Group Blog |
การสวนปัสสาวะ ป้องกันการติดเชื้อ ตอนที่ 3
หลายๆ คน ที่ลูก หลานเป็นเกี่ยวกับโรคนี้ ปัญหาที่พบคือ ระบบขับถ่ายมีปัญหา โดยเฉพาะ การติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะเป็นประจำ หรือ เรียกอีกอย่างว่ากระเพาะปัสสาวะอักเสบ แล้วมันเป็นอย่างไรละ อันตรายมากน้อยขนาดไหน ขนาดคนปกติ ยังมีโอกาสติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะเลย ไม่ว่าเด็ก หรือ ผู้ใหญ่ ถ้าอั้นปัสสาวะบ่อยๆ ก็มีโอกาสติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะได้ทุกคน
แต่ลูกเราไม่ต้องถึงกับอั้นปัสสาวะหรอก ปล่อยไว้นานๆ ก็ติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะแล้ว สาเหตุเนื่องจากระบบประสาทในการทำงานมันผิดปกติ การขับปัสสาวะออกจากกระเพาะปัสสาวะ ทำได้ไม่สมบูรณ์พอ ทำให้มีการตกค้างอยู่ในกระเพาะปริมาณหนึ่ง นั่นละ เป็นอาหารอันโอชะ ของเชื้อโรคดีๆ นีเอง อาการที่พบว่ามีการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะเกิดขึ้นคือ 1. เวลาปัสสาวะ จะมีอาการแสบ ร้อน ระคายเคืองขณะปัสสาวะ แต่ถ้าเป็นเด็กก็บอกยาก ต้องคอยสังเกตุเวลาเขาบ่น 2. ปวดปัสสาวะมาก แต่มีน้ำออกมาแค่นิดเดียว 3. ปัสสาวะมีสีขุ่น หรือมีตะกอน ออกมาด้วย แสดงถึงความผิดปกติ ซึ่งโดยทั่วไปจะใส ส่วนสีเหลืองไม่ถือว่าผิดปกติ เพราะเกิดจากปริมาณน้ำน้อยทำให้สีเข้ม ถ้าทานน้ำมากจะทำให้สีจางลง 4. มีไข้ขึ้นสูง โดยไม่ได้มีสาเหตุจากไข้หวัด หรือ โรคอื่นๆ ให้สันนิฐาน ก่อนเลย มีโอกาสติดเชื้อเข้าแล้ว พบหมอเท่านั้น เพราะการมีไข้ หมายถึงมีโอกาส ขึ้นไตได้ ปกติหมอจะเก็บปัสสาวะไปทำการตรวจเชื้อ โดยดูปริมาณเม็ดเลือดขาว ว่ามีมากกว่าปกติหรือไม่ ถ้ามีปริมาณมาก ก็เตรียมตัวรักษาได้เลย การรักษา ต้องทานยาปฎิชีวนะ โดยแพทย์เป็นคนสั่ง ต้องกินติดต่อกันสักระยะหนึ่ง แล้วตรวจเชื้อซ้ำ เพื่อความแน่ใจ ก่อนอื่น ขอแสดงรูประหว่าง กระเพาะปัสสาวะ ไต และ ท่อไต เพื่อความเข้าใจในลักษณะการทำงานดังนี้ ![]() แล้วไตทำงานอย่างไรละ เกี่ยวอะไรด้วย ตัวนี้คือพระเอกของเรื่องเลยละ ปกติไตจะค่อยๆเสื่อมทีละนิดอยู่แล้ว แต่ถ้าเสื่อมเร็ว หรือ ถึงขั้นไตวาย ก็เป็นอันจบกัน กลายเป็นโรคไตเข้ามาอีก ปกติ ไต รูปร่างคล้ายเมล็ดถั่ว ตั้งอยู่ทางด้านหลังของช่องท้องด้านซ้ายและขวาทำหน้าที่กรองของเสียออกจากเลือด โดยเป็นอวัยวะที่คอยควบคุมให้มีปริมาณเกลือแร่ในร่างกาย ให้มีปริมาณพอเหมาะ ของเหลวจากที่ต่าง ๆเมื่อไหลมายังท่อไต ภายในท่อไตจะมีการดูดซึมเอาน้ำและสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายกลับคืนสู่กระแสเลือด ส่วนของเสียก็จะถูกขับออกไปพร้อมปัสสาวะโดยขับออกมาเป็นน้ำปัสสาวะไหลไปตามท่อเล็กๆในไต โดยไปรวมกันที่กรวยไต จากนั้นก็ไหลผ่านท่อไตลงสู่กระเพาะปัสสาวะ เมื่อมีปัสสาวะมากจนผนังตึง ปลายประสาทบริเวณผนังจะส่งกระแสประสาทไปยังสมอง ให้สั่งการขับถ่ายปัสสาวะได้ ตรงนี้ละคือปัญหา เพราะเด็กที่เป็นโรคนี้ ระบบประสาทตรงนี้จะเสีย ทำให้ไม่สามารถสั่งประสาทให้บีบกระเพาะปัสสาวะได้ ![]() จากที่พบหมอเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ เบื้องต้นจะให้ใช้วิธีกดกระเพาะปัสสาวะให้ใหลออกมาให้หมด ก็ทดลองทำดูแล้วนะ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ มีการติดเชื้อซ้ำซาก จนพ่อ แม่ เคลียดไปตามๆกัน เหมือนคนโรคจิต ต้องคอยสังเกตุดูอยู่ตลอดเวลา จะกดแรง ก็กลัวเจ็บ ตำแหน่งการกดก็ไม่แน่ใจ 100 % สรุปวิธีนี้ไม่เหมาะสำหรับเรา วิธีต่อไปนี้ เป็นวิธีที่คิดว่าเหมาะสมสำหรับลูกเรามากที่สุดแล้ว แต่ในอนาคตก็ยังต้องมีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ตามความเหมาะสมต่อไป