ดูจิตตามแบบฉบับครูบาอาจารย์แต่เก่าก่อน ๓ (หลวงปู่สิม)
ก่อนอื่นต้องขอบอกไว้ว่า การเขียนบทความนี้ขึ้นมา
ไม่ได้หวังโจมตีท่านใดท่านหนึ่งโดยเฉพาะ เป็นไปเพื่อธรรมทานล้วนๆ

ธรรมะของพระพุทธองค์นั้นเป็นของสากลโลกไปแล้ว
ใครก็ได้สามารถนำมากล่าวสั่งสอนอบรมได้โดยไม่มีลิขสิทธิ์
พระบรมศาสดาพระองค์ท่านไม่เคยสงวนสิทธิ ไว้เฉพาะชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเลย

พระองค์ท่านทรงมีพระประสงค์ ให้เผยแผ่ออกไปให้กว้างไกล
ในครั้งกระนั้นทรงให้พระภิกษุ ๖๐ รูปออกไปเผยแผ่เรื่อง ศีล สมาธิ ปัญญา
โดยให้ไปทิศละองค์ อย่าไปในทิศทางเดียวกันสององค์

ธรรมะของพระพุทธองค์นั้น เป็นเพียงศาสนาเดียวในโลกเท่านั้น
ที่ทรงสอนผู้รู้อยู่ ผู้เห็นอยู่ และผู้ปฏิบัติตามได้ผลให้พ้นจากทุกข์ได้จริง
เข้าสู่ความเป็นพระอริยบุคคล ๔ จำพวก ซึ่งในศาสนาอื่นไม่มี

ดังมีพระบาลีกล่าวไว้ว่า

"ตราบใดที่อริยมรรคมีองค์ ๘ ยังดำรงอยู่
ตราบนั้นโลกจะไม่ว่างเว้นจากพระอรหันต์"


แสดงว่าพระพุทธศาสนาของพระพุทธองค์
ทรงต้องการให้เราชาวพุทธทั้งหลายปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา
เพื่อให้ห่างไกลจากกิเลส และหลุดพ้นทุกข์ทั้งปวงให้ได้
เมื่อปฏิบัติเต็มตามความสามารถ ย่อมรู้เห็นได้
และเข้าถึงความเป็นพระอริยะได้จริงๆ

ซึ่งแตกต่างจากศาสนาอื่นตรงที่ว่า
ศาสนาอื่นนั้นอบรมสั่งสอนให้ผู้ปฏิบัติตามเป็นพียงคนดีคนหนึ่งเท่านั้น
หวังความหลุดพ้นทุกข์ เข้าสู่ความเป็นพระอริยบุคคลไม่ได้เลย


เฉกเช่นเดียวกันกับในปัจจุบันนี้ ศาสนาพุทธเริ่มอ่อนแอลง
ผู้คนเกียจคร้านที่จะปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา
ครูอาจารย์ผู้สอนเอง ก็เข้าไม่ถึงจิตที่มีสติสงบ ตั้งมั่น ณ.ภายใน
เป็นธรรมอันเอกผุดขึ้นมา กลับอบรมสั่งสอนให้ลูกศิษย์ลูกหา
ละทิ้งการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนาเสีย

ใครจะปฏิบัติก็ได้ หรือ ไม่ปฏิบัติก็ได้ ไม่สำคัญอะไร
เพียงเล็กๆน้อยๆก็พอแล้วแต่จริต
ซึ่งเป็นคำสอนที่คิดเองเออเอง ไม่มีกล่าวไว้ในพระบาลีเลย

