นี่แหละตัวฉัน
Group Blog
 
All Blogs
 

อุ้มลูกท่าไหน สบายดี










การใส่ใจในท่าทางทั้งของคุณแม่และลูกน้อย

ไม่ว่าจะท่าให้นมลูก หรือท่าอุ้มลูก

จะช่วยให้ลูกกินนมได้อิ่มท้อง

และอยู่ในอ้อมกอดของคุณแม่อย่างสบาย

และปลอดภัยค่ะ

 

 










      ท่าอุ้ม สบาย ท่าอุ้มให้นม แบบลูกฟุตบอล
คุณแม่ที่ผ่าคลอดหลายๆ ท่านมักพบปัญหาเรื่องลูกกินนมไม่อิ่มหรือกินไม่พอ และเจ็บแผลผ่าคลอด เพราะให้นมลูกผิดท่า การให้นมลูกในท่าอุ้มให้นมแบบลูกฟุตบอลจึงเหมาะสำหรับคุณแม่ที่ผ่าคลอดเพื่อไม่ให้ลูกนอนทับแผลแม่ หรือคุณแม่ที่มีลูกแฝดเพื่อให้ลูกดูดนมได้พร้อมกัน
วิธีอุ้ม
อุ้มลูกนอนตะแคงไว้ด้านข้างลำตัวของคุณแม่ให้ปลายเท้าลูกชี้ ไปด้านหลัง ใช้หมอนรองแขนไว้ โดยให้แขนและมือประคองลำตัวและศีรษะเด็ก คุณแม่ใช้มือข้างเดียวกับเต้านมที่ลูกดูดจับและพยุงบริเวณท้ายทอยลูก ส่วนแขนโอบกอดลูกให้กระชับเข้าหาตัวแม่ ให้จมูกลูกอยู่ในระดับเดียวกับหัวนม ค่อยๆ ประคองให้หัวนมตรงกับปากลูก ระวังอย่าใช้แรงมากเพราะลูกจะต้าน

 

 










ท่าอุ้ม เมื่อลูกร้องไห้
ขั้นแรกคุณแม่จะต้องทราบก่อนว่าลูกร้องเพราะสาเหตุอะไร เช่น ลูกหิว ลูกปวดท้องหรืออารมณ์ไม่ดี ซึ่งการอุ้มที่ถูกวิธีจะช่วยให้ลูกหยุดร้องไห้ได้
วิธีอุ้ม
อุ้มลูกให้มองเข้าหาคุณแม่และอยู่ในอ้อมกอด จะทำให้ลูก รู้สึกอบอุ่น แต่ถ้าไม่หยุดร้องไห้ คุณแม่อาจเปลี่ยนท่าอุ้มเพื่อให้ลูกรู้สึกสบายตัว โดยการอุ้มลูกพาดไหล่แล้วพาลูกเดินไปมา พร้อมกับใช้มือลูบหลังปลอบลูก ทั้งนี้คุณแม่ต้องระวังอย่าอุ้มเปลี่ยนท่าโดยเร็ว หรือเปลี่ยนท่าบ่อยหลังลูกดูดนมเสร็จใหม่ๆ เพราะจะทำให้ลูกสำรอกหรืออาเจียนได้
     

 









 

 



 

ท่าอุ้มลูกให้นอนหงายและนอนคว่ำ
คุณพ่อมักชอบเล่นโลดโผนกับลูก เช่น การเล่นโยน-รับลูก (กลางอากาศ) การทำแบบนี้อาจไม่ปลอดภัย  เพราะหากพลาดพลั้งลูกอาจตกลงมาและได้รับบาดเจ็บได้ง่าย ควรให้มีกล้ามเนื้อคอและหลังแข็งแรงดีก่อนจึงเล่นกับลูกได้ (ด้วยความระมัดระวัง) แต่ยังมีการเล่นกับลูกง่ายๆ ด้วยการอุ้ม
วิธีอุ้ม
อุ้มลูกให้นอนหงายในอุ้งมือ โดยการใช้มือข้างหนึ่งประคองหนุนคอของลูกไว้อย่างแข็งขัน ใช้มือและแขนอีกข้างประคองบริเวณลำตัวตั้งแต่ส่วนหลังลงไป แล้วจับตัวลูกไกวไปมา
อุ้มลูกในลักษณะนอนคว่ำโดยใช้มือข้างหนึ่งประคองบริเวณหน้าอกของลูกไว้ แล้วใช้มือและแขนอีกข้างสอดใต้ขาของลูก ประคองตัวลูกตั้งแต่ช่วง หน้าท้องลงมา ท่านี้จะช่วยลดแก๊สในกระเพาะอาหารของลูกได้

