··¤(`×[¤ Oreo in Leeds ¤]×´)¤·· -- @'-"@.
Group Blog
 
All blogs
 

A responsible monetary-fiscal policy mix for 2007

A responsible monetary-fiscal policy mix for 2007


Ashvin Ahuja


บทความของอาจารย์แบงค์ชาติ เป็นอาจารย์ที่คณะด้วย ไม่เคยเรียนกับคนนี้นะ แต่เพื่อนๆที่เรียนกับเค้าบอกว่าเก่งมากๆ

Thailand’s economy has been growing in real terms at 5% per year on average since 2000. Today, though we are nowhere near a recession, the prevailing outlook is not rosy. Consumer and investor confidence is near an all time low. Growth is expected at around 4-5% this year. But data indicate that private investment and consumption of durables are the economy’s soft underbelly. Exports, still galloping at roughly 18% yearon-year in January, may begin to decelerate, as the prospects for the US economy worsen and the dollar continues to weaken against a broad index of currencies. What’s left is the fiscal thrust. But that appears to be weak.

It is obvious that the economy needs short-term stimulus. The Bank of Thailand and the Ministry of Finance share this responsibility. A good policy mix can help shore up confidence and put the economy on a firmer track.

So, what are the policy options that will get the job done right?

Anticipating a softer economy, monetary policy has already started to accommodate growth, as confirmed by 2 recent interest rate cuts. Long-bond rates are at 4% and dropping. Also overlooked is the positive story of economic stability. Inflation has fallen from a peak of 6% to roughly 3% over 2006. Excluding raw food and energy, it is as low
as 1.5%.

Today’s low and stable inflation can help unleash the dormant strength of the economy. It reduces uncertainty in business investment planning and provides a near-term boost to consumers’ purchasing power. Over time, interest rates on bank lending and debt instruments tend to remain low with low inflation.

International experiences show that inflation does not just fall by itself; it takes effective and credible monetary policy. Policy credibility takes good strategies and time to build. In the final analysis, it means that even when oil prices gyrate, inflation won’t spiral out of control because people trust the BOT to do the right thing. That trust helps reduce the interest rate dosage needed to bring inflation down.

Any veteran economist knows that in a downturn, all fingers point to the central bank. To lift near-term growth, calls for immediate and drastic policy rate cuts to the tune of 1% are in vogue. But portraying rate cutting as a silver bullet is unrealistic. It is also bad economics. The real downside of pushing the BOT onto such a slippery slope is additional, unnecessary risks for the financial markets down the road. Besides, the time
it takes a monetary policy signal to materially affect real economic activities can be long and imprecise. This is why no responsible central bank takes credit for short-term economic growth when it cuts rates. In the same vein, that central bank should not take the blame for a temporary slowdown after a series of rate hike.

Conspicuously lost in the narration these days is the more potent, timely and primary tool for effective short-term growth boosting: fiscal policy.

As a rule, a country should observe fiscal prudence and focus public investment on infrastructure and human capital. Doing so would raise our long-term competitiveness. Much of the required investment can and should also be made by the private sector,
which responds well to incentives. The tax system is an important incentive mechanism a country has at its disposal. It may also be the answer to our problem.

To its credit, the MOF has taken a long view with fiscal prudence. If fiscal policy was a mess, the BOT would have a much harder time keeping inflation in check. That said, fiscal policy could do more to stimulate growth this year. Policy clarity and consistency can help lift investor confidence. And taking a longer view, the government could also do more to usher in better incentives to boost investment.

The fact is government cash balance today is far from what economists estimate will push the economy back toward potential. Fiscal impulse, or year-to-year change in the discrepancy between the actual fiscal balance and its neutral level, is much weaker than last fiscal year. In plain speak, the government runs too small a deficit for the good of the economy.

The slow pace of its cash disbursement can be a challenge. Overall expenditure shrank during the first 4 months of the fiscal year compared to the same period last year. Indeed until February, the fiscal thrust had been unexpectedly weak. With public debt well below the internationally recognized benchmark of 60% of GDP, there is room to push harder.

A supplemental budget may be a possibility. But the merit of a tax cut, which can be readily done, should also be discussed. Malaysia and Singapore have lower, less progressive individual and lower corporate income tax rates than we do. This helps
improve their competitiveness. In Thailand, even if scheduled to take effect next year, forward-looking firms and households could respond to the tax cut immediately.

Perhaps it’s not too late to start thinking seriously about policy coordination. The limelight should be given to fiscal policy in 2007, with monetary policy easing taking a supporting role.



Dr. Ashvin Ahuja is a Senior Economist at the Bank of Thailand. The views expressed
herein are those of the author’s and not necessarily those of the Bank of Thailand.
Additional articles can be found online at //www.bot.or.th.




 

Create Date : 17 พฤษภาคม 2550    
Last Update : 17 พฤษภาคม 2550 11:06:05 น.
Counter : 682 Pageviews.  