และเน้นสอนให้ดูการไหลไปตามอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด
โดยปล่อยให้มีสติเกิดขึ้นเอง โดยอัตโนมัติ (เป็นเพียงความตั้งใจ)
ไม่ต้องสร้างสติ มันจะเกิดของมันเอง
เพราะเหตุใกล้ทำให้เกิดสติรู้ทันตามความคิด
เมื่อรู้ทันจิตจะละความคิดได้เอง ให้รู้เฉยๆ โดยไม่ต้องแทรกแซง
เป็นความรู้สึกเฉย (อารมณ์เฉย เฉยโง่) ที่คิดขึ้นเอง
ไม่ใช่เฉยที่เป็นอุเบกขาธรรมที่แท้จริง ที่เกิดจากการภาวนา
จนจิตมีสติสงบตั้งมั่นปล่อยวางอารมณ์ได้จึงรู้วางเฉยเป็นอุเบกขา

โดยที่ท่านทั้งหลายเหล่านั้นไม่เคยรู้เลยว่า ที่พูดที่สอนมาทั้งหมดนั้น
เป็นการตามรู้ตามเห็นอาการของจิต โดยมีเจตนาตั้งใจจะงดเว้นอยู่ก่อนแล้ว
ที่ท่านบัญญัติเรียกใช้ขึ้นเองว่า นี้คือ สติเกิดขึ้นเองอัตโนมัติ
แท้จริงไม่ใช่เลย เป็นการตั้งจิตเจตนา (สัญญา) ไว้ก่อนแล้ว ไม่ได้เกิดขึ้นเองเลย

เมื่อรู้ทันอาการของจิต (เจตสิก) ที่เป็นชนิดของจิตนั้นๆ
ที่เกิด-ดับไปตามชนิดอารมณ์ ที่เป็นแขกจรเข้ามาตลอดเวลา
จากอารมณ์หนึ่งไปสู่อารมณ์เฉย (เฉยโง่ในภาษาธรรม)
จากนั้นก็จะมีอารมณ์ใหม่หมุนเวียนเข้ามาอีก ทำให้รู้สึก(คิด)ถึงอารมณ์ได้เร็วขึ้น
สู่อารมณ์เฉยเช่นเคย จนเป็นวัฏฏะ โดยปล่อยวางอารมณ์ไม่เป็นเลย

เป็นได้แค่คนดีคนหนึ่ง ที่สามารถควบคุม หรือเปลี่ยนอารมณ์ได้เร็วขึ้น
จนจิต "ติดดีในดี" กระทั่งหลงตนเองไปว่า ดีกว่าคนอื่น
เพราะผู้อื่นไม่สามารถเก็บอารมณ์ หรือเปลี่ยนอารมณ์ได้เร็วเท่าตนเอง

ความที่ไม่เคยฝึกฝนอบรมการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนามาก่อน
จึงไม่รู้จักสภาวะจิตที่แท้จริง
ทำให้ไม่รู้จักเหตุแห่งทุกข์ที่แท้จริงตามไปด้วยเช่นกัน

เฉกเช่นพ่อแม่ครูบาอาจารย์ แบบท่านพระอาจารย์หลวงปู่สิม
ที่เอาชีวิตเข้าแลก จนกระทั่งได้องค์กรรมฐาน เป็นที่พึ่งที่อาศัยได้มาก่อน

พระอาจารย์หลวงปู่สิม พุทธจาโรท่านกล่าวไว้ว่า
ให้ปรารภความเพียร ปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา “พุทโธ”
โดยเอาชีวิตเข้าแลก เพื่อละกิเลสให้ได้ ดังนี้

"18.บทภาวนาบทใดก็ดีทั้งนั้น ถ้าภาวนาได้ทุกลมหายใจ ก็เป็นอุบายธรรมอันดีทั้งนั้น ความตั้งมั่นในสมาธิภาวนาของจิตใจ คนเรานั้นย่อมมีเวลาเจริญขึ้น มีเสื่อมลงเป็นธรรมดา ถ้าเรามารู้เท่าทันว่า การรวมจิตใจเข้าเป็นดวงหนึ่งดวงเดียว เป็นความสงบสุขเยือกเย็น อย่างแท้จริง ก็ให้ทุกคนตั้งใจปฏิบัติบูชาภาวนา อย่าได้มีความท้อถอย เมื่อใจไม่ท้อถอยแล้วก็ไม่มีอะไรที่จะมาทำให้เราท้อแท้อ่อนแอได้ เพราะคนเรามีใจเป็นใหญ่เป็นประธาน สำเร็จได้ด้วยใจทั้งสิ้น