นั่นก็คือการใช้เครื่องมือช่วยในการสวนกระเพาะปัสสาวะ ไหนๆ มันก็ออกไม่หมดแล้ว เราก็เอาสายยาง ไปต่อท่อให้ออกมาทีเดียวเลย สิ่งสำคัญที่สุดในการทำตรงนี้ คือ "ความสะอาด" ทั้งเครื่องมือ และ ตัวเราเอง ซึ่งเป็นผู้ทำ จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ครั้งแรกๆ ก็วิตกกังวล เหมือนกัน กลัวจะใส่ผิดที่บ้าง กลัวลูกเจ็บบ้าง คิดไปต่างๆนานา แต่ด้วยความที่เป็นพ่อแม่ ถ้าเราไม่ทำ แล้ว ใครจะทำให้ลูกเรา เพราะมันเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันสำหรับเขาไปแล้ว มือ 1 ต้องยกให้แม่เขา เพราะเป็นคนที่ดูแลลูกคนนี้อยู่ตลอดเวลา มีความผูกพันธ์กันมาก ส่วนตัวเราเป็นมือสำรอง สำหรับกรณีติดขัด มือ 1 ไม่สามารถปฎิบัติหน้าที่ได้ ต่อไปนี้เป็นอุปกรณ์และเทคนิคการสวนปัสสาวะ ของลูกเรา ซึ่งคิดว่าเหมาะสมและทำมาถูกทางแล้ว แต่บางอย่างบางท่านอาจจะทำไม่เหมือนกัน หรือ มีวิธีที่ดีกว่า ก็ช่วยกันลงความเห็นไว้ได้ เพื่อเป็นแนวทางให้กับคนอื่นต่อไป การสวนปัสสาวะระหว่างผู้ชาย กับ ผู้หญิง วิธีการทำคิดว่าไม่น่าจะมีความแตกต่างกันมากนัก แต่ตำแหน่งของกระเพาะปัสสาวะ และ ลักษณะทางสรีระ ทำให้อาจจะมีความยากลำบากต่างกันบ้าง ทำไปสักพักก็จะเกิดความเคยชินเอง เริ่มจากการนอนก่อน จากที่ทำกับลูกมา การนอนราบกับพื้น แล้วสวนปัสสาวะ ประสิทธิภาพการไหลของปัสสาวะ สู้แบบนอนอยู่ที่สูงกว่าพื้นสักนิด แล้วใช้สายสวนให้ออกมาจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ โดยภาชนะรองรับ อยู่ต่ำกว่าระดับตัวจะดีที่สุด อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบด้วย 1. สายสวนปัสสาวะ มีหลายขนาด เป็นเบอร์ ยิ่งหมายเลขมาก ความใหญ่ของสายก็จะมากขึ้นด้วย ปกติของเราใช้เบอร์ 8 เพราะคิดว่าไม่ใหญ่จนเกินไป รูกระเพาะปัสสาวะเด็กค่อนข้างเล็ก แรกๆ หมอให้ใช้สายสวนลักษณะนี้ ![]() แต่อายุการใช้งาน ก็ต้องดูสักระยะ ส่วนมากจะสีซีด สายแข็ง ก็ต้องเปลี่ยน พอเปลี่ยนอีกครั้งเบอร์ 8 ซึ่งเป็นเบอร์เล็กที่ใช้อยู่ไม่มี หายากมาก ถ้าเบอร์ใหญ่กว่านี้ก็จะกลายเป็นใหญ่ไปมาก คิดว่าไม่เหมาะกับลูกเรา หมอเลยแนะนำอีกประเภท เป็นพลาสติก ใส น่าจะเป็นสายยางให้อาหาร ซึ่งเราใช้แบบนี้แล้วถูกใจ ราคาก็ไม่แพง เปลี่ยนบ่อยดีกว่า และ รักษาความสะอาดได้ง่าย ปัญหาคือเบอร์ 8 ที่ซื้อมา มันยาวเกิน ก็ตัดปลายทิ้งสักครึ่งนึงสิ ก็ใช้งานได้แล้ว ![]() การใช้งานทุกครั้งจะต้องสบัดให้น้ำหรือสิ่งที่เรามองไม่เห็นในสาย ออกมาก่อนนำไปใช้งาน ถ้าสีของสายหม่น หรือ แข็ง ควรเปลี่ยนได้เลย 2. เจลหล่อลื่น สำหรับหล่อลื่นตรงปลายที่จะใส่เข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ เพื่อให้ลดการระคายเคือง และ ลดการเสียดสี วิธีการคือครั้งแรก ป้ายเจลทิ้ง ก่อน ให้ใช้เจลที่ป้ายอันที่ 2 เพราะส่วนแรกอาจมีเชื้อโรคปนเปื้อนอยู่ได้ อันนี้หมอแนะนำ ยอมทิ้งดีกว่าทำให้มีโอกาสติดเชื้อ โดยบีบลงในภาชนะที่สะอาด ![]() หลังจากซื้อมากแล้ว ได้อ่านฉลากข้างกล่อง ที่ใช้คือ เจล KY ใช้หล่อลื่น เพิ่งรู้ ไม่เคยรู้มาก่อน ใครมีอยู่หรือใช้ประจำลองอ่านข้างกล่องดู 3. ตามหลักอนามัย จะต้องมีถุงมือยาง เพื่อทำให้ปลอดเชื้อ ซึ่งผมคิดมันก็ดีนะ แต่ปัญหาคือ ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง คิดดู ใน 1 วันทำ 5 ครั้ง ต้องทำทุกวัน จะเป็นเงินเท่าไรเฉพาะถุงมือยาง แถมคุยกับหมอก็ไม่เห็นจะจำเป็นขนาดนั้น สิ่งสำคัญคือ ก่อนทำอะไรจะต้องล้างมือให้สะอาด หลังจากล้างแล้วไม่ควรไปจับอย่างอื่น นอกจากการบีบเจล และ ใช้งานสายสวนปัสสาวะ 4. น้ำยาฆ่าเชื้อ และ ภาชนะใส่ปิดฝา ใช้สำหรับแช่สายสวน เนื่องจากน้ำยามาแบบเข้มข้น จึงต้องมีการผสมกับน้ำตามอัตราส่วน และก่อนใช้งานสายสวน จะต้องแช่ไว้ไม่ต่ำกว่า 