ภูเก็ตอันดามันคอนกรีต จุดเริ่มต้นแห่งฐานรากอันมั่นคง
Group Blog
 
All Blogs
 

ปะการังคอนกรีต

ปะการังเทียม มีชื่อเรียกเป็นทางการในภาษาอังกฤษว่า อิมมิเตชั่น รีฟ (Imitation Reef) ความหมายก็คือ กองหินเทียมที่ใต้น้ำ เป็นการเลียนแบบ โขดหิน หรือหินกองใต้น้ำ ซึ่งนักตกปลาทางทะเลจะรู้จักกันดี แต่ในบ้านเราใช้คำว่า ปะการังเทียม

วัสดุที่ใช้ก่อสร้างนั้นเป็นคอนกรีตล้วน เรียกว่า มาลีนไทด์ ซึ่งเป็นคอนกรีตที่ไม่ถูกกัดเซาะจากน้ำเค็ม โดยดำเนินการในหลายพื้นที่ อาทิ จังหวัดเพชรบุรี, ชุมพร, พังงา, ปัตตานี, นราธิวาส, ตราด, สุราษฎร์ธานี และในปี 2549 นี้ จะมีการดำเนินการจัดสร้างปะการังเทียม ในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์และชลบุรี แต่ในบางท้องถิ่นไม่ได้มีสิ่งของดังกล่าวเสมอไป จึงต้องหาวัสดุอื่นมาทดแทน เช่น ยางรถยนต์ที่ไม่ ใช้แล้ว เนื่องจากมีปริมาณเหลือใช้ค่อนข้างมาก จึงมีการนำมามัดรวมกันเป็นชุดๆ ชาวประมงท้องถิ่นสามารถทำได้เองในราคาที่ค่อนข้างถูก

ประโยชน์ของการจัดสร้างปะการังเทียม

- ช่วยตอบสนองการขยายตัวทางธุรกิจดำน้ำและมีประโยชน์ด้านการท่องเที่ยว - ป้องกันการกัดเซาะและพังทลายของชายฝั่ง และยังป้องกันการทำการประมงที่ผิดกฎหมายด้วย

- การแก้ปัญหาด้านทรัพยากรทางทะเล สร้างสมดุลในธรรมชาติ ซึ่งสามารถใช้ปะการังเทียมมาเป็นมาตรการจัดการประมงชายฝั่ง ป้องกันเรืออวนลากอวนรุนเข้ามาแย่งพื้นที่ของชาวประมง

- เพื่อดึงดูดสัตว์น้ำให้เข้ามาอยู่อาศัย ช่วยให้สัตว์น้ำมีแหล่งอาหาร-แหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ ใช้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำทะเล

- ปะการังเทียมเป็นการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำโดยรวม มีสัตว์น้ำนานาชนิดอาศัยอยู่รวมกัน ทั้งกุ้ง,หอย, ปู และปลาหลายชนิดที่เป็นปลาประจำถิ่น เช่น กลุ่มปลากะพงหลายชนิด, ปลาเก๋า และปลาในแนวปะการังทั่วไป

-ปะการังเทียมจะให้ประโยชน์กับชาวประมงพื้นบ้านในแนวน้ำตื้นค่อนข้างมาก ในด้านที่ช่วยเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำ ในบริเวณที่มีปลาอาศัยอยู่น้อย หรือไม่เคยมีปลามาก่อน

ประวัติการก่อตั้งโครงการปะการังเทียม

นายสำราญ รักชาติ รองอธิบดีกรมทรัพยากรทะเลและชายฝั่งกล่าวว่า กรมฯ ได้จัด “โครงการจัดสร้างปะการังเทียม” ขึ้นด้วยการนำวัสดุที่แข็งแรงทนทานมีน้ำหนักที่สามารถต้านทานกระแสน้ำได้มา วางรวมกันอย่างมีแบบแผน...เพื่อดึงดูดสัตว์น้ำให้เข้ามาอยู่อาศัย ช่วยให้สัตว์น้ำมีแหล่งอาหาร-แหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ ใช้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำทะเล ซึ่งเป็นการบูรณาการความร่วมมือที่เด่นชัดระหว่าง 5 หน่วยงานได้แก่ กรมทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง กองทัพเรือ กรมประมงและกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี โดยทั้ง 5 หน่วยงานจะร่วมกันพิจารณาพื้นที่ที่เหมาะสมในจังหวัดที่ชาวประมงได้รับความ เดือดร้อน จากปริมาณสัตว์น้ำที่น้อยลงโดยเร่งสร้างปะการังเทียม เพื่อเป็นแหล่งอาศัยใหม่ของสัตว์น้ำ

