เต็มที่กับชีวิต
Group Blog
 
All blogs
 

รายงานการศึกษาดูงาน

รายงานการศึกษาดูงานการแสดงผลงานของนักศึกษาระดับปริญาตรีที่ได้รับทุน

จัดโดย
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ร่วมกับ
โครงการ IRPUS (Industrial and Research Projects for Undergraduate Student)

จุดมุ่งหมายการจัดงาน IRPUS51
- สร้างความเข้าใจที่ดีต่อโครงการ IRPUS แก่ภาคอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการ เพื่อเกิดความร่วมมือและสนับสนุนอย่างดียิ่ง
- ภาคอุตสาหกรรม เห็นความสำคัญในการทำวิจัย และสามารถ นำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับโรงงานได้จริง และเห็นประโยชน์ของการเข้าร่วมโครงการ

ระยะเวลาจัดงาน
28–30 มีนาคม 2551 รวม 3 วัน
สถานที่จัดงาน
พารากอนฮอลล์ ชั้น5 สยามพารากอน บนพื่นที่ 12,000 ตารางเมตร
รูปแบบการจัดนิทรรศการ
จัดแสดงงานเทิดพระเกียรติ "ตามรอยเบื้องพระยุคลบาท" และแสดงผลงานของนักศึกษา
ระดับปริญาตรีที่ได้รับทุน 903 ทุนโดย แบ่งออกเป็นลักษณะพาวิลเลี่ยน (Pavilion)
ทั้งหมด 5 พาวิลเลี่ยน คือ
- Pavilion อาหาร
- Pavilion สุขภาพ/วิทยาศาสตร์การแพทย์/เภสัชและชีววิทยา
- Pavilion เครื่องกล/อุตสาหกรรม/ไฟฟ้า/เทคโนโลยีสารสนเทศ
- Pavilion พลังงาน/สิ่งแวดล้อม/วิศวกรรมโยธา
- Pavilion เคมี/โพลิเมอร์/พลาสติก
จากการที่ได้ศึกษาดูงาน ผมจึงได้สนใจในงานชิ้นนี้เพราะจุดมุ่งหมายของงานชิ้นนี้บ่งบอกให้เห็นว่าการเชือมใต้น้ำไม่ได้เชื่อกันง่าย
การออกแบบและสร้างทอร์ชเชื่อมใต้น้ำ
โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ


หลักการเชื่อม
กระบวนการเชื่อมด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ (SMAW) เป็นกระบวนการเชื่อมที่ใช้สำหรับการเชื่อมใต้น้ำ อาร์คที่เกิดขึ้นจากการเชื่อมมีอุณหภูมิ 6,000 – 10,000 องศาเซลเซียส ฟลักซ์ที่หุ้มส่วนหนึ่งจะทำหน้าที่เป็นแก๊สปกคลุมอาร์ค และบ่อหลอมละลาย จากบรรยากาศภายนอก แรงดันอาร์คที่เกิดขึ้นจะเป็นตัวผลักน้ำให้ออกจากบริเวณที่ทำการเชื่อมแต่เนื่องจากเป็นการเชื่อมใต้น้ำ การแข็งตัวและการเย็นตัวของรอยเชื่อมเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีผลกระทบต่อคุณสมบัติทางกล และโครงสร้างของรอยเชื่อม ดังนั่นการเชื่อมใต้น้ำจะรอบรับให้ทำการเชื่อมได้เฉพาะเหล็กกล้าคาร์บอนหรือเหล็กกล้าในกลุ่มที่มีการเปลี่ยนโครงสร้างน้อยเมื่อรอยเชื่อมมีการเย็นตัวลงอย่างรวดเร็ว


