ดูจิตแบบ สมาธินำปัญญา หรือปัญญานำสมาธิ
จากหัวข้อนี้ ในปัจจุบันนั้น มีการนำมาถกกันเป็นที่กว้างขว้าง
เกิดจากข้ออ้างง่ายๆ แต่กลับไร้เหตุผลสิ้นดีครับ

ทำสมถะ ก็เคยทำค่ะ ก็ได้ปีติชั่วครู่ชั่วยาม สลับกับความฟุ้งซ่านและความปวดหัว
เพราะเพ่งอารมณ์ หรือเพ่งลมหายใจ


จากข้ออ้างดังกล่าว ทำให้เกิดการเอาปัญญานำสมาธิ
โดยอ้างว่าการดูจิตคือการเอาปัญญานำสมาธิ
เป็นการแอบอ้าง โดยนำคำของครูบาอาจารย์มารับรองความถูกต้อง

ทั้งที่ครูบาอาจารย์ทั้งหลายเหล่านั้น
ท่านก็สอนของท่านโดยจากฝึกฝนอบรมจิต(สัมมาสมาธิ)
จนจิตสงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหวทั้งนั้น

การที่จิตจะสงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหวได้นั้น
เพราะจิตเกิดปัญญารู้เห็นตามความเป็นจริงว่า
นั่นไม่ใช่เรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตนของเรา

สำหรับนักดูจิตที่ชอบอ้างนักอ้างหนาว่าปัญญานำสมาธินั้น
ตอบให้กระจ่างด้วยครับว่า สติปัญญาเกิดขึ้นที่ไหน
ถ้าไม่ใช่เกิดขึ้นที่จิต


สติปัญญาเกิดขึ้นเองลอยๆไม่ได้หรอกครับ
ทั้งสติปัญญานั้นล้วนต้องเพียรสร้างให้เกิดขึ้นมีขึ้น
เกิดขึ้นเองหรือมีขึ้นเองนั้นไม่ได้แน่นอนครับ

ถ้าคิดว่าได้ โปรดบอกด้วยว่าเกิดขึ้นมีขึ้นเองตอนไหน
อย่าบอกนะว่า เกิดขึ้นเองมีขึ้นเองโดยไม่รู้เนื้อรู้ตัว(ฟลุ๊คๆขึ้นมาเอง)


ถ้ายังมีแนวคิดเช่นนี้ ศาสนาพุทธของเราชาวพุทธ
คงกลายเป็นเรื่องตลกชวนหัวไป สำหรับผู้คนที่ได้ยินได้ฟังไม่น้อย

มีพุทธพจน์ใน สมาธิสูตร กล่าวรับรองไว้ว่า

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลายเธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิ.
ภิกษุมีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริง.

ก็ภิกษุย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงอย่างไร.
ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิดและความดับแห่งรูป
ความเกิดและความดับแห่งเวทนา
ความเกิดและความดับแห่งสัญญา
ความเกิดและความดับแห่งสังขาร
ความเกิดและความดับแห่งวิญญาณ
.

ในพระสูตรก็เป็นที่ชัดเจนแล้วนะครับว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลายเธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิ.(ภาเวตัพพะ)

พระบรมครูก็เน้นย้ำให้ชัดว่า จงเจริญสมาธิ จงเจริญสมาธิ จงเจริญสมาธิ

พระองค์ท่านทรงกล่าวต่อว่า
“ภิกษุมีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริง”

รู้ชัดตามความเป็นจริง
อันนี้คือปัญญาชัดๆ นะครับ
ถ้าจิตไม่ตั้งมั่น(เป็นสมาธิ) จะรู้ชัดตามความเป็นจริงได้ไหม...ย่อมไม่ได้

แต่ทุกวันนี้เกิดความเข้าใจแบบผิดๆของนักดูจิตรุ่นใหม่ว่า
การที่ตัวเองวางเฉยต่ออารมณ์ได้นั้น เป็นเพราะรู้เห็นตามความเป็นจริง

ซึ่งในความเป็นจริงไม่ใช่เลย
สืบเนื่องมาจากความคุ้นชินต่อการที่จิตรู้รับอารมณ์(ความคิด)มาโดยตลอด
แต่พยายามที่จะรู้เฉยๆอยู่ โดยคิดว่าไม่ได้แทรกแซงอะไร
จนกลายเป็นความกระด้างคุ้นชินกับความคิดดังกล่าวที่เกิดขึ้น

เมื่อเวลาเกิดรอบใหม่อีก ก็เป็นแบบนี้ รอบแล้วรอบเล่า
จนจิตติดคิด ปล่อยวางความคิดไม่เป็น

โดยเฉพาะความคิดที่คิดว่าเฉยๆที่ติดอยู่อย่างเหนียวแน่นนั้น
จนหลงเข้าใจผิดๆว่าตัวเกิดปัญญา ... แท้ที่จริงแล้วเกิดสัญญา

แล้วสัญญาที่ไหนที่จะนำสมาธิได้

จากหัวข้อดังกล่าวข้างต้น เราพอจะสรุปได้ว่า

ทั้งปัญญานำสมาธิหรือสมาธินำปัญญานั้น
ล้วนเป็นอัญญะมัญญะปัจจัย ที่จะต้องเกื้อหนุนกันและกันให้เกิดขึ้น

แต่ต้องเริ่มต้นที่เจริญสมาธิให้ได้ก่อน
เมื่อจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิแล้ว จึงเกิดปัญญารู้เห็นตามความเป็นดังนี้

เมื่อจิตมีปัญญารู้เห็นตามความเป็นจริงว่า
ขันธ์๕ไม่ใช่เรา(จิต) เรา(จิต)ไม่เป็นขันธ์๕ ขันธ์๕ไม่ใช่ตนของเรา(จิต)

ย่อมเกื้อหนุนให้จิตตั้งมั่นได้รวดเร็วขึ้นโดยลำดับ
จิตที่ตั้งมั่นก็กลับมาเกื้อหนุนให้ปัญญาเฉียบคมมากขึ้น
เป็นอัญญะมัญญะปัจจัยซึ่งกันและกันครับ



เจริญในธรรมทุกๆท่าน
ธรรมภูต





Create Date : 22 มิถุนายน 2552
Last Update : 19 มกราคม 2558 16:36:59 น.
Counter : 879 Pageviews.