15. อันความตายนั้น จงระลึกดูให้รู้แจ้งด้วยสติปัญญาของตนเอง ยกจิตใจตั้งให้มั่นอย่าได้หวั่นไหว เจ็บจะเจ็บไปถึงไหนก็แค่ตาย อยู่ดีสบาย อยู่ไปถึงไหนก็แค่ตาย แก่ชราแล้วไม่ตายไม่ได้ เมื่อมาถึงบุคคลผู้ใดจะให้ผู้อื่นช่วยไม่ได้ ต้องภาวนาให้พ้นจากความตาย ความตายนั้นมีทางพ้นไปได้ อยู่ที่การละกิเลส ล้างกิเลสในใจให้หมดสิ้น"



ท่านพระอาจารย์หลวงปู่สิม พุทธจาโรนั้น
ท่านยังพูดถึง สภาพจิตที่แท้จริงว่า มีดวงเดียวเท่านั้น
ที่เห็นหลายดวงนั้น เป็นเพียงอาการของจิต
ที่แสดงออกมาตามอารมณ์กิเลสชนิดต่างๆ ที่เป็นแขกจรเข้ามาที่จิตของตน


ถ้าชอบ ก็แสดงอาการต้องการยึดมาเป็นของๆตน
ถ้าชัง ก็แสดงอาการต้องการผลักไสออกไปให้พ้นๆ ไปจากตน
อาการของจิตเหล่านี้ เกิดขึ้นที่จิตของตนและดับไปจากจิตของตน
เราอาจเรียกว่า ชนิดของจิตเหล่านี้ที่เกิด-ดับไป จะใช้คำว่าดวงก็ได้ก็ไม่ผิด
เป็นเพียงอาการ(ชนิด) ของจิตดวงนั้น เกิดขึ้นที่จิต และดับไปจากจิต

สรรพนามที่เราใช้เรียกจิตทั่วๆไปนั้น เราต่างก็ใช้คำว่า "ดวง" ทั้งสิ้น
เป็นเพียงอาการของจิตที่แสดงออกมาตามชนิดของอารมณ์ที่จิตของตนไปยึดเอา

เมื่อยังรู้จักจิตผิดไปจากความเป็นจริงแล้ว และยังเข้าใจไปว่า
จิตเป็นของเหลวไหลบังคับบัญชาให้เป็นไปดั่งใจหวังไม่ได้แล้ว
เราจะอบรมจิตได้หรือ ย่อมอบรมไม่ได้แน่นอน
เมื่อฝึกฝนอบรมจิตให้ผ่องใสบริสุทธ์ไม่ได้แล้ว
อุปกิเลสทั้งหลายทั้งที่เป็นของใหม่ และที่เป็นของเก่าที่หมักหมมอยู่ที่จิต
จะหมดไปได้ยังไร
ความเข้าใจผิดๆนี้ เป็นการกล่าวขัดแย้งกับพระพุทธพจน์
และพ่อแม่ครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบทั้งหลาย

พระบรมครู และ พ่อแม่ครูบาอาจารย์ทั้งหลายนั้น
ล้วนแล้วแต่สอนให้ฝึกฝนอบรมจิตของตน ให้ผ่องใสบริสุทธิ์
โดยการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา
เพื่อให้จิตหมดจดจากเครื่องเศร้าหมองทั้งหลาย(อวิชชา)ที่ครอบงำจิตอยู่

การที่จิตมีสติสงบตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวไปตามอารมณ์โลภ โกรธ หลง
ที่เข้ามาครอบงำจิต เพราะจิตสามารถปล่อยวางอุปกิเลสเหล่านั้น
ออกไปจากจิตของตนได้นั่นเอง