ผลจากการจัดตั้งโครงการปะการังเทียม

"จากผลการจัดสร้างปะการังเทียมที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2528 จนถึงปี 2552 มีการสร้างปะการังเทียมทั้งหมด 362 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ 2,000 ตารางกิโลเมตร ทั้งในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ยังผลให้บริเวณที่ไปจัดสร้างปะการังเทียม มีจำนวนทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ขึ้น สัตว์น้ำบางชนิดที่หายากก็กลับมีการพบเพิ่มมากขึ้น เช่น ปลาหมอทะเลขนาดใหญ่ ปลาช่อนทะเล ปลาผีเสื้อเทวรูป ปลาจะละเม็ดเทา ปลาดุกทะเล และปลาตะลุมพุก"


ที่มา : จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ภูเก็ตอันดามันคอนกรีต ผลิตและจำหน่าย ปะการังเทียมคอนกรีต




 

Create Date : 18 กันยายน 2553    
Last Update : 18 กันยายน 2553 14:38:56 น.
Counter : 446 Pageviews.  

การเจาะสำรวจชั้นดิน (Soil Test)

การสำรวจชั้นดิน (Boring Test ,Soil Test) คือกรรมวิธีการเจาะลงไปในชั้นดิน, เก็บตัวอย่างดิน, ทดสอบคุณสมบัติดินในสนาม, หยั่งชั้นดินจากผิวดิน หรือใช้เทคนิคอื่น ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งลักษณะชั้นดินทั้งทางแนวดิ่ง และการเปลี่ยนแปลงทางแนวราบ เพียงพอในการที่จะใช้ออกแบบ หรือศึกษาทางด้านปฐพีกลศาสตร์ ลักษณะการสำรวจชั้นดินจะต้องคำนึงถึงประโยชน์ใช้งานด้วย เช่น งานถนนหรือสนามบิน เป็นต้น

วิธีเจาะสำรวจชั้นดิน (Soil Boring)
การเจาะสำรวจชั้นดินคือการเจาะหลุมลงไปในดินเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของชั้นดิน และเก็บตัวอย่างดินมาทำการทดสอบคุณสมบัติในห้องปฏิบัติการโดยทั่วไปการสำรวจ ชั้นดินที่ใช้มากในประเทศไทย ได้แก่

การเจาะโดยใช้สว่านมือ (Hand Auger) เป็นการเจาะด้วยแรงคน โดยใช้สว่านมือ และก้านเจาะดังรูปด้านล่าง โดยที่ก้านเจาะซึ่งยาวประมาณ 1 เมตร สามารถต่อให้ยาวหลาย ๆ ท่อนได้ เมื่อกดพร้อมๆกับหมุนก้านจนดินเข้ามาเต็มสว่านแล้วจึงดึงขึ้นเพื่อนำดินออก ดินส่วนนี้สามารถนำไปทดสอบคุณสมบัติทางวิศวกรรมบางประเภทได้ การเจาะด้วยสว่านมืออาจทำได้ลึกถึง 6–10 เมตร ในดินเหนียวแข็งปานกลางข้อเสียของการเจาะประเภทนี้คือไม่สามารถเก็บตัวอย่าง ดินเพื่อนำมาหาคุณสมบัติด้านความแข็งแรงหรือการทรุดตัวของดินได้เนื่องจาก โครงสร้างดินถูกทำลายโดยสว่าน

