เกมส์ปลาหมึก สปอย์ต่อ

Squid Game เกมส์ของคนสิ้นหวัง เราดูจากเนตฟลิกซ์ ที่บ้าน
เรื่องราวของคนสิ้นหวังในชีวิต ติดหนี้ ติดการพนัน ไม่มีเงิน ล้มเหลวในชีวิตครอบครัว ถูกโกงเงิน โกงเงิน/ยักยอก/ทุตจริตเงินในบริษัท ขโมยฉกชิงวิ่งราว คนแก่ที่ป่วย ไม่มีความหวังที่สดใสของชีวิต ความโลภ ความเห็นแก่ตัวของมนุษย์ฯลฯ
พวกชอบใส่หน้ากาก ปกปิด แอบแฝงความไม่จริงใจ ภายใต้หน้ากาก คืออะไร




ต่อด้วย ก้อปมา

ดูจากกระแสในโซเชียลมีเดียและจำนวนผู้ชม นาทีนี้คงไม่มีอะไรที่น่าพูดถึงไปกว่า ซีรีส์เกาหลีอันดับ 1 ใน Netflix ไทยตอนนี้แล้ว ซีรีส์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเกมเอาชีวิตรอดที่ให้ผู้เล่น 456 คน มาเล่นเกมการละเล่นเกาหลีเด็กๆ แต่เงินรางวัลโตๆ ถึง 45,600 ล้านวอน ที่ผู้คนให้ความสนใจอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เห็นเรื่องย่อ ตัวอย่าง จนซีรีส์จบไปเป็นอาทิตย์ก็ยังมีการพูดถึงอยู่เรื่อยๆ อย่างไม่แผ่วเบา

ซึ่งตอนเริ่มดู ระหว่างดู และดูจบ จะพบได้ว่า Squid Game ดูจะไม่ใช่สิ่งใหม่นัก ถ้าเทียบกับฝั่งญี่ปุ่นที่มีทั้ง Liar Game, Alice in Borderland, Btoom!, Gantz, Battle Royale, As the Gods Will และอีกมากมายในฉบับมังงะและหนังหรือทีวีซีรีส์

แต่ก็เป็นอะไรที่น่าหยิบมาแงะแกะส่องพอสมควร น่าสนใจว่าเมื่อเกาหลีหันมาจับแนวเซอร์ไวเวิลเกมบ้างจะมีหน้าตาและรสชาติเป็นอย่างไร วันนี้เลยจะมาพูดถึงว่านอกจากความบันเทิงและความโหดสุดมุ้งมิ้งแล้ว ซีรีส์เรื่องนี้บอกอะไรเราบ้าง?
 

เรื่องราวทั้งหมดเริ่มต้นด้วยการทำความรู้จักกับ ซองกีฮุน รับบทโดยลีจองแจ (Lee JeongJaeตัวเอกสไตล์ loser วัยผู้ใหญ่ที่ไม่เอาถ่าน ทั้งในแง่การใช้ชีวิตของตัวเอง ลูกของแม่ และพ่อของลูก แถมยังมีอุปนิสัยเพิกเฉยกับชีวิตตนเอง ชอบทางลัดหรืออะไรที่ได้มาโดยไม่ต้องพยายามมาก (หาเงินจากการเล่นการพนัน) แต่ลึกๆ อย่างย้อนแย้ง ก็เป็นคนซื่อ จิตใจดี มีน้ำใจ และทำเพื่อผู้อื่นมากกว่าตัวเอง พูดง่ายๆ คือครบองค์ของการเป็นตัวเอกประเภทเกมเอาชีวิตรอด

นั่นก็เพราะตัวละครประเภทนี้ให้ความรู้สึกด้อย (inferior) จนน่าเอาใจช่วย และยังรู้น้อย ทำให้สามารถหน้าที่เป็นตัวนำพาคนดูไปสำรวจเรื่องราวไปพร้อมๆ กันได้ดี

 

ตัวละครซองกีฮุนไม่เพียงแต่จะเป็น stereotype หรือพิมพ์นิยมของตัวเอกในเรื่องราวประเภทดังกล่าว แต่บุคลิกของเขายังเป็นจุด intersect ที่ผู้จัดแข่ง Squid Game ต้องการตัวเป็นอย่างมาก คนที่มีคุณสมบัติคือ

  1. ติดหนี้, เผชิญวิกฤตชีวิต, มีปัญหาส่วนตัว หรือมีเรื่องฉุกเฉิน
  2. เข้าตาจน ชีวิตไม่มีอะไรจะเสียหรือแย่ไปกว่านี้อีกแล้ว หรือร้อนเงิน
  3. ยอมทำทุกอย่างให้ชีวิตตนเองดีขึ้น

