พุทธอริยะ
Group Blog
 
All Blogs
 

หลวงปู่หมุน


Photobucket


หลวงปู่หมุน ฐิติสีไล พระมหาเถราจารย์ 5 แผ่นดิน

หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล สกุลเดิม ศรีสงคราม เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 5 ปีชวด พ.ศ. 2437 ณ บ้านจาน อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ บิดาชื่อดี มารดาชื่ออั๊ว บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ 14 ปี ครอบครัวได้นำไปฝากกับพระอาจารย์สีดา เจ้าอาวาสวัดบ้านจานผู้เป็นพระที่เชี่ยวชาญด้านกัมมัฎฐานและมีวิชาอาคมที่ เก่งมาก กระทั่งปี พ.ศ. 2460 ทำการอุปสมบท โดยมีหลวงพ่อสีดา เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อเพ็ง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "ฐิตสีโล" แปลว่าผู้มีศีลตั้งมั่น
หลังจากบวชแล้วได้จำพรรษาที่วัดบ้าน จาน ศึกษาเล่าเรียนอักษรไทย อักษรขอม ฝึกกัมมัฎฐานในหมวดสมถะและวิปัสสนากรรมฐานจากพระอุปัชฌาย์ ครูบาอาจารย์ต่างๆ ในแถบนั้นเป็นเวลา 4 ปีเต็ม จากนั้นท่านมีความคิดว่าจะต้องแสวงหาครูบาอาจารย์อื่นๆ เพื่อศึกษาคันถธุระและวิปัสสนาธุระในชั้นที่สูงๆ ขึ้นไปอีก จึงออกธุดงค์ไปตามที่ต่างๆ และร่ำเรียนวิชาอาคมกับพระเถระชื่อดังหลายรูปเกือบทั่วประเทศจนถึงประเทศลาว มาเลเซีย และ อินโดนีเซีย
ตลอดชีวิตแห่งการครองเพศบรรพชิต อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ก็ได้อุทิศตน ปฏิบัติตนตามแนวทางแห่งคำสอนของพระศาสดาอันพึงจะกระทำ สมกับฉายานามอันได้รับเมื่อครั้งอุปสมทบคือ "ฐิตสีโล" แปลความว่า ผู้ตั้งมั่นในศีล 85 พรรษาแห่งการครองผ้ากาสาวพัตร ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยออกจาริกธุดงค์ ปฏิบัติบำเพ็ญเพียรทางจิตเพื่อวิมุติ คือ ความหลุดพ้นตลอดจนออกโปรดญาติโยมไปยังทิศานุทิศ ทั่วทุกภาคของประเทศตลอดไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว เขมร พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย ในช่วงปัจฉิมวัย ตราบจนล่วงเข้าอายุ 80 ปี จึงได้หยุดจารึก กลับสู่มาตุภูมิ คือแดนแห่งบ้านเกิด คือวัดบ้านจานในปัจจุบัน และเป็นหลักชัยให้แก่ชาวบ้าน ต.บ้านจาน อันเปรียบเสมือน ลูก หลาน เหลน ของท่าน ไม่อาจจะพยากรณ์ได้ว่าพระเดชคุณ
“ หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล” จะเป็นพระอริยะสงฆ์ผู้สามารถประหารกิเลส บรรลุสู่คุณธรรมชั้นสูงหรือไม่ แต่ ศิษยานุศิษย์ก็กราบไหว้และเคารพนับถือท่านด้วยความสนิทใจในปฏิปทาอาจาริ ยวัตรที่ท่านประพฤติ ปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ
เมื่อเวลา 07:30 น. วันที่ 11 มี.ค. 2546 วงการสงฆ์และฆราวาส จ.ศรีสะเกษ ต้องพบกับความสูญเสียครั้งใหญ่ โดย หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านจาน ต.จาน อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ มรณภาพอย่างสงบด้วยโรคชรา รวมอายุ 109 ปี 87 พรรษา




 

Create Date : 06 กันยายน 2551    
Last Update : 6 กันยายน 2551 22:08:40 น.
Counter : 971 Pageviews.  

หลวงปู่สรวง


Photobucket

เรื่องราวของหลวงปู่สรวง พระอริยะสงฆ์ผู้พิสดารที่อยู่เหนือกาลเวลา ได้มีผู้เคยถาม หลวงปู่ฤทธิ์ รตนโชโต วัดชลประทานราชดำริ ว่า หลวงปู่รู้จัก หลวงปู่สรวง แห่งท้องทุ่งศรีสะเกษ หรือเปล่าครับ? หลวงปู่ฤทธิ์ ท่านบอกว่ารู้จัก และรู้จักมานานแล้ว เมื่อ คราวที่หลวงปู่ฤทธิ์ ทำบุญวางศิลาฤกษ์ สร้างศาลาการเปรียญหลังใหญ่ ที่วัดชลประทานราชดำริ หลวงปู่สรวงท่านก็มา เวลาท่านมาท่านก็มาของท่านเองไม่รู้ว่าท่านมาเมื่อไหร่ มารู้อีกทีก็เมื่อตอนที่เห็นท่าน เวลาท่านจะไปท่านก็ไปท่านเดินออกไปทางป่าด้านโน้น อยู่ด้านหน้าศาลาเป็นป่ากว้างมีน้ำท่วมขังเล็กน้อย ท่านเดินตรงไปแต่พอมองออกไปจะเห็นฝูงสัตว์เดินตามท่านเป็นพรวนแล้วสักพักท่านก็หายไป
หลวงปู่ฤทธิ์ ท่านยังได้พูดว่า เรื่อง หลวงปู่สรวงพูดไปแล้วก็เหมือนกับนิยาย เป็นเรื่องเหลือเชื่อ แต่ท่านก็มีตัวตนจริง เมื่อหลายสิบปีก่อน ได้พบเห็นท่านอย่างไร เดี๋ยวนี้ก็เห็นท่านเหมือนเดิม ตัวของหลวงพ่อเองนี่ซิแก่ลงไปทุกวันทุกปีนี่ก็อายุ82 แล้วแต่หลวงปู่สรวงท่านก็อยู่ของท่านอย่างนั้น ส่วนเรื่องอายุของ หลวงปู่สรวงนั้น หลวงปู่ฤทธิ์ท่านก็บอกว่า ท่านไม่รู้เหมือนกันว่าเท่าไหร่?.... สถานที่จำวัด เมื่อตอนที่พบ หลวงปู่สรวงก็คือ กระท่อมเฝ้านากลางท้องทุ่งริมถนนหมู่บ้านละลม-สะเดา ชายแดนด้านเขมร เป็นกระท่อมยกพื้นสูงมุงหลังคาด้วยไม้กระดานเก่าๆ กันลมกันฝนไม่ค่อยได้ ในวันนั้นหลวงปู่สรวงท่านนอนอยู่ในกระท่อม มีชายชราผมขาวนั่งเฝ้าอยู่ใกล้ ๆ คอยบีบนวดให้หลวงปู่สรวง นอกกระท่อมมีชายหญิงชาวบ้าน 4-5 คนนั่งคุยกันอยู่เป็นชาวบ้านย่านนั้น ข้างฝากระท่อมมีว่าวจุฬาตัวใหญ่เหน็บข้างฝาอยู่ 1 ตัว มีเตาเล็กๆ แลและหม้อหุ้งข้าวเก่าๆวางอยู่ 1 ชุด และก็มีถังใส่น้ำขุ่นๆเข้าใจว่าจะตักมาจากหนองน้ำกลางทุ่งที่อยู่ใกล้ ๆ หน้ากระท่อมหลวงปู่สรวงมีแคร่ไม้ยาว สำหรับนั่ง พวกเราทุกคนเข้าไปกราบท่าน ท่านก็ลุกขึ้นมาแต่ท่านไม่พูดจาอะไร ในปากของท่าน ก็เคี้ยวใบพลูสดอยู่ตลอดเวลา มีพวกผมคนหนึ่งถามท่านว่า หลวงปู่อายุเท่าไรแล้ว ท่านก็ตอบเป็นภาษาส่วย ซึ่งผมเองและเพื่อนที่ไปจากกรุงเทพ ก็ฟังไม่เข้าใจ แต่พรรคพวกที่ศรีสะเกษแปลว่าให้ฟังว่า เรื่องของอดีตลืมไปหมดแล้ว ชื่ออะไรก็จำไม่ได้ เขาเรียกว่าปู่สรวง ก็ปู่สรวง ชื่อเสียงมันก็ไม่ใช่ตัวของเราจะเรียกยังไงก็ได้ ถ้ามาคิดกันอีกแง่นึงก็เหมือนกับว่า ท่านได้สอนธรรมะชั้นสูงให้กับพวกเราให้รู้ว่า ให้มีแต่ปัจจุบันเพราะสิ่งทั้งหลายมันผ่านไปแล้ว มันเป็นเรื่อง สมมุติทั้งนั้น....
ว่าวจุฬาตัวใหญ่ที่เหน็บ ไว้ที่ข้างฝากระต๊อบก็เป็นสิ่งที่สะดุดใจของคณะพวกผม จึงไต่ถาม ชาวบ้านที่มาเฝ้าดูแลท่าน ชาวบ้านบอกว่า หลวงปู่ท่านชอบเล่นว่าว และชอบดูเขาตีไก่ชนกัน ตอนหน้าแล้งชาวบ้านทั่งเด็กและผู้ใหญ่จะไปเล่นว่าวกันที่กลางทุ่ง หลวงปู่สรวงท่านจะนั่งดูยิ้มหัวเราะด้วยความชอบอกชอบใจ บางคนยังเล่าว่า บางครั้งหลวงปู่สรวงท่านหายไปว่าวตัวที่เหน็บอยู่ก็หายไปด้วย เมื่อเห็นว่าเหน็บอยู่ที่กระต๊อบนั่นก็คือหลวงปู่ท่านต้องอยู่ที่กระต๊อบอย่างแน่นอน
ผมก็เลยถามว่าเวลาหลวงปู่สรวงท่านออกไปไหนทำไมคนที่เฝ้าอยู่ไม่รู้ ? พวกเขาบอกว่ามาดูแลท่านเฉพาะตอนกลางวัน พอกลางคืนต่างคนก็กลับบ้านในกระต๊อบก็จะมีหลวงปู่สรวงท่านอยู่รูปเดียว เมื่อท่านหายไปไหนจึงไม่มีใครรู้ ชาวบ้านในกลุ่มที่เล่าบางคนถึงกับบอกว่า ท่านบินไปพร้อมกับว่าว ส่วนเรื่องที่ท่านชอบดูเขาตีไก่ชนนั้นก็เป็นเรื่องจริง เพราะมีบ่อยครั้งที่ที่มีการตีไก่จะเห็นหลวงปู่สรวงไปนั่งดูอยู่ด้วย และท่านก็จะหัวเราะชอบใจตบมือตบไม้เชียร์ไก่ก็ยังมี การที่มีผู้คนส่วนใหญ่ไปหาท่านมักจะเป็น เรื่องของตัวเลข เพื่อเอาไปแทงหวย ยิ่งใกล้วันที่หวยออกจะมีรถราหลายสิบคันไปจอดเรียงรายอยู่ใกล้ๆกระต๊อบที่ท่านจำวัด ถ้าใครได้ยินหรือได้ฟังว่าหลวงปู่สรวงทำอะไรออกมาเป็นตัวเลข พวกเขาก็จะคิดกันไปต่างๆนาๆบางคนก็ถูกบางคนก็ไม่ถูก มีคนเล่าให้ฟังว่า คนที่ถูกหวยได้เงินจำนวนมากๆ หลายรายนำเงินสดไปถวายท่าน ท่านก็หยิบขึ้นมาดูแล้วก็โยนเข้ารกเข้าพงไปทั้งปึก คนที่เห็นเหตุการณ์ ก็เข้าไปหาแต่ก็หาไม่พบทั้งๆที่เงินจำนวนไม่ใช่น้อยและบางครั้ง ก็มีผู้นำเงินไปถวายท่าน เวลาที่เขากลับหลวงปู่สรวงท่านก็ขออาศัยรถเขาไปด้วยเมื่อรถแล่นไปตามถนนที่มีผู้คนมา
กๆหลวงปู่ท่านก็จะเอาเงินที่พวกเขาถวายออกมาโปรยไปตามถนนที่รถวิ่งให้กับผู้คนที่ยาก
จน นับเป็นที่ร่ำรือและฮือฮากันมาก
สมัยที่มีสงครามช่วงชิงอำนาจของเขมรยังรุ่นแรงอยู่ ก็มีผู้คนอพยพมาตามแนวชายแดนเป็นจำนวนมาก มีคนเล่าว่าหลวงปู่สรวงท่านจะเปลี่ยนเป็นนุ่งขาวห่มขาวออกไปรับผู้ที่อพยพเข้ามาทางช
ายแดน จุดใดที่ท่านออกไปรับผู้ที่อพยพก็มักจะปลอดภัยจากปืนใหญ่และการติดตามของทหารเขมร บางวันหลวงปู่สรวงท่านก็จะเอาผ้าสีขาวปักเป็นธงไว้ในที่สูงให้เห็นกันอย่างชัดเจน ชาวเขมรที่อพยพก็จะไปอยู่กันตรงที่หลวงปู่ปักธงสีขาวเอาไว้ วันนั้นถ้าจะมีปืนใหญ่ถล่มยิงมาตามแนวชายแดน ผู้คนที่อพยพมาอยู่ตรงที่หลวงปู่สรวงปักผ้าขาวเอาไว้ก็จะปลอดภัยจากลูกกระสุนปืนใหญ่