การเจาะโดยใช้การฉีดล้าง (Wash Boring) คือ การใช้แรงดันน้ำฉีดเจาะทำลายโครงสร้างดินเพื่อให้เกิดหลุม และเกิดการรบกวนดินด้านล่างน้อยที่สุด วิธีการเจาะเริ่มโดยการเจาะชั้นดินโดยการสูบน้ำผ่านก้านเจาะลงไปที่หัวฉีด ที่ก้นหลุมพร้อมๆ กับกระแทกหรือหมุนของหัวเจาะ ทำให้ดินก้นหลุมหลุดไหลตามน้ำขึ้นมาบนผิวดินลงในอ่างตกตะกอนแล้วสูบน้ำที่ใส นำไปใช้ได้อีก ดังรูปด้านล่าง วิธีนี้ต้องอาศัยสามขา (Tripod) เครื่องกว้าน (Motor และCatch head) และปั๊มน้ำ ในกรณีที่เจาะในชั้นของดินอ่อน จะต้องใช้ปลอกกันดินพัง (Casing) ด้วย โดยต่อเป็นท่อน ๆ และเมื่อเจาะถึงชั้นทรายจะไหลเข้ามาในหลุมจึงจำเป็นต้องผสมสารเบนโทไนต์ (Bentonite) ลงไปกับน้ำ เนื่องจากเบนโทไนต์คือแร่ชนิด(Montmollionite) มีความสามารถในการดูดน้ำดีและพองตัวได้มาก ทำให้ความหนาแน่นของน้ำภายในหลุมมากกว่าน้ำในชั้นทราย น้ำจึงไม่ไหลเข้าในหลุม การเจาะประเภทนี้สามารถหยุดเพื่อเก็บตัวอย่างดินได้เป็นระยะ ๆ ตามกำหนด การเจาะสำรวจในกรุงเทพฯ เพื่อก่อสร้างอาคารจะเจาะสำรวจตั้งแต่ 30-80 เมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของอาคาร

ที่มา : ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

หจก. ภูเก็ตอันดามันคอนกรีต บริการเจาะสำรวจชั้นดิน

...




 

Create Date : 23 มิถุนายน 2553    
Last Update : 23 มิถุนายน 2553 15:28:07 น.
Counter : 828 Pageviews.  

เสาเข็มเจาะ

เสาเข็มเจาะเป็นเสาเข็มประเภทหนึ่ง ที่ใช้รับน้ำหนักของอาคาร เป็นเสาเข็มที่มีข้อเด่นหลายประการ เช่น

- งานที่ต้องระมัดระวังแรงสั่นสะเทือนอันอาจเกิดอันตรายต่ออาคารข้างเคียง ใช้แทนที่การตอกเสาเข็ม
- งานแก้ไขฐานรากอาคาร ขยายต่อเติมฐานราก โดยไม่ทำลายโครงสร้างเดิม
- งานฐานรากในบริเวณพื้นที่จำกัดคับแคบ มีพื้นที่ในการทำงานน้อย
- งานเสริมฐานรากแท่นเครื่องจักร
ฯลฯ

ขั้นตอนการทำเสาเข็มเจาะระบบแห้ง (Dry Process)

ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมเครื่องมือ

ดําเนินการปรับตั้งสามขาให้ตรงตําแหน่งหมุดศูนย์กลางของเสาเข็มที่จะเจาะ เมื่อได้ตรวจสอบถูกต้องแล้ว จึงตอกหลักยึดปรับแท่นเครื่องมือให้แน่นแล้วใช้กระเช้าเก็บดิน (Boring Tackle)เจาะนําเป็นรูลึก(Pre Bore)ประมาณ 1.00 เมตร

ขั้นตอนที่ 2 การตอกปลอกเหล็กชั่วคราว (CASING)

2.1 ขนาดปลอกเหล็กชั่วคราว จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดเดียวกันกับเสาเข็มเจาะ แต่ละท่อนมีความยาว 1.20 เมตร ต่อด้วยกันด้วยระบบเกลียว ในการทํางานจะตอกปลอกเหล็กผ่านชั้นดินที่ไม่มีเสถียรภาพ (Unstable Stratum) ซึ่งมักจะอยู่ในช่วงบนซึ่งเป็นดินอ่อน เพื่อป้องกันการพังของผนังหลุมเจาะจนถึงชั้นดินที่มีเสถียรภาพ (Stable Stratum)

2.2 การควบคุมตําแหน่งหลุมเจาะ จะมีการควบคุมและตรวจสอบศูนย์กลางและแนวดิ่งของเสาเข็ม อยู่เสมอเพื่อไม่ให้เสาเข็มเจาะเอียง

ขั้นตอนที่ 3 การเจาะ

3.1 การเจาะ จะใช้กระเช้าเก็บดิน (Boring Tackle)ทิ้งลงไปในรูเจาะด้วยน้ำหนักของตัวเอง ดินจะถูกอัดเข้าไปอยู่ในกระเช้า ทําซ้ำ ๆ กัน หลาย ๆ ครั้งจนเต็มกระเช้าจึงนําขึ้นมาเทออก การเจาะจะดําเนินไปจนได้ความลึกที่ต้องการ