แบบนี้เรียกว่า บังคับบัญชาจิตใจให้เป็นไปตามที่หวังได้
ถ้าบังคับจิตของตนไม่ได้ จิตย่อมต้องคล้อยตามอุปกิเลสเหล่านั้นไปแล้ว
อะไรที่สามารถนำมาอบรมได้แล้ว ย่อมต้องบังคับบัญชาได้ดั่งใจหวังเช่นกัน


ท่านพระอาจารย์หลวงปู่สิม พูดถึงจิตไว้ดังนี้

"1.คำว่า จิต ได้แก่ ดวงจิต ดวงใจผู้รู้อยู่ ผู้เห็นอยู่ ผู้ได้ยินได้ฟังอยู่ เราฟังเสียง ได้ยินเสียง ใครเป็นผู้รู้อยู่ในตัวในใจ นั่นแหละมันอยู่ตรงนี้ ให้รวมให้สงบเข้ามาอยู่ตรงนี้ ตรงจิตใจผู้รู้อยู่

2.ตาเห็นรูป ก็จิตดวงนี้เป็นผู้เห็น ดีใจก็จิตดวงนี้หลงไป เสียใจก็จิตดวงนี้หลงไป เสียงผ่านเข้ามาทางโสต ทางหูก็จิตดวงเก่านี่แหละ กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ก็จิตดวงนี้เป็นผู้หลง เมื่อจิตใจดวงนี้เป็นผู้หลงผู้เมาไม่เข้าเรื่อง เราก็มาแก้ไขภาวนาทำใจให้สงบ ไม่ให้หันเหไปกับอารมณ์ใดๆ เห็นสิ่งต่างๆ ที่เกิดดับอยู่ในตัว ในใจ ในสัตว์ ในบุคคลนี้ว่า มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ชั่วระยะหนึ่ง แล้วก็แตกดับไปเป็นธรรมดาอย่างนี้"



ท่านทั้งหลายที่อ่านบทความนี้ โปรดพิจารณาด้วยจิตใจที่เป็นธรรมว่า
ธรรมใดที่มีการกล่าวขัดกันอยู่ ย่อมเป็นไปไม่ได้ว่า จะได้ภูมิธรรมที่เหมือนกัน

โดยเฉพาะเรื่องจิตที่เป็นหัวใจสำคัญในทางพุทธศาสนาด้วยแล้ว
เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ที่อุบัติขึ้นมา
ท่านทรงสอนให้อบรมฝึกฝนชำระจิตของตน
ให้บริสุทธิ์ผ่องแผ้วหมดจดจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งหลาย

เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว เราย่อมพิจารณารู้เห็นตามความเป็นจริงว่า
ท่านพระอาจารย์หลวงปู่สิม พุทธจาโรนั้น
ท่านคงไม่ไปรับรองภูมิรู้ภูมิธรรมให้ใครง่ายๆหรอก
ยิ่งกับคนชอบแอบอ้าง และยังมีคำสอนที่แตกต่างไปจากคำสั่งสอนของท่านเอง



เจริญในธรรมทุกๆท่าน
ธรรมภูต






Create Date : 28 ตุลาคม 2552
Last Update : 19 มกราคม 2558 16:29:58 น.
Counter : 663 Pageviews.

11 comments
  
โดย: สมาชิกผู้ทรงเกียรติ วันที่: 28 ตุลาคม 2552 เวลา:8:38:58 น.
  