เพียงเท่านี้ก็ทำให้ลูกเพลิดเพลินได้แล้ว

 

ทั้งนี้ คุณแม่อย่าอุ้มลูกโดยใช้มือและแขนเพียง ข้างเดียวเด็ดขาด เพราะหากลูกดิ้นแรงอาจทำให้ลูกหลุดจากมือและได้รับอันตรายได้ง่ายค่ะ


...............................................................................


ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก 


Mother&Care  VOL.5  NO.50 Febuary 2008


 





Free TextEditor




 

Create Date : 25 มิถุนายน 2552    
Last Update : 25 มิถุนายน 2552 19:18:54 น.
Counter : 462 Pageviews.  

เลือกผลิตภัณฑ์ดูแลผิวให้เหมาะกับทารก


 

เลือกผลิตภัณฑ์ดูแลผิว
ให้เหมาะกับทารก

 

หนาวนี้ ลองมาสำรวจ รู้ลึกถึงข้อมูลผลิตภัณฑ์ดูแลผิวของหนูน้อยวัยทารกกันค่ะ

 

 

สบู่เด็ก
ที่จริงแล้ว ผิวหนังเราทุกคนมีค่าความเป็นกรดอ่อนๆ และแบคทีเรียที่เคลือบอยู่บนผิว คอยทำหน้าที่ในการฆ่าเชื้อโรค ไม่ให้เกิดอันตรายกับผิวอยู่แล้ว แต่อากาศบ้านเราเป็นเมืองร้อน ก่อให้เกิดเหงื่อได้ง่าย จึงนิยมทำความสะอาดด้วยสบู่ แต่ว่าการใช้สบู่กับเด็กเล็กจำเป็นต้องคำนึงถึงเรื่องต่อไปนี้











 

1. เลือกสบู่ที่มีคุณสมบัติค่าความเป็น กรดที่อ่อน ปราศจากสารฆ่าเชื้อโรค เพื่อลดการระคายเคืองต่อผิวหนังของเด็ก
2. สบู่ก้อนอาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังได้ง่าย เพราะสัมผัสกับผิวหนังเด็กโดยตรง การลดจำนวนครั้งการใช้ก็สามารถช่วยลดปัญหาเรื่องผิวแห้ง
3. ช่วงฤดูหนาว อากาศเย็นผิวเด็กแห้ง กว่าฤดูอื่น การใช้สบู่อาจดูเรื่องความสกปรกเป็นหลัก เช่น มีเหงื่อไม่มาก ก็อาจทำความสะอาดร่างกายด้วยน้ำสะอาดก็เพียงพอค่ะ

 

หากมีผื่นเกิดขึ้นหลังจากใช้สบู่ ควรล้างออกด้วยน้ำเปล่าธรรมดาและหยุดใช้ แต่หากมีอาการแพ้แบบเฉียบพลัน คือทาตรงไหนเกิดผื่นขึ้น ตรงนั้น ควรงดการใช้และพาเด็กไปพบคุณหมอ

   


...............................................................................