3.2 การขนย้ายดิน ต้องขนย้ายดินที่เจาะขึ้นมาออกนอกบริเวณโดยเร็ว เพื่อไม่ให้เกิดน้ำหนักจร(Surcharge) ต่อเสาเข็มต้นถัดไป

ขั้นตอนที่ 4 การตรวจสอบรูเจาะก่อนใส่เหล็กเสริม

4.1 การวัดความลึกก้นหลุม วัดจากความยาวของสายสลิงรวมกับความยาวของกระเช้าตักดิน

4.2 การตรวจสอบก้นหลุม ใช้สปอร์ตไลท์ส่องดูก้นหลุมว่ามีการยุบตัว มีน้ำซึมหรือไม่ ถ้ามีน้ำซึมจะเทคอนกรีตแห้งลงไปประมาณ 0.3 ลบ.ม. โดยแบ่งเป็นชั้นๆและกระทุ้งให้แน่น (Compact) ด้วยตุ้มเหล็ก

ขั้นตอนที่ 5 การใส่เหล็กเสริม

5.1 ชนิดเหล็กเสริม ใช้เหล็กข้ออ้อยชั้นคุณภาพ SD 30 ได้มาตรฐานอุตสาหกรรมรับรอง

5.2 ขนาดและปริมาณเหล็กเสริม ตามกําหนดของวิศวกรผู้ออกแบบ

5.3 การใส่เหล็กเสริม หย่อนโครงเหล็กให้อยู่ตรงกลางของรูเจาะจนถึงระดับที่ต้องการ ยึดให้แน่นเพื่อจะได้ไม่ขยับเขยื้อนในขณะเทคอนกรีต

ขั้นตอนที่ 6 การเทคอนกรีต

6.1 ชนิดคอนกรีต ใช้คอนกรีตผสมเสร็จ มีกําลังอัดที่ 28 วัน เมื่อทดสอบโดยแท่งคอนกรีตลูกบาศก์ 15x15x15 ซม.ไม่น้อยกว่า 240 กก/ตร.ซม. ใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภท 1(Portland Cement Type 1) ตาม มอก. 15-2514

6.2 วิธีการเทคอนกรีต เมื่อได้รับการตรวจสอบและอนุมัติให้เทคอนกรีตได้ จะรีบเทคอนกรีตทันที เพื่อไม่ให้รูเจาะอ่อนตัวหรือกระทบความชื้นในอากาศนานเกินไปจนสูญเสียแรงเฉือน (Shear Strength)ได้ การเทคอนกรีตจะเทผ่านกรวยเป็นท่อ(Tremic Pipe) เพื่อให้คอนกรีตหล่นลงตรงๆ โดยไม่ไปปะทะกับ ผนังรูเจาะหรือโครงเหล็ก จะช่วยลดการแยกตัวของคอนกรีตได้

ขั้นตอนที่ 7 การถอดปลอกเหล็กชั่วคราว

จะต้องเทคอนกรีตให้มีระดับสูงกว่าปลอกเหล็กชั่วคราวพอสมควรจึงจะเริ่มถอนปลอกเหล็กขึ้น โดยปกติขณะถอนปลอกเหล็กจะต้องให้มีคอนกรีตอยู่ภายในไม่น้อยกว่า 0.50 เมตร เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ชั้นดินอ่อนบีบตัวจนอาจทําให้เสาเข็มเสียขนาดได้ และเป็นการป้องกันไม่ให้น้ำใต้ดินไหลซึมเข้ามาในรูเจาะก่อนที่จะทําการถอดปลอกเหล็กชั่วคราวออกหมด

การเตรียมคอนกรีตต้องมีปริมาณเพียงพอและจะต้องเพื่อให้สูงกว่าระดับที่ต้องการประมาณไม่น้อยกว่า 0.30 เมตร เพื่อป้องกันไม่ให้หัวเสาเข็มในระดับที่ต้องการสกปรกเนื่องจากวัสดุและเศษดินร่วงหล่นลงไปภายหลังจากการถอนปลอกเหล็กออกหมดแล้ว

หจก.ภูเก็ตอันดามันคอนกรีต บริการรับเหมาทำเสาเข็มเจาะ

...PAC...




 

Create Date : 25 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 25 พฤษภาคม 2553 8:43:01 น.
Counter : 336 Pageviews.  

