"กาแฟดำใส่น้ำเย็น"
Group Blog
 
All blogs
 

งานนี้มีงอน ...กับลูก

วันนี้ 2 คนแม่ลูกชวนกันไปหาอะไรกินมื้อกลางวันนอกบ้าน ตอนกินก้อไม่มีอะไรหรอก กินเสร็จเตรียมกลับบ้านละ พูดคุยกันตามประสา แต่แล้วเกิดเรื่องจนได้ แม่พูดอะไรอย่าไปจำเลยเป็นประโยคที่คุณลูกรับไม่ได้ คุณลูกก้อบอกว่าไหนแม่จะไม่พูดแบบนี้อีก ส่วนฝ่ายคุณแม่เริ่มงอนก้อบอกว่าไหนลูกจะไม่มีความลับกะแม่ไง แม่ก้อเริ่มพูด พูด พูด เหมือนคนเก็บกด ได้เรื่องเลยเครียดกันตลอดตอนนั่งรถกลับบ้าน ทั้งคุณแม่คุณลูกต่างก้อน้ำตาหยดแหม่ พอถึงบ้านต้องรีบทำความเข้าใจ โถ ลูกจ๋าแม่สัญญาจะพยายามไม่พูดอะไรที่ทำร้ายจิตใจลูกอีกแล้ว นะ แล้วเราก้อดีกัน หัวเราะกันได้อีกครั้ง จ๊ะ...แม่สัญญา




 

Create Date : 20 ธันวาคม 2552    
Last Update : 20 ธันวาคม 2552 23:01:06 น.
Counter : 580 Pageviews.  

การบ้านลูก ...วรรณคดีวิจักษ์: กาพย์เรื่องพระไชยสุริยา

1 ความเป็นมา
กาพย์พระไชยสุริยาเป็นแบบเรียนที่สุนทรภู่แต่งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จุดประสงค์เพื่อถวายพระอักษรแด่พระโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยและเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี พระอัครชายา คือเจ้าฟ้าชายกลางแล้วเจ้าฟ้าปิ๋ว ในการศึกษากาพย์พระไชยสุริยา ผู้เรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับลักษณะการแต่งคำประพันธ์ประเภทกาพย์ ได้แก่ กาพย์ยานี11 กาพย์ฉบัง16 และ กาพย์สุรางคนางค์ 28

2 ประวัติผู้แต่ง
สุนทรภู่เกิดในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันจันทร์ เดือน 8ขึ้น 1 ค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช 1148 ตรงกับวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 บิดาเป็นชาวบ้านกร่ำ เมืองแกลง มารดาเป็นชาวเมืองไม่ปรากฎ ต่อมา บิดามารดาได้หย่าร้างกัน มารดามีสามีใหม่ สุนทรภู่จึงได้ไปอาศัยกับมารดา และ ได้เล่าเรียนในวัด ศรีสุดาราม
-ปี พ.ศ. 2356 สุนทรภู่ได้เข้ารับราชการในวังหลวง มีหน้าที่เป็นอาลักษณ์ ตำแหน่ง ขุนสุนทรโวหาร และได้แต่งกลอนถวายเป็นที่พอพระทัยมาก
-ปี พ.ศ. 2367 สุนทรภู่ได้ทำหน้าที่ถวายพระอักษรเจ้าฟ้าอาภรณ์ พระโอรสองค์โตของสมเด็จเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี พระอัครชายาในรัชกาลที่2
-เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชย์ พระองค์ไม่โปรดสุนทรภู่เพราะเมื่อครั้งพระองค์ดำรงพระยศเป็นกรมหมื่นเจษฎา บดินทร์ สุนทรภู่ทักท้วงบทพระราชนิพนธ์ของพระองค์หน้าพระที่นั่ง ทำให้พระองค์ขัดเคืองพระทัย สุนทรภู่จึงออกบวชที่วัดราชบูรณะเพื่อหนีราชภัย เมื่อบวชและจำพรรษาที่วัดราชบูรณะ จึงมีโอกาสถวายพระอักษรเจ้าฟ้าชายกลางและเจ้าฟ้าปิ๋ว
-ต่อมาสุนทรภู่ได้ย้ายจากวัดราชบูรณะไปจำพรรษาที่วัดอรุณราชวราราม แล้วจึงย้ายไปจำพรรษาที่วัดเทพธิดาราม และวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ตามคำชักชวนของพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ พระเจ้าลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
-ต่อมาพระองค์เจ้าลักขณานุคุณลาผนวช ไปประทับที่วังท่าพระ จึงชวนให้สุนทรภู่ไปจำพรรษาที่วัดมหาธาตุด้วย เพื่อสะดวกในการอุปถัมภ์ สุนทรภู่บวชได้ประมาณ 7 ถึง 8 พรรษาจึงสึกออกมา เพื่อติดตามรับใช้
พระองค์เจ้าลักขณานุคุณ
-พ.ศ.2378 พระองค์เจ้าลักขณานุคุณสิ้นพระชนม์ สุนทรภู่ต้องตกยากอีก จึงบวชใหม่อีกครั้งที่วัด เทพธิดาราม ครั้งนี้ได้รับเมตตาจากเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์
-พ.ศ.2385 สุนทรภู่สึกออกมาเป็นฆราวาส ต่อมาได้ถวายตัวเป็นอาลักษณ์ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมื่อ พ.ศ. 2393 และได้รับแต่งตั้งเป็นพระสุนทรโวหาร ช่วงนี้ สุนทรภู่มีความสุขขึ้นและรับราชกาลได้ 5 ปี ก็ถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. 2398 รวมอายุได้70ปี
-กล่าวกันว่าสุนทรภู่ เป็นกวีสี่แผ่นดิน คือเกิดในสมัยรัชกาลที่ 1 รุ่งเรืองในสมัยรัชกาลที่ 2 ตกอับในสมัยรัชกาลที่ 3 และถึงแก่กรรมในสมัยรัชกาลที่ 5
3 เรื่องย่อ
มีกษัตริย์พระองค์หนึ่งมีพระนามว่าไชยสุริยา ครองเมืองสาวัตถี มีพระมเหสี ทรงพระนามว่า สุมาลี ครอบครองบ้านเมืองด้วยความผาสุก ต่อมาข้าราชการ เสนาอำมาตย์ประพฤติตนไม่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม จึงเกิดเหตุอาเพศ เกิดน้ำป่าไหลท่วมเมือง ผีป่าอาละวาด ทำให้ชาวเมืองล้มตายจำนวนมาก พระไชยสุริยากับพระมเหสีจึงลงเรือสำเภาแต่ก็ถูกพายุพัดจนเรือแตก พระไชยสุริยาและมเหสีขึ้นฝั่งได้ พระอินทร์จึงเสด็จมาสั่งสอนธรรมะให้ ทั้งสองพระองค์ปฏิบัติตามธรรมจึงเสด็จไปสู่สวรรค์