5 นาที โดยส่วนหัวที่ใช้สวนเข้ากระเพาะปัสสาวะจะต้องจมอยู่ในน้ำยาฆ่าเชื้อตลอดเวลา หลังจากเอามาใช้จะต้องสะบัดให้ภายในไม่มีน้ำยาหลงเหลืออยู่ ![]() 5. แผ่นรองพื้น และ สำลี ผมเห็นว่าสะดวกดี ใช้งานมาตั้งแต่เล็กๆ ของ babypad เป็นแผ่นรองขนาดเล็กไม่ใหญ่จนเกินไป 1 ถุงมีจำนวน 20 ชิ้น รองกันเปียกน้ำ ใช้งานร่วมกับสำลี ชุบน้ำต้มสุก ปิดฝากันเชื้อโรค และ ใช้สำหรับเผื่อการเดินทางด้วย สำลีใช้เช็ดทำความสะอาดก่อนการสวนปัสสาวะ ทุกครั้ง โดยเช็ดจากบนลงล่าง ห้ามเช็ดย้อนกลับ ![]() 6. กระติกน้ำร้อน สำหรับล้างภาชนะที่ใช้รองปัสสาวะ เชื้อโรคไม่ตายให้มันรู้ไปโดนน้ำร้อนลวกขนาดนี้แล้ว อันนี้คิดเองนะ หมอไม่ได้แนะนำ หลังจากล้างแล้ว ใช้เจลหล่อลื่น หยอดใส่ แล้วเอาสายสวนถูเพื่อให้เจลเกาะบริเวณหัวสายสวน แล้วนำไปใช้งานได้เลย ![]() 7. ภาชนะรองรับปัสสาวะ ควรใช้สแตนเลส เพราะล้างด้วยน้ำร้อน และ ป้องกันการเป็นสนิมได้ อีกทั้งหลังจากใช้งานเสร็จ ควรล้างทำความสะอาด และผึ่งให้แห้ง ![]() 8. อันนี้ไม่เกี่ยวกับเรื่องการสวนปัสสาวะ แต่คิดว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเด็กๆ มหาหิงค์ สำหรับบางครั้งท้องอืด ปวดท้อง ไล่ลม เพราะการขับถ่ายของเขามีความผิดปกติอยู่แล้ว บางครั้งมักเกิดอาการพวกนี้ และ ยาทาแก้คัน ยี่ห้อนี้เสียดายมากตอนนี้เห็นว่าเลิกผลิตแล้ว แต่ใช้ทาแก้คัน ผื่น เม็ดคัน ต่างๆได้ดีมาก ![]() สิ่งสำคัญสุด จากที่พบมาคือ การที่จะทำไม่ให้เขาติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ คือ การทำให้เขาถ่ายทุกวัน รับประทานผัก ผลไม้ ช่วยในการขับถ่าย และ ออกกำลังกาย เพื่อให้ลำใส้มีการขยับ บีบตัว ช่วยได้มากครับ แล้วอุปกรณ์หลายชิ้นขนาดนี้ การเดินทางไปไหนมาไหน ก็ลำบากสิ ไม่จริงเลยครับ หากล่องพลาสติกมีฝา จัดชุดให้เรียบร้อย ไปไหนสบายมาก ถึงเวลาการสวนปัสสาวะ ก็หาที่เหมาะ คนไม่พลุกพล่าน หรือถ้าไปรถส่วนตัวก็ทำมันบนรถนั่นละ สวนปัสสาวะ ไม่ถึง 5 นาทีก็เรียบร้อยแล้ว แต่อย่าลืมล้างมือ และ ทำความสะอาดให้เรียบร้อย ลูกผมไม่ติดเชื้ออีกเลยครับ ![]() การล้างภาชนะก็มีความสำคัญ หลังจากรองปัสสาวะแล้ว ให้ล้างด้วยน้ำเปล่าให้สะอาด พร้อมทั้งสายสวน แล้วเทน้ำใส่ให้เต็ม เอาสายสวนจุ่มปลายด้านหนึ่ง อีกด้านทำให้น้ำไหลออก เพื่อให้น้ำล้างภายในสายสวนให้สะอาดด้วย ทำการสะบัดสายสวน และ ผึ่งลมให้เรียบร้อย ครั้งต่อไปก็สามารถน้ำมาใช้งานได้อีก ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ผมและภรรยา ปฎิบัติกับลูก มาได้ระยะเวลาหนึ่ง และ ห่างหายจากการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ มาได้ไม่ต่ำกว่า 1 ปี ซึ่งหวังว่าจะมีประโยชน์กับท่านอื่นๆ ที่พบปัญหาการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะอยู่เป็นประจำกับลูกของท่าน เพิ่มเติมรูปเกี่ยวกับลักษณะการสวนปัสสาวะอีกนิด รูปอันนี้เอามาจากใน Web อื่น แต่คิดว่าลักษณะทางกายภาพ และ วิธีน่าจะเหมือนกัน เผื่อคนที่ยังไม่เคยทำ ดูพอเป็น Idea ไว้ อันนี้เป็นตำแหน่งของช่องปัสสาวะ ที่วงกลมสีแดงไว้ ส่วนด้านล่างเป็นตำแหน่งของช่องคลอด ซึ่งเล็กมากดังนั้น สวนให้ถูกช่อง ช่วงใหม่ๆ ทำไมใส่สายสวนไปแล้ว น้ำไม่ไหลหว่า อ้าวผิดรูนี่เอง ![]() วิธีการใส่สายสวนเข้าไปยังช่องปัสสาวะ สำหรับผู้หญิง ![]() ส่วนของผู้ชาย ก็ใช้แบบนี้ ![]() หลังจากใส่สายแล้ว ตำแหน่งของเด็กผู้หญิง กับ เด็กผู้ชาย ความยาวของสายจะไม่เท่ากัน โดยเด็กผู้หญิง ตำแหน่งจะสั้นกว่า ดังนั้นการสวนก็จะง่ายกว่าด้วยเช่นกัน ![]() อุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับ Spina Bifida ตอนที่ 2
หลังจากเล่าเรื่องราว ประสบการณ์ที่พบกับโรคของลูกตัวเอง ทำให้เราต้องคิดว่าจะทำอย่างไร ให้เขาสามารถดำรงมีชีวิตอยู่ได้อย่างคนปกติมากที่สุด
