Group Blog
 
All blogs
 

ทานวิตามินอะไร เพื่อบำรุงสมองคนสูงอายุดีคะ

//topicstock.pantip.com/lumpini/topicstock/L3949825/L3949825.html




 

Create Date : 05 มิถุนายน 2550    
Last Update : 5 มิถุนายน 2550 20:06:21 น.
Counter : 1551 Pageviews.  

คนแก่กับเนอร์สเซอรี่

ปัจจุบันนี้คนแก่เพิ่มมากขึ้นๆ
แต่ชีวิตปัจจุบันก็ทำให้คนแก่มีความรู้สึกเหมือนถูกทอดทิ้ง
ลูกหลานบางคนไม่เต็มใจดูแล เพราะคนแก่เรื่องเยอะ
บางคนต้องการแต่เงินทองทรัพย์สิน เราจึงเห็นข่าวอยู่บ่อยๆ ว่าคนแก่ถูกทอดทิ้ง ทันทีที่โอนทรัพย์มรดกให้ลูกหลาน หรือไม่ ลูกหลานก็เกี่ยงกันเลี้ยง เกี่ยงกันดูแล ทั้งที่ตอนยังเป็นเด็ก ท่านก็รักและเลี้ยงเราอย่างดี

ลูกหลานหลายคนพาพ่อแม่ไปอยู่เนอสเซอรี่ บางคนก็คิดในแง่ดี (หรือกำลังหาเหตุผลสนับสนุนความคิดตัวเอง) ว่าอยู่ในเนอสเซอรี่ พ่อแม่ก็สบายนะ ลูกหลานจ่ายแพง มีหมอดูแลสุขภาพ มีคนคอยดูแลตลอดเวลา มีเพื่อนวัยเดียวกัน ท่านก็ไม่เหงา ดีกว่าอยู่บ้านเหงาๆคนเดียว นานๆที คิดถึงกันก็มาเยี่ยม ไม่มีคนคอยบ่นรกหู ไม่ต้องเหนื่อยดูแลเองด้วย สารพัดข้อดีที่คิดกัน

แต่....เคยนึกหรือไม่ว่า ใจจริงแล้ว ท่านต้องการอะไร เคยถามถึงความต้องการของท่านกันบ้างหรือไม่ สิ่งที่ดีที่สุดของเรา อาจจะไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับท่านก็ได้

ami มีป้าสี่คนในวัย 70-80กว่า แต่ละคนก็มีนิสัยต่างๆกันออกไป ไม่ว่าจะอย่างไร คงจะไม่ยอมให้ไปอยู่เนอสเซอรี่แน่ๆค่ะ สำหรับคนวัยนี้ ไม่มีกำลังใจชนิดไหนดีเท่าความรักความอบอุ่น และความเข้าใจจากคนในครอบครัว กำลังใจจากลูกหลานเป็นยาดีที่สุดค่ะ

ไม่มีใครหรอก ที่จะเข้าใจและดูแลคนที่เรารักได้ดีเท่าตัวเราเอง คนแก่ก็มีช่วงอารมณ์ขึ้นลง ประกอบกับความเสื่อมของร่างกาย ความรู้สึกเหงาๆ ที่ลูกหลานมีเวลาให้น้อยลง
พฤติกรรมบางอย่างก็เหมือนจะถอยกลับไปเป็นเด็ก มีอิจฉากันบ้าง แย่งความรักจากลูกหลานกันบ้าง (อ้าวๆๆ อย่าขำนะคะ นี่เรื่องจริงนา ^^)

ยาที่จะรักษาได้ดีที่สุดก็คือการเอาใจใส่จากลูกหลานนี่แหละค่ะ กอด หอม พูดคุย เล่าเรื่องต่างๆให้ฟัง ฟังท่านบ่นบ้าง (แต่ไม่ต้องเก็บไปเป็นอารมณ์นะคะ) เอาใจท่าน หาของโปรดให้ทาน ดูแลสุขภาพอนามัยตามสมควร