ทำให้เขาและคนอื่นๆ ถูกจับตามองและถูกเข้าหาโดยกงยู (ขอเรียกแบบนี้เลยแล้วกัน) ที่มาท้าให้เล่นเกมปากระดาษง่ายๆ ด้วยกติกาที่ชนะคือได้ แพ้คือไม่มีอะไรจะเสีย แค่ถูกตบหน้าจนกว่าจะชนะแลกกับเงิน 1 แสนวอน เป็นใครจะไม่เอาใช่มั้ย?

ผลคือ แน่นอน เขาได้เงินรางวัลไปอย่างง่ายๆถึงจะโดนตบหน้าไปหลายฉาดก็ตาม และอย่างที่เขาว่า “มี 1 ก็ต้องมี 2” หรือทฤษฎีของการได้แล้วได้อีก ยิ่งเป็นอะไรที่เราได้มาโดยรู้สึกว่าได้มาโดยทางลัด หรือมูลค่าของมันมากกว่าความพยายามที่เราเสียไปอยู่มาก ก็จะเกิดเกณฑ์ในใจ นำไปสู่การเปรียบเทียบและมีแนวโน้มจะเข้าหามันมากกว่าที่จะทำอะไรที่เหน็ดเหนื่อย แต่ผลตอบแทนน้อยกว่าที่เคยได้รับ

เป็นสาเหตุที่คนที่ได้สัมผัสแล้ว ต้องการสัมผัสอีก ราวกับพวกเขาก้าวขาเล่นเกมไปครึ่งหนึ่งตั้งแต่เกมยังไม่เริ่ม จึงไม่แปลกใจว่าคนส่วนใหญ่ที่ได้เล่นเกมปากระดาษแล้วโดนโอปป้ากงยูตบหน้า จะตัดสินใจเข้าร่วมเกมที่ใหญ่กว่าและได้เงินรางวัลมากกว่า รวมถึงการที่หลังจากโหวตเลิกเล่นเมื่อจบเกมแรกแล้ว ผู้เล่นจำนวน 187 คนจาก 201 คนตัดสินใจกลับมาเล่นเกมใหม่เช่นกัน
 

Squid game  เป็นเกมที่ไม่บอกอะไรกับผู้เล่นเลยนอกจากให้เอกสารยินยอมเข้าร่วมที่ระบุกติกาและข้อบังคับเอาไว้ว่า

ข้อ 1 ผู้เล่นไม่สามารถเลิกเล่นโดยพลการได้ระหว่างเกม

ข้อ 2 ผู้เล่นที่ไม่ยอมเล่นเกมจะต้องตกรอบ

ข้อ 3 สามารถยุติเกมลงได้หากผู้เล่นเกินครึ่งยอม

ทั้งยังย้ำนักย้ำหนากับผู้เล่นว่าพวกเขาไม่ได้ถูกบังคับมา แต่ทุกคนมาเล่นเกมนี้ด้วยความสมัครใจของตัวเอง ซึ่งก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ และกติกาทั้งสามข้อที่ดูเหมือนสั้นนี้ ก็ดูจะคิดมาดีแบบนี้ครอบคลุมทุกอย่างเอาไว้อย่างสมบูรณ์ราวกับบอกผู้เข้าแข่งขันไปในตัวด้วยว่า “ทางเราและตัวเกมเป็นแค่ฟันเฟือง ผู้ที่จะขับเคลื่อนกลไกของเกมคือพวกคุณต่างหาก”
 

หนึ่งในสิ่งที่เฉียบคมที่สุดของซีรีส์ที่มีให้เห็นคือการเปิดเผยทั้งเกมและเงินรางวัลโดยไม่บอกล่วงหน้า

เฉียบคมยังไง? ตามที่ได้บอกไปว่าเกมนี้ที่จัดขึ้นบนเกาะนี้เหมือนการจำลองระบบสังคมไว้ในสถานที่หนึ่ง ในชีวิตจริงเราไม่อาจรู้ได้เลยว่า มีอะไรอยู่ข้างหน้า จริงๆ มันเริ่มตั้งแต่การที่เด็กคนหนึ่งตอบครูในชั้นเรียนอนุบาลประถมว่า อยากโตไปเป็นหมอ โตไปเป็นทหาร โตไปเป็นครู แม้กระทั่งเรียนมหาลัยในคณะใดคณะหนึ่ง แล้วพอโตหรือถึงวัยเรียนจบเข้าจริงกลับลงเอยด้วยการทำงานในสายอาชีพอีกอย่างกับที่เคยบอกไว้แล้ว

