เด็ก-ควัด-เก่ว[คนฟัดเก่ว]

เผยแพร่เมื่อ 21 ต.ค. 2012 โดย

ภาพบรรยากาศประเพณีถือศีลกินผักเมืองตรัง ประจำปี2555 โดยเน้นไปที่กิจกรรมของการเล่นเก่ว ฟัดเก่วของเด็กๆวัยรุ่นจนถึงผู้ใหญ่ มาร่วมสืบทอดประเพณีตรังกันครับ ชิ้วเก่ว หรือ เก่ว หรือ ไท้เผีย เป็นพาหนะของศักดิ์สิทธิ์ในขบวน ทั่วไปมักเลือกศักดิ์สิทธิ์ที่ขึ้นประทับบนเก่วเป็นยศระดับสูงพอสมควร เนื่องจากเมืองตรังมีประเพณีชุดหยิวแบบโบราณในรูปแบบ ฟัดเก่ว เก่วที่ใช้มักมีขนาดกลางจึงเหมาะสม สามารถยกได้โดยคนเพียงสองคน หันหน้าเข้าหากัน ผลัดกันดันและถอยพลิกซ้ายขวา มีรูปแบบสลับเท้า นับเป็นศิลปะที่ต้องถ่ายทอดกันรุ่นต่อรุ่น เนื่องจากเก่วมีขนาดไม่ใหญ่ศูนย์กลางเพียงจับมือถึงแกนเบื้องหน้าสำหรับยึดเพื่อฟัดเ­ก่วเท่านั้น จึงมีโอกาสสูงที่ผู้หามเก่วโดนประทัดได้ง่าย แต่อย่างไรก็ตามลูกหลานชาวตรังยังคงอนุรักษ์การฟัดเก่วรูปแบบดั้งเดิมไว้ได้ ไม่มีการนำผ้าผืนมาปิดกั้นศีรษะหรือหน้าตา เนื่องจากการหามศักดิ์สิทธิ์รูปแบบฟัดเก่วเป็นเรื่องที่ค่อนข้างหนักจึงต้องมีพรรคพว­กกลุ่มคณะคอยสลับสับเปลี่ยนกันตลอด โดยทั่วไปแต่ละศาลเจ้ามักสร้างเก่วขนาดเล็กสำหรับเด็กอายู 12 ปี หรือมากกว่านั้น เพื่อเป็นการปลูกฝังวัฒนธรรมฟัดเก่วให้ลูกหลานตั้งแต่เยาว์วัย สำหรับองค์ประกอบเก่วนั้นมีลักษณะคล้ายเก้าอี้นั่ง อาจเป็นลายไม้ธรรมดาหรือทาด้วยสีแดงมงคล เบื้องหน้ามีแกนไม้ฟั่นเชือกสำหรับใช้มือจับ เบื้องหลังมีธงทหารประจำทิศมัดเรียงสีในรูปแบบแน่นอน บนเก่วมักนิยมวางกิมซินเพียงหนึ่งหรือสองรูปเท่านั้น จุดธูปใหญ่ไว้เบื้องหน้าเก่วอยู่ตลอดเวลา




Create Date : 24 ตุลาคม 2555
Last Update : 24 ตุลาคม 2555 9:21:23 น. 0 comments
Counter : 697 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

p_chusaengsri
Location :
สมุทรปราการ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 52 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add p_chusaengsri's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.