ช่วยตัวเองได้มากที่สุด ถึงแม้จะไม่เหมือนกับคนทั่วไป แต่อย่างน้อยก็ไม่สร้างกำแพงปิดกั้นความสามารถของเขา ซึ่งอาจทำให้เป็นปมด้อยให้กับเขา ในอนาคต โดยพ่อ แม่ และคนรอบข้าง จะคอยเป็นกำลังใจ และที่ปรึกษาให้ อย่างใกล้ชิด การเป็นโรคประเภทนี้ ผมรู้สึกว่าอย่างน้อยก็ยังมีความโชคดี อยู่บ้าง ในความโชคร้าย โดยเราต้องพยายามทำให้เขาสามารถเดินให้ได้ และสิ่งนั้นก็เป็นสิ่งปราถนาอันนึงที่สมหวัง ไม่ว่าต้องใช้อุปกรณ์บางอย่างช่วยเหลือก็ตาม เพื่อเป็นแหล่งรวมกลุ่มของคนเป็นโรคประเภทนี้ ขอแสดงตัวอย่างอุปกรณ์ที่ใช้งานอยู่ เผื่อพ่อ แม่ ท่านใด มี Idea สามารถนำสิ่งเหล่านี้ไปต่อยอดให้เกิดประโยชน์ได้สูงสุด ก็ขออนุโมทนาด้วยคน ตัวอย่างของอุปกรณ์ที่เป็นพลาสติกหุ้มขา ซึ่งจะเบากว่ารองเท้าหนัง ซึ่งจะทำให้เด็กที่ฝึกใส่รองเท้าประเภทนี้อยากเดินมากขึ้น อาจจะไม่ได้เป็นสิ่งที่ดีที่สุด แต่ก็เป็นสิ่งที่เราพยายามหามา ทั้งจากการปรึกษาผู้รู้ และ ผู้ที่รักษาโรคประเภทนี้อยู่ อันนี้เป็นรองเท้าพลาสติก คู่แรกๆ ที่ใช้หัดเดิน เอามาเป็นตัวอย่างให้ดูเผื่อท่านใดมี Idea ทำให้มันดีขึ้น องศาของการปรับปลายเท้าจะต้องไม่ราบเรียบ เพื่อช่วยในการดัดขาด้วย ![]() ส่วนคู่นี้เป็นคู่ที่เท่าไร จำไม่ค่อยได้ เนื่องจากเด็กช่วงนี้จะโตเร็ว รองเท้าที่ตัดตอนแรกให้พอดีกับข้อพับบริเวณเข่า เพราะขาช่วงล่างเขาไม่แข็งแรง เดินแล้วจะล้มตลอด ต้องมีอุปกรณ์ที่พยุงขาให้แข็งแรงขึ้น แต่คู่นี้ใช้งานไม่ได้ เพราะใส่แล้วทำให้ข้อพับเป็นแผล และ วัสดุที่ใช้บางไปนิด ไม่แข็งแรงพอและข้อเท้าไม่เข้ารูปทรงตามสรีระของผู้ใส่ จึงใช้งานไม่ได้ เสียดายจัง ![]() ส่วนคู่นี้ ใช้นานหน่อย คุ้มค่ามาก แถมยังใช้งานตอนเรียนอยู่อนุบาล1 ด้วย ซึ่งก็ช่วยให้เขาเล่นกับเพื่อนได้ ห้สามารถเดินได้ดีขึ้นมาก แต่ระยะหลังคลุมเขาไม่อยู่ เพราะเด็กตัวยาวขึ้นจึงต้องเปลี่ยนใหม่ ![]() รองเท้าพลาสติกทั้งหมด ถ้าไม่ได้คู่นี้ช่วย ก็ไม่สามารถเดินได้อยู่ดี แต่รองเท้านี้ก็ยังไม่ดีเท่าที่ควร เพราะเป็นรองเท้าที่ใช้กับเด็กทั่วไป โดยต้องการให้พื้นไม่หนามาก แต่ต้องการความหนืดในการจับกับพื้นกันลื่นล้ม เท่าที่หาได้ในช่วงแรกก็ถือว่าดีมากแล้ว ![]() อีกคู่ที่ใช้ในการฝึกทางกายภาพ ที่ยาวขึ้นมาอีก เพื่อล๊อกขาให้เดินไม่แกว่งระหว่างการฝึกซ้อมให้เดินได้ดียิ่งขึ้น ขาตรง มีสีสดใส ข้างในบุด้วยวัสดุกันไม่ให้ขูดกับผิวหนังซึ่งทำให้เกิดแผล ช่วงแรกก็เดินเหมือนหุ่นยนต์ แต่พอชินก็จะดีขึ้น แต่ไม่เหมาะที่จะใส่ตลอดเวลา เพราะต้องระวังเรื่องการกดทับด้วย ![]() อันนี้เป็นรองเท้าที่สั่งตัดครับ รองเท้าหน้าจะหน้ากว้างกว่ารองเท้าปกติ เบากว่า เพื่อให้สามารถใส่รองเท้าพลาสติกที่มีอยู่ได้เป็นอย่างดี ![]() เปรียบเทียบให้ดูระหว่างรองเท้าที่ซื้อทั่วไป สามารถใช้งานได้แก้ขัด แต่ยังไม่ดีพอ สู้รองเท้าที่สั่งตัดไม่ได้ แต่ราคาแพงกว่า ![]() รองเท้าพลาสติกคู่ปัจจุบันที่ใส่อยู่ แต่ก็ยังไม่พอดี ต้องมีการแก้ไข เนื่องจากเดินยังไม่ดีเท่าที่ควร เพราะหลวมเกินไปต้องแก้ไขใหม่ ![]() รองเท้าที่ได้มาอีกคู่ตอนเด็กกำลังหัดเดิน แต่เป็นรองเท้าหนัง หนักมากโดยส่วนตัวแล้ว สำหรับเด็กๆ ถ้าใส่คู้นี้รับรอง นั่งอยู่กับที่ ไม่ไปไหนทั้งนั้น แต่โตขึ้นอาจจะเหมาะก็ได้ คงต้องดูเป็นระยะๆ ไป ![]() เวลาใส่เดิน ดูจากด้านหน้า แต่คู่นี้ยังไม่ดีพอต้องมีการแก้ไข ![]() แอบถ่ายด้านหลัง กำลังเล่นคอมพิวเตอร์อยู่ ![]() จากทั้งหมดนี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของความพยายาม เผื่อมีเพื่อนๆ ท่านใด มีความรู้ เป็นวิทยาทาน ช่วยกันเสนอแนะ และเป็นตัวอย่างสำหรับพ่อ แม่ หลายท่าน ที่กำลังหาความรู้ หาสิ่งที่เหมาะสม กับลูกของตัวเองอยู่ ภาคต่อไป เกี่ยวกับวิธีการสวนปัสสาวะสำหรับพ่อแม่ มือใหม่ //www.bloggang.com/viewblog.php?id=goodluckthailand&date=02-04-2010&group=4&gblog=3 โรคที่คนไม่รู้จัก Spina Bifida ตอนที่ 1