4 ลักษณะคำประพันธ์
เรื่องกาพย์พระไชยสุริยานี้แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทกาพย์ ได้แก่ กาพย์ยานี11 กาพย์ฉบัง16 กาพย์สุรางคนางค์ 28

ตัวอย่างคำประพันธ์

กาพย์ยานี11
........ชื่อพระไชยสุริยา.....................มีสุดามเหสี
...ชื่อว่าสุมาลี.....................................อยู่บูรีไม่มีภัย

กาพย์ฉบัง16
.........พระไชยสุริยา........................พาพระมเหสี
.มาที่ในลำสำเภา

กาพย์สุรางคนางค์28
...............วันนั้นจันทร.................มีดารากร................เป็นบริวาร...
.เห็นสิ้นดินฟ้า........ในป่าท่าธาร..........มาลีคลี่บาน............ใบก้านอรชร

5 คำศัพท์
ก ข.........................อักษรไทย ตัวหนังสือไทย
กระจับปี่...................พิณสี่สาย
กระโห้......................ชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง หัวโตเกล็ดใหญ่ ลำตัวด้านหลังสีเทาดำ หางและครีบ สีคล้ำ
กร่าง........................ชื่อต้นไม้ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง เปลือกเรีบยสีเทา ใบกว้างหนา
กะลาง......................ชื่อนกชนิดหนึ่ง ตัวขนาดนกเอี้ยง
กะลิ.........................ชื่อ นกปากงุ้มเป็นขอชนิดหนึ่ง หัวสีเทา ตัวสีเขียว ปากแดง หางยาว
กังสดาล...................ระฆังวงเดือน
กัปกัลป์....................กัป หมายถึง ระยะเวลาอันนานเหลือเกิน บางทีใช้คู่กับคำว่ากัลป์ เป็น กัปกัลป์
กามา........................ความใคร่ ความใคร่ในทางเมถุน
กาลกิณี.....................เสนียดจัญไร ลักษณะที่อัปมงคล
กุมารา.......................เด็กๆทั้งหลาย
กูณฑ์.......................ไฟ
ไกร.........................เกิน กล้า เก่ง
ขอสมา.....................ขอโทษ ขออภัย
ขันธสันดาน..............อุปนิสัยที่มีมาแต่กำเนิดในตัวของตนเอง
ขื่อคา.......................เครื่องจองจำนักโทษ
เขนย.......................หมอน
คดี..........................เรื่อง
ครั่ง.........................ชื่อเพลี้ยหอยชนิดหนึ่ง
ครุฑา.......................สัตว์ในวรรณคดี
คอโค.......................คนอินเดีย
ค้อนทอง..................ชื่อนกชนิดหนึ่ง
คับทรง....................ชื่อพุ่มไม้ชนิดหนึ่ง
ค่าง.........................ชื่อลิงชนิดหนึ่ง
คีรี...........................ภูเขา
จอง.........................มั่นหมายไว้
จักรวาล....................ปริมณฑล
ฉ้อ...........................ขี้โกง
เฉโก.........................ฉลาดแกมโกง
ช้องนาง....................ชื่อพุ่มไม้ชนิดหนึ่ง
ชี.............................นักบวชหญิงที่นุ่งขาวห่มขาว
ตรีชา........................ความหมายตามบริบท หมายถึง ติเตียน
ตะรัง........................ตั้น ตะบึงไป
ตะลิงปลิง..................ชื่อไม้ต้นชนิดหนึ่ง
ตัณหา.......................ความทะยานอยาก
ไตรยุค......................ไตรดายุค
ไตรสรณา..................ที่พึ่งทั้งสาม คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
ถือน้ำ........................พิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา เป็นการดื่มน้ำสาบานถวายพระเจ้าแผ่นดิน
เถื่อน........................ป่า
ทุกข.........................ความทุกข์
เทวาสมบัติ.................สมบัติในสวรรค์
ธรณี.........................ดิน แผ่นดิน
นัยนา........................ดวงตา
บรรจถรณ์.................ที่นอน
บา............................ครู อาจารย์
บาลี..........................ภาษาบาลี
ปฐพี.........................พื้นดิน
ประยงค์....................ชื่อพุ่มไม้ชนิดหนึ่ง
ประเวณี....................การประพฤติผิดเมียผู้อื่น
ประสกสีกา.................ชายหญิงที่นับถือพระพุทธศาสนา
ปริง..........................มะปริง
ปัตติ.........................ส่วนบุญ
ปาปัง........................บาป
ผลาญ.......................ทำลายให้หมดสิ้นไป
ผาสุก........................ความสำราญ
ฝาง..........................ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิดหนึ่ง
ฝิ่น............................ชื่อไม้ล้มลุกชนิดหนึ่ง
พระแกล.....................หน้าต่าง
พระดาบส...................ผู้บำเพ็ญตบะ
พระยาลอ....................ชื่อนกชนิดหนึ่ง
พระยาสัมพาที..............พญานกในวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์
พระสุริย์......................พรุสุรีย์
พระแสง.....................อาวุธ หรือ เครื่องใช้มีคมที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้สอย
พลวง.........................ชื่อธาตุชนิดหนึ่ง
พสุธา..........................แผ่นดิน
พักตรา........................ใบหน้า
พิภพ...........................โลก ทรัพย์สมบัติ
พุทธันร.......................ช่วงเวลาที่ว่างจากพระพุทธเจ้า
โพล้เพล้.......................เวลาพลบค่ำ เวลาจวนค่ำ
ไพชยนต์สถาน...............ชื่อรถและวิมานของพระอินทร์
ภาษาไสย......................ลัทธิอันเนื่องด้วยเวทมนตร์คาถา
ภุมรา...........................แมลงภู่ ผึ้ง(หมายถึงตัวสุนทรภู่)
ภูผา............................ภูเขา
เภตรา..........................เรือ
มณฑล.........................ดวง รัศมี วงรอบ เขตปกครองที่แบ่งเป็นส่วนใหญ่ๆ
มรคา...........................ทาง
มรณา..........................ตาย
มเหสี...........................เมียเอก
มโหรี...........................วงเครื่องดนตรีประเภทดีดสีตีเป่า
มโหฬาร์.......................ยิ่งใหญ่
มะม่วง.........................ชื่อไม้ต้นชนิดหนึ่ง
เมธา...........................ความรู้ ปัญญา
เมรุ.............................ชื่อภูเขากลางจักรวาลมียอดเป็นที่ตั้ง แห่งเมืองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ซึ่งเป็นที่อยู่ของพระอินทร์
โมทนา.........................บันเทิง ยินดี
ยอแสง........................อาการที่พระอาทิตย์อ่อนแสงสล
ยูง..............................ชื่อนกขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง
เยาวนารี.......................สาวรุ่นๆ
โยโส............................โหยกเหยก
ระยำ............................ชั่วช้า
รัญจวน........................ป่วนใจ
ราตรี...........................กลางคืน
ราศี..............................กอง หมู่
ราหู..............................ชื่อปลากระเบนทะเลชนิดหนึ่ง
รูกขมูล.........................โคนต้นไม้
ละมั่ง............................ชื่อกวางขนาดเล็กชนิดหนึ่ง
โลโภ.............................ความโลภ
วาตา.............................ลม
วายุ พยุ.........................พายุ
วารี...............................น้ำ
วิบัติ..............................พิบัติ ความฉิบหาย
ศฤงคาร.........................สิ่งให้เกิดความรัก
สกุณา............................นก
สะธุสะ............................คำเพื่อขอความสวัสดิมงคล
สังวัจฉระ........................ปี
สังวาส............................การอยู่ด้วยกัน
สัตถ...............................คัมภีร์ ตำรา เกวียน
สาลี................................ข้าว
สิงขร..............................ภูเขา
สุภา................................ตุลาการ
หงส์...............................นกในนิยาย
เหรา...............................ชื่อแมงดาทะเลชนิดหนึ่ง
เหล่าเมธา........................หมายถึงบรรดานักปราชญ์
อภิญญาณ......................ความรู้ยิ่งมี 6 อย่างคือ 1. อิทธิวิธี แสดงฤทธิ์ได้ 2.ทิพยโสด มีหูทิพย์ 3.เจโตปริยญาณ รู้จักกำหนดใจผู้อื่น 4.ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกชาติได้ 5.ทิพยจักขุ มีตาทิพย์ 6.อาสวักขยญาณ รู้จักทำอาสว
อวสาน............................จบ สิ้นสุด
อะโข...............................มากหลาย
อะฌาสัย..........................กิรียาดี นิสัยใจคอ
อันธพาล..........................คนเกะกะระราน
อัปรา...............................ใช้เป็นคำนำหน้าคำศัพท์ที่มาจากบาลี แปลว่า ไปจาก ปราศจาก
อัปรีย์..............................ระยำ จัญไร
อัสดง..............................ตกไป พระอาทิตย์ตก
อาญา...............................อำนาจ โทษ
อารย์...............................เจริญ
อารัญ...............................ป่า
อีเก้ง................................ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องชนิดหนึ่ง
อีโก้ง................................ชื่อนกชนิดหนึ่ง

