เต็มที่กับชีวิต
Group Blog
 
All blogs
 
รายงานการศึกษาดูงาน

รายงานการศึกษาดูงานการแสดงผลงานของนักศึกษาระดับปริญาตรีที่ได้รับทุน

จัดโดย
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ร่วมกับ
โครงการ IRPUS (Industrial and Research Projects for Undergraduate Student)

จุดมุ่งหมายการจัดงาน IRPUS51
- สร้างความเข้าใจที่ดีต่อโครงการ IRPUS แก่ภาคอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการ เพื่อเกิดความร่วมมือและสนับสนุนอย่างดียิ่ง
- ภาคอุตสาหกรรม เห็นความสำคัญในการทำวิจัย และสามารถ นำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับโรงงานได้จริง และเห็นประโยชน์ของการเข้าร่วมโครงการ

ระยะเวลาจัดงาน
28–30 มีนาคม 2551 รวม 3 วัน
สถานที่จัดงาน
พารากอนฮอลล์ ชั้น5 สยามพารากอน บนพื่นที่ 12,000 ตารางเมตร
รูปแบบการจัดนิทรรศการ
จัดแสดงงานเทิดพระเกียรติ "ตามรอยเบื้องพระยุคลบาท" และแสดงผลงานของนักศึกษา
ระดับปริญาตรีที่ได้รับทุน 903 ทุนโดย แบ่งออกเป็นลักษณะพาวิลเลี่ยน (Pavilion)
ทั้งหมด 5 พาวิลเลี่ยน คือ
- Pavilion อาหาร
- Pavilion สุขภาพ/วิทยาศาสตร์การแพทย์/เภสัชและชีววิทยา
- Pavilion เครื่องกล/อุตสาหกรรม/ไฟฟ้า/เทคโนโลยีสารสนเทศ
- Pavilion พลังงาน/สิ่งแวดล้อม/วิศวกรรมโยธา
- Pavilion เคมี/โพลิเมอร์/พลาสติก
จากการที่ได้ศึกษาดูงาน ผมจึงได้สนใจในงานชิ้นนี้เพราะจุดมุ่งหมายของงานชิ้นนี้บ่งบอกให้เห็นว่าการเชือมใต้น้ำไม่ได้เชื่อกันง่าย
การออกแบบและสร้างทอร์ชเชื่อมใต้น้ำ
โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ


หลักการเชื่อม
กระบวนการเชื่อมด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ (SMAW) เป็นกระบวนการเชื่อมที่ใช้สำหรับการเชื่อมใต้น้ำ อาร์คที่เกิดขึ้นจากการเชื่อมมีอุณหภูมิ 6,000 – 10,000 องศาเซลเซียส ฟลักซ์ที่หุ้มส่วนหนึ่งจะทำหน้าที่เป็นแก๊สปกคลุมอาร์ค และบ่อหลอมละลาย จากบรรยากาศภายนอก แรงดันอาร์คที่เกิดขึ้นจะเป็นตัวผลักน้ำให้ออกจากบริเวณที่ทำการเชื่อมแต่เนื่องจากเป็นการเชื่อมใต้น้ำ การแข็งตัวและการเย็นตัวของรอยเชื่อมเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีผลกระทบต่อคุณสมบัติทางกล และโครงสร้างของรอยเชื่อม ดังนั่นการเชื่อมใต้น้ำจะรอบรับให้ทำการเชื่อมได้เฉพาะเหล็กกล้าคาร์บอนหรือเหล็กกล้าในกลุ่มที่มีการเปลี่ยนโครงสร้างน้อยเมื่อรอยเชื่อมมีการเย็นตัวลงอย่างรวดเร็ว


ลวดเชื่อม
หัวใจสำคัญของการเชื่อมใต้น้ำคือลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ที่ใช้จะต้องมีการเคลือบด้วยวัสดุกันน้ำ เนื่องจากการเชื่อมใต้น้ำด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ โดยไม่มีวัสดุกันน้ำเชื่อม ส่งผลให้อาร์คไม่สม่ำเสมอ เกิดโพรงอากาศในรอยเชื่อม ลวดเชื่อมที่ใช้เชื่อมใต้น้ำเป็นลวดเชื่อมชนิดเดียวกับที่เชื่อมบนบก เพียงมีมีการใช้วัสดุกันน้ำเคลือบ วัสดุกันน้ำที่ใช้จะเป็น อีพ๊อกซี่ โพลียูรีเทร และวัสดุที่ไม่มีส่วนผสมของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน
เครื่องเชื่อมและกระแสไฟเชื่อม
กระแสไฟเชื่อมที่ใช้สำหรับการเชื่อมใต้น้ำจะรองรับให้ใช้ไฟกระแสตรง (D.C.) เท่านั่น หากใช้เครื่องเชื่อมที่เป็นไฟกระแสสลับ (A.C) จะเป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติการเชื่อม ขนาดของเครื่องเชื่อมที่ใช้ควรมีขนาดกระแสไฟเชื่อม 400 แอมแปร์ขึ้นไป เพราะเมื่อการเชื่อมใต้น้ำลึกมาก จำเป็นต้องใช้สายเชื่อมที่ยาวเพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีการเกิดการต้านทานการไหลของกระแสไฟ จึงต้องใช้ขนาดเครื่องเชื่อมที่สูงเพียงพอ



Create Date : 18 เมษายน 2551
Last Update : 18 เมษายน 2551 15:12:01 น. 2 comments
Counter : 1019 Pageviews.

 



ตกใจข้อความต้อนรับ....

โชคดี...ที่แม้จะไม่ถึงขั้นที่เรียกว่า"หน้าตาดี" แต่ก็ไม่ถึงกับ "หน้าตาไม่ดี"..

จากบล็อก.... ไม่มีครับ ปกติหาแต่เพลง ไม่ค่อยหาหนังครับ

มีความสุข นะครับ


โดย: เซียน_กีตาร์ วันที่: 28 เมษายน 2551 เวลา:20:21:07 น.  

 
ย๊ะอู้ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ


โดย: เมาได้เมาดี 24 ชม. วันที่: 25 พฤษภาคม 2551 เวลา:12:49:06 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ความรักขมปี๋
Location :
เพชรบูรณ์ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add ความรักขมปี๋'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.