ผนังรับน้ำหนัก ไม่มีเสา-คาน

ระบบก่อสร้างบ้านสำเร็จรูปที่มีอยู่ในตลาดบ้านจัดสรร ในระบบโครงสร้างผนังรับน้ำหนัก (Wall Bearing System) โดยไม่ต้องอาศัยเสาและคาน แผ่นพื้นและผนังสำเร็จรูปประกอบขึ้นจากโรงงานที่มีการควบคุมคุณภาพการผลิตและอัตราส่วนของส่วนประกอบต่างๆโดยระบบคอมพิวเตอร์

ไม่ว่าจะเป็นขนาดของเหล็ก ส่วนผสมของคอนกรีต รวม ทั้งการใช้เครื่องจักรกลเป็นส่วนหลักในการผลิตที่ให้ความแม่นยำสูงกว่าแรง งานคน ชิ้นงานที่ผลิตออกมาจึงมีคุณภาพมาตรฐานเท่าเทียมกันทุกชิ้น นอกจากนี้ยังมีการกำหนดตำแหน่งและเจาะช่องเปิดประตู - หน้าต่าง ช่องสำหรับท่อร้อยสายไฟฟ้า ท่อน้ำดี น้ำเสีย ไว้ตั้งแต่ในขั้นตอนการผลิต เมื่อการประกอบชิ้นส่วนที่หน้างานเสร็จสิ้นงานระบบอื่น ๆ ก็สามารถทำงานต่อเนื่องได้อย่างง่ายดาย โดยหลักแล้วระบบก่อสร้างบ้านสำเร็จรูปจะไม่มีเสาและคาน แต่จะใช้ผนังเป็นตัวรับน้ำหนักแทน ส่วนแผ่นผนังจะผลิตด้วยวิธีใดขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีของผู้ผลิตหรือผู้ก่อสร้างแต่ละราย เช่น ผนังคอนกรีตเสริมเหล็กสำเร็จรูป ผนังคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแซนวิช (ผนัง 2 แผ่น เว้นช่องไว้สำหรับเทคอนกรีตเชื่อม) เป็นต้น การเชื่อมต่อ (Connection ) ของแต่ละชิ้นส่วนที่นำมาประกอบก็แตกต่างกันไป เช่น บางระบบเชื่อมต่อด้วยน็อต , คอนกรีต หรือแผ่นคอนกรีตเสริมเหล็กแบบเข้าลิ้นหรือมีระบบล็อคในตัว เป็นต้น

ส่วนวิธีการก่อสร้างเริ่มตั้งแต่การตอกเสาเข็มทำฐานรากและคานคอดินเหมือนกับการก่อสร้างใน แบบก่ออิฐฉาบปูน จากนั้นจึงเริ่มนำแผ่นพื้นและผนังสำเร็จรูปเข้ามาประกอบตามที่ได้ออกแบบไว้ เริ่มตั้งแต่ผนังรับน้ำหนักชั้นล่าง แผ่นพื้นชั้นล่าง ผนังชั้นสอง แผ่นพื้นชั้นสอง โดยชิ้นส่วนต่าง ๆ จะได้รับการเชื่อมประสานตามเทคนิควิธีการของแต่ละระบบ ซึ่งถือเป็นขั้นตอนสำคัญเพราะการเชื่อมต่อจะต้องมีคุณภาพ ต้องมั่นคง กันน้ำรั่วซึมและสามารถรับแรงด้านข้างได้

หน้างานสะอาด ก่อสร้างเร็ว ใช้คนน้อย

ข้อแตกต่างแรกที่สามารถเห็นได้อย่างชัดเจนระหว่างไซด์งานที่ก่อสร้างบ้านด้วยระบบเดิมกับระบบสำเร็จรูป คือ ความสะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อยของหน้างานที่ระบบสำเร็จรูปมีเหนือกว่าไม่มีขยะจากการก่อสร้างไม่ว่าจะเป็นไม้แบบ เศษอิฐ หิน ดิน ทราย เพราะเศษสิ่งเหล่านี้ถูกกำจัดไปเรียบร้อยตั้งแต่โรงงานผลิตชิ้นส่วนรวมถึงมล ภาวะทางเสียงและฝุ่นผงที่เกิดจากการก่อสร้างที่ลดน้อยลง