ลวดเชื่อม
หัวใจสำคัญของการเชื่อมใต้น้ำคือลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ที่ใช้จะต้องมีการเคลือบด้วยวัสดุกันน้ำ เนื่องจากการเชื่อมใต้น้ำด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ โดยไม่มีวัสดุกันน้ำเชื่อม ส่งผลให้อาร์คไม่สม่ำเสมอ เกิดโพรงอากาศในรอยเชื่อม ลวดเชื่อมที่ใช้เชื่อมใต้น้ำเป็นลวดเชื่อมชนิดเดียวกับที่เชื่อมบนบก เพียงมีมีการใช้วัสดุกันน้ำเคลือบ วัสดุกันน้ำที่ใช้จะเป็น อีพ๊อกซี่ โพลียูรีเทร และวัสดุที่ไม่มีส่วนผสมของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน
เครื่องเชื่อมและกระแสไฟเชื่อม
กระแสไฟเชื่อมที่ใช้สำหรับการเชื่อมใต้น้ำจะรองรับให้ใช้ไฟกระแสตรง (D.C.) เท่านั่น หากใช้เครื่องเชื่อมที่เป็นไฟกระแสสลับ (A.C) จะเป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติการเชื่อม ขนาดของเครื่องเชื่อมที่ใช้ควรมีขนาดกระแสไฟเชื่อม 400 แอมแปร์ขึ้นไป เพราะเมื่อการเชื่อมใต้น้ำลึกมาก จำเป็นต้องใช้สายเชื่อมที่ยาวเพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีการเกิดการต้านทานการไหลของกระแสไฟ จึงต้องใช้ขนาดเครื่องเชื่อมที่สูงเพียงพอ




 

Create Date : 18 เมษายน 2551    
Last Update : 18 เมษายน 2551 15:12:01 น.
Counter : 1017 Pageviews.  

ประวัติคอมพิวเตอร์

ประวัติคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ในยุคเริ่มแรก ได้แก่ เครื่องจักรกลหรือสิ่งประดิษฐ์ขึ้นเพื่อช่วยในการคำนวณ
โดยที่ยังไม่มีการนำวงจรอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาใช้ประโยชน์ร่วมด้วย ลำดับเครื่องมือขึ้นมามีดังนี้

ในระยะ 5,000 ปีที่ผ่านมา มนุษย์เริ่มรู้จักการใช้นิ้วมือและนิ้วเท้าของตนเพื่อช่วยในการคำนวณ
และพัฒนามาใช้อุปกรณ์อื่น ๆ เช่น ลูกหิน ใช้เชือกร้อยลูกหินคล้ายลูกคิด

ต่อมาประมาณ 2,600 ปีก่อนคริสตกาล ชาวจีนได้ประดิษฐ์เครื่องมือเพื่อใช้ในการ คำนวณขึ้นมาชนิดหนึ่ง เรียกว่า ลูกคิด ซึ่งถือได้ว่า เป็นอุปกรณ์ใช้ช่วยการคำนวณที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและคงยังใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน



พ.ศ. 2158 นักคณิตศาสตร์ชาวสก็อตแลนด์ชื่อ John Napier ได้ประดิษฐ์อุปกรณ์ใช้ ช่วยการคำนวณขึ้นมา เรียกว่า Napier's Bones เป็นอุปกรณ์ที่ลักษณะคล้ายกับตารางสูตรคูณในปัจจุบัน เครื่องมือชนิดนี้ช่วยให้สามารถทำการคูณและหารได้ง่ายเหมือนกับทำการบวก หรือลบโดยตรง




พ.ศ. 2185 นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศสชื่อ Blaise Pascal ซึ่งในขณะนั้นมีอายุเพียง 19 ปี
ได้ออกแบบ เครื่องมือในการคำนวณโดย ใช้หลักการหมุนของฟันเฟืองหนึ่งอันถูกหมุนครบ 1 รอบ ฟันเฟืองอีกอันหนึ่งซึ่งอยู่ ทางด้านซ้ายจะถูกหมุนไปด้วยในเศษ 1 ส่วน 10 รอบ เครื่องมือของปาสคาลนี้ถูกเผยแพร่ออกสู่สาธารณะชน เมื่อ พ.ศ. 2188 แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรเนื่องจากราคาแพง
และเมื่อใช้งานจริงจะเกิดเหตุการณ์ที่ฟันเฟืองติดขัดบ่อยๆ ทำให้ผลลัพธ์ที่ได้ไม่ค่อยถูกต้อง
ตรงความเป็นจริง



ดังนั้นในปี พ.ศ. 2216 นักปราชญ์ชาวเยอรมันชื่อGottfriend von Leibnitz ได้ปรับปรุงเครื่องคำนวณของ ปาสคาลให้สามารถหารคูณและหารได้โดยตรง โดยที่การคูณใช้หลักการบวกกันหลายๆ ครั้ง และการหารก็คือการลบกันหลายๆ ครั้ง แต่เครื่องมือของ Leibnitz ยังคงอาศัยการหมุนวงล้อ ของเครื่องเองอัตโนมัติ นับว่า เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่ดูยุ่งยากกลับเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น