ภายหลังจากที่สงครามการช่วงชิงอำนาจของเขมรสิ้นสุดลง หลวงปู่สรวงท่านก็พักอยู่ที่กระต๊อบเฝ้านาด้านชายแดนเขมรแถว อำเภอ ขุขันธ์ เวลากลางวันก็มีชาวบ้านแถวนั้นมาคอยดูแลปรนนิบัติรับใช้ท่าน เวลากลางคืนหลวงปู่สรวงก็อยู่ของท่านรูปเดียว บางครั้งท่านก็จะหายไปนานๆ ท่านถึงจะกลับมา เมื่อมีผู้คนเดินทางไปหาท่านเขาก็จะถามร้านตรงที่อยู่ตรงปากทางเข้าบ้านละลม-สะเดา ว่าหลวงปู่อยู่ หรือไม่? ถ้าหลวงปู่สรวงอยู่เขาก็จะบอกว่า ท่านกลับมาแล้วเมื่อคืนนี้ แล้วต่างก็เข้าไปหาท่านที่กระต๊อบเฝ้านา ไม่แห่งใดก็แห่งหนึ่ง ในท้องทุ่งนั้นเคยมีผู้นิมนต์ท่านไปเจิม ร้านวันเปิดร้านทำบุญขึ้นบ้านใหม่ก็มีอย่างปั๊ม ปตท. ปากทางเข้า อำเภอ ขุขันธ์ ที่พวกเราแวะเติมน้ำมันรถและรับประทานอาหารกลางวัน ก็ได้พบรูปหลวงปู่สรวงติดไว้ในร้านทั้งยังมีข้อความใต้ภาพว่า “ หลวงปู่สรวง อายุ 500 ปี จำวัดทั่วจักรวาล” ทางเจ้าของร้านได้นิมนต์หลวงปู่สรวงท่านมาเปิดร้านให้ ปั๊มก็เจริญมาตลอดจนเป็นปั๊มใหญ่ดังที่ได้เห็นอยู่ทุกวันนี้
เรื่องของการเปิดป้ายร้านค้า ชาวบ้านผู้หนึ่งที่ได้เฝ้าดูแลหลวงปู่สรวงอยู่เล่าให้ผมฟังว่า มีร้านค้าเปิดใหม่แถวนั้นได้นิมนต์หลวงปู่สรวงเปิดร้าน พอท่านสวดมนต์และฉันอาหารเสร็จท่านก็เดินออกมาหน้าร้านด้านนอกถลกจีวรยืนฉีที่หน้าร้
าน เจ้าของร้านรู้ทันจึงได้เข้าไปเอามือรองฉี่ของท่านสะบัดไปทั่วหน้าร้าน เจ้าของร้านที่เอามือรองฉี่เล่าให้ฟังภายหลังว่าฉี่ของหลวงปู่สรวงแทนที่จะร้อนหรืออ
ุ่นๆ ที่มือฉี่ของท่านกลับเย็นเหมือนน้ำแข้งและเมื่อหวยออกงวดนั้น หมายเลขร้านค้าดังกล่าวตรงกับเลขของหวยที่ออกพอดี หลายคนที่อยู่ในที่นั้นเลยถือโอกาสรวยไปตามๆกัน บางรายได้นิมนต์ท่านสวดมนต์เย็นขึ้นบ้านใหม่ร่วมกับพระสงฆ์ที่มาจากที่อื่น เมื่อสวดมนต์เสร็จแล้วหลวงปู่สรวง ท่านจะลุกมาที่กลางบ้านนั่งถ่ายหนักอย่างหน้าตาเฉย ส่วนใหญ่เจ้าของบ้านก็จะรู้ทันรีบเอามือละเลงอึของท่านจนทั่วบ้าน เพราะเขารู้กันว่าอึของท่านไม่เหม็นแต่มีกลิ่นหอมคล้ายๆน้ำผึ้ง พฤติกรรมแปลกของหลวงปู่สรวง บางคนที่ไม่รู้ก็หาว่าท่านบ้าๆบอๆบางคนก็เห็นว่าท่านอยู่เหนือโลก บางคนเล่าให้ฟังอีกว่า ถ้าหลวงปู่สรวง ท่านจะไปไหนในเวลากลางวันท่านก็จะขอโดยสารรถไปดื้อๆ และก็ไม่มีรถคันไหนปฏิเสธท่าน ถ้ารถคันใดปฏิเสธท่านไม่ยอมให้ท่านไป รถคันนั้นก็จะขัดข้องเครื่องยนต์ก็จะดับบ้างติดบ้างหรือไม่ก็ยางแตกขับไปไหนไม่ได้ ดังนั้นเวลาท่านต้องการที่จะโดยสารรถคันไหนไปจึงไม่มีใครที่จะกล้าปฏิเสธ บางรายก็บอกว่าเมื่อท่านนั่งรถไปแล้วก็จะให้คนขับๆไปเรื่อยๆ ถ้าท่านให้หยุดส่งท่านตรงไหนท่านก็จะลงตรงนั้นแล้วท่านก็จะเดินหายไปเฉยๆ ไม่มีใครรู้ว่าท่านไปทำอะไรที่ไหน บางคนก็บอกว่าท่านกลับไปจำวัดที่กระต๊อบเฝ้านากลางทุ่งละลม-สะเดา แต่บางครั้งท่านก็จะหายไปนานๆ หลายๆวันแต่ก็ไม่มีใครทราบว่าท่านไปไหน จึงมีบางคนที่ถามท่านว่าท่านไปไหน ท่านก็ไม่ตอบ




 

Create Date : 06 กันยายน 2551    
Last Update : 6 กันยายน 2551 20:53:13 น.
Counter : 2664 Pageviews.  

