กันยายน 2551
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
15 กันยายน 2551

15-09-08 : การเมืองเปรียบเทียบ

การเมืองการปกครอง ประเทศญี่ปุ่น



ธงชาติญี่ปุ่น ตราแผ่นดินญี่ปุ่น




          จักรพรรดิ อาคิฮิโตะ                       นายกรัฐมนตรี ทาโร อาโซะ


ประเทศญี่ปุ่นปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบเสรีภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยมีสมเด็จพระจักรพรรดิทรงเป็นประมุข แต่มีรัฐสภาเป็นสถาบันสูงสุดของรัฐ มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าของคณะรัฐบาล โดยนายกรัฐมนตรีได้รับเลือกจากสมาชิกรัฐสภา นอกจากนี้ตามรัฐธรรมนูญญี่ปุ่นฉบับที่ได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 (ค.ศ. 1947) หรือฉบับปัจจุบันได้มีการบัญญัติไว้ว่าสมเด็จพระจักรพรรดิทรงเป็นสัญลักษณ์ของประเทศ มิใช่องค์ประมุขและไม่มีอำนาจในการบริหารประเทศ


รัฐสภา (คกไก) ประกอบด้วย 2 สภา คือ


สภาผู้แทนราษฎร (ชูงิอิง) มีสมาชิก 480 คน มาจากการเลือกตั้งทั่วประเทศ มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี และ


วุฒิสภา (ซังงิอิง) มีสมาชิก 242 คน มีวาระในการดำรงตำแหน่ง 6 ปี โดยเลือกตั้งจำนวนครึ่งหนึ่งสลับกันไปทุก 3 ปี


พรรคการเมืองได้แก่


พรรคเสรีประชาธิปไตย เป็นพรรคแกนนำรัฐบาล มีที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร


294 ที่นั่ง (สตรี 26 คน) ในวุฒิสภา 111 ที่นั่ง (สตรี 12 คน) หัวหน้าพรรคคือนายยาซุโอะ ฟุคุดะ ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี


พรรคโคเมโตใหม่ เป็นพรรคร่วมรัฐบาล มีที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร 31 ที่นั่ง (สตรี 4 คน) ในวุฒิสภา


24 ที่นั่ง (สตรี 5 คน) หัวหน้าพรรคคือนายอะกิฮิโระ โอตะ


พรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่น (Democratic Party of Japan: DPJ : Minshuto) แกนนำฝ่ายค้าน มีที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร 113 ที่นั่ง (สตรี 10 คน) ในวุฒิสภา 82 ที่นั่ง (สตรี 11 คน) หัวหน้าพรรคคือนายอิจิโร โอะซะวะ


พรรคสังคมประชาธิปไตยญี่ปุ่น (Social Democratic Party of Japan : SDP) เป็นพรรคฝ่ายค้าน มีที่นั่ง


ในสภาผู้แทนราษฎร 7 ที่นั่ง (สตรี 2 คน) ในวุฒิสภา 6 ที่นั่ง (สตรี 1 คน) หัวหน้าพรรคคือนางมิซุโฮะ ฟุคุชิมะ


พรรคคอมมิวนิสต์ (Japan Communist Party - JCP) เป็นพรรคฝ่ายค้าน มีที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร 9 ที่นั่ง (สตรี 2 คน) ในวุฒิสภา 9 ที่นั่ง (สตรี 3 คน) หัวหน้าพรรคคือนายคะซุโอะ ชิอิ





การเมืองการปกครอง ประเทศจีน



ธงชาติจีน ตราแผ่นดินจีน




 เวิน เจีย เป่า นายกรัฐมนตรี                                    หู จิ่น เทา ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน


ประเทศจีนมีการปกครองเป็นลัทธิสังคมนิยมในลักษณะของตนเอง มีพรรคคอมมิวนิสต์จีนเป็นผู้กำหนดนโยบายต่างๆ ปัจจุบันมีนายหู จิ่นเทาเป็นประธานาธิบดี เลขาธิการพรรค และประธานคณะกรรมาธิการทหารส่วนกลาง และมีนายเวิน เจียเป่าเป็นนายกรัฐมนตรี





การเมืองการปกครอง ประเทศอิหร่าน



ธงชาติอิหร่าน ตราแผ่นดินอิหร่าน


อะห์มาดีเนจ๊าด ประธานาธิบดีอิหร่าน ...