การลงทุนในต่างประเทศกับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน

ห้องความรู้บัวหลวง
*** บทความนี้ เราเขียนเอง ลง Post Today


การลงทุนในต่างประเทศกับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน


นักลงทุนหลายๆท่านคงมีความคิดที่อยากจะลงทุนในหลักทรัพย์และสินทรัพย์ในต่างประเทศดูบ้าง เพราะเป็นการช่วยกระจายความเสี่ยงของเงินลงทุนและยังมีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่าในประเทศ

เนื่องจากผลตอบแทนจากการลงทุนของสินทรัพย์ในประเทศและต่างประเทศไม่ได้ขึ้นลงไปในทิศทางเดียวกันตลอดเวลา (Low Correlation) ดังนั้นนอกจากนักลงทุนจะมีโอกาสเพิ่มผลตอบแทนรวมของการลงทุนในสินทรัพย์ดีๆในต่างประเทศแล้ว นักลงทุนก็ยังสามารถลดความเสี่ยงด้านความผันผวนของผลตอบแทนโดยรวมได้อีกด้วย

การลงทุนในกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (FIF) ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนต่างๆ น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการไปลงทุนเอง เนื่องจากผู้จัดการกองทุนมีความรู้ความสามารถและมีเวลาให้กับการลงทุนอย่างเต็มที่ มีสถาบันการเงินชั้นนำในต่างประเทศทำหน้าที่ให้คำปรึกษาคัดเลือกสิ่งที่จะลงทุน มี ผู้ดูแลทรัพย์สิน (Custodian) ทั้งที่อยู่ในประเทศและต่างประเทศซึ่งทำหน้าที่ดูแลเก็บรักษาและโอนทรัพย์สิน และยังทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเรียกร้องสิทธิ สินทรัพย์ หรือทำธุรกรรมในการส่งมอบและชำระเงิน หากคุณลงทุนเองก็คงจะยุ่งมากและไม่สะดวกเลยกับธุรกรรมเหล่านี้

ถึงแม้ว่าการโครงการการลงทุนจะสวยหรูขนาดไหน ก็เชื่อว่านักลงทุนหลายๆท่านคงกังวลกับความเสี่ยงต่างๆที่จะเกิดขึ้น นอกจากความเสี่ยงเรื่องผลตอบแทนจากสินทรัพย์ที่จะลงทุนว่าจะได้ตามที่คาดหวังหรือไม่แล้ว ยังมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (Exchange Rate Risk)กลับมาเป็นเงินบาทอีกด้วย เพราะความผันผวนของค่าเงินจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงมูลค่าของหลักทรัพย์ที่ลงทุนและมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ หรืออาจกล่าวง่ายๆว่าถ้าอัตราแลกเปลี่ยนของเงินบาทสูงขึ้น (เงินบาทอ่อนค่าลง) นักลงทุนก็จะได้ผลตอบแทนในรูปเงินบาทสูงขึ้นนอกเหนือจากผลตอบแทนที่ไปลงทุนในหลักทรัพย์เป็นสกุลเงินต่างประเทศ หรือถ้าอัตราแลกเปลี่ยนของเงินบาทลดลง (เงินบาทแข็งค่าขึ้น) นักลงทุนจะได้รับผลตอบแทนในรูปเงินบาทลดลงจากผลตอบแทนที่ไปลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศจนอาจจะทำให้ขาดทุนจากการไปลงทุนในต่างประเทศก็เป็นได้ ยิ่งปัจจุบันนี้เศรษฐกิจโลกมีความผันผวนสูง ก็ยิ่งส่งผลกระทบถึงตลาดการแลกเปลี่ยนเงิน (Foreign Exchange Market) มาก สำหรับประเทศไทยเองก็ได้รับผลกระทบนี้ ดังจะเห็นว่าค่าเงินบาทไทยได้แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งภาวะดังกล่าวเป็นสิ่งที่นักลงทุนหลายท่านให้ความสนใจเป็นอย่างมาก และทำให้ยังไม่กล้าตัดสินใจลงทุนใดๆมากนัก

อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนดังกล่าวนั้นสามารถป้องกันได้ หากมีการวางกลยุทธ์เกี่ยวกับการลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน หรือที่เรียกว่า Currency Hedging โดยจะเป็นการควบคุม scale ของ FX Exposure นั่นเอง ซึ่งสามารถทำได้หลักๆ 2 วิธี คือ On-Balance-Sheet Hedging และ Off-Balance-Sheet Hedging สำหรับ On-Balance-Sheet Hedging นั้น จะเป็นการควบคุมความเสี่ยงของบริษัทต่างๆที่การดำเนินกิจการต้องขึ้นอยู่กับค่าเงินต่างประเทศ เช่นมีการส่งออกและนำเข้าสินค้า กล่าวโดยคร่าวๆก็คือทางบริษัทจะต้องหักลบกลบหนี้ระหว่างสินทรัพย์ต่างประเทศและหนี้สินต่างประเทศให้พอดีกัน เพื่อล็อกให้เกิดกำไรหรือผลตอบแทนที่เป็นบวกตลอดระยะเวลาการลงทุนไม่ว่าอัตราแลกเปลี่ยนจะมีความผันผวนและมีทิศทางอย่างไร อีกวิธีหนึ่งนั่นก็คือ Off-Balance-Sheet Hedging วิธีนี้เองที่ผู้จัดการกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศหลายๆกองทุนได้ใช้วิธีนี้ในการป้องกันความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งเป็นการล้อมกรอบความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (hedge FX risk) โดยการซื้อสัญญาซื้อขายเงินตราล่วงหน้า (Forward Contract)ในอัตราที่ตกลงกันไว้ก่อนในวันนี้ หรือใช้เครื่องมือทางอนุพันธ์อื่นๆ