หลวงพ่อคล้าย

Photobucket

ชาติภูมิ

พระครูพิศิษฐ์อรรถการ เดิมชื่อ คล้าย สีนิล เกิดวันที่ 27 มีนาคม 2419 ตรงกับวันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ปีชวด จ.ศ.1238 ร.ศ.95 ที่บ้านโคกทือ ตำบลช้างกลาง กิ่งอำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นบุตรของนายอินทร์ นางเหนี่ยว สีนิล มีพี่สาว 1 คน ชื่อนางเพ็ง

ลักษณะนิสัย เป็นคนมีมานะอดทน ขยันหมั่นเพียร อยู่ในโอวาทคำสั่งสอนของบิดามารดาและครูอาจารย์อย่างเคร่งครัด สุภาพ เรียบร้อย ว่านอนสอนง่าย นิสัยอ่อนโยนละมุนละไม จึงเป็นที่รักของบิดามารดา ครูอาจารย์และญาติมิตรเป็นอันมาก

เมื่ออายุ ๑๕ ปี ประสบอุบัติเหตุในการถางป่าทำไร่กระดูกปลายเท้า สามนิ้วแตกละเอียด รักษาไม่หาย ด้วยกำลังใจที่เด็ดเดี่ยว พ่อท่านคล้ายได้ใช้มีดตัดปลายเท้าออกด้วยตัวเอง และใช้ยาพอกจนหายเป็นปกติ

ขาของพ่อท่านคล้ายนั้นเสียข้างหนึ่ง คือ ขาด้านซ้ายขาดตั้งแต่ตาตุ่มลงไป (เสียตั้งแต่สมัยเด็กๆ โดนต้นไม้ทับที่บ้านญาติของท่านที่ จ.กระบี่ ขาเป็นหนองเลยต้องตัดทิ้ง โดยท่านใช้มีดปาดตาลตัดเอง) ท่านเลยต้องใส่กระบอกไม้ไผ่แทน

พ่อท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ.2438 (อายุ 19 ปี) บรรพชาที่วัดจันดี ต.หลักช้าง บรรพชาโดยอาจารย์ พระอธิการจันเจ้าอาวาสวัดจันดี (ทุ่งปอน) และพ่อท่านสามารถท่อง พระปาฏิโมกข์จนได้แม่นยำ

เมื่ออายุครบ ๒๐ ปี จึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ อุทกุกเขปสีมา หรือศาลาน้ำ ได้รับฉายาว่า จนฺทสุวณฺโณ โดยมีพระครูกราย คงคสุวณฺโณ เจ้าอาวาสวัดหาดสูง เป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วได้ไปจำพรรษา อยู่ที่วัดทุ่งปอน หรือวัดจันดี

การศึกษาเบื้องต้น พระครูพิศิษฐ์อรรถการ เริ่มศึกษาเบื้องต้นที่บ้าน โดยบิดาเป็นผู้สอน เรียนวิชาคำนวณ และวิชาอักษรโบราณ จนสามารถอ่านออกเขียนชำนาญ ทั้งหนังสือไทยและหนังสือขอม ต่อมาศึกษาต่อในสำนักนายขำ ที่วัดทุ่งปอน บ้านโคกทือ จนจบหลักสูตร ต่อมาได้ไปฝึกหัดเล่นหนังตะลุงกับนายทองสาก ประกอบกับพ่อท่านคล้ายมีหน้าตาดี น้ำเสียงไพเราะ จึงมีคนติดใจการเล่นหนังตะลุงของท่านมากการศึกษาสมัยอุปสมบท เมื่อบวชเป็นพระสงฆ์ได้ศึกษาพระธรรมวินัย ศึกษาภาษาบาลี (มูลกัจจายนะ) ณ สำนักวัดหน้าพระบรมธาตุฯ โดยมีพระครูกาแก้ว (ศรี) เป็นอาจารย์ ต่อมาได้ศึกษาทางวิปัสสนากัมมัฎฐานที่สำนักวัดสามพัน อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีอาจารย์หนูเจ้าอาวาสเป็นผู้สอน

ได้เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรีที่พระครูพิศิษฐ์อรรถการในปี พ.ศ.๒๔๙๘ ต่อมาได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นพิเศษในนามสมณศักดิ์เดิม แต่ประชาชนทั่วไปเรียกท่านตามชื่อเดิมว่า พ่อท่านคล้าย

ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสวนขัน ตำบลละอาย อำเภอฉวาง ใน พ.ศ. ๒๔๔๕ จนมรณภาพ

เป็นเจ้าอาวาสวัดธาตุน้อย ใน พ.ศ.๒๕๐๐ เนื่องจากมีการสร้างถนนผ่านกลางวัดจันดีหรือวัดทุ่งปอน ทำให้วัดถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน ประชาชนได้ประชุมตกลงสร้างวัดใหม่ในเนื้อที่ที่แยกออกไป เรียกว่า วัดพระธาตุน้อย และแต่งตั้งให้พระครูพิศิษฐ์อรรถการ เป็นเจ้าอาวาส เมื่อท่านมรณภาพไปแล้ว วัดนี้ก็เป็นที่ประดิษฐานสรีระของท่านไว้ในโลงแก้ว

Photobucket

พระครูพิศิษฐ์อรรถการ เป็นผู้นำในการสร้างวัดพระเจดีย์ พระพุทธรูป และร่วมกันในการปฏิสังขรณ์บูรณะศาสนสถานเป็นจำนวนมาก ผลงานสำคัญ ดังเช่น

สร้างวัด พ่อท่านคล้ายเห็นความสำคัญของปูชนียสถาน จึงได้สร้างวัดขึ้นหลายแห่ง ได้แก่ วัดมะปรางงาม ตำบลละอาย อำเภอฉวาง ใน พ.ศ. ๒๔๙๐ ต่อมา พ.ศ. ๒๕๐๐ ทายาทอึ่งค่ายท่าย ถวายที่ดินใกล้ตลาดนาบอน จึงสร้างวัดขึ้นเรียกชื่อตามสมณศักดิ์ว่า วัดพิศิษฐ์อรรถการาม และวัดที่สำคัญที่สุดคือวัดพระธาตุน้อย หรือคนทั่วไปเรียกว่า วัดพ่อท่านคล้าย พระครูพิศิษฐ์อรรถการได้สร้างขึ้นใหม่ และสร้างเจดีย์องค์ใหญ่ไว้เป็นอนุสรณ์ โดยยึดรูปแบบมาจากวัดพระมหาธาตุทั้งหมด การก่อสร้างสำเร็จในปี พ.ศ. ๒๕๑๓

สร้างพระเจดีย์ พ่อท่านคล้ายได้สร้างพระเจดีย์ไว้หลายองค์ ได้แก่ เจดีย์วัดสวนขัน เจดีย์บ้านควรสวรรค์ ตำบลนาแว อำเภอฉวาง เจดีย์วัดยางค้อม อำเภอพิปูน และที่จังหวัดสุราษฏร์ธานี ได้แก่ เจดีย์วัดสวนขันอำเภอพระแสง และเจดีย์หน้าถ้ำขมิ้น บนภูเขาอำเภอนาสาร

งานด้านพัฒนาท้องถิ่น

พ่อท่านคล้าย จัดได้ว่าเป็นนักพัฒนาที่ยิ่งใหญ่ตลอดชีวิต ทำงานโดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ได้เดินทางไปพัฒนาในที่ต่าง ๆ มากมาย สร้างถนน สะพานมากมาย ด้วยเมตตาบารมีและความเคารพศรัทธาของศิษย์และประชาชน ดังเช่น

ด้านความมีเมตตาและวาจาสิทธิ์

ศิษย์ยานุศิษย์และประชาชนที่เคารพนับถือ ศรัทธาพ่อท่านคล้ายได้เชื่อถือถึงความศักดิ์สิทธิ์ของวาจา พูดอย่างไรเป็นอย่างนั้น พ่อท่านคล้ายจะพูดจากับทุกคนด้วยใบหน้ายิ้มแย้มและแจ่มใสอารมณ์เยือกเย็นอยู่ตลอดเวลา ท่านมักจะให้พรกับทุกคน "ขอให้เป็นสุข เป็นสุข" ผู้ที่เคารพนับถือท่านต่างพากันกลัวคำตำหนิ เพราะผู้ที่ถูกตำหนิทุกรายล้วนแต่พบความวิบัติ คนส่วนมากจึงหวังที่จะได้รับคำอวยพร เพราะคำเหล่านั้นเป็นการพยากรณ์ที่แม่นยำทั้งในทางดีและทางเสื่อมเสีย

คนที่ไปนมัสการหวังที่จะได้วัตถุมงคล บ้างขอน้ำมนต์ ชานหมาก แหวน ผ้ายันต์ เหรียญ รูปหล่อ รูปพิมพ์ ซึ่งพ่อท่านคล้ายก็ได้มีเมตตาให้กับทุกคน ยิ่งชานหมากของท่านหากใครได้รับจากมือท่านเป็นต้องหวงแหนอย่างที่สุด

มรณภาพ

พ่อท่านคล้ายมรณภาพด้วยโรคหืด เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ..ศ. ๒๕๑๓ รวมอายุได้ ๙๖ ปี เมื่อบำเพ็ญกุศลครบ ๑๐๐ วัน จึงได้บรรจุสรีระของท่านไว้ในโลงแก้ว ประดิษฐานอยู่ในองค์พระเจดีย์ในวัดพระธาตุน้อยจนถึงปัจจุบัน




 

Create Date : 01 สิงหาคม 2551    
Last Update : 1 สิงหาคม 2551 13:28:01 น.
Counter : 661 Pageviews.  

หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา


Photobucket

ท่านพระครูภาวนา กิตติคุณ (หลวงพ่อน้อย)
• • • • • • • • • • • • • • • • • • • •
ชาติกำเนิด

ท่านพระครูภาวนา กิตติคุณ มีนามเดิมว่า "น้อย" มีนามฉายาว่า "อินทสโร"

เกิดที่บ้านหนองอ้อ ตำบลธรรมศาลา อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม เมื่อ ปีมะแม ตรงกับวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2426 เวลา 04.00 น. ซึ่งตรงกับรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามดวงชะตาในแผ่นเงินที่เก็บเป็นประวัติ ณ วัดธรรมศาลา ปรากฏดังนี้

ปีมะแม เบญจศก ปริติมาสวารอธิถสุรทิน จุลศักราช 1245วันที่ 12 พฤษภาคม พุทธศักราช 2426 เวลา 04.00 น. พระลักษณาสถิต ราศรีเมษฤกษ์ที่ 7 - นาฑีฤกษ์ 52 มีนามว่าเพ็ชฒฤกษ์ จันทร์องศา 14 ลัคนา 37 พุทธรักษา ธัมมรักษา สังฆรักษา บิดารักษา พระอินทร์รักษา พระ…รักษา พระพรหมรักษา เทวดารักษา มารดารักษา "พระอาจารย์น้อย"


หลวงพ่อน้อย มีโยมบิดา ชื่อแสงโยมมารดาชื่อ อ่อน โยมพี่เป็นหญิง ชื่อ ปู๋ ซึ่งแต่ละท่านได้ถึงแก่ อนิจกรรมมานาแล้ว ตามที่สืบทราบมาได้ญาติคนสุดท้าย ของหลวงพ่อที่ยังอยู่บ้านหนองอ้อ คือ นายเอม มีศักดิ์เป็นหลาน

ตามความนิยมในประเพณี ของไทยแต่โบราณ วัดไม่เป็นที่พึ่งทางใจอย่างเดียว วัดเปรียบเสมือนเป็นโรงพยาบาลของชาวบ้าน ใครเป็นโรคอะไรเดือดร้อนก็ต้องวิ่งไปหาพระที่วัดช่วยเป่ารักษาด้วยเวทย์มนต์ หายกันมาส่วนมาก วัดเปรียบเสมือนโรงเรียน เด็กที่อยู่ใกล้วัดไหนก็มักจะไปเรียนหนังสือกันตามวัดมีพระเป็นครูวัดเป็นสถานที่ให้ความรู้ แก่ลูกหลานชาวบ้านมาก พร้อมกันนั้นชาวบ้านก็ช่วยเหลือถวายปัจจัย 4 แก่พระและช่วยสร้างถาวรวัตถุให้เป็นบางครั้งบางคราวจึงพูดกันเป็นบทเป็นกลอนติดปากว่า

ดังนั้นในสมัยที่หลวงพ่อมีชีวิตอยู่ในเยาว์วัยโยมบิดาได้นำหลวงพ่อไปฝากไว้กับท่านพระครู ปริมานุรักษ์ (นวม) เจ้าอาวาสวัดธรรมศาลาในยุคนั้นเพื่อการศึกษา เล่าเรียนและรับการอบรม ตามความนิยมในประเพณีของไทยแต่โบราณ

เมื่อหลวงพ่อได้ศึกษาเล่าเรียนและได้รับการอบรมจากท่านพระครูปริมานุรักษ์(นวม)เจ้าอาวาสวัดธรรมศาลา จนมีความรู้ ความสามารถในการอ่านและเขียนภาษาไทยกับภาษาขอมได้

พอหลวงพ่อมีอายุได้ 15 ปี โยมบิดาได้นำไปฝากไว้กับท่านพระอธิการ "ชา" เจ้าอาวาสวัดสามกระบือเผือก เพื่อการศึกษาต่อ เรียนอักขระสมัยภาษาขอม ภาษาไทย ได้ดีและเขียนอ่านได้อย่างแตกฉานจนพระอธิการชา เจ้าอาวาส วัดสามกระบือเผือก เป็นที่ชอบอกชอบใจในตัวหลวงพ่อ

จากนั้นจึงได้ บรรพชาเป็นสามเณร ในระหว่างที่เป็นสามเณรนี้ได้ไปมาหาสู่ระหว่างวัดสามกระบือเผือกกับวัดธรรมศาลา เป็นประจำจวบจนกระทั่งโยมบิดาและโยมมารดาถึงวัยชรามีโรคภัยเบียดเบียน หลวงพ่อจึงได้สึกจากสามเณร มาช่วยเหลือบิดามารดา ในการประกอบอาชีพด้วยความกตัญญูกตเวที ณ บ้านหนองอ้อ อันเป็นภูมิลำเนาเดิม

เมื่อท่านมีอายุครบ 20 ปี บริบูรณ์ จึงได้อุปสมบท ณ วัดธรรมศาลา เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2446 มีพะอธิการทองวัดลมุด อำเภอนครชัยศรีเป็นพระอุปัชฌายะ พรครูปริมานุรักษ์ (นวม) เจ้าอาวาสวัดธรรมศาลา เป็นพระกัมมวาจาจารย์และพระสมุห์แสง วัดใหม่ อำเภอนครชัยศรี เป็นพระอนุสาวนาจารย์ มีนามฉายาว่า "อินทสโร"

นับแต่หลวงพ่ออุปสมบทแล้วก็ปฏิบัติพระธรรมวินัยโดยเคร่งครัด มีความสมใจศึกษาทางด้านวิปัสสนาธุระสมถะและไสยเวทย์ ท่านได้ศึกษาพระธรรมวินัยเป็นเบื้องต้น จากอาจารย์หลายองค์ได้แก่ พระอธิการทอง วัดลมุด พระครูปริมานนุรักษ์(นวม) พระครูทักษินานุกิจ (แจ้ง) พระสมุห์ แสงวัดใหม่ รวมทั้งอาจารย์ อู๊ด ที่เป็นฆราวาสรวมอยู่ด้วย โดยอาศัยที่หลวงพ่อ มีความรู้ภาษาขอมมาแต่เดิมและมีสมาธิมั่งคงแน่วแน่ จึงให้การศึกษาทางพุทธาคม ของท่านเป็นได้ความรวดเร็ว ร่ำเรียนวิชาชนิดไหนก็สำเร็จไปทุกอย่าง

อุปนิสัยของหลวงพ่อ ท่านสงบเงียบ มีความเคร่งขรึมและสำรวมอยู่เป็นเนืองนิจ ไม่ชอบแสดงออกให้ผู้ใดได้ทราบว่า หลวงพ่อนั้นมีดีอย่างไรจึงไม่มีผู้ใดทราบรายละเอียดเท่าที่รู้ๆ กันนั้นก็ในหมู่ลูกศิษย์ เป็นสิ่งที่ปรากฏการณ์มาภายหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การละโลภะ โมหะ โหสะ ทั้งมวล หลวงพ่อมุ่งแต่ประกอบความเจริญให้กับผู้อื่นและส่วนรวม เคร่งครัดในศีลในธรรม และประกอบด้วยความมั่งคงในพรหมจรรย์อันเป็นจริยาวัตรเป็นที่ประจักษ์แต่ผู้พบเห็นนี้ ย่อมเป็นสิ่งที่แสดงว่า

หลวงพ่อแก่กล้าในญาณสมาบัตินั้นเป็นที่เชื่อถือกันอยู่ทั่วไปว่า มีความแก่กล้าทันตามวัยวุฒิของหลวงพ่อในทางวิปัสสนาธุระมามากพอสมควร ดังปรากฏจากสิ่งแสดงออกหลายประการ อันได้แก่วาจาศักดิ์สิทธิ์จนเป็นที่เลื่องลือ การแผ่เมตตาด้วยสื่อสัมพันธ์ทางกระแสจิตจนทำให้สัตว์ป่า คือวานรที่มาอาศัยอยู่มีความเชื่องและเข้าใจประหนึ่งเป็นศิษย์ที่รู้ภาษาของหลวงพ่อด้วย รวมทั้ง นก กา ไก่ ที่มาอาศัยอยู่ในวัดหลวงพ่อให้ความคุ้มครองสัตว์ทั้งหลายในขอบเขตของวัดจนไม่อาจมีผู้ใดมาทำอันตรายได้ ดังปรากฏมีนักเลงปืนมือฉมังมาลองยิงนกในวัดอยู่เนืองๆ โดยไม่ปรากฏว่าผู้ใดได้นกไปแม้แต่ตัวเดียวข่าวนี้ได้รำลือออกไปจากลูกศิษย์จนเป็นที่ทราบกันอยู่ทั่วไป จากเหตุการณ์ครั้งนั้นและในระยะหลังบ้างจึงทำให้ลูกศิษย์ได้เข้าใจหลวงพ่อเกี่ยวกับกฤตยาคมมากขึ้น

