Das Gesicht eines Menschen erkennst du im Licht, seinen Charakter im Dunkeln.
Group Blog
 
All blogs
 

ทำไมเค้ามองเราแปลกๆแบบนั้นนะ

เกิดแก่เจ็บตายเป็นเรื่องธรรมดาของชีวิตคนเรา การทำงานในโรงพยาบาลเรื่องนี้เป็นสิ่งที่ต้องเผชิญอยู่ทุกวัน
สมัยยังเด็กด้วยความที่เป็นเด็กดื้อมาก พ่อกับแม่เลยเอายุทธวิธีโบราณมาใช้ นั่นคือเอาผีมาขู่ผลก็คือกลายเป็นคนที่กลัวผีมาก สมัยที่เรียนอยู่ที่กรุงเทพฯเวลาเดินไปขึ้นรถเมล์ต้องผ่านตึกของคณะแพทย์ฯที่เหล่านักศึกษาลือว่า
เค้าเก็บอาจารย์หมอใหญ่ไว้ แล้วตรงนั้นมันค่อนข้างจะมืดเวลาเย็นๆ ดิฉันก็แทบครึ่งวิ่งครึ่งเดินเพื่อจะได้ถึงตรงทางสว่างไวๆ

ตอนปิดเทอมก็กลับบ้านไปเย่ียมบ้านที่แพร่ กลางวันแสกๆดิฉันก็ยังไม่กล้าเข้าไปห้องนอนเก่าของตากับยายเลยเพราะกลัวว่าเค้าจะมา surprise พ่อกับแม่เคยล้อว่า "โตจะเป็นควายแล้วยังกลัวผีอีก"

่ที่ทำงานปัจจุบันมีผู้ป่วยบางส่วนที่นอนรอความตายอยู่ซึ่งที่นี่จะมีศัพท์ภายในพิเศษที่ิใช้เเรียก
คนไข้เหล่านี้ในหมู่หมอและพยาบาลที่นี่ว่า "praefinaler Patient"
แล้วบังเอิญนักเรียนพยาบาลมักจะเป็นผู้โชคดีได้มีโอกาสดูแลคนไข้เหล่านี้อย่างใกล้ชิดเพราะการดูแลผู้ป่วยเหล่านี้
มักจะใช้เวลานานและค่อนข้างยุ่งยาก
ดิฉันก็เป็นคนหนึ่งที่ได้รับโอกาสทองนี้ ความรู้สึกตอนนั้นซาบซึ้งใจมาก อดคิดในใจไม่ได้ว่า "ถ้าขี้เกียจทำงานนักทำไมไม่ลาออกไปเลี้ยงลูกที่บ้านนะ"

แล้วห้องที่ผู้ป่วย praefinal คนนั้นนอนอยู่เป็นห้องรวม3เตียง ผู้ป่วยอีกสองคนที่เหลือก็สุขภาพไม่ได้ดีไปกว่าผู้ป่วย praefinal คนนั้นเท่าไหร่
วันนั้นดิฉันเข้าเวรเช้าอารมณ์ตอนเริ่มทำงานค่อนข้างจะสุนทรีย์ก็เลยตัดสินใจดูแลคนไข้ praefianlก่อน อีกใจหนึ่งก็ภาวนาขอให้ทำอะไรให้เสร็จก่อนที่ลูกสาวของผู้ป่วยจะมาเยี่ยม เพราะเพื่อนที่ทำงานเล่าให้ฟังว่า เธอเป็นอะไรที่พิเศษมาก ถามทุกอย่างเกี่ยวกับอาการของพ่อและการบำบัดรักษาทั้งๆที่รู้อยู่เต็มอกว่า ทางแพทย์ไม่สามารถจะหา
ทางรักษาได้อีกแล้ว นอกจากจะจัดมอร์ฟีนและยาพวก Valium ที่ช่วยระงับประสาทให้
หลังจากที่ดิฉันพยาบาลคนไข้ praefianal เสร็จก็หันไปเริ่มดูแลคนไข้คนที่สองไปในห้องนั้น
เอี้ยวตัวดูไปอีกที คิดในใจ "แปลกจังทำไมเค้านิ่งจังเลย แถมยังมองดิฉันแปลกๆอีก" ดิฉันเลยจับตัวคนไข้ ฮึ่ม!ตัวยังอุ่นอยู่เลย จับชีพจรดู Oje! ไม่เต้นแล้ว ลมหายใจก็ไม่มีเลยเรียกหมอที่เข้าเวรอยู่มาดูศพหรือที่เรียกว่า Leichenschau หมอบอกคนไข้เสียชีวิตแล้ว แต่กฎหมายที่นี่ใบมรณะ(Totenschein)จะออกได้ก็ต่อเมื่อแพทย์ได้ชันสูตรศพครั้งที่สองแล้ว

