สึนามิชายฝั่งทะเลอันดามัน
สืบเนื่องจากการได้รับอีเมล์แบบฟอร์เวิร์ดฉบับนึง
และก็จาทำโครงงานเกี่ยวกะเรื่องนี้
วันนี้ เลยนำความรู้เล็กๆน้อยๆมาฝากกัน
ข้อมูลจาก //www.ipst.ac.th/science/Tsunami.htm
ขออนุญาตนำมาปรับภาษาให้ผู้คนทั่วไปเข้าใจง่ายยิ่งขึ้นนะคะ



ประเทศไทยมีชายฝั่งทะเลเป็นแนวยาวทั้งทางด้านอ่าวไทยและอันดามัน ชายฝั่งทะเลทางอันดามันมีความสวยงามตามธรรมชาติ ประกอบด้วยหมู่เกาะ หาดทราย และทรัพยากรธรรมชาติอันหลากหลาย ความสวยงามเหล่านี้บางครั้งก็มีสิ่งโหดร้าย เศร้าสลดแอบแฝงอยู่ด้วย ซึ่งได้พิสูจน์ให้คนไทยทั้งประเทศเห็นกัน


ดังเช่นเหตุการณ์ที่คลื่นสึนามิถล่มชายฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 เวลาประมาณ 07.58 น. (ตามเวลาในประเทศไทย) จากข้อมูลของกรมธรณีวิทยา ประเทศสหรัฐอเมริกา (USGS, 2005) รายงานว่าได้เกิดแผ่นดินไหวมีศูนย์กลางอยู่ที่บริเวณด้านตะวันตกเฉียงเหนือของหัวเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย(ภาพที่ 1) มีขนาดของแผ่นดินไหว 9.0 ตามมาตราริกเตอร์ ซึ่งจัดเป็นแผ่นดินไหวที่รุนแรง ทำให้ประชาชนรู้สึกถึงความรุนแรงของแผ่นดินไหวได้ในหลายจังหวัดของประเทศไทย


จากแผ่นดินไหวดังกล่าวทำให้เกิดคลื่นสึนามิ (Tsunami) ตามมาและเคลื่อนเข้าสู่ชายฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย ตั้งแต่เวลาประมาณ 09.35 น. คลื่นนี้ได้สร้างความเสียหายบริเวณชายฝั่งทะเลของ 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพังงา กระบี่ ภูเก็ต ระนอง ตรัง และสตูล เป็นอย่างมาก




รูปที่ 1



คลื่นสึนามิเมื่อกระทบฝั่งจะมีความรุนแรงมากทำให้น้ำทะเลโถมเข้าสู่ชายฝั่งอย่างรุนแรงและไหลเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน พัดพาสิ่งของและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่บริเวณชายหาดและที่อยู่ห่างออกไปพังทลายเป็นจำนวนมาก และมีผู้เสียชีวิตจากการที่น้ำทะเลได้ไหลทะลักเข้าสู่ชายฝั่ง ซึ่งมีทั้งนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติและชาวไทย รวมทั้งประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่เกิดเหตุ รวมทั้งหมดกว่า 94,200 ราย และยังมีผู้สูญหายอีกหลายพันคน (หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันที่ 7 มกราคม 2548)
พร้อมทั้งส่งผลให้แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่งดงามติดอันดับโลกของประเทศไทยเสียหายเป็นอย่างมาก เหตุการณ์ดังกล่าวนอกจากสร้างความสูญเสียให้กับประเทศไทยแล้ว ประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ ประเทศอินโดนีเซีย ศรีลังกา อินเดีย มาเลเซีย และพม่า ก็เผชิญกับ เหตุการณ์คลื่นยักษ์นี้เช่นกัน และได้รับความเสียหายที่ไม่อาจประเมินค่าได้




คลื่นสึนามิเกิดขึ้นได้อย่างไร ?