การป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนโดยการใช้สัญญาซื้อขายเงินตราล่วงหน้า (Hedging with Forwards) เป็นวิธีที่สะดวกและเสียค่าใช้จ่ายไม่มากนักหากเปรียบเทียบกับวิธีแรก หลักการง่ายๆของสัญญานี้ก็เพื่อป้องกันความไม่แน่นอนของอัตราแลกเปลี่ยนจริงในอนาคต (future spot exchange rate) ที่จะใช้แลกเปลี่ยนเงินเมื่อถึงสิ้นปีของระยะเวลาการลงทุน หรือจะมีช่วงระยะเวลาเท่าไหร่ก็ได้ตามแต่จะตกลงกันไว้ ยกตัวอย่างเช่น กองทุนรวมกองหนึ่งมีนโยบายลงทุนในหลักทรัพย์สกุล USD แต่ในขณะนี้ค่าเงินบาทของไทยนั้นแข็งมากและไม่แน่ใจกับความผันผวนของค่าเงินในอนาคต แทนที่ผู้จัดการกองทุนจะรอถึงสิ้นปีการลงทุนเพื่อแลกเปลี่ยนค่าเงินจากดอลลาร์สหรัฐฯกลับมาเป็นเงินบาทที่อัตราแลกเปลี่ยน (spot rate) ที่ไม่สามารถคาดเดาได้ ประกอบกับค่าเงินบาทก็ยังคงแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง ผู้จัดการกองทุนก็อาจจะขายสัญญา Forward ด้วยเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ จำนวนหนึ่ง ที่อัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า (Forward rate) ที่ทราบในปัจจุบัน สมมติที่ 40.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ และเมื่อถึงสิ้นปีการลงทุนก็จ่ายเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯไปให้ผู้ซื้อ ซึ่งผู้ซื้อก็จะจ่ายเงินบาทกลับมาให้กองทุนด้วย Forward rate ที่ได้ตกลงกันไว้ สมมติว่าเมื่อสิ้นระยะเวลาหนึ่งปีของการลงทุน ค่าเงินบาทเท่ากับ 37.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ นักลงทุนจะเห็นว่าการใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยง (Currency Hedge Tools) นั้นสามารถช่วยลดและป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนได้ดีทีเดียว เนื่องจากกองทุนได้ซื้อสัญญา Forward Contract ไว้แล้วที่ 40.00 บาท

ถึงแม้ว่าทางบริษัทจัดการจะมีวิธีช่วยป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนดังกล่าว นักลงทุนที่สนใจจะลงทุนในกองทุน FIF ทั้งหลาย ก็ควรจะต้องศึกษาเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนให้เข้าใจไปด้วย นอกจากนี้ยังควรศึกษาพอให้เข้าใจสภาวะเศรษฐกิจในประเทศต่างๆที่ทางบริษัทจัดการจะไปลงทุน ศึกษานโยบายการลงทุนของแต่ละกองทุนว่าเป็นอย่างไร จะลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทใดได้บ้าง ยิ่งไปกว่านั้น ตัวนักลงทุนเองก็ต้องสำรวจตัวเองด้วยว่าจะสามารถยอมรับความเสี่ยงจากการลงทุนในกองทุน FIF ได้มากน้อยเพียงใด

ที่สำคัญคือนักลงทุนควรเลือกลงทุนใน FIF อย่างระมัดระวัง ไม่ควรจะทุ่มเงินทั้งหมดไปลงทุนใน FIF โดยไม่ลงทุนในประเทศเอาไว้ด้วย และไม่ควรลงทุนในประเทศใดประเทศหนึ่ง ควรจะกระจายการลงทุนไปในหลายๆประเทศ เพราะนอกจากจะได้ลงทุนไปในหลายๆตลาดและหลายๆหลักทรัพย์แล้ว ก็ยังสามารถช่วยกระจายความเสี่ยงในพอร์ตของท่านได้ดีอีกด้วย





 

Create Date : 03 พฤษภาคม 2550    
Last Update : 3 พฤษภาคม 2550 14:18:03 น.
Counter : 2623 Pageviews.  

เรื่องไม่ไกลตัวของ FIF

ห้องความรู้บัวหลวง
***บทความนี้ เราเขียนเอง ลง Post Today กับ Manager***



เรื่องไม่ไกลตัวของ FIF


สมัยนี้การลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ไม่ใช่เรื่องยากหรือเรื่องไกลตัวสำหรับนักลงทุนรายย่อยอีกแล้ว เนื่องจากปัจจุบันมีช่องทางในการลงทุนมากขึ้น หากแต่การลงทุนที่ดีนั้นจะต้องรู้จักกระจายความเสี่ยงและหาโอกาสในการเพิ่มอัตราผลตอบแทน นักลงทุนไทยส่วนใหญ่ยังคงจำกัดการลงทุนแต่เพียงการลงทุนในตราสารทุน ตราสารหนี้ หรือในรูปเงินฝากต่างๆ ซึ่งค่อนข้างจำกัด และหลายๆท่านยังไม่ค่อยให้ความสนใจกับการลงทุนในต่างประเทศมากนัก เนื่องจากอาจจะเห็นว่ายุ่งยากหรือยังไม่ค่อยมั่นใจกับการลงทุนและความเสี่ยงจากการลงทุนประเภทนี้ แต่หากนักลงทุนทราบถึงข้อดีของการลงทุนในต่างประเทศ ก็อาจทำให้การลงทุนประเภทนี้ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางในไม่ช้า

การลงทุนในกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ หรือ Foreign Investment Fund (FIF) เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เข้ามามีบทบาทมากขึ้น ประเภทหลักทรัพย์ที่กลต.อนุญาตให้กองทุนประเภทนี้ลงทุนได้ ได้แก่ การลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวม หรือที่เรียกว่า การลงทุนแบบ fund of fund ยกเว้นหน่วยลงทุนของ Hedge Fund, หุ้น และ ตราสารอนุพันธ์ ที่มีการการซื้อขายภายใต้องค์กรที่เป็นสมาชิกสามัญของ IOSCO, ตราสารหนี้ และ Structured Note ที่ได้รับการจัดอันดับระดับ investment grade ซึ่งกองทุนนี้มีข้อได้เปรียบกว่ากองทุนอื่นๆในประเทศ เพราะสามารถกระจายความเสี่ยงได้เต็มที่ เนื่องจากสามารถโยกย้ายเงินได้อิสระ หากผู้จัดการกองทุนเห็นว่ามีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนที่ดีกว่า และไม่ต้องยึดติดกับเศรษฐกิจหรือค่าเงินของประเทศใดประเทศหนึ่ง หากแต่ต้องเป็นไปตามที่ระบุในหนังสือชี้ชวน

เมื่อลองมองย้อนกลับไปในช่วงยุคฟองสบู่แตก จะเห็นว่าการลงทุนในเงินสกุลไทยบาทเพียงสกุลเดียวนั้น ได้รับผลกระทบอย่างมาก แต่สำหรับผู้ที่กระจายความเสี่ยงในการลงทุนเงินสกุลอื่นด้วย เช่น ดอลลาร์สหรัฐฯ กลับได้รับผลดีและได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจดังกล่าวไม่มากนัก สำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองหลายท่านที่ส่งลูกไปศึกษาต่อต่างประเทศต่างก็ได้รับผลกระทบอย่างหนัก เด็กบางคนถูกส่งกลับประเทศไทยทั้งๆที่ยังเรียนไม่จบ ปัญหาเหล่าหนี้อาจพอทำให้นักลงทุน ตระหนักถึงความสำคัญในการกระจายความเสี่ยงในหลายๆสกุลเงินมากขึ้น

สำหรับนักลงทุนหลายๆท่านที่รับทราบความเป็นไปของเศรษฐกิจโลกผ่านทางสื่อต่างๆ ก็คงมีความประสงค์จะไปลงทุนในต่างประเทศ หากพบว่าเศรษฐกิจประเทศไหนดี และภาวะตลาดหุ้นของประเทศนั้นก็อยู่ในช่วงฟื้นตัวและน่าเข้าลงทุน แต่ก็คงเป็นเรื่องยากหากท่านจะไปลงทุนโดยตรง แต่ด้วยระบบการลงทุนผ่านกองทุนรวม (FIF) นักลงทุนรายย่อยสามารถเข้าถึงโอกาสนี้มากขึ้น ขึ้นอยู่กับว่ากองทุน FIF นั้นมีนโยบายจะไปลงทุนโดยตรงหรือลงทุนผ่านกองทุนรวมในต่างประเทศ นอกจากนี้ การลงทุนประเภทนี้ยังเหมาะกับนักลงทุนบางกลุ่ม เช่น กลุ่มที่มีความจำเป็นที่ต้องใช้เงินต่างประเทศ ดังจะเห็นว่าพ่อแม่ผู้ปกครองสมัยนี้เห็นความสำคัญของการลงทุนสำหรับการศึกษาของลูกมากขึ้น ผู้ปกครองหลายๆท่านจึงนิยมส่งลูกไปเรียนต่อที่ต่างประเทศ เช่น ประเทศสหรัฐฯ อเมริกา อังกฤษ และออสเตรเลีย เป็นต้น สมมติว่าผู้ปกครองท่านหนึ่งส่งลูกไปเรียนที่ประเทศอังกฤษ โดยในช่วงแรกได้แลกเงินไว้ที่อัตราแลกเปลี่ยน 68 บาทต่อปอนด์ สเตอร์ลิง แต่ภายหลังค่าเงินปอนด์ได้แข็งขึ้นเป็น 74 บาทต่อปอนด์ สเตอร์ลิง ด้วยปัญหาค่าเงินนี้ ผู้ปกครองต้องส่งเงินให้ลูกมากขึ้น แต่หากผู้ปกครองมีการวางแผนการเงินที่ดีก็อาจไปลงทุนในกองทุน FIF ที่เน้นลงทุนในสกุลเงินนี้ เนื่องจากผลตอบแทนที่ได้รับเป็นเงินตราสกุลเดียวกับที่ต้องใช้จ่าย จึงเป็นการป้องกันความเสี่ยงจากค่าเงินที่เปลี่ยนแปลงและเพื่อเป็นการชดเชยในกรณีที่เงินบาทอ่อน (Natural Hedge)

นอกจากนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เมื่อไม่นานมานี้เองก็ได้อนุมัติวงเงินสำหรับปี 2549 จำนวน 1.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 5.2 หมื่นล้านบาท ซึ่งวงเงินที่อนุมัติครั้งนี้ถือว่าสูงกว่าทุกปีที่ผ่านมา ที่เคยให้เพียงครั้งละ 500 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 2 หมื่นล้านบาท โดยให้บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมจำนวน 18 ราย โดยบริษัทจัดการแต่ละรายได้รับการจัดสรรวงเงินลงทุนเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา จากที่เคยได้รับ 10 ล้านเหรียญสหรัฐ ก็เพิ่มเป็น 25 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปีนี้ รวมทั้งการนำไปลงทุนก็จะไม่แบ่งแยกว่า เป็นประเภทกองทุนรวม หรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพด้วย ซึ่งก็คาดว่าการลงทุนในกองทุนประเภทนี้จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในไม่ช้าสำหรับธุรกิจกองทุนรวม

