ที่ตรงนี้ยังคงมีรัก ถ้าเธอเหนื่อยนัก ให้มาพักใจ
Group Blog
 
All blogs
 

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009

ไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ สายพันธ์ใหม่ปี 2009คืออะไร ร้ายแรงไหม

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่เพิ่งระบาดนี้ เหมือนไข้หวัดใหญ่ที่มีระบาดอยู่เป็นประจำ คือทำให้เกิดอาการของระบบทางเดินหายใจ และมีไข้ บางคนมีอาการท้องเสียได้ ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพอยู่ก่อน โดยเฉพาะ โรคปอด โรคหัวใจ โรคเรื้อรังต่างๆ มีโอกาสเกิดอาการรุนแรงได้มากกว่าคนทั่วไป บางคนอาจเกิดปอดบวม หัวใจวาย และเสียชีวิตได้

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่เกิดจากการผสมผสานสายพันธุ์ของคน หมูและนก จนปรับตัวให้ติดต่อจากคนสู่คนได้ เชื้อนี้มิได้พบในหมูทั่วไป จึงไม่ติดต่อโดยการสัมผัสหรือกินหมู และดูเหมือนสายพันธุ์นี้จะรุนแรง กว่าสายพันธุ์ที่มีอยู่ประจำ แต่ผู้ป่วยอาจมีอาการแต่น้อยมากจนไม่รู้ตัว จนถึงรุนแรงมากๆ ได้ มีรายงานการเสียชีวิตในผู้ป่วยในเม็กซิโก และอเมริกาซึ่งไม่ทราบอัตราที่แน่นอน

เมื่อไหร่จะสงสัยว่าเป็นไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ สายพันธุ์ใหม่
หากท่านป่วยด้วยอาการไข้ เป็นหวัด เจ็บคอ ไอ และได้เดินทางไปในที่ๆ ที่มีการระบาดภายใน 7 วัน อาจมีความเสี่ยงต่อโรคนี้ได้ ควรปรึกษาแพทย์

จะป้องกันโรคนี้ได้อย่างไร
- รักษาร่างกายให้แข็งแรง
- หลีกเลี่ยงการพบปะกับคนที่กำลังป่วยหรือเป็นหวัด
- ล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสกับสิ่งต่างๆ ในที่สาธารณะ
- หลีกเลี่ยงการพบปะเข้าไปในที่ๆ มีคนอยู่ร่วมกันจำนวนมาก
- ถ้าป่วยควรอยู่บ้านไม่ไปพบใคร และใส่หน้ากากอนามัย
- ใช่ทิชชู่ปิดปากเวลาไอ จาม และทิ้งทิชชู่นั้นทันที จากนั้นล้างมือฟอกสบู่ หรือถ้าไม่สามารถล้างมือได้ทันทีให้ใช้แอลกอฮอล์เจลฟอกให้ทั่วมือแทน ในกรณีที่ไม่มีทิชชู่ปิดปากเวลาไอจามให้ใช้ต้นแขนปิดแทนการใช้มือปิดปาก เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค
- ไม่ควรกินยาแอสไพรินเอง ควรปรึกษาแพทย์

โรคนี้รักษาได้ไหม
ขณะนี้ มียาต้านไวรัสชื่อ โอเซลตามิเวียร์ ซึ่งสามารถรักษาโรคนี้ได้ แต่ต้องเริ่มให้ยาเร็ว จึงจะได้ผลดี

มีวัคซีนป้องกันโรคนี้ได้ไหม
วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ สายพันธ์ใหม่ยังอยู่ในขั้นตอนการผลิต ในปัจจุบันมีวัคซีนไข้หวัดใหญ่ประจำฤดูกาล ซึ่งผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังหรือมีโรคประจำตัว โดยเฉพาะกลุ่มโรคปอด โรคหัวใจ ที่อายุเกิน 6 เดือนขึ้นไป ควรต้องฉีดทุกปี วัคซีนที่มีใช้ประจำฤดูกาลนี้ ไม่สามารถป้องกันไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ สายพันธ์ใหม่ได้ แต่อาจช่วยลดความรุนแรงได้




 

Create Date : 13 กรกฎาคม 2552    
Last Update : 13 กรกฎาคม 2552 21:21:57 น.
Counter : 766 Pageviews.  

วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่

วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ มี 2 กลุ่ม
1 วัคซีนเชื้อตาย (inactivated หรือ killed virus vaccine) มี 3 ชนิด
1.1 Whole virus vaccine นำเอาไวรัสทั้งอนุภาคไปผลิตวัคซีนโดยฆ่าเชื้อให้หมดสภาพในการติดเชื้อก่อน มักมีฤทธิ์ไม่พึงประสงค์มากกว่าชนิดอื่น
1.2 Split virion vaccine นำเชื้อไวรัสผ่านกระบวนการทำให้ส่วนประกอบต่างๆชองไวรัสแยกตัวจากอนุภาคเดิม วัคซีนชนิดนี้มีปฏิกิริยาไม่พึงประสงต่ำลง
1.3 Subunit vaccine นำเชื้อไวรัสไปผ่านกระบวนการทำให้บริสุทธิ์ แยก internal antigen ออกไปเหลือเฉพาะ surface antigen มีปฏิกิริยาไม่พึงประสงต่ำคล้ายกับ Split virion vaccine
2 Live attenuated vaccine ผลิตจากไวรัสที่ผ่านกระบวนการทำให้อ่อนฤทธิ์ในการก่อโรค ชนิดนี้ใช้เป็นแบบพ่นฝอยเข้าจมูก

วัคซีนทั้งหมดนี้ ที่นิยมในปัจจุบันและที่ใช้ในประเทศไทย เป็น Split virion vaccine มีประสิทธิภาพสูง มีปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์ต่ำ และใข้ในเด็กได้ด้วย

ส่วนประกอบของวัคซีน
ในวัคซีน 1 dose จะประกอบด้วยไวรัส 3 สายพันธุ์ ได้แก่ Influenza A (H3N2), Influenza A (H1N1) และ Influenza B ในแต่ละปีจะพบมีการระบาดของโรคจากไวรัสต่างสายพันธุ์เสมอ จึงต้องมีการฉีดวัคซีนป้องกันทุกปี
ในประเทศไทยได้มีการเฝ้าระวังสายพันธุ์ไวรัสไข้หวัดใหญ่โดยศูนย์ไข้หวัดใหญ่แห่งชาติ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ช่วงเดือน มกราคม- สิงหาคม 2548 พบมีการระบาดของInfluenza A subtype H1N1, H3N2 และ Influenza B ร่วมกันไปซึ่งคล้ายคลึงกับเชื้อที่ระบาดในประเทศแถบเอเชียแปซิฟิก การตรวจยืนยันสายพันธุ์ขององค์การอนามัยโลกพบว่า Influenza A (H1N1) ยังคงเป็น A/New Caledonia/20/99 (H1N1) สายพันธุ์เดิมปีที่แล้ว ส่วน Influenza A (H3N2) สายพันธุ์ A/Fujian/411/2002)H3N2) ของปีที่แล้วมีกลายพันธุ์เล็กน้อยเกิดสายพันธุ์ใหม่เป็น A/Wellington/1/2004 (H3N2) และ A/California/7/2004 (H3N2) ส่วน Influenza B เหมือนเดิมคือ B/Shanghai/361/2002 และ B/Hong kong/330/2001 เมื่อเปรียบเทียบสายพันธุ์ที่ระบาดในไทยขณะนี้กับสายพันธุ์วัคซีนที่องค์การอนามัยโลกประกาศใช้พบว่าคล้ายคลึงกับสายพันธุ์วัคซีนที่ใช้ในประเทศแถบซีกโลกเหนือ และแถบซีกโลกใต้ วัคซีนทั้ง 2 ชนิด จึงมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ในประเทศไทยได้ทัดเทียมกัน

กำหนดการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่
อายุ 6-35 เดือน ขนาด 0.25 มล. จำนวน 1-2 ครั้ง เข้ากล้ามเนื้อ
อายุ 3-8 ปี ขนาด 0.5 มล. จำนวน 1-2 ครั้ง เข้ากล้ามเนื้อ
อายุ > 9 ปี ขนาด 0.5 มล. จำนวน 1 ครั้ง เข้ากล้ามเนื้อ
ผู้ใหญ่ ขนาด 0.5 มล. จำนวน 1 ครั้ง เข้ากล้ามเนื้อ
หมายเหตุ : เด็กอายุต่ำกว่า 9 ปี ถ้าเป็นการฉีดครั้งแรกให้ฉีด 2 เข็มห่างกันอย่างน้อย 4 สัปดาห์ ต่อไปฉีดปีละครั้ง เด็กอายุมากกว่า 9 ปี และผู้ใหญ่ ฉีด 1 เข็มปีละครั้ง
ข้อห้ามของการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่
1 ผู้ที่มีประวัติแพ้ไข่ไก่
2 ผู้ที่เคยแพ้การฉีดวัคซีนชนิดอื่นๆมาก่อน
3 ขณะกำลังมีไข้สูง อาการป่วยเล็กน้อยฉีดได้ด้วยความระมัดระวัง