ผู้ดเห็นว่า จิตผู้รู้เที่ยง ยังเป็นมิจฉาทิฐิอยู่ หลางปู่หล้าท่านกล่าวไว้ครั้ง สนทนาธรรมกับ หลวงปู่ บุญฤทธิ์
.....ไฟกระพิบเกิดดับ แม้ต้นกำเหนิดของไฟก็ไม่เที่ยงเช่นกัน สิ่งเที่ยงมี 1 เดียว คือนิพพาน ตามพุทธพจน์ โปรดพิจารณา..ไม่ต้องเชื่อท่านใดๆเลย
โดย: คนรู้น้อย IP: 10.249.114.135, 203.149.16.36 วันที่: 28 ตุลาคม 2552 เวลา:18:08:52 น.
  
ผู้ดเห็นว่า จิตผู้รู้เที่ยง ยังเป็นมิจฉาทิฐิอยู่ หลางปู่หล้าท่านกล่าวไว้ครั้ง สนทนาธรรมกับ หลวงปู่ บุญฤทธิ์
.....ไฟกระพิบเกิดดับ แม้ต้นกำเหนิดของไฟก็ไม่เที่ยงเช่นกัน สิ่งเที่ยงมี 1 เดียว คือนิพพาน ตามพุทธพจน์ โปรดพิจารณา..ไม่ต้องเชื่อท่านใดๆเลย
โดย: คนรู้น้อย IP: 10.249.114.135, 203.149.16.36 วันที่: 28 ตุลาคม 2552 เวลา:18:08:52 น.
..................................
ท่านรู้น้อยครับ
ท่านอ้างครูบาอาจารย์มาว่ากล่าว ท่านช่วยเอาหลักฐานมาด้วยครับ
อย่างครูบาอาจารย์บางท่าน บอกว่าจิตไม่เที่ยงนั้น
หมายถึงจิตของปุถุชน ที่ต้องเกิดตายไปตามกิเลสที่เข้ามาครอบงำจึงไม่เที่ยง
เกิดตายไปตามกรรมที่กำหนด แต่จิตไม่เคยดับตายหายสูญไปไหน
จิตปุถุชน เมื่อได้รับการฝึกฝนอบรมจนผ่องใสบริสุทธิ์
หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองทั้งหลายได้นั้น อาจเรียกว่า "ธรรมธาตุ" ธาตุรู้

เมื่ออะไรๆก็ไม่เที่ยง มีแต่พระนพานเที่ยงอย่างเดียว รู้ได้อย่างไร?
เมื่อบรรลุพระนิพพานรู้มั้ย?
ถ้ารู้ แสดงว่ามีจิตผู้รู้อยู่สิ
ถ้าไม่รู้ แสดงว่าเดาสวด มั่วเอาเองว่าบรรลุพระนิพพาน

ก็เพราะไฟกระพริบ จึงเรียกว่าไฟเกิด-ดับ ไฟกระพริบรู้มั้ย? รู้
ถ้าไฟที่ไม่กระพริบ จะเรียกว่าไฟเกิดดับได้มั้ย?
ไฟไม่กระพริบรู้มั้ย? รู้ แสดงว่าจิตเป็นธาตุรู้ อะไรเกิดขึ้นก็รู้ ดับไปก็รู้
ไฟฟ้ามมีสองระบบ ระบบกระแสตรง กับระบบกระแสสลับ

มีพระบาลีกล่าวไว้ว่า
"จิตของเราสิ้นการปรุงแต่ง บรรลุพระนิพพานเพราะสิ้นตัณหา"
จิตสิ้นการปรุงแต่ง ที่เรียกว่า "ธรรมธาตุ"หรือ "อมตะธรรม"

ธรรมภูต


โดย: ในความฝันของใครสักคน วันที่: 28 ตุลาคม 2552 เวลา:19:55:03 น.
  
จิต คือ ธาตุรู้...ทรงความรู้ทุกกาลสมัย...

จิตคือธาตุรู้ ยังไงก็เป็นธาตุรู้ ไม่แปรเปลี่ยนเป็นธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ไปได้
ธาตุดิน ก็ไม่แปรเปลี่ยนเป็นธาตุรู้ ธาตุน้ำ ลม ไฟ ไปได้
ธาตุน้ำ ก็ไม่แปรเปลี่ยนเป็นธาตุรู้ ธาตุดิน ลม ไฟ ไปได้ เช่นกัน...ฯลฯ...