แน่นอนที่การลงทุนทุกประเภทย่อมมีความเสี่ยงทั้งนั้น สำหรับกองทุน FIF เองก็มีความเสี่ยง เช่น ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (Exchange rate risk) เพราะการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงมูลค่าของหลักทรัพย์ที่ลงทุนและมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ความเสี่ยงของประเทศที่ไปลงทุน (Country risk) เช่นภาวะทางการเมืองและความมั่นคงของประเทศนั้นๆ ความเสี่ยงระดับเศรษฐกิจมหภาคของประเทศต่างๆ (Macroeconomics risk) ซึ่งก็รวมถึง ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจ รวมทั้งนโยบายการเงินและการคลังของประเทศนั้นๆ ความเสี่ยงของบริษัทหรืออุตสาหกรรมที่ไปลงทุน (Industry risk) หรือ ความเสี่ยงจากการที่ตราสารไม่มีสภาพคล่อง (Liquidity risk) เป็นต้น

จากที่กล่าวมาข้างต้น นักลงทุนหลายๆท่านคงเริ่มสนใจในกองทุนรวมประเภทนี้ แต่อย่างไรก็ตาม FIF ก็ยังเป็นเรื่องใหม่และยังต้องใช้เวลาในการศึกษาลงทุนพอสมควร ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องง่ายแต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากจนเกินไปสำหรับนักลงทุนทั่วไป เพราะหากนักลงทุนมีความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างดีแล้ว กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศหรือ FIF นี้ ก็จะเป็นทางเลือกหนึ่งที่มีสีสัน และสามารถสร้างผลตอบแทนที่คุ้มค่าได้เลยทีเดียว






 

Create Date : 03 พฤษภาคม 2550    
Last Update : 3 พฤษภาคม 2550 14:17:19 น.
Counter : 428 Pageviews.  

เข้าใจในอัตราผลตอบแทน

ห้องความรู้บัวหลวง
****บทความนี้ เราเขียนเอง ลง Post Today และ Manager****


เข้าใจในอัตราผลตอบแทน


นักลงทุนทั้งหลายคงทราบกันดีอยู่แล้วว่า interest rate หรืออัตราดอกเบี้ยนั้น เป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างมากต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชาชน และการที่จะตัดสินใจนำเงินของท่านลงทุนทำธุรกิจ ฝากธนาคาร หรือแม้แต่การอุปโภคบริโภคประจำวันก็ล้วนขึ้นอยู่กับ interest rate ทั้งสิ้น ซึ่งเจ้า interest นี้ ก็มีหลากหลายความหมาย มีวิธีวัดและการคิดคำนวณที่แตกต่างกัน แต่ในมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์ หากพูดถึง interest rate ความหมายที่ชัดเจนและถูกต้องที่สุดก็ต้องเป็น Yield To Maturity (YTM) หรืออัตราผลตอบแทนจากการลงทุน ซึ่งต้องคำนึงถึงแนวคิดที่ว่าเงินในปัจจุบันมีค่ามากกว่าเงินในอนาคต (Present Value Concept)

เมื่อนักลงทุนต้องการลงทุนในตราสารหนี้ประเภทต่างๆ YTM จะเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจลงทุนในตราสารหนี้ชนิดนั้นๆ นักลงทุนอาจมีคำถามต่อไปอีกว่า แล้วทำไม ตราสารหนี้ที่มีอายุคงเหลือเท่ากัน จึงมีอัตราผลตอบแทนที่ต่างกัน อะไรบ้างที่มีอิทธิพลต่ออัตราผลตอบแทน ทำไมตราสารหนี้ที่มีอายุคงเหลือยาวๆก่อนจะครบกำหนดจึงมักมีอัตราผลตอบแทนที่สูงกว่าตราสารหนี้ระยะสั้น มันมีความสัมพันธ์กันอย่างไร

คำถามเหล่านี้ หากนักลงทุนมีความเข้าใจว่าสิ่งที่ทำให้ YTM ของตราสารหนี้แต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน ก็จะทำให้ท่านนักลงทุนตัดสินใจถูกต้องว่าตราสารหนี้ตัวไหนควรจะลงทุน ตัวไหนควรจะขาย โดยคำถามข้อแรกๆก็คือ ทำไมอัตราผลตอบแทนในตราสารหนี้ต่างๆที่มีอายุคงเหลือเท่ากันจึงต่างกัน คำตอบก็คือ ตราสารหนี้เหล่านั้นมีความเสี่ยงที่ต่างกันนั่นเอง ด้วยปัจจัยหลักต่างๆ ดังต่อไปนี้