"Spina Bifida"
ก่อนอื่นขออุทิศเนื้อหาและรายละเอียดเกี่ยวกับโรค "Spina Bifida" ให้เป็นความรู้กับพ่อ แม่ ที่มีบุตร หลาน เป็นเกี่ยวกับโรคนี้ ซึ่งเป็นโรคที่คนไม่ค่อยรู้จัก ถ้าไม่ได้เป็นกับลูกของเราเอง คงไม่ได้ให้ความสนใจเท่าใดนัก แต่อย่างน้อย ก็ขอเป็นแหล่งความรู้ให้กับผู้ที่กำลังหาหนทางต่อสู้กับโรคร้ายนี้ ขอเป็นกำลังใจให้กับ พ่อ แม่ ให้มีความเข้มแข็งต่อไป ยังไงก็ลูกของเรา ทำบุญ ทำกรรม ร่วมกันมาแต่ชาติก่อน ก็ต้องดูแลกันต่อไปจนกว่าชีวิตจะหาไม่ ต้องทำให้ดีที่สุด คิดซะว่า ถ้าเราไม่ดูแลเขา แล้วเขาจะอยู่ได้อย่างไร อย่างน้อย ก็ต้องทำให้เขามีชีวิตที่สามารถอยู่ได้ ตราบเมื่อเราไม่ได้อยู่แล้ว และขอขอบคุณ นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง ที่ได้สร้าง Blog เกี่ยวกับโรคนี้เหมือนกัน จึงขออนุญาตินำบทความ และ รูปภาพ มาลงใน Blog นี้เพิ่มเติม เพื่อให้คนอื่นที่สนใจ ได้เห็นภาพมากขึ้น ขอพูดถึงโครงสร้างกระดูกสันหลัง ที่เกี่ยวกับโรคนี้ เพื่อความเข้าใจ กระดูกสันหลังนอกจากเป็นโครงสร้างแข็งแรงที่ปกป้องแกนของไขสันหลังแล้ว ยังทำหน้าที่เป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อของหลัง และยังเชื่อมต่อกับกะโหลกศีรษะ (skull) กระดูกสะบัก (scapula) กระดูกเชิงกราน (pelvic bones) และกระดูกซี่โครง (ribs) อีกด้วย กระดูกสันหลังในคนปกติจะมี 33 ชิ้น ซึ่งจะจัดจำแนกตามตำแหน่งและรูปร่างลักษณะ ได้แก่ 1. กระดูกสันหลังส่วนคอ (Cervical vertebrae) ซึ่งมีจำนวน 7 ชิ้น อยู่ในช่วงลำคอ กระดูกสันหลังในส่วนนี้ทำหน้าที่เป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อและเอ็นที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของลำคอและศีรษะ 2. กระดูกสันหลังส่วนอก (Thoracic vertebrae) มีจำนวน 12 ชิ้น อยู่ในส่วนอก และมีลักษณะพิเศษคือจะมีจุดเชื่อมต่อสำหรับกระดูกซี่โครง ซึ่งเป็นโครงร่างสำคัญของช่องอก 3. กระดูกสันหลังส่วนบั้นเอว (Lumber vertebrae) มี 5 ชิ้น อยู่ในช่วงเอว และมีขนาดใหญ่เพื่อรองรับน้ำหนักของร่างกายท่อนบน และมีส่วนเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อที่เป็นผนังทางด้านหลังของช่องท้องอีกด้วย 4. กระดูกสันหลังส่วนกระเบนเหน็บ (Sacral vertebrae) ซึ่งเดิมมี 5 ชิ้น แต่จะเชื่อมรวมกันเป็นชิ้นเดียว และจะต่อกับกระดูกเชิงกราน (pelvic bone) โดยจะมีช่องเปิด (sacral foramina) เพื่อเป็นทางผ่านของเส้นประสาทที่ไปยังบริเวณเชิงกรานและขา 5. กระดูกสันหลังส่วนก้นกบ (Coccygeal vertebrae) ซึ่งอาจมี 3-4 ชิ้น ซึ่งจะเชื่อมกันเป็นกระดูกชิ้นเดียวเป็นกระดูกรูปสามเหลี่ยมที่ปลายด้านล่างสุด ![]() องค์ประกอบของกระดูกสันหลังหนึ่งชิ้น กระดูกสันหลังแต่ละชิ้น จะประกอบด้วยโครงสร้าง ช่องเปิดและแขนงของกระดูกที่ยื่นออกมาจากแนวกลาง ซึ่งได้แก่ 1. Vertebral body เป็นแกนกลางของกระดูกสันหลังและเป็นส่วนรองรับน้ำหนัก ส่วนนี้จะติดต่อกับกระดูกสันหลังถัดไปโดยหมอนรองกระดูกสันหลัง (intervertebral discs) และเอ็นต่างๆ ขนาดของ vertebral body ของกระดูกสันหลังส่วนล่างจะมากกว่าส่วนบน เนื่องจากต้องรองรับน้ำหนักมากกว่า 2. Vertebral arch เป็นส่วนที่ยื่นออกไปจากทางด้านหลังของ body และจะประกอบกันเป็นส่วนทางด้านข้างและด้านหลังของ ช่องกระดูกสันหลัง (vertebral foramen) ซึ่งภายในช่องนี้จะมีไขสันหลัง (spinal cord) วางตัวอยู่ แต่ละ vertebral arch