โดยปกติหลวงพ่อมีร่างเล็ก แกร่งแข็งแรง มีกิริยากระฉับกระเฉง ไม่อืดอาดเช่นผู้ชราบางคน มีความเมตตาต่อบุคคลและสัตว์ทั้งหมดอยู่ตลอดเวลา และเคร่งครัดต่อกิริยาบทของหลวงพ่อ จะปรากฏให้ผู้อื่นได้เห็นอยู่ตลอดเวลาในกิริยาสำรวมนี้

นอกจากนี้ หลวงพ่อท่านยังมีความนักน้อยยึดสันโดษมีความพอใจต่อสิ่งที่มีอยู่โดยแท้จริง ปราศจากความต้องการและความสุขสบายส่วนตัว แม้ในเรื่องการสร้างกุฎิให้หลวงพ่อก็เช่นกัน ลูกศิษย์ทั้งหลาย ต่างเห็นว่าหลวงพ่อท่านจำวัดในห้องเล็กๆ ทึบ อบอวล เกรงว่าจะไม่เหมาะสมกับวัยชราของท่าน จึงมีความปรารถนาร่วมกันที่จะสร้างกุฏิให้หลวงพ่อใหม่ เพื่อบังเกิดความสะดวกสบายตามสังขารอันควรจะเป็นไป รวมทั้งจักได้มีที่รับรองลูกศิษย์ลูกหาให้เหมาะสมซึ่งจะมีไปนมัสการหลวงพ่อท่านเป็นประจำทุกวัน

การขอร้องในเรื่องนี้หลวงพ่อท่านไม่ยอมอนุญาตในระยะแรก โดยปฏิเสธว่าท่านจะอยู่อีกไม่นานนัก แล้วประกอบกับหลวงพ่อท่านได้พิจารณาเห็นว่า เป็นการส่วนตัวเฉพาะท่านเท่านั้น หลวงพ่อมีความปรารถนาแต่เพียง ต้องการให้สิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในวัดนี้ควรจะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม แต่ในท้ายที่สุดหลวงพ่อท่านก็ต้องยอม โดยขัดศรัทธาความรบเร้าจากลูกศิษย์บ่อยๆครั้งอยู่ไม่ได้ หลวงพ่อจึงอนุญาตตามใจลูกศิษย์ การสร้างกุฏิ "อินทสโร"ในการปลูกกุฏินี้ปลูกทับลงที่เก่าระหว่างก่อสร้าง จึงทำเพิงที่พักให้กับหลวงพ่อเป็นการชั่วคราว

แล้วลูกศิษย์กับกรรมการช่วยกันเก็บข้าวของของหลวงพ่อออกจากพื้นที่ เพื่อการรื้นกุฏิหลังเดิมในการเก็บข้าวของนี้ได้พบซองใส่เงินอยู่เป็นจำนวนมาก ที่ยังมิได้แก้ออกเลย ในซองมีทั้งปัจจัยและนามบัตรผู้ถวายบางซองกระดาษคร่ำคร่า อยู่ใต้ที่นอนของหลวงพ่ออันเป็นสิ่งแสดงว่า หลวงพ่อท่านไม่ยินดียินร้ายต่อลาภสักการะเหล่านี้ ใครเขาถวายมาก็ได้แต่เก็บรวมๆ ไว้ในการรื้อกุฏิเก่าของหลวงพ่อครั้งนั้นรวมเป็นเงินได้ประมาณสองแสนกว่าบาท คณะกรรมการจึงได้นำเงินเข้าธนาคารต่อไป

การปกครองวัดในระยะแรกที่หลวงพ่อครองวัดที่ยังมิได้มีโรงเรียนเทศบาล จะมีลานอันร่มรื่นแห่งหนึ่งที่บริเวณหน้าพระอุโบสถหลังเดิม ลานนี้จะมีต้นลั่นทมปลูกอยู่หลายต้น ในฤดูออกดอกจะมีบรรยากาศเต็มไปด้วยความชื่นตาชื่อใจและบริเวณพื้นที่นั้นจะโล่งเตียนอยู่เป็นเนืองนิจ เพราะหลวงพ่อรักษาให้สถานที่มีความสะอาดร่มรื่นสงัดเงียบอันเหมาะกับเป็นที่ตั้งของพระอารามในพระพุทธศาสนา โดยท่านจะคอยปรามมิให้ผู้ใดมาทำลายความร่มรื่นดังกล่าวนี้ กรณีนี้ท่านผู้รู้ให้ทรรศนะว่าอันความสงบเงียบของสถานที่ ตามพระอารามเช่นนั้นจะเป็นแหล่งอำนวยประโยชน์ในการสร้างปัญญา โดยพระสงฆ์องค์เจ้าที่มาศึกษาทั้งทางคันถธุระและวิปัสนาธุระ จะได้อาศัยในการพิจารณาหัวข้อและปัญหาธรรมทั้งมวล เพื่อความแตกฉานในภูปัญญา นอกจากนั้นสัตว์เล็กๆ ต่างก็จะได้อาศัยความร่มรื่นปราศจากภัยอันตรายเป็นที่พำนักพักพิงของนกกา

ในสมัยที่หลวงพ่อท่านยังมีความแข็งแรงโดยมิต้องมีผู้พยุงเดินนั้น หลวงพ่อท่านจะแสดงพระธรรมเทศนาอยู่เป็นประจำเพื่อสั่งสอนอุบาสกอุบาสิกา ให้ประพฤติแต่คุณงามความดีและในฤดูกาลเข้าพรรษา มีพระภิกษุนวกะมากท่านจะเปิดโอกาสให้พระบวชใหม่ได้ถามปัญหาธรรมต่างๆ ที่ข้องใจ แต่ส่วนใหญ่นั้นท่านจะใช้วิธีใกล้ชิด เพื่อให้พระนวกะเกิดความเกรงใจไม่ประพฤติปฏิบัติในหนทางที่ไม่บังควรต่อสมณเพศ เช่น ในเวลาฉันจังหันท่านก็นิมนต์พระนวกะมาฉันใกล้ๆ กับหลวงพ่อ สำหรับการฉันจังหันของหลวงพ่อนั้นก่อนอื่นท่านจะนั่งนิ่งพิจารณาเป็นครู่ใหญ่ เมื่อเวลาฉันหลวงพ่อจะเฉลี่ยโดยทั่วถึงอันสร้างความอิ่มอกอิ่มใจให้กับญาติโยมที่นำของมาถวายเป็นอย่างยิ่ง

หลวงพ่อจะฉันด้วยมือและใกล้ท่านต้องมีถ้วยใส่น้ำไว้คอยชุบมือ นอกจากหลวงพ่อจะฉันที่เป็นน้ำเช่น แกงจืด หลวงพ่อจึงจะใช้ช้อนโดยเฉพาะขนมครกหลวงพ่อชอบมาก เวลาท่านจะฉันหมาก หลวงพ่อจะให้ลูกศิษย์หรือญาติโยมที่นำมาถวาย ใส่ในตะบันและตำให้ละเอียดถ้าไม่กลับเอาข้างล่างขึ้นมาอยู่บนและตำใหม่อีกครั้งหลวงพ่อจึงจะฉัน แต่ถ้าลูกศิษย์หรือโยมบางคนไม่รู้เมื่อตำเสร็จส่งให้หลวงพ่อๆ จะไม่ฉันทั้งที่หลวงพ่อไม่ได้ดูการตำผู้เขียนเอายังงงว่าหลวงพ่อรู้ได้ยังไง

ในสมัยที่หลวงพ่อยังแข็งแรงนี้ หลวงพ่อได้มีโอกาสสั่งสอนเยาวชนที่เข้าศึกษาในโรงเรียนประชาบาลของวัดธรรมศาลานี้ ด้วยการแสดง พระธรรมเทศนาเป็นประจำทุกวันโกนเพื่อต้องการให้เยาวชนมีความประพฤติและความเพียรพยายาม ในการศึกษาเล่าเรียนเพื่อความเจริญในทางจิตใจ และก้าวหน้าในบวรพระพุทธศาสนา
ด้วยความดีพร้อมในศีลจริยาวัตรทั้งมวลของหลวงพ่อ จึงได้สร้างความเคารพยำเกรง ให้กับบุคคลทั่วไปประกอบกับเป็นที่เลื่องลือในวาจาศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อ จึงเป็นผลสะท้อนทางอ้อมเกี่ยวกับการสนับสนุนในด้านการปกครองท้องถิ่นไปโดยปริยาย โดยจะไม่มีปรากฏว่าผู้ใดมาประพฤติชั่วในเขตวัดของหลวงพ่อ และลูกศิษย์บางคนที่จะคิดประพฤติชั่วในทางที่ไม่ควรลับหลังท่าน ถ้าระลึกถึงท่านได้แล้วมักจะระงับ ที่จะพฤติปฏิบัติเช่นนั้นเสีย

ดังนั้นจึงเป็นที่ทราบกันดีอยู่ว่าในกรณีที่ทางวัดได้ประกอบเป็นงานบุญขึ้น จะไม่บังเกิด เรื่องราวภายในวัดให้กระทบกระเทือนสถาบันทางพระศาสนา จึงมิต้องอาศัยเจ้าพนักงานของบ้านเมือง มารักษาความสงบสุข นี้ก็เป็นเพราะบุญบารมีของหลวงพ่อที่ลูกศิษย์เคารพนับถือตามคำสั่งสอนของท่าน หลวงพ่อยังได้บูรณะปฏิสังขรณ์วัดให้เจริญรุ่งเรือง