หลังจากที่หมอออกห้องไปดิฉันก็จัดการดูแลคนไข้ที่เหลือต่อไป แต่ก็อดหันไปดูศพข้างเตียงไม่ได้
คิดในใจ เขาต้องมีเรื่องที่อยากจะสะสางก่อนตายแต่ไม่สามารถทำได้สำเร็จแน่ๆถึงนอนตายตาไม่หลับ(เหมือนในหนังจีน
ที่ชอบดูสมัยเด็ก) ด้วยความสงสารดิฉันเลยพยายามจะดึงหนังตาศพให้ลงมาปิด แต่ดึงอีกทีก็เด้งด๋ึํงขึ้นไปเหมือนเดิม ลองทำอยู่สองสามทีก็เลิกความพยายาม กลัวใครมาเห็นเข้า อาจคิดว่าดิฉันทำมิดีมิร้ายกับศพ

ตอนที่นำเรื่องนี้ไปเล่าให้เพื่อนที่โรงเรียนฟัง มีแต่คนส่ายหน้าหาว่าดิฉันพิลึกคน




 

Create Date : 13 กันยายน 2550    
Last Update : 13 กันยายน 2550 0:38:17 น.
Counter : 378 Pageviews.  

พยาบาลใจยักษ์

คงมีบางคนเคยสงสัยว่าพยาบาลที่มิวนิคนี่วันๆทำอะไรบ้าง ลักษณะการทำงานจะสบายเหมือนพยาบาลที่เมืองไทยไหม ถ้าคุณเคยคิดแบบนั้นดิฉันขอบอกตรงนี้เลยว่า คุณกำลังเข้าใจผิดอย่างรุนแรง
การทำงานทางด้านพยาบาลที่นี่เป็นการทำงานที่เน้น ganzheitliche Pflege แปลเป็นภาษาไทยพูดง่ายๆว่า การพยาบาลแบบครบวงจร คนไข้ถือเป็นศูนย์กลางของการทำงาน ถ้าคนไข้มีจุดอ่อนที่ตรงไหน เราในฐานะพยาบาลต้องกระโดดเข้าไปช่วยเหลือสนับสนุน ฟื้นฟูสุขภาพทั้งร่างกาย จิตใจและสังคม huh.. schon wieder diese Scheisspflgegetheorie!

ชี้ให้เห็นชัดๆเป็นต้นว่า สมมุติมีคนไข้เป็น Pflegefall นั่นคือ เค้าไม่สามารถจะดูแลความสะอาดของร่างกาย กินข้าว ดื่มน้ำหรือแม้แต่ขยับพลิกตัวด้วยตัวเองไม่ได้ พยาบาลต้องทำให้ทุกอย่างทั้งหมด
คนไข้บางคนแม้จะเป็น Pflegefall แต่ความคิดความอ่านยัง fit บางทีดีกว่า fit ซะอีก บางคนหลังจากผ่านการเข้าๆออกๆหลายโรงพยาบาลก็จะเริ่มอวดรู้ ชอบแสดงความคิดเห็นในการทำงานของพยาบาลแบบบางที ดิฉันเองสมัยเริ่มเรียนคอร์สขั้นต้นยังรับไม่ได้