จิต คือ ธาตุรู้ รู้ทุกกาลสมัย เพียงแต่รู้ผิด หรือ รู้ถูก เท่านั้น

ปุถุชน จิต(ธาตุรู้) รู้ผิดไปจากความเป็นจริง
คือ ไม่รู้อริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง
จิตหลงผิดยึดถืออารมณ์หรือขันธ์ ๕ เป็นตน
เมื่ออารมณ์หรือขันธ์ ๕ แปรปรวนไป
จิตปุถุชนก็แปรปรวนตามขันธ์ ๕ ที่แปรปรวนไป
เลยพลอยเห็นไปว่า จิตเกิดดับตามอารมณ์หรือขันธ์ ๕ ที่เกิดดับ


จึงต้องปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ ตามเสด็จพระบรมศาสดา
เพื่อให้จิต(ธาตุรู้) รู้ถูกตามความเป็นจริง
คือ รู้อริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง
จิตปล่อยวางความยึดถืออารมณ์หรือขันธ์ ๕ ว่าเป็นตน
เมื่ออารมณ์หรือขันธ์ ๕ แปรปรวนไป
จิตผู้ปฏิบัติก็ไม่แปรปรวนตามขันธ์ ๕ ที่แปรปรวนไป
เพราะจิตผู้ปฏิบัติรู้อยู่ เห็นอยู่ ว่า ตน(จิต)ไม่ได้เกิดดับ ที่เกิดดับคืออารมณ์หรือขันธ์ ๕ นั่นเอง


สัมมาทิฐิ คือ ความรู้เห็นอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง
จะรู้เห็นอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริงได้
ต้องปฏิบัติสัมมาสมาธิ โดยทำกิจควบคู่กับสัมมาสติ และสัมมาวายามะ
จนจิตสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิ
จึงจะเกิดปัญญาเห็นอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง
และเกิดพลังปัญญาปล่อยวางอารมณ์ต่างๆที่เข้ามากระทบจิตออกไปได้

ยินดีในธรรมครับ

โดย: หนูเล็กนิดเดียว วันที่: 29 ตุลาคม 2552 เวลา:7:05:09 น.
  
ผู้ดเห็นว่า จิตผู้รู้เที่ยง ยังเป็นมิจฉาทิฐิอยู่ หลางปู่หล้าท่านกล่าวไว้ครั้ง สนทนาธรรมกับ หลวงปู่ บุญฤทธิ์

โดย: คนรู้น้อย IP: 10.249.114.135, 203.149.16.36 วันที่: 28 ตุลาคม 2552 เวลา:18:08:52 น
...................................

"ทำดี เรียกว่าพุทโธ แต่พุทโธย่อมมีขอบเขต ผู้รู้ก็มีขอบเขต จิตว่างก็มีขอบเขต
ถ้าอย่างนั้นมันก็ฝั้นเฝือกัน จิตว่างถึงพระโสดาบัน จิตเป็นพุทโธถึงพระโสดาบัน
จิตเป็นธัมโมถึงพระโสดาบัน จิตเป็นสังโฆถึงพระโสดาบัน สมาธิพระโสดาบัน
ศีลพระโสดาบัน ปัญญาพระโสดาบัน ศรัทธาพระโสดาบัน วิริยะพระโสดาบัน
ความเชื่อสติของพระโสดาบัน สมาธิความตั้งมั่นของพระโสดาบัน
ปัญญาความรอบรู้ของพระโสดาบัน นับแต่จำพวกนี้ไป จึงมีประมาณในทางพระพุทธศาสนา
ต่ำกว่านั้นจะเอาเป็นประมาณไม่ได้ กระจุยกระจายกันปั้นไม่ติด"