ถ้าเข้าใจคนแก่ ก็ดูแลไม่ยากหรอกค่ะ ลองใช้วิธีทำความเข้าใจ และปรับเปลี่ยนแก้ไขไปตามสถานการณ์ดีกว่าค่ะ
ถ้าป่วย ก็พาไปพักรพ.เป็นครั้งคราวไป อย่าเอาท่านไปไว้ที่เนอสเซอรี่เลย เพราะลับหลังเค้าก็ไม่ได้ดูแลดีเหมือนอยู่ต่อหน้าเราหรอก (ไม่ได้อคตินะคะ เคยเห็นกับตา) ไม่ว่าจะเป็นบ้านพักคนชรา หรือเนอสเซอรี่ประเทศไหน ก็ประมาณนี้เหมือนๆกัน (เคยไปดูมาแล้ว)

ถ้าเหนื่อย ดูแลไม่ไหว หรือคนแก่ต้องการการดูแลตลอดเวลา ควรว่าจ้างเด็กมาดูแล แต่ก็ต้องดูแลใกล้ชิดนะคะ ดูและฝึกจนกว่าจะพอวางใจได้บ้าง เด็กตามศูนย์บางทีก็มีไม่พอ อย่าหวังว่าศูนย์เค้าจะฝึกอะไรให้มากมาย

บ้านเรามีประสบการณ์เรื่องนี้พอตัวเลยค่ะ สารพัดปัญหา ทำป้าเราตกเตียงมั่งหละ ลืมป้อนยา หรือบางทีก็ลืมให้ทานข้าว (ซะงั้น) ไหนจะพาเหรดเข้าๆออกๆ ทำงานแป๊บๆขอกลับบ้าน ฯลฯ แต่จะไม่มีเลยก็ไม่ได้อีกน่ะแหละ อย่าไปหวังอะไรมากค่ะ

ถ้าที่บ้านมีคนแก่ แนะนำให้ไปเข้าคอร์สตามรพ.นะคะ มีคอร์สอบรมการดูแลคนแก่เบื้องต้น ดีค่ะ น่าสนใจ เหมาะกับวิถีชีวิตคนในปัจจุบันดี รู้ไว้ใช่ว่าค่ะ ^^










 

Create Date : 05 เมษายน 2550    
Last Update : 5 เมษายน 2550 19:05:31 น.
Counter : 1009 Pageviews.  

FAQ คำถามเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุ(มีข้อสงสัยอะไรฝากไว้ได้เลยค่ะ)




 

Create Date : 05 เมษายน 2550    
Last Update : 5 เมษายน 2550 18:18:14 น.
Counter : 324 Pageviews.  

อาหารผู้สูงอายุ(60ปีขึ้นไป)

//www.thaigoodview.com/library/studentshow/st2545/4-5/no12/old.html

อาหารผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุในที่นี้หมายถึง ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป

สารอาหารที่ผู้สูงอายุต้องการ

พลังงาน ต้องการพลังงานน้อยลง เพราะการทำงานของร่างกายมีน้อยลง พลังงานที่ควรได้รับควรน้อยกว่า 1200 แคลอรี

โปรตีน ควรได้รับวันละ 1 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หากได้รับโปรตีนมากเกินไป ร่างกายจะนำไปสะสมในรูปของไขมัน ทำให้เกิดโรคอ้วน

ไขมัน ไม่ควรได้รับมากเกินไป เพราะการได้รับมากเกินไปจะทำให้เกิดโรคอ้วน

แคลเซียม ผู้สูงอายุมักเป็นโรคกระดูกพรุน ซึ่งเกิดในหญิงมากกว่าชาย การได้รับแคลเซียมเพียงพอจะช่วยให้กระดูกแข็งแรง ควรได้รับแคลเซียมวันละ 800 มิลลิกรัม

เหล็ก ควรได้วันละ 6 มิลลิกรัม ควรกินอาหารที่มีโปรตีนและวิตามินซีด้วย เพื่อช่วยในการดูดซึมเหล็ก