จะประกอบด้วยสองส่วน คือ เพดิเซล (pedicels) ซึ่งต่อกับ vertebral body และ ลามินี (laminae) ซึ่งเป็นแผ่นของกระดูกที่ยื่นต่อจากเพดิเซล แล้วมาบรรจบกันที่แนวกลางของกระดูกสันหลัง 3. Spinous process เป็นส่วนที่ยื่นออกมาทางด้านหลังและชี้ลงทางด้านล่างของกระดูกสันหลัง และจะเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อและเอ็นต่างๆมากมาย 4. Transverse process เป็นส่วนที่ยื่นออกมาจากรอยต่อระหว่างเพดิเซลและลามินี และยื่นออกมาทางด้านข้างเยื้องไปทางด้านหลังเล็กน้อย และเป็นจุดต่อกับกระดูกซี่โครง ในกระดูกสันหลังส่วนอก Superior and inferior articular processes ยื่นออกมาจากรอยต่อระหว่างเพดิเซลและลามินีของกระดูกสันหลังแต่ละชิ้น ซึ่งจะเป็นจุดที่ต่อกันระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละชิ้นนอกจากที่บริเวณหมอนรองกระดูกสันหลัง ![]() "Spina Bifida" สไปนา ไบฟิดา (Spina bifida) เป็นความผิดปกติที่มักเป็นมาแต่กำเนิด ซึ่งเกิดขึ้นจากแนวโค้งของ vertebral arches ทั้งสองด้านไม่เชื่อมต่อกันระหว่างการเจริญในครรภ์ ซึ่งมักจะเป็นที่กระดูกสันหลังส่วนล่าง ผลคือทำให้ช่องภายในกระดูกสันหลังเปิดออกมา Spina bifida ที่พบโดยทั่วไปมีสองแบบ แบบที่พบได้บ่อยที่สุดคือแบบที่ไม่ร้ายแรง หรือ Spina bifida occulta โดยจะมีความผิดปกติที่ vertebral arches ของกระดูกสันหลังส่วนบั้นเอวชิ้นที่ 5 ถึงส่วนกระดูกสันหลังส่วนกระเบนเหน็บ ทั่วไปมักจะไม่มีอาการหรือความผิดปกติที่เด่นชัด หรืออาจมีแค่กระจุกของเส้นผมที่อยู่เหนือ spinous process ที่ผิดปกติเท่านั้น ส่วน Spina bifida ชนิดที่รุนแรงกว่าคือแบบที่มีความผิดปกติของแนวกระดูกสันหลังทางด้านหลังที่รอยต่อระหว่างกระดูกสันหลังส่วนบั้นเอวกับส่วนกระเบนเหน็บ ซึ่งจะทำให้มีถุงของ meninges ยื่นออกมาด้านนอก โดยในถุงนี้อาจมีน้ำเลี้ยงสมองและไขสันหลัง (cerebrospinal fluid) ซึ่งจะเรียกว่า เมนินโกซีล (meningocele) หรืออาจมีบางส่วนของไขสันหลังหลุดออกมาด้วย ซึ่งจะเรียกว่า ไมอีโลเมนินโกซีล (myelomeningocele) ซึ่งในกรณีนี้มักจะมีอาการความผิดปกติของระบบประสาทร่วมด้วย เช่นความผิดปกติในการเดิน หรือการควบคุมการปัสสาวะ ![]() จากรูป โรคนี้จะเห็นว่ากระดูกสันหลัง ด้านหลัง ซึ่งเป็นส่วนโค้งซ้าย-ขวาโตมาเชื่อมติดกันได้ไม่สนิท ทำให้เกิดช่องว่างทางด้านหลัง และช่องทางไหลของน้ำภายในไขสันหลัง (spinal canal) ปิดไม่สนิทด้วย ผลคือ อาจมีถุงน้ำ หรือไขสันหลังจากช่องไขสันหลังโตไปทางด้านหลัง เห็นเป็นถุงทางด้านหลังของเด็กเป็นเหมือนถุงน้ำ ![]() ปกติกระดูกสันหลังจะมีส่วนโค้งโตจากทางซ้าย-ขวา เชื่อมกันตรงกลาง ทำให้มีลักษณะคล้ายหลังคาโค้ง หรือสะพานโค้ง (ภาพตัดขวาง - ภาพบน), [ lucina ] ![]() ปกติกระดูกสันหลังจะมีส่วนโค้งโตจากทางซ้าย-ขวา เชื่อมกันตรงกลาง ทำให้มีลักษณะคล้ายหลังคาโค้ง หรือสะพานโค้ง (ภาพตัดขวาง - ภาพบน) ตามลักษณะด้านหลังของลำตัว จะเห็นว่าหายไป (A), เกิดเป็นถุงน้ำ (B), ถุงน้ำที่มีไขสันหลังภายใน (C), หรือที่แย่สุดๆ คือ ไขสันหลังโผล่ไปทางด้านหลังโดยบางส่วนไม่มีถุงหุ้ม (D) เนื่องจากลูกคนเล็กของเรา คลอดออกมาก็เป็นโรคนี้แล้ว โดยตอนคลอดออกมาจะมีเหมือนถุงน้ำอยู่ที่ด้านหลัง บริเวณก้นกบ ช่วงแรกเคลียดมาก ไม่เคยเจอมาก่อน แม่เขาก็ร้องให้อยู่หลายวัน ทำไมต้องเป็นกับลูกเราด้วย และได้คุยกับหมอ และ หาข้อมูลต่างๆ ซึ่งลูกของเราคิดว่าเป็นอยู่ในชนิดที่ร้ายแรง หมอต้องทำการผ่าตัดปิดส่วนที่ยื่นออกมาก เพราะปล่อยไว้อาจทำให้มีการติดเชื้อได้ และอีกอย่างส่วนนี้ มันคือกระดูกไขสันหลังด้วย ซึ่งมันขึ้นถึงสมอง หลังจากผ่าตัด เด็กต้องอยู่โรงพยาบาลเป็นเดือน น่าสงสารมาก