··¤(`×[¤ Oreo in Leeds ¤]×´)¤·· -- @'-"@.
Group Blog
 
All blogs
 
เข้าใจในอัตราผลตอบแทน

ห้องความรู้บัวหลวง
****บทความนี้ เราเขียนเอง ลง Post Today และ Manager****


เข้าใจในอัตราผลตอบแทน


นักลงทุนทั้งหลายคงทราบกันดีอยู่แล้วว่า interest rate หรืออัตราดอกเบี้ยนั้น เป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างมากต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชาชน และการที่จะตัดสินใจนำเงินของท่านลงทุนทำธุรกิจ ฝากธนาคาร หรือแม้แต่การอุปโภคบริโภคประจำวันก็ล้วนขึ้นอยู่กับ interest rate ทั้งสิ้น ซึ่งเจ้า interest นี้ ก็มีหลากหลายความหมาย มีวิธีวัดและการคิดคำนวณที่แตกต่างกัน แต่ในมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์ หากพูดถึง interest rate ความหมายที่ชัดเจนและถูกต้องที่สุดก็ต้องเป็น Yield To Maturity (YTM) หรืออัตราผลตอบแทนจากการลงทุน ซึ่งต้องคำนึงถึงแนวคิดที่ว่าเงินในปัจจุบันมีค่ามากกว่าเงินในอนาคต (Present Value Concept)

เมื่อนักลงทุนต้องการลงทุนในตราสารหนี้ประเภทต่างๆ YTM จะเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจลงทุนในตราสารหนี้ชนิดนั้นๆ นักลงทุนอาจมีคำถามต่อไปอีกว่า แล้วทำไม ตราสารหนี้ที่มีอายุคงเหลือเท่ากัน จึงมีอัตราผลตอบแทนที่ต่างกัน อะไรบ้างที่มีอิทธิพลต่ออัตราผลตอบแทน ทำไมตราสารหนี้ที่มีอายุคงเหลือยาวๆก่อนจะครบกำหนดจึงมักมีอัตราผลตอบแทนที่สูงกว่าตราสารหนี้ระยะสั้น มันมีความสัมพันธ์กันอย่างไร

คำถามเหล่านี้ หากนักลงทุนมีความเข้าใจว่าสิ่งที่ทำให้ YTM ของตราสารหนี้แต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน ก็จะทำให้ท่านนักลงทุนตัดสินใจถูกต้องว่าตราสารหนี้ตัวไหนควรจะลงทุน ตัวไหนควรจะขาย โดยคำถามข้อแรกๆก็คือ ทำไมอัตราผลตอบแทนในตราสารหนี้ต่างๆที่มีอายุคงเหลือเท่ากันจึงต่างกัน คำตอบก็คือ ตราสารหนี้เหล่านั้นมีความเสี่ยงที่ต่างกันนั่นเอง ด้วยปัจจัยหลักต่างๆ ดังต่อไปนี้

ปัจจัยข้อที่หนึ่งก็คือความเสี่ยงที่ผู้ออกตราสารหนี้ไม่สามารถจ่ายดอกเบี้ย และ/หรือไม่อาจจ่ายคืนเงินต้นตามกำหนดได้ ความเสี่ยงนี้เรียกกันว่า Default Risk หรือ Credit Risk ซึ่งโดยปกติแล้วพวกตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทเอกชนมักจะมีความเสี่ยงประเภทนี้มากกว่าที่ออกโดยภาครัฐ เพราะหากทางบริษัทเกิดปัญหาขาดทุนอย่างรุนแรงขึ้นมา ก็คงไม่สามารถจ่ายดอกเบี้ยหรือเงินต้นคืนตามข้อกำหนดได้ ในขณะที่ตราสารหนี้ที่ออกโดยภาครัฐ เช่น พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง ฯลฯ จัดเป็นตราสารหนี้ที่ไม่มีความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ (Default-free bond) เพราะฉะนั้นตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงว่าจะเกิด default risk ได้สูงมากเท่าไหร่ก็ยิ่งไม่เป็นที่ต้องการมากเท่านั้น ผู้ออกตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงประเภทนี้สูงจึงมักจะให้อัตราผลตอบแทนสูงๆเพื่อจูงใจผู้ลงทุนให้ยอมรับความเสี่ยง มิฉะนั้นก็ไม่มีใครไปลงทุน นักลงทุนที่อนุรักษ์นิยมส่วนใหญ่มักจะสนใจตราสารหนี้ที่ออกโดยภาครัฐมากกว่า เพราะไม่ชอบความเสี่ยงประเภทนี้ แม้ว่าพันธบัตรรัฐบาลจะให้อัตราผลตอบแทนที่ต่ำกว่าตราสารหนี้ที่ออกดโยบริษัทเอกชนทั้งๆที่มีอายุคงเหลือเท่าๆกัน ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้ ผลตอบแทนของตราสารหนี้ภาคเอกชน (corporate bond) สูงกว่าพันธบัตรรัฐบาล เรียกว่าเกิด Spread ซึ่ง Spread นั้นก็คือ risk premium ที่นักลงทุนควรจะได้รับในการถือครองตราสารหนี้เอกชนนั้นต่อไปโดยมีความเสี่ยงที่สูงกว่าพันธบัตรรัฐบาล จึงควรมีผลตอบแทนที่สูงกว่า และด้วยเหตุนี้ Moody’s Investors Service และ Standard and Poor’s Corporation จึงได้มีการจัดอันดับคุณภาพของตราสารหนี้ ตามโอกาสที่จะเกิด default risk นักลงทุนก็มักจะลงทุนเฉพาะตัวที่มีเกรดที่น่าลงทุนในระดับ investment-grade ขึ้นไป โดยมักจะหลีกเลี่ยง junk bond หรือ high yield bond ซึ่งเป็นตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงสูง แต่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า