ผลข้างเคียงและปฏิกิริยาที่ไม่พึงประสงค์
1 ปวดบริเวณที่ฉีด พบได้น้อยกว่าหนึ่งในสามของผู้ที่ฉีดวัคซีน
2 ไข้ ปวดเมี่อยตามตัว ปวดกล้ามเนื้อ พบไม่บ่อย พบได้ 6-12 ชั่วโมงหลังฉีด และอาจอยู่นาน 1-2 วัน





 

Create Date : 13 กรกฎาคม 2552    
Last Update : 13 กรกฎาคม 2552 21:12:41 น.
Counter : 753 Pageviews.  

โรคไข้หวัดใหญ่

โรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza)
โรคไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส Influenza ซึ่งก่อโรคส่วนใหญ่ในระบบทางเดินหายใจส่วนต้น ได้แก่ จมูก ลำคอ หลอดลม น้อยครั้งมากที่จะก่อโรคที่ปอดโดยตรง ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาจนปัจจุบัน ทั่วโลกได้มีความกังวลอย่างมากว่า อาจเกิดมีการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดนก H5N1 ทั่วโลกได้ถ้าคนติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่คนและไวรัสไข้หวัดใหญ่นก H5N1ในเวลาเดียวกัน และไวรัสมีการแลกเปลี่ยนสารพันธุกรรมกัน อาจเกิดการกลายพันธุ์ได้ ทำให้เชื้อไข้หวัดนก H5N1 ซึ่งมีความสามารถก่อโรคได้รุนแรงและมีอัตราตายสูงในคน สามารถแพร่จากคนไปคนได้ ซึ่งในอดีตเคยเกิดมาแล้วในปี พศ. 2461 มีการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ Spanish Flu มีผู้คนเสียชีวิตทั่วโลก 30-40 ล้านคน ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะนั้นประเทศไทยมีประชากรอยู่ 8,478,566 คน ป่วยเป็นโรค 2,317,663 คน (ร้อยละ 27.32) และเสียชีวิตถึง 80,263 คน การระบาดครั้งใหญ่ที่สุดนี้ ล่าสุดได้มีการนำตัวอย่างปอดของทหารที่เสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่ครั้งนั้นมาตรวจ พบสารพันธุกรรมของ Swine influenza virus ปัจจุบันจึงสรุปได้แน่นอนว่า Spanish Flu เกิดจาก Swine influenza virus ต่อมาได้มีการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่อีกหลายครั้งแต่ไม่รุนแรงมากเท่า Spanish flu
เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่เป็นเชื้อที่มีการเปลี่ยนแปลงสารพันธุกรรมได้รวดเร็วตลอดเวลา จัดอยู่ใน Family Orthomyxoviridae, Genus Influenzavirus แบ่งได้เป็น 3 types A, B และ C โครงสร้างภายนอกมีโปรตีนบนผิวเซลล์ ได้แก่ Hemagglutinin มี 15 ชนิด H1, H2, จนถึง H15 มีคุณสมบัติเป็น Glycoprotein ทำหน้าที่ จับกับ Target cell สามารถทำให้ เม็ดเลือดแดงเกิด Agglutination และสามารถกระตุ้น Neutralizing antibody และ Neuraminidase มี 9 ชนิด N1, N2, ถึง N9 มีคุณสมบัติเป็น Glycoprotein มีหน้าที่ทำลาย Receptor ของ Target cell และสามารถกระตุ้น Partial protection immunity ปัจจุบันมีเพียง H1, H2, H3 และ N1, N2 เท่านั้นที่พบในคน เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติ Antigen ได้ 2 รูปแบบ ได้แก่ Antigenic drift เป็นการเปลี่ยนแปลงของ genes เกิดขึ้นที่ genesที่มีรหัส Glycoprotein ของเปลือกหุ้มโดยเฉพาะ จึงก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเกิดไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่แตกต่างจากเดิมไม่มาก การระบาด แต่ละปีจะเกิดจากสายพันธุ์แตกต่างกัน ที่พบระบาดหลายปีที่ผ่านมาเป็นไวรัส subtype H3N2 , H1N1 และ Influenza B จึงต้องมีการฉีดวัคซีนทุกปี Antigenic shift เป็นการกลายพันธุ์ ผสมผสานชิ้นส่วนของสารพันธุกรรมซึ่งเกิดขึ้นได้หากมีการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด A ซ้อนกัน 2 ชนิด พร้อมๆกัน และเกิดมี การแลกเปลี่ยนสารพันธุกรรม อาจจะเกิด antigenic shift ได้ ถ้าเกิดลักษณะนี้จะมีการระบาดอย่างกว้างขวางทั่วโลกได้ เช่นในการระบาดใหญ่ Spanish flu เกิดมีการแลกเปลี่ยนสารพันธุกรรม human influenza virus และ avian influenza virus ในหมู เกิด antigenic shift มีการระบาดรุนแรงทั่วโลก.

