Minerva : Update !!

สงครามครูเสด

สงครามครูเสด


สงครามครูเสด เป็นสงครามศาสนาระหว่างชาวคริสต์จากยุโรป และ ชาวมุสลิม เนื่องจากชาวคริสต์ต้องการยึดครองดินแดนศักดิ์สิทธิ์ และ เมืองคอนสแตนติโนเปิลหรือเมืองอิสตันบูล ประเทศตุรกีในปัจจุบัน

ในตอนเริ่มสงครามนั้นชาวมุสลิมปกครองดินแดนศักดิ์สิทธิ์อยู่ ดินแดนแห่งนี้เป็นสถานที่สำคัญของสามศาสนาได้แก่ อิสลาม ยูได และ คริสต์ ในปัจจุบันดินแดนแห่งนี้คือ ประเทศอิสราเอล

ชาวมุสลิมครอบครอง เมืองนาซาเรธ เบธเลเฮม และเมืองสำคัญทางศาสนาอีกหลายเมือง ในยุคของคอลีฟะหฺอุมัร (634-44) ซึ่งเป็นผู้นำทางศาสนาและการเมืองของอาณาจักรอิสลามในยุคนั้น

บทสรุปของสงครามในครั้งนั้นคือกองทัพมุสลิมสามารถยึดดินแดนศักดิ์สิทธิ์คืนจากชาวคริสต์ได้ และขับไล่ผู้รุกรานต่างดินแดนออกไป ซึ่งยังคงดำรงชาติมุสลิมสืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้


มีสงครามครูเสดเกิดขึ้นหลายครั้ง แต่ครั้งที่สำคัญที่ใหญ่ที่สุดเกิดขึ้นระหว่างศตวรรษที่ 11 ถึง 13 ซึ่งมีสงครามใหญ่ๆเกิดขึ้นถึง 9 ครั้งในมหาสงครามครั้งนี้และยังมีสงครามย่อยๆเกิดอีกหลายครั้งในระหว่างนั้น สงครามบางครั้งก็เกิดขึ้นภายในยุโรปเอง เช่น ที่สเปน และมีสงครามย่อยๆเกิดขึ้นตลอดศตวรรษที่ 16 จนถึงยุค Renaissance และเกิด Reformation


สงครามครูเสดครั้งที่ 1 พ.ศ. 1638-1644 (ค.ศ. 1095-1101)

เริ่มต้นเมื่อปี1095 โดยสมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 2 (Urban II) แห่งกรุงโรม รวบรวมกองทัพชาวคริสต์ไปยังกรุงเยรูซาเลม ช่วงแรกกองทัพของปีเตอร์มหาฤๅษี(Peter the Hermit) นำล่วงหน้ากองทัพใหญ่ไปก่อน ส่วนกองทัพหลักมีประมาณ 50,000 คนซึ่งส่วนใหญ่มาจากประเทศฝรั่งเศส นำโดย โรเบิร์ต เคอร์โทส ดยุคแห่งนอร์มังดีโอรสของสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ

ในที่สุดเมื่อปี 1099 กองทัพก็เดินทางจากแอนติออคมาถึงกำแพงเมือง และยึดฐานที่มั่นใกล้กำแพงเข้าปิดล้อมเยรูซาเล็มไว้ กองกำลังมุสลิมที่ได้รับการขนานนามว่า ซาระเซ็น ได้ต่อสู้ด้วยความเข้มแข็ง ทว่าท้ายที่สุดนักรบครูเสดก็บุกฝ่าเข้าไป และฆ่าล้างทุกคนที่ไม่ใช่ชาวคริสต์กระทั่งชาวมุสลิมในเมืองหรือชาวยิวในสถานที่ทางศาสนาก็ล้วนถูกฆ่าจนหมด เหลือเพียงผู้ปกครองเดิมในขณะนั้นซึ่งได้รับอนุญาตให้ออกไปได้ แต่ทว่าข่าวการรบนั้นไม่อาจไปถึงพระสันตะปาปา เนื่องจากพระองค์สิ้นพระชนม์ในอีกไม่กี่วันถัดมา