การที่เกมไม่บอกใบ้ก่อน ก็เหมือนการที่ชีวิตเราไม่รู้ว่าจะเจออะไร ต้องตัดสินใจยังไง ต้องรับมือกับอะไร วางแผนยังไง จนกว่าจะถึงจุดจุดหนึ่งที่มองเห็นมันได้จริงๆ และทุกการตัดสินใจไม่ว่าจะเล็กใหญ่คือ การตัดสินใจที่ส่งผลต่อชีวิตและคนรอบข้างทั้งสิ้น

อีกทั้งเรื่องของเงินรางวัลที่ไม่เปิดเผยจนกว่าจะแข่งเสร็จในแต่ละเกมนั้น ไม่ใช่ผู้จัดแข่งกั๊ก หรือใช่ว่าไม่อยากบอก แต่เพราะพวกเขาเองก็บอกไม่ได้ว่าตัวเลขจะเป็นเท่าไหร่ ผู้เข้าแข่งขันทุกคนมีมูลค่าเป็นของตัวเอง และเมื่อถูกตัดออกจากการแข่งขัน (ในที่นี้คือด้วยความตาย) ยิ่งคนเหลือน้อย จำนวนเงินก็ยิ่งมากตาม เกมเป็นแค่ฟันเฟือง เหมือนสิ่งที่เรียกว่าระบบเศรษฐกิจ สิ่งที่จะตัดสินว่ามันจะขึ้นหรือลง มีใครเจ็บตัวมากน้อย ใครได้เปรียบเสียเปรียบ ใครรอดใครไม่รอด คือผู้เล่น

Squid Game จึงเป็นการจำลองของการตะเกียกตะกายแย่งชิงในสังคม กับการโอนถ่ายทรัพยากรเงินทองหรือพลังชีวิตจากผู้หนึ่งไปสู่อีกผู้หนึ่งได้อย่างเห็นภาพที่สุด

ฟังแบบนี้แล้วเหมือนเกมนี้เป็นเกมที่แฟร์ ด้วยการให้ทุกคนอยู่ภายใต้ข้อกำหนดหรือกติกาเดียวกัน ไม่ว่านอกเกมจะเคยเป็นใคร มีปัญหาอะไรกับชีวิต เคยเป็นใครมาก่อน มีหนี้เท่าไหร่ การมาเล่นเกมนี้คือการถูก set zero ให้เท่ากันหมด

แต่เรื่องของ ‘อำนาจ’ ไม่เข้าใครออกใคร และมันเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเมื่อมีสิ่งที่เรียกว่า ‘สังคม’ เกิดขึ้น เมื่อนำคนมากกว่า 1 คนขึ้นไปมาอยู่ด้วยกันแล้ว มันจึงเกิดเป็นสังคมของผู้เล่นขึ้น และมีคนใช้พื้นที่สังคมและโอกาสบนความเท่าเทียมอย่างไม่เท่าเทียม ไม่ว่าจะเป็น

  • เจ้าหน้าที่ชุดชมพูใส่หน้ากาก แบ่งลำดับชั้นเจ้าหน้าที่หรือทีมงานเป็นสี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม วงกลม จากลำดับสูงสุดไปลำดับต่ำสุด เปรียบได้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจทหารยศชั้นสูงกับชั้นผู้น้อย ที่ลำดับต่ำกว่าไม่มีสิทธิ์ออกความเห็น ตั้งคำถาม หรือขับเคลื่อนใดๆ
  • เจ้าหน้าที่บางคนใช้ตำแหน่งตัวเองฉวยโอกาสกอบโกยผลประโยชน์จากเกม
  • ผู้เข้าแข่งขันบางคนได้สิทธิประโยชน์มากกว่าผู้อื่น เช่น หมอที่ใช้ความสามารถตัวเองช่วยผ่าตัดเพื่อนำอวัยวะไปขายแลกกับข้อมูลเกมต่อไป ซึ่งมันทำให้เขาได้โอกาสมีชีวิตอยู่ต่อมากกว่าผู้อื่น ประหนึ่งว่าใช้เส้นสาย