โรคไข้หวัด (Cold) และโรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza) พบได้บ่อยทุกเพศทุกวัยทุกเชื้อชาติ ในประเทศไทยพบโรคได้ตลอดปี มีอุบัติการณ์สูงในช่วงฤดูฝน ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมามีรายงานผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ในประเทศไทยปีละ 20,000 – 40,000 คน เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่เข้าสู่ร่างกายทางเยื่อบุจมูกและปาก โดยการหายใจ หรือสัมผัสโดยตรงกับสิ่งของที่ปนเปื้อนเสมหะ น้ำลาย จากการไอหรือจามของผู้ป่วย ในช่วงที่มีการระบาดจะพบเด็กนักเรียนป่วยเป็นโรคนี้มาก เด็กจะนำเชื้อไปแพร่ต่อยังผู้ใหญ่และเด็กคนอื่นๆ
โรคไข้หวัดใหญ่มีระยะฟักต้ว 1-4 วัน จึงปรากฏอาการของโรค บางครั้งมีอาการไม่มากจนแยกจากไข้หวัดธรรมดาไม่ได้โดยเฉพาะในเด็กเล็ก และบางครั้งมีอาการรุนแรงอย่างเห็นได้ชัดเจน และเป็นอยู่นานวันกว่าไข้หวัดธรรมดา

อาการ ไข้หวัดธรรมดา
ไข้ : พบบ่อย ไข้มักมีต่ำๆ
ปวดกล้ามเนื้อ : ไม่ค่อยพบ มีอาการน้อย
อ่อนเพลีย : มีน้อยระยะสั้นๆ
คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน : ไม่ค่อยพบ
คัดจมูก น้ำมูกไหล เจ็บคอ : พบบ่อยระยะแรกๆ พบระยะหลังๆ

อาการ ไข้หวัดใหญ่
ไข้ : ไข้สูงทั้งเด็กและผู้ใหญ่
ปวดกล้ามเนื้อ : พบบ่อย มีอาการปวดมาก
อ่อนเพลีย : เป็นมาก อาจนานเป็นสัปดาห์
คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน : พบได้บ่อยในเด็กเล็ก
คัดจมูก น้ำมูกไหล เจ็บคอ : พบระยะหลังๆ