ผู้นำเหล่านักรบศักดิ์สิทธิ์ที่ได้รับเลือกคือ ก็อดฟรีย์ แห่ง บูวียอง ซึ่งอยู่ในตำแหน่งนานหนึ่งปีจึงเสียชีวิต เดือนกรกฎาคมปี 1100 บอลด์วินจากเอเดสซาจึงขึ้นสืบเป็นกษัตริย์ พระองค์อภิเษกกับเจ้าหญิงอาร์เมเนีย แต่ไร้รัชทายาท พระองค์สวรรคตในปี 1118 ผู้เป็นราชนัดดานามบอลด์วินจึงครองราชย์เป็นกษัตริย์บอลด์วินที่ 2 แห่งอาณาจักรศักดิ์สิทธิ์ มีราชธิดา 3 พระองค์ และที่น่าสนใจคือครั้งนี้บัลลังก์สืบทอดทางธิดาองค์โตหรือมเหสี และพระสวามีจะครองราชย์แทนกษัตริย์องค์ก่อน


สงครามครูเสดมีสาเหตุหลักมาจากความแตกต่างทางความเชื่อในศาสนาแต่ละศาสนา จนทำให้ไม่เข้าใจซึ่งกันและกัน ถึงขั้นต้องทำสงครามเพื่อแย่งกันครอบครองดินแดนศักดิ์สิทธิ์ คือ กรุงเยรูซาเล็ม นอกจากนั้นเหตุผลทางการเมืองก็เป็นอีกสาเหตุของสงครามด้วย สงครามครูเสดได้คร่าชีวิตและทรัพย์สินของมนุษยชาติอย่างมากมายมหาศาลและบางส่วนของความขัดแย้งเหล่านั้นยังคงหลงเหลือมาจนถึงปัจจุบัน

ผลของสงครามครูเสดนั้น ทำให้ยุโรปเกิดความเปลี่ยนแปลงไปมากมาย ทำให้เกิดการติดต่อระหว่าง โลกตะวันตกและตะวันออก ในรูปแบบการทำการค้า ซึ่งเรียกว่า ยุคปฏิรูปการค้า และ ทำให้เกิดยุค ฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ ขึ้นมาด้วย

ที่มา : //th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%94

นายมารวย มุ่งดี

513-1601-453 LAW SEC 2




 

Create Date : 16 กันยายน 2551    
Last Update : 16 กันยายน 2551 21:47:48 น.
Counter : 330 Pageviews.  

สงครามเย็น

ความหมายและรูปแบบสงครามเย็น (COLD WAR)


สงครามเย็นคือลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ช่วง ค.ศ.1945-1991 ที่กลุ่มประเทศโลกเสรีและกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ ต่างพยายามต่อสู้โดยวิธีการต่างๆ ยกเว้นการทำสงครามกันโดยเปิดเผย เพื่อขัดขวางการขยายอำนาจของกันและกัน

สงครามเย็นมีผลสืบเนื่องมาจากสภาพบอบช้ำจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ทั้งประเทศผู้ชนะและแพ้สงคราม ได้สูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน ทวีปยุโรปซึ่งเคยเป็นศูนย์กลางทางการเมืองและเศรษฐกิจโลกอยู่ในสภาพทรุดโทรมอย่างยิ่ง ต้องสูญเสียอำนาจและอิทธิพลในสังคมโลกให้กับสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต ซึ่งเป็นสองประเทศที่มีฐานะเศรษฐกิจมั่นคงจนเป็นหลักในการบูรณะฟื้นฟูประเทศอื่นๆ สหรัฐอเมริกาก้าวสู่ความเป็นผู้นำของโลกเสรีประชาธิปไตย ในขณะที่สหภาพโซเวียตมีอำนาจและอิทธิพลเนื่องมาจากความสำเร็จในการขยายลัทธิคอมมิวนิสต์สู่กลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก อยู่ในฐานะประเทศผู้นำของโลกคอมมิวนิสต์ คำว่า อภิมหาอำนาจ จึงหมายถึง ความเป็นผู้นำโลกของประเทศทั้งสอง ซึ่งแข่งขันกันขยายอำนาจและอิทธิพล จนทำให้ความสัมพันธ์ที่มีต่อกันเกิดความตึงเครียดสูง

