Group Blog
 
All blogs
 

ทำไมถึงตั้งชื่อแกะตัวแรกที่เกิดจากการโคลนนิ่งว่า ดอลลี่

ตัวอ่อนที่เกิดจากการสืบพันธุ์ของคนหรือของสัตว์
ปกติจะเกิดจากการผสมกันระหว่างอสุจิกับไข่
อสุจิมีสารพันธุกรรมหนึ่งชุด ไข่มีสารพันธุกรรมหนึ่งชุด
ผสมกันแล้วได้ตัวอ่อนซึ่งมีสารพันธุกรรมสองชุด
แต่แกะดอลลี่เกิดจากการเอานิวเคลียสในไข่ออกแล้วนำ
นิวเคลียสจากเซลในเต้านมซึ่งเป็นเซลที่มีสารพันธุกรรมสองชุด
และไม่ได้เกิดจากการผสมของอสุจิและไข่ มาใส่แทนนิวเคลียสของไข่
แล้วกระตุ้นให้เกิดการแบ่งตัวและพัฒนาเป็นแกะตัวใหม่
จริงๆ แล้วดอลลี่มีชื่อเป็นโค้ดว่า 6LL3 แต่เนื่องจากดอลลี่มีต้นกำเนิด
มาจากเซลจากเต้านม นักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานวิจัยนี้จึงตั้งชื่อแกะโคลนตัวนี้
ว่าดอลลี่ตาม Dolly Parton ซึ่งเป็นนักร้องนักแสดงชาวอเมริกันที่มีหน้าอกใหญ่
นักวิทยาศาสตร์ไทยเราก็สามารถโคลนสัตว์ได้สำเร็จ
แต่ไม่ทราบว่าตั้งชื่อสัตว์ที่เกิดจากการโคลนนิ่งว่า
มรกต (มณีฉาย) หรือ ทัดทรวง (มณีจันทร์) หรือเปล่า

//news.bbc.co.uk/1/hi/sci/tech/769915.stm




 

Create Date : 27 มีนาคม 2550    
Last Update : 30 มีนาคม 2550 16:43:29 น.
Counter : 2127 Pageviews.  

วิธีดูเพศยุง

ดูง่ายๆ ด้วยตาเปล่า ยุงก็เหมือนคน ตัวผู้มีหนวด ตัวเมียไม่มีหนวด สังเกตตรงส่วนที่เรียกว่า Antenna ของยุงตัวผู้จะมีขนมากกว่ายุงตัวเมีย และส่วน Palpus ของยุงตัวผู้จะยาวกว่ายุงตัวเมียมาก




ยุงตัวเมีย




เปรียบเทียบส่วน antenna และ palpus ของยุงตัวเมียและตัวผู้




ซ้าย ยุงตัวผู้ ขวา ยุงตัวเมีย



ยุงตัวเมียดูดเลือด ยุงตัวผู้ไม่ดูดเลือดแต่ดำรงชีวิตด้วยการดูดน้ำจากพืช เช่น น้ำหวานจากดอกไม้หรือผลไม้
ถ้าดูภาพยนต์เรื่องจูราสสิคพาร์ค ภาคแรก สังเกตดูให้ดีตอนที่ยุงไปกัดไดโนเสาร์แล้วโดนยางไม้ไหลมาเคลือบ
แล้วต่อมายางไม้นั้นเปลี่ยนรูปกลายเป็นก้อนอำพัน นักวิทยาศาสตร์สกัดเอาดีเอ็นเอของไดโนเสาร์จากตัวยุงในก้อนอำพัน
มาตัดต่อแล้วสร้างไดโนเสาร์ตัวใหม่ ยุงตัวนั้นเป็นยุงตัวผู้ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วไม่ดูดเลือด




 

Create Date : 27 มีนาคม 2550    
Last Update : 30 มีนาคม 2550 16:43:47 น.
Counter : 12669 Pageviews.  

พลาสมากับซีรั่มต่างกันอย่างไร

พลาสมาและซีรั่มเป็นส่วนน้ำเลือดหลังจากแยกเอาเม็ดเลือดออกไปแล้ว

พลาสมาและซีรั่มต่างกันตรงที่ขบวนการในขั้นตอนการเก็บตัวอย่างเลือด หากเจาะเลือดออกมาใส่ในหลอดทดลอง ตั้งทิ้งไว้สักระยะหนึ่งเลือดจะแข็งตัว ถ้านำหลอดทดลองนั้นไปเข้าเครื่องปั่น เลือดก็จะแยกออกเป็นสองชั้น ส่วนที่เป็นเม็ดเลือดจะตกลงมาที่ก้นหลอดและส่วนบนจะเป็นน้ำสีเหลือง เราเรียกน้ำสีเหลืองนี้ว่า ซีรั่ม