อาการของโรคไข้หวัดใหญ่
ผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่จะมีอาการปรากฏเร็วหรือช้าขึ้นกับปริมาณเชื้อไวรัสที่ได้รับ ในผู้ใหญ่จะมีไข้สูง (38-400 ซ) แบบเฉียบพลัน มีอาการคัดจมูก ปวดศีรษะ หนาวสะท้าน อ่อนเพลียมาก บางรายมีอาการทางระบบทางเดินหายใจน้อย มีอาการไม่สบาย ปวดเมื่อย ปวดหลัง คอแห้ง คันในคอ บางรายมีน้ำมูกไหลมากและจาม ไอ ตาแดง น้ำตาไหล เสียงแหบได้ นอนหลับไม่สนิท เบื่ออาหาร คลื่นไส้ เวียนศีรษะ ตาแดง ในรายที่มีร่างกายแข็งแรงมาก่อนป่วย ได้นอนพัก อาการมักไม่รุนแรง ภายใน 3-5 วันไข้จะลดลงเป็นปรกติ แต่ยังคงมีอาการอ่อนเพลีย ไอมีเสมหะ อีก 2-3 วัน ผู้ป่วยจะหายทำงานได้ตามปรกติภายใน 7-10 วัน ในเด็กถ้ามีอาการป่วยจากเชื้อ Influenza B จะมีอาการรุนแรงกว่า เชื้อ Influenza A อาการโรคไข้หวัดใหญ่ในเด็กอาจพบมีอาการเพียงเล็กน้อย จนถึงมีอาการมากจนต้องรักษาในโรงพยาบาล โดยทั่วไปมีอาการคล้ายผู้ใหญ่ มีไข้สูงแบบเฉียบพลัน มีหนาวสั่นได้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ เด็กจะปวดบริเวณน่องได้ ทำให้เด็กไม่ยอมเดินบางครั้งนานหลายวัน มีไอแห้งๆไม่มีเสมหะ ต่อมาจะมีเจ็บคอ คัดจมูกน้ำมูกไหล ไอมากขึ้น ตาแดง เด็กมีอาการทางระบบทางเดินอาหารบ่อยกว่า เช่น ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว ในเด็กเล็กอาจแสดงอาการคล้ายภาวะ Sepsis ได้ บางครั้งแสดงอาการของ Croups, bronchiolitis, pneumonia ได้ ผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สามารถแพร่เชื้อได้ 24 ชั่วโมงก่อนปรากฏอาการของโรค จนถึง 7 วันหลังเกิดอาการ ในเด็กเล็กและผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำจะแพร่เชื้อได้นานกว่านี้
ภาวะแทรกซ้อน
ถ้าผู้ป่วยมีอายุไม่มาก และร่างกายแข็งแรงดีก่อนป่วย โรคไข้หวัดใหญ่จะมีความรุนแรงระดับปานกลาง ถ้ามีปัจจัยเสี่ยงพบภาวะแทรกซ้อนได้โดยอาจพบได้ที่ ทางเดินหายใจส่วนล่างบ่อยที่สุด ( Tracheobronchitis, bronchiolitis, pneumonia) ระบบหัวใจหลอดเลือด (Myocarditis, heart failure) และระบบประสาทกลาง (Encephalitis, encephalopathy, Guillain Barre Syndrome), Diabetic ketosis, Reye’s syndrome ในผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น Hemoglobinopathies, ภูมิคุ้มกันบกพร่อง asthma, malignancy, diabetes mellitus, chronic renal disease, congenital heart diseases และทารกแรกเกิด เป็นต้น จะพบเกิดภาวะแทรกซ้อนได้บ่อยและรุนแรง
การวินิจฉัยโรคไข้หวัดใหญ่
ควรสงสัยว่าอาจเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ถ้าผู้ป่วยมีอาการของโรค โดยเฉพาะการมีประวัติสัมผัสโรคกับบุคคลในครอบครัวหรือผู้ใกล้ชิดที่เป็นโรคไข้หวัดใหญ่ ช่วงที่มีการระบาดของโรค การตรวจทางห้องปฏิบัติการสามารถให้การวินิจฉัยโรคได้แม่นยำมีหลายวิธี
- Rapid test to detect Influenza antigen in nasopharyngeal secretion : -
o Polymerase Chain Reaction
o Antigen capture ELISA with monoclonal antibody to the nucleoprotein
- Detection of viral antigen in nasal secretions by immunofluorescent test
- Culture from nasopharyngeal secretions during 72 hours of illness
- Serology to detect antibody by HI, CF, NT
การรักษา
โรคไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่หายได้เองภายใน 5-7 วันถ้ามีอาการไม่รุนแรง โดยให้พักผ่อนมากๆ ดื่มน้ำบ่อยๆ เช็ดตัวขณะมีไข้สูง ให้ยาลดไข้แก้ปวดพาราเซตามอลเท่านั้น (ห้ามให้Aspirin อาจเกิด Reye’s syndrome ได้) ถ้ามีอาการมาก อาเจียนบ่อย ควรดูแลใกล้ชิดอาจจำเป็นต้องรับการรักษาในโรงพยาบาลจะปลอดภัยกว่า โดยเฉพาะถ้ามีโรคหรือภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น ปัจจุบันมียาต้านไวรัสรักษาโรคที่เกิดจาก Influenza A ได้ผลดี ลดความรุนแรงของโรคลงได้ถ้าได้รับยาเร็วภายใน 48 ชั่วโมงหลังปรากฏอาการของโรค




 

Create Date : 13 กรกฎาคม 2552    
Last Update : 13 กรกฎาคม 2552 20:50:26 น.
Counter : 950 Pageviews.  


PenGuin-Nurse
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]





ฟังวิทยุออนไลน์ ที่ izeemusic
แจกฟรี โค้ดเมาส์ โค้ดแต่งhi5 แจกฟรี โค้ดเมาส์ โค้ดแต่งhi5
Friends' blogs
[Add PenGuin-Nurse's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.