ถึงหมอและเจ้าหน้าที่จะถูกกำจัดเมื่อถูกจับได้ ก็ใช่ว่าสิ่งนี้จะหมดไปหรือถูกตรวจจับได้ตลอด เมื่อเริ่มเกมใหม่ สิ่งเหล่านี้ กับเจ้าหน้าที่และผู้เล่นประเภทนี้จะเกิดขึ้นอีกเมื่อไหร่ก็ได้ และเราไม่อาจรู้ได้เลยว่าในเกมที่ผ่านมาที่ซีรีส์ไม่ได้เล่า มีอะไรพวกนี้เกิดขึ้นบ้างมั้ย และมากน้อยแค่ไหน

รวมไปถึงการที่ฝ่ายผู้จัดเอง บังคับทิศทางหรือกระแสชีวิตผู้เข้าแข่งขันให้เป็นไปตามที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นสร้างสถานการณ์บีบบังคับให้ผู้เล่นฆ่ากันเอง ไปจนถึงปิดไฟในเกมสุดท้ายเพื่อให้ผู้เล่นเสี่ยงชีวิตมากขึ้นเพื่อความสนุกตื่นเต้นที่เพิ่มขึ้น และการที่ผู้เล่น 001 หรือคุณตา GM เจ้าของเกมลงมาเล่นแล้วทำการเปลี่ยนโมเมนตัมเกมด้วยเช่นกัน เป็นเรื่องดีที่ตัวละครพระเอกรอด แต่ก็น่าคิดว่ามันแฟร์กับคนอื่นๆ หรือไม่?

สิ่งที่ซีรีส์ Squid Game มีให้นอกจากความบันเทิงคือการสอดแทรกโครงสร้างที่พูดไปทั้งหมดเหล่านี้ลงในเกมที่ขุดเอาสัญชาติญาณดิบของมนุษย์ออกมาโชว์ให้เห็นจะๆ (พร้อมกับแทรก soft power เกาหลีไปในตัว) และแสดงให้เห็นว่ามนุษย์ประเภทไหนตอบสนองกับเกมเดียวกันด้วยท่าทีอย่างไร รวมถึงความจนและความต้องการรวยของคนจนนั้นขับเคลื่อนให้ผู้คนเป็นอย่างไรได้บ้าง เหมือนรายการโทรทัศน์ที่มีให้เห็นหลายรายการที่ romanticize ความยากจนเพื่อความบันเทิงและเรตติ้ง

เอาจริงๆ เมื่อคิดอีกมุม จะบอกว่าเราเองก็ได้รับความบันเทิงและความรู้สึกเข้าอกเข้าใจ ลุ้นระทึกตื่นเต้น อึ้ง ทึ่ง เสียว อ้าปากค้าง หัวเราะ เศร้า เหงา ซึ้ง เครียด รวมถึงกดดัน จากเหล่าตัวละครไม่ว่าจะหลัก รอง หรือประกอบในแต่ละสถานการณ์ซีรีส์เรื่องนี้ หรือเสพอารมณ์ที่ได้จากมันไม่ต่างไปจากผู้จัดเกมและ VIP ที่มองดูเกมเด็กเล่นที่ผู้ใหญ่เล่นนี้อย่างสนุกสนาน ในขณะที่ผู้เล่นเอาตัวเองไปเสี่ยงชีวิตและนองเลือดเพื่อเงินรางวัลได้เช่นกัน

 

และดูเผินๆกับเมื่ออ่านคำโปรยของซีรีส์ที่ว่า เกมชิงเงินรางวัลของผู้เล่น 456 คน” กับเรื่องของกลไกที่ให้ผู้เล่นกำหนดเองตามการตัดสินใจขณะเล่น Squid Game อาจดูเป็นเกมของผู้เข้าแข่งขัน แต่แท้จริงแล้วทุกเกมคือเกมของผู้จัดการแข่งขันตั้งแต่แรกแล้วต่างหาก ดังนั้นคำถามก็คือเรา ในสังคมนี้ “กำลังอยู่ในเกมอะไรและเกมของใครรึเปล่า?”



Credit : Squid Game : เมื่อการเอาตัวรอดในโลกทุนนิยมถูกจำลองภายใต้สีพาสเทล

 Posted On 24 September 2021 Watchman


เงิน ใครบ้างไม่อยากได้ แต่ต้องแลกด้วยอะไรล่ะ


 



Create Date : 23 ตุลาคม 2564
Last Update : 23 ตุลาคม 2564 11:39:08 น.
Counter : 1219 Pageviews.