ปัจจัยข้อที่หนึ่งก็คือความเสี่ยงที่ผู้ออกตราสารหนี้ไม่สามารถจ่ายดอกเบี้ย และ/หรือไม่อาจจ่ายคืนเงินต้นตามกำหนดได้ ความเสี่ยงนี้เรียกกันว่า Default Risk หรือ Credit Risk ซึ่งโดยปกติแล้วพวกตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทเอกชนมักจะมีความเสี่ยงประเภทนี้มากกว่าที่ออกโดยภาครัฐ เพราะหากทางบริษัทเกิดปัญหาขาดทุนอย่างรุนแรงขึ้นมา ก็คงไม่สามารถจ่ายดอกเบี้ยหรือเงินต้นคืนตามข้อกำหนดได้ ในขณะที่ตราสารหนี้ที่ออกโดยภาครัฐ เช่น พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง ฯลฯ จัดเป็นตราสารหนี้ที่ไม่มีความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ (Default-free bond) เพราะฉะนั้นตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงว่าจะเกิด default risk ได้สูงมากเท่าไหร่ก็ยิ่งไม่เป็นที่ต้องการมากเท่านั้น ผู้ออกตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงประเภทนี้สูงจึงมักจะให้อัตราผลตอบแทนสูงๆเพื่อจูงใจผู้ลงทุนให้ยอมรับความเสี่ยง มิฉะนั้นก็ไม่มีใครไปลงทุน นักลงทุนที่อนุรักษ์นิยมส่วนใหญ่มักจะสนใจตราสารหนี้ที่ออกโดยภาครัฐมากกว่า เพราะไม่ชอบความเสี่ยงประเภทนี้ แม้ว่าพันธบัตรรัฐบาลจะให้อัตราผลตอบแทนที่ต่ำกว่าตราสารหนี้ที่ออกดโยบริษัทเอกชนทั้งๆที่มีอายุคงเหลือเท่าๆกัน ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้ ผลตอบแทนของตราสารหนี้ภาคเอกชน (corporate bond) สูงกว่าพันธบัตรรัฐบาล เรียกว่าเกิด Spread ซึ่ง Spread นั้นก็คือ risk premium ที่นักลงทุนควรจะได้รับในการถือครองตราสารหนี้เอกชนนั้นต่อไปโดยมีความเสี่ยงที่สูงกว่าพันธบัตรรัฐบาล จึงควรมีผลตอบแทนที่สูงกว่า และด้วยเหตุนี้ Moody’s Investors Service และ Standard and Poor’s Corporation จึงได้มีการจัดอันดับคุณภาพของตราสารหนี้ ตามโอกาสที่จะเกิด default risk นักลงทุนก็มักจะลงทุนเฉพาะตัวที่มีเกรดที่น่าลงทุนในระดับ investment-grade ขึ้นไป โดยมักจะหลีกเลี่ยง junk bond หรือ high yield bond ซึ่งเป็นตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงสูง แต่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า

ปัจจัยข้อที่ 2 ก็คือ liquidity หรือสภาพคล่อง สินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงย่อมเป็นที่ต้องการของนักลงทุน ซึ่งหากมองที่ตราสารหนี้ระยะยาวแล้ว พันธบัตรรัฐบาลก็ถือว่ามีสภาพคล่องสูงที่สุด เนื่องจากเป็นที่ต้องการและมีการซื้อขายกันอย่างแพร่หลาย ขายง่ายและมีค่าใช้จ่ายในการขายต่ำ ในขณะที่พวกตราสารหนี้เอกชนมักมีสภาพคล่องที่ต่ำกว่า หาคนซื้อยาก และหากต้องการขายอย่างเร่งด่วน ก็จะมีค่าใช้จ่ายที่สูง ดังนั้นความต้องการในพันธบัตรรัฐบาลจึงมักจะเพิ่มขึ้น ในขณะที่ความต้องการของตราสารหนี้เอกชนมักจะลดลงหลังจากออกขายครั้งแรก และเกิด spread ของอัตราผลตอบแทน ที่เรียกว่า liquidity premium ซึ่งก็คล้ายๆกับ risk premium นั่นเอง

ปัจจัยข้อที่ 3 ก็คือ Income Tax Considerations ตราสารหนี้ภาครัฐบางประเภทอย่างเช่น Municipal Bond ในประเทศสหรัฐฯ ที่ออกมาเพื่อมาระดมทุนในเรื่องใดเรื่องหนึ่งนั้น จะได้รับยกเว้นไม่ต้องจ่ายภาษีเงินได้จากดอกเบี้ยที่นักลงทุนได้รับ ซึ่งถ้าเทียบกับพันธบัตรรัฐบาล Municipal bond ก็เป็นที่ต้องการมากกว่า yield จึงต่ำกว่าเพราะถือว่าขายได้ง่ายกว่า และด้วยการที่ผู้ซื้อไม่ต้องจ่ายภาษีเงินได้จาก interest payment ทำให้ bond ตัวนี้เป็นที่สนใจลงทุนของธนาคารพาณิชย์ และบริษัทประกัน ในสหรัฐฯ ที่ต้องจ่ายภาษีสูงๆ ในประเทศไทยเองก็เคยได้ข่าวมาว่า กทม จะมีการออก Municipal Bond เช่นกัน แต่ขณะนี้ยังไม่ทราบความคืบหน้าเท่าใด

ปัจจัยอื่นๆก็ยังมีอีกมาก โอกาสหน้าจะมาเล่าสู่กันฟังต่อไป แต่อย่าลืมว่านักลงทุนต้องมีความเข้าใจเบื้องต้นก่อนจะตัดสินใจลงทุนด้วย






 

Create Date : 03 พฤษภาคม 2550    
Last Update : 3 พฤษภาคม 2550 14:16:34 น.
Counter : 2893 Pageviews.  