สาเหตุของสงครามเย็นเกิดจากการแข่งขันกันของประเทศอภิมหาอำนาจจากประเสบการณ์ที่ผ่านมาในสงครามโลกทั้งสองครั้ง ทำให้สหรัฐอเมริกาเสียหายน้อยกว่าประเทศคู่สงครามในยุโรป ทั้งยังเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีสูง และเป็นประเทศแรกที่สามารถผลิตอาวุธนิวเคลียร์ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงมีความรู้สึกว่าตนเป็นตำรวจโลกเพื่อพิทักษ์ไว้ซึ่งวิถีทางประชาธิปไตยและเสรีภาพ

ส่วนสหภาพโซเวียตฟื้นตัวจากสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างรวดเร็ว เพราะพื้นที่กว้างใหญ่ มีทรัพยากรธรรมชาติมาก สามารถผลิตอาวุธนิวเคลียร์ได้สำเร็จ สหภาพโซเวียตต้องการเป็นผู้นำในการปฏิวัติโลกเพื่อสถาปนาระบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ตามแนวคิดของมาร์กซ์ขึ้น ดังนั้น ทั้งสองอภิมหาอำนาจจึงใช้ความช่วยเหลือที่ให้แก่ประเทศต่างๆ เป็นเครื่องมือในการขยายอิทธิพล อำนาจ และอุดมการณ์ของตน เพื่อหาประเทศที่มีอุดมการณ์คล้ายคลึงกันมาเป็นเครื่องถ่วงดุลอำนาจกับฝ่ายตรงข้าม

รูปแบบสงครามเย็น


การแข่งขันเพื่อความเป็นใหญ่ในยุคสงครามเย็นนั้นมีหลายรูปแบบ ทั้งสองฝ่ายต่างพยายามโฆษณาชวนเชื่อให้เห็นความสำเร็จของอุดมการณ์ทางการเมืองของฝ่ายตน ฝ่ายเสรีประชาธิปไตยเน้นเรื่องสิทธิเสรีภาพของประชาชน ในขณะที่ฝ่ายคอมมิวนิสต์ชี้ความเสมอภาคของประชาชน เครื่องมือโฆษณาชวนเชื่อของแต่ละฝ่ายคือ สำนักงานข่าวสารเผยแพร่ข่าวสาร สำนักงานวัฒนธรรม โครงการแลกเปลี่ยนทางการศึกษา บางครั้งใช้วิธีการทางการเมืองและการฑูตเพื่อแสวงหาพันธมิตรในการเมืองระดับประเทศ หรือใช้วิธีการเศรษฐกิจแก่ประเทศพันธมิตรในรูปของเงินช่วยเหลือเงินกู้ระยะยาว เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ในทางตรงกันข้าม อาจใช้มาตรการทางเศรษฐกิจตอบโต้ฝ่ายตรงข้าม เช่น การงดความสัมพันธ์ทางการค้า กับบางประเทศ นอกจากนั้นวิธีการทางทหารนับว่าเป็นวิธีการที่ใช้มากที่สุด มีการสะสมกำลังอาวุธ การให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศพันธมิตรด้านกำลังทหาร กำลังอาวุธ จัดส่งเจ้าหน้าที่หรือผู้เชี่ยวชาญทางการทหาร ตลอดจนการส่งกองกำลังของตนเข้าไปตั้งมั่นในประเทศพันธมิตร จนในที่สุดก็ได้ตั้งองค์การป้องกันร่วมกันในภูมิภาคต่างๆ เช่น องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (Nato) องค์การสนธิสัญญาเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (Seato) และกลุ่มกติกาสนธิสัญญวอร์ซอ (Warsaw Pact) วิธีการเผยแพร่อิทธิพลวิธีสุดท้าย คือ วิธีการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ ความพยายามแสดงออกถึงความสำเร็จทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น การคิดค้นอาวุธ สิ่งประดิษฐ์ต่างๆ รวมทั้งโครงการสำรวจอวกาศเพื่อสร้างความศรัทธาแก่ประเทศพันธมิตรและสร้างความยำเกรงแก่ประเทศฝ่ายตรงข้าม