0 comment
เกมส์ปลาหมึก / เล่นลุ้นตาย สปอย์นะจ้ะ

Squid Game ซีรีส์เกาหลีออริจินัลจาก Netflix กลายเป็นหนึ่งในซีรีส์สายดาร์กที่น่าจับตามองในช่วงนี้ ด้วยประเด็นเรื่องเกมเอาชีวิตรอดเพื่อคว้าเงินรางวัลมากกว่า 45,600 ล้านวอน เพื่อที่ว่าเงินจำนวนมหาศาลจะช่วยพลิกให้กลับมามีชีวิตใหม่อีกครั้ง

 

ในเมื่อไม่เหลือแสงสว่าง ทางออก คล้ายเป็นเศษอะไรสักอย่างที่ไม่มีใครต้องการ ดิ้นรนในสังคมที่หมดสิ้นแล้วซึ่งความหวัง บางทีการกระโดดเข้าไปในนรกก็อาจจะไม่ต่างอะไรกับการมีชีวิตอยู่ 

 

ซีรีส์ Squid Game ตั้งคำถามนี้กับคนดู รวมถึงตัวละครในเรื่อง ถ้าหากว่าคุณมองไม่เห็นแสงสว่างปลายอุโมงค์ ชีวิตถึงทางตัน ไม่รู้จะมีชีวิตอยู่ต่อไปเพื่ออะไร แล้วอยู่ๆ ดันมีข้อเสนอให้ลองไปเล่นเกมแปลกประหลาดเพื่อแลกเงินรางวัล 45,600 ล้านวอน หรือราว 1.27 พันล้านบาท คุณจะลองไหม?



 

การละเล่นเด็กของเกาหลี สู่พล็อตซีรีส์ Squid Game

ซีรีส์ Squid Game สควิดเกม เล่นลุ้นตาย อย่างที่บอกว่าเป็นเกมเอาชีวิตรอด เพื่อคว้าเงินรางวัลมหาศาลที่จะพลิกชีวิตได้ทันที จากมนุษย์ Loser ที่ไม่มีค่าในสายตาสังคม ให้มีพื้นที่เหยียบยืนได้อย่างมั่นคงด้วยอำนาจแห่งเงินตรา

 

ความน่าสนใจคือการเลือกใช้การละเล่นเด็กมาเป็นพล็อตเกม โดยจะมีทั้งเกมที่เด็กๆ ทั่วโลกคุ้นเคย อย่าง AEIOU หยุด! และ Squid Game (오징어 게임) เกมเด็กๆ ที่มีอยู่จริงในเกาหลียุค 70-80s การเล่นที่จะวาดรูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม ออกมารูปร่างคล้ายปลาหมึกลงบนพื้น แล้วแบ่งทีมรุก-ทีมรับ คล้ายเกมแปะแข็ง ผสมกระต่ายขาเดียว จนเหลือผู้เล่นคนสุดท้ายที่เข้าไปอยู่ในส่วนหัวของปลาหมึกได้จะเป็นผู้ชนะ 

 

จริงๆ แล้วเปิดอีพีแรกมาก็พอจะมีความคล้ายซีรีส์ Alice in Borderland ที่แต่ละคนต้องชนะเกมเท่านั้นถึงจะรอดชีวิต แต่ Squid Game เป็นอีกรสชาติหนึ่ง ด้วยทรงซีรีส์เกาหลีที่ดราม่าจัดและสภาพสังคมที่กดดัน เคร่งเครียด โดนเอาเปรียบตลอดเวลา จึงทำให้คงเอกลักษณ์ซีรีส์เกาหลีหนักๆ พร้อมชะตากรรมที่ดูจะหนักหนากว่า

 

และการดูซีรีส์ Squid Game คือเมื่อเริ่มต้นแล้ว หยุดไม่ได้! เนื้อเรื่องเดินฉับไว เต็มไปด้วยฉากความรุนแรงที่แฟนซีรีส์สายดาร์กจะชอบ ตัวละครมีปมชีวิตที่พ่ายแพ้ สังคมไม่ยอมรับในแง่มุมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นนักการเงินอัจฉริยะ, พ่อของลูกสาววัยใกล้ 50 แต่ยังติดพนันจนชีวิตไม่เหลืออะไร, หญิงสาวจากเกาหลีเหนือที่หลังชนฝา หนีไปไหนไม่ได้อีกแล้ว, รวมถึงแรงงานข้ามชาติที่ค้นพบแล้วว่าเกาหลีคือนรกดีๆ นี่เอง
 