ซัยยิดอาลี คาเมเนอีย์ ประมุขอิหร่าน



ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ซึ่งประกาศใช้เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) และแก้ไขเพิ่มเติมเมื่อปี พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) กำหนดให้อิหร่านเป็นสาธารณรัฐอิสลาม โดยมีโครงสร้างดังนี้


ประมุขสูงสุด (Rahbar)


ประมุขสูงสุดของอิหร่านคนปัจจุบันคือ อาลี คาเมเนอี (เกิดเมื่อ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2482) เป็นผู้นำสูงสุดทั้งฝ่ายศาสนาจักรและอาณาจักร


ประธานาธิบดี (Ra'is-e Jomhoor)


เป็นตำแหน่งที่ได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนทุก ๆ 4 ปี และจะได้รับเลือกตั้งได้ไม่เกิน 2 สมัย ทำหน้าที่หัวหน้าฝ่ายบริหาร ถึงแม้ประธานาธิบดีจะได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนก็ตาม แต่อาจถูกถอดถอนจากตำแหน่งโดยประมุขสูงสุดได้


รองประธานาธิบดี


มีตำแหน่งรองประธานาธิบดี 6 คน และคณะรัฐมนตรี 20 คน ที่ได้รับความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ


สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (Majlis)


ประกอบด้วยสมาชิกที่ได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนทุก ๆ 4 ปี จำนวน 290 คน ทำหน้าที่ออกกฎหมายและควบคุมฝ่ายบริหาร





การเมืองการปกครอง ประเทศไทย



ธงชาติไทย ตราแผ่นดินไทย



รักษาการนายกรัฐมนตรี ชั่วคราว


เดิมประเทศไทยมีการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ตั้งแต่สมัยอาณาจักรอยุธยาเป็นต้นมา จนกระทั่งวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 คณะราษฎรได้กระทำรัฐประหาร ในสมัยรัชกาลที่ 7 และเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยเป็นสามฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ ปัจจุบัน ประเทศไทยดำรงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 18 แห่งราชอาณาจักรไทย


อำนาจนิติบัญญัติมีรัฐสภาซึ่งมีสมาชิกมาจากการเลือกตั้งโดยผู้มีสิทธิเลือกตั้งเป็นองค์กรบริหารอำนาจ อำนาจบริหารมีนายกรัฐมนตรีซึ่งมาจากการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ตามคำกราบบังคมทูลของประธานรัฐสภาและคณะรัฐมนตรีซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำกราบบังคมทูลของนายกรัฐมนตรีเป็นองค์กรบริหารอำนาจ และอำนาจตุลาการมีศาลซึ่งประกอบด้วยศาลยุติธรรม ศาลรัฐธรรมนูญ และศาลปกครองเป็นองค์กรบริหารอำนาจ


ปัจจุบัน ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาควบคู่ไปกับระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ประมุขแห่งรัฐได้แก่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร ประมุขแห่งอำนาจอธิปไตยทั้งสาม ได้แก่ อำนาจนิติบัญญัติมีนายชัย ชิดชอบในฐานะประธานรัฐสภาเป็นประมุข อำนาจบริหารมีนายสมัคร สุนทรเวชในฐานะนายกรัฐมนตรีเป็นประมุข และอำนาจตุลาการมีนายวิรัช ลิ้มวิชัยในฐานะประธานศาลฎีกาเป็นประมุข







การเมืองการปกครอง ประเทศสหรัฐอเมริกา



ธงชาติสหรัฐอเมริกา ตราแผ่นดินสหรัฐอเมริกา



มีรูปแบบการปกครองแบบสหพันธรัฐ ( Federal Republic) แบ่งอำนาจออกเป็น 3 ฝ่าย ภายใต้บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ แต่ละฝ่ายได้รับเลือกในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป จึงมีการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน (checks and balances) ประกอบด้วยพรรคการเมืองใหญ่ 2 พรรค คือ พรรครีพับลิกัน (Republican) และพรรคเดโมแครต (Democrat) ดังนี้


ฝ่ายบริหาร มีประธานาธิบดี (President) เป็นประมุขและเป็นหัวหน้ารัฐบาล (Chief of Executive) ได้รับเลือกจากการเลือกตั้งทั่วไป ร่วมกับรองประธานาธิบดีทุก 4 ปี ในวันอังคารแรกหลังวันจันทร์แรกของเดือนพฤศจิกายน ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งผ่านคณะผู้เลือกตั้ง (Electoral College) จำนวน 538 คน ดำรงตำแหน่งไม่เกิน 2 สมัย สมัยละ 4 ปี ประธานาธิบดีจะเป็นผู้ร่างรัฐบัญญัติต่อรัฐสภา และทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้ทำสนธิสัญญาต่าง ๆ ตลอดจนแต่งตั้งผู้พิพากษาเอกอัครราชทูตและตำแหน่งต่าง ๆ ของฝ่ายบริหารตั้งแต่ระดับรองผู้ช่วยรัฐมนตรี (Deputy Assistant Secretary) ขึ้นไป