สึนามิเป็นภาษาญี่ปุ่น ใช้เรียกคลื่นไหวสะเทือนในทะเล (seismic sea wave) ที่ส่วนมากเกิดจากแผ่นดินไหว โดยบางครั้งอาจเกิดจากแผ่นดินถล่มใต้น้ำทะเล หรืออาจเกิดจากการระเบิดของภูเขาไฟใต้น้ำทะเล และอาจเกิดจากภูเขาไฟระเบิดได้เช่นกัน
โดยส่วนใหญ่ แผ่นดินไหวเกิดจากการเคลื่อนของพืดหินตามแนวรอยเลื่อนที่สัมพันธ์กับรอยต่อของแผ่นธรณีภาคซึ่งมีหลายรูปแบบ มักจะเกิดในบริเวณที่แผ่นธรณีภาคมุดเข้าหากัน นักธรณีวิทยาได้แบ่งแผ่นธรณีภาคของโลกออกเป็น 2 ประเภท คือ
- แผ่นธรณีภาค ภาคพื้นทวีป (continental plate)
- แผ่นธรณีภาค ใต้มหาสมุทร (oceanic plate)
ทั้ง 2 ประเภทรวมกันมีจำนวนประมาณ 13 แผ่น แผ่นธรณีภาคเหล่านี้มีการเคลื่อนที่ทั้งชนกัน มุดเข้าหากัน และเลื่อนผ่านกันตลอดเวลา

ประเทศไทยตั้งอยู่บนแผ่นธรณีภาค ภาคพื้นทวีป ที่เรียกว่า แผ่นธรณีภาคยูเรเซีย ซึ่งมีแนวรอยต่อกับแผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทร ที่เรียกว่า แผ่นธรณีภาคอินเดีย (ภาพที่ 2)



ภาพที่ 2


แนวรอยต่อของแผ่นธรณีภาคยูเรเซียและแผ่นธรณีภาคอินเดียในบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเขตมุดตัวของแผ่นธรณีภาค (subduction zone) ซึ่งแผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรที่เรียกว่า แผ่นธรณีภาคอินเดีย จะมุดเข้าใต้แผ่นธรณีภาคยูเรเซีย (ภาพที่ 3) โดยมีแนวอยู่ทางด้านตะวันตกของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ขึ้นไปทางทิศเหนือจนเข้าไปถึงแผ่นดินของประเทศพม่าและอินเดีย

อัตราการมุดตัวเข้าใต้แผ่นธรณีภาคยูเรเซียจะมีอัตราปีละประมาณ 6 เซนติเมตร (USGS, 2004) และตรงเขตมุดตัวจะเกิดเป็นร่องลึกก้นสมุทร (trench) ซึ่งแผ่นดินไหวส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นที่นี่ ส่งผลให้เกิดแรงเครียดและมีการสะสมพลังงานในแผ่นที่มุดตัว จนในที่สุดก็จะเกิดคลื่นแผ่นดินไหวขึ้น

จากการปลดปล่อยพลังงานเพื่อระบายความเครียดที่สะสมอยู่ภายในโลกจึงทำให้เกิดรอยเลื่อนมากมาย และเกิดรอยแยกและการทรุดตัวของพื้นท้องทะเลอันดามัน



ภาพที่ 3



รอยเลื่อนที่เกิดอยู่ในพื้นท้องทะเลส่วนใหญ่จะเป็นรอยเลื่อนปกติ (normal fault) ซึ่งเป็นการเลื่อนขึ้นลงของพื้นที่ในแนวดิ่ง การเลื่อนนี้จะทำให้พื้นที่ทรุดลง




การเคลื่อนที่ของคลื่นสึนามิ


ก. ก่อนที่แผ่นดินไหวจะเกิดขึ้น ระดับน้ำทะเลและพื้นท้องทะเลจะอยู่ในสภาพปกติ



ข. หลังเกิดแผ่นดินไหว พื้นท้องทะเลเกิดรอยเลื่อนขึ้นอย่างกะทันหัน เป็นเหตุให้ระดับน้ำทะเลลดต่ำลงชั่วขณะ



