม่ได้ดูตอนบินกลับมา - -"

Photobucket

EC-145 จาก รพ.กรุงเทพ เป็น ฮ.พยาบาลที่ทันสมัยที่สุดในประเทศไทยครับ ภายในจะมีอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้ป่วยเบื้องต้นก่อนที่จะส่งถึงมือคุณหมอ

Photobucket

Photobucket

Photobucket

MI-17V5 เฮลิคอปเตอร์จากค่ายรัสเซีย ของ ทบ.ครับ เป็น ฮ.รุ่นแรกที่จัดซื้อจากค่ายรัสเซีย

_____________________________________________________________________

งาน SAREX'2012 นี้ ผมถือว่าเป็นงานที่ดีมาก ๆ ครับ คือเป็นงานที่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงอากาศยานแบบต่าง ๆ ได้อย่างใกล้ชิด เผลอ ๆ มากกว่างานวันเด็กซะอีก ใจจริงผมอยากให้มีการประชาสัมพันธ์มากกว่านี้ เพราะว่ากว่าผมจะรู้ว่ามีงานมันก็ใกล้ถึงวันงานมากจริง ๆ รวมถึงกำหนดการแสดงในงาน ไม่มีเลย แถมสตาปป์ในงานก็ไม่รู้ว่าเวลาไหน จะมีอะไร เรียกว่าผมต้องรอเวลาอย่างเดียว งานนี้มีชาวต่างชาติมาชมด้วยครับ สองปีที่แล้วผมได้เพื่อนเป็นช่างกล้องชาวเกาหลีที่บินตรงมาจากประเทศตัวเองเพื่อมางานนี้โดยเฉพาะเลย ปีนี้ผมเจอชาวต่างชาติเช่นกัน ผมว่าชาวต่างชาติเค้าชอบการบินอยู่แล้ว เราน่าจะทำให้มันเป็นทางการมากกว่านี้ เพราะมันเป็นการประชาสัมพันธ์กองทัพ และเป็นการดึงดูดเงินตราเข้าประเทศได้ด้วย ขอบคุณครับ ^^




 

Create Date : 05 ตุลาคม 2555    
Last Update : 12 เมษายน 2556 11:04:41 น.
Counter : 2840 Pageviews.  

1  2  3  

SkyWalKeR-TH
Location :
พระนครศรีอยุธยา Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




ถ้าเรารักใครซักคน เราต้องรักเค้าให้มาก ๆ ไม่สำคัญหรอกว่าเค้าจะรักเราหรือไม่ มันสำคัญแค่ว่าเรายังรักเค้าอยู่หรือเปล่า แค่เราสามารถช่วยเค้าได้ นั้นก็มีความสุขแล้ว
Friends' blogs
[Add SkyWalKeR-TH's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.