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดการเผชิญหน้าของสองอภิมหาอำนาจในภูมิภาคต่างๆ เริ่มต้นจากปัญหาความมั่นคงในยุโรป สหภาพโซเวียตขยายอิทธิพลเข้าไปในยุโรปในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 จนกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกกลายเป็นกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์

สหรัฐอเมริกาดำเนินนโยบายสกัดกั้นลัทธิคอมมิวนิสต์ด้วยการประกาศหลักการทรูแมน ในเดือน มีนาคม ค.ศ.1947 ซึ่งมีสาระสำคัญว่าสหรัฐอเมริกาจะได้ความช่วยเหลือแก่ประเทศต่างๆ เพื่อธำรงไว้ซึ่งเอกราชและอธิปไตยให้พ้นจากการคุกคามของลัทธิคอมมิวนิสต์ทั้งภายนอกและภายในประเทศ รัฐสภาอนุมัติเงินและให้ความช่วยเหลือตุรกีและกรีกให้รอดพ้นจากเงื้อมมือลัทธิคอมมิวนิสต์ ในปีเดียวกันสหภาพโซเวียตได้ตั้งสำนักงานข่าวคอมมิวนิสต์ (Cominform) ขึ้นที่กรุงเบลเกรด ทำหน้าที่เผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์และเป็นเครื่องมือของสหภาพโซเวียต เพื่อป้องกันมิให้โลกเสรีเข้าแทรกแซงในกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก เป็นการตอบโต้หลักการทรูแมน การประกาศหลักการทรูแมนของสหรัฐอเมริกาถือว่าเป็นการเริ่มต้นอย่างแท้จริงของสงครามเย็นระหว่างสองอภิมหาอำนาจ

สหรัฐอเมริกาพยายามกอบกู้และฟื้นฟูเศรษฐกิจของยุโรปเป็นเป้าหมายต่อไปโดยการเสนอให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจแก่ทุกประเทศในยุโรป ตามแผนการณ์มาร์แชล ซึ่งแผนการนี้มีระยะเวลา 4 ปี ด้วยงบประมาณ 13,500 ล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐอเมริกาในรูปของเงินทุน วัตถุดิบ อาหารและเครื่องจักรกล ส่วนประเทศในยุโรปตะวันออกถูกสหภาพโซเวียตกดดันให้ปฏิเสธข้อเสนอของอเมริกา โดยสหภาพโซเวียตและกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกได้ร่วมมือกันจัดตั้งสภาความช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจหรือโคมีคอน (Comecon)ด้วยเหตุนี้ การฟื้นฟูเศรษฐกิจของยุโรปจึงแยกเป็น 2 แนวทางตั้งแต่นั้นมา

นอกจากนี้สหรัฐอเมริกายังสนับสนุนอย่างเต็มที่ด้านการเมืองการทหารแก่กลุ่มประเทศยุโรปตะวันตก ในค.ศ.1949 สหรัฐอเมริกาและแคนาดาร่วมกับกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตก 10 ประเทศ จัดตั้งองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือหรือนาโต ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกทั้งด้านการเมือง การทหาร เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ซึ่งการตั้งนาโตถือว่าเป็นจุดสำคัญของนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาในการต่อต้านอิทธิพลของสหภาพโซเวียต โดยใช้ความร่วมมือทางทหารของกลุ่มประเทศโลกเสรี กฏบัตรขององค์การนาโต กำหนดไว้ว่า หากยุโรปตะวันตกถูกรุกราน สหรัฐอเมริกาจะเข้าร่วมสงครามโดยทันทีตามหลักการป้องกันตนเอง ส่วนสหภาพโซเวียตก็จำเป็นต้องมีกองทหารไว้ควบคุมเขตอิทธิพลของตน จึงมีการประชุมเพื่อดำเนินการจัดตั้งระบบพันธมิตรทางทหารของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกขึ้นที่กรุงวอร์ซอ ประเทศโปแลนด์ ก่อให้เกิดกลุ่มกติกาสนธิสัญญาวอร์ซอ ทำให้สหภาพโซเวียตสามารถมีกองกำลังของตนไว้ในประเทศสมาชิกได้