5 comments
  
แวะมาทักทายค่ะ ขอไป post ต่อค่ะ
โดย: Elbereth วันที่: 22 มิถุนายน 2552 เวลา:16:42:40 น.
  
ขอถามว่าเรารู้ได้อย่างไรว่าจิตเป็นสมาธิหรือไม่เป็นสมาธิ

แล้วรู้ได้อย่างไรว่าขณะนี้จิตไม่เป็นสมาธิ..ต้องทำสมถะก่อน
แล้วรู้ได้อย่างไรว่าขณะนี้จิตเป็นสมาธิแล้ว.เจริญวิปัสนาต่อได้

ท้งหมด..คือการดูจิตไปแล้วโดยไม่รู้ตัว
โดย: palmgang IP: 119.42.70.128 วันที่: 26 กรกฎาคม 2552 เวลา:14:16:37 น.
  
ท่านpalmgangครับ
สมถะและวิปัสสนานั้น เป็นสิ่งที่แยกออกจากกันไม่ได้
ต้องมีและดำเนินไปด้วยกัน ในพุทธวจนะนั้นตรัสไว้ชัดเจนว่า

"ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้
ย่อมเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้น
เมื่อภิกษุนั้นเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิด

ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่
ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ

อีกประการหนึ่ง

ภิกษุเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น
เมื่อภิกษุนั้นเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้น

ภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่
ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ

อีกประการหนึ่ง
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป
เมื่อภิกษุนั้นเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป มรรคย่อมเกิด

ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่
ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ"

เมื่อท่านยังไม่รู้จักจิตที่ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวต่ออารมณ์แล้ว
ยังจะคิดดูจิตที่ติดความคิดไปเพื่อประโยชน์อะไร
ละอารมณ์ก็ละไม่เป็น แล้วจะเกิดปัญญาปล่อยวางอารมณ์ได้อย่างไร???

ธรรมภูต
โดย: ในความฝันของใครสักคน วันที่: 2 สิงหาคม 2552 เวลา:20:03:15 น.
  
ขอถามว่าเรารู้ได้อย่างไรว่าจิตเป็นสมาธิหรือไม่เป็นสมาธิ

แล้วรู้ได้อย่างไรว่าขณะนี้จิตไม่เป็นสมาธิ..ต้องทำสมถะก่อน
แล้วรู้ได้อย่างไรว่าขณะนี้จิตเป็นสมาธิแล้ว.เจริญวิปัสนาต่อได้

ท้งหมด..คือการดูจิตไปแล้วโดยไม่รู้ตัว

................................................................

เอาอะไรมาพูดเนี่ย เอะอะ ก็ดูจิตๆ

เค้ามีแต่สมาธิอบรมปัญญา กับปัญญาอบรมสมาธิ

การจะเห็นสติปัฏฐาน 4 ที่แท้จริง ต้องทำความสงบเข้ามาก่อน สติปัฏฐานของจริงจึงจะปรากฏให้เห็น กาย เวทนา จิต ธรรม แล้วค่อยพิจารณา

ที่สอนกันปาวๆ น่ะ สติปัฏฐานของเก๊ สติปัฏฐานกิเลสน่ะเส่ะ
เอาสติแบบโลกๆ สกปรกมอมแมมนี่นะไปเจริญสติปัฏฐาน ก็โดนกิเลสหลอกไปทุกๆ ชาตินั่นแหละ
โดย: พุทโธ IP: 124.122.163.51 วันที่: 17 สิงหาคม 2552 เวลา:14:25:23 น.
  
ถูกต้องครับท่านพุทโธ
ยังไม่ทันรู้จักจิตที่ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวต่ออารมณ์ จากการภาวนา(พุทโธ)เลย
ซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญอย่างยิ่งในการดูกาย เวทนา จิต ธรรม
เมื่อจิตรู้จักฐานกายคตาสติแล้ว ย่อมกระเทือนถึง เวทนา จิต ธรรม อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

แต่บางท่านกลับสะเพร่า สอนข้ามขั้นตอน โดยอ้างว่าเป็นทางลัดสั้น
ทั้งๆที่ในพระพุทธศาสนามีทางลัดสั้นเสียที่ไหนหละ? มีทางนี้ทางเดียวเท่านั้น
ที่ต้องเริ่มต้นด้วยการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนาเท่านั้น จึงจะรู้เห็นตามความเป็นจริงได้ครับ

ธรรมภูต

โดย: ในความฝันของใครสักคน วันที่: 20 สิงหาคม 2552 เวลา:9:56:18 น.

ในความฝันของใครสักคน
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]



สารบัญ Blog ธรรมภูต - พระภัทรสิทธิ์



หน้าแรก Blog ธรรมภูต - พระภัทรสิทธิ์