สังคมเกาหลี นรกโชซอน

นรกโชซอน หรือ ‘Hell Joseon’ (헬조선) คำอันเป็นที่รู้กันในหมู่หนุ่มสาวเกาหลี ที่บ่งบอกว่า ‘นรกไม่ใช่สถานที่ แต่คือผู้คน’ โดยเฉพาะเจนมิลเลนเนียลที่เป็นกำลังสำคัญในยุคสมัยนี้ พวกเขาเกิดและเติบโตมาท่ามกลางแรงกดดัน ทั้งครอบครัว สถานะทางสังคม ชื่อเสียง เงินทอง การศึกษา หน้าที่การงาน ฯลฯ ผนวกกับรูปแบบวัฒนธรรมเกาหลีที่เรื่องชนชั้นเป็นสิ่งที่ฝังลึกในสังคมมายาวนาน มันทำให้หนุ่มสาวเหล่านี้ต้องต่อสู้ อดทน แย่งชิงตั้งแต่เริ่มจำความได้ และถ้าพวกเขาเลือกได้ ก็อยากหนีไปจากนรกแห่งนี้เช่นกัน

 

ข้อมูลที่สะท้อนความคิดนรกโชซอนไม่ใช่แค่คำพูดลอยลม แต่สะท้อนผ่านตัวเลขการฆ่าตัวตายของนักเรียน ชั่วโมงการเรียนพิเศษอันหนักหน่วง อัตราการว่างงานของเด็กจบใหม่ สังคมผู้สูงอายุ อัตราการเกิดที่ต่ำ รวมถึงครอบครัวเกาหลีจำนวนมากที่เลือกไปตั้งหลักปักฐานในต่างประเทศ เพื่อหาดินแดนที่คลายความอึดอัดทั้งมวลลง

 

ผลสำรวจโดย Macromill Embrain ในปี 2015 จากประชาชนเกาหลี 1,000 คน 57.9% ตอบว่าถ้ามีจริง ก็ไม่ต้องการเกิดที่ประเทศเกาหลีอีก, 76.6% ตอบว่าต้องการย้ายไปอยู่ในประเทศที่ผ่อนคลายกว่านี้, 61.7% ตอบว่าต้องการออกไปจากสังคมการแข่งขันสูงของเกาหลีที่เป็นอยู่

 

OECD (The Organization of Economic Cooperation and Development) แสดงผลการสำรวจในปี 2018 พบว่า 21.6% ของประชากรอายุ 25-29 ปีเป็นคนว่างงาน ส่วนผลการสำรวจในปี 2019 ประชากรอายุ 15-24 ปีที่พ้นจากระบบการศึกษาก็พบว่าเป็นคนว่างงาน 10.4% สูงขึ้นจากปีก่อนหน้า 8%

 

ผลสำรวจยังพบว่า คนทำงานในเกาหลีปี 2016 มีชั่วโมงการทำงาน 2,069 ชั่วโมงต่อปี ในขณะที่สหรัฐอเมริกามีการทำงานต่อปีราว 1,757 ชั่วโมง

 

ข้อมูลเหล่านี้เป็นอีกสิ่งยืนยันภาพรวมในซีรีส์ Squid Game ที่ยังคงสะท้อนประเด็นความเหลื่อมล้ำ ความแตกต่างทางชนชั้น และสถานะทางสังคมอย่างชัดเจน ยิ่งบวกด้วยประเด็นอำนาจของเงินทอง ความโลภของผู้คนที่ไม่มีสิ้นสุด ก็ยิ่งทำให้เห็นจริงอย่างที่ว่า “นรกไม่ใช่สถานที่ แต่คือผู้คน”


 

อีจองแจ พัคแฮซู มานำแสดง Squid Game ก็ต้องบอกว่าคาดหวัง!

Squid Game เป็นเรื่องราวของผู้เข้าแข่งขันนับร้อยชีวิตที่สิ้นหวังและประสบปัญหาทางการเงิน จนต้องมาร่วมแข่งขันเกมเพื่อชิงเงินรางวัลมหาศาล และก็ต้องพบความจริงในภายหลังว่าราคาของความพ่ายแพ้นั้นต้องจ่ายด้วยชีวิต นี่คือผลงานที่ฮวังดงฮยอกวางแผนมากว่า 10 ปี โดยได้แรงบันดาลใจจากหนังสือการ์ตูนในปี 2008 ด้วยการเปลี่ยนความทรงจำที่บริสุทธิ์ในวัยเด็กให้โหดร้ายและเต็มไปด้วยความบิดเบี้ยวของความเชื่อและความหวัง

 

นักแสดงนำที่จะมารับบทคู่กัน คือ อีจองแจ และ พัคแฮซู ร่วมด้วยนักแสดงหญิงหน้าใหม่ จองโฮยอน

 