ผลของสงครามเย็น


นอกจากทวีปยุโรปแล้ว สองอภิมหาอำนาจยังแข่งขันกันในภูมิภาคต่างๆ ส่งผลให้สงครามเย็นเพิ่มความตึงเครียด ทวีปเอเซียเป็นอีกเวทีหนึ่งของสงครามเย็น ในแถบตะวันออกไกล จีนเป็นดินแดนที่ลัทธิคอมมิวนิสต์ที่ประสบความสำเร็จที่สุด เมื่อจีนคอมมิวนิสต์นำโดยเหมาเจ๋อตุง เป็นฝ่ายมีชัยชนะในสงครามกลางเมือง ยึดครองแผ่นดินใหญ่ของจีนได้ รัฐบาลจีนคณะชาติซึ่งเป็นฝ่ายโลกเสรีและได้รับความสนับสนุนอย่างเต็มที่จากสหรัฐอเมริกา ต้องหนีไปตั้งรัฐบาลที่เกาะฟอร์โมซา ชัยชนะของจีนคอมมิวนิสต์มีผลกระทบต่อดุลอำนาจทางการเมืองระหว่างประเทศ ถือเป็นการพ่ายแพ้ที่สำคัญของสหรัฐอเมริกาและเป็นการเสียดุลอำนาจครั้งสำคัญของโลกเสรี สหภาพโซเวียตและจีนเป็นสองประเทศคอมมิวนิสต์ที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ มีทรัพยากรมาก และมีจำนวนประชากรมหาศาล ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีนจึงตึงเครียดมานับตั้งแต่นั้น

ความขัดแย้งของสงครามเย็นส่งผลให้ประเทศเกาหลีถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเทศ ที่มีอุดมการณ์ต่างกัน กองทัพของประเทศเกาหลีเหนือซึ่งปกครองในระบอบคอมมิวนิสต์ได้ยกข้ามเส้นขนานที่ 38 องศาเหนือเข้ารุกรานประเทศเกาหลีใต้อย่างฉับพลัน สหประชาติจึงมีมติให้สหรัฐอเมริกาและกองกำลังทหารของสหประชาชาติจาก 18 ประเทศสมาชิกเข้าช่วยเกาหลีใต้จากการรุกรานครั้งนี้ จีนส่งกองทัพช่วยเกาหลีเหนือ ก่อให้เกิดการเผชิญหน้ากันจนกระทั่ง ค.ศ.1953 จึงมีการทำสนธิสัญญาสงบศึก สงครามเกาหลีก่อให้เกิดความตื่นตัวต่อการขยายอิทธิพของลัทธิคอมมิวนิสต์ในเอเซีย สหรัฐอเมริกาเห็นความจำเป็นของการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ในเอเซียอย่างจริงจัง สำหรับประเทศญี่ปุ่น ลัทธิคอมมิวนิสต์ประสบความสำเร็จในวงแคบ เสถียรภาพทางการเมือง ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและมาตรฐานสังคมในระดับสูงของประเทศญี่ปุ่น อันเป็นผลงานส่วนหนึ่งของสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้ประเทศญี่ปุ่นเป็นกำลังสำคัญของโลกเสรีในทวีปเอเซีย

การขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์ในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้เริ่มจากอินโดจีน คือ ประเทศเวียดนาม เขมร และลาว ซึ่งได้รับอิทธิพลจากประเทศฝรั่งเศส เวียดนามถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยใช้เส้นขนานที่ 17 องศาเหนือเป็นเขตแบ่งชั่วคราว เวียดนามเหนืออยู่ใต้การปกครองของลัทธิคอมมิวนิสต์ มีโฮจิมินห์เป็นผู้นำ เวียดนามใต้ปกครองระบอบประชาธิปไตย มีโงดินห์เดียมเป็นผู้นำ โดยให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในเวลา 1 ปี เพื่อรวมเวียดนามเป็นประเทศเดียวกัน แต่การเลือกตั้งก็ไม่ได้เกิดขึ้น เพราะเกิดการสู้รบระหว่างเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้

การขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์เข้ามาในอินโดจีน ทำให้สหรัฐอเมริกานำนโยบายล้อมกรอบการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์มาใช้ในเอเซียด้วย นายจอห์น ฟอสเตอร์ ดัลเลส รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาขณะนั้นประกาศอย่างแข็งขันว่าจะไม่ยอมให้ลัทธิคอมมิวนิสต์ขยายตัวต่อไป โดยเชื่อมั่นในทฤษฏีโดมิโนว่า ถ้าประเทศใดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของคอมมิวนิสต์แล้ว ประเทศใกล้เคียงอื่นๆ ก็จะพลอยเป็นคอมมิวนิสต์ไปด้วย ในวันที่ 8 กันยายน ค.ศ.1954 จึงได้มีการสนธิสัญญาที่กรุงมะนิลาเพื่อจัดตั้งองค์การสนธิสัญญาเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (Seato) ประกอบด้วย 8 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ไทย ฟิลิปปินส์ ปากีสถาน สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ด้วยวัตถุประสงค์ทำนองเดียวกับนาโต

ในตะวันออกลาง หรือเอเซียตะวันตกเฉียงใต้ เป็นภูมิภาคที่มีความขัดแย้งระหว่างกลุ่มประเทศอาหรับด้วยกันเอง และระหว่างกลุ่มประเทศอาหรับกับประเทศอิสราเอล สหภาพโซเวียตฉวยโอกาสขยายอิทธิพลของตนด้วยวิธีารต่างๆ เช่น เสนอให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและการทหารแก่ประเทศอิยิปต์ ในการปฏิรูปประเทศในสมัยประธานาธิบดีนัสเซอร์ด้วยการให้เงินสร้างเขื่อนอัสวาน อืยิปต์เป็นผู้นำของกลุ่มประเทศอาหรับที่สหภาพโซเวียตต้องการส่งเสริมอิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์ให้แพร่หลายในภูมิภาคตะวันออกลาง ฝ่ายโลกเสรีจึงหาทางสกัดกั้นด้วยการจัดตั้งองค์การสนธิสัญญาเซ็นโต หรือองค์การสนธิสัญญากลาง (Central Treaty Organization:CENTO) ซึ่งมีสมาชิก 5 ประเทศ คือ สหราชอาณาจักร ตุรกี อิรัก อิหร่าน และปากีสถาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการแทรกแซงและขยายอำนาจของลัทธิคอมมิวนิสต์ในภูมิภาคนี้

ส่วนในทวีปแอฟริกา หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศต่างๆ ได้รับเอกราช โดยส่วนใหญ่ยังไม่พร้อมที่จะปกครองตนเอง เช่น คองโก จึงเกิดการจลาจลแย่งอำนาจระหว่างชนเผ่าต่างๆ คณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติเกรงว่าความวุ่นวายนี้จะเป็นภัยต่อสันติภาพของโลก จึงมีมติให้ส่งกองกำลังของสหประชาชาติเข้าไปรักษาความสงบเรียบร้อยในคองโก สหภาพโซเวียตและสาธารณรัฐประชาชนจีนให้ความช่วยเหลือแก่ประธานาธิบดีลูมุมบาของคองโก และนายครุฟเซฟผู้นำสหภาพโซเวียตประนามการแทรกแซงสหประชาชาติ ส่วนสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ขยายอิทธิพลเข้าไปในแทนซาเนียด้วยการช่วยเหลือในการสร้างทางรถไฟยาว 1,000 ไมล์ ในขณะที่สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสได้พยายามรักษาอิทธิพลในแอฟริกา โดยเฉพาะกับประเทศอดีตอาณานิคมของตน

กล่าวโดยสรุป แม้สงครามเย็นตั้งแต่ ค.ศ.1945 จะไม่ลุกลามกลายเป็นสงครามอย่างเปิดเผย แต่ก็นำไปสู่ความขัดแย้งระดับวิกฤตการณ์ทางการเมืองจนกลายเป็นสงครามระดับภูมิภาคขึ้นในหลายแห่งของโลก


อ้างอิง : //www.kullawat.net/current3/index.html


นายมารวย มุ่งดี 513-1601-453

SEC 2 LAW





 

Create Date : 15 กันยายน 2551    
Last Update : 15 กันยายน 2551 22:35:17 น.
Counter : 198 Pageviews.  


Keng_MFU
Location :
เชียงราย Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add Keng_MFU's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.