อ่านเต็มๆที่นี่ครับ

ท่านคนรู้น้อยครับ
ผมเอาธรรมของพระอาจารย์หลวงปู่หล้า บางส่วนมาให้อ่านครับ
ท่านกล่าวว่า "จิตเป็นพุทโธถึงพระโสดาบัน จิตเป็นธัมโมถึงพระโสดาบัน จิตเป็นสังโฆถึงพระโสดาบัน"

ในเมื่อพระโสดาบันได้ชื่อว่าเป็นผู้เที่ยงแล้ว
พระโสดาบันท่านเป็นกันที่กายตายเน่าเข้าโลงได้
หรือจิตที่เป็นพุทโธ ธัมโม สังโฆที่เข้าถึงความเป็นโสดากันแน่ครับ?

ธรรมภูต
โดย: ในความฝันของใครสักคน วันที่: 29 ตุลาคม 2552 เวลา:20:47:29 น.
  
อนุโมทนาค่ะ คุณธรรมภูต

เอ่อ อะไรๆก็ไม่เที่ยง แม้แต่จิตผู้รู้ก็ไม่เที่ยง
แล้วจะปฏิบัติไปทำไมล่ะ ในเมื่อมีแต่ของไม่เที่ยง
จิตผู้รู้ก็ไม่เที่ยง งั้นสิ่งที่จิตผู้รู้ รู้ก็ต้องไม่เที่ยงด้วย

แล้วสุดท้าย พระนิพพาน ที่เที่ยงแท้ โผล่มาได้ยังไง แปลกจัง
โดย: ขอเป็นอีกหนึ่งกำลังใจ IP: 10.34.10.200, 202.28.180.202 วันที่: 30 ตุลาคม 2552 เวลา:12:42:01 น.
  
หุหุ เถียงกันด้วยคำพูด จะได้ประโยชน์อะไร ทำไมไม่ลองทำไปจนแจ้งเองล่ะครับ อย่ามัวแต่เอาคำของครูบาอาจารย์มาอ้างเลยครับ
โดย: มะกัน IP: 192.168.182.35, 118.172.194.74 วันที่: 6 พฤศจิกายน 2552 เวลา:23:21:45 น.
  
ท่านมะกันครับ ทำไมไม่มีประโยชน์หละ

ยังมีอาจารย์บางท่าน นำเอาคำครูบาอาจารย์มาแอบอ้างว่า
พ่อแม่ครูบาอาจารย์ มารับรองตัวเองว่า เป็นอริยสาวกแล้ว

โดยไม่มีหลักฐานจากปากคำของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ท่านนั้นเลย

ส่วนที่ผมนำเอาคำของพ่อแม่ครูบาอาจารย์มาอ้างนั้น
เพื่อจะได้เปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างระหว่าง
ผู้นำเอามาแอบอ้าง กับผู้ถูกนำเอาไปแอบอ้าง

ส่วนประโยชน์นั้น เผมคยลองทำตามวิธีดูจิตที่มีผู้นำเอามาแอบอ้างแล้ว
ไม่เห็นว่าจะมีประโยชน์นำให้พ้นทุกข์ได้เลย
อย่างดีที่สุดก็แค่ ติดดีในดีเท่านั้น

ธรรมภูต
โดย: ในความฝันของใครสักคน วันที่: 11 พฤศจิกายน 2552 เวลา:20:59:29 น.
  