Hedge Fund มนตราการเงินโลกทุนนิยม

Hedge Fund มนตราการเงินโลกทุนนิยม



โดย โต๊ะข่าวต่างประเทศ นสพ. Post Today



ทอม วูล์ฟ ผู้คร่ำหวอดในความเป็นไปของตลาดหุ้นวอลสตรีทให้สมญานามเฮดจ์ฟันด์ว่าเป็น “ผู้บงการจักรวาล” ซึ่งเป็นคำกล่าวที่ไม่ผิดหากจักรวาลนั้นจำกัดตัวเองอยู่เพียงแค่โลกทุนนิยม จักรวาลที่เฮดจ์ฟันกำลังเก็งความเสี่ยงเพื่อโกยผลกำไรในระยะสั้นกันอย่างครื้นเครง ราวกับไม่ยี่หระต่อความหายนะ ที่พร้อมจะโจมตีตลาดทุนได้ทุกเมื่อ แต่ก็เพราะความมั่งคั่งที่ได้มาอย่างง่ายดายนี่เองที่ทำให้ “ผู้บงการ” เหล่านี้ยังไม่ยอมหยุดยั้ง

คำถามที่สำคัญที่สุด เฮดจ์ฟันด์ เคลื่อนไหวในตลาดการเงินอย่างไร
Hedge Fund หรือกองทุนเพื่อการเก็งกำไรจะมีผู้นำธงคือผู้จัดการกองทุนที่จะเลือกเก็งกำไรในตลาดซื้อขายล่วงหน้า หรือตราสารหนี้ หรือกองทุนใดกองทุนหนึ่งเป็นหลัก และมักจะแตะต้องตลาดหุ้นน้อยครั้งมาก โดยขับเคลื่อนตัวเองผ่านการลงทุนของนักลงทุนกลุ่มหนึ่งๆ และมีรายได้จากการเก็บค่าธรรมเนียมที่ 2% โดยเฉลี่ยและค่าคอมมิชชันจากผลงานการเก็งกำไรอีก 20%

น่าแปลกที่เมืองหลวงของเฮดจ์ฟันด์ไม่ได้ซ่อนตัวเองอยู่กลางตลาดทุนที่วุ่นวาย เช่น ในนิวยอร์ก หรือชิคาโก แต่กลับเป็นเมืองตากอากาศไฮโซในรัฐคอนเนกติกัตของสหรัฐ โดยเฉพาะในแถบกรีนนิช ส่วนเหตุผลไม่น่าจะเป็นอะไรอื่นไปได้นอกจากบรรดาผู้จัดการเฮดจ์ฟันด์มีวิถีชีวิตที่อู้ฟู่แบบชาวไฮโซชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐ และยังไม่ต้องการให้สายตาของตัวเองห่างจากความเคลื่อนไหวของคนในวงการเดียวกัน ที่กระจุกตัวในพื้นที่เดียวกัน

ตัวผู้จัดการเฮดจ์ฟันด์เองก็มีบุคลิกและความเป็นไปที่น่าตื่นตาตื่นใจไม่แพ้ธุรกิจในกำมือของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น อัลเฟรด วินสโลว์ โจนส์ ผู้ให้กำเนิดคำว่า เฮดจ์ฟันด์ ด้วยการขายหุ้นระยะสั้นกลุ่มหนึ่ง และซื้ออีกก้อนหนึ่งเพื่อเก็งความเสี่ยง เจสซี ลิเวอร์มอร์ ผู้พัฒนาศิลปะของการเก็งกำไรจนกลายเป็นมหาเศรษฐีในชั่วเวลาเพียงข้ามคืน และกลายเป็นคนล้มละลายในอีกไม่นานนัก รวมถึง จอร์จ โซรอส พ่อมดเก็งกำไรที่ชาวโลกรู้จักกันดี

การเป็นผู้จัดการ Hedge Fund จึงไม่ต่างจากการเป็นนักเสี่ยงโชค ที่อยู่ในกระแสความต้องการดึงตัวของนักลงทุน และขณะเดียวกันเป็นเสมือนพ่อมดการเงินที่ต้องทนกับเสี่ยงก่นประณามของบางฝ่ายที่ชี้ว่า การเก็งกำไรบนความเสี่ยงของเฮดจ์ฟันด์ คือความหายนะทางการเงินในระยะยาวของเศรษฐกิจโลก

เสียงเหล่านั้นจะไม่มีน้ำหนัก หากไม่มาจากปากของนักเศรษฐศาสตร์และผู้ว่าการธนาคารกลางชั้นนำ เช่นเมื่อเร็วๆนี้ที่เยอรมนีพยายามชี้ชวนให้กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ (G8) ได้เห็นแนวโน้มที่ว่านั้น ขณะที่รัฐบาลเนเธอร์แลนด์เองก็ถึงกับเอ่ยว่า เฮดจ์ฟันด์คือแมลงร้ายที่หล่อเลี้ยงชีวิตอยู่บนความพินาศของบรรษัทต่างๆ

น่าฟังอย่างยิ่งหากพบว่าการลงทุนในลักษณะนี้ค่อนข้างเป็นอิสระจากการควบคุมทางการเงิน และมีความเคลื่อนไหวที่จับทางได้ยากจนถึงขั้นลึกลับ นอกจากนี้ หากพิจารณาที่ว่า เพียงแค่รายได้จากค่าธรรมเนียมเพียงอย่างเดียวก็ปาเข้าไปแล้วกว่า 5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 1.7 ล้านล้านบาท) ส่วนเงินหมุนเวียนนั้นอาจสูงถึง 1.4 ล้าน – 2 ล้าน ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 49 ล้าน – 70 ล้าน ล้านบาท) หากล้มครืนขึ้นมาเมื่อใด แรงสั่นสะเทือนจะขยายตัวไปทั่วโลกอย่างไม่ต้องสงสัย