ความเร็วในการก่อสร้างบ้าน 1 หลัง ที่แต่เดิมอาจต้องใช้เวลา 5-6 เดือน แต่เมื่อเป็นวัสดุสำเร็จรูปที่เพียงยกมาติดตั้ง จากนั้นตกแต่งเพิ่มเติมในส่วนรายละเอียดปลีกย่อยรวมแล้วใช้เวลาก่อสร้างจนแล้วเสร็จพร้อมเข้าอยู่อาศัยประมาณ 2 เดือนเศษ ลักษณะพื้นผิวของวัสดุสำเร็จรูปมีความเนียนเรียบ เมื่อติดตั้งเสร็จไม่ต้องฉาบทับก็สามารถทาสีทับได้ทันที ส่วนในการวางระบบต่างๆ ทั้งไฟฟ้า ประปา สุขาภิบาล ก็ทำงานได้ง่ายขึ้นเพราะมีการวางท่อวางระบบไว้ในช่องผนังและพื้นสำเร็จ รูปอยู่แล้ว เหล่านี้คือปัจจัยที่ทำให้การก่อสร้างบ้านสำเร็จรูปมีความสะดวกรวดเร็วกว่า ระบบก่ออิฐฉาบปูน

ในส่วนของแรงงานก่อสร้างบ้านสำเร็จรูปเข้ามาช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานได้เป็นอย่างดี เพราะในขั้นตอนการประกอบชิ้นส่วนนั้นจะมีเพียงคนขับรถเครนที่ใช้ยกชิ้นส่วนกับผู้ช่วยยึดจับอีกไม่กี่คน นอกจากนี้ในส่วนของแรงงานฝีมือก็ลดถอยความจำเป็นต้องใช้ออกไปลดปัญหาความไม่แน่นอนของแรงงานฝีมือ

ข้อจำกัดบางประการสำหรับระบบก่อสร้างบ้านสำเร็จรูป

อย่างไรก็ตาม บ้านระบบสำเร็จรูปก็มีข้อด้อยหรือข้อจำกัดอยู่เหมือนกัน เช่น โครงสร้างที่ค่อนข้างหนัก เนื่อง จากแผ่นพื้น-ผนังสำเร็จรูปที่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กมีน้ำหนักมากกว่าผนังก่อ อิฐฉาบปูน ดังนั้น บ้านที่ก่อสร้างด้วยระบบสำเร็จรูปจึงจำเป็นต้องใช้เสาเข็มที่ยาวกว่าระบบการ ก่อสร้างแบบเดิมเพื่อป้องกันปัญหาบ้านทรุดในภายหลัง ส่วนแบบบ้านที่เหมาะสำหรับงานก่อสร้างระบบสำเร็จรูปนั้น จะเห็นว่ามักเป็นบ้านที่ไม่ค่อยมีรายละเอียดการตกแต่งมากนักรวมทั้งจะเป็นแบบที่ค่อนข้างซ้ำ ๆ เดิม ๆ โดยผู้ประกอบการที่ใช้ระบบก่อสร้างชนิดนี้ก็ยอมรับว่าถ้าจะให้คุ้มค่ากับการลงทุนออกแบบ แกะแบบบ้าน ผลิตชิ้นส่วนในการก่อสร้างแต่ละครั้งก็จะสร้างบ้านในแบบดังกล่าวเป็นจำนวน 50-100 หลังขึ้นไป ยิ่งสร้างในปริมาณมากเท่าไรก็ยิ่งเป็นการประหยัดงบประมาณในการก่อสร้างของผู้ประกอบการมากเท่านั้น