ฝ่ายนิติบัญญัติ ประกอบด้วย 2 สภา คือ


วุฒิสภา มีสมาชิกจากแต่ละมลรัฐ มลรัฐละ 2 คน รวมเป็น 100 คน ดำรงตำแหน่งสมัยละ 6 ปี โดยสมาชิกจำนวน 1 ใน 3 ครบวาระทุก 2 ปี วุฒิสภามีอำนาจให้ความเห็นชอบ หรือไม่เห็นชอบต่อบุคคลที่ประธานาธิบดีเสนอขอแต่งตั้ง รวมทั้งคณะรัฐมนตรี และให้สัตยาบันสนธิสัญญา รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ เป็นผู้ดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภาโดยตำแหน่ง (President of the Senate)


สภาผู้แทนราษฎร มีสมาชิก 435 คน แบ่งตามสัดส่วนของประชากรในมลรัฐ คือ ประชากร 575,000 คน ต่อ สมาชิก 1 คน ดำรงตำแหน่งสมัยละ 2 ปี ประธานสภา (Speaker of the House)


ฝ่ายตุลาการ ประกอบด้วย ศาลชั้นต้น (Curcuit Court) ศาลอุทธรณ์ (Appeal Court) และศาลฎีกา (Supreme Court) ศาลฎีกามีอำนาจที่จะล้มเลิกกฎหมายใด ๆ และการปฏิบัติการของฝ่ายบริหารที่ได้วินิจฉัยแล้วว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ ในการแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลฎีกานั้น ประธานาธิบดีเป็นผู้เสนอชื่อและวุฒิสภาเป็นผู้ให้การรับรอง โดยศาลสูงของสหพันธ์มีผู้พิพากษาทั้งหมด 9 คน ซึ่งตำรงตำแหน่งได้โดยไม่มีการกำหนดวาระ โดยประธานาธิบดีเป็นผู้เสนอชื่อและวุฒิสภาเป็นผู้ให้การรับรอง


สิทธิในการเลือกตั้ง : อายุ 18 ปีขึ้นไป


ประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิ้ลยู บูช








 

Create Date : 15 กันยายน 2551
9 comments
Last Update : 16 กันยายน 2551 5:38:17 น.
Counter : 3719 Pageviews.

 

ได้ข้อมูลความรู้เพิ่มขึ้นจากการทำเว็บบล็อก

 

โดย: พิมพ์ฉัตร์ 5131601429 Section 02 IP: 202.28.47.15 15 กันยายน 2551 12:38:09 น.  

 

แต่ละประเทศมีระบบการเมืองที่แตกต่างกันเยอะจัง...

 

โดย: ศิลา ปินตาคำ ID 5131601514 sec 02 IP: 202.28.47.15 15 กันยายน 2551 14:22:18 น.  

 

ระบบมาจาก นักปราชญ์ชาวต่างชาติ แต่เราก็ต้องนำมาปรับใช้ให้เหมาะสม กับสภาพบ้านเรา แล้วประเทศไทย ควรใช้ระบบไหนดี ผมแนะนำ คอมมิวนิส เพราะคนไทย ชอบมีผู้นำ นายลุยเลย เดี๋ยวเราวิจารย์เอง หุหุ

 

โดย: kid IP: 202.28.47.15 15 กันยายน 2551 18:45:44 น.  

 

ได้รับความรู้เยอะดี ได้รู้ตั้ง 5 ประเทศ
แต่ ของประเทศจีน ข้อมูลน้อยไปนิด แต่โดยรวมก็ถือว่าดี ได้ความรู้มาบ้างนิดนึง

 

โดย: หมูน้อย IP: 202.28.47.15 15 กันยายน 2551 18:50:31 น.  

 

รูปไปไหนอะครับ

 

โดย: Karo IP: 202.28.47.15 15 กันยายน 2551 21:21:00 น.  

 

รูปมาแล้วบางส่วน แต่ทำไมข้อมูลของประเทศจีนน้อยจังเลย!

 

โดย: KarO IP: 202.28.47.15 18 กันยายน 2551 13:21:34 น.  

 

ข้อมูลของประเทศจีนน้อยจังเลย
อยากให้หามาให้ดูเยอะๆกว่านี้

 

โดย: ^-^ IP: 202.28.47.15 19 กันยายน 2551 23:50:12 น.  

 

อ่าครับ

ได้รู้เรื่องรายละเอียดการปกครองของแต่ระประเทศมากมายเลยครับ

ขอบคุณสำหรับเนื้อหานะครับ

 

โดย: *-*gu jay IP: 202.28.182.12 20 กันยายน 2551 2:26:46 น.  

