แนะแนวโครงการวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาวิศวกรรมยานยนต์ (AUTO TU)
แนะแนวโครงการวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาวิศวกรรมยานยนต์  (หลักสูตรภาคภาษาอังกฤษ)   มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (AUTO TU)

Auto-TU - Home | Facebook
   เราคงจะปฏิเสธไม่ได้ว่า ยานพาหนะ ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญกับชีวิตของคนเราเป็นอย่างมากในแง่ของการเป็นเครื่องมือขนส่งตัวเราจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง และไม่เพียงแค่นี้ในแง่ของอุตสาหกรรมยานพาหนะถือได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการขนส่งสินค้า เพื่อนำพาข้าวของเครื่องใช้หรือสิ่งต่างๆไปยังจุดหมาย 

     แต่ความสำคัญของยานพาหนะไม่ได้อยู่แค่การนำพาคนหรือสินค้าไปในที่ต่างๆเท่านั้น เพราะปัจจุบันยานพาหนะถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาในเชิงของนวัตกรรม เราจะเห็นว่ามียานยนตร์รุ่นใหม่ๆออกมา ที่ได้ผสานในเรื่องของเครื่องยนต์ในการขับขี่และนวัตกรรมใหม่ๆ อย่างเช่นการประหยัดพลังงาน รวมไปถึงในเรื่องของความปลอดภัย ที่จะทำอย่างไรก็ตามที่จะช่วยให้ผู้ที่ขับขี่ยวดยานดังกล่าวนั้นมีความปลอดภัยมากที่สุด  ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ต้องอาศัยผู้ที่มีความรู้ในเรื่องวิศวกรรม ทางยานยนต์ ที่มีความเป็นมืออาชีพ  และมีความเข้าใจในผลกระทบทางสังคมและวัฒนธรรม  มีคุณธรรม  จริยธรรม 

   ดังนั้นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จึงได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นที่จะผลิตวิศวกรยานยนต์ที่มีคุณภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและการเข้ามาของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จึงได้ก่อตั้ง โครงการหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมยานยนต์ (ภาคภาษาอังกฤษ)หรือ(AUTO TU)  ขึ้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา ซึ่งเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย

   โดยเนื้อหาในการเรียนการสอนส่วนใหญ่นั้นจะมีการเรียนการสอนในเรื่องของพื้นฐานทางด้านวิศวกรรมเครื่องกล และเน้นการเพิ่มวิชาเฉพาะทางด้านวิศวกรรมยานยนต์เป็นหลัก 

แบ่งออกเป็นวิชาบรรยาย (ภาคทฤษฎี) ,

วิชาฝึกหรือทดลอง (ภาคปฏิบัติ) ,

ฝึกงาน ใช้เวลาฝึกงานในบริษัท หรือห้องปฏิบัติงานวิจัย เป็นเวลา 240 ชั่วโมง

การฝึกภาคสนาม (ภาคฝึกงานอาชีพ) ใช้เวลาฝึก 3-6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ตลอดภาคการศึกษาปกติรวม 45-90 ชั่วโมง

Senior Project  นักศึกษาใช้เวลาฝึกปฏิบัติ (ภายใต้การควบคุมของอาจารย์)

   นอกจากนี้การเรียนการสอนจะเน้นเป็นการเรียนการสอนแบบภาษาอังกฤษตลอด4 ปี และจะมีการเรียนการสอนในสองที่ คือที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ในช่วงปี1-ปี2 และที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา  ในช่วงปี3-ปี4  โดยนักศึกษาที่เรียนในโครงการดังกล่าว จะต้องเรียนเพื่อเก็บหน่วยกิตทั้งหมด146หน่วยกิต จึงจะสามารถที่จะจบการศึกษาได้

   โดยระบบการศึกษาของโครงการนี้จะเป็นในแบบ ระบบทวิภาค แบ่งเวลาการศึกษาในปีหนึ่งๆ เป็นสองภาคการศึกษาปกติ  ซึ่งเป็นภาคการศึกษาที่บังคับ คือ ภาคหนึ่งและภาคสอง ภาคการศึกษาหนึ่งๆ มีระยะเวลาสิบหกสัปดาห์และมีการจัดการเรียนการสอนภาคฤดูร้อน ในปีการศึกษาที่ 3โดยช่วงเวลาที่เปิดสอนจะแบ่งออกเป็นภาคต้น ช่วงเดือนมิถุนายน – ตุลาคม ภาคปลาย พฤศจิกายน – มีนาคม และภาคฤดูร้อน เมษายน – พฤษภาคม

    นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยยังมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศ เช่น University of New South Wales, University of Nottingham และ Nagaoka University of Technology เป็นต้น นักศึกษาจะมีโอกาสเข้าสู่โครงการแลกเปลี่ยน ทำให้นักศึกษามีความพร้อมด้านภาษา และสามารถทำงานในต่างประเทศเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หลักสูตรฺ AUTO TU เป็นอย่างไร และเรียนอะไรบ้าง

สำหรับหลักสูตรของ AUTO TU นั้น จะเรียนกันที่146 หน่วยกิต  โดยในส่วนของการศึกษาปีที่ 1-2 จะศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตและปีที่ 3-4  ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา

1) วิชาศึกษาทั่วไป                                                                   30 หน่วยกิต
2) วิชาเฉพาะ                                                                 110 หน่วยกิต
    2.1) วิชาแกน                                                                    24 หน่วยกิต
      2.1.1) วิชาพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์       17 หน่วยกิต
      2.1.2) วิชาพื้นฐานทางวิศวกรรม                                     7          หน่วยกิต
    2.2)  วิชาบังคับ                                                       74         หน่วยกิต
      2.2.1) วิชาบังคับในสาขา                                            24         หน่วยกิต
      2.2.2) วิชาบังคับนอกสาขา                                             50         หน่วยกิต
    2.3) วิชาบังคับเลือก                                                         12        หน่วยกิต
3) วิชาเลือกเสรี                                                                    6        หน่วยกิต