ค. น้ำทะเลที่ไหลทะลักเข้ามาในแอ่งเกินกว่าจะรับไว้ได้ ทำให้ระดับน้ำทะเลบริเวณดังกล่าวสูงขึ้นกว่าปกติเล็กน้อย



ง. การกระเพื่อมขึ้นลงของระดับน้ำทะเลก่อนที่จะเข้าสู่ภาวะปกติ ทำให้เกิดคลื่นที่มีแอมพลิจูดต่ำหรือคลื่นมีระดับความสูงต่ำ แต่มีความยาวคลื่นที่ยาวมาก และคลื่นได้แผ่กระจายออกไปทั่วทุกทิศทุกทางเข้าหาชายฝั่งทะเล





ข้อแนะนำ


แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นไม่ได้ทำให้เกิดคลื่นสึนามิเสมอไป แผ่นดินไหวที่ทำให้เกิดคลื่นสึนามิจะต้องมีขนาดมากกว่า 7.0 ริกเตอร์และเกิดอยู่ใต้ท้องทะเลหรือเกิดอยู่ใกล้ท้องทะเลซึ่งทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของพื้นท้องทะเลในแนวดิ่งหรือรอยเลื่อนปกติเป็นร่องลึกและเป็นพื้นที่กว้าง



Create Date : 29 พฤษภาคม 2550
Last Update : 29 พฤษภาคม 2550 17:40:53 น.
Counter : 1568 Pageviews.

7 comments
  
เอ...ทำไมมันย่อหน้าไม่ได้ล่ะ...

หากว่าสีมันแปลกๆก็ขออภัยนะคะ...หวังว่า เพื่อนๆจาได้รับความรู้กลับไปบ้างนะคะ ^^
โดย: M (Aampous ) วันที่: 29 พฤษภาคม 2550 เวลา:17:43:58 น.
  
พี่เคยทำงานที่เกาะพีพีอะ เอ็ม ที่นั่นสวยมากนะคิดแล้วเสียดายหลายอย่าง คิดเพื่อนๆที่เคยทำงานด้วยกันเที่ยวอยู่ด้วยกันที่นั่นสึ่งหลายคนก็เสียไปแล้วกับเหตุการณ์นั้น แต่ไม่น่าเชื่อเลยเนอะว่ามันจะเกิดขึ้นจิงๆ แต่ดีแล้วอะที่เอ็มเอามาลงเพื่อเป็นความรู้อย่างนึงนะแล้วพี่จะมาเม้นให้อีกนะ
โดย: peta_w IP: 210.213.10.158 วันที่: 29 พฤษภาคม 2550 เวลา:17:48:50 น.
  
ดีครับ เอ็ม ดีจังที่เอาเรื่องที่มีสาระและเป็นประโยชน์แบบนี้มาลงครับผม
โดย: แสนพลพ่าย (แสนพลพ่าย ) วันที่: 3 มิถุนายน 2550 เวลา:19:04:53 น.
  
สวยมากเลยค่ะได้ความรู็้และน่าอ่านด้วยคุ่ะ
โดย: ืีื์nuhang IP: 203.156.40.192 วันที่: 23 มิถุนายน 2550 เวลา:19:22:49 น.
  
มีประโยชน์มากเลยค่ะ :P
โดย: น่ารัก IP: 117.47.2.130 วันที่: 31 กรกฎาคม 2550 เวลา:13:01:02 น.
  
ชอบเพลงมั่กๆเรยคร่า ประกอบกุง 2 ใช่มั้ยคะ^^

เพราะดีค่ะ ขอบคุนสำหรับข้อมูลนะคะ
โดย: ~*Black+Blood*~ IP: 124.121.48.13 วันที่: 18 สิงหาคม 2550 เวลา:17:53:02 น.
  
เนื้อหามีสาระดีจร้า
โดย: น้องขวัญ IP: 118.175.182.232 วันที่: 28 มิถุนายน 2552 เวลา:11:59:41 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

กบน้อยในกะลาใหญ่
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]