 

มอยส์เจอร์ไรเซอร์ บำรุงผิว
มอยส์เจอร์ไรเซอร์ คือสารที่ให้ความชุ่มชื้นกับผิว แบ่งเป็นรูปแบบต่างๆ ตามความเข้มข้นของมอยส์เจอร์ไรเซอร์นั้นๆ เช่น แบบโลชั่น ออยล์ ครีม หรือปิโตรเลียมเจล มาดูข้อมูล วิธีการใช้งานที่ถูกต้องกันค่ะ


1. เด็กที่มีสภาพผิวค่อนข้างแห้ง ควรเลือกใช้มอยส์เจอร์ไรเซอร์แบบเข้มข้น (ครีมหรือเบบี้ออยล์) ส่วนโลชั่นจะเหมาะกับการบำรุงผิว สภาพผิวปกติทั่วไป 
2. มอยส์เจอร์ไรเซอร์แบบปิโตรเลียมเจล จะเหมาะกับการใช้เฉพาะจุด บริเวณที่ผิวแห้งมาก ได้เป็นอย่างดี เช่น ขา มือ หรือข้อศอก โดยเฉพาะการทาบริเวณก้นของลูก จะช่วยป้องกันการเปียกชื้นจากการใช้ผ้าอ้อมค่ะ
3. การใช้ ควรคำนึงถึงสภาพอากาศ เช่น อากาศร้อนชื้น การใช้ออยล์อาจไม่เหมาะ เพราะออยล์ จะปิดรูขุมขน ทำให้เหงื่อไม่สามารถระบายออกมาได้ เกิดเป็นผดผื่น ทำให้ลูกรู้สึกเหนอะหนะ (รำคาญใจ) ได้
4. ระยะเวลาที่ผิวหนังจะซึมซับมอยส์เจอร์ไรเซอร์ได้ที่ดีที่สุดคือ การทามอยส์เจอร์ไรเซอร์หลังจาการอาบน้ำ ไม่เกิน 3-5 นาที

 

เด็กบางราย หลังจากใช้ผลิตภัณฑ์ประเภทมอยส์เจอร์ไรเซอร์แล้วเกิดมีผื่น อาการคันนั้น ที่จริงแล้ว อาการดังกล่าว เกิดจากการแพ้สารเคมีในผลิตภัณฑ์ (ไม่ได้แพ้มอยส์เจอร์ไรเซอร์) ยังสามารถใช้มอยส์เจอร์  ไรเซอร์ได้ปกติ แต่ควรหลีกเหลี่ยงการใช้มอยส์เจอร์ไรเซอร์ที่ส่วนผสมของสารกันบูด น้ำหอม ที่มีผลต่อผิว  ของลูกค่ะ

 

...............................................................................

 










     
แชมพูสระผม
สำหรับเด็กเล็กแรกเกิด อาจไม่จำเป็นต้องใช้ก็ได้ค่ะ ใช้น้ำต้มสุกทำความสะอาด ล้างผมให้ลูกก็พอ แต่หากคุณแม่จะเลือกใช้แชมพูสระผม ก็ควรเลือกแชมพูสระผมสำหรับเด็ก ที่มีคุณสมบัติอ่อนโยน ปราศจากสารเคมี เช่น น้ำหอม สารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อหนังศีรษะ และหากลูกมีอาการแพ้ คุณแม่ควรงดการใช้แชมพูสระผม ชนิดนั้น พาลูกไปพบคุณหมอค่ะ 

 

น้ำ
สภาพอากาศบ้านเราค่อนข้างร้อนชื้น จำเป็นต้องอาบน้ำ ทำความสะอาดร่างกายทุกๆ วัน แต่กับเด็กเล็กที่ผิวบอบบางกว่าผู้ใหญ่ การทำความสะอาดดูแลผิวด้วยน้ำ โดยเฉพาะช่วงหนาวด้วยแล้ว ยิ่งต้องมีเงื่อนไขให้คุณแม่เข้าใจค่ะ


 

การใช้น้ำทำความสะอาดร่างกายเด็กเล็ก โดยปกติก็คือช่วงเช้าและช่วงเย็น แต่ช่วงที่อากาศหนาว ควรอาบน้ำให้ลูกเพียง 1-2 ครั้งเป็นพอ หรืออาจเปลี่ยนเป็นการแช่น้ำก็สามารถทำได้ เพราะน้ำจะซึมซับเข้าผิวได้มากขึ้น เพียงแต่  อาจหยดออยล์ลงไป เพื่อเติมความมันให้ผิว



 

ขอบคุณ : พญ. นวลรัตน์ หาญศิริพันธุ์


...............................................................................


ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก 

Mother&Care  VOL.5  NO.49 January 2008
ผิวเด็กมีความบอบบาง หลุด ลอกออกได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่ พื้นที่ของผิวต่อน้ำหนักตัวเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ประมาณ 5 เท่า ดังนั้น สารเคมีทุกอย่างที่สัมผัสกับผิวเด็ก จะสามารถซึมผ่านผิวหนังหรือเกิดการระคายเคืองได้มากกว่าผู้ใหญ่ได้ 5 เท่า การใช้ผลิตภัณฑ์ใดก็ตาม ไม่ว่ากับเด็กผิวแพ้ง่ายหรือเด็กปกติก็จำเป็นต้องระมัดระวังทุกอย่าง เช่น เป็นผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก ไม่มีส่วนผสมของน้ำหอม เน้นเรื่องความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะการใช้ยาทาไปที่ผิวของเด็ก





Free TextEditor




 

Create Date : 25 มิถุนายน 2552    
Last Update : 25 มิถุนายน 2552 19:17:08 น.
Counter : 367 Pageviews.  

5 วิธีดูแลก้อนน้อยๆ ของหนู


 

 

ผิวบริเวณก้นของลูก เป็นจุดที่บอบบางอีกจุด เพราะต้องสัมผัสกับความชื้น และการเช็ดถูบ่อยๆ ดังนั้น จึงไม่ควรมองข้ามวิธีการทำความสะอาดก้นลูกกันค่ะ

 

 











1. อุปกรณ์
สำลี : ควรมีทั้งแบบก้อนและแบบก้าน เพื่อความสะดวกต่อการเลือกใช้ทำความสะอาด


ปิโตรเลียมเจล, เบบี้ออยล์ : ป้องกันเรื่องผื่น เติมความชุ่มชื่นให้ผิวลูกน้อย


ผ้าหรือเบาะรอง : รองรับก้น ป้องกันเชื้อโรค เพื่อสุขอนามัยที่ดี


กะละมังใบเล็ก : สำหรับชำระล้าง ทำความสะอาดเรื่องก้น


ผ้าอ้อมสาลู : ช่วยระบายอากาศ ให้ก้นน้อยๆ ปลอดการอับชื้น


ทิชชูเปียกสำเร็จรูป : เหมาะกับการพกพา ทำความสะอาดขณะอยู่นอกบ้าน

     
2. เช็ดก้น
+ ก่อนเช็ดก้น ควรมีผ้าหรือเบาะรองรับก้น เพื่อป้องกันผิวของลูกสัมผัสกับ ฝุ่นละออง เชื้อโรคต่างๆ ที่อาจมองไม่เห็น
+ สำลีชุบน้ำบีบพอหมาด เช็ดตั้งแต่ด้านหน้าลงมาด้านหลัง โดยเฉพาะการเช็ดก้นเด็กผู้หญิง ห้ามเช็ดย้อนกลับขึ้นมาเด็ดขาด เพราะเชื้อโรคอาจเข้าสู่ช่องคลอดได้
+ ถ้าคุณแม่ใช้ผ้าทำความสะอาดก้น ควรเช็ดเบาๆ อย่างนุ่มนวล เลือกชนิดผ้าที่ไม่ระคายเคืองผิวลูกได้ง่าย

 

 

