Group Blog
 
All Blogs
 

การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิในช่วงหนึ่งร้อยห้าสิบปี



จะเห็นว่าอุณหภูมิโลกเริ่มเพิ่มขึ้นตั้งแต่ต้นศตวรรษ ส่วนการเพิ่มขึ้นของกาซคาร์บอนไดออกไซด์ จะเริ่มเพิ่มขึ้นในช่วงทศวรรษ 1940s

ขอให้สังเกตว่าช่วงที่กาซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มอย่างรวดเร็ว แต่ในช่วงกลางทศวรรษ 1940s นั้นอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกกลับลดลงสวนทางกับการเพิ่มของกาซคาร์บอนไดออกไซด์ จนถึงกลางทศวรรษ 1970s อุณหภูมิจึงเริ่มขึ้นสูงอีกครั้ง ช่วงสามสิบปีที่อุณหภูมิลดลงนี้ รู้จักกันดีว่าเป็นช่วง fault ของทฤษฎีมนุษย์ทำให้โลกร้อน

อะไรที่ทำให้อุณหภูมิโลกลดลงถึงสามสิบปี ในขณะที่คาร์บอนไดออกไซด์ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สิ่งนั้นน่าจะเป็นพลังทางธรรมชาติ ที่น่าเชื่อได้ว่ามีอิทธิพลสูงกว่าอิทธิพลของปรากฏการณ์เรือนกระจกจากการซคาร์บอนไดออกไซด์




 

Create Date : 18 สิงหาคม 2550    
Last Update : 18 สิงหาคม 2550 22:00:39 น.
Counter : 1101 Pageviews.  

ภูมิอากาศในยุคโบราณ

Paleoclimatology

โลกกำลังอยู่ในมหายุคน้ำแข็งครั้งที่สี่ (Pleistocene Ice Age) แต่ยุคน้ำแข็งไม่ได้หนาวเย็นต่อเนื่องตลอดเวลา มีช่วงเวลาที่หนาวเย็น และอบอุ่นสลับกัน หลายต่อหลายครั้ง

ช่วงที่ธารน้ำแข็งก่อตัวกว้างขวาง เรียกว่า Glacial period
ช่วงอบอุ่นระหว่างยุคน้ำแข็งเรียกว่า Interglacial period
สี่ล้านปีที่ผ่านมา ธารน้ำแข็งแผ่ขยายและถดถอยสลับกันมากกว่ายี่สิบครั้ง ช่วงที่ธารน้ำแข็งขยายตัวปกคลุมโลก มักจะยาวนานเป็นหลักแสนปี แต่ช่วงอบอุ่นระหว่างธารน้ำแข็งมักจะสั้น เป็นหลักหมื่นปีเท่านั้น

การขยายตัวของธารน้ำแข็งครั้งสุดท้าย เรียกว่า Wisconsin Ice Age สิ้นสุดลงเมื่อประมาณหนึ่งหมื่นปีที่แล้ว ขณะนี้เรากำลังอยู่ในช่วงอบอุ่นระหว่างยุคน้ำแข็งครั้งหนึ่ง แต่ช่วงอบอุ่น ก็ไม่ได้อบอุ่นคงที่ มีช่วงเวลาที่อุ่นมาก อุ่นน้อย หรือถึงกับหนาว



การสิ้นสุดยุคน้ำแข็ง เป็นเพราะโลกเกิดเปลี่ยนไปสู่ความอบอุ่นอย่างระอุ เรียกว่า Younger-Dryas Warm Phase ที่ละลายธารน้ำแข็งนอกเขตขั้วโลกจนหมดไป ในเวลาประมาณ 1300 ปี หลังจากนั้น โลกก็เย็นลงอย่างมากเป็นช่วงสั้นๆ เรียกว่า Younger-Dryas Cool Phase

โลกกลับอุ่นขึ้นอีกอย่างสำคัญ ระหว่าง 5,000-8,000 ปี ก่อนปัจจุบัน เรียกกันว่า Holocene Optimum หรือ Holocene Warm Period (HWP)

ช่วงที่อุ่นที่สุดของ Holocene Maximum ภูมิอากาศค่อนข้างอุ่นจัดกว่าปัจจุบันมาก เขต Tropical ที่กระหนาบ เส้นศูนย์สูตร ขยายตัวกว้างขวาง ลุ่มน้ำสินธุ และ เมโสโปเตเมีย ในยุคนั้น ได้รับอิทธิพลลมมรสุมมากกว่าในปัจจุบันมีความชุ่มชื้นมากพอ ช่วยให้อารยะธรรมมนุษย์ ก่อนที่จะรู้จักการชลประทาน ก่อกำเนิดขึ้นในบริเวณนั้น

