ภูเก็ตอันดามันคอนกรีต จุดเริ่มต้นแห่งฐานรากอันมั่นคง
Group Blog
 
All Blogs
 
เสาเข็มเจาะ

เสาเข็มเจาะเป็นเสาเข็มประเภทหนึ่ง ที่ใช้รับน้ำหนักของอาคาร เป็นเสาเข็มที่มีข้อเด่นหลายประการ เช่น

- งานที่ต้องระมัดระวังแรงสั่นสะเทือนอันอาจเกิดอันตรายต่ออาคารข้างเคียง ใช้แทนที่การตอกเสาเข็ม
- งานแก้ไขฐานรากอาคาร ขยายต่อเติมฐานราก โดยไม่ทำลายโครงสร้างเดิม
- งานฐานรากในบริเวณพื้นที่จำกัดคับแคบ มีพื้นที่ในการทำงานน้อย
- งานเสริมฐานรากแท่นเครื่องจักร
ฯลฯ

ขั้นตอนการทำเสาเข็มเจาะระบบแห้ง (Dry Process)

ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมเครื่องมือ

ดําเนินการปรับตั้งสามขาให้ตรงตําแหน่งหมุดศูนย์กลางของเสาเข็มที่จะเจาะ เมื่อได้ตรวจสอบถูกต้องแล้ว จึงตอกหลักยึดปรับแท่นเครื่องมือให้แน่นแล้วใช้กระเช้าเก็บดิน (Boring Tackle)เจาะนําเป็นรูลึก(Pre Bore)ประมาณ 1.00 เมตร

ขั้นตอนที่ 2 การตอกปลอกเหล็กชั่วคราว (CASING)

2.1 ขนาดปลอกเหล็กชั่วคราว จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดเดียวกันกับเสาเข็มเจาะ แต่ละท่อนมีความยาว 1.20 เมตร ต่อด้วยกันด้วยระบบเกลียว ในการทํางานจะตอกปลอกเหล็กผ่านชั้นดินที่ไม่มีเสถียรภาพ (Unstable Stratum) ซึ่งมักจะอยู่ในช่วงบนซึ่งเป็นดินอ่อน เพื่อป้องกันการพังของผนังหลุมเจาะจนถึงชั้นดินที่มีเสถียรภาพ (Stable Stratum)

2.2 การควบคุมตําแหน่งหลุมเจาะ จะมีการควบคุมและตรวจสอบศูนย์กลางและแนวดิ่งของเสาเข็ม อยู่เสมอเพื่อไม่ให้เสาเข็มเจาะเอียง

ขั้นตอนที่ 3 การเจาะ

3.1 การเจาะ จะใช้กระเช้าเก็บดิน (Boring Tackle)ทิ้งลงไปในรูเจาะด้วยน้ำหนักของตัวเอง ดินจะถูกอัดเข้าไปอยู่ในกระเช้า ทําซ้ำ ๆ กัน หลาย ๆ ครั้งจนเต็มกระเช้าจึงนําขึ้นมาเทออก การเจาะจะดําเนินไปจนได้ความลึกที่ต้องการ

3.2 การขนย้ายดิน ต้องขนย้ายดินที่เจาะขึ้นมาออกนอกบริเวณโดยเร็ว เพื่อไม่ให้เกิดน้ำหนักจร(Surcharge) ต่อเสาเข็มต้นถัดไป

ขั้นตอนที่ 4 การตรวจสอบรูเจาะก่อนใส่เหล็กเสริม

4.1 การวัดความลึกก้นหลุม วัดจากความยาวของสายสลิงรวมกับความยาวของกระเช้าตักดิน

4.2 การตรวจสอบก้นหลุม ใช้สปอร์ตไลท์ส่องดูก้นหลุมว่ามีการยุบตัว มีน้ำซึมหรือไม่ ถ้ามีน้ำซึมจะเทคอนกรีตแห้งลงไปประมาณ 0.3 ลบ.ม. โดยแบ่งเป็นชั้นๆและกระทุ้งให้แน่น (Compact) ด้วยตุ้มเหล็ก