วิตามิน ควรได้รับวิตามินซีประมาณ 30 มิลลิกรัม โดยดื่มน้ำส้มคั้นวันละ 1 แก้ว

น้ำ ควรได้รับวันละ 1 1/2-2 ลิตร โดยเฉพาะวันที่อากาศร้อนสูญเสียเหงื่อมาก ควรได้รับน้ำเพิ่มขึ้น

อาหารและปริมาณอาหารที่ผู้สูงอายุควรได้รับ

เนื้อสัตว์ ควรได้รับวันละ 120 กรัม ควรเป็นเนื้อปลา และควรได้รับเครื่องในสัตว์สัปดาห์ละ 1 ครั้ง

ไข่ ย่อยและดูดซึมง่าย ควรได้รับสัปดาห์ละ 3-5 ฟอง

น้ำนม มีแคลเซียมเพื่อช่วยในการสร้างกระดูก ควรใช้นมผงที่ไม่มีไขมัน 4 ช้อนโต๊ะผสมน้ำให้ได้ 1 ถ้วยตวง หรือดื่มนมถั่วเหลืองแทนก็ได้

ถั่วเมล็ดแห้ง ควรนำมาต้มให้นิ่มก่อนกิน ควรได้รับวันละ 1/2 ถ้วยตวง ควรกินครั้งละน้อยๆ เพราะถ้ากินมากจะทำให้เกิดท้องอืด

ข้าว ควรได้รับวันละ 3-4 ถ้วยตวง

ผัก ควรกินทุกวันเพื่อได้รับวิตามิน และกากอาหารช่วยไม่ให้ทองผูก ไม่ควรกินผักดิบเพราะมีกากอาหารมากเกินไปย่อยยาก ทำให้ท้องอืดเพราะมีก๊าซมาก ยกเว้นผักกาดหอมที่กินทั้งดิบๆได้

ผลไม้ ควรกินทุกวันวันละ 1-2 ครั้ง ควรเลือกที่ย่อยง่าย เคี้ยวง่าย

ไขมัน ไม่ควรกินไขมันมากเกินไป เพราะจะทำให้ท้องอืดและมีน้ำหนักเพิ่ม ควรใช้น้ำมันพืชที่มีกรดไลโนเลอิคมาก ประมาณ 2-2.5 ช้อนโต๊ะ



ปัญหาโภชนาการของผู้สูงอายุ มีสาเหตุมาจาก

นิสัยการบริโภค ผู้สูงอายุมักกินอาหารตามความชอบ และชอบอาหารหวานจัด อาจกินอาหารตามประเพณีความเชื่อ ทำให้ไม่สามารถได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์อย่างเพียงพอ

การเปลี่ยนแปลงของสภาวะทางจิตใจ ผู้สูงอายุมีความคิดว่าตนไม่มีความสำคัญต่อครอบครัว รู้สึกถูกทอดทิ้ง เบื่อสิ่งต่างๆ และเบื่ออาหาร ทำให้ไม่ชอบกินอาหาร ส่วนผู้สูงอายุบางคนกินตลอดเวลา ทำให้เกิดโรคอ้วน

การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยามีดังนี้

- ฟันไม่ดีเหมือนเก่า เคี้ยวอาหารไม่สะดวก ทำให้เคี้ยวอาหารได้น้อยลง ทำให้ไม่ได้รับโปรตีนและแคลอรีที่เพียงพอ

- การดูดซึมของสารอาหารลดลง เช่น ธาตุเหล็ก แคลเซียม ทำให้ขาดสารอาหารดังกล่าว คือ โรคโลหิตจาง และโรคกระดูกพรุน

- เซลล์หลอดเลือดขาดความยืดหยุ่น ทำให้หลอดเลือดแข็ง และเกิดโรคหัวใจขาดเลือด

- การบีบตัวของลำไส้น้อยลง ประกอบกับการทานอาหารที่มีกากน้อย และดื่มน้ำน้อย ทำให้เกิดโรคท้องผูก

- เลือดไหลผ่านไตน้อยลง ทำให้ขับของเสียได้น้อย จึงมีการตกตะกอนของแคลเซียมในไต ทำให้เกิดโรคนิ่ว





 

Create Date : 05 เมษายน 2550    
Last Update : 5 เมษายน 2550 18:15:40 น.
Counter : 706 Pageviews.  