6 การวิจักษณ์วรรคดีเรื่อง กาพย์พระไชยสุริยา
6.1ลักษณะการแต่ง
ลักษณะการแต่ง แต่งด้วยกาพย์ 3 ขนิด คือ กาพย์ยานี 11 กาพย์ฉบัง 16 และกาพย์สุรางคนางค์ 28
(1)กาพย์ยานี 11 ใช้ในการบรรยาย หรือเล่าเรื่อง เช่น

..........จะร่ำค่ำต่อไป......................................พอล่อใจกุมารา
ธรณีมีราชา..................................................เจ้าพาราสาวัตถี
..........ชื่อพระไชยสุริยา..................................มีสุดามเหสี
ชื่อว่าสุมาลี....................................................อยู่บูรีไม่มีภัย

คำที่ใช้เป็นคำไทยง่ายๆเหทาะกับวัยที่เพิ่งฝึกหัดอ่านเขียนเป็นเบื้องต้นเริ่มด้วยคำในมาตราแม่ ก กา

(2) กาพย์ฉบัง 16 เป็นกาพย์ที่มีลีลางามสง่ามักใช้ในการบบรรยายเหตุการณ์ที่สำคัญ หรือบรรยาย
เหตุการณ์ที่รวบรัดรวดเร็ว เช่น

..........เภตรามาในน้ำใหล..........................ค่ำเช้าเปล่าใจ
ที่ในมหาวารี
.........พสุธาอาศัยไม่มี................................ราชานารี
อยู่ที่พระแกลแลดู

(3) กาพย์สุรางคนางค์28 เป็นกาพย์ที่มีลีลาอ่อนหวาน เศร้า มักใช้ในการพรรณนาอารมณ์ความรู้สึกเช่น

............ขึ้นใหม่ในกน......................ก กา ว่าปน....................ระคนกันไป
เอ็นดูภูธร......................มานอนในไพร....................มณฑลต้นไทร................แทนไพชยนต์สถาน

6.2 จุดประสงค์การแต่ง
-เรื่องกาพย์พระไชยสุริยานี้แต่งขึ้นเพื่อเป็นแบบเรียนใช้สอนเรื่องการสะกดคำและการใช้ถ้อยคำแก่พระโอรส
ในพระบรมวงศานุวงศ์ โดยเรียงตามลำดับมาตราตัวสะกด คือ แม่ ก กา แม่กน แม่กง แม่กก แม่กด
แม่กบ แม่กม แม่เกย
-ลักษณะเนื้อหาเริ่มสอนจากง่ายไปหายาก มีการทบทวนความรู้เดิมทุกครั้ง ทำให้ น่าสนใจ น่าติดตาม แต่ยังไม่จบเรื่อง คือ ขาดมาตราตัวสะกดแม่เกอวไปอีกหนึ่งมาตรา



6.3 การวิเคราะห์คุณค่าด้านวรรณศิลป์
(1)การใช้คำง่ายๆบรรยายให้เห็นภาพชัดเจน เช่น

................ข้าเฝ้าเหล่าเสนา...........................มีกิริยาอะฌวสัย
พ่อค้ามาแต่ไกล............................................ได้อาศัยในพารา
...............ไพร่ฟ้าประชาชี.............................ชาวบูรีก็ปรีดา
ทำไร่เขาไถนา..............................................ได้ข้าวปลาแลสาลี