ปัจจัยข้อที่ 2 ก็คือ liquidity หรือสภาพคล่อง สินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงย่อมเป็นที่ต้องการของนักลงทุน ซึ่งหากมองที่ตราสารหนี้ระยะยาวแล้ว พันธบัตรรัฐบาลก็ถือว่ามีสภาพคล่องสูงที่สุด เนื่องจากเป็นที่ต้องการและมีการซื้อขายกันอย่างแพร่หลาย ขายง่ายและมีค่าใช้จ่ายในการขายต่ำ ในขณะที่พวกตราสารหนี้เอกชนมักมีสภาพคล่องที่ต่ำกว่า หาคนซื้อยาก และหากต้องการขายอย่างเร่งด่วน ก็จะมีค่าใช้จ่ายที่สูง ดังนั้นความต้องการในพันธบัตรรัฐบาลจึงมักจะเพิ่มขึ้น ในขณะที่ความต้องการของตราสารหนี้เอกชนมักจะลดลงหลังจากออกขายครั้งแรก และเกิด spread ของอัตราผลตอบแทน ที่เรียกว่า liquidity premium ซึ่งก็คล้ายๆกับ risk premium นั่นเอง

ปัจจัยข้อที่ 3 ก็คือ Income Tax Considerations ตราสารหนี้ภาครัฐบางประเภทอย่างเช่น Municipal Bond ในประเทศสหรัฐฯ ที่ออกมาเพื่อมาระดมทุนในเรื่องใดเรื่องหนึ่งนั้น จะได้รับยกเว้นไม่ต้องจ่ายภาษีเงินได้จากดอกเบี้ยที่นักลงทุนได้รับ ซึ่งถ้าเทียบกับพันธบัตรรัฐบาล Municipal bond ก็เป็นที่ต้องการมากกว่า yield จึงต่ำกว่าเพราะถือว่าขายได้ง่ายกว่า และด้วยการที่ผู้ซื้อไม่ต้องจ่ายภาษีเงินได้จาก interest payment ทำให้ bond ตัวนี้เป็นที่สนใจลงทุนของธนาคารพาณิชย์ และบริษัทประกัน ในสหรัฐฯ ที่ต้องจ่ายภาษีสูงๆ ในประเทศไทยเองก็เคยได้ข่าวมาว่า กทม จะมีการออก Municipal Bond เช่นกัน แต่ขณะนี้ยังไม่ทราบความคืบหน้าเท่าใด

ปัจจัยอื่นๆก็ยังมีอีกมาก โอกาสหน้าจะมาเล่าสู่กันฟังต่อไป แต่อย่าลืมว่านักลงทุนต้องมีความเข้าใจเบื้องต้นก่อนจะตัดสินใจลงทุนด้วย






Create Date : 03 พฤษภาคม 2550
Last Update : 3 พฤษภาคม 2550 14:16:34 น. 0 comments
Counter : 2894 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Steff
Location :
Leeds United Kingdom

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




เด็กขำๆ ที่มีสาระ (น้อย) ชอบอ่านข่าวเศรษฐกิจและคลายเครียดด้วยหน้าบันเทิงไทยรัฐ ^-"

Article ที่นำมานี้ส่วนใหญ่เอามาจาก Post Today, วารสารทางการเงินต่างๆ, และจากเว็บไซท์ต่างๆ ซึ่งเราเห็นว่าน่าสนใจค่ะ ขอบคุณแหล่งที่มาด้วยค่ะ

ป.ล. มีบางบทความเขียนเอง ลง Post Today กับ Manager ด้วย เจ๋งปะ

Image Hosted by ImageShack.us


bloggang
Friends' blogs
[Add Steff's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.