ผู้สูงอายุกับการออกกำลังกาย

//www.thairunning.com/Elder.htm

ผู้สูงอายุกับการออกกำลังกาย


ผู้อ่านหลาย ๆ ท่านอาจมีอายุเกิน 60 ปีไปแล้ว บางท่านก็ยังไม่ถึง 60 ปี แต่กฏแห่งความจริงเป็นสิ่งที่หนีไม่พ้น สักวันหนึ่งทุกคนก็ต้องมีอายุถึง 60 ปี ถ้าไม่รีบด่วนจากไปเสียก่อน พอเรามีอายุ 60 ปีขึ้นไปสภาพร่างกายก็ถึงจุดที่เริ่ม มีความเสื่อมโทรมมาก ร่างกายไม่กระฉับกระเฉงเหมือนตอนเป็นหนุ่มเป็นสาว ผิวหนังเริ่มเหี่ยว ระบบประสาทเริ่มเสื่อม การตอบสนองต่อสิ่งเร้าช้าลง การประสานสัมพันธ์ระหว่างสมองกับกล้ามเนื้อลดลง สายตาเริ่มเสื่อมถอยอย่างรวดเร็ว ประสาทในการรับฟังก็เช่นเดียวกันก็เริ่มที่จะทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร ระบบย่อยอาหารเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง เพราะการย่อย เริ่มทำงานแย่ลง กระดูกก็เริ่มที่จะเปราะบางขึ้น กล้ามเนื้อลดความแข็งแรงและที่สำคัญหัวใจกับปอดเริ่มเสื่อม สภาพลง เมื่อเราทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของร่างกายเมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้นก็จำเป็นต้องมีความระมัดระวังเกี่ยวกับร่างกาย ในขณะที่มี อายุเพิ่มมากขึ้น เช่นรู้ว่าระบบประสาทเสื่อมลง ก็ควรหลีกเลี่ยงไม่เล่นกีฬาที่ต้องเร่งรีบหรือกีฬาที่ต้องใช้ความว่องไวสูง เช่นแบดมินตัน เทนนิส แต่ถ้าเล่นกับผู้เล่นที่อยู่ในวัยเดียวกันก็อาจเล่นได้ แต่ควรเล่นเพื่อความสนุกสนาน ไม่ใช่แข่งขันกัน หรือเมื่อรู้ว่ากระดูกและกล้ามเนื้อเสื่อมสภาพลงมากแล้ว ก็ควรหลีกเลี่ยงกีฬาประเภทที่ต้องใช้แรงปะทะ เช่น รักบี้ ฟุตบอล ฯลฯ

มาถึงบรรทัดนี้ผู้อ่านก็คงสงสัยว่ากีฬาชนิดนั้นก็ห้ามไม่ให้เล่นชนิดนี้ก็บอกว่าเล่นไม่ได้ แล้วจะเล่นกีฬาอะไรดี ผู้เขียนอยาก จะเรียนชี้แจงว่า เมื่อคนเรามีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป จุดมุ่งหมายหลักของการออกกำลังกายก็คือ ทำให้ร่างกายมีสุขภาพดีขึ้น ไม่ใช่ ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาเพื่อการแข่งขัน เมื่อสุขภาพร่างกายดีก็จะช่วยชลอความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ ทำให้สนุกสนาน เพลิดเพลิน ที่สำคัญคือทำให้ดูแก่ช้าลง คนอายุ 60 ปีเท่ากันถ้าคนหนึ่งออกกำลังกายสม่ำเสมอและอีกคนหนึ่งไม่ออกกำลังกาย หรือไม่เคย ออกกำลังกาย ถ้ามายืนใกล้กันจะเห็นได้ชัดเจนว่า คนที่ออกกำลังกายจะดูหนุ่มกว่าอย่างน้อยถึง 5 ปีทีเดียว