การทำงานที่นี่คุณต้องใช้ความ "ถึก"เข้ามาช่วยและความสามารถที่เรียกว่า Durchzetungsvermoegen นั่นคือแม้ว่าคุณจะอยู่ในสถาณการณ์ใดๆก็ตามคุณต้องรู้จักการทำงานให้ทุกอย่างอยู่ภายใต้การควบคุม
ที่ทำงานบังเอิญเป็นแผนกผู้ป่วยภายใน อายุอานามของคนไข้โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 80 ปี กลุ่มคนไข้ที่ชอบสร้างปัญหาให้กับ team มักเป็นคนไข้ที่ป่วยเป็นโรค Alzheimer การดูแลคนไข้เหล่านี้มักจะเป็นไปค่องข้างลำบากเพราะพวกเขาเอาแค่ความจำในอดีตพกติดตัวมาในโรงพยาบาล ถ้าพวกเค้าถูกถามถึงเรื่องราวในสมัยวัยเด็กหรือว่าเมื่อ 30-40 ปีที่แล้ว เค้าจะตอบได้อย่างชัดเจนแต่เรื่องราวที่เกิดขึ้นเมื่อ 5 นาทีที่แล้วกลับจำไม่ได้
แล้วตารางการทำงานที่นี่จะเหมือนกันทุกวันแต่คนไข้เหล่านี้จะถามอยู่เสมอว่า "นี่เธอจะทำอะไรกันชั้นน่ะ" ปรกติแล้วการทำงานตามมาตรฐานหนังสือ(ที่ไม่มีใครทำตามหรอกนอกจากเวลาสอบ)การกระทำทุกอย่างกับ
ผู้ป่วยต้องเริ่มด้วยการอธิบายว่าเรากำลังจะทำอะไร ด้วยเหตุผลอะไร แล้วผลจากการกระทำจะสร้างผลประโยชน์อะไรให้กับคนไข้
แต่กับผู้ป่วย Alzheimer บางทีประหยัดแรงส่วนนี้จะดีกว่าเพราะ 5 นาทีหลังจากนั้นเค้าก็ลืมอยู่ดี จะให้อธิบายทุกครั้งทั้งๆที่รู้ว่ายังไงเขาก็ไม่เข้าใจหรอกมันเสียความรู้สึก


แล้วพยาบาลที่บาวาเรียนี่ขึ้นชื่อในความถึกมาก ปรกติลักษณะรูปร่างของคนท้องถิ่นที่นี่จะบึ้กไม่ว่าผู้หญิงหรือว่าผู้ชาย แล้วสำเนียงท้องถิ่นแบบ Bayerisch จะ exotic มากสำหรับคนที่ไม่เคยชินเพราะเค้าจะพูดดัง ฟังแล้วเหมือนกับเค้าตะโกนอยู่ตลอดเวลา
แล้วพยาบาลที่ชินกับการทำงานกับคนที่หูไม่ดียิ่งแล้วไปใหญ่ huh เหมือนเพื่อนที่ทำงานด้วยกัน (ที่นี่จะทำงานกันเป็น team ไม่มีรุ่นพี่หรือรุ่นน้อง)

ในบางวันที่มีพยาบาลในเวรน้อยแต่คนไข้ที่ต้องดูแลมีเยอะซึ่งที่จริงเป็นเรื่องปรกติของที่นี่ ก่อนจะหมดเวรงานทุกอย่างต้องเสร็จ แถม jackpot มีแต่ Pflegefaelle หรือ Alzheimerpatient...Halleluja

แล้วพยาบาลที่นี่ก็จะโหดร้ายกว่าปรกติ พวกเค้าจะไม่พูดอะไรมาก คนไข้จะถูกพลิกตัว (Bed)โดยไม่สนใจเลยว่าเค้าจะรู้สึกอย่างไร ที่อยู๋ดีๆก็มีคนมาจับพลิกตัวไปมาบนเตียง แรกๆที่เห็นดิฉันก็แทบรับไม่ได้ กลับไปบ้านทำใจอยู่สองสามวัน
แล้วถ้าคนไข้คนไหนที่สร้างปัญหามาก พยาบาลพวกนี้ก็จะพูดดักเลยว่า "Halts Maul!" เหมือน"หุปปาก"ในภาษาไทยนั่นแหละค่ะ หรือว่าบางทีจะมีการแสดงคำตอบอย่างขอไปทีอย่างเช่น "การแก้ปัญหาของคุณไม่ได้ถูกเขียนไว้ในสัญญาการทำงานของฉัน!"
ดิฉันคิดว่าความเครียดและการกดดันจากการทำงานเป็นต้นเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้พยาบาลบางคนกลายเป็นพยาบาลใจยักษ์ไป
โชคดีที่ดิฉันไม่ต้องร่วม team กับคนเหล่านี้เสมอ
ถ้่าจะคิดอีกแง่มุมหนึ่งบางทีการทำงานแบบนี้อาจจะเป็นยุทธศาสตร์การอยู่รอดในชีวิตการทำงาน เพราะพยาบาลที่ทำงานด้วยใจรักที่นี่ไม่เห็นมีใครที่ทำงานเต็มเวลาได้สักคน




 

Create Date : 12 กันยายน 2550    
Last Update : 12 กันยายน 2550 1:38:26 น.
Counter : 310 Pageviews.  


schornstein
Location :
Berlin Germany

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Es gibt keinen Weg zum Glück. Das Glück selbst ist der Weg!
Friends' blogs
[Add schornstein's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.