อัฟริกาในยุคนั้นเป็นช่วง Humid Period เพราะเขตร้อนชื้นแบบ tropical ขยายตัวเบียดทะเลทราย ซาฮาราให้ถอยร่นขึ้นไปทางเหนือ ทั่วตอนใต้ของซาฮารามีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ ที่มีจระเข้ และฮิปโปโปเตมัส อาศัยอยู่ ปัจจุบันกระดูกของสัตว์เหล่านั้นยังคงปรากฏเป็นหลักฐานอยู่ใต้ตะกอนทราย ภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์ตามผนังถ้ำที่อยู่กลางทะเลทรายซาฮาร่าในปัจจุบัน เต็มไปด้วยรูปสัตว์ที่ในปัจจุบันอยู่ห่างลงไปทางใต้หลายร้อยกิโลเมตร

หลังจาก Holocene Optimum ผ่านพ้น ภูมิอากาศก็กลับผันผวน เป็นช่วงที่โลกหนาวบ้าง ร้อนบ้าง สลับกันหลายครั้ง เรียกว่า Late Holocene Neoglacial Fluctuation

โลกกลับมาอบอุ่นอีกครั้งในราวๆกลางคริสต์กาล ซึ่งรู้จักกันในชื่อ Medieval Optimum หรือ Medieval Warm Period (MWP) ความอบอุ่นช่วยให้การเพาะปลูกในยุโรปอุดมสมบูรณ์มาก อาหารที่มีเหลือเฟือทำให้ประชากรยุโรปเพิ่มขึ้นจนเทียบได้กับศตวรรษที่ 19 และในบางเขตปกครองมีประชากรมากกว่าแม้ในปัจจุบัน

ช่วงอบอุ่นที่สุด (Medieval Maximum) ตรงกับช่วง 1100 -1250 โลกอุ่นถึงขั้นที่ตอนใต้สุดของเกาะกรีนแลนด์ปราศจากน้ำแข็ง และเกิดมีทุ่งหญ้า มีชาวไวกิ้งเข้าไปตั้งหมู่บ้าน มีร่องรอยการเลี้ยงแกะและวัวที่ตอนใต้สุดของเกาะ ส่วนเกาะไอซ์แลนด์ที่อยู่ใต้ลงมาหน่อย อบอุ่นพอที่จะปลูกธัญพืชได้ หลักฐานการเก็บภาษีเก่าแก่บอกว่าในสมัยนั้นอังกฤษเคยมีไร่องุ่นและผลิตไวน์เป็นจำนวนมาก หลักฐานทางเอเชียก็บอกถึงการปลูกส้มในเขตภาคเหนือของจีน

ในช่วงที่โลกอุ่นจัดนั้น อย่างน้อย ทางตอนใต้ของเกาะกรีนแลนด์ปราศจากน้ำแข็ง น้ำแข็งที่ละลายทำให้ระดับน้ำทะเลท่วมสูงขึ้นหลายเมตร ช่วงนี้ตรงกับสมัยทวาราวดีปลายๆ ถ้าใครเคยเห็นแผนที่ทางโบราณคดีของยุคนั้น จะเห็นแนวชายฝั่งทะเลของอ่าวไทย กินแดนลึกเข้ามาถึง อ่างทอง



แต่พอผ่านพ้นศตวรรษที่ 12 โลกก็เย็นลงอย่างต่อเนื่อง และหนาวมากขึ้นเรื่อยๆ จนทำท่าจะกลับเข้าสู่ยุคน้ำแข็งอีกครั้ง ประกอบด้วยคลื่นความหนาวเย็นผิดปกติสี่ระลอก คือ

- Wolf minimum 1280 1350
- Spörer Minimum 1450 1550
- Maunder Minimum 1645 1715 (หนาวที่สุด)
- Dalton Minimum 1790 1820

นักอุตุฯเรียกว่าช่วงเวลาที่หนาวเย็นผิดปกติราวสี่ร้อยปีนี้ว่า Little Ice Age (LIA) โดยตำราส่วนใหญ่จะนับจาก Spörer ปี 1450 เป็นต้นมา (บางตำราจะเริ่มนับตั้งแต่ Wolf แต่บางตำราก็นับเฉพาะสองระลอกสุดท้ายที่ค่อนข้างมีผลกระทบรุนแรง)

น้ำแข็งเริ่มสะสมตัวในเขตใกล้ขั้วโลกมากขึ้น ระดับน้ำทะเลลดลง พื้นดินบริเวณกรุงเทพโผล่พ้นน้ำ เมืองท่าโบราณในสมัยทวาราวดี ที่ตั้งอยู่ริมทะเลของสมัยนั้น จึงอยู่ห่างจากฝั่งทะเลในปัจจุบันหลายสิบกิโลเมตร และอยู่ในทำเลที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลในปัจจุบัน 5-7 เมตร เป็นข้อที่ควรสันนิษฐานว่าระดับน้ำทะเลลดลง ไม่ใช่ทะเลตื้นเขินจนกลายเป็นแผ่นดิน