พ.ศ. 2344 นักประดิษฐ์ชาวฝรั่งเศสชื่อ Joseph Marie Jacquard ได้พยายามพัฒนาเครื่องทอผ้าโดยใช้ บัตรเจาะรูในการบันทึกคำสั่ง ควบคุมเครื่องทอผ้าให้ทำตามแบบที่กำหนดไว้ และแบบดังกล่าวสามารถนำมา สร้างซ้ำๆ ได้อีกหลายครั้ง ความพยายามของ Jacquard สำเร็จลงใน พ.ศ. 2348
เครื่องทอผ้านี้ถือว่าเป็น เครื่องทำงานตามโปรแกรมคำสั่งเป็นเครื่องแรก

พ.ศ. 2373 Chales Babbage ถือกำเนิดที่ประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2334 จบการศึกษาทางด้านคณิตศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ และได้รับตำแหน่ง Lucasian Professor ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ Isaac Newton เคยได้รับมาก่อน ในขณะที่กำลังศึกษาอยู่นั้น Babbage ได้สร้างเครื่อง หาผลต่าง (Difference Engine)


ซึ่งเป็นเครื่องที่ใช้คำนวณ และพิมพ์ตารางทางคณิตศาสตร์อย่างอัตโนมัติ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2373 เขาได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลอังกฤษเพื่อสร้างเครื่อง Difference Engine ขึ้นมาจริงๆ แต่ในขณะที่ Babbage ทำการสร้างเครื่อง Difference Engine อยู่นั้น ได้พัฒนาความคิดไปถึง เครื่องมือในการคำนวณที่มีความสามารถสูงกว่านี้ ซึ่งก็คือเครื่องที่เรียกว่าเครื่องวิเคราะห์ (Analytical Engine)
และได้ยกเลิกโครงการสร้างเครื่อง Difference Engine ลงแล้วเริ่มต้นงานใหม่ คือ งานสร้างเครื่องวิเคราะห์ ในความคิดของเขา โดยที่เครื่องดังกล่าวประกอบไปด้วยชิ้นส่วนที่สำคัญ 4 ส่วน คือ

® ส่วนเก็บข้อมูล เป็นส่วนที่ใช้ในการเก็บข้อมูลนำเข้าและผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณ
® ส่วนประมวลผล เป็นส่วนที่ใช้ในการประมวลผลทางคณิตศาสตร์
® ส่วนควบคุม เป็นส่วนที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายข้อมูลระหว่างส่วนเก็บข้อมูล และส่วนประมวลผล
® ส่วนรับข้อมูลเข้าและแสดงผลลัพธ์ เป็นส่วนที่ใช้รับทราบข้อมูลจากภายนอกเครื่องเข้าสู่ส่วนเก็บ และแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณให้ผู้ใช้ได้รับทราบ



เป็นที่น่าสังเกตว่าส่วนประกอบต่างๆของเครื่อง Alaytical Engineมีลักษณะใกล้เคียงกับส่วนประกอบ ของระบบคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบัน แต่น่าเสียดายที่เครื่อง Alalytical Engine ของ Babbage นั้นไม่สามารถ สร้างให้สำเร็จขึ้นมาได้ ทั้งนี้เนื่องจากเทคโนโลยี สมัยนั้นไม่สามารถสร้างส่วนประกอบต่างๆ ดังกล่าว และอีกประการหนึ่งก็คือ สมัยนั้นไม่มีความจำเป็น ต้องใช้เครื่องที่มีความสามารถสูงขนาดนั้น ดังนั้นรัฐบาล อังกฤษจึงหยุดให้ความสนับสนุนโครงการของ Babbage ในปีพ.ศ. 2385 ทำให้ไม่มีทุนที่จะทำการวิจัยต่อไป สืบเนื่องจากมาจากแนวความคิดของ Analytical Engine เช่นนี้จึงทำให้ Charles Babbage ได้รับการยกย่อง ให้เป็นบิดาของเครื่องคอมพิวเตอร์