รูปซีรั่ม



หากเราเจาะเลือดแล้วนำเลือดไปใส่ในหลอดทดลองที่มีสารป้องกันการแข็งตัวของเลือด เมื่อตั้งหลอดทดลองทิ้งไว้ เลือดจะไม่แข็งตัว เม็ดเลือดจะตกตะกอนลงมาที่่ก้นหลอดตามแรงโน้มถ่วงของโลก ส่วนบนจะเป็นส่วนน้ำสีเหลือง เราเรียกน้ำสีเหลืองนี้ว่า พลาสมา

ส่วนประกอบที่อยู่ในพลาสมาและซีรั่มนี้ก็ต่างกัน เช่น โปรตีนและสารที่จำเป็นในการแข็งตัวของเลือดในซีรั่มจะถูกใช้หมดไปในขณะที่สารเหล่านี้จะยังคงเหลืออยู่ในพลาสมา หากคนไข้คนหนึ่งเป็นโรคเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือดและเราต้องการวัดหาปริมาณสารที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือด เราก็ควรจะวัดหาปริมาณสารนั้นจากพลาสมาแทนที่จะวัดจากซีรั่ม

สามารถอ่านรายละเอียดความแตกต่างของปริมาณสารต่างๆ ในพลาสมาและซีรั่มได้จากลิงค์นี้
//www.pubmedcentral.nih.gov/picrender.fcgi?artid=1601968&blobtype=pdf
//www.bioscience.org/atlases/clinical/chemist/a-z.htm




 

Create Date : 27 มีนาคม 2550    
Last Update : 30 มีนาคม 2550 16:44:02 น.
Counter : 27811 Pageviews.  

เวลาเป็นหวัดแล้วไปหาหมอ ทำไมหมอต้องถามว่าน้ำมูกสีอะไร

การป่วยแล้วมีน้ำมูกไหล ไอ จาม เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย แพ้สารเคมี ฝุ่นละออง เกสรดอกไม้ ฯลฯ ความผิดปกติเริ่มแรกมักจะมีน้ำมูกใสๆ ออกมาก่อน จากนั้นก็จะมีลักษณะเปลี่ยนเป็นสีขาวขุ่นหรือสีเหลือง สีเขียว สีน้ำตาลแก่หรือสีแดง ลักษณะและสีของน้ำมูกจะบอกว่าในน้ำมูกมีส่วนประกอบหลักเป็นอะไร เช่นสีขาวขุ่นเหนียวบ่งชี้ว่ามีปริมาณเม็ดเลือดขาวมาก สีเหลืองหรือสีเขียวบ่งบอกว่าอาจมีการติดเชื้อและไม่ใช่การติดเชื้อในระยะเริ่มแรก สีน้ำตาลหรือสีแดงบ่งบอกว่ามีการอักเสบและมีเลือดออกของเยื่อบุในทางเดินหายใจ แพทย์จะนำข้อมูลพวกนี้ไปวินิจฉัย (เดา) ได้ว่าอะไรเป็นสาเหตุของการเกิดโรค ตำแหน่งของการเกิดโรคอยู่ตรงไหน เกิดโรคมานานแค่ไหน เพิ่งเกิดหรือว่าเรื้อรัง




 

Create Date : 27 มีนาคม 2550    
Last Update : 30 มีนาคม 2550 16:44:18 น.
Counter : 3578 Pageviews.  

มาม่ามีฤทธิ์ถ่ายพยาธิได้

ผลการวิจัยพบว่าเมื่อกินมาม่าเข้าไป พอมาม่าเดินทางไปถึงบริเวณที่มีพยาธิ
พยาธิจะมารุมกินมาม่า แต่เนื่องจากลักษณะเส้นมาม่ามีความคล้ายคลึงกับ
ตัวพยาธิ ทำให้พยาธิสับสนไม่รู้ว่าอันไหนเป็นอาหารอันไหนเป็นพวกเดียวกัน
จึงเกิดการกัดผิดตัว แทนที่จะไปกัดเส้นมาม่าดันไปกัดพวกเดียวกันเอง
พยาธิตัวที่ถูกกัดจึงเกิดความแค้น เนื่องจากกำลังกินอยู่ดีๆ ดันโดนลอบกัด
มันก็เลยกัดตอบ ทีนี้ก็เกิดเป็นโดมิโนเอฟเฟค พยาธิกัดกันเองเป็นพัลวัน
ทำให้พยาธิล้มตายกันเกือบหมด ไอ้ตัวที่เหลือก็ไม่กล้าออกมากินมาม่าอีก
เพราะกลัวว่าจะเข้าใจผิด เกิดบาดหมางกันระหว่างเพื่อนฝูง
ก็เลยผอมโซ อดตายกันหมด ดังนั้นจึงสรุปผลการทำวิจัยว่า
มาม่ามีฤทธิ์ในการถ่ายพยาธิออกจากร่างกายได้




 

Create Date : 27 มีนาคม 2550    
Last Update : 30 มีนาคม 2550 16:45:09 น.
Counter : 791 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  

dolt
Location :
ปทุมธานี Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add dolt's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.