และขณะนี้บางคนเริ่มชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มในระยะยาวแล้วว่า รายได้ที่เคยเป็นกอบเป็นกำของเฮดจ์ฟันด์เริ่มเข้าสู่ภาวะขาลง เพราะได้เดินทางถึงจุดสูงสุดของการแสวงหากำไรแล้ว

อย่างไรก็ตาม เสียงก่นประณามเหล่านั้นมาแรงพอๆกับเสียงเยินยอว่า ความเคลื่อนไหวของเฮดจ์ฟันด์ช่วยกระตุ้นตลาดการเงิน และการที่เฮดจ์ฟันด์มีความเป็นอิสระยิ่งกว่าสถาบันการเงินแบบอนุรักษ์นิยม ยิ่งทำให้กองทุนประเภทนี้ก้าวพ้นพรมแดน และก่อกำเนิดนวัตกรรมใหม่ๆ ในตลาดได้ตลอดเวลา เหมือนกับที่ นูต เวลนิก ผู้ว่าการธนาคารกลางเนเธอร์แลนด์กล่าวไว้ว่า

“ไม่ว่าจะกี่ครั้งผมได้กล่าวอยู่เสมอมาว่า ผมชื่นชมเฮดจ์ฟันด์ เพราะมีผลงานที่เข้าตา ช่วยเปิดโอกาสด้านการลงทุนใหม่ๆ ทั้งยังมีส่วนเพิ่มแรงกดดันให้กับการบริหารของบริษัทหนึ่งๆ”

จากการสำรวจที่อ้างอิงโดยหนังสือพมพ์ไฟแนนเชียล ไทมส์ พบว่า การเคลื่อนไหวของผู้จัดการเฮดจ์ฟันด์ผ่านการจัดการมาตรการของบริษัทหนึ่ง ที่เป็นเป้าหมาย ช่วยเพิ่มราคาหุ้นของบริษัทนั้นๆที่ 5-7% หากมุ่งที่การเปลี่ยนแปลงยุทธศาสตร์ของบริษัทหรือกระตุ้นให้มีการเทขาย ราคาหุ้นจะเพิ่มขึ้น 4.4-10.9%

นี่เป็นเหตุผลว่า ทำไมความเชื่อมั่นในเฮดจ์ฟันด์จึงไม่มีทีท่าจะถดถอยลง เห็นได้จากการสำรวจของโกลด์แมน แซคส์ ที่พบว่านักลงทุนจะอัดฉีดการลงทุนอีก 24% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ยังไม่นับการที่เริ่มมีอิทธิพลมากขึ้นในบอร์ดบริหารของบริษัทจนถึงขั้นชี้เป็นชี้ตายสมาชิกบอร์ดได้ ต้องยอมรับว่าหลายกรณีเป็นความเปลี่ยนแปลงในด้านดี แต่หลายกรณีก็เป็นการบ่มเพาะความเกลียดชังในองค์กรได้ไม่ยาก ซึ่งจากการสำรวจเดียวกันยังพบด้วยว่า รายได้ของผู้บริหารระดับสูงจะลดลงมาที่ราว 8 แสน – 1 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 28 ล้าน – 35 ล้านล้านบาท) หากคนผู้นั้นตกเป็นเป้าโจมตีของเฮดจ์ฟันด์

เฮดจ์ฟันด์คือนางฟ้าหรือซาตาน คงยากเกินกว่าที่จะฟันธงได้แล้ว เพราะด้วยความที่มีธรรมชาติของความเป็นผู้ผลักดันนวัตกรรมใหม่ๆในตลาดการเงิน ทำให้สถาบันการเงินรูปแบบอื่นๆเริ่มหันมาเดินตามรอยกลยุทธ์ของเฮดจ์ฟันด์จนกูรูในวงการนี้เองเริ่มที่จะแยกแยะไม่ออกว่าทุนไหนคือเฮดจ์ฟันด์ของแท้และทุนไหนคืออยู่ในคราบเฮดจ์ฟันด์ อย่างเช่น โกลด์แมน แซคส์ เองก็ว่ากันว่า คือเฮดจ์ฟันด์ก้อนใหญ่ในคราบธนาคารเพื่อการลงทุน

ความยากนี้จะกลายเป็นปัญหาเมื่อเกิดวิกฤตการเงินขึ้นมา เพราะจับมือใครดมไม่ได้ว่าตัวปัญหาที่แท้จริงเกิดจากเฮดจ์ฟันด์ ตัวจริงหรือตัวปลอม




 

Create Date : 02 พฤษภาคม 2550    
Last Update : 2 พฤษภาคม 2550 22:16:33 น.
Counter : 846 Pageviews.  

1  2  3  

Steff
Location :
Leeds United Kingdom

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




เด็กขำๆ ที่มีสาระ (น้อย) ชอบอ่านข่าวเศรษฐกิจและคลายเครียดด้วยหน้าบันเทิงไทยรัฐ ^-"

Article ที่นำมานี้ส่วนใหญ่เอามาจาก Post Today, วารสารทางการเงินต่างๆ, และจากเว็บไซท์ต่างๆ ซึ่งเราเห็นว่าน่าสนใจค่ะ ขอบคุณแหล่งที่มาด้วยค่ะ

ป.ล. มีบางบทความเขียนเอง ลง Post Today กับ Manager ด้วย เจ๋งปะ

Image Hosted by ImageShack.us


bloggang
Friends' blogs
[Add Steff's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.