พ.ศ. 2385 ชาวอังกฤษ ชื่อ Lady Auqusta Ada Byron ได้ทำการแปลเรื่องราวเกี่ยวกับเครื่อง Anatical Engine จากภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาอังกฤษ ในระหว่างการแปลทำให้ Lady Ada เข้าใจถึงหลักการทำงาน ของเครื่อง Analytical Engine และได้เขียนรายละเอียดขั้นตอนของคำสั่งให้เครื่องนี้ทำการคำนวณที่ยุ่งยาก ซับซ้อนไว้ในหนังสือทางคณิตศาสตร์เล่มหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์โปรแกรมแรกของโลก และจากจุดนี้จึงถือว่า Lady Ada เป็นโปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก





พ.ศ. 2397 นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ George Boole ได้ใช้หลักพีชคณิตเผยแพร่กฎของ Boolean Algebra ซึ่งเป็นคณิตศาสตร์ที่ใช้อธิบายเหตุผลของตรรกวิทยาที่ตัวแปรมีค่าได้เพียง "จริง" หรือ "เท็จ" เท่านั้น (ใช้สภาวะเพียงสองอย่างคือ 0 กับ 1 ร่วมกับเครื่องหมายในเชิงตรรกพื้นฐาน คือ AND,ORและNOT)

สิ่งที่ George Boole คิดค้นขึ้น นับว่ามีประโยชน์ต่อระบบคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็น การยากที่จะใช้กระแสไฟฟ้า ซึ่งมีเพียง 2 สภาวะ คือ เปิด กับ ปิด ในการแทน เลขฐานสิบซึ่งมีอยู่ถึง 10 ตัว คือ 0 ถึง 9 แต่เป็นการง่ายกว่าเราแทนด้วยเลขฐานสอง คือ 0 กับ 1 จึงถือว่าสิ่งนี้เป็นรากฐานที่สำคัญของการออกแบบวงจรระบบคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน

พ.ศ. 2423 Dr. Herman Hollerith นักสถิติชาวอเมริกันได้ประดิษฐ์เครื่องประมวลผลทางสถิติซึ่ง ใช้กับบัตรเจาะรู เครื่องนี้ได้รับการพัฒนา ให้ดียิ่งขึ้นและมาใช้งานสำรวจสำมะโนประชากร ของสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2433 และช่วยให้การสรุปผลสำมะโนประชากรเสร็จสิ้นภายในระยะเวลา 2 ปีครึ่ง (โดยก่อนหน้านั้นต้องใช้เวลาถึง 7 ปีครึ่ง) เรียกบัตรเจาะรูนี้ว่า บัตรฮอลเลอริธ



วิวัฒนาการคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย 5 ยุค คือ



คอมพิวเตอร์ยุคแรก

อยู่ระหว่างปี พ.ศ.. 2488 ถึง พ.ศ. 2501 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสุญญากาศซึ่งใช้
กำลังไฟฟ้าสูง จึงมีปัญหาเรื่องความร้อนและไส้หลอดขาดบ่อย ถึงแม้จะมีระบบระบายความร้อน
ที่ดีมาก การสั่งงานใช้ภาษาเครื่องซึ่งเป็นรหัสตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อน เครื่องคอมพิวเตอร์
ของยุคนี้ขนาดใหญ่โต เช่น มาร์ค วัน (MARK I), อีนิแอค (ENIAC), ยูนิแวค (UNIVAC)



มาร์ค วัน



อีนิแอค



ยูนิแวค



คอมพิวเตอร์ยุคที่สอง

คอมพิวเตอร์ยุคที่สอง อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2506 เป็นคอมพิวเตอร์
ที่ใช้ทรานซิสเตอร์ โดยมีแกนเฟอร์ไรท์เป็นหน่วยความจำ มีอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรอง
ในรูปของสื่อบันทึกแม่เหล็ก เช่น จานแม่เหล็ก ส่วนทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีการพัฒนาดีขึ้น
โดยสามารถเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงซึ่งเป็นภาษาที่เขียนเป็นประโยค
ที่คนสามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาฟอร์แทน ภาษาโคบอล เป็นต้น ภาษาระดับสูงนี้ได้มีการพัฒนาและใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน





คอมพิวเตอร์ยุคที่สาม



คอมพิวเตอร์ยุคที่สาม อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2507 ถึง พ.ศ. 2512 เป็นคอมพิวเตอร์
ที่ใช้วงจรรวม (Integrated Circuit: IC) โดยวงจรรวมแต่ละตัวจะมีทรานซิสเตอร์บรรจุ
อยู่ภายในมากมายทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์จะออกแบบซับซ้อนมากขึ้น และสามารถสร้างเป็นโปรแกรมย่อย ๆ ในการกำหนดชุดคำสั่งต่าง ๆ ทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีระบบควบคุม
ที่มีความสามารถสูงทั้งในรูประบบแบ่งเวลาการทำงานให้กับงานหลาย ๆ อย่าง




คอมพิวเตอร์ยุคที่สี่



คอมพิวเตอร์ยุคที่สี่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 จนถึงปัจจุบัน เป็นยุคของคอมพิวเตอร์ที่ใช้
วงจรรวมความจุสูงมาก (Very Large Scale Integration : VLSI) เช่น ไมโครโพรเซสเซอร์ที่บรรจุทรานซิสเตอร์นับหมื่นนับแสนตัว ทำให้ขนาดเครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงสามารถ
ตั้งบนโต๊ะในสำนักงานหรือพกพาเหมือนกระเป๋าหิ้วไปในที่ต่าง ๆ ได้ ขณะเดียวกันระบบซอฟต์แวร์ก็ได้พัฒนาขีดความสามารถสูงขึ้นมาก มีโปรแกรมสำเร็จให้เลือกใช้กันมาก
ทำให้เกิดความสะดวกในการใช้งานอย่างกว้างขวาง




คอมพิวเตอร์ยุคที่ห้า




คอมพิวเตอร์ยุคที่ห้าเป็นคอมพิวเตอร์ที่มนุษย์พยายามนำมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจและ
แก้ปัญหาให้ดียิ่งขึ้น โดยจะมีการเก็บความรอบรู้ต่าง ๆ เข้าไว้ในเครื่อง สามารถเรียกค้นและ
ดึงความรู้ที่สะสมไว้มาใช้งานให้เป็นประโยชน์ คอมพิวเตอร์ยุคนี้เป็นผลจากวิชาการ
ด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) ประเทศต่างๆ ทั่วโลกไม่ว่าจะเป็น
สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศในทวีปยุโรปกำลังสนใจค้นคว้าและพัฒนาทางด้านนี้
กันอย่างจริงจัง

ครั้นถึงยุคศตวรรษ 1990 พีซีมีบทบาทที่สำคัญยิ่งต่อชีวิตประจำวัน ขณะเดียวกันพัฒนาการทางพีซีทำให้ขีด ความสามารถเชิงการคำนวณสูงขึ้น มีการใช้ซีพียูที่เป็นไมโครโปรเซสเซอร์ในอุปกรณ์และงานอื่น ๆ มากมาย เมื่อพีซีมีขนาดจากที่วางอยู่บนโต๊ะ ลดขนาดลงมาวางอยู่ที่ตัก (แลบท็อป) และเล็กจนมีน้ำหนักเบาขนาดเท่ากับกระดาษ A4 ที่มีความหนาประมาณหนึ่งนิ้ว เรียกว่าโน้ตบุค และสับโน้ตบุค




จนในที่สุดมีขนาดเล็กเป็นปาล์มท็อป และใส่กระเป๋าได้เรียกว่า พ็อกเก็จคอมพิวเตอร์




พัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีพอที่จะเขียนเป็น ไดอะแกรมได้ดังรูป



รูป พัฒนาการทางเทคโนโลยี






 

Create Date : 26 มกราคม 2551    
Last Update : 26 มกราคม 2551 13:54:17 น.
Counter : 3116 Pageviews.  

เทคโนโลยีอุตรสาหกรรม

//img2.smileupload.com/upload_pic/10-02-2551/014w0n_10022551233320.jpg




 

Create Date : 22 ธันวาคม 2550    
Last Update : 12 กุมภาพันธ์ 2551 17:19:35 น.
Counter : 272 Pageviews.  


ความรักขมปี๋
Location :
เพชรบูรณ์ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ให้ทิปเจ้าของ Blog [?]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]


ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add ความรักขมปี๋'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.