ปรับปรุงนาร้างปลูกปาล์มน้ำมัน

นาร้าง ในพื้นที่ภาคใต้กำลังเป็นปัญหา นอกจากเป็นการสูญเสียแหล่งอาหารที่สำคัญแล้วยังส่งผลต่อความรู้สึกของผู้คนในพื้นที่ที่อยากทำนาแต่ทำไม่ได้ ที่ผ่านมา แม้จะมีนโยบายฟื้นฟูนาร้าง แต่ปัญหาก็ยังคงมีอยู่ จนเกิดเป็นวิกฤติ ในพื้นที่จังหวัดชาย แดนภาคใต้ กรมพัฒนาที่ดินจึงได้ทำโครง การปรับปรุงพื้นที่นาร้างพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตรัง พัทลุง สตูล สงขลา ยะลา ปัตตานีและนราธิวาส ขึ้นเพื่อพัฒนา ฟื้นฟูให้สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตรอีกครั้ง

นายปรีชา โพธิ์ปาน ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนา ที่ดินเขต 12 (สงขลา) บอกว่า โครงการดังกล่าวเป็นนโยบายของกรมพัฒนาที่ดินที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง และมีเกษตรกรให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการอย่างมาก เนื่องจากพื้นที่ประสบปัญหาทำให้เกษตรกรไม่สามารถใช้ประโยชน์ที่ดินทำการเกษตรได้ จึงจำใจต้องปล่อยทิ้งร้างไว้ แต่เมื่อมีโครงการที่หน่วยงานรัฐพร้อมเข้าไปสนับสนุน ทำให้สามารถนำที่ดินกลับมาใช้ประโยชน์ สร้างอาชีพและรายได้กลับมาอีกครั้ง

ทั้งนี้สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 12 จะเข้าไปสนับสนุนเกษตรกรในพื้นที่นาร้างที่มีความประสงค์จะเข้าร่วมโครงการ เพื่อปลูกข้าวและปลูกปาล์มน้ำมัน โดยการช่วยปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน ปรับปรุงบำรุงดินให้มีความเหมาะสมต่อการปลูกพืชชนิดนั้น ๆ นอกจากนี้ยังสนับสนุนวัสดุปรับปรุงดิน พร้อมแจกพันธุ์ปาล์มน้ำมันให้เกษตรกรจำนวน 22 ต้น/ไร่ เพื่อสร้างโอกาสให้เกษตรกรได้มีทางเลือกในการประกอบอาชีพมากขึ้น

ด้านนายประเสริฐ ศิริรัตน์ หมอดินอาสาประจำ อ.ปะเหลียน จ.ตรัง เล่าว่า เมื่อก่อนที่อำเภอปะเหลียน เกษตรกรจะทำนา แต่ด้วยประสบกับสภาพพื้นที่ลุ่มน้ำท่วมขัง ทำให้ดินเป็นกรดจัด ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ปลูกข้าวก็ให้ผลผลิตต่ำ ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน เกษตรกรจึงต้องปล่อยทิ้งนาร้างไปไม่ต่ำกว่า 30 ปี จนกระทั่งสถานีพัฒนาที่ดินตรัง ได้เข้ามาส่งเสริม ขณะนี้ปาล์มน้ำมันของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการอายุได้ประมาณ 4 ปี ก็เก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้ว ประมาณ 3 ตัน/ไร่/ปี เพราะปาล์มน้ำมันจะให้ผลผลิตสูงสุดตอนช่วงอายุ 5-6 ปี ก็นับว่าคุ้มค่า จากพื้นที่นาร้างที่ทำการเพาะปลูกอะไรไม่ได้ สามารถพลิกฟื้นกลับมาปลูกปาล์มน้ำมันพืชเศรษฐกิจได้ ที่สำคัญสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เดือนละ 2 ครั้ง ทำให้เกษตรกรมีรายได้ต่อเนื่องทุกเดือน

“ผลจากการเข้าร่วมโครง การของเกษตรกรรุ่นแรกที่ปรับปรุงพื้นที่นาร้างเพื่อปลูกปาล์มน้ำมัน ก็กลายเป็นเกษตรกรตัวอย่างให้กับเพื่อนบ้าน โดยมีการรวมกลุ่มกันทำปุ๋ยหมัก ปลูกปอเทืองพืชปรับปรุงบำรุงดิน ทำน้ำหมักชีวภาพ ใช้ในแปลงของตนเอง ลดการใช้สารเคมี จากเดิมที่เคยใช้สารเคมีปีละ 3-4 ครั้ง ตอนนี้ใช้ 1 ครั้งหรือสูงสุดไม่เกิน 2 ครั้ง ที่เหลือก็ใช้ปุ๋ยคอก น้ำหมักชีวภาพ ซึ่งไม่เพียงแต่ทำให้พื้นที่มีความเขียวชอุ่ม ดินอุดมสมบูรณ์ ผลผลิตก็เพิ่มขึ้น แถมยังลดต้นทุนได้ด้วย และจากจุดเริ่มต้นของเกษตรกรเพียง 5 ราย ก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้พื้นที่นาร้างจากเดิมที่มีอยู่เกือบ 1,000 ไร่ หลังจากมีโครงการปรับปรุงนาร้าง พื้นที่ทิ้งร้างก็ลดลงจนเหลือเพียง 100-200 ไร่” นายประเสริฐ กล่าว

ปัญหานาร้างในแต่ละพื้นที่เกิดจากปัจจัยและเงื่อนไขที่แตกต่างกัน การแก้ปัญหาจึงไม่เหมือนกัน และไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว ดังนั้นการแก้ไขฟื้นฟูต้องมีการศึกษาวิเคราะห์ และวางแผนอย่างละเอียดถี่ถ้วน รวมถึงยังต้องบูรณาการความร่วมมือเป็นระบบครบวงจร มิฉะนั้นจะยิ่งส่งผลกระทบต่อผู้คนในพื้นที่ ส่งผลต่อความรู้สึก ทำให้เกิดเงื่อนไขอื่น ๆ ตามมาได้.

cr.dailynews



Create Date : 07 กุมภาพันธ์ 2558
Last Update : 7 กุมภาพันธ์ 2558 16:18:20 น. 0 comments
Counter : 931 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมาชิกหมายเลข 1556306
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]










เครื่องปั่นไฟ เครื่องพ่นยา
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 1556306's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.