ปฏิบัติธรรมวัดผลอย่างไร องค์ท่านพระประยุทธ์ ปยุตโต

1.มีความมั่นใจ มั่นใจในกุศลธรรมต่างๆมากขึ้น
2.มี ศีล ขึ้นไหม (ความสงบ/ปกติของ กาย วาจา ใจ)
3.มี สุตะ มากขึ้นไหม
4.มีความลดละกิเลสได้มากขึ้นไหม
5.มีปัญญา (ตัวคุมทั้งหมด) รู้เข้าใจถูกต้องตามความเป็นจริงมากเพียงใด
---------หากปฏิบัติจริงแล้ว-----------
ลักษณะของจิตที่เดินถูกทาง
1.ปราโมทย์ แช่มชื่น ร่าเริง เบิกบานใจ
2.ปีติ อิ่มใจ ปลาบปลื้มใจ ใจฟูขึ้น
3.ปัสสัทธิ รู้สึกผ่อนคลายกายใจ ใจเรียบรื่นระงับลง เย็นสบาย
4.สุข ความสุข คล่องใจ โปร่งใจ ไม่มีความติดขัด บีบคั้น
5.สมาธิ ความมีตั้งใจมั่น สงบ อยู่ตัว อยู่กับงานที่ทำหรือเรื่องที่เกี่ยวข้อง ไม่วอกแวก ฟุ้งซ่าน
แค่ข้อที่ 1 ก็ถูกทางแล้ว หวังลุถึงสันติบรมธรรมที่เป็นจุดหมาย(คาถาธรรมบทที่ 376,381)

---------------ให้ทุกคนที่สนใจ เก็บไว้ได้น่ะครับ------
ผมก็แค่คนเริ่มเดิน แต่ก็มั่นใจจะถึง เมื่อไหร่เมื่อนั้นครับ
โดย: มั่นใจ IP: 61.19.65.208 วันที่: 30 กรกฎาคม 2553 เวลา:10:38:12 น.
  

----ขอเป็นกำลังใจให้กับทุกคน ครับ การถกเถียงกัน มันก็เป็นการดี ทำให้เราเอะใจ ว่าผิดหรือถูก ไม่ใช่ตั้งหน้าตั้งตา ทำตามทิฏฐิ ของตน ผมชื่นชมครับ หากมีใจเป็นกลาง ตั้งมั่นจริง ของผู้ถกกัน พระพุทธองค์ คงชื่นชม นี่แหล่ะครับ
เป็นเรื่อง ให้จัดบัว 4 เหล่า หากใครไม่เข้าใจธรรมมาก
โปรดย้อนดูว่า คนๆนั้นคือเราในอดีตที่ผ่านมา โปรดเมตตาเขาด้วยใจจริง หากรู้ข้อปฏิบัติ จริตของแต่ละคนแล้ว ก็เดินเลยครับ เอาตัวเองให้จบกิจ(วิมุติ)ก่อ แล้วค่อยมาบอกกัน คนคนหนึ่ง จบกิจแล้ว สามารถช่วยเหลือคนได้อีกมากมาย อย่างน้อยหรือดีที่สุด ก็พ่อแม่ของเรา พี่น้องของเรา แล้วก็กระจาย ตัวของพ่อแม่คือตัววัดผลว่าเรา ขันติ จริงใจแค่ไหน ขอบคุณครับที่ได้ให้แสดงความเห็น
โดย: ชาวเชียงใหม่ IP: 61.19.65.208 วันที่: 30 กรกฎาคม 2553 เวลา:10:51:52 น.
  
ธรรมของพระศาสดานี้อัศจรรย์นัก ควรศึกษให้รู้อย่างถูกต้องและแจ่มแจ้ง จะได้ปฏิบัติไม่ผิด แต่ถ้าลงมือปฏิบัติอย่างจริงจังด้วยความเพียรไม่ลดละ อัศจรรย์ยิ่งกว่า ขอโมทนาสาธุแก่ท่านทั้งหลายที่ใคร่ในธรรม และที่เพียรปฏิบัติธรรมอยู่ สาธุๆๆๆๆ ประเสริฐแท้
โดย: พราหมณ์ทศ IP: 124.122.56.38 วันที่: 22 สิงหาคม 2553 เวลา:0:25:18 น.

ในความฝันของใครสักคน
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]



สารบัญ Blog ธรรมภูต - พระภัทรสิทธิ์



หน้าแรก Blog ธรรมภูต - พระภัทรสิทธิ์