ขั้นตอนที่ 5 การใส่เหล็กเสริม

5.1 ชนิดเหล็กเสริม ใช้เหล็กข้ออ้อยชั้นคุณภาพ SD 30 ได้มาตรฐานอุตสาหกรรมรับรอง

5.2 ขนาดและปริมาณเหล็กเสริม ตามกําหนดของวิศวกรผู้ออกแบบ

5.3 การใส่เหล็กเสริม หย่อนโครงเหล็กให้อยู่ตรงกลางของรูเจาะจนถึงระดับที่ต้องการ ยึดให้แน่นเพื่อจะได้ไม่ขยับเขยื้อนในขณะเทคอนกรีต

ขั้นตอนที่ 6 การเทคอนกรีต

6.1 ชนิดคอนกรีต ใช้คอนกรีตผสมเสร็จ มีกําลังอัดที่ 28 วัน เมื่อทดสอบโดยแท่งคอนกรีตลูกบาศก์ 15x15x15 ซม.ไม่น้อยกว่า 240 กก/ตร.ซม. ใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภท 1(Portland Cement Type 1) ตาม มอก. 15-2514

6.2 วิธีการเทคอนกรีต เมื่อได้รับการตรวจสอบและอนุมัติให้เทคอนกรีตได้ จะรีบเทคอนกรีตทันที เพื่อไม่ให้รูเจาะอ่อนตัวหรือกระทบความชื้นในอากาศนานเกินไปจนสูญเสียแรงเฉือน (Shear Strength)ได้ การเทคอนกรีตจะเทผ่านกรวยเป็นท่อ(Tremic Pipe) เพื่อให้คอนกรีตหล่นลงตรงๆ โดยไม่ไปปะทะกับ ผนังรูเจาะหรือโครงเหล็ก จะช่วยลดการแยกตัวของคอนกรีตได้

ขั้นตอนที่ 7 การถอดปลอกเหล็กชั่วคราว

จะต้องเทคอนกรีตให้มีระดับสูงกว่าปลอกเหล็กชั่วคราวพอสมควรจึงจะเริ่มถอนปลอกเหล็กขึ้น โดยปกติขณะถอนปลอกเหล็กจะต้องให้มีคอนกรีตอยู่ภายในไม่น้อยกว่า 0.50 เมตร เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ชั้นดินอ่อนบีบตัวจนอาจทําให้เสาเข็มเสียขนาดได้ และเป็นการป้องกันไม่ให้น้ำใต้ดินไหลซึมเข้ามาในรูเจาะก่อนที่จะทําการถอดปลอกเหล็กชั่วคราวออกหมด

การเตรียมคอนกรีตต้องมีปริมาณเพียงพอและจะต้องเพื่อให้สูงกว่าระดับที่ต้องการประมาณไม่น้อยกว่า 0.30 เมตร เพื่อป้องกันไม่ให้หัวเสาเข็มในระดับที่ต้องการสกปรกเนื่องจากวัสดุและเศษดินร่วงหล่นลงไปภายหลังจากการถอนปลอกเหล็กออกหมดแล้ว

หจก.ภูเก็ตอันดามันคอนกรีต บริการรับเหมาทำเสาเข็มเจาะ

...PAC...


Create Date : 25 พฤษภาคม 2553
Last Update : 25 พฤษภาคม 2553 8:43:01 น. 1 comments
Counter : 337 Pageviews.

 


โดย: หาแฟนตัวเป็นเกลียว วันที่: 25 พฤษภาคม 2553 เวลา:22:50:06 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

pac_phuket
Location :
ภูเก็ต Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




บริการ เสาเข็มตอก เสาเข็มเจาะ รถตอกเสาเข็ม บ้านสำเร็จรูป รั้วสำเร็จ ผลิตภัณฑ์คอนกรีตทุกชนิด
Friends' blogs
[Add pac_phuket's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.