ในชีวิตเบื้องปลายของหลวงพ่อท่านได้รับนิมนต์ไปร่วมในพิธีพุทธาภิเษก ณ ที่อื่นๆ อยู่เนืองๆ เช่นเมื่อปี พ.ศ. 2500 พระครูกัลยานุกูล( ) ได้นิมนต์หลวงพ่อไปร่วมชุมนุมพระอาจารย์ 1782 รูปเข้าพิธีพุทธาภิเษกสร้างพระสมเด็จและรูปสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) เป็นอนุสรณ์กึ่งพุทธกาลโดยบันทึกประวัติในหนังสือชุมนุมพระอาจารย์ ความสำคัญมีว่า

พระอาจารย์น้อย อินทสโต อายุ 77 ปี พรรษา 57 เจ้าอาวาสวัดธรรมศาลา ตำบลธรรมศาลาลงทางมหาอุตย์กันกระทำ มหานิยม คลอดบุตรง่าย - ปลอดภัยกันภยันตรายต่างๆ เลี้ยงบุตรง่าย ก็เด็กขี้อ่อน กันแท้งลูก ใส่ก้งถุง - มีเงินใช้ไม่ขาด มีอำนาจ"

และในพิธีเททองหล่อพระพุทธรูปพระกริ่งที่สำคัญอีกครั้งหนึ่ง ที่วัดประสาทบุญญาวาท เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2508 หลวงพ่อท่านร่วมลงแผ่นโลหะปลุกเสกไปเข้าพิธีด้วย และปรากฏว่าแผ่นโลหะที่หลวงพ่อปลุกเสกนี้ เมื่อใส่ไปในเบ้าหลอมกลับไม่ละลายซึ่งเป็น 1 ใน 5 ของพระอาจารย์ที่ปรากฏการณ์แบบเดียวกันอันเป็นที่โจษจรรย์ในอิทธิปาฏิหาริย์มาแล้วครั้งหนึ่งในหมู่ลูกศิษย์ย่อมรู้กันดี ในระยะหลังที่ได้ของดีจากหลวงพ่อไปแล้วต่างได้ประสบการณ์ในอิทธิปาฏิหาริย์ ใครมีวัตถุมงคลของหลวงพ่อจึงหวงแหนมาก
มูลเหตุการสร้างอิทธิวัตถุ

หลวงพ่อได้ศึกษาวิชาการทางพุทธคุณพร้อมกับเจริญด้วยวิปัสสนาธุระมาเป็นเวลานาน แต่ก็มิได้แสดงออกให้ผู้ใดได้ทราบ แต่จากจริยาวัตรของท่านที่เห็นแต่ภายนอกก็สร้างความศรัทธาให้กับบุคคลผู้พบเห็นจวบจนระยะวัยชรา ศิษย์ทั้งหลายต่างก็พร้อมใจกันขอให้หลวงพ่อ ได้สร้างอิทธิวัตถุเพื่อเป็นมงคลแก่บรรดาศิษย์ทั้งมวล เมื่อไปขอท่านแต่ละครั้งท่านก็ให้เหตุผลว่า สมัยนี้มีคนประพฤติชั่วกันมากของท่านหากสร้างขึ้นมาก็อาจจะมีบุคคลนำไปใช้ในทางที่ผิด แล้วความเสื่อมเสียก็จะมีมาถึงหลวงพ่ออันเป็นสิ่งไม่บังควรในสภาวะการครองสมณเพศ

แต่ในเวลาต่อๆ มา บรรดาศิษย์ทั้งหลายก็ไม่ละความพยายามที่จะขอให้หลวงพ่อท่านสร้างอิทธิวัตถุมงคลให้ได้ แต่ก็ไม่มีผู้ใดกล้าจัดพิธีการสร้างเพราะทุกคนต่างกลัว เกรงใจและรักเคารพต่อหลวงพ่อเป็นเคารพเป็นอย่างยิ่ง จึงไม่อยากทำอะไรให้เป็นที่ขัดความประสงค์

จวบจนมาในระยะหลังๆ มีลูกศิษย์ผู้หนึ่งได้ไปพบพระเมฆพัดที่ร้านจำหน่ายพระมีไว้ให้เช่าพระเมฆพัดนี้ พิมพ์เดียวกันกับหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบเป็นผู้ปลุกเสก เพื่อแจกทหารเรือในสมัยสงครามอินโดจีน มีลักษณะเป็นรูปพระสมาธิสี่ด้านและมาเรียกกันว่าพิมพ์พรหมสี่หน้าเมื่อ 30 ปีก่อนผู้เขียนก็เคยพบพระพิมพ์นี้เหมือนกัน ที่ร้านจำหน่ายพระพุทธและเครื่องบวชในสะพานหัน และเข้าใจว่าเป็นพระที่สร้างเกินจำนวนจากการสร้างถวายหลวงพ่ออี๋ในปี พ.ศ. 2433

ดังนั้นศิษย์หลวงพ่อน้อยที่มาพบพระพิมพ์พรหมสี่หน้าที่กรุงเทพฯ นี้อาจจะได้จากร้านพระพุทธรูปบูชาในสะพานหันและเสาชิงช้าก็ได้ จึงได้เช่าไปประมาณ 200 กว่าองค์ เมื่อเช่ามาได้แล้วจึงพากันไปหาหลวงพ่อ แล้วถวายหลวงพ่อเพื่อการปลุกเสก

พร้อมกับมีผู้เรียนหลวงพ้อว่าพระจำนวนนี้เมื่อหลวงพ่อปลุกเสกแล้ว จัดได้แจกจ่ายให้ลูกศิษย์ใกล้ชิดทั้งหลายคงจะไม่มีผู้ใดนำไปใช้ในทางที่ผิด เพราะแต่ละคนมีความเชื่อมั่นในคำสั่งสอนของหลวงพ่อทั้งสิ้น โดยลักษณะนี้หลวงพ่อท่านจำยอมรับมาปลุกเสกให้ ในการปลุกเสกหลวงพ่อท่านทำทุกวัน เป็นระยะเวลานานพอสมควร แต่ก็ไม่มีผู้ใดจำว่านานเท่าใด จึงได้แต่เชื่อว่าประมาณ 1 พรรษาหลวงพ่อจึงนำมาแจกจ่ายให้กับศิษย์ทั้งหลาย พระชุดนี้จึงถือว่าเป็นพระชุดแรกที่หลวงพ่อท่านปลุกเสกให้

ในระยะต่อมาก็มีลูกศิษย์อีกหลายคนที่ยังมิได้รับพระปลุกเสกครั้งแรกจากหลวงพ่อ ต่างก็มาขอร้องให้ท่านสร้างหรือเหรียญเพื่อจักได้ให้เป็นที่ระลึกโดยทั่วถึง ความปรารถนาของศิษย์ทั้งหลายที่หลวงพ่อได้รับรู้นี้ ท่านได้ใช้เวลาไตร่ตรองอยู่เป็นนานพอสมควร และในโอกาสที่ท่านได้พบกับหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ซึ่งมีความมักคุ้นกันมากหลวงพ่อท่านก็ได้ปรารภความปราถนาของศิษย์ดังกล่าวให้หลวงพ่อเงินทราบ หลวงพ่อเงินท่านก็สนับสนุน ควรจะตอบสนองความศรัทธา

หลังจากนั้นไม่นานนัก เมื่อบรรดาลูกศิษย์ นำเรื่องนี้เรียนกับหลวงพ่ออีก หลวงพ่อท่านก็ไม่กล่าวความแต่อย่างใด กลุ่มลูกศิษย์จึงถือว่าท่านอนุญาตแล้วจึงเริ่มตั้งต้นการสร้างเหรียญของท่านก่อนเป็นปฐมฤกษ์

แต่ในครั้งแรกนี้ในฐานะที่แต่ละคนยังไม่เคยสร้างพระ หรือสร้างเหรียญมาก่อน จึงใช้วิธีการติดต่อช่างว่าจ้างให้สร้างเหรียญรูปหลวงพ่อขึ้นจำนวนหนึ่ง เหรียญรุ่นนี้เป็นเหรียญรุ่นอัดพิมพ์ เนื้อโลหะผสมที่แก่ทองแดงพิมพ์เสมา มีขนาดค่อนข้างเล็ก

ด้านหน้าเบื้องบนอักษรไทยตัวนูนว่า "หลวงพ่อน้อย" ขอบด้านหน้ามีลายกนกกิ่งกลางด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อครึ่งองค์ลอยเด่นอยู่ตรงกลาง มีใบหน้าหนุ่มและรู้สึกดูด้านล่างของรูปหลวงพ่อประมาณแนวอก ตัดตรงและไม่มีส่วนใดชิดเส้นขอบ

สำหรับด้านหลังเรียบมียันต์นะปถมังอยู่ตรงกลางเป็นเส้นนูนขึ้นมา ดังนั้นเหรียญรุ่นนี้จึงนับว่าเป็นรุ่นแรก ที่หลวงพ่อได้สร้างและปลุกเสกจากมูลเหตุที่จะมีการสร้างอิทธิวัตถุของหลวงพ่อขึ้นดังกล่าวมาแล้วนั้น เมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นได้ว่าลูกศิษย์ได้ใช้ระยะเวลานานพอสมควรกว่าหลวงพ่อจะอนุญาตซึ่งการสร้างเหรียญชุดแรกขึ้นนี้ ท่านก็คงมุ่งหวังแต่เพียงเป็นของที่ระลึกสำหรับลูกศิษย์ในกาลอนาคตที่ท่านจากไปแล้ว