เจาะ ทุบ ต่อเติม ไม่ใช่เรื่องง่าย

สำหรับในขั้นตอนการเข้าอยู่อาศัยจริง เจ้าของบ้านอย่างเรา ๆ ท่าน ๆ ค่อนข้างแน่นอนอยู่แล้วว่าจะต้องมีการตกแต่งหรือต่อเติมบ้านให้มีความสวยงาม เพิ่มประโยชน์ใช้สอยให้มากขึ้นตั้งแต่เล็กๆ น้อยๆ อย่างการตอกตะปูแขวนรูป แขวนอุปกรณ์ห้องน้ำ ห้องครัว ไปจนถึงการบิวท์อินเฟอร์นิเจอร์ตกแต่ง แต่ด้วยคุณสมบัติของผนังสำเร็จรูปที่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก มีความแข็งแรงทนทานสูง การตอกตะปู เจาะสว่าน จึงไม่ใช่เรื่องง่าย ไม่สะดวกนักสำหรับช่างหรือแม้แต่เจ้าของบ้านที่ต้องการทำงานตกแต่งเล็กน้อย ๆ ด้วยตัวเอง ส่วนการปรับเปลี่ยนฟังก์ชั่นภายในบ้าน เช่น ทุบห้อง 2 ห้องติดกันให้กลายเป็นห้องใหญ่ห้องเดียวหรือทุบผนังทาวน์เฮ้าส์ 2 หลัง เพื่อให้ทะลุเชื่อมกันได้ ฯลฯ กรณีนี้มีทั้งสามารถทำได้และทำไม่ได้โดยการทุบ ที่ไม่สามารถทำได้เลยก็คือการทุบผนังที่ใช้ผนังรับน้ำหนักเพราะหากทะลุในส่วนของผนังรับน้ำหนักก็มีโอกาสบ้านพังได้ง่าย ๆ ใน ขณะที่การทุบผนังตกแต่งที่ไม่ได้ทำหน้าที่รับน้ำหนักก็ยังอาจต้องมีข้อจำกัด ให้ไม่สามารถรื้อออกไปได้ทั้งแผ่นจะต้องเหลือพื้นที่ของผนังในส่วนที่เชื่อม ต่อกับผนังรับน้ำหนักไว้ด้วย ดังนั้นการจะทุบ เจาะ ทะลุ รื้อ ผนังบ้านที่ก่อสร้างด้วยระบบสำเร็จรูปจึงจำเป็นต้องปรึกษาวิศวกรที่มีความ รู้และแบบแปลนบ้านหรือพิมพ์เขียวที่ใช้ในการก่อสร้างก็มีความสำคัญอย่างยิ่ง ที่ผู้ซื้อบ้านจะต้องขอรับจากเจ้าของโครงการเพื่อใช้เป็นคู่มือในการปรับปรุงซ่อมแซมบ้านในอนาคต

...PAC...




 

Create Date : 22 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 22 พฤษภาคม 2553 14:07:25 น.
Counter : 468 Pageviews.  

บ้านน๊อคดาวน์ หรือ บ้านสำเร็จรูป


บ้านน๊อคดาวน์ หรือ บ้านสำเร็จรูป  เป็นการสร้างบ้านโดยยึดหลักระบบโครงสร้างผนังรับน้ำหนัก (Wall Bearing System) กล่าวคือ บ้านสำเร็จรูป จะไม่มีเสาและคาน แต่จะใช้ผนังเป็นตัวรับน้ำหนักแทน โดยที่ ผนังและส่วนประกอบต่างๆ ภายในบ้านจะถูกออกแบบด้วยระบบคอมพิวเตอร์ แล้วนำชิ้นส่วนทั้งหมดมาประกอบกัน

การ สร้างบ้านสำเร็จรูป เป็นที่นิยมอย่างมากที่ประเทศญี่ปุ่น แถบยุโรป และประเทศที่มักเกิดเหตุแผ่นดินไหวบ่อยๆ หรือประสบภัยธรรมชาติบ่อยครั้ง เนื่องจากการสร้าง บ้านสำเร็จรูป ใช้เวลาก่อสร้างเร็ว ราคาถูกกว่า ความแข็งแรงทนทานทัดเทียมกับการสร้างบ้านแบบก่ออิฐฉาบปูน

ส่วนในประเทศไทยนั้นมีการสร้าง บ้านสำเร็จรูป ทั้งแบบเพื่ออาศัยจริง และที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่พักชั่วคราวให้กับผู้ที่ประสบภัย เช่น น้ำท่วม โคลนถล่ม ฯลฯ

วิธีสร้างบ้านสำเร็จรูป

สำหรับวิธีการสร้าง บ้านสำเร็จรูป จะเริ่มต้นจากการตอกเสาเข็ม ทำฐานรากและคานคอดิน เหมือนกับการก่อสร้างบ้านแบบก่ออิฐฉาบปูน จากนั้นจึงเริ่มนำแผ่นพื้นและผนังสำเร็จรูปเข้ามาประกอบตามที่ได้ออกแบบไว้ โดยชิ้นส่วนต่างๆ จะได้รับการเชื่อมประสานตามเทคนิควิธีของแต่ละระบบ ซึ่งถือเป็นขั้นตอนสำคัญในการสร้าง บ้านสำเร็จรูป เพราะการเชื่อมต่อจะต้องมีมั่นคง กันน้ำรั่วซึม และสามารถรับแรงด้านข้างได้