(2)ใช้คำพรรณนาให้สะเทือนอารมณ์เช่น

..............คืนนั้นจันทร.....................มีดารากร.................เป็นบริวาร
เห็นสิ้นดินฟ้า..............ในป่าท่าธาร...................มาลีคลี่บาน................ใบก้านอรชร
.............เย็นฉ่ำน้ำฟ้า......................ชื่นชะผกา................วายุพาขจร
สารพันจันอิน.............รื่นกลิ่นเกสร................แตนต่อคล้อร่อน...........ว้าว่อนเวียนระวัน

(3)สร้างสรรค์คำประพันธ์ โดยใช้โวหารได้ไพเราะเหมาะสม ดังนี้
-ใช้โวหารนาฏการ คือเห็นกิริยาอาการที่ทำต่อเนื่อง เช่น

..............เห็นกวางย่างเยื้องชำเลืองเดิน....................เหมือนอย่างนางเชิญ
พระแสงสำอางข้างเคียง
..............ฝูงละมั่งฝันดินกินเพลิง..............................ค่างแข็งแรงเริง
ยืนเบิ่งบึ้งหน้าตาโพลง
..............ป่าสูงยูงยางช้างโคลง...................................อึงคะนึงผึงโผง
โยงกันเล่นน้ำคล่ำไป

-ใช้โวหารสัทพจน์ ได้เห็นภาพและได้ยินเสียง เช่น

.............กะลิงกะลางนางนวลนอนเรียง...................พระยาลอคลอเคียง
แอ่นเอี้ยงอีโก้งโทงเทง
.............ค้อนทองเสียงร้องป๋องเป๋ง..........................เพลินฟังวังเวง
อีเก้งเริงร้องลองเชิง

-ใช้โวหารอุปมา คือ เปรียบเทียบสิ่งหนึ่ง เหมือนกับอีกสิ่งหนึ่ง เช่น

..............กลางไพรไก่ขันบรรเลง.........................ฟังเสียงเพลง
ซอเจ้งจำเรียงเวียงวัง
.............ยูงทองร้องกะโต้งโห่งดัง.......................เพียงฆ้องกลองระฆัง
แตรสังข์กังสดาลขานเสียง

-ใช้โวหารสัญลักษณ์ คือ การบรรยาย หรือ พรรณนาบางเรื่อง ไม่จำเป็นต้องบรรยายชัดเจนแจ่มแจ้ง
แต่ใช้สัญลักษณ์แทน เช่น

..............ขึ้นกดบทอัศจรรย์.....................เสียงครื้นครั่นชั้นเขาหลวง
นกหกตกรังรวง......................................สัตว์ทั้งปวงง่วงงุนโงน
..............แดนดินถิ่นมนุษย์....................เสียงดังดุจพระเพลิงโพลง
ตึกกว้านบ้านเรือนโรง...........................โคลงคลองเคลื่อนเขยื้อนโยง

(4)ใช้คำได้ไพเราะ มีเสียงสัมผัสในวรรคทุกวรรค ทั้งสัมผัสสระ และสัมผัสอักษร เช่น
...............ขึ้นกงจงจำสำคัญ........................ทั้งกนปนกัน
รำพันมิ่งไม้ในดง
............ไกรกร่างยางยูงสูงระหง.....................ตะลิงปลิงปริงประยงค์
คันทรงส่งกลิ่นฝิ่นฝาง
............มะม่วงพลวงพลองช้องนาง...........หล่นเกลื่อนเถื่อนทาง
กินพลางเดินพลางหว่างเนิน

สัมผัสอักษร เช่น จง-จำ มิ่ง-ไม้ ไกร-กร่าง ยาง-ยูง ตะลิงปลิง-ปริงค์-ประยงค์ ฝิ่น-ฝาง พลวง-พลอง
สัมผัสสระ เช่น กง-จง จำ-สำ กน-ปน ไม้-ใน กร่าง-ยาง ยูง-สูง ลิง-ปริง-ปลิง ยงค์-ทรง-ส่ง ม่วง-พลวง
พลอง-ช้อง เกลื่อน-เถื่อน พลาง-หว่าง

(5) ใช้ลีลาจังหวะในการอ่านได้สนุกและเกิดอารมณ์ตามเนื้อเรื่อง เช่นกาพย์ยานี11 ใช้จังหวะการอ่าน2/3 3/3 เป็นจังหวะประกอบเสียงหนักเบา และสัมผัสในของแต่ละวรรค

-แสดงอารมณ์ขันของสุนทรภู่ เช่น

............ขุนนาง / ต่างลุกวิ่ง...................ท่านผู้หญิง / วิ่งยุคหลัง
พัลวัน / ดันตึงตัง.................................พลั้งพลัดตก / หกคะเมน
............พระสงฆ์ / ลงจากกุฏิ์...............วิ่งอุดตลุด / ฉุดมือเณร
หลวงชี / หนีหลวงเถร.........................ลงโคลนเลน / เผ่นผาดโผน

-ให้อารมณ์เศร้า เหงา เช่น

...............พระชวนนวลนอน...........เข็ญใจไม้ขอน...............เหมือนหมอนแม่นา
ภูธรสอนมนต์.............ให้บ่นภาวนา...............เย็นค่ำร่ำว่า..................กันป่าภัยพาล

-ให้อารมณ์แช่มชื่นเบิกบานบ้าง

...........เห็นกวางย่างเยื้องชำเลืองเดิน..........เหมือนอย่างนางเชิญ
พระแสงสำอางข้างเคือง
...........เขาสูงฝูงหงส์ลงเรียง........................เริงร้อยซ้องเสียง
สำเนียงน่าฟังวังเวง



6.4 การวิเคราะห์คุณค่าด้านสังคม
(1) ให้ความรู้แก่ผู้อื่นตามจุดประสงค์ของผู้แต่ง คือ ใช้เป็นสื่อการสอน ใช้ในการสอนมาตราตัวสะกด
(2) ให้ความสนุกสนานเพลิดเพลิน เกิดจินตนาการตามเนื้อเรื่อง
(3) ให้เห็นสภาพสังคมไทย เหมือนสภาพคนไทยก่อนเสียกรุง ดังนี้