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=galama&group=11


ความหนาวขับไล่ไวกิ้งให้อพยพออกไปจากกรีนแลนด์ ไร่องุ่นค่อยๆหายไปจากเกาะอังกฤษ ไร่ส้มหายไปจากภาคเหนือของจีน อากาศที่แปรปรวน ทำให้การเพาะปลูกในยุโรปเสียหายอย่างกว้างขวาง เกิดความอดอยากครั้งใหญ่ๆในยุโรปหลายระลอก ทำให้คนที่ยากจนอดอยากล้มตายไปหลายล้านคน

ช่วงที่หนาวที่สุดของ LIA เรียกว่า Maunder Minimum บันทึกของอังกฤษบอกว่าช่วงหลายปีนั้น อากาศหนาวจัดจนแม่น้ำเทมส์ เป็นน้ำแข็งทุกปี ชาวเกาะไอซ์แลนด์เล่าว่าทะเลน้ำแข็งจากขั้วโลกแผ่มาถึงชายฝั่งด้านเหนือของเกาะจนไม่สามารถเดินเรือเข้าออกได้ นอกจากท่าเรือทางใต้สุดเท่านั้น



หลักฐานประวัติศาสตร์บอกว่าธารน้ำแข็งตามภูเขาสูง แถบเทือกเขาแอล์ป และสแกนดิเนเวียขยายตัว คืบคลานเข้าทับหมู่บ้านในหุบเขาไปนับร้อยแห่ง มีบันทึกของวาติกัน เล่าถึงคำขอของชาวบ้านที่ถูกธารน้ำแข็งคุกคาม ร้องขอให้พระสันตะปาปาช่วยขอพรจากพระเจ้าให้ช่วยปกป้องหมู่บ้าน

โชคดีที่พอถึงปี 1850 โลกก็ผันกลับสู่ความอบอุ่นอีกครั้งโลกอุ่นขึ้นในอัตรา ศตวรรษละ 1 องศา จนอุ่นที่สุดในทศวรรษ 1940s แล้วก็มีทีท่าจะคงที่ หรือเย็นลงเล็กน้อย แต่พอย่างเข้าศตวรรษที่ 21 โลกก็กลับอุ่นขึ้นอีกครั้ง อย่างรวดเร็วจนน่าตกใจ เป็นเหตุให้คนทั้งโลก พากันวิตกถึงภาวะโลกร้อน

โชคไม่ดีที่เทอร์โมมิเตอร์และการวัดอุณหภูมิอากาศโดยตรงเกิดมีขึ้นเป็นครั้งแรกในช่วง LIA ดังนั้นถ้าไปค้นบันทึกของอุณหภูมิอากาศในอดีต ก็จะเห็นแต่ความหนาวเย็น คนที่ไม่รู้เรื่องของกาลอากาศในยุคโบราณ อาจจะคิดว่าโลกมีความหนาวเป็นเรื่องปกติ ความอบอุ่น ที่ถูกบันทึกไว้ด้วยเรื่องราวในประวัติศาสตร์ และหลักฐานในชั้นดิน จึงกลายเป็นนิทานปรัมปรา

แต่อย่างไรก็ตาม ความอบอุ่นในตำนาน มีหลักฐานทางโบราณคดีรองรับ รวมทั้งหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มากมาย ได้แก่หลักฐานทางด้าน isotope และร่องรอยละอองเกสรพืช ที่ฝังอยู่ในชั้นดิน บอกให้รู้ถึงชนิดของพืชที่เคยขึ้นอยู่ในยุคสมัยต่างๆ ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถคำนวณหาอุณหภูมิของโลกในช่วงเวลาต่างๆได้

ถ้าในอดีตอากาศเคยผันแปร อุ่นขึ้นแล้วก็เย็นลงได้เอง เป็นวัฏจักร ด้วยพลังของธรรมชาติ จะสรุปได้อย่างไรว่า โลกอุ่นขึ้นในเวลานี้ เป็นเพราะปรากฏการณ์เรือนกระจก

บางที โลกอาจจะกำลังกลับสู่สมดุล ที่อุ่นแบบระอุหน่อยๆ อย่างที่เคยเป็น




 

Create Date : 01 ตุลาคม 2548    
Last Update : 30 กรกฎาคม 2556 10:27:32 น.
Counter : 1043 Pageviews.  


กาลามะชน
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Friends' blogs
[Add กาลามะชน's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.