อย่างไรก็ดี แผ่นผนัง บ้านสำเร็จรูป จะผลิตด้วยวิธีใดนั้นขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีของผู้ผลิตหรือผู้ก่อสร้างแต่ละ ราย เช่น ผนังคอนกรีตเสริมเหล็ก สำเร็จรูป, ผนังคอนกรีตเสริมเหล็ก แบบแซนวิช (ผนัง 2 แผ่น เว้นช่องไว้สำหรับเทคอนกรีตเชื่อม) เป็นต้น การเชื่อมต่อ (Connection) ของแต่ละชิ้นส่วนที่นำมาประกอบก็แตกต่างกันไป เช่น บางระบบเชื่อมต่อด้วย น็อต, คอนกรีต หรือแผ่นคอนกรีตเสริมเหล็กแบบเข้าลิ้น หรือมีระบบล็อคในตัว เป็นต้น

ข้อดีของบ้านสำเร็จรูป

ข้อแตกต่างที่เด่นชัดของการสร้าง บ้านสำเร็จรูป คือมีความรวดเร็ว หากเทียบกับการสร้างบ้านระบบเดิม การสร้างบ้าน 1 หลัง อาจต้องใช้เวลา 5-6 เดือน แต่การก่อสร้าง บ้านสำเร็จรูป 1 หลัง ใช้เวลาก่อสร้างเพียง 2 เดือนเศษ (รวมระยะเวลาในการหล่อแบบ) ก็เสร็จพร้อมเข้าอยู่ อีกทั้งขณะการก่อสร้าง บ้านน๊อคดาวน์ จะไม่มีขยะจากการก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็นไม้แบบ เศษอิฐ หิน ดิน ทราย เพราะเศษสิ่งเหล่านี้ถูกกำจัดไปเรียบร้อยตั้งแต่โรงงานผลิตชิ้นส่วน รวมถึงมลภาวะทางเสียง และฝุ่นผงที่เกิดจากการก่อสร้างก็ลดน้อยลง

และด้วยความที่ลักษณะพื้นผิวบ้านสำเร็จรูป เป็นวัสดุสำเร็จรูป จึงมีความเนียนเรียบ เมื่อประกอบเสร็จก็สามารถทาสีทับได้ทันที ส่วนในการวางระบบต่างๆ ของ บ้านน๊อคดาวน์ ทั้งไฟฟ้า ประปา สุขาภิบาล จะมีการวางท่อวางระบบไว้ในช่องผนังและพื้นสำเร็จรูปอยู่แล้ว เหล่านี้คือปัจจัยที่ทำให้การก่อสร้างบ้านสำเร็จรูปมีความสะดวกรวดเร็ว

ข้อจำกัดของบ้านสำเร็จรูป

แม้จะมีข้อดีมากมาย แต่การสร้าง บ้านสำเร็จรูป ก็มีข้อด้อยในเรื่องของโครงสร้างที่ค่อนข้างหนัก เนื่องจากแผ่นพื้น-ผนังสำเร็จรูปที่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก มีน้ำหนักมาก จึงจำเป็นต้องใช้เสาเข็มที่ยาวกว่าการสร้างบ้านแบบเดิม เพื่อป้องกันปัญหาบ้านทรุดในภายหลัง นอกจากนี้ การตกแต่งบ้านเล็กๆ น้อยๆ อย่างการตอกตะปู ก็ทำได้ยากเช่นเดียวกัน

ในขณะเดียวกัน หากคิดอยากจะปรับเปลี่ยนฟังก์ชั่นภายใน บ้านสำเร็จรูป เช่น ทุบห้อง 2 ห้องติดกันให้กลายเป็นห้องใหญ่ห้องเดียว หรือคิดจะทุบ เจาะ รื้อผนัง จำเป็นต้องปรึกษาวิศวกรที่มีความรู้ และแบบแปลนบ้านหรือพิมพ์เขียวที่ใช้ในการก่อสร้างก็มีความสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งผู้ซื้อ บ้านสำเร็จรูป จะต้องขอรับจากเจ้าของโครงการ เพื่อใช้เป็นคู่มือในการปรับปรุงซ่อมแซมบ้านสำเร็จรูป ในอนาคต

ที่มา : kapook.com




Free TextEditor




 

Create Date : 27 เมษายน 2553    
Last Update : 27 เมษายน 2553 16:29:13 น.
Counter : 282 Pageviews.  

1  2  

pac_phuket
Location :
ภูเก็ต Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




บริการ เสาเข็มตอก เสาเข็มเจาะ รถตอกเสาเข็ม บ้านสำเร็จรูป รั้วสำเร็จ ผลิตภัณฑ์คอนกรีตทุกชนิด
Friends' blogs
[Add pac_phuket's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.