................อยู่มาหมู่ข้าเฝ้า...........................ก็หาเยาวนารี
ที่หน้าตาดีดี................................................ทำมโหรีที่เคหา
................ค่ำเช้าเฝ้าสีซอ............................เข้าแต่หอล่อกามา
หาได้ให้ภริยา...........................................โลภาพาให้บ้าใจ
................ไม่จำคำพระเจ้า........................เหไปเข้าภาษาไสย
ถือดีมีข้าไท..............................................ฉ้อแต่ไพรใส่ชื่อคา

และสภาพก่อนกรุงสาวัติถีจะล่มจม ดังนี้

..............คดีที่มีคู่.........................คือไก่หมูเจ้าสุภา
ใครเอาข้าวปลามา......................ให้สุภาก็ว่าดี
.............ที่แพ้แก้ชนะ..................ไม่ถือพระประเวณี
ขี้ฉ้อก็ได้ดี..................................ไล่ด่าตีมีอาญา
.............ที่ซื่อถือพระเจ้า.............ว่างโง่เง่าเต่าปูปลา
ผู้เฒ่าเหล่าเมธา..........................ว่าใบ้บ้าสาระยำ

(4) แสดงความคิด ความเชื่อ และค่านิยมของคนในสังคม เช่น เชื่อเรื่อง ไสยศาสตร์

...............ไม่จำคำพระเจ้า......................เหไปเข้าภาษาไสย
ถือดีมีข้าไท............................................ฉ้อแต่ไพร่ใส่ชื่อคา

แสดงค่านิยมของครอบครัว

.............ส่วนสุมาลี.................วันทาสามี...............เทวีอยู่งาน
เฝ้าอยู่ดูแล.............เหมือนแต่ก่อนกาล.......ให้พระภูบาล...........สำราญวิญญาณ์

(5) ให้ข้อคิด คติธรรม นำไปใช้ในชีวิตดังนี้
-ข้าราชการที่ดีต้องไม่คดโกง
-คนไทยไม่ควรหลงระเริง เพลิดเพลินในกามจนเกินไป
-ผู้นำประเทศต้องควบคุมดูแลข้าราชการ อย่าให้รังแกประชาชน
-ถ้าข้าราชการไม่สุจริต คดโกง ประเทศชาติจะประสบความหายนะต่างๆ
-คนเราทุกคนต้องตาย ไม่มีใครอยู่ค้ำฟ้า การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ทุกคนต้องไม่เบียดเบียนกัน

อ้างอิง : หนังสือเรียนภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑




 

Create Date : 22 พฤศจิกายน 2552    
Last Update : 22 พฤศจิกายน 2552 13:34:42 น.
Counter : 2273 Pageviews.  

ช่วยลูกทำการบ้าน

กาพย์เรื่องพระไชยสุริยา
ผู้แต่ง สุนทรภู่

พระไชยสุริยา
เป็นนิทานสำหรับสอนอ่าน คาดว่าท่านสุนทรภู่แต่งขึ้นเมื่อท่านบวชอยู่ที่วัดเทพธิดาราม ประมาณ พ.ศ.๒๓๘๓ - ๒๓๘๕ โดยมีบทอ่านเรียงลำดับการสะกดคำตั้งแต่แม่ ก กา ต่อด้วยแม่กน แม่กง แม่กก แม่กด แม่กบ แม่กม จนถึงแม่เกย การประพันธ์ใช้
กาพย์แบบต่าง ๆ ได้แก่ กาพย์ยานี ๑๑ กาพย์ฉบัง ๑๖ และกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ เรื่องพระไชยสุริยานี้ นอกจากเป็นประโยชน์ในด้านการฝึกอ่านสะกดคำแล้ว ยังให้ประโยชน์ในแง่ศึลธรรมจรรยาแก่เด็กๆ ไปด้วยในตัว ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อมีการจัดตั้งโรงเรียนหลวงขึ้น ก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) จัดทำแบบเรียนภาษาไทยขึ้นชุดหนึ่ง มี ๖ เล่ม คือ มูลบทบรรพกิจ วาหนิติ์นิกร อักษรประโยค สังโยคพิธาน ไวพจน์พิจารณ์ และพิศาลการันต์ พระยาศรีสุนทรโวหารได้นำกาพย์เรื่อง พระไชยสุริยา มาแทรกไว้ในมูลบทบรรพกิจด้วย
เมื่อเริ่มต้นเรียนในแม่ ก กา ท่านสุนทรภู่สอนให้ศิษย์ไหว้พระ ไหว้พ่อ แม่ ครู และเทวดาเสียก่อน เพื่อความเป็นสิริมงคลก่อน เริ่มเรียนหนังสือ เมื่อครั้งผู้จัดทำยังเด็ก เมื่อเรียนเสร็จก็ต้องกราบหนังสือเรียนเสียก่อนเก็บเข้าที่ และต้องเก็บไว้ในที่สูง ไม่เดินข้าม
หนังสือ

เรื่องย่อ

มี กษัตริย์พระองค์หนึ่งมีพระนามว่าไชยสุริยา ครองเมืองสาวัตถี มีพระมเหสีทรงพระนามว่าสุมาลี ครอบครองบ้านเมืองด้วยความผาสุก ต่อมาข้าราชการ เสนาอำมาตย์ประพฤติตนไม่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม จึงเกิดเหตุอาเพศ เกิดน้ำป่าไหลท่วมเมือง ผีป่าอาละวาด ทำให้ชาวเมืองล้มตายจำนวนมาก พระไชยสุริยากับนางสุมาลีพระมเหสีจึงลงเรือสำเภาแต่ก็ถูกพายุพัดจนเรือแตก พระไชยสุริยาและมเหสีขึ้นฝั่งได้ ทั้งสองต้องเดินทางอยู่กลางป่าจนพบกับฤาษีตนหนึ่ง ฤาษีได้บอกถึงสาเหตุที่ทำให้บ้านเมืองพังพินาศว่า ด้วยข้าราชสำนักทั้งหลายประพฤติชั่ว รับสินบนไม่รักษาความยุติธรรม ฟ้าดินจึงลงโทษให้ได้รับความเดือดร้อน ฤาษีได้แนะนำให้พระไชยสุริยา และพระนางสุมาลีรักษาศีลปฏิบัติธรรม ต่อมาทั้งสองพระองค์ได้ออกบวชและบำเพ็ญธรรมจนสิ้นพระชนม์ชีพจึงเสด็จไป สู่สวรรค์









 







แม่ ก กา

(ยานี๑๑)