ฉะนั้นการออกกำลังกายอะไรที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ

ถ้าตอบแบบกำปั้นทุบดินการออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุก็คือการออกกำลังกายแบบ แอโรบิค นั่นเอง ซึ่ง การออกกำลังกายแบบแอโรบิคได้แก่ การเดินเร็ว การวิ่งเหยาะ การว่ายน้ำ และการขี่จักรยานอยู่กับที่เป็นต้น

การออกกำลังกายแบบแอโรบิคจะช่วยเสริมประสิทธิภาพในการทำงานของร่างกายในหลาย ๆ ด้าน เช่น ช่วยปรับปรุงระบบ การไหลเวียนของโลหิตอันประกอบไปด้วย หัวใจ ปอด และหลอดเลือด ช่วยป้องกันและรักษาโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคอ้วน ช่วยลดโคเลสเตอรอลไม่ดีในเลือด และช่วยเพิ่มโคเลสเตอรอลดีในเลือด

ท่านผู้อ่านอาจจะสงสัยว่าทำไมถึงมีทั้ง โคเลสเตอรอลไม่ดี และ โคเลสเตอรอลดี คืออย่างนี้ครับ
โคเรสเตอรอลประเภทไม่ดี คือโคเลสเตอรอลประเภท LDL (Low Density Lipoprotein ) และ VLDL (Very Low Density Lipoprotein) ถ้าในเลือดมี LDL และ VLDL มากไป ก็จะทำให้ร่างกายมีโอกาสเป็นโรคหัวใจมากขึ้น ทั้ง LDL และ VLDL เกิดขึ้นเนื่องมาจากการรับประทานอาหาร ที่มีกรดไขมันอิ่มตัวมาก และการที่ร่างกายมีอารมณ์เครียดบ่อย ๆ
โคเรสเตอรอลประเภทดี คือโคเลสเตอรอลที่เรียกว่า HDL (High Density Lipoprotein) เกิดขึ้นได้เนื่องจากการออกกำลังกาย แบบแอโรบิค ถ้าจำนวน HDL ในเลือดสูง โอกาสในการเป็นโรคหัวใจก็จะน้อยลง อย่างไรก็ดีไม่ใช่ว่าผู้สูงอายุคิดอยากจะออกกำลังกาย ก็จะเริ่ม ออกกำลังกายได้ทันที วิธีที่ดีที่สุดคือ ควรที่จะมีการตรวจร่างกายก่อนที่จะเริ่มออกกำลังกาย เพราะคนเราพอมีอายุมากขึ้นมักจะมี โรคภัยไข้เจ็บซ่อนเร้นอยู่ เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน เป็นต้น

เมื่อทราบว่ามีโรคภัยไข้เจ็บแล้วก็ไม่ใช่ว่าจะออกกำลังกายไม่ได้ ได้ครับ ! แต่ต้องออกกำลังกายภายใต้การดูแลและ คำแนะนำของแพทย์ ไม่ว่าจะมีโรคภัยไข้เจ็บหรือไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ สิ่งที่ควรกระทำนั่นคือ ควรมีการตรวจหาสมรรถภาพทางกาย เสียก่อน
ตรวจไปทำไม ? ตรวจเพื่อที่จะได้รู้ว่า ตัวเองมีสมรรถภาพทางกายมากน้อยเพียงใด แพทย์จะได้กำหนดโปรแกรม การออกกำลังกายที่ปลอดภัยและเหมาะสมกับร่างกายของแต่ละคน ทำให้สบายใจเวลาออกกำลังกาย ไม่ต้องกลัวว่าจะเกิดอันตราย ในขณะออกกำลังกาย โรงพยาบาลเกือบทุกแห่งมักจะมีบริการแบบนี้ ราคาไม่แพงอย่างที่คิด