ส่วนก่อนหน้านี้สิ่งที่หลวงพอกระทำอันเกี่ยวกับพุทธาคมก็มีเรื่องการลงไม้หลักมงคล การรดน้ำมนต์การเสกทราย การทำตะกุดโทน เป็นอาทิ

"อิทธิวัตถุของพระครูภาวนากิตติคุณ"

หลวงพ่อน้อย อินทสโร หรือท่านเจ้าพระคุณภาวนากิตติคุณองค์นี้ได้สร้างอิทธิวัตถุอันเป็นมงคลไว้หลายชนิด ทั้งที่สร้างเป็นรุ่นๆ ในจำนวนมาก และที่ปลุกเสกเป็นการเจาะจงให้กับลูกศิษย์เป็นเฉพาะรายในจำนวนน้อย เมื่อรวมกันแล้วถึง 50 กว่าชนิด การสร้างนั้นท่านมีวัตถุประสงค์เพื่อแจกเป็นที่ระลึกให้กับบรรดาผู้ที่มานมัสการหลวงพ่อ รวมทั้งแจกในโอกาสต่างๆ เช่น งานทอดกฐิน และผ้าป่า งานสร้างศาลาการเปรียญ-สร้างพระอุโบสถ-สร้างโรงเรียน-สร้างหอระฆัง หรือกิจกรรมอื่นๆ ที่มีการฉลองสิ่งก่อสร้างทางสงฆ์ภายในวัดธรรมศาลา

"หลวงพ้อน้อย เป็นเกจิอาจารย์ที่เรืองด้วยวิทยาคุณ" การปลุกเสกก็มักจะเป็นไปในทำนองเกจิอาจารย์ทั้งหลายคือ มักจะปลุกเสกเพียงองค์เดียว แต่ก็ปรากฏอยู่บางครั้งเหมือนกันที่ปลุกเสกเพียงองค์เดียว แต่ก็ปรากฏอยู่บางครั้งเหมือนกันที่จัดเป็นพิธีพุทธาภิเษก อันเป็นงานใหญ่ของวัด โดยคณะกรรมการวัดได้นิมนต์พระอาจารย์ที่มีชื่อเสียง และคุ้นเคยชอบพอกับหลวงพ่ออีกหลายแห่ง มาร่วมการปลุกเสกกับหลวงพ่อ เช่นในงานสมโภชที่หลวงพ่อได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท ที่พระครูภาวนากิตติคุณเมื่อเดือนมีนาคม 2512 เป็นต้น

นอกจากนั้นหลวงพ่อก็เคยรับนิมนต์ไปร่วมปลุกเสกที่อื่นๆ อยู่เสมอแต่ที่สำคัญอีกประการหนึ่งอันควรทราบก็คืออิทธิวัตถุต่างๆ ที่ปลุกเสกนี้ หลวงพ่อจะเก็บเอาไว้นานอย่างน้อยก็ 1 พรรษา ระหว่างที่เก็บ ท่านก็จะปลุกเสกของท่านไปทุกวัน ตามเวลาจะเอื้ออำนวย กว่าจะนำเอาออกมาให้สาธุชนสักการะบูชาได้ก็ร่วมขวบปีผ่านไปแล้ว โดยลักษณะดังกล่าวนี้อิทธิมงคลวัตถุของหลวงพ่อแต่ละชิ้นจึงนับว่ามีกฤติยาคมหนักแน่นจริงๆ จนปรากฏข่าวทางอภินิหารเกิดขึ้นเสมอ ผู้เขียนเองก็เป็นศิษย์ของหลวงพ่อและเคยมีประสบการณ์ทางด้านคงกระพัน เมื่อสมัยที่ยังเรียนอยู่ที่ช่างก่อสร้างอุเทนถวาย

มรณกาล

เมื่อวันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 เวลาประมาณ 18 นาฬิกา 34 นาที ความเศร้าโศกก็ได้ครอบงำตำบลธรรมศาลา เมื่อได้ทราบข่าวมรณภาพของหลวงพ่อด้วยโรคชรา สิริรวมอายุได้ 83 ปี พรรษาที่ 67 การนี้มีศิษยานุศิษย์ทั้งหลายต่างร่วมมือกันเป็นเจ้าภาพ สวดพระอภิธรรมถวายทุกคืนจนครบ 100 วัน และทางวัดก็ได้ตั้งศพของท่านที่กุฏิอินทรสรจวบจนในปี พ.ศ.2516 พระอธิการบำเพ็ญปญญาโภได้สร้างวิหารจตุรมุขเมื่อวัยที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2516 เพื่อให้ศิษยานุศิษย์และผู้เคารพนับถือท่านได้มีความสะดวกมาสักการะบูชาต่อไปจวบจนทุกวันนี้




 

Create Date : 01 สิงหาคม 2551    
Last Update : 1 สิงหาคม 2551 13:10:47 น.
Counter : 1208 Pageviews.  

หลวงปู่ทิม วัดระหารไร่


Photobucket

ประวัติหลวงพ่อทิม อิสริโก
วัดละหารไร่ จังหวัดระยอง
หลวงปู่ทิม นามเดิมชื่อทิม นามสกุลงามศรี เกิดที่บ้านหัวทุ่งตาบุตร หมู่ที่ ๒ ตำบลละหารไร่ อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกันเป็นชายทั้ง ๓ คน ท่านเป็นคนที่ ๒ เกิดเมื่อ ปีมะแม วันศุกร์ เดือน ๗ ตรงกับวันที่ ๑๖ เดือน มิถุนายน ๒๔๒๒ เป็นบุตรของนายแจ้ นางอินทร์ งามศรี

หลวงปู่ทิมเป็นหลานของหลวงปู่สังข์ โดยมารดาของท่านเป็นน้องสาวหลวงปู่สังข์ หลวงปู่สังข์นี้เป็นพระปรมาจารย์ผู้เรืองวิชาอาคมอย่างยิ่งในสมัยนั้น หลวงปู่สังข์องค์นี้เป็นผู้ก่อตั้งวัดละหารไร่ขึ้น เป็นพระที่เรืองวิทยาอาคมมาก น้ำลายที่ท่านถมถ้าถูกพื้น ๆ จะแตก เมื่อทางจังหวัดทราบถึงความเก่งกล้าในวิทยาอาคมของท่าน จึงนิมนต์มาอยู่ที่วัดเก๋งจีน และได้สร้างพระเนื้อตะกั่ววัดเก๋งจีนขึ้น ก่อนที่จะไปอยู่วัดเก๋งจีนนั้น หลวงปู่สังข์ได้ทิ้งตำราและวิทยาการต่าง ๆ ไว้ที่วัดละหารไร่ทั้งหมด เพราะท่านไม่หวงแหนในวิชาของท่านแต่อย่างใด ท่านกล่าวว่า "ใครมีปัญญาก็ค้นคว้าเอาเอง" บรรดาตำราและวิทยาการต่าง ๆ หลวงปู่สังข์ได้ทิ้งไว้ที่วัดละหารไร่นี้เองที่หลวงปู่ทิมก็ได้ใช้ศึกษาในเวลาต่อมา

เมื่อท่านพระครูภาวนาภิรัติหรือหลวงพ่อทิม มีอายุเจริญวัยได้ ๑๗ ปี นายแจ้ผู้เป็นบิดาได้ส่งเสียและนำตัวของหลวงปู่ทิมไปฝากไว้กับท่านพ่อสิงห์ ที่วัดได้เล่าเรียนหนังสือกับท่านพ่อสิงห์พระอาจารย์เป็นเวลาประมาณ ๑ ปี และมีความสามารถเรียนรู้จนเข้าใจเขียนได้อ่านออกดีแล้ว นายแจ้ผู้เป็นบิดาของท่านจึงได้ไปกราบนมัสการท่านพ่อสิงห์ขอตัวหลวงปู่ทิมให้กลับมาอยู่ที่บ้านเช่นเดิมเพราะไม่มีคนช่วย หลวงปู่ทิมจึงได้ลาสิกขาออกมาช่วยพ่อแม่ทำงานและหาเลี้ยงพ่อแม่ตามวิสัยลูกที่ดี ผู้มีความกตัญญูกตเวที รู้จักปฏิบัติพ่อแม่มาด้วย ดีตลอด

ในวัยหนุ่มของหลวงปู่ทิมนั้น ท่านเป็นคนคะนองเอาการอยู่ โดยท่านจะเป็นคนไปหาอาหารมาเลี้ยงครอบครัวด้วยการยิงนกตกปลาและออกเที่ยวล่าสัตว์ใหญ่ เพื่อนำไปขาย ซึ่งท่านทำไปด้วยความคึกคะนองประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งคือเพื่อหาเงินมาเลี้ยงครอบครัวของท่าน

จนเมื่อท่านอายุได้ ๑๙ ปี ท่านจึงถูกคัดเลือกเป็นทหารและได้เข้าประจำการที่กรุงเทพฯ เป็นเวลาถึง ๔ ปีเศษ จึงได้รับการปลดปล่อยกลับมาอยู่ที่บ้านตามเดิม และเมื่อกลับมาอยู่บ้านได้ไม่นาน บิดาของท่านจึงได้จัดการอุปสมบทให้เป็นพระภิกษุ