๏ สะธุสะ จะขอไหว้

พ่อแม่แลครูบา

ข้าเจ้าเอา ก ข

แก้ไขในเท่านี้

จะร่ำคำต่อไป

ธระณีมีราชา

ชื่อพระไชยสุริยา

ชื่อว่าสุมาลี

ข้าเฝ้าเหล่าเสนา

พ่อค้ามาแต่ไกล

ไพร่ฟ้าประชาชี

ทำไร่เขาไถนา

อยู่มาหมู่ข้าเฝ้า

ที่หน้าตาดีดี

ค่ำเช้าเฝ้าสีซอ

หาได้ให้ภะริยา

ไม่จำคำพระเจ้า

ถือดีมีข้าไท

คะดีที่มีคู่

ใครเอาเข้าปลามา

ที่แพ้แก้ชะนะ

ขี้ฉ้อก็ได้ดี

ที่ซื่อถือพระเจ้า

ผู้เฒ่าเหล่าเมธา

ภิก์ษุสะมะณะ

คาถาว่าลำนำ

ไม่จำคำผู้ใหญ่

ที่ดีมีอะโข

พาราสาวะถี

ดุดื้อถือแต่ใจ

ผู้ที่มีฝีมือ

ไล่คว้าผ้าที่คอ

ข้าเฝ้าเหล่าเสนา

ถือน้ำร่ำเข้าไป

หาได้ใครหาเอา

ผู้ที่มีอาญา

ฝีป่ามากระทำ

น้ำป่าเข้าธานี

ข้าเฝ้าเหล่าเสนา

ชีบาล่าลี้ไป



พระศรีไตรสะระณา

เทวะดาในราษี

เข้ามาต่อ ก กา มี

ดีมิดีอย่าตรีชา

พอล่อใจกุมารา

เจ้าพาราสาวะถี

มีสุดามะเหษี

อยู่บูรีไม่มีไภย

มีกิริยาอะฌาศัย

ได้อาศัยในพารา

เชาบุรีก็ปรีดา

ได้เข้าปลาแลสาลี

ก็หาเยาวะนารี

ทำมะโหรีที่เคหา

เข้าแต่หอฬ่อกามา

โลโภพาให้บ้าใจ

เหไปเข้าภาษาไสย

ฉ้อแต่ไพร่ใส่ขื่อคา

คือไก่หมูเจ้าสุภา

ให้สุภาก็ว่าดี

ไม่ถือพระประเวณี

ไล่ด่าตีมีอาญา

ว่าโง่เง่าเต่าปูปลา

ว่าใบ้บ้าสาระยำ

เล่าก็ละพระสะธำม์

ไปเร่ร่ำทำเฉโก

ศีรษะไม้ใจโยโส

ข้าขอโมทะนาไป

ใครไม่มีปรานีใคร

ที่ใคร่ได้ใส่เอาพอ

ทำดถดื้อไม่ซื้อขอ

อะไรฬ่อก็เอาไป

มิได้ว่าหมู่ข้าไทย์

แต่น้ำใจไม่นำพา

ไพร่ฟ้าเศร้าเปล่าอุรา

ไล่ตีด่าไม่ปราณี

มระณะกำม์เชาบุรี

ก็ไม่มีที่อาศัย

หนีไปหาพาราไกล

ไม่มีใครในธานี



(ฉบัง๑๖)

๏ พระไชยสุริยาภูมี

มาที่ในลำสำเภา

เข้าปลาหาไปไม่เบา

ก็เอาไปในเภตรา

เถ้าแกเชาแม่แซ่มา

ก็มาในลำสำเภา

ตีม้าฬ่อฉ้อใบใส่เสา

สำเภาก็ใช้ใบไป

เภตรามาในน้ำไหล

ที่ในมหาวารี

พระสุธาอาศัยไม่มี

อยู่ที่พระแกลแลดู

ปลากะโห้โลมาราหู

มีอยู่ในน้ำคล่ำไป

ราชาว้าเหว่หฤไทย

มาในทะเลเอกา

แลไปไม่ปะพะสุธา

โพล้เพล้เวลาราตรี

ราชาว่าแก่เสนี

วารีนี้เท่าใดนา

ข้าเฝ้าเล่าแก่ราชา

วารีนี้ไซร้ใหญ่โต

ไหลมาแต่ในคโค

มะโหฬาล้ำน้ำไหล

บาฬีมิได้แก้ไข

ผู้ใหญ่ผู้เฒ่าเล่ามา

ว่ามีพระยาสกุณา

กายาเท่าเขาคีรี

ชื่อว่าพระยาสำภาที

วารีนี้โตเท่าใด

โยโสโผผาถาไป

จะใกล้โพล้เพล้เวลา

แลไปไม่ปะพะสุธา

ชีวาก็จะประไลย

พอปลามาในน้ำไหล

อาศัยที่ศีรษะปลา

ฉะแง้แลไปไกลตา

ว่าขอษะมาอไภย

วารีที่เราจะไป

ข้าไหว้จะขอมรคา

ปลาว่าข้าเจ้าเยาวภา

อาศัยอยู่ต่อธระณี

สะกุณาอาลัยชีวี

สู่ที่ภูผาอาศัย

ข้าเฝ้าเล่าแก่ภูวไนย

ฤไทยว้าเหว่เอกา

จำไปในทะเลวรา

เภตราก็เหเซไป

ลมก็เกเอาเสาใบ

น้ำไหลเข้าลำสำเภา

ผีน้ำซ้ำไต่ใบเสา

สำเภาระยำคว่ำไป

ราชาคว้ามืออรไทย

ต่อไว้ไม่ไกลกายา

เถ้าแก่เชาแม่เสนา

จระเข้เหราคร่าไป

ราชานารีร่ำไร

จำไปพอปะพะสุธา

มีไม้ไทรใหญ่ใบหนา

เวลาพอค่ำร่ำไร ฯ




พาพระมะเหษี

นารีที่เยาว์

เสนีเสนา

วายุพายุเพลา

ค่ำเช้าเปล่าใจ

ราชานารี

เหราปลาทู

วายุพาคลาไคล

เปล่าใจไนยนา

ใครรู้คะดี

ว่าพระมหา

แผ่ไปใหญ่โต

ข้าพระเจ้าเข้าใจ

ใหญ่โตมะโหฬา

ใคร่รู้คะดี

พอพระสุริไส

ย่อท้อรอรา

สะกุณาถาไป

จำของ้อปลา

ใกล้ฤาว่าไกล

มิได้ไปมา

ลาปลาจระลี

พระเจ้าเข้าใจ

พยุใหญ่มา

ทะลุปรุไป

เจ้ากำม์ซ้ำเอา

เอาผ้าสะไบ

น้ำเข้าหูตา

มีกำม์จำใจ

เข้าไปไสยยา




 