  • อีจองแจ เป็นนักแสดงที่มีผลงานในสายการแสดงมาตั้งแต่ปี 1993 เขาเคยได้รับบทบาทมาแล้วหลากหลายประเภท โดยใน Squid Game อีจองแจจะรับบทเป็น ซองกีฮุน Loser ผู้ที่ชีวิตเดินทางมาถึงทางตัน ทั้งหนี้สิน การพนัน และครอบครัวที่เขาเหนี่ยวรั้งเอาไว้ไม่ได้ เขากำลังต้องการเงิน เพราะมันเป็นสิ่งเดียวที่จะส่งให้เขาหลุดพ้นจากทุกปัญหาและมีชีวิตอย่างคนอื่นๆ ได้สักที
  • พัคแฮซู ฝากฝีมือทางการแสดงมากมาย ที่คุ้นหูแฟนซีรีส์ชาวไทยน่าจะเป็น Prison Playbook ที่กลายเป็นข้อพิสูจน์ในฐานะนักแสดงของเขา ใน Squid Game พัคแฮซูจะรับบทเป็น โจซังอู รุ่นน้องที่เติบโตมาในละแวกเดียวกับกีฮุน เป็นเด็กหัวดีที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล แต่แล้วเขากลับเลือกทางเดินที่ผิดพลาด และต้องหาเงินมาชดใช้หนี้จำนวนมหาศาล ซังอูกลับมาพบกับกีฮุนโดยบังเอิญตอนที่พวกเขาอยู่ในเกมและต้องพยายามเอาชีวิตรอด
  • จองโฮยอน เป็นที่รู้จักในฐานะนางแบบ รองชนะเลิศจากรายการ Korea’s Next Top Model 4 สำหรับผลงานการแสดงครั้งแรก จองโฮยอน จะรับบทเป็น คังแซบยอก ผู้ลี้ภัยจากเกาหลีเหนือที่คุ้นเคยกับอุปสรรคและความยากลำบากมาตลอดชีวิต และเธอเองก็ต้องการเงินรางวัลเพื่อสร้างชีวิตใหม่เช่นกัน
  • ส่วนนักแสดงรับเชิญที่ทุกคนรอคอยก็ต้องบอกว่า กงยู ปรากฏตัวในบทที่เด็ดขาดมาก และนับเป็นการปรากฏตัวที่เซอร์ไพรส์แฟนซีรีส์แน่ๆ

 



ขอบคุณค่ะ

Credit : Squid Game เมื่ออำนาจเงินตรา มีค่ากว่าชีวิตห่วยๆ ในสังคมที่สุดแสนสิ้นหวัง


โดย เจิมสิริ เหลืองศุภภรณ์
15.09.2021





 

 




Create Date : 23 ตุลาคม 2564
Last Update : 23 ตุลาคม 2564 11:01:08 น.
Counter : 467 Pageviews.

0 comment
Squid Game ถ้าไม่ดู เขย
Squid Game จะไม่ดูได้ไง มีดารารับเชิญ Gong Yoo ขวัญใจหนึ่งเดียวคนนี้ เป็นดารารับเชิญ เขาแสดงเป็น เจ้าหน้าที่ มาชวน ซองกีฮุน เล่นเกมส์ คว่ำกระดาษตบหน้า แพ้จ่าย 10,000 วอน
สนุกดี ดูไป 3 ep. 



Create Date : 23 ตุลาคม 2564
Last Update : 23 ตุลาคม 2564 10:52:41 น.
Counter : 235 Pageviews.

0 comment
The Good Docter Season 1 SNAP technique
เจ๋งอะ ดู The good doctor season 1 มีการจำลอง การผ่าตัดลิ้นหัวใจ ด้วย Virtual reality
games (ที่เค้าใช้เล่นเกมส์)

  Dr.Melendez & Dr. Shaun ได้ทำการทดลอง ผ่าลิ้นหัวใจ เด็กชายชาวคองโก ด้วยเครื่องมือ Virtual Reality มีการทำการทดลองหลายครั้ง ลองผ่า ลองแล้วลองอีก แล้วปล่อยเส้นเลือดที่บายพาสจากเครื่องเข้าหัวใจ ล้มเหลวหลายครั้ง จนได้ ขนาดของลิ้นหัวใจที่ต้องการ แต่เวลาไปผ่าจริงเกิดอุปสรรค ก็ต้องแก้ไขหน้างาน การผ่าตัดที่คาดว่า จะใช้เวลา 5 ชม. กลับกินเวลาถึง 6 ชม.กว่าๆ จนประสบความสำเร็จ
เจ๋งอะ ชอบๆ อยากให้ลูกเป็นคุณหมอผ่าตัดหัวใจ จากเดิม อยากให้เป็นคุณหมอผ่าตัดสมอง