โดยทั่วไปแล้วการออกกำลังกายแบบแอโรบิคมีหลักการออกกำลังกายหลายประการ ดังนี้ครับ

ประการแรก ก็คือความหนักของการออกกำลังกาย โดยปกติตามทฤษฎีแล้วถ้าเป็นผู้ที่มีอายุมากจนเกินไปและออกกำลังกาย มาอย่างสม่ำเสมอควรเริ่มออกกำลังกายที่ความหนักร้อยละ 60 ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุดของแต่ละบุคคล และไม่ควรเกิน ร้อยละ 85 ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุดของแต่ละบุคคล แต่ถ้าเป็นผู้สูงอายุก็อาจจะเริ่มออกกำลังกายที่ความหนักร้อยละ 55 ของอัตรา การเต้นหัวใจสูงสุด และไม่ควรเกินร้อยละ 80 ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด อย่างไรก็ดี ความหนักของงานอาจจะเปลี่ยนแปลง ไปตามระดับสมรรถภาพของแต่ละบุคคล ฉะนั้นผู้สูงอายุที่ผ่านการตรวจสมรรถภาพทางกายจากแพทย์ อาจจะถูกห้ามไม่ให้ออกกำลัง กายเกินกว่าร้อยละ 70-75 ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุดก็ได้ เนื่องจากอาจเกิดอันตรายจากการออกกำลังกายได้ ถ้าออกกำลังกาย มากกว่าระดับนี้ ซึ่งโปรแกรมการออกกำลังกายก็ขึ้นอยู่กับผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายนั่นเอง

โดยปกติ ปัจจุบันการคำนวณหาค่าร้อยละของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุดมักจะหาจากสูตรของ คาร์โวเน็น (Karvonen Principle)

เป้าหมายอัตราการเต้นหัวใจ
= อัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก
+ จำนวนร้อยละของอัตราการเต้นหัวใจ สูงสุดที่ออกกำลังกาย
x (220 – อายุ – อัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก)

ตัวอย่าง เช่น ผู้สูงอายุคนหนึ่งอายุ 70 ปี ต้องออกกำลังกายจนถึงอัตราการเต้นหัวใจสูงสุดร้อยละ 60 โดยสามารถวัดอัตรา การเต้นของหัวใจขณะพักได้ 80 ครั้งต่อนาที อยากทราบว่าผู้สูงอายุคนนี้ควรออกกำลังกายจนถึงอัตราการเต้นของหัวใจเท่าไร ?


เป้าหมายชีพจรในการออกกำลังกาย
= 80 + 60 % (220 – 70 – 80)

= 80 + 42

= 122 ครั้งต่อนาที
คำตอบก็คือผู้สูงอายุคนนี้ควรออกกำลังกายจนมีอัตราการเต้นของหัวใจเท่ากับ 122 ครั้งต่อนาที


ประการที่สอง ก็คือ ความบ่อยหรือความถี่ในการออกกำลังกาย ในช่วงต้นของการออกกำลังกาย ควรปฏิบัติอย่างน้อย สัปดาห์ ละ 2 – 3 ครั้ง ทำวันเว้นวัน ให้กล้ามเนื้อมีโอกาสพักผ่อน จากนั้นเมื่อร่างกายเริ่มเข้าที่เข้าทางก็สามารถเพิ่มเป็น 4 – 5 ครั้งต่อสัปดาห์ ได้แต่ไม่ควรเกิน 5 ครั้งต่อสัปดาห์