จบมาแล้วเป็นอะไรได้บ้าง
สำหรับการเรียนในวิชาชีพด้านวิศวกรรมยานยนต์สามารถประกอบอาชีพ อย่างเช่น ทำงานในอุตสาหกรรมยานยนต์ เช่น การออกแบบชิ้นส่วนยานยนต์ การออกแบบระบบในยานยนต์ และการควบคุมกระบวนการผลิตยานยนต์ เป็นต้น หรือในส่วนของวิศวกรเครื่องกล ก็สามารถทำงานในส่วนของการ ออกแบบ ควบคุม และซ่อมบำรุงเครื่องจักรกล ควบคุมการผลิตและกระบวนการต่างๆในโรงงานอุตสาหกรรม ออกแบบและควบคุมงานระบบต่างๆ เช่น ระบบปรับอากาศ ระบบ การลำเลียงน้ำในอาคาร รวมทั้งการวิเคราะห์และปรับปรุงการใช้พลังงานในโรงงาน อาคาร และหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งนักวิจัยในสาขาวิศวกรรมยานยนต์ หรือ วิศวกรรมเครื่องกล  หรือ ครูอาจารย์ในสถาบันการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เรียนโครงการAUTO TUใช้ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่
โครงการนี้เป็นโครงการภาคพิเศษ มีค่าเล่าเรียนหน่วยกิตละ 2,500 บาท คิดเป็นค่าเล่าเรียนประมาณ 75,000 บาทต่อภาคการศึกษา รวมค่าเล่าเรียนตลอด 4 ปี ประมาณ 600,000 บาท
ทุนการศึกษา
นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการนี้จะรับโอกาสที่จะได้รับทุนการศึกษาจากบริษัท สยามกลการ จำกัด ซึ่งจะมีจำนวนทั้งหมด 12 ทุน เกณฑ์ที่นักศึกษาจะสามารถได้รับทุนการศึกษาคือ นักศึกษาจะต้องศึกษาในระดับชั้นปีที่ 2 ขึ้นไป และนักศึกษาจะต้องมีเกรดเฉลี่ยมากกว่า 2.5 ขึ้นไป

ถ้าอยากเข้าโครงการ AUTO TU ต้องทำอย่างไร
1 ผู้สมัครที่กำลังศึกษาหรือสำเร็จการศึกษาเทียบเท่าชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายวิทย์-คณิต หรือเทียบเท่า
2  ผู้สมัครจะต้องมีจดหมายรับรองจากผู้ปกครองและจากทางโรงเรียน เพื่อแสดงว่านักเรียนมีผลการเรียนดีและมีความประพฤติดี โดยโรงเรียนเสนอรายชื่อได้เพียง 1 คนเท่านั้น
3  ผู้สมัครจะต้องมีผลการเรียนเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 5 ภาคการศึกษา ไม่ต่ากว่า 3.25 (ประกอบด้วยคะแนนวิชาคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมีและภาษาอังกฤษไม่ต่ากว่า 3.00 ในแต่ละภาคการศึกษา)
4.  คะแนนภาษาอังกฤษอย่างใดอย่างหนึ่ง และต้องมีคะแนนไม่เกิน2 ปี
 IELTS  4.5 ขึ้นไป
TOEFL 53 – 64 คะแนน (Internet-based)
TU-GET 400 ขึ้นไป
CU-TEP 60 ขึ้นไป
SAT (Critical Reading)  400 ขึ้นไป
4. สอบสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษ (วัดความสามารถและทักษะพื้นฐานการใช้ภาษาอังกฤษของนักศึกษา ไม่ได้เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือก)

หลักฐานประกอบการสมัคร
จดหมายการรับรองการเสนอรายชื่อนักเรียนจากทางโรงเรียน จานวน 1 ชุด
รูปถ่ายสี/ขาวดา ขนาด 1 นิ้ว จานวน 1 รูป
(ถ่ายหน้าตรงไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตาดา ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน)
สำเนาใบรายงานการศึกษา (Transcript) จานวน 1 ชุด
สำเนาใบเทียบวุฒิ หรือ จานวน 1 ชุด
ใบรับพิจารณาเทียบวุฒิ (กรณีนักเรียนจบการศึกษาจากโรงเรียนนานาชาติ)
สำเนาคะแนนมาตรฐานด้านวิชาการอื่นๆ (ถ้ามี) จานวน 1 ชุด
สำเนาคะแนนมาตรฐานทางด้านภาษาอังกฤษ (ถ้ามี) จานวน 1 ชุด
สำเนาทะเบียนบ้าน จานวน 1 ชุด
สำเนาบัตรประชาชน จานวน 1 ชุด
(หรือ Passport สาหรับนักศึกษาต่างชาติ)
สำเนาแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ของผู้สมัคร (ถ้ามี) จานวน 1 ชุด

สามารถปรึกษาเรื่องการแนะแนวการศึกษาต่อในหลักสูตรอินเตอร์ได้ที่ 

แนะแนวเรื่องการศึกษาต่อ และged by pure

https://1ab.in/PC2
 



Create Date : 30 มกราคม 2564
Last Update : 30 มกราคม 2564 0:43:43 น.
Counter : 1603 Pageviews.

0 comments

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณnewyorknurse

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ทากิ
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]



All Blog