 

ก็ดีอะแต่ไม่ใช่ที่ต้องการ

 

โดย: เเดง IP: 110.164.240.97 13 มีนาคม 2553 13:35:29 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


MFULAW51
Location :
เชียงราย Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




เพจใหม่ 2

ริบบิ้นสีขาว

ปัญหาความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และความรุนแรงในครอบครัว ยังมีเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในสังคม ทั้งยังมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรง ซับซ้อน และมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น จากสถิติของศูนย์ช่วยเหลือเด็กและสตรี ในภาวะวิกฤตจากความรุนแรง ในปี 2549 มีจำนวนผู้ถูกกระทำความรุนแรง 15,882 คน อายุเฉลี่ยของผู้ถูกกระทำส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 11-18 ปี รองลงมาคือ 18-35 ปี หรืออาจกล่าวได้ว่ามีผู้ถูกกระทำความรุนแรงเฉลี่ยวันละ 44 คน

จากข้อมูลพบว่าประเทศไทยยังติดอันดับชาติที่มีปัญหาความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และคนในครอบครัว เป็นอันดับที่ 7 สาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดความรุนแรงคือสุรา ซึ่งไทยก็ติดอันดับประเทศที่มีประชากรบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นอันดับที่ 6 ของโลก สิ่งที่น่าสนใจมากที่สุดจากการประเมินค่าใช้จ่ายที่สูญเสียในเชิงเศรษฐกิจ ค่ารักษาพยาบาลผู้ถูกกระทำรุนแรง ของกระทรวงสาธารณสุข คิดเป็นมูลค่าสูงกว่า 36,000 ล้านบาทต่อปี

เมื่อกล่าวถึงความรุนแรงต่อเด็กลแะสตรี ภาพที่คนส่วนใหญ่จะนึกถึงคือเหตุการณ์การทำร้ายร่างกาย หรือการข่มขืน แต่ความจริงแล้ว ปัญหาความรุนแรงไม่ได้มีเฉพาะการทำร้ายร่างกายเท่านั้น ยังพบว่ามีรูปแบบการใช้ความรุนแรงอีกหลายรูปแบบ เช่น การใช้ความรุนแรงต่อจิตใจ อารมณ์ การทำความรุนแรงทางวาจา ความรุนแรงในที่ทำงาน รวมไปถึงการบังคับ กักขัง หน่วงเหนี่ยว อิสระภาพ เป็นต้น

เหตุผลที่องค์การสหประชาชาติประกาศให้วันที่ 25 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก และสตรี มีสาเหตุ มาจากเหตุการณ์สังหาร นักเคลื่อนไหวทางการเมืองสตรีชาวโดมินิกัน 3 คน คือ Patria, Maria and Minerva Mirable ในคืนวันที่ 25 พฤศจิกายน 1961 อันเนื่องมาจากเหตุผลทางการเมืองในยุคการปกครองของนาย Rafael (1930 - 1961) ซึ่ง 20 ปี ให้หลัง จากเหตุการณ์ดังกล่าว นักเรียกร้องสิทธิสตรี ใช้วันที่ 25 พฤศจิกายน เป็นวันรณรงค์และเรียกร้องให้ยุติความรุนแรงต่อสตรีตลอดมา และในที่สุดองค์การสหประชาชาติ มีมติให้วันดังกล่าวของทุกปีเป็นวันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 1999

การรณรงค์ติดริบบิ้นสีขาว เพื่อยุติความรุนแรงต่อสตรี ได้เริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศแคนาดา เมื่อปี 1991 (พ.ศ.2534) หลังจาก เหตุการณ์สังหารหมู่นักศึกษาหญิง ของมหาวิทยาลัยมอนทรีอัล จำนวน 14 ราย โดยผู้ทำการรณรงค์ เป็นกลุ่มอาสาสมัครชาย จำนวนประมาณ 1,000,000 คน ที่ตระหนักถึงปัญหาความรุนแรงต่อสตรี และต้องการยุติปัญหาดังกล่าว จึงได้เรียกร้องให้ผู้ชาย ทั่วโลก ร่วมรับผิดชอบต่อปัญหาความรุนแรงต่อสตรี และแสดงตนว่าจะไม่เป็นผู้กระทำรุนแรงต่อสตรี โดยสัญลักษณ์ริบบิ้นสีขาว หมายถึง การยอมรับว่า จะไม่ทำร้ายหรือนิ่งเฉยต่อการใช้ความรุนแรงต่อสตรีในทุกรูปแบบ

Credit : http://www.gender.go.th/

[Add MFULAW51's blog to your web]