 

เทคโนโลยี VR (Virtual Reality) กำลังก้าวเข้ามาสู่วงการแพทย์เมื่อ Holoeyes สตาร์ทอัพหน้าใหม่ ซึ่งก่อตั้งเมื่อ 2016 พัฒนาเครืองมือ VR  คุณสัมบัติการแปลงข้อมูลภาพ Computed tomography (CT) ให้กลายเป็นภาพ 3 มิติแล้วแสดงผล เพื่อช่วยสนับสนุนทางการแพทย์ แสดงตำแหน่งอวัยวะภายใน หลอดเลือด และ อื่นๆ ให้เห็นเหมือนดูด้วยตาจริงๆ

โดยอุปกรณ์นี้ จะมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในกรณี 2มิติ ที่สามารถตรวจสอบได้ยาก เช่น การกระจายตัวของมะเร็งหลอดเลือด แต่ตัวเทคโนโลยี VR นั้นสามารถทำได้ โดยการแสดงผลแบบ 3มิติที่ชี้ตำแหน่งของหลอดเลือด กระดูก และตำแหน่งของเซลล์มะเร็งให้เห็นชัดมากยิ่งขึ้น เพื่อการผ่านตัดจะได้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ตัว VR ที่เข้ามาช่วยในวงการแพทย์นั้น ยังช่วยระบุตำแหน่งของ อวัยวะภายในได้อยากดี ร่วมถึงภาพที่แสดงออกมา ซึ่งจะทำให้ ความปลอดภัยในการผ่าตัดนั้นมีระดับสูงขึ้น ร่วมถึงเลียงการเกิดผลกระทบต่ออวัยวะอื่นๆด้วยในระหว่างผ่าตัด


Photo by Vidal Balielo Jr. from Pexels

ในขณะเดียวกัน ที่ USA ได้เริ่มพัฒนา VR กับวงการแพทย์แล้วเช่นกัน โดยหมด  DR.Robert Louis โรงพยาบาล  Presbyterian ตั้งอยู่ที่ California USA ได้เริ่มพัฒนามาตั้งแต่ ตุลาคม ปี 2015 ห้องผ่าตัดแห่งนี้ใช้ แฟลตฟอร์มSurgical Navigation Advanced Platform หรือเรียกง่ายๆ ว่า SNAP เป็นโครงการด้านเทคโนโลยีในเรื่องของการผ่าตัด ที่ได้รับการออกแบบโดยนักบิน ชาวอิสราเอล โดยใช้เทคโนโลยี VR เข้ามาช่วยในการจำลองของผู้ป่วยเช่น ผู้ป่วยที่เป็นเนื้องอกเส้นประสาท,เส้นเลือดและเนื้อเยื่อก่อนที่จะผ่าตัด ก่อนที่จะเริ่มผ่าตัดนั้น สมองของผู้ป่วยจะถูกจำลองออกมาในรูปแบบ 3D



 



Create Date : 23 ตุลาคม 2564
Last Update : 23 ตุลาคม 2564 11:35:30 น.
Counter : 772 Pageviews.

0 comment
The Good Doctor Season 5
Season 5 กำลังถ่ายทำ
รอ






ชอนจะแต่งงานกับลีอา






 



Create Date : 12 กันยายน 2564
Last Update : 12 กันยายน 2564 14:35:42 น.
Counter : 1660 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  

NongPenquin
Location :
สมุทรปราการ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



น้องเพนควิน เองค่า.........

จงทำดีต่อไป ไม่มีใครรู้ ไม่มีใครเห็น อย่างน้อย ตัวเราที่เห็น ทำดี แล้วมีความสุข อย่างน้อยก็ สุขใจ...ที่ได้ทำความดี
บล๊อก มีไว้บันทึก ความทรงจำดีๆ,,, มีไว้บ่น เรื่องที่ไม่อยากคุย-ไม่อยากพูด แต่อยากจะระบายความในใจ,,, มีไว้อวด ผลงาน-งานฝีมือ ที่ได้สร้างสรรค์ ได้ทำมา,,, มีไว้เตือน ความทรงจำ กับสถานที่ท่องเที่ยวที่ประทับใจ, รูปภาพประทับใจ, หนังสือที่ได้อ่าน,,, มีไว้ซ่อนตัวเอง จากความเป็นจริง ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน,,,...
All Blog