แม่ กน

(สุรางคนางค์๒๘)


เอ็นดูภูธร

เฝ้าอยู่ดูแล

ภูธรสอนมนต์

เห็นสิ้นดินฟ้า

สาระพรรณ์จันอิน

ปู่เจ้าเขาเขิน

เช้าตรู่สุริยน


๏ ขึ้นใหม่ในกน

มานอนในไพร

๏ ส่วนสุมาลี

เหมือนแก่ก่อนกาล

๏ พระชวนนวนนอน

ให้บ่นภาวนา

๏ วันนั้นจันทร

ในป่าท่าธาร

๏ เย็นฉ่ำน้ำฟ้า

รื่นกลิ่นเกสร

๏ จันทราคลาเคลื่อน

กู่เกริ่นหากัน

๏ พระฟื้นตื่นนอน

ขึ้นพ้นเมรุไกร


ก กาว่าปน

มณฑลต้นไทร

วันทาสามี

ให้พระภูบาล

เข็ญใจไม้ขอน

เย็นค่ำร่ำว่า

มีดารากร

มาลีคลี่บาน

ชื่นชะผะกา

แตนต่อคล้อร่อน

กระเวนไพรไก่เถื่อน

สินธุพุลั่น

ไกลพระนคร

มีกำม์จำไป


ระคนกันไป

แทนไพชยนต์สฐาน

เทวีอยู่งาน

สำราญวิญญา

เหมือนหมอนแม่นา

กันป่าไกยพาล

เป็นบริวาร

ใบก้านอรชร

วายุพาขจร

ว้าว่อนเวียนระวัน

เตือนเพื่อนขานขัน

ครื้นครั่นหวั่นไหว

สะท้อนถอนฤไทย

ในป่าอารัญฯ



 

 












แม่ กง

(ฉบัง๑๖)



๏ ขึ้นกงจงจำสำคัญ

รำพรรณ์มิ่งไม้ในดง

๏ ไกรกร่างยางยูงสูงระหง

คันทรงส่งกลิ่นฝิ่นฝาง

๏ มะม่วงพลวงพลองช้องนาง

กินพลางเดินพลางหว่างเนิน

๏ เห็นกวางย่างเยื้องชำเลืองเดิน

พระแสงสำอางข้างเคียง

๏ เขาสูงฝูงหงษ์ลงเรียง

สำเนียงน่าฟังวังเวง

๏ กลางไพรไก่ขันบันเลง

ซอเจ้งจำเรียงเวียงวัง

๏ ยูงทองร้องกระโต้งโห่งดัง

แตรสังข์กังสะดาลขานเสียง

๏ กะลิงกะลางนางนวลนอนเรียง

แอ่นเอี้ยงอีโก้งโทงเทง

๏ ค้อนทองเสียงร้องป๋องเป๋ง

อีเก้งเริงร้องลองเชิง

๏ ฝูงละมั่งฝังดินกินเพลิง

ยืนเบิ่งบึ้งหน้าตาโพลง

๏ ป่าสูงยูงยางช้างโขลง

โยงกันเล่นน้ำคล่ำไปฯ




ทั้งกนปนกัน

ตลิงปลิงปริงประยง

หล่นเกลื่อนเถื่อนทาง

เหมือนอย่างนางเชิญ

เริงร้องซ้องเสียง

ฟังเสียงเพียงเพลง

เพียงฆ้องกลองระฆัง

พระยาลอคลอเคียง

เพลินฟังวังเวง

คางแข็งแรงเริง

อึงคะนึงผึงโผง




 

 












แม่ กก

(ยานี๑๑)

๏ ขึ้นกกตกทุกข์ยาก

มันเผือกเลือกเผาไฟ

รอนรอนอ่อนอษฎงค์

ช่วงดังน้ำครั่งแดง

ลิงค่างครางโครกครอก

ชะนีวิเวกวอน

ลูกนกยกปีกป้อง

แม่นกปกปีกเคียง

ภูธรนอนเนินเขา

ตกยากจากศฤงคาร

ยากเย็นเห็นหน้าเจ้า

อยู่วังดังจันทรา

เพื่อนทุกข์ศุขโศกเศร้า

มิ่งขวัญอย่างรัญจวน

ชวนชื่นกลืนกล้ำกลิ่น

คลึงเคล้าเย้ายวนยี


แสนลำบากจากเวียงไชย

กินผลไม้ได้เป็นแรง

พระสุริยงเย็นยอแสง

แฝงเมฆเขาเงาเมรุธร

ฝูงจิ้งจอกออกเห่าหอน

นกหกร่อนนอนรังเรียง

อ้าปากร้องซ้องแซ่เสียง

เลี้ยงลูกอ่อนป้อนอาหาร

เคียงคลึงเคล้าเยาวมาลย์

สงสารน้องหมองภักตรา

สร่างโศกเศร้าเจ้าพี่อา

มาหม่นหมองลอองนวล

จะรักเจ้าเฝ้าสงวน

นวลภักตรน้องจะหมองศรี

มิรู้สิ้นกลิ่นมาลี

ที่ทุกข์ร้อนหย่อนเย็นทรวงฯ



 
 












แม่ กด

(ยานี๑๑)