ประการที่สาม ก็คือ ระยะเวลาในการออกกำลังกาย การออกกำลังกายควรอยู่ในช่วง 20 – 30 นาที โดยแบ่งเป็นช่วงอบอุ่น ร่างกายซึ่งรวมการเหยียดยืดกล้ามเนื้อประมาณ 5 – 10 นาที ช่วงออกกำลังกายแอโรบิคไม่ต่ำกว่า 12 นาที และช่วงฟื้นร่างกาย สู่สภาพปกติอีกประมาณ 5 – 10 นาที เวลาในช่วงต่าง ๆ สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม
ช่วงอบอุ่นร่างกายเป็นช่วงที่เตรียมร่างกายให้พร้อม สำหรับการออกกำลังกายแบบแอโรบิค ในช่วงนี้ควรประกอบกิจกรรม ที่เกี่ยวกับการยืดกล้ามเนื้อ การทำท่ากายบริหารต่าง ๆ ส่วนในช่วงการออกกำลังกายแบบแอโรบิคนั้น ควรปฏิบัติอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 12 นาที เพราะถ้าทำน้อยกว่านั้นประโยชน์ที่ได้จะเห็นไม่ชัดเจน
หลังจากออกกำลังกายแบบแอโรบิคเสร็จควรทำท่ากายบริหารแบบต่างๆ ตลอดจนการเหยียดยืดร่างกาย เพื่อให้ร่างกายค่อย ๆ ปรับตัวลงสู่สภาพปกติ

ประการที่สี่ คือความก้าวหน้าในการออกกำลังกาย ควรเริ่มด้วยจำนวนน้อยก่อนแล้วจึงค่อยๆ เพิ่มขนาดหรือความหนักของ การออกกำลังกาย ในช่วงแรกควรเริ่มด้วยการออกกำลังกายที่ความหนักร้อยละ 55 ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด จากนั้นก็อาจค่อย ๆ เพิ่มเป็นร้อยละ 60 ร้อยละ 65 ร้อยละ 70 ไปตามลำดับ

ประการสุดท้าย คือชนิดของการออกกำลังกาย คงไม่ต้องกล่าวมากอีกแล้ว การออกกำลังกายที่สามารถทำให้ชีพจรหรืออัตรา การเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นสู่ระดับที่ต้องการได้ก็คือการออกกำลังกายแบบแอโรบิคนั่นเอง ถ้าวันไหนที่เบื่อการออกกำลังกาย แบบแอโรบิค ก็อาจจะไปออกกำลังกายชนิดอื่นทดแทนบ้างก็ได้ เช่น เล่นกีฬาชนิดต่าง ๆ แต่คงต้องย้ำอีกครั้งว่าควรหลีกเลี่ยงกีฬา ที่ต้องใช้แรงปะทะ หรือกีฬาที่ต้องใช้ความสัมพันธ์ของประสาทสูง เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้
ถ้าเป็นโรคความดันโลหิตสูง ไม่ควรออกกำลังกายด้วยการยกน้ำหนักเลย เพราะจะทำให้เกิดอันตรายต่อหลอดเลือดได้ เพราะการออกกำลังกายชนิดนี้ทำให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้นไปอีก

การที่ผู้สูงอายุออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะทำให้ร่างกายกระฉับกระเฉงดูเป็นหนุ่มเป็นสาวขึ้น ที่สำคัญทำให้สุขภาพดีขึ้น ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตเลยทีเดียว เมื่อสุขภาพดีขึ้นโรคภัยไข้เจ็บที่มาเบียดเบียนก็จะทุเลาลง หรือถ้าเป็นผู้ที่ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ มาเบียดเบียน ก็จะมีชีวิตที่มีความสุขกระปรี้กระเปร่าขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

ท่านผู้สูงอายุทั้งหลายครับ! อยากเริ่มออกกำลังกายกันบ้างหรือยัง ?
บทความจาก นิตยสาร ใกล้หมอ ปีที่ 20 ฉบับที่ 11 โดย รศ.ดร.วิชิต คนึงเกษม




 

Create Date : 05 เมษายน 2550    
Last Update : 5 เมษายน 2550 18:13:08 น.
Counter : 440 Pageviews.  

1  2  3  

amitambien
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add amitambien's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.