เพราะต้องจับเขานอนตะแคงตลอด ไม่สามารถนอนหงายได้ ซึ่งจะไปกดทับแผล ทั้งเราและแม่เด็ก ต้องไปเฝ้าทุกวัน ผลข้างเคียงจากการผ่าตัดครั้งนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ทำให้มีแรงดันน้ำเลี้ยงสมองมากกว่าปกติ ซึ่งไม่ดีเลย จะต้องมีการวัดรอบศรีษะเป็นระยะ เพราะจะทำให้เด็กหัวโต และ ไปกดทับเนื้อสมอง ตามรูป ![]() ต้องทำการผ่าตัดอีกรอบ โดยทำสายยางลงมายังช่องท้อง เรียกว่า "Shunt" ซึ่งมีการเจาะ 2 ที่จากที่เห็นรอย คือบริเวณศรีษะ และ ช่องท้อง ซึ่งในอนาคต เมื่อเด็กโตขึ้น ทำให้สายที่ขดเอาไว้ ยาวไม่พอ ก็ต้องทำการผ่าอีกครั้ง แต่ปัญหาที่ต้องระวังระหว่างนี้คือ สายที่ทำ Shunt มีโอกาสอุดตันได้ หรือ ต้องระวังการติดเชื้อ การสังเกตุคือ ปวดหัว อาเจียร ประมาณนี้ อันนี้เป็นรูปเด็กจากการค้นหาใน Web ที่ไม่ได้รับการผ่าตัด ทำให้มีแรงดัน หัวจะโตมาก และทำให้เนื้อสมองลีบ และ แฟบลงเรื่อยๆ ![]() สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือ 1. ระบบปัสสาวะ มีปัญหาไม่สามารถปัสสาวะออกมาหมดได้ ควบคุมการปัสสาวะไม่ได้ ทำให้ปัสสาวะรินออกมาตลอดเวลา เนื่องจากมันจะเหมือนกันฝายน้ำล้นในกระเพาะปัสสาวะ เมื่อเต็มถ้าเป็นคนปกติ ก็จะมีความรู้สึกปวด และเบ่งออกมาได้ การปล่อยให้ปัสสาวะค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะนานๆ จะมีปัญหาคือติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ เพราะมันเป็นแหล่งอาหารชั้นดีของเชื้อโรคเลยทีเดียว ถ้าติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ การสังเกตุคือ ปัสสาวะสีขุ่น หรือเจ็บเวลาฉี่ รวมทั้งมีไข้ขึ้นสูงด้วย ซึ่งต้องพบหมอและกินยาฆ่าเชื้อ และต้องระวังเนื่องจากมีโอกาสขึ้นไตได้ จะกลายเป็นปัญหาใหญ่ขึ้นมาอีก การตรวจรักษา1.ต้องมีการฉีดสี เพื่อตรวจดูการไหลย้อนของปัสสาวะ เกี่ยวกับปัญหานี้ด้วย ทำโดยประมาณปีละครั้ง 2.กินยาลดแรงดันในกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งจะต้องกินกันตลอดชีวิต 3.การไปหาหมอเกี่ยวกับไม่สบายทุกครั้ง เพื่อความสบายใจ ควรมีการเก็บปัสสาวะไปตรวจปริมาณเม็ดเลือดขาว เพราะถ้ามีปริมาณมากแสดงว่ามีการติดเชื้อในกระเพาะปัสสวะได้ ทำยังไงจะเอาปัสสาวะออกให้หมด1. เริ่มแรกทีเดียว หมอแนะนำให้ใช้มือกดกระเพาะปัสสาวะ จะทำให้ฉี่ไหลออกมาก แต่วิธีนี้ทำแล้ว ไม่ได้ผล เพราะเราไม่รู้ตำแหน่งที่แน่นอน และ ไม่กล้ากดแรงมาก ลูกเจ็บ ทำให้มีการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะอยู่เป็นประจำ 2. เมื่อวิธีแรกไม่ได้ผล ทำยังไงดีล่ะ คุยกับหมอแล้วมีทางเลือกคือ ผ่าตัดเอาสายออกมาให้ปัสสาวะไหลออกเลย แต่เรายังรับไม่ได้เพราะมันจะไหลตลอดเวลา และไม่เป็นธรรมชาติ สงสารเด็กอยากจะให้ทำยังไงที่เป็นธรรมชาติมากที่สุด และจะต้องใส่ผ้าอ้อมตลอดเวลา แต่ในอนาคตก็อาจใช้วิธีนี้ก็ได้ถ้าเขาโตขึ้น 3. วิธีนี้เป็นวิธีที่เรา พ่อและแม่ เลือกสิ่งที่คิดว่าดีที่สุดให้ลูกคือ การสวนปัสสาวะด้วยสายยางสำหรับสวน แต่ต้องทำด้วยความสะอาด แรกๆ ก็กลัวว่าเขาจะเจ็บ เพราะช่องปัสสาวะมันเล็กมาก และหมอก็ทำให้ดูครั้งเดียว แต่ก็ต้องทำ พอทำไปสักพัก ทั้งคนทำและเด็กก็ชิน แต่ต้องล้างมือ สายสวนปัสสาวะต้องการแช่น้ำยาตลอดก่อนใช้งาน และ เจลหล่อลื่น เมื่อเราทำขนาดนี้แล้ว การติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะก็ลดลง แต่น่าสงสัยทำไมบางครั้งยังติดอยู่นะ ข้อสังเกตุ เคยไปว่ายน้ำอุ่นของโรงพยาบาล กลับทำให้ติดเชื้อ เพราะอะไร จริงๆแล้วคิดว่าน้ำอุ่นที่โรงพยาบาลมันไม่ได้สะอาดอะไรเลย กลับเป็นแหล่งเจริญเติบโตของเชื้อโรคด้วย เคล็ดลับที่พบโดยบังเอิญคือ เจ้าข้อต่อไปนี้นี่เอง 2. ระบบอุจจาระ เด็กที่เป็นโรคนี้ จะมีปัญหาทั้งปัสสาวะและอุจจาระ โดยบางครั้งเขารู้สึกปวดแต่ไม่มีระบบประสาทที่ทำให้เบ่งออกมาได้ โดยก้อนอุจจาระที่ออกมาจะเป็นเม็ดกลมๆ เหมือนอึกระต่าย แต่เห็นโคตร เนื่องจากลำไส้ เกี่ยวกับการดูดซึมไม่ค่อยดีด้วย เมื่อมันมีปัญหาตรงนี้ ทำให้เชื้อโรคที่อยู่บริเวณลำใส้ใหญ่ มีการเจริญเติบโต และอยู่ใกล้กระเพาะปัสสาวะ จึงทำให้เกิดการติดเชื้อขึ้นได้โดยง่าย เคล็ดลับอันนี้ ทำยังไงละให้เขาอึออกมาได้ทุกวัน ก็นี่เลย พยายามให้กินผัก ข้าวกล้อง มะละกอสุก และ อาหารที่เป็นกากมากๆ สุดท้าย ก็ต้องพึ่งน้ำลูกพรุน ช่วยในการขับถ่าย และสิ่งที่ต้องเตรียมไว้ ลูกสวนอุจจาระ สำหรับเด็ก ถ้ามันไม่ออกจริง ก็ต้องใช้วิธีนี้ ไม่ควรปล่อยไว้ไม่ให้ถ่ายเลย เกิน 3-4 วันก็มีโอกาสติดเชื้อแล้ว และจะทำให้เด็กปวดท้อง ท้องอืดด้วย กินอะไรก็ไม่ค่อยได้ จะอวกเอาอีก เดือดร้อนต้องไปหาหมอ หมอก็แนะนำประมาณนี้เหมือนกันสิ่งสุดท้าย คือการออกกำลัง ลูกเราให้เต้น พักเดียว ตกลงมาเป็นก้อนเลย เวลาลูกถ่าย พ่อแม่บางคนอาจไม่ชอบ แต่ครอบครัวเราจะมีความสุขมากเวลาเห็นลูกถ่ายออกมา 3. ระบบสุดท้าย ที่พบกับลูกตัวเอง คือ การเดิน ซึ่งมันเกิดจากการผ่าตัดปิดช่องกระดูกสันหลังที่มีถึงน้ำยื่นออกมาก ตำแหน่งตรงก้นกบ จะเป็นที่รวมของประสาทตั้งแต่ช่วงล่างลงมา และ อยู่ที่ตำแหน่งของการกระทบกระเทือน ซึ่งจะมีผลไม่เหมือนกัน ของลูกเรา ประสาทตั้งแต่เข่าลงมา เสียหาย ทำให้ควบคุมไม่ได้ ขาอ่อนแรง ตอนแรกก็เครียด นึกว่าลูกเราต้องนั่งรถเข็นตลอดไปแล้ว แต่จากการไปหลายที่ ส่วนนี้มีความสำคัญอยู่ที่การออกกำลัง จะต้องกายภาพตลอด และ ใช้อุปกรณ์ช่วยในการล๊อกขา ไม่ให้บิด หรือช่วยพยุงขา ประเภทรองเท้าบางอย่างที่สั่งตัดก็ไม่ดี น้ำหนักมากทำให้เด็กไม่อยากเดิน ต้องใช้เป็นประเภทพลาสติกแข็ง หล่อตามรูปเท้า เพื่อช่วยดัดขา ซึ่งจะต้องมีค่าใช้จ่ายสูงพอสมควร ตอนนี้ลูกเราสามารถเดินได้แล้ว ซึ่งเป็นความดีใจของพ่อแม่ แต่ก็ต้องใช้อุปกรณ์จากที่กล่าวมาช่วย แต่ในอนาคต ก็ต้องมีการผ่าตัดขาอีกหลายรอบ เพราะโรคนี้ ฝ่าเท้ามันจะไม่ตรงตามสรีระเหมือนคนปกติ ทำให้ฝ่าเท้าบิด ต้องมีการผ่าตัดดึงเอ็น โธ่ลูกเราเจ็บอีกแล้ว แต่ต้องรอให้กระดูกแข็งแรงกว่านี้ก่อน สิ่งสำคัญคือการดูแลเอาใจใส่ ต้องค่อยๆฝึก อย่าใจร้อน หาหนทางที่ดีที่สุดให้กับเขา อะไรมันจะเกิด ก็ให้มันเกิดไปเถิด เราทำให้ดีที่สุดแล้ว และอย่าลืมพาเขาไปทำบุญบ่อยๆด้วย เจ้ากรรมนายเวร จะได้ลดลงบ้างสุดท้ายนี้ ขอเป็นกำลังใจให้กับ พ่อแม่ ที่มีลักษณะอาการเหมือนลูกเรา และ หาวิธีแก้ไข บางอย่างเป็นเส้นผมบังภูเขา นึกไม่ถึง อย่างเช่น การติดเชื้อกระเพาะปัสสาวะ ทำไมเกี่ยวกับการอุจจาระด้วย และขอให้สู้ต่อไป สิ่งสำคัญ สำหรับการป้องกันไม่ให้เกิดโรคนี้คือ ผู้ที่ถึงวัยที่มีประจำเดือนหรือพร้อมที่จะมีบุตร ควรกินวิตามิน B ที่ชื่อ 'folic acid' หรือกรดโฟลิค (folate / โฟเลต) ล่วงหน้าแต่เนินๆ เนื่องจาก ไขสันหลังพัฒนาขึ้นตั้งแต่ 4 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ ทำให้การกินวิตามินนี้หลังท้องแล้วมักจะสายเกินไป เพราะกว่าเราจะรู้ว่าท้องก็จนกว่าประจำเดือนของอีกเดือนไม่มา ซึ่งมันก็สายเกินไปแล้ว แล้วเราจะหา โฟลิค ได้ที่ไหนละ ก็มันอยู่รอบตัวเรานี่เอง กรดโฟลิคหรือโฟเลตมีมากในพืชผัก เช่น ผักใบเขียว ข้าวกล้อง ธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวโอ๊ต ฯลฯ สหรัฐฯ มีกฏหมายบังคับให้เติมกรดโฟลิคในแป้งทำขนมปัง และอาหารกลุ่มธัญพืชทุกชนิด ทำให้ความพิการแบบนี้ลดลง ภาคต่อไป เกี่ยวกับอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้สำหรับลูกของเรา //www.bloggang.com/viewblog.php?id=goodluckthailand&date=15-03-2010&group=4&gblog=2 |
Link |