๏ ขึ้นกดบทอัศจรรย์

นกหกตกรังรวง

แดนดินถิ่นมนุษย์

ตึกกว้านบ้านเรือนโรง

บ้านช่องคลองเล็กใหญ่

ปลุกเพื่อนเตือนตะโกน

พิณพาทย์ระนาดฆ้อง

ระฆังดังวังเวง

ขุนนางต่างลุกวิ่ง

พันละวันดันตึงตัง

พระสงฆ์ลงจากกุฎิ

หลวงชีหนีหลวงเถร

พวกวัดพลัดเข้าบ้าน

ต้นไม้ไกวเอนโอน

พวกผีที่ปั้นลูก

ขิกขิกระริกกัน

สององค์ทรงสังวาส

ตื่นนอนอ่อนอกใจ


เสียงครื้นครั่นชั้นเขาหลวง

สัตว์ทั้งปวงง่วงงุนโงง

เสียงดังดุจเพลิงโพลง

โคลงคลอนเคลื่อนขะเยื่อนโยน

บ้างตื่นไฟตกใจโจน

ลุกโลดโผนโดนกันเอง

ตะโพนกลองร้องเป็นเพลง

โหง่งหง่างเหง่งเก่งก่างดัง

ท่านผู้หญิงวิ่งยุดหลัง

พลั้งพลัดตกหกคะเมน

วิ่งอุดตลุดฉุดมือเณร

ลงโคลนเลนเผ่นผาดโผน

ล้านต่อล้านซานเซโดน

ลิงค่างโจนโผนหกหัน

ติดจมูกลูกตาพลัน

ปั้นไม่ทันมันเดือดใจ

โลกธาตุหวาดหวั่นไหว

เดินไม่ได้ให้อาดูรฯ



 












แม่ กบ

(ยานี๑๑)

๏ ขึ้นกบจบแม่กด

ผาศุกรุกขมูล

ระงับหลับเนตรนิ่ง

เหมือนกับหลับสนิทนอน

บำเพ็ญเล็งเห็นจบ

สวรรค์ชั้นวิมาน

เข้าฌานนานนับเดือน

จำศีลกินวาตา

วันนั้นครั้นดินไหว

เล็งดูรู้คะดี

ประกอบชอบเป็นผิด

สามัญอันธพาล

ลูกศิษย์คิดล้างครู

ส่อเสียดเบียดเบียนกัน

โลภลาภบาปบ่คิด

อุระพะสุธา

บันดาสามัญสัตว์

ไตรยุคทุกขตะรัง


พระดาบศบูชากูณฑ์

ภูลสวัสดิ์สัถาวร

เอนองค์อิงพิงสิงฃร

สังวรศีลอภิญญาณ

พื้นพิภพจบจักระวาฬ

ท่านเห็นแจ้งแหล่งโลกา

ไม่ขะเยื่อนเคลื่อนกายา

เป็นผาศุกทุกเดือนปี

เกิดเหตุใหญ่ในปะถะพี

กาลกิณีสี่ประการ

กลับจริตผิดโบราณ

ผลาญคนซื่อถือสัตย์ธรรม์

ลูกไม่รู้คุณพ่อมัน

ลอบฆ่าฟันคือตัณหา

โจทย์จับผิดฤษยา

ป่วนเป็นบ้าฟ้าบดบัง

เกิดวิบัตรปัติปาปัง

สังวัจฉะระอะวะสานฯ



 












แม่ กม

(ฉบัง๑๖)

๏ ขึ้นกมสมเด็จจอมอารย์

ผู้ผ่านภาราสาวัดถี

ซื่อตรงหลงเล่ห์เสนี

บุรีจึงล่มจมไป

ประโยชน์จะโปรดภูวไนย์

เลื่อมใสสำเร็จเมตตา

เปล่งเสียงเพียงพิณอินทรา

คงมาวันหนึ่งถึงตน

เบียดเบียนเสียดส่อฉ้อฉล

ไปทนทุกข์นับกัปกัลป์

เมตตากรุณาสามัญ

เป็นสุขทุกวันหรรษา

สมบัติสัตว์มนุษย์ครุทธา

เทวาสมบัติชัชวาลย์

สุขเกษมเปรมปรีดิ์วิมาน

ศฤงฆารห้อมล้อมพร้อมเพรียง

กระจับปี่สีซอทอเสียง

สำเนียงนางฟ้าน่าฟัง

เดชพระกุศลหนหลัง

ได้ดังมุ่งมาดปรารถนา

จริงนะประสกสีกา

วันหน้าจะได้ไปสวรรค์

จบเทศเสร็จคำรำพรรณ์

ด้นดั้นเมฆาคลาไคลฯ


เอ็นดูภูบาล

กลอกกลับอัปรี

นิ่งนั่งตั้งใจ

บอกข้อมรณา

บาปกำม์นำตน

จะได้ไปสวรรค์

กลอกกลับอัปรา

อิ่มหนำสำราญ

ขับรำจำเรียง

สิ่งใดใจหวัง

สวดมนต์ภาวนา

พระองค์ทรงธรรม์




 












แม่ เกย

(ฉบัง๑๖)

๏ ขึ้นเกยเลยกล่าวท้าวไทย์

เลื่อมใสศรัทธากล้าหาญ

เห็นไภยในขันธสันดาน

สำราญสำเร็จเมตตา

สององค์ทรงหนังพยัคฆา

รักษาศีลถือฤาษี

เช้าค่ำทำกิจพิธี

เป็นที่บูชาถาวร

ปะถะพีเป็นที่บรรฐร

เหนือขอนเขนยเกยเศียร

ค่ำเช้าเอากราดกวาดเตียน

เรียนธรรมบำเพ็ญเคร่งครัน

สำเร็จเสร็จได้ไปสวรรค์

นานับกัปกัลป์พุทธันดร

กุมารการรุญสุนทร

เด็กอ่อนอันเยาว์เล่าเรียน

ก ข ก กา ว่าเวียน

อ่านเฃียนผสมกมเกย

ระวังตัวกลัวครูหนูเอ๋ย

กูเคยเข็ดหลาบขวาบเขวียว

หันหวดปวดแสบแปลบเสียว

อย่าเที่ยวเล่นหลงจงจำ

บอกไว้ให้ทราบบาปกรรม

แนะนำให้เจ้าเอาบุญ

เดชะพระมหาการุญ

แบ่งบุญให้เราเจ้าเอยฯ


ฟังธรรมน้ำใจ


ตัดห่วงบ่วงมาร


จัดจีบกลีบชะฎา


กองกูณฑ์อัคคี


เอนองค์ลงนอน


เหนื่อยยากพากเพียร


เสวยสุขทุกวัน


ไว้หวังสั่งสอน


หนูน้อยค่อยเพียร


ไม้เรียวเจียวเหวย


หยิกซ้ำช้ำเฃียว


เรียงเรียบเทียบทำ


ใครเห็นเป็นคุณ







 

Create Date : 22 พฤศจิกายน 2552    
Last Update : 22 พฤศจิกายน 2552 14:10:22 น.
Counter : 495 Pageviews.  


jeab_joice
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




"..กาแฟดำใส่น้ำเย็น.."
: Users Online รวมทั้งหมด คน
Friends' blogs
[Add jeab_joice's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.