อุปสมบท

หลวงปู่ทิมอุปสมบท เมื่อวันที่ ๗ เดือนมิถุนายน ๒๔๔๙ ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะแม โดยมีพระคุณเจ้าท่านพระครูขาว วัดทับมาเป็นพระอุปัชฌายะ พระอาจารย์เกตุ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์สิงห์ (พระอาจารย์ของท่าน ในขณะที่ท่านได้ศึกษาครั้งแรก) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ณ พัทธสีมา วัดละหารไร่ ได้ฉายาว่า อิสริโก เมื่อท่านบวชเป็นพระภิกษุแล้วท่านก็มาอยู่ที่วัดกับพระอาจารย์สิงห์ได้ ๑ พรรษา ขณะที่ท่านอยู่กับพระอาจารย์สิงห์นั้น ท่านได้ค้นคว้าและศึกษาตำราของหลวงปู่สังข์ทีท่านได้ทิ้งไว้ให้ตามตู้พระไตรปิฎกอย่างตั้งใจ เพราะท่านมีความสนใจในทางปฏิบัติเป็นอย่างยิ่ง

หลวงปู่ทิม อิสริโก นับว่าเป็นพระอาจารย์ที่แปลกกว่าพระอื่น ๆ ในรุ่นเดียวกัน คือ ท่านต้องการฝึกฝนตนเองด้วยการออกไปหาประสบการณ์ด้วยการออกเดิน
ธุดงค์ ซึ่งพระในรุ่นเดียวกันไม่มีใครคิดที่จะออกไปแสวงหาความวิเวกตามป่าเขาลำเนาไพรอย่างท่าน เพราะต้องการศึกษาในทางพระปริยัติธรรมเท่านั้น

เมื่ออยู่ครบพรรษาแล้วท่านก็ได้ขออนุญาตและมนัสการกราบลาอาจารย์ออกธุดงค์ไปหลายจังหวัดเป็นเวลา 3 ปี จากนั้นท่านก็มาพิจารณาว่า ท่านก็ได้ใช้เวลานานพอสมควรแล้ว จึงควรเดินทางกลับมาพักเสียที เมื่อคิดดังนั้น ท่านก็เดินทางกลับมาจังหวัดชลบุรีและท่านก็ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดนามะตูมเป็นเวลา 2 พรรษา ระหว่างนั้นท่านก็ได้เที่ยวร่ำเรียนวิชากับเกจิอาจารย์หลายอาจารย์ด้วยกันรวมทั้งฆราวาส โยมเริ่ม โยมรอด และโยมสาย นอกจากนั้นยังศึกษาตำราซึ่งตกทอดมาจากหลวงปู่สังข์เฒ่า เจ้าอาวาสวัดเก๋งจีนซึ่งเป็นลุงแท้ๆ ของหลวงปู่ทิม เป็นเวลา 2 ปี เศษ และต่อมาท่านจึงกลับมาอยู่ที่วัดละหารไร่หรือ (วัดไร่วารี) ตามเดิมและท่านได้เรียนทางวิปัสสนากรรมฐานกับอาจารย์และอื่น ๆ อีกหลายอาจารย์ด้วยกัน

วัดละหารไร่ เดิมชื่อวัดไร่วารี เพราะมีน้ำอยู่ล้อมรอบ และเป็นที่กันดารมาก ถ้าใครได้หลงเข้าไป เป็นได้หลงป่าไปเลย ซึ่งแม้แต่หลวงปู่เองท่านยังต้องบุกป่าฝ่าดงเข้าไปอยู่ ในสมัยนั้นทางรถก็ยังไม่มี จะมีก็แต่ทางเดินแคบ ๆ เท่านั้น หลวงปู่ท่านจึงต้องพัฒนากันใหญ่ ด้วยความร่วมมือจากญาติโยมในท้องถิ่นนั้น คือได้มีชาวบ้านศรัทธาท่านมากถึงกับบวชเพื่อติดตามปรนนิบัติท่านถึง ๓ คน คือ นายทัต นายเปี่ยม และ นายแหยม ซึ่งทั้ง ๓ คนนี้มีความสนใจในวิชาทางศาสนาเป็นอย่างมาก

เมื่อหลวงปู่ทิมมาอยู่วัดละหารไร่แล้ว ต่อมาคณะสงฆ์ได้มอบหมายให้ท่านเป็น พระอธิการทิม อิสริโก เจ้าอาวาสวัดละหารไร่ ท่านได้ก่อสร้างเสนาสนะ บูรณะซ่อมแซมกุฏิ และอื่น ๆ อีกหลายอย่างพร้อมด้วยญาติโยมทั้งหลายก็มีความเลื่อมใสต่อท่านมาก เพราะท่านเป็นพระที่เคร่งในธรรมะและวินัยเป็นที่น่าเคารพมาก ต่อมาท่านจึงชักชวนบ้านและญาติโยมทั้งหลายได้ก่อสร้างพระอุโบสถขึ้น 1 หลัง ประมาณ 1 ปีเศษ ก็แล้วเสร็จและผูกพัทธสีมาเรียบร้อยในระยะเวลาเพียง 1 ปีเศษเท่านั้น และในปี พ.ศ. ๒๔๘๓ หลวงพ่อทิมได้จัดให้มีการเปิดโรงเรียนขึ้นอย่างเป็นทางการ เพื่อสอนกุลบุตรกุลธิดาของประชาชน โดยใช้ศาลาการเปรียญเป็นสถานที่สอน ต่อมาชาวบ้านเห็นดีด้วยกับการศึกษาจึงร่วมมือกับหลวงพ่อสร้างอาคารเรียนขึ้น ๑ หลัง ตามแบบ ป.๑ ข. โดยใช้เวลาการก่อสร้างเพียง 8 เดือนก็แล้วเสร็จเรียบร้อย ซึ่งปัจจุบันอาคารหลังนี้ชำรุดทรุดโทรมและรื้อถอนไปไม่ได้ใช้แล้ว ต่อมาท่านก็ชักชวนชาวบ้านช่วยกันพัฒนาก่อสร้างสะพานข้ามคลองอีกหลายแห่ง สร้างหอฉันและศาลาการเปรียญสำเร็จ ด้วยเงินกว่า ๔ ล้านกว่า งานของท่านก็ได้บรรลุถึงความสำเร็จโดยเรียบร้อยทุกประการ

ด้วยผลงานดังกล่าว ในปี ๒๔๗๘ ท่านก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระครูชั้นประทวน ต่อมาในปี ๒๔๙๗ ทางคณะสงฆ์ได้แต่งตั้งให้ท่านเป็นพระครูชั้นสัญญาบัตร และในปี ๒๕๐๗ ท่านได้รับสมณศักดิ์เป็น พระครูภาวนาภิรัติ

ในครั้งแรกท่านไม่ใยดีกับยศตำแหน่งที่ทางการคณะสงฆ์ได้มอบให้ และถูกทางคณะสงฆ์เร่งรัดให้ท่านเดินทางไปรับพัดยศที่จังหวัด ซึ่งท่านก็ไม่ไปรับ จนกระทั่งชาวบ้านรู้ข่าว จำต้องพร้อมในกันจัดขบวนแห่ไปรับพัดยศและตราตั้งมาถวายให้กับท่านถึงวัด ท่านจึงต้องจำยอมรับอย่างเสียมิได้ โดยมีนายสาย แก้วสว่าง ในฐานะเป็นไวยาวัจกรและศิษย์ผู้ใกล้ชิด เป็นผู้นำคณะชาวบ้านไปรับพัดยศมาถวาย

หลวงปู่เป็นพระที่น่าเคารพและบูชาเป็นอย่างยิ่ง ท่านเป็นพระที่ยึดมั่นในพระธรรมและวินัยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเป็นพระมักน้อย สันโดษ ไม่ยินดียินร้ายในรูป เสียง กลิ่น รส ท่านฉันเช้าประมาณ ๗ โมงเช้าและน้ำชาก็เวลา ๔ โมงเย็น ถ้าเลยเวลาหลวงปู่ไม่ยอมฉันแม้แต่น้ำชา ท่านฉันข้าวมื้อเดียวมาประมาณ ๔๗ ปี และ เนื้อ หมู เป็ด ไก่ หรืออาหารคาวทุกชนิด ท่านไม่ยอมฉัน มา ๔๗ ปีแล้ว แม้แต่น้ำปลาก็ไม่ฉัน อาหารที่ท่านฉันเป็น ผัก ถั่ว หรือเส้นแกงร้อน น้ำพริกกับเกลือป่นอย่างนี้อยู่เป็นนิจตลอด
มรณภาพ

ท่านได้มรณภาพด้วยโรคชรา เมื่อเวลา ๒๓.๐๐ น. ของวันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๘ ณ หน้าหอสวดมนต์ วัดละหารไร่ หลังจากที่ได้เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลสมเด็จ ณ ศรีราชา เป็นเวลา ๒๓ วัน คณะศิษย์ได้จัดพิธีศพบำเพ็ญกุศล ณ วัดละหารไร่ หลังจากทำบุญ ๑๐๐ วัน อุทิศส่วนกุศลให้กับหลวงปู่ทิมแล้ว ได้เก็บศพไว้ที่ศาลา ภาวนาภิรัต ศาลาการเปรียญ วัดละหารไร่ จนกระทั่งได้ทำการพระราชทานเพลิงศพท่านไปเมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๒๖







 

Create Date : 01 สิงหาคม 2551    
Last Update : 1 สิงหาคม 2551 12:52:30 น.
Counter : 3761 Pageviews.  

1  2  3  

Chinpei
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add Chinpei's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.