3. ล้างก้น
+ ถ้าลูกอึ ควรล้างด้วยน้ำไหลผ่าน 1 ครั้งก่อน จากนั้นล้างด้วยสบู่อ่อนๆ แล้วล้างออก 2-3 ครั้งให้สะอาด
+ บริเวณขาหนีบ, ร่องก้น ต้องดูแล ทำความสะอาดให้ถึง เพื่อปลอดกับเรื่องเชื้อโรค
+ ระหว่างล้างก้น คุณแม่อาจพูดคุย ร้องเพลงให้ลูกฟังก็ได้นะคะ จะได้สะกดความสนใจ ไม่ให้ลูกหงุดหงิด งอแง
+ หลังจากล้างก้นเสร็จ ซับก้นให้แห้ง ก่อนใส่ผ้าอ้อมหรือกางเกง


 








 


 


4. เรื่องต้องระวัง

 

ผื่นผ้าอ้อม
เกิดจากความอับชื้น การระคายเคืองจากการสวมใส่ผ้าอ้อม บริเวณสิ่งที่มาสัมผัสผิวของลูก เช่น ก้น ขาหนีบ ดังนั้น คุณแม่ควรหมั่นเปลี่ยนผ้าอ้อม และทำความสะอาดให้ทั่วถึงหลังจากลูกขับถ่ายทันที ไม่ปล่อยทิ้งไว้นาน


ท่อปัสสาวะอักเสบ
เกิดจากเชื้อโรคที่อยู่ที่บริเวณทวารหนัก มีการเคลื่อนตัวเข้าไปในท่อทางเดินปัสสาวะและเข้าไปสู่กระเพาะปัสสาวะทำให้เกิดการอักเสบตามมา ในเด็กผู้หญิงมีโอกาสเกิดปัญหาการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ได้ง่ายกว่าเด็กผู้ชาย เพราะท่อปัสสาวะของเด็กผู้หญิงจะสั้นกว่า เด็กผู้ชาย


ดังนั้น สิ่งสำคัญในการป้องกันเรื่องนี้ คือเรื่องความสะอาด และความอับชื้นที่เกิดจากสวมใส่ผ้าอ้อมค่ะ

 

5. เคล็ดลับดูแลก้นน้อยๆ
+ ผ้าอ้อมที่เปื้อนอึลูก ก่อนซักอาจล้างผ้าอ้อมด้วยน้ำเปล่า 1 ครั้งก่อน เพื่อให้เศษอุจจาระหลุดออก
+ หากลูกมีผิวแพ้ง่าย คุณแม่กลัวปัญหาเรื่องผื่น อาจใช้ปิโตรเลียมเจล ทาก้นลูกน้อยก่อนสวมใส่ผ้าอ้อม เพื่อลดการเสียดสี ก้นน้อยๆ ของลูกแม้จะมีพื้นที่ไม่มาก แต่มีความสำคัญ ต้อง เอาใจใส่ให้มาก ไม่ให้อับชื้น เจอปัญหาเรื่องผิวค่ะ


.........................................................................................


ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก 

Mother&Care  Vol.5  No.53  May  2009





Free TextEditor




 

Create Date : 25 มิถุนายน 2552    
Last Update : 25 มิถุนายน 2552 19:15:50 น.
Counter : 187 Pageviews.  

เตรียมพร้อมเรื่องขับถ่าย ให้ลูกเบบี๋









    

 


 



 



การฝึกลูกน้อยและเสริมสร้างลักษณะนิสัยต่างๆ ตั้งแต่เล็ก จะส่งผลดีในระยะยาว เช่น การ เตรียมความพร้อมในการขับถ่ายสำหรับลูกในวัยเบบี๋ จะเป็นการเสริมสร้างพื้นฐานสุขลักษณะ นิสัยที่ดีในการใช้ชีวิตของลูก   ดังนั้น การฝึกหัดและฝึกฝนให้ ลูกรู้จักขับถ่ายให้ถูกที่ถูกเวลา  จึงเป็นสิ่งจำเป็น ที่คุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายควรใส่ใจค่ะ 


 

ธรรมชาติ เรื่องการขับถ่าย


เนื่องจากระบบประสาทสัมผัส การควบคุมระบบขับถ่ายของเด็กวัยเบบี๋ อาศัยความพร้อมของกล้ามเนื้อหูรูด และสมองส่วนที่ควบคุมระบบประสาทสัมผัสเป็นตัวสั่งงาน เพื่อควบคุมการขับถ่ายที่สมบูรณ์ จึงสังเกตได้ว่า หลังดูดนมเสร็จ 5-10 นาที หรือเมื่อลำไส้ส่วนทวารหนักมีของเต็ม จะเกิดการกระตุ้นของทางเดินอาหาร ทำให้ลำไส้มีการเคลื่อนไหว ปล่อยอุจจาระออกมา 


การฝึกลูกน้อยเรื่องการขับถ่าย จึงต้องทำในระยะเวลาที่เหมาะสม รอเวลาให้ลูกรู้จักบังคับควบคุมการขับถ่าย สามารถสื่อสารกับพ่อแม่ได้ว่า ต้องการขับถ่าย และช่วยเหลือตัวเองได้ เช่น ถอดและใส่กางเกง เพราะจะช่วยให้การฝึกประสบความสำเร็จง่ายขึ้น ซึ่งช่วงวัยที่เหมาะสมที่สุด คือช่วงอายุ 1 ขวบครึ่งจนถึง 2-3 ขวบค่ะ










         
 

เทคนิคเตรียมความพร้อม


+ เลือกขนาดของกระโถนที่มีขนาดพอดี เมื่อเด็กนั่งแล้วสามารถวางเท้ากับพื้น ได้สบาย แข็งแรง ทนทาน
+ เตรียมกระโถนเด็กเอาไว้  จับลูกนั่งกระโถนหลังลูกดื่มนมมื้อเช้า 5-10 นาที ได้ตั้งแต่ลูกอายุ 7-9 เดือน ซึ่งเป็นช่วงที่ลูกเริ่มนั่งได้แล้ว

+ คอยสังเกตลูกว่า ถ้าลูกยืนนิ่ง ตัวสั่นเล็กน้อย หรือทำท่าขนลุก นั่นแสดงว่า เขาปวดอึ ควรบอกลูกว่าลูกปวดอึ แล้วพาไปส้วม หรือนั่งกระโถน
+ ฝึกอย่างสม่ำเสมอจะทำให้ลูกคุ้นเคย รู้จักการนั่งกระโถนและการถ่ายอุจจาระ ในกระโถน
+ หากเด็กไม่พร้อมก็ไม่ควรเร่งรัดหรือบังคับ เพราะจะทำให้เด็กเกิดอาการต่อต้าน และกลายเป็นโรคท้องผูกเรื้อรังได้ ควรรอให้เด็กพร้อมเสียก่อนแล้วจึงค่อยเริ่ม ฝึกใหม่ ระยะเวลาที่เหมาะสมที่สุดก็คือ 18-24 เดือน เพราะในช่วงนี้เด็กจะเริ่มรู้สึกได้เองเมื่อต้องการจะถ่ายอุจจาระ
+ เมื่อลูกทำได้และประสบความสำเร็จ ก็จะเกิดความภาคภูมิใจและสร้างความเชื่อมั่นในตัวเองอีกด้วยค่ะ การชมเชยเมื่อเด็กขับถ่ายตามเวลา จะช่วยให้เด็กมีพฤติกรรมการขับถ่ายที่ดี


 

ที่สำคัญต้องไม่ลืมใส่ใจและดูแล  ในเรื่องอาหารการกิน ฝึกให้ลูกกินผักและผลไม้ ตั้งแต่เริ่มมื้ออาหารเสริม เพราะอาหารเป็นส่วนสำคัญที่สุดที่ส่งผลต่อการขับถ่ายของลูกน้อย

 

.......................................................................











 
นอกจากวิธีปฏิบัติในการเตรียมพร้อมเรื่องการขับถ่ายให้ลูกแล้ว การแสดงออกของคุณพ่อและคุณแม่ก็เป็นสิ่งสำคัญ ส่งผลต่อพฤติกรรมการขับถ่ายของลูก ที่ไม่ควรทำเลยคือ


 

+ แสดงอาการรังเกียจปัสสาวะและอุจจาระ หรือแสดงความกังวลให้ลูกเห็น และไม่ควรตีหรือดุว่า เมื่อลูกทำเปื้อน
+ เปรียบเทียบเรื่องนี้กับเด็กอื่น เพราะเด็กแต่ละคนมีพฤติกรรมการขับถ่ายที่แตกต่างกัน

 

ขอบคุณ : น้องข้าวหอม - ด.ญ.สิริกิติกานต์ สุทธิแสน 


   

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก 

Mother & Care  Vol.5  No.54  June  2009 





Free TextEditor




 

Create Date : 25 มิถุนายน 2552    
Last Update : 25 มิถุนายน 2552 19:14:32 น.
Counter : 591 Pageviews.  

รู้จัก 9 อวัยวะ ลูกน้อยแรกเกิด


 


Baby Care ฉบับนี้ ชวนคุณแม่มารู้จักกับ รูปร่าง อวัยวะส่วนต่างๆ ของลูกน้อยแรกเกิดกันให้มากขึ้น มาดูกันว่า ลักษณะบางอย่างสิ่งที่คุณแม่มองเห็น มีที่มา สาเหตุอะไรบ้างที่สำคัญกว่านั้นก็คือ  ต้องใส่ใจดูแลอย่างไรด้วยค่ะ

 

1. ศีรษะ
ลักษณะ  : ศีรษะมีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับลำตัว โดยกะโหลกศีรษะประกอบไปด้วยกระดูกเป็นแผ่นๆ ต่อกัน 4 ชิ้น บริเวณดังกล่าวยังประสานกันได้ไม่หมด จะค่อยๆ ปิดสนิทเมื่ออายุ 1 ปีครึ่งขึ้นไป ส่วนหน้าที่เปิดอยู่จึงถูกเรียกว่า กระหม่อม
การดูแล  : ระมัดระวังไม่ให้ศีรษะกระทบกระเทือน หรือไปกดทับบริเวณกระหม่อม เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสมองของลูก ทั้งนี้รูปร่างศีรษะจะค่อยๆ เปลี่ยนไปตามโครงสร้างพันธุกรรมเมื่อลูกโตขึ้นค่ะ

 

2. หนังตา
ลักษณะ : บริเวณเปลือกตาอาจมีลักษณะบวม ที่เกิดจากการกด เบียด ระหว่างการคลอดได้ บางครั้งอาการหนังตาบวม ก็เกิดจากการติดเชื้อได้เช่นกัน
การดูแล : หากคุณแม่ไม่แน่ใจกับอาการ  ที่เกิดขึ้นดังกล่าว ควรปรึกษา ขอคำแนะนำจากคุณหมอ

 

3. ดวงตา
ลักษณะ : ดวงตาลูกไม่สัมพันธ์กัน ลักษณะดังกล่าว เกิดจากกล้ามเนื้อตายังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ เปลือกตากางออกมาปิดบริเวณหัวตามากเกินปกติ เนื้อส่วนจมูกยื่นมากินเนื้อที่ของตาขาว ทำให้คุณแม่รู้สึกว่า ดวงตาลูกไม่สัมพันธ์กัน
การดูแล : ปล่อยให้เป็นเรื่องของธรรมชาติดูแลค่ะ เพราะเมื่อโตขึ้น สันจมูกโด่งขึ้น ดึงเปลือกตาออกไปก็จะเป็นปกติ

 

4. จมูก
ลักษณะ : มีจุดขาวๆ ที่จมูก คล้ายสิวเสี้ยนของผู้ใหญ่ คุณหมอเรียกลักษณะนี้ว่า ‘มีเลีย’ เป็นลักษณะที่เกิดขึ้นได้ไม่มีอันตรายส่งผลใดๆ กับลูกแรกเกิด
การดูแล  : ฉะนั้น คุณแม่จึงไม่จำเป็นต้องแคะ แกะ หรือบีบออกมา เพราะถ้ามือคุณแม่ไม่สะอาด อาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้


5. หน้าอก
ลักษณะ : บริเวณเต้านมของลูก อาจดูตั้งเต้าและมีน้ำนมไหลออกมา ที่เป็นเช่นนี้เพราะฮอร์โมนของคุณแม่ที่ผ่านมาทางสายรกยังคงอยู่ในตัวลูก เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้กับเด็กเล็กช่วงแรกเกิดทั้ง 2 เพศค่ะ
การดูแล : ไม่ควรเค้นหรือไปบีบเต้านม เพราะเต้านมของลูกจะค่อยๆ ยุบหายไปได้เอง 

 










 

     
6. เล็บมือ
ลักษณะ : เล็บมือยาวตั้งแต่แรกเกิด เป็นเรื่องปกติ สิ่งสำคัญคือเรื่องการดูแล ทำความสะอาดเล็บให้ลูก
การดูแล : ช่วยลูกด้วยการตัดเล็บ 1 ครั้งต่อสัปดาห์ ไม่ให้เล็บของลูกข่วนตัวเองจนเป็นแผลได้ 

 

7. สายสะดือ
ลักษณะ : คล้ายแท่งวุ้นสีขุ่นๆ จะค่อยๆ แห้งหลุดไปเองหลัง 1-3 สัปดาห์หลังคลอด
การดูแล : ควรทำความสะอาดโดย เช็ดด้วยแอลกอฮอล์ 70 เปอร์เซ็นต์ (ตามที่คุณหมอแนะนำ) และหมั่นสังเกตความผิดปกติ เช่น มีกลิ่นหรือมีเลือดซึมออกมา อาการแบบนี้ต้องพาไปพบคุณหมอทันที


 

8. มือและเท้า
ลักษณะ : มือและเท้าอาจมีสีคล้ำ  (คล้ายสีม่วง) มีความเป็นไปได้ว่าเกิดจากเลือดใต้ผิวหนังยังไหลเวียนไม่ดีพอ เมื่อมีการกดทับบริเวณนั้นๆ เช่น ระหว่างนอน จึงทำให้เกิดลักษณะดังกล่าว
การดูแล : คุณแม่อาจเปลี่ยน ท่านอน อิริยาบถของลูกบ้างก็ได้ค่ะ

 

9. อวัยวะเพศ
ลักษณะ : อวัยวะเพศ

เด็กผู้หญิงจะมีลักษณะบวมเล็กน้อย หรือมีมูกขาวๆ ขับออกมาจากช่องคลอด ลักษณะแบบนี้ เกิดจากฮอร์โมนของคุณแม่ที่ผ่านมาทางสายรก ซึ่งจะหายไปได้เอง ไม่ต้องกังวลหรือตกใจ 


ส่วนเด็กผู้ชาย จะเห็นว่าลูกอัณฑะมักลงมาอยู่ในถุงอัณฑะ บางคนลงมาเพียงข้างเดียวและจะตามลงมาอีกข้างภายหลัง เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นกับเด็กๆ แรกเกิด


การดูแล : เน้นเรื่องการทำความสะอาด หลังจากที่ลูกขับถ่ายให้ถูกวิธี โดยเฉพาะเด็กผู้หญิง เวลาเช็ดก้นต้องเช็ดจากหน้าไปหลังเท่านั้น เพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ช่องคลอด 

 

ขอบคุณ : น้องบลูม - ด.ช.พัทธนันท์ เลาหะกาญจนศิริ


...............................................................................


ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก 



Mother&Care  VOL.5  NO.51 March 2009





Free TextEditor




 

Create Date : 25 มิถุนายน 2552    
Last Update : 25 มิถุนายน 2552 19:12:27 น.
Counter : 174 Pageviews.  

1  2  

AllAboutOIL
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